cookie คืออะไร: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
Cookies คืออะไรกันแน่ และทำไมเว็บไซต์ถึงบังคับให้เรากด Accept
สมัยก่อนเมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว เวลาจะอ่านข่าวบนเว็บไซต์อย่าง CNN หรือพวกข่าวบอลอย่างเช่น ESPN หรือพวกเว็บไซต์ดังๆอย่าง Adobe มักจะมีแบนเนอร์ข้างล่าง website ที่เขียนว่า Accept Cookies or Not ซึ่งโดยที่เราไม่รู้ตัวเราก็อาจจะคิดว่ามันเหมือนกับโฆษณาบางอย่าง เราก็จะก็กด accept เพื่อที่ว่าตัดความรำคาญในการที่มันมาบดบังบทความที่เราจะอ่านด้านล่าง หรือ ช็อปปิ้งกับของที่อยู่ด้านล่าง
ทุกวันนี้ Cookies กลายเป็นส่วนนึงของชีวิตเราไปเรียบร้อยแล้ว เพราะมากกว่า 95% ของเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ทมีฟังค์ชั่นนี้เกิดขึ้น และมันสามารถจดจำข้อมูลบางอย่างของเรา เพื่อที่ครั้งถัดไปที่เราเข้าไปในเว็บไซต์ดังกล่าว มันจะได้เหมือนกับ เราเคยเข้าไปใช้งานมันมาแล้ว คล้ายๆกับพนักงานในร้านกาแฟที่จดจำใบหน้าของเราได้ว่า เราชอบสั่งอะไร ครั้งถัดไปที่เราเข้ามาสั่งเราจะได้รู้สึกถึงความเป็นกันเองในร้านกาแฟนั้น
คำเตือนที่ให้เรากด Accept หรือ Understood ทุกครั้ง
Cookies ถูกสร้างขึ้นมาโดยโปรแกรมเมอร์ที่มีชื่อว่า ลู มนทูลลี่ (Lou Montulli) ลูได้คำว่า Cookies นี้มาจากคำว่า “Magic Cookie” ที่โปรแกรมเมอร์ของ Linux ใช้กันในการส่งข้อมูลของโปรแกรมไปมา และเพื่อที่จะไม่ให้ข้อมูลตรงนั้นเปลี่ยนแปลง (ลินุกซ์ คือ ระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์)
ตอนนั้นเอง ลู อายุ 23 ปีกำลังทำงานให้กับ Netscape ซึ่งเป็นคู่แข่งของ Microsoft Internet Explorer ในตอนนั้น เพื่อที่จะรักษาข้อมูลว่าผู้ใช้งานเข้าไปใช้เว็บไซต์นี้หรือยัง ถ้าได้เข้าไปใช้งานแล้ว และเว็บไซต์นั้นต้องมีการล็อกอิน ก็จะทำหน้าที่ล็อกอินในอัตโนมัติให้ ซึ่งลูก็ตัดสินใจไปจดลิขสิทธิ์ของตัว Cookies นี้ตอนปี 1995 ก่อนที่จะถูกยินยอมตอนปี 1998 แต่ก็สายเกินไป Cookies ถูกใช้ใน Internet Explorer ตั้งแต่ตุลาคม ปี 1995 เช่นกัน
Lou Montulli ผู้สร้าง Cookies ขึ้นมา
ข้อดีที่ดีที่สุดของการเก็บ Cookies คือ ถ้าคุณเข้าไปในเว็บไซต์อย่าง Facebook หรือ เข้าไปซื้อของใน Lazada คุณไม่จำเป็นที่จะต้องล็อกอินใหม่ทุกๆครั้งที่เข้าเว็บไซต์ และ คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกสินค้าใหม่อีกรอบ ในทุกๆครั้ง พูดได้ว่าเวลาคุณยินยอมในการกด Cookies คุณได้สิทธิพิเศษที่เว็บไซต์จะถูกปรับเพื่อให้เหมาะสมกับคุณใช้งาน ลองจินตนการภาพว่าถ้าคุณต้องล็อกอินเข้า Facebook ใหม่ทุกครั้งที่คุณเข้าในอินเตอร์เน็ท กับต้องเลือกของซ้ำๆเดิมๆใน Lazada คุณก็คงไม่อยากใช้งานมันถูกต้องไหมครับ
แต่นอกจากที่เขาเก็บข้อมูลของการเข้าล็อกอิน หรือ ในตะกร้าสินค้าว่าคุณซื้อของอะไรบ้าง สิ่งอื่นๆที่ Cookies สามารถเก็บได้เหมือนกันก็คือ เวลาที่คุณกดเข้าไปในเว็บไซต์ สินค้าอื่นๆที่คุณเลือกดู สถานที่ที่คุณอยู่ในการเข้าเว็บไซต์นี้ และบางข้อมูลอย่าง อีเมล หรือแม้กระทั่ง เบอร์โทรศัพท์ Cookies ก็จะถูกเก็บไว้เช่นเดียวกัน
ระบบของ Cookies
นี่ถูกเรียกว่า First-Party Cookies หรือ Cookies ในแบบแรก ที่เว็บไซต์เหล่านี้เก็บข้อมูลเราแต่ไม่ได้แบ่งปัน แต่ความอันตรายคือเมื่อเราเข้าใช้งานเว็บไซต์ในหลายๆแบบ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หาคู่อย่าง Tinder เว็บไซต์ท่องเที่ยวอย่าง Agoda เว็บไซต์ข่าวต่างๆ หรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร เมื่อเอา First-Party Cookies เหล่านี้มารวมกันเมื่อไหร่ มันก็จะกลายเป็น Third-Party Cookies ทันทีเพื่อที่จะแชร์ข้อมูลของลูกค้าเข้าหากัน มันสามารถบอกได้ถึงเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนบุคคล อย่างพรรคการเมืองที่เราสนับสนุน สเปคผู้ชายหรือผู้หญิงในฝันของเรา จนถึงขนาดบอกตัวตนของเราได้เลย
จนเว็บไซต์เหล่านี้ก็จะค่อยๆตามหลอกหลอนเรา อย่างเช่น ตอนที่กำลังนั่งเล่น Instagram อยู่ มีโฆษณาของ Reebok อยู่ใน feed โดยพอกดเข้าไป แล้วมันก็จะเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของเขา แล้วก็เลยอยากรู้ว่าพรมโยคะของ Reebok นั้นราคาเท่าไหร่ ปรากฏว่ามันลดราคาจาก 600 กว่าบาท เหลือเพียง 300 กว่าบาท แต่ถ้าเราไม่ได้ซื้อ ทาง Reebok เองก็เก็บ Cookies นี้เอาไว้ จนตั้งแต่เมื่อวานจนถึงวันนี้ เราก็สามารถเห็นพรมของ Reebok ในเว็บไซต์อื่นๆมาแล้วถึง 5 ครั้ง และนี่แหละครับคือความน่ากลัวของ Cookies ที่เรียกว่าการ tracking หรือการสะกดรอยตาม
Cookies จะติดตามเราไปทุกที่
ซึ่งวิธีที่เขาขายโฆษณาคือการที่บริษัทและแบรนด์เหล่านี้จะมีเว็บไซต์ตัวกลางอย่าง Facebook และ Google เพื่อที่จะคอยส่งต่อข้อมูลที่แบรนด์ต่างๆจะโฆษณาไปให้กับกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปให้เว็บไซต์ที่เป็น Platform ต่างๆอย่างเช่น Sephora, Amazon หรือแม้กระทั่งบางบริษัททำหน้าที่ทั้งเป็นตัวกลางและทั้ง Platform ไปในตัวอย่างเช่น Facebook และ Google ซึ่งทั้งคู่ก็เป็นผู้เล่นเจ้าใหญ่ที่สุดในโลกออนไลน์ และ พวกเขามีข้อมูลอย่างละเอียดของแต่ละตัวบุคคล
ดังนั้นเวลาที่เราจะสร้างโฆษณาทั้งใน Facebook และ Google เราก็เลยสามารถที่จะเลือกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างละเอียดยิบ เช่น กลุ่มคนอายุ 15-20 คนที่ชอบเพศเดียวกัน หรือ อย่างเช่นสิ่งที่ Reebok ทำคือคนที่เคยเข้าไปในเว็บไซต์ของเขาใน 30 วันที่ผ่านมา จะเห็นโฆษณา Reebok อยู่ทุกที่ ซึ่งที่เสียหายที่สุดคือต่อให้เราสามารถลบ Cookies ไปได้ในบราวเซอร์ของเรา แต่ข้อมูลส่วนตัวก็ยังถูกเก็บไว้ในเว็บไซต์เหล่านั้นอยู่ดี
วิธีการที่ Facebook ค้นหาเราให้เหมาะกับสินค้านั้นๆ
แต่เมื่อไม่นานมานี้เว็บบราวเซอร์ต่างๆอย่าง Google Chrome หรือ Mozilla Firefox ก็เริ่มที่จะให้คนสามารถปิด Third-Party Cookies ได้ พูดง่ายๆคือถ้าคุณเข้าเว็บไซต์อย่าง Lazada และเข้าเว็บไซต์ท่องเที่ยวต่ออย่าง Agoda ทั้งสองเว็บไซต์นี้ไม่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลของคุณได้ แต่สุดท้ายแล้วคนกลางก็จะพยายามหาช่องโหว่ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลพวกนี้ได้อยู่ดี ซึ่ง Facebook ก็สร้างมันขึ้นมาโดยเรียกมันว่า Facebook Pixel ซึ่งตัวนี้เองเป็นการใส่โค้ดของ Facebook ลงไปในเว็บไซต์ ตัว Facebook เองโฆษณาในเว็บไซต์ของตัวเองว่าตัว Pixel อันนี้สามารถหาลูกค้าได้มากขึ้น รายงานได้ละเอียดขึ้นและแม่นยำขึ้น และ Facebook Pixel นี้ไม่สามารถปิดได้โดยบราวเซอร์ต่างๆ
Facebook Pixel
ลูพึ่งให้สัมภาษณ์กับสื่ออย่าง Vox.com ถึงเรื่องที่ Cookies เข้ามามีผลกับชีวิตเราอย่างไร เขาให้สัมภาษณ์ว่า มันเป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์อย่างยิ่งกับสิ่งที่บริษัทเหล่านี้เอา Cookies มาทำให้เกิดผลประโยชน์และมีอิทธิพลอย่างไรได้บ้าง จนผู้สัมภาษณ์ของ Vox ได้ถามคำถามว่าคุณรู้สึกยังไงที่บริษัทอย่าง Google เอาเครื่องมือที่คุณสร้างไปหากินขนาดนี้ เขาลังเลก่อนที่จะอธิบายว่า การโฆษณาเหล่านี้ทำให้สินค้าถูกลดคุณภาพลงกว่าเท่าที่มันควรจะเป็น มันเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญ
ถ้าเกิดว่าคุณต้องการให้เรื่องเหล่านี้จบลง คุณต้องบัญญัติเป็นกฏหมายขึ้นมาไม่งั้นแล้วต่อให้เราพยายามปิดกั้นยังไงก็ตาม บริษัทเหล่านี้ก็จะหาช่องโหว่จนเข้าถึงเราได้อยู่ดี เพราะว่าสุดท้ายแล้วบริษัทที่คุมข้อมูลอยู่ตอนนี้คือ 2 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีข้อมูลของพวกเรามากที่สุดในโลกนั้นก็คือ Google และ Facebook
Lou Montulli สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Vox ผ่านทางวีดีโอคอล
ขอบคุณภาพจาก CSS Script, Cw.in.th , Netsparker, Science Source, Smart Insights, The Register, และ Vox
ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก ทิวัตถ์ ชุติภัทร์ : https://www.blockdit.com/tiwatfca
[Update] อะไรคือ Cookies consent ทำไมเจ้าของเว็บไซต์ต้องมี | cookie คืออะไร – NATAVIGUIDES
เมื่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) เริ่มบังคับใช้ในไทยแล้ว เจ้าของเว็บไซต์ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA จะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA เช่น การขอความยินยอมการใช้ข้อมูลจากผู้ใช้งานเว็บไซต์หรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แจ้งวัตถุประสงค์ว่าเราจะจัดเก็บข้อมูลอะไรบ้าง นำข้อมูลไปใช้เพื่ออะไร เป็นต้น การขอความยินยอมจึงมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามประเภทข้อมูลที่เจ้าของเว็บไซต์จะขอเก็บ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักการขอความยินยอมรูปแบบหนึ่งเรียกว่า cookie consent กัน
Cookie คืออะไร
“คุกกี้” เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กที่แสดงประวัติการเข้าชมเว็บไซต์และการดาวน์โหลด ซึ่งประโยชน์และความจำเป็นของคุกกี้ก็คือเมื่อเราเคยเข้าใช้งานเว็บไซต์หนึ่งแล้ว คุกกี้จะจดจำข้อมูลหลายรูปแบบ เช่น ตำแหน่งโลเคชั่นของผู้ใช้งาน ภาษาการใช้งานหน้าเว็บ หรือข้อมูลของผู้ใช้เพื่อทำการตลาดโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย (Targeting ads) ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ของเราจดจำเว็บไซต์นั้นได้เมื่อกลับเข้าไปใช้งานเว็บไซต์อีกครั้ง การใช้ไฟล์คุกกี้ถือเป็นการจัดเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเช่นเดียวกัน ดังนั้น เจ้าของเว็บไซต์หรือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งผู้ใช้งานเพื่อขอความยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลด้วย
ประเภทของคุกกี้
คุกกี้ที่จำเป็น ( Necessary Cookies) ซึ่งจะช่วยทำให้เว็บไซต์ใช้งานฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น การเข้าระบบเว็บไซต์ Log in หรือการชำระเงินผ่าน E-payment
คุกกี้เก็บข้อมูลการใช้งาน (Analytic หรือ Statistics หรือ Performance Cookies) เป็นคุกกี้ทางสถิติที่รวบรวมและรายงานข้อมูลสถิติการเข้าชมเว็บไซต์
คุกกี้ฟังก์ชันการทำงาน (Preferences หรือ Functional Cookies) ที่เป็นการบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน เช่น จดจำการ log in ทำให้การเข้าใช้งานเว็บไซต์ครั้งต่อไปไม่ต้อง log in ซ้ำอีก และภาษาในเว็บไซต์ที่เราเลือกใช้
คุกกี้โฆษณา (Marketing cookies) ซึ่งมักเป็นคุกกี้จากเว็บไซต์บุคคลที่สามที่เผยแพร่หรือลงโฆษณา มีไว้ใช้ติดตามผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องและที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้งานรายบุคคล
Cookie consent คืออะไร
Cookie consent คือ การขอความยินยอมเพื่อจัดเก็บไฟล์คุกกี้และข้อมูลต่างๆ จากผู้ใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งไฟล์คุกกี้นี้ก็ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลประเภทหนึ่งที่จัดเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลหลายรูปแบบจากการเข้าชมเว็บไซต์ เจ้าของเว็บไซต์ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจึงต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลตามกฎหมาย PDPA ด้วย
กฎหมายเรื่องคุกกี้ใน PDPA
เนื่องจาก PDPA มีความคล้ายคลึงกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของยุโรป หรือ GDPR ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์จะต้องขอความยินยอม (consent) การจัดเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลก่อน โดยการเก็บ ใช้ เปิดเผย และถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอม ยกเว้นจะมีเหตุอื่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย สำหรับการใช้คุกกี้ มีสาระสำคัญตามกฎหมายดังนี้
แจ้งให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ทราบว่ามีการใช้คุกกี้
ระบุวัตถุประสงค์การเก็บรวบรวม
ขอความยินยอมการจัดเก็บคุกกี้
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ข้อความไม่กำกวม
ไม่สร้างเงื่อนไขให้กับผู้ใช้เว็บไซต์
ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถเลือกได้ว่าจะให้เว็บไซต์ใช้คุกกี้หรือข้อมูลประเภทใดได้บ้าง
การแจ้งขอจัดเก็บคุกกี้ถือเป็นหลักฐานในการปฏิบัติตาม PDPA
เจ้าของข้อมูลสามารถขอยกเลิกหรือถอนความยินยอมได้ทุกเมื่อ โดยให้เจ้าของเว็บไซต์มีกระบวนการรับคำร้องจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ควรเป็นวิธีที่ง่ายไม่ซับซ้อน และไม่กำหนดเงื่อนไข อาจใช้วิธีการยื่นแบบฟอร์ม ส่งคำร้องผ่านช่อง chat หรือส่งอีเมลก็ได้
ใครบ้างที่ต้องทำตามกฎหมาย PDPA
นอกจากผู้ใช้งานเว็บไซต์ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตาม PDPA แล้ว สำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของเว็บไซต์ที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้
-
เจ้าของเว็บไซต์ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เป็นองค์กรที่เก็บหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บริษัทการตลาดที่เก็บข้อมูลลูกค้า บริษัทขายของออนไลน์
-
เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ประมวลผลข้อมูลของลูกค้าหรือบุคคลใดๆ ตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
-
เป็นองค์กรที่อยู่นอกราชอาณาจักรแต่มีการเสนอขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าในประเทศไทย มีการโอนถ่ายข้อมูล อาทิ การเฝ้าติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค อาจจะเป็น การตั้งกลุ่มเป้าหมายทำโฆษณาออนไลน์ หรือการรับจองรองแรมผ่านเว็บไซต์ ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งหมด
บทลงโทษตามกฎหมาย PDPA หากไม่ทำตาม
ปัจจุบันกฎหมาย PDPA ประกาศขยายเวลาบังคับใช้เต็มรูปแบบออกไปจนถึงช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2565 โดยบทลงโทษมีทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และทางปกครอง ซึ่งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในประเทศไทยต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาท จำคุกสูงสุด 1 ปี และต้องจ่ายค่าเสียหายตามจริง รวมถึงค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษสูงสุดสองเท่าของค่าเสียหายตามจริง หากผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล กรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลอาจต้องรับผิดด้วย
นอกจากอัตราโทษตามกฎหมายแล้ว องค์กรที่ไม่ปฏิบัติตาม PDPA หากเกิดความเสียหายต่อข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เช่น ไม่จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม จนข้อมูลเกิดรั่วไหล ก็อาจได้รับบทลงโทษทางสังคมอีก เช่น องค์กรขาดความน่าเชื่อถือ เสียชื่อเสียง จนกระทั่งเสียรายได้จากฐานลูกค้าในอนาคต
Cookies Checklist ต้องทำอะไรบ้างให้สอดคล้องกับ PDPA
เมื่อการขอความยินยอมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับ PDPA เจ้าของเว็บไซต์มีขั้นตอนการจัดทำ Cookie consent ดังนี้
รู้ประเภทและวัตถุประสงค์ของการใช้คุกกี้
จัดทำแบนเนอร์คุกกี้บนเว็บไซต์
สร้างแบนเนอร์คุกกี้บนเว็บไซต์ใน 2 นาทีที่ Cookie Wow
แยกประเภทคุกกี้ ทั้งคุกกี้ที่จำเป็น (necessary cookies) และคุกกี้ที่ไม่จำเป็น (non-necessary cookies)
ขอความยินยอมการใช้ตามวัตถุประสงค์จากผู้ใช้งานเว็บไซต์ก่อนที่จะใช้คุกกี้ที่ไม่จำเป็น
ให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ตั้งค่าการใช้คุกกี้ได้ และระบุข้อมูลด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
เข้าถึงนโยบายการใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ได้ง่าย
มีระบบการตรวจสอบ ที่จัดเก็บเอกสารและข้อความยินยอมให้ใช้คุกกี้ของผู้ใช้งาน
จัดเก็บ cookie consent ไว้ระยะเวลาหนึ่งตามความจำเป็นตามกฎหมาย
การขอความยินยอมให้ใช้คุกกี้ นับว่าเป็นข้อปฏิบัติหนึ่งตามกฎหมาย PDPA หากเว็บไซต์ของคุณมีการให้บริการสินค้าหรือการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ เราขอแนะนำให้สร้างแบนเนอร์คุกกี้ได้ที่ Cookie Banner เพื่อขอความยินยอมการใช้คุกกี้จากผู้ใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งตัวแบนเนอร์นี้จะปรากฏขึ้นเมื่อผู้ใช้งานเข้าเว็บไซต์ทุกครั้ง และถือเป็นหลักฐานการยินยอมให้ใช้คุกกี้จากผู้ใช้งาน
ในบทความต่อไปเราจะมาดูกันว่าองค์ประกอบของแบนเนอร์คุกกี้มีอะไรบ้าง และจะต้องออกแบบอย่างไรให้ใช้งานได้จริง
สร้างแบนเนอร์คุกกี้ให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA ได้เลยที่นี่ Cookie Wow
บทความที่เกี่ยวข้อง
เจาะลึกการสร้าง Cookies Consent Banner ที่สอดคล้องตาม PDPA ทำอย่างไร
ทำเว็บไซต์ให้สอดคล้องกฎหมาย PDPA ด้วย Cookie Wow
EP 5. Cookie VS Session !! – สาระเดฟใน 3 นาที
อยากรู้ไหมว่า เบื้องหลังของการเก็บข้อมูลในเว็บไซต์มันเป็นยังไง ? วันนี้เราจะพามารู้จักกับ Cookie และ Session พระเอกของพวกเราไปพร้อมกัน
.
▲ ติดตามช่องของเราได้ที่ : http://bit.ly/borntoDevSubScribe
▲ Facebook : https://www.facebook.com/borntodev
▲ Website : http://www.borntodev.com
.
🦖BorntoDev Channel คือ ช่องยูทูปที่เน้นสาระด้านเทคโนโลยี การพัฒนาโปรแกรม ไปพร้อมกับความสนุกสนาน และ รอยยิ้มเข้าไว้ด้วยกันทั้งในรูปแบบบทเรียน และ vlog
.
เพื่อการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ด้านการพัฒนาโปรแกรม และ เทคโนโลยีแบบเดิม ๆ ที่เป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มให้เข้าถึง เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยพัฒนาเน้นไปที่รูปแบบการนำเสนอใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับทุกคน
.
▲ กิจกรรมใน Channel BorntoDev เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานของ บริษัท บอร์นทูเดฟ จำกัด ที่เปิดรับ Partners ที่สนใจร่วมเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเป็นสังคมด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น หากคุณสนใจสนับสนุน และ ก้าวไปพร้อมกัน สามารถติดต่อร่วมงานได้แล้ววันนี้
.
▲ ติดต่อโฆษณา สนับสนุน และ ร่วมงานได้ที่: [email protected]
หรือ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ https://www.borntodev.com/partners/
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
【MV Full】โดดดิด่ง Ost. ไทบ้าน x BNK48 จากใจผู้สาวคนนี้ / BNK48
『โดดดิด่ง Ost. ไทบ้าน x BNK48 จากใจผู้สาวคนนี้』
Lyrics: Yui Manasak
Producer: Jiny Phuthai
Executive Producer: Mr.Pong Thibaan the series
BNK48 Members
Natruja Chutiwansopon (Kaew), Warattaya Deesomlert (Kaimook), Pimrapat Phadungwatanachol (Mobile), Milin Dokthian (Namneung), Pichayapa Natha (Namsai), Kanteera Wadcharathadsanakul (Noey), Jiradapa Intajak (Pupe), Isarapa Thawatpakdee (Tarwaan)
BNK48 Official Facebook :\r
www.facebook.com/bnk48official\r
\r
BNK48 Official Twitter :\r
www.twitter.com/bnk48official\r
\r
BNK48 Official Instagram :\r
www.instagram.com/bnk48\r
\r
BNK48 Official Website :\r
www.bnk48.com
What Are Cookies? And How They Work | Explained for Beginners!
Browser Cookies, Internet Cookies, HTTP Cookies, Computer Cookies… Cookies have many names. But WHAT THE HECK are they?! Well, sit tight and hold onto your knickers because in this video I answer the question, \”What Are Cookies?\” And explain How They Work!
First off, a cookie is a small piece of data from a specific website, that is stored on a user’s computer while their browsing the web.
And they can have several different functions, such as:
1. Keeping track of that user’s browsing data in order to serve up targeted information such as ads for goods, or services.
This is why when you’re browsing Amazon for a Halloween costume for your dog, you will then see ads on Facebook later for more dog costumes.
2. Remembering your login details for a specific website.
Because of cookies, you can close out of a website like Facebook, and reopen it again later without having to sign back in again.
3. Cookies can also allow website owners to track exactly how many unique visitors they’re getting to their website. Because each cookie has its own unique ID.
So if the a user visits the same website 2 or 3 times in a day, the cookie allows us to count this as one unique viewer. So website owners can collect more accurate data about their website traffic.
Where did the cookie come from? And why?
The first cookie was invented in 1994 by a 24yr old programmer for NetScape Communications named Lou Montulli.
He was creating an online store for a company that said their servers were getting too full from storing each individual user’s shopping cart data as they were browsing the store. So he thought back to an old computing token called the “magic cookie” which was used to identify when someone logged into a system by passing a small bit of information between server and their computer. Lou then recreated this concept for the web and thus the modern day cookie was born!
So how does a cookie work?
Well when you visit a website for the first time, for this example let’s say it’s an online store, the website will put a cookie on your computer’s hard drive, that has a unique identification code.
The site then uses this ID to keep track of your “session”.
The reason it does this is so it can keep track of things like which items you’ve saved to your shopping cart, or which items you’ve looked already at so it can suggest similar items, or even save coupon codes for you that can be used even if you close out of the website and come back to it later that day.
There’s another type of cookie called a third party cookie. Which I’ll explain with an example.
Let’s say you’re browsing a website that has a button to like or share on Facebook embedded into it. Well this button has to talk to Facebook.com which now means that facebook can now send their own cookies through this website to see some of your activity, and use it to target ads specific for you next you’re scrolling down your Facebook news feed.
But not all cookies are privacy breaching parasites and generally they can help you have a much more enjoyable browsing experience and save you lots of time and headache on the web.
RELATED BLOG POST
https://createaprowebsite.com/bestwordpressplugins
FOLLOW \u0026 CONNECT WITH US
My Website :
https://createaprowebsite.com
Create a Pro Website Instagram:
https://www.instagram.com/createaprowebsite/
Create a Pro Website Facebook:
https://www.facebook.com/createaprowebsite/
Dale McManus Instagram:
https://instagram.com/dalemcmanus/
And don’t forget to SUBSCRIBE to Create a Pro Website for more awesome website tutorials:
http://youtube.com/createaprowebsite?sub_confirmation=1
SNH48 官方PV《恋爱幸运曲奇圣诞版》| 恋するフォーチュンクッキー/こいするフォーチュンクッキーPV
2013年圣诞之际,SNH48女子偶像组合推出的最新MV《爱的幸运曲奇》为大家献上可口的“圣诞大餐”。在本支MV中,SNH48S队成员们身着清凉的“圣诞装”劲歌热舞,众人一齐“搓丸子”,通过MV将浓浓爱意传递给大家。在MV中,中国大妈也跟着成员们一起热舞,神舞“搓丸子”即将席卷全国,你还在等什么?
【MV Full】Koisuru Fortune Cookie คุกกี้เสี่ยงทาย / BNK48
『Koisuru Fortune Cookie –คุกกี้เสี่ยงทาย–』
Lyrics: Yasushi Akimoto
Music: Shintaro Ito
Arrangement: Seiji Muto
Thai Lyrics Arrangement: Tanupop Notayanont
Cherprang Areekul (Cherprang), Isarapa Thawatpakdee (Tarwaan), Jennis Oprasert (Jennis), Jetsupa Kruetang (Jan), Jiradapa Intajak (Pupe), Kanteera Wadcharathadsanakul (Noey), Milin Dokthian (Namneung), Miori Ohkubo (Miori), Natruja Chutiwansopon (Kaew), Patchanan Jiajirachote (Orn), Pimrapat Phadungwatanachok (Mobile), Praewa Suthamphong (Music), Punsikorn Tiyakorn (Pun), Rina Izuta (Izurina), Sawitchaya Kajonrungsilp (Satchan), Warattaya Deesomlert (Kaimook)
Now available on iTunes
https://itunes.apple.com/th/album/koisurufortunecookie%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A2ep/1319442133
BNK48 Official Facebook :
www.facebook.com/bnk48official
BNK48 Official Twitter:
www.twitter.com/bnk48official
BNK48 Official Instagram :
www.instagram.com/bnk48
BNK48 Official Website :
www.bnk48.com
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE
ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ cookie คืออะไร