pronoun ตาราง: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม ซึ่งไม่ว่าในภาษาเขียนหรือภาษาพูดก็ตามจำเป็นต้องใช้มันอยู่เสมอ มิฉะนั้นเราจะต้องกล่าวหรือเขียนสคำนามนั้นๆ ซ้ำๆ ซากๆ หลายครั้งกว่าจะจบเรื่องที่เราจะเขียนหรือพูด เช่น
The man เราใช้ “he” แทน
The girl เราใช้ “she” แทน
The boys เราใช้ “they” แทน
หรือคำนามที่ขยายด้วยคำคุณศัพท์หลายคำ เราก็ใช้คำสรรพนามเพียงคำเดียวแทน เช่น
My first two good little new round grey French picture frames = they เป็นต้น
คำสรรพนาม แยกออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้
1. บุรุษสรรพนาม (Personal Pronoun)
2. สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Pronoun)
3. สรรพนามชี้เฉพาะ (Demonstrative Pronoun)
4. สรรพนามสะท้อนกลับ (Reflexive Pronoun)
5. สรรพนามสร้างคำถาม (Interrogative Pronoun)
6. สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ (Indefinite Pronoun)
7. สรรพนามเชื่อมความ (Relative Pronoun)
8. สรรพนามแจกแจง (Distributive Pronoun)
สรรพนามอาจแสดงถึง พจน์, บุรุษ, เพศ และการก ตารางบุรุษสรรพนามต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นสิ่งดังกล่าว
1. บุรุษสรรพนาม (Personal Pronoun)
บุรุษในเรื่องสรรพนาม
ในการพูดจากัน มักจะประกอบด้วย 2 บุรุษ คือ บุรุษที่ 1 หมายถึง ตัวผู้พูด (a Speaker) และบุรุษที่ 2 หมายถึง ผู้ที่เราพูดด้วยหรือผูฟัง (a person spoken to) และบางครั้งการพูดจากันอาจพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 หมายถึง ผู้ที่เรากล่าวถึง (a person spoken about) จึงเป็นบุรุษที่ 3
รูปแสดงหน้าที่ต่างๆ ในเรื่องสรรพนาม
นอกจากรูปแสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive) ตามที่ได้ศึกษามาบ้างแล้วยังมีรูปประธาน (Nominative) และรูปกรรม (Ob¬jective) อีก ซึ่งคำนามนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเลยไม่ว่าจะทำหน้าที่เป็นประธาน หรือกรรมของประโยค แต่สรรพนามจะต้องเปลี่ยนรูปเพื่อแสดงหน้าที่ของมัน เช่น
The boy hit the dog = He hit it.
The dog bit the boy = It bit him.
The girl read the books = She read them.
The books pleased the girl = They pleased her.
นอกจากนี้ ยังใช้รูปกรรมของบุรุษสรรพนามในกรณีที่เป็นกรรมของบุพบท (preposition Object) ด้วย เช่น
I spoke to him,
I had a letter from her.
คำสรรพนามเท่านั้นหรืออาจพูดได้ว่า เป็นคำกลุ่มเดียวในภาษาอังกฤษที่มีรูปต่างๆ ในการแสดงหน้าที่ประธาน และกรรม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 คำ คือ
รูปประธาน
รูปกรรม
รูปประธาน
we
they
who
รูปกรรม
I
he
she
me
him
her
us
them
whom
ในภาษาเขียนหรือภาษาทางการ เมื่อบุรุษสรรพนามตามหลัง Verb to BE ต้องใช้รูปประธานเสมอ (Subjective Complement) เช่น
It was I (he, she, we, etc.) who did this.
ในภาษาพูดหรือภาษาไม่เป็นทางการ มักจะใช้รูปกรรมต่อท้าย Verb to BE เช่น That’s her (him, us, etc.)
แต่ในประโยคซึ่งรู้สึกว่าคำสรรพนามจะเป็นประธานของกิริยาให้ใช้รูปประธาน เช่น
It was he who told me about it, It was I who did it.
ข้อสังเกตเกี่ยวกับบุรษสรรพนาม
บุรุษที่ 1 “I” เขียนด้วยตัวอักษรตัวใหญ่เสมอ แต่คำอื่นๆ เช่น “me, we, us” ไม่เขียนด้วยอักษรตัวใหญ่ นอกจากขึ้นต้นประโยคเท่านั้น
“we (us) ไม่ใช่รูปพหูพจน์ของ “I” เหมือนกับที่คำ “boys” เป็นรูปพหูพจน์ของ “boy” เพราะ “me” ไม่ได้หมายความว่า มี “I” 2 “I” หรือมากกว่า 2 “I” แต่หมายความว่า “ฉันและคุณ” หรือ “ฉันและเขา” หรือ “ฉันและคนเหล่านั้น”
จึงเป็นธรรมเนียมในบทบรรณาธิการมักจะใช้คำ “we” เสมอ เพราะผู้เขียนมีเจตนาที่จะรู้สึกว่าไม่เป็นการเห็นแก่ตัวที่จะพูดสิ่งต่างๆ เพื่อตัวเอง แต่พูดเพื่อเพื่อนร่วมงานทั้งหมด เช่น
We believe that the government had made a profound mistake in imposing this tax.
ในภาษาพูด บางครั้ง “us” ใช้แทน “me” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประโยคคำสั่ง เช่น
Let’s have a look หมายความว่า “let me have a look.”
Tell us what he said = Tell me what he said.
บุรุษที่ 2 “Thou, thee, ye” เป็นภาษาโบราณและไม่ค่อยได้ใช้แล้วนอกจากในภาษากวี
บุรุษที่ 3 “he, him” ใช้แทนนามเพศชายเอกพจน์ “she, her” ใช้แทนนามเพศหญิงเอกพจน์ “it” ใช้แทนนามไม่มีเพศเอกพจน์ “they, them” ใช้แทนนามเพศชาย นามเพศหญิง และนามไม่มีเพศรูปพหูพจน์
“she (her)” บางครั้งใช้กับสิ่งไม่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรือรบ, รถยนต์ ยวดยาน เครื่องบิน ฯลฯ เพื่อแสดงความรัก ประทับใจหรือความคุ้นเคยกับสิ่งนั้น ชื่อประเทศและชื่อเมืองต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูดทางการ ก็ใช้สรรพนามเพศหญิงแทนเช่นกัน เช่น เจ้าของรถพูดที่ปั้มนํ้ามัน “Fill her up, George.”
That’s the Queen’s yatch, Britannia; she’s a beautiful ship. .
England has done what she promised to do.
“เด็กทารก” (a baby) ใช้ “it” แทนได้ แต่พ่อแม่ที่รักลูกจะไม่ค่อยพูดเช่นนั้น
“It”
1. คำสรรพนาม “it” มักจะใช้กับสิ่งของ แต่ไม่ใช้กับบุคคล แต่ “it” มักจะนำไปใช้กับคนที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ถ้าเมื่อรู้จักกันครั้งหนึ่งแล้ว จะใช้ “he หรือ she” แทน เช่น
Someone was moving stealthily about the room; it was a burglar. As we watched, he went to the safe and tried to open it.
2. “it” ใช้เป็นประธานตลอด เมื่อใช้กับกิริยาที่แสดงสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น
It is raining/snowing/freezing.
It was a bitterly cold night and at ten o’clock.
It is very warm/cold/wet.
It began to blow a gale.
และใช้สำนวนเกี่ยวกับ “เวลา” และ “หน่วยวัด” เช่น
It is half past two.
It is fifteen miles to London.
และ “it” ยังใช้ในฐานะมิได้แทนบุคคลหรือสิ่งของหรือสัตว์ใดๆ ที่เรียกว่า “Impersonal Pronoun” แต่ใช้เป็นคำนำคำกล่าว เช่น
It says that Shakespeare’s plays were written by Bacon.
3. “it” ใช้เป็นประธานหรือกรรมเสนอในโครงสร้างที่ประธานหรือกรรมตัวจริงตามหลังมาในรูป Infinitive หรือ Subordinate Clause เช่น
It is easy enough to talk.
It was quite plain that he didn’t want to come.
I took it for granted that you would stay with us.
I find it difficult to believe that.
บางครั้งโครงสร้างเช่นนี้ ยังแสดงความหมายเน้นให้กับประธานตัวจริงที่ตามหลังมาด้วย เช่น
It was his mother, not his father, who said that.
4. “it” ยังใช้แบบสำนวนในประโยคหรือกลุ่มวลี (มักจะเป็นภาษาพูดหรือแสลง) ซึ่งแสดงความหมายไม่สำคัญอะไรนัก เช่น
Hang it all, we can’t wait all day for him, I’ll let him have it, hot and strong.
5. “it” อาจจะใช้แทนความทั้งประโยค เช่น
You have saved my life; I shall never forget it.
He is trying to win a scholarship to Oxford; he won’t find it easy.
แต่โครงสร้างเช่นนี้ ห้ามใช้ “it” หลังกิริยา know, remember, try, tell, forget เช่น “We are having a holiday tomorrow” “yes, I know.” (ไม่ใช่ “I know it.”)
“So”
1.. “so” ใช้เหมือนกับว่าแทนประโยคบอกเล่าทั้งประโยค โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้หลังกิริยาต่อไปนี้: say, think, hope, believe, suppose, expect, hear, tell, imagine, fear, be afraid ซึ่งเหมือนกับ “it” ใช้แทนประโยคข้างต้น เช่น
Will George pass his examination? I think so.
You thought Henry stole the money; well, so he did.
We have information that the enemy will attack tonight.
And if so what are we going to do?
โครงสร้างรูปปฏิเสธข้างต้นอาจแสดงได้ 2 วิธี คือ
1.1 I think/believe/suppose/expect/hope/hear/am afraid/not หรือ if not
1.2 I don’t think/believe/suppose/expect/so.
จงสังเกตว่าในการสร้างโครงสร้างปฏิเสธแบบที่ 2 นั้นจะไม่ใช้กับกิริยา hepe และ be afraid
2. “so” ใช้กับ “Do” เพื่ออ้างถึงกิริยาที่อยู่ข้างหน้า
I told him to come and see me the next day, and he did so.
If you want me to help them I will do so.
3. “so” ใช้กับ “verb to BE” หรือ กิริยา “remain, seem แระ make” เพื่อแทนค่าคุณค่าศัพท์ หรือคำนามที่อยู่ข้างหน้า
He has been very helpful to me in the past and I hope he will be so in the future.
The country round my house has been unchanged for twenty years; may it long remain so.
He has been a teacher here for five years and I hope he will be so for many more years.
4. “so” ยังใช้ในความหมาย “ด้วยเหมือนกัน” (= also) เช่น
My husband likes French cooking and so do I.
Peter is working hard for his examination, and so is James.
“One”
“one” เคยทราบแล้วว่าเป็น “numeral Adjective” เช่น There was only one boy there, not two. แต่ในที่นี้ยังใช้เป็นคำสรรพนาม (Pronoun) ได้อีกด้วย เช่น
One cannot do the work of twenty. One of your brothers came to see me today.
ในกรณีเช่นนี้ รูปพหูพจน์ของ “one” คือ “some” เช่น
เอกพจน์: Take one of these chocolates.
พหูพจน์: Take some of these chocolates.
การใช้ “one” ในฐานะคำสรรพนามยังมีในกรณีต่อไปนี้:-
1. ใช้แทน “บุคคลต่างๆ” หรือ “ผู้พูด” หรือ “ใครก็ตาม” ซึ่งอาจใช้เป็นประธานหรือกรรม และมีรูปแสดงความเป็นเจ้าของคือ “one’s” และรูปสรรพนามสะท้อนกลับ (Reflexive Pronoun) คือ “oneself” แต่ใช้กับกิริยาเอกพจน์ เช่น
One can only do one’s best.
One can’t be too careful in matters like this.
I don’t think one should over work oneself.
ในประโยคต่อไปนี้เป็นการใช้ “one” ที่ค่อนข้างจะรุ่มร่าม
When one is given one’s choice of courses of action, any of which would be to one’s disadvantage, one often has a difficulty in deciding what one ought to do.
บางคนพยายามแก้ไขความรุ่มร่ามอันนี้ แต่มิได้ใช้ความรอบคอบพอสมควร จึงอาจเขียนเป็นดังนี้
When one is given his choice of courses of action, any of which would be to his disadvantage, they often have difficulty in deciding what they ought to do.
รูปการเขียนที่ดีควรเป็นดังนี้
1. When someone is given his choice of courses of action, any of which would be to his disadvantage, he often has difficulty in deciding what he ought to do.
หรือ
2. When you are given your choice of courses of action, any of which would be to your disadvantage, you often have difficulty in deciding what you ought to do.
2. “one” ปกติใช้แทน “บุคคลคนเดียว” ที่ไม่ชี้เฉพาะ เช่น
You are the first one who has ever explained this clearly.
He is not one to be easily frightened.
ใช้ “one” ในฐานะคำสรรพนามหรือคุณศัพท์
3. “one” ใช้กับคำบางคำเพื่อบอกจำนวนให้แตกต่างจากคำ “other หรือ another” เช่น
There are two choices open to you. You must take either the one or the other. (สรรพนาม)
The two twins are so much alike that I can’t tell the one from the other. (สรรพ,นาม)
One evening we went to the theatre, another evening we went dancing. (คุณศัพท์)
4. ในตัวอย่างต่อไปนี้ “one” มิได้มีความหมายบอกจำนวน แต่ใช้บอกเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น
He always hopes that one day he will win the prize. (คุณศัพท์)
One of these days I’ll go and see him. (สรรพนาม)
I must have met him at one time or another. (คุณศัพท์)
5. บางครั้ง “one” มีความหมาย “แต่เพียงเท่านั้น’’ (= only, single) ซึ่งใช้เป็นคำคุณศัพท์ตลอด เช่น
The one man who could have saved the situation was dead.
No one woman could run a big house like that.
“one” ใช้แทนทำนามข้างหน้า
6. การเขียนหนังสือส่วนใหญ่มักจะใช้โครงสร้างเช่นนี้มาก มีโครงสร้างบางอันที่ “the + Adj.” ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ ซึ่งจะต้องใส่ “one” แทนคำนามที่ต่อท้าย Adjective นั้น มิฉะนั้นจะต้องใส่คำนามลงไปอีกครั้ง เป็นการใช้คำซ้ำซาก ซึ่งงานเขียนที่ดีจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำเช่นนี้ และคำนามที่ “one” จะแทนได้ต้องเป็นนามเอกพจน์นับได้เท่านั้น เช่น
Brown’s old car is a good one; it’s much better than our new one.
There was an old man and a young one there.
I like a strong cup of tea better than a weak one.
และรูปพหูพจน์ของ “one” ในที่นี้คือ “ones” เช่น
I prefer red roses to white ones.
There was a mother bird in the nest and there were four young ones.
“one” สามารถใช้กับ “the” แทนนามชี้เฉพาะได้
A : “Which girl is Joan Robinson?”
B : “The one in the green dress.”
A : “Which biscuits do you like best?”
B : “The ones with chocolate on them.”
“one” จะไม่ใช้กับคำ “own” เลย เช่น
I can’t write properly with your pen; I’d rather use my own. (ไม่ใช้my own one.)
“ones” จะไม่ใช้กับ Cardinal Number เลย
You have three books; I have only two. (ไม่ใช้ two ones.)
การใช้ “one” ใน ลักษณะสำนวนต่างๆ
He can go or he can stay; it’s all one to me. (= ไม่มีผลอะไรสำหรับผม)
He was a man that was liked by one and all. (= ทุกคน)
2. สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Pronouns)
ได้อธิบาย ‘‘คุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ’’ (Possessive Adjective) ไว้แล้วในเรื่อง “คุณศัพท์ซึ่งจะต้องใช้ประกอบกับคำนามเสมอ แต่ ‘‘สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ” สามารถใช้อยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้เลย ซึ่งมีรูปแตกต่างจาก “คุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ” ดังนี้
Poss. Adj.
Poss. Pron.
Poss. Adj.
Poss. Pron.
my
mine
his
his
our
ours
her
hers
your
yours
its
its
thy
thine
their
theirs
เช่น
That is my book. = That book is mine.
That is your book. = That book is yours.
That is his book. = That book is his.
That is her book. = That book is hers.
That is our book. = That book is ours.
That is their book. = That book is theirs.
History has its lessons and fiction has its.
ตัวอย่างอื่นๆ เช่น
Ours is the only garden in the lane that has oak tree in it.
Their house is older than yours.
He took the bone from his dog and gave it to hers.
I lend my books gladly to my friends and to yours.
Today we went in our car; tomorrow we are going in theirs.
รูป Possessive Pronoun “its” ไม่ค่อยได้ใช้ แต่สามารถใช้ได้ในประโยคเช่นนี้:-
The cherry tree gives its share of colour to the garden, and the lilac tree gives its.
รูป Possessive Pronoun อาจนำไปใช้ในกลุ่มวลีเช่นนี้
My best wishes to you and yours. (= your family) from me and mine. (= my family)
และใช้ในคำลงท้ายจดหมายแบบเป็นทางการ (Complimentary Close)
Yours sincerely/truly/faithfully หรือ Sincerely/truly/faithfully yours.
รูป Possessive ซ้ำซ้อน
มีรูปแบบการใช้ Possessive Pronoun อีกรูปหนึ่ง คือ of + Possessive Pronoun เช่น
He is a friend of mine. (ไม่ใช้ a friend of me.)
It was no fault of yours that we mistook the way.
I gave him some plants of mine in exchange for some of his.
หมายเหตุ ขอให้นำไปศึกษากับรูป Possessive ซ้ำซ้อนของคำนามด้วย
3. สรรพนามชี้เฉพาะ (Demonstrative Pronoun)
ได้กล่าวถึง Demonstrative Adj. มาครั้งหนึ่งแล้วในเรื่อง “Determinatives” (คำกำหนดนาม) คือ คำ “this, that” และรูปพหูพจน์ของมัน คือ “these และ those” ซึ่งจะต้องใช้ประกอบนามเสมอ เช่น
I want this car, not that car.
แต่ค่าเหล่านี้อาจใช้อยู่ตามลำพังโดยไม่ต้องมีคำนามต่อท้ายก็ได้ จะทำหน้าที่เป็น Demonstrative Pronoun เช่น
That’s an excellent idea.
This is my brother, and these are my two sisters.
My seat was next to that of the Major.
Compare Chopin’s waltzes with those of today.
คำสรรพนามเหล่านี้นอกจากจะอยู่ในตำแหน่งคำนามแล้วยังแสดงความหมายบอก ‘‘ตำแหน่งสถานที่ (position)” หรือ ‘‘กาลเวลา” (space or time)” โดยวัดจากตัวผู้พูด (Speaker) เป็นหลัก โดย “this, these” แสดงความหมายใกล้ตัวผู้พูด แต่ “That, Those” แสดงความหมายไกลออกไป เช่น
There is this seat here, near me, or there is that one in the fourth row.
Which will you have, this or that?
That is what I thought last year, this is what I think now. /
คำ “the former และ the latter” อาจถูกใช้เป็น Demonstrative Pronouns ด้วย เช่น
The orchestra played two Beethoven Symphonies, The Third and the Fifth; The former was played magnificently; the latter was not so well done.
“Such”
“such” เป็นทั้ง Demonstrative Pronoun และ Demonstrative Adjective เช่น
I have had such a busy morning. (Adjective)
I never saw such wonderful stained glass as that of Chartres. (Adjective)
You shouldn’t say such things. (,Adjective)
It’s difficult to work indoors on such a lovely day. (Adjective)
ขอให้สังเกตว่า “a หรือ an” เมื่อใช้กับ “such” “a หรือ an” จะต้องอยู่หลัง “such” เสมอ และ “such” ใช้ประกอบทั้งนามเอกพจน์นับได้ นามพหูพจน์และนามนับไม่ได้
ตัวอย่าง “such” ใช้เป็น Demonstrative Pronoun เช่น
John is the captain of the team, and, as such, must decide who is the bad first.
His carelessness is such as to make it unlikely that he will pass the examination.
Such is life!
“such as” มีความหมาย “เช่น” (= for example)
They export a lot of fruit, such as oranges, lemons, etc.
“such as” ใช้กับ Verb to BE บางครั้งแสดงความหมาย “ดูถูก” หรือ “ออกตัวในเชิงขออภัย” เช่น
He gave me his help, such as it was. (= แต่ก็ไม่มีประโยชน์เท่าใดนัก)
I expect his friends, such as they are, will be at the party.
My services, such as they are, are entirely at your disposal.
4. สรรพนานสะท้อนกลับหรือเน้น (Reflexive Pronoun)
รูป Reflexive Pronoun สร้างโดยการเติม “-self” และรูปพหูพจน์ของมัน คือ “-selves” ที่ท้ายรูป Possessive Adjective สำหรับบุรุษที่ 1 และที่ 2 และที่ท้าย Objective Pronoun สำหรับบุรุษที่ 3 ดังนี้
Singular
Plural
1st person
2nd person
3rd person
myself
yourself
himself
herself
itself
oneself
ourselves
yourselves
themselves
สรรพนามชนิดนี้มี 2 หน้าที่ คือ
1. ในหน้าที่สะท้อนกลับ (Reflexive)
2. ในหน้าที่เน้น (Emphasizing)
สรรพนามสะท้อนกลับ (Reflexive Pronoun) หมายถึง การกระทำที่ผ่านไปจากประธานสะท้อนกลับมาประธานอีกครั้ง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “ผู้กระทำ” (Subject) กับ “ผู้ถูกกระทำ” (Object) คือ คนๆ เดียวกันนั่นเอง เช่น
I am teaching myself Latin.
He shaves himself every morning.
The visitors help themselves to the cakes.
She saw herself in the looking-glass.
One should try to see oneself as others see one.
It’s a pity we can’t see ourselves as others see us.
Reflexive Pronoun อาจมีเสียงเน้นหนัก (Strong stress) หรืออาจไม่ถูกเน้นหรือมีเสียงแผ่วเบา (Weak Stress) ขึ้นอยู่กับความหมายของประโยค ถ้าประโยคนั้นมีข้อความขัดแย้งกัน Reflexive Pronoun จะได้รับเสียงเน้นหนัก (Strong Stress) เช่น
She thinks only about herself, never of other people
Little Albert said, “I don’t need nurse to wash me; I can wash myself now.”
ประโยคต่อไปนี้ Reflexive Pronoun จะมีเสียงแผ่วเบา (Weak Stress)
Little Albert is only four, but he can feed himself, wash himself and dress himself.
Reflexive Pronoun อาจใช้ในกรณีต่อไปนี้
1. ใช้เป็นกรรมตรง (Direct Object) ดังเช่นในตัวอย่างที่แล้วๆ มา
2. ใช้เป็นกรรมรอง (Indirect Object) เช่น
You have given yourselves a great deal of work.
I told myself there was nothing to be afraid of.
He cooked himself a good meal.
She bought herself a new hat.
ข้อสังเกต ใช้ในโครงสร้าง S +V + Ind. O + D.O. นั่นเอง จงแปลว่า “กระทำอะไรให้ตนเอง”
3. ใช้ตามหลัง Verb to BE และในกรณีนี้จะมีเสียงเน้นหนัก (Strong Stress) เช่น
If he has a holiday at the seaside he will soon be himself.
Ah, that’s better. You are yourself again.
4. ใช้ตามหลัง Preposition (บุพบท) หรือในหน้าที่ Prepositional Object นั่นเอง เช่น
She looked at herself in the looking-glass.
What have you to say for yourself?
I want a little time to myself.
She loves me for myself, not for my money.
He ought to be ashamed of himself.
Speak for yourself.
George is very pleased with himself.
ถ้าประโยคไม่มีความหมายแสดงการกระทำสะท้อนกลับ Preposition Phrase เป็นเพียงทำหน้าที่ Adverb, เท่านั้น ให้ใช้รูป Objective Pronoun แทน เช่น
He took food for the day with him.
She shut the door behind her.
We have the whole day before us.
He put the thought from him.
บางครั้งรูป Reflexive Pronoun ใช้แทนรูป Objective Pronoun เพื่อเพิ่มความชัดเจนทางความหมาย เช่น
She suspected that they recognized her sister but not herself. (ตามความเป็นจริงใช้”her” เพราะเป็น Object ของกิริยา “recognized”)
บางครั้งการใช้รูป Reflexive Pronoun เพียงเพื่อแสดงความสุภาพ หรือผู้พูดไม่แน่ใจว่าควรจะใช้คำ “I” หรือ “me” เช่น
My wife and myself were invited to the party.
There was an invitation to my wife and myself.
บางครั้ง Reflexive Pronoun โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “myself’ ถูกใช้แทนบุรุษสรรพนามธรรมดา เช่น
My brother is as old as myself. (ควรใช้ “I”)
No one realizes that more than myself. (ควรใช้”I”)
คำกิริยาที่ใช้กับ Reflexive Pronouns
มีกิริยาอยู่ 2-3 คำที่ใช้กับรูป Reflexive Pronoun เสมอ เช่น
I pride myself on always having a tidy garden.
He availed himself of the opportunity to speak to her.
All the students absented themselves from the class.
กิริยาบางคำใช้กับรูป Reflexive Pronoun ในความหมายบางอย่าง
I hope the children will behave themselves.
They acquitted themselves well.
I hope you will enjoy yourself at the party.
He applied himself to the task of organizing.
The finances of the Company.
กิริยา “behave, acquit, enjoy, apply”
ใช้ไม่กระทบ Reflexive Pronoun ก็ได้ เช่น
The judge acquitted the prisoner.
I enjoyed the concert very much.
He applied a hot poultice to the sore foot.
The children behaved very well.
บางครั้ง Reflexive Pronoun ใช้ในความหมาย “ซึ่งกันและกัน”
They were busy arguing among themselves. (= with each other)
ต่อไปนี้เป็นการใช้ Reflexive Pronoun ในลักษณะเน้น (Emphasizing) ซึ่งจะมีเสียงเน้นหนัก (Strong Stress) อย่างยิ่งที่คำ Reflexive Pronoun เพื่อแสดงความหมายขัดแย้ง เช่น
You yourself (=ไม่ใช้ใครอื่น) told me the story.
ข้อสังเกต การใช้ Reflexive Pronoun ในลักษณะเน้น มักจะวางคำ Reflexive Pronoun หลังคำที่มันเน้นเสมอ แต่อาจวางไว้ท้ายประโยคก็ได้ เช่น
I myself saw him do it. = I saw him do it myself.
The Duke himself piloted the plane. = The Duke piloted the plane himself.
บางครั้ง Reflexive Pronoun ความหมายเน้น อาจนำมาใช้ในสำนวน “by oneself” = alone (ตามลำพัง, ไม่มีใครช่วยเหลือ) เช่น
This is a machine that works by itself.
The little girl travelled from London to New York by herself.
“all” อาจนำมาใช้กับโครงสร้างเช่นนี้เพื่อเน้นความหมายยิ่งขึ้น เช่น Don’t you feel lonely living here all by yourself?
เมื่อใช้ในความหมาย “ไม่มีใครช่วยเหลือ” อาจละ “by” ก็ได้ เช่น
He tried to move the piano into the other room (by) himself, but couldn’t manage it.
5. สรรพนามสร้างคำถาม (Interrogative Pronoun)
สรรพนามสร้างคำถาม (Interrogative Pronoun) มีดังนี้ who, (whom, whose) which, what เป็นคำที่ใช้สร้างประโยคคำถาม และจะอยู่หน้ากิริยาเสมอ เช่น
ข้อสังเกต ถ้าใช้เป็นประธานของประโยค อาจใช้กิริยาเพียงคำเดียวได้เลย แต่ถ้าใช้เป็นกรรม จะต้องมีกิริยาช่วย (Helping Verbs) 1 ตัวต่อท้ายเสมอ
Interrogative Pronoun จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปตามเพศหรือพจน์ ฉะนั้นคำตอบของคำถามที่สร้างด้วยคำเหล่านี้ จึงเป็นเพศใดหรือพจน์ใดก็ได้ เช่น
คำถาม : Who broke the window?
คำตอบ : อาจเป็น “Henry” หรือ “Mary” หรือ “Henry and Mary”
คำถาม : Here are some apples; which would you like?
เราอาจยื่น แอปเปิ้ลให้ลูกหนึ่งหรือมากกว่า 1 ลูก ถ้าเราต้องการให้จำนวนของ “which” ชัดเจนยิ่งขึ้นควรใช้ “which” ประกอบกับคำ “one” หรือ “ones”
เช่น
“Here are some apples; which one would you like?” (Singular) หรือ
“Here are some apples; which ones would you like? (plural)
นอกจากนี้ Interrogative Pronoun ยังถูกนำไปใช้สร้างคำถามอ้อม (Indirect Questions) ด้วย (คำถามจากตัวอย่างทั้งหลายเรียกว่า “คำถามตรง”) (Direct Questions) เช่น
“What happened after that?” (Direct)
“He asked me what had happened after that.” (Indirect)
“Who is going to the party?” (Direct)
He asked me who was going to the party. (Indirect)
ข้อสังเกต เมื่อสร้างเป็น Indirect Questions “Interrogative Pronoun” จะย้ายมาอยู่กลางประโยค ซึ่งเปลี่ยนหน้าที่ทางไวยากรณ์มาเป็นตัวเชื่อม (Relative) ของ Clause ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในเรื่อง Relative Pronoun
“Who”
“Who” ใช้กับบุคคลเท่านั้น อาจเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ และอาจใช้แทนนามเพศชายและนามเพศหญิง เช่น
“Who spilt the ink?” “Henry did.”
“Who can answer that question?” “Mary can.”
“Who” คือ รูปประธาน ส่วน “Whom” คือรูปกรรม เช่น
“Who(m) did you see?” “I saw George”
O H.V. S V
“To whom did you give the letter?”
prep O S V D.O.
Who (m) did you give the letter to?
(“whom” เป็นภาษาเขียนทางการแต่ในภาษาพูดมักจะใช้ “who” ถ้าไม่อยู่หลังบุพบท)
ข้อสังเกต จงสังเกตความแตกต่างทางโครงสร้างข้างต้นตามความจริงแล้ว “whom” มีหน้าที่เป็น Indirect Object นั้นคือ ใช้โครงสร้างพื้นฐาน S+V+lnd.O.+D.O. สร้างประโยค แต่คำ “whom” จะต้องมี Preposition ควบด้วยเสมอ ไม่อยู่หน้าก็อยู่ท้ายประโยค แต่กับบุรุษสรรพนามนั้นไม่ต้องมีบุพบทเลย เช่น
They gave him the prize.
รูป Possessive ของ “who” คือ “whose” เช่น
Whose are those gloves and whose is this umbrella?
“What”
“What” มักใช้กับสิ่งของ เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ เป็นทั้งประธานและกรรมของประโยค และไม่มีรูป Possessive เช่น What is this? What are those strange objects? ความแตกต่างระหว่าง “who” (สำหรับบุคคล) และ “what” (สำหรับสิ่งของ) จะสังเกตได้ชัดจากประโยคต่อไปนี้
Who broke the window? และ What broke the window?
Whom did you see? และ What did you see?
“What” อาจใช้แทนพฤติกรรม (Activity) หรือการกระทำ (Action) ในกรณีเช่นนี้คำตอบของคำถาม จะเป็นคำกิริยาในรูปต่างๆ
“What are you doing?” “I’m cleaning the car?”
“What’s that thing for?” “It’s for punching holes in paper.”
“What have you done?” “I’ve knocked the vase off the table.”
“What” ยังถูกนำไปใช้ถามเกี่ยวกับอาชีพ (Profession) ด้วย เช่น
คำถาม : “What is that man talking to your father?”
คำตอบ : “He is a lawyer/a gardener/a Member of Parliament.
ข้อสังเกต ถ้าถามด้วย “who” จะตอบด้วยชื่อ เช่น
A : Who is that man talking to your father?
B : He is Mr. Brown.
การแสตงเจตนาของการถาม “who และ what” จะเห็นได้ในประโยคนี้
I don’t know who or what he is; and I don’t care.
ขอให้สังเกตด้วยว่าโครงสร้างคำถาม “What……like? นั้น ต้องการคำตอบอีกลักษณะหนึ่ง เช่น
A : What is he like?
B : He’s tall, dark and handsome. หรือ
A : What’s he like as a pianist?
B : Oh, he’s not very good. หรือ
A : What’s his work like?
B : It’s quite good.
A : What is he like?B : He’s tall, dark and handsome. หรือA : What’s he like as a pianist?B : Oh, he’s not very good. หรือA : What’s his work like?B : It’s quite good.
“Which”
“Which” ใช้กับบุคคลและสิ่งของ เป็นเอกพจน์และพหูพจน์เป็นทั้งประธานและกรรมของประโยค และไม่มีรูป Possessive เช่น
Which is your book? (Singular)
S V C
Which are your books? (Plural)
Which do you like best?
O H.V. S V E
ข้อแตกต่างระหว่าง “what” และ “which”
“what” ใช้ในความหมายที่เราจะเลือกของต่างๆ จากจำนวนที่ไม่กำหนด แต่ “which” จะมีความหมายให้เลือกจากจำนวนที่กำหนด และการเลือกที่ใช้ “which” จะแสดงให้ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วยโครงสร้าง “Which of” เช่น
Which of your boys can’t do this exercise?
Which will you have, tea or coffee?
A : What are you taking in your examination?
B : I’m taking English, French, and German.
A : Which of them is your best subject?
B : English.
A : What would you like to study in next year’s literature course?
B : A Shakespear’s play
A : Very good; which would you like?
B : Macbeth.
ข้อแตกต่างระหว่าง “who” และ “which”
จงสังเกตความแตกต่างทางความหมายของคำทั้งสองจากประโยคต่อไปนี้
Who would like to come for a game of football?
Which of you would like to come for a game of football?
สำหรับคำถาม “who” ผู้พูดพร้อมที่จะพาทุกคนที่ต้องการจะมาดูฟุตบอล แต่คำถาม “which” ผู้พูดจะพาไปเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น
Interrogative Adjectives
จากเรื่อง “Determinatives” ว่า Interrogative Adj. มี 3 คำ คือ whose, what และ which ซึ่งก็เหมือนคำคุณศัพท์โดยทั่วไปที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป พวกมันสามารถถูกนำไปใช้กับบุคคล (ทั้งเพศชายและเพศหญิง) และสิ่งของ พวกมันอาจเป็นส่วนหนึ่งของประธานหรือส่วนของกรรม (เพราะต้องมีคำนามตามหลัง) และสามารถตามด้วยกิริยาเอกพจน์หรือพหูพจน์ เช่น
สำหรับคำถามที่ถามเกี่ยวกับธรรมชาติของบุคคลหรือสิ่งของเรามักใช้โครงสร้าง “What kind of?” หรือ “What sort of?” เช่น
What kind of chocolates do you like best?
What sort of a girl is she?
“Which”
Which boy (girl) has (which boys/girls/have) answered correctly all the questions?
Which eye was injured, his right or his left?
ข้อแตกต่างระหว่าง “what” และ “which” ในฐานะ Interrogative Pronoun ซึ่งได้ยกตัวอย่างให้เห็นแล้ว จะมีความหมายแตกต่างลักษณะเดียวกันเมื่อใช้ในฐานะ Interrogative Adjective เช่น
A : What subjects are you taking in your examination?
B : English, French and German.
A : What play would you like to study next term?
B : One of Shakspeare’s
A : Very good; which play would you like?
B : Macbeth.
รูปเน้นของ Interrogative Pronoun
จะเติม “-ever” ที่ท้ายคำ Interrogative Pronoun “what, who, which” เพื่อแสดงความหมายเน้นเกี่ยวกับความรู้สึกประหลาดใจ, โกรธ และไม่พอใจ เช่น
Who ever can be calling at this time of night?
Who ever heard of such a silly idea?
What ever were you thinking of to suggest such a plan?
การใช้ในลักษณะสำนวน
มีสำนวนบางอันที่ประกอบด้วย “who, which, what” (ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยคคำถาม) เช่น
What about a cigarette/something to eat? (= would you like; shall we have……?)
Oh! there’s Mr. What’s-his-name ใช้พูดเมื่อจำชื่อไม่ได้
It’s a what-do-you-call-it.
It was so dark that I couldn’t tell who was who.
The two twins are so alike that I can’t tell which is which (หรือ who is who)
I don’t know anyone at this party; you must tell me who’s who.
You’ll find his name in Who’s Who. (= หนังสือรวมชีวประวัติบุคคล)
He’s a clever fellow; he knows what’s what.
6. สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ (Indefinite Pronouns)
กลุ่มของ-Indefinitive Pronouns มีดังนี้
some (thing; -body: -one), any (thing, -body, -one) all, one, none, no (-thing, -body, -one), every (thing, -body, -one) other, another, much, less, (a) few, (a) little, enough, each, either, neither.
หลายคำในกลุ่มนี้ใช้เป็นคำคุณศัพท์ได้ ซึ่งได้ผ่านมาแล้วในเรื่อง “Determinatives” (คำกำหนดนาม) เช่น
Have you any matches? (Adj.)
Ask John if he has any. (Pron.)
I wish I had some red roses. (Adj.)
I must try, to grow some next year. (Pron.)
The notice said. “All boys must be in school by 9 o’clock.” (Adj.)
But all were not there at 9 o’clock. (Pron.)
We all life Mr.Thompson very much. (Pron)
He told me a lot of other things that I can’t remember now. (Adj.)
Which one are you going to choose, that one or the other? (Pron.)
At the party each child was given an orange and a bag of sweets. (Adj.)
Each of them was also given a present from the Christmas tree. (Pron.)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ Indefinite Pronouns และ Indefinite Adjective บางคำ
“either และ neither”
“either” หมายความถึง “สิ่งหนึ่งหรืออีกสิ่งหนึ่งในระหว่าง 2 สิ่ง” “neither” หมายถึง “ไม่ใช่สิ่งนี้และไม่ใช่สิ่งนั้น นั่นคือ เป็นการปฏิเสธของทั้ง 2 สิ่ง ทั้ง 2 คำนี้ใช้เป็นทั้ง Distributive Pronoun และ Distributive Adjective และทั้ง 2 คำใช้เป็นเอกพจน์ (Singular) เช่น
Either of these machines is suitable for the work you want done. (Pron.)
Neither of my friends has come yet. (Pron.)
There is a train at 11:30 and one at 12:05. either train will get you to Oxford in time for the meeting. (Adj.)
If you don’t want either of those, there is another one at 10:30. (Pron.)
I have travelled by the 11:30 train and the 12:05 and neither train had a restaurant car. (Adj.)
I am very surprised that neither of them had a restaurant car. (Pron.)
“either” บางครั้งหมายถึง “สิ่งหนึ่งและอีกสิ่งหนึ่งใน 2 สิ่ง,’
He came down the road with a girl on either arm.
“On either side of the river, lie.
Long fields of barley and of rye.” (Tennyson)
“all”
“all” ใช้เป็นทั้ง Pronoun และ Adjective และในความหมายเอกพจน์หรือพหูพจน์ เช่น ใช้ในความหมายเอกพจน์
1. เป็น Pronoun หมายถึง “ทุกสิ่งทุกอย่าง’’ (= everything)
When he saw his troops retreat, the General cried,
“All is lost.”
“All’s well that ends well.”
“All is not gold that glitters.
2. เป็น Adjective หมายถึง “จำนวนทั้งหมด เช่น
All the money is spent.
All the world has heard of his name.
He worked hard all the time he was here.
He spent all last week in London.
ใช้ในความหมายพหูพจน์ เป็นทั้ง Pronoun และ Adjective
All the pupils were present. (Adj.)
All are welcome. (Pron.)
I don’t like to speak before all these people. (Adj.)
He has written six novels and all of them are good. (Pron.)
เมื่อประธานของประโยคเป็นคำนาม “all” จะวางไว้ข้างหน้าหรือตามหลังคำนามก็ได้ เช่น
All the students agreed that the concert was good.
The students all agreed that the concert was good.
แต่ถ้าประธานของประโยคเป็นคำสรรพนาม “all” จะต้องวางไว้ข้างหลังคำสรรพนามเสมอ
They all agreed that the concert was good.
“all และ every”
“all” มักจะมีความหมายเหมือนกับ “every” (= ทุกสิ่งทุกอย่าง) แต่โครงสร้างจะต่างกัน
all = Plural Verb นั่นคือ all + Plural Noun
แต่ every + Singular Verb นั่นคือ every + Singular Noun
That’s the sort of job that all boys like doing.
That’s the sort of job that every boy likes doing,
The explosion broke all the windows in the street.
The explosion broke every window
All the people were cheering loudly.
Everybody was cheering loudly.
นอกจากนี้ ความหมายของคำทั้ง 2 ยังแตกต่างกันด้วย เช่น
All the boys were present.
เราพิจารณาเด็กๆ ในลักษณะเป็นกลุ่ม (mass) แต่
Every boy was present.
เรากำลังคิดถึงเด็กแต่ละคนในจำนวนหลายๆ คน ที่มาประกอบกันเป็นกลุ่ม
นอกจาก “all” จะใช้เป็น Pronoun และ Adjective แล้วยังใช้ “all” ในลักษณะ Adverb ได้อีกด้วย เช่น
“each, every (-one, -body)”
“each” และ “every” ยังใช้ในความหมายบอกจำนวนรวม (Totality) ด้วย และมักจะเรียกว่า “Distributives” (ความหมายแจกแจง) “each” ใช้เป็น Pronoun และ Determinative Adjective แต่ “every” ใช้เป็น Adjective เท่านั้น จึงต้องสร้างรูป Pronoun ของมันขึ้น คือ “everyone, everybody, everything” “each” ใช้เมื่อจำนวนเต็มนั้นคือ “2 หรือมากกว่า 2 ขึ้นไป” ส่วน “every” ใช้เมื่อจำนวนเต็ม “มากกว่า 2 ขึ้นไป”ใช้ “each” เป็น Pronoun
Each must do his best.
They each signed the papers.
Mr. Brown came to the school with a bag of apples, and gave the boys two each.
Each of the boys has done his work.
ใช้’ “each” เป็น Adjective
Each man must do his best.
Each person signed the paper.
He gave each boy two apples.
Before choosing a pen, she looked at each one in turn.
ใช้ “every” เป็น Adjective
Every man must do his best.
Every person signed the paper.
He gave every boy two apples.
Every one of the boys has done his work.
“Every cloud has a silver lining” (สุภาษิต)
รูปสรรพนามของ “every”
Everyone knows that Rome is the capital of Italy.
He told everyone that he was a lord.
Everybody was disappointed that you could not come.
Everything he says is true.
Everything in the house was destroyed by fire.
จงสังเกตว่า “each, every, everyone, everybody, everything” จะใช้กับ Singular Verb เสมอ
และจงสังเกตรูป “everyone” กับ “every one” ว่าใช้แตกต่างกัน คือ “everyone” ใช้กับบุคคลเท่านั้น แต่ “every one” ยังสามารถนำไปใช้กับสิ่งของ (นอกจากบุคคล) ได้ด้วย เช่น
She has kept every one of.my letters.
“each และ every”
ยังมีความแตกต่างทางด้านความหมายและวิธีในระหว่างคำ “each” และ “every” ในฐานะ Adjective อยู่บ้าง คือ คำ “each” จะมี ความหมายหนักไปในทาง “กระจายออก” (Distribution) มากกว่าคำ “every”
ส่วนคำ “every” นั้นมีความหมายหนักไปในทางรวบรวมส่วนกระกระจายต่างๆ ให้เข้าเป็นกลุ่มก้อน แต่ “each” มีความหมายเฉพาะเจาะไปที่รายชิ้นส่วนและพยายามแยกมันออกจากกลุ่มก้อน ซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้จากตัวอย่างต่อไปนี้
I visited him every day while he was in hospital. และ
I visited him each day while he was in hospital.
(จะเห็นว่าประโยคใช้ “each” มีความหมายเน้นมากกว่า “every”)
“every” ยังใช้ในลักษณะสำนวนได้ด้วย เช่น
The cheaper paper is every bit as good as the dealer one.
He is every inch a man.
You have every right to be angry.
There is every reason to think he is speaking the truth.
ในกรณีข้างต้นนี้ จะใช้ “each” แทน “every” ไม่ได้เลย และรวมทั้งกลุ่มวลีต่อไปนี้ด้วย
“every other day” “every two days” “every now and then” สำหรับ “every other day” ใช้ได้ 2 ความหมาย ซึ่งในภาษาพูดจะใช้เสียงเน้นหนัก (Stress) ที่คำดังนี้
1. ถ้าเน้นหนักตรง “day” คือ “every other day” หมายความว่า “วันเว้นวัน” เช่น
“I go there every other day.” = I go there on Monday, Wednesday, Friday and Sunday.
2. ถ้าเน้นหนักตรง “other” คือ “every other day” หมายความว่า “ทุกวันอื่น” เช่น
“We have a lesson on Monday, but on every other day there are no lessons.” = There are no lessons on all the other days.
“both”
“both” เหมือนคำ “all” ใช้เป็นทั้ง Pronoun และ Adjective มีความหมายบอก “จำนวนเต็ม” (Totality) แต่ “both” ใช้ในความหมาย “จำนวน 2 คน หรือ 2 สิ่ง” เท่านั้น และใช้กับคำนามพหูพจน์เท่านั้น จึงต้องตามด้วยกิริยารูปพหูพจน์เช่นกัน
“both” ใช้เป็นคำสรรพนาม
I have two brothers; they are both engineers.
I don’t know which book is the better; I shall read both.
“Which of the two girls is he in love with?”
“Both!”
“both” ใช้เป็นคำคุณศัพท์
Both his legs were broken in the accident.
There are houses on both sides of the street.
Both (the) men were found guilty.
“both” ยังใช้เป็น Adverb ในประโยคต่อไปนี้
The book is both useful and amusing.
some (-thing, -body, -one)
“some” ใช้ในกรณีต่อไปนี้
1. ใช้เป็น Adjective หรือ Pronoun และเมื่อเป็น Adjective จะใช้ประกอบนามนับไม่ได้ (Uncountable Nouns) และนามพหูพจน์ (Plural Nouns) และถ้าใช้เป็น Pronoun จะอ้างถึงนามทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว และมีความหมาย “จำนวนที่ไม่กำหนดแน่นอน” เช่น
หมายเหตุ “some” ในตัวอย่างข้างต้นนั้นมีเสียงไม่เน้นหนัก (Weak Stress)
2. แต่ถ้าใช้ “some” ในลักษณะแสดงความหมายขัดแย้ง (Contrast) “some” จะมีเสียงเน้นหนัก (Strong Stress) ด้วย เช่น
Some people hate cats; others dislike dogs.
I enjoy some music, but much of it bores me.
Some of us agree with that statement; some disagree.
Not all your answers were correct; some were, some were not.
3. ถ้าใช้เป็น Adjective สามารถนำไปประกอบนามเอกพจน์นับได้ (Singular Countable Noun) ก็ได้ แต่จะมีความหมาย “หมายเฉพาะแต่สิ่งนั้นซึ่งไม่ปรากฎชัด” (มักจะเป็นความหมายในทางไม่ดี) ซึ่งงในกรณีนี้เวลาพูด “some” จะมีเสียงเน้นหนัก (Strong Stress) เช่น
Some fool had left the lawn-mower on the garden path, and in the dark I fell over it.
He arrived with some old book that he had picked up at a second hand book shop.
“something” และ “some” (เสียงเน้นหนัก) ซึ่ง “some” จะประกอบใช้กับจำนวนเลขด้วย จะมีความหมาย “โดยประมาณ” เช่น
I’ll whistle the tune for you; it goes something like this.
It happened some twenty years ago.
It will take some three or four thousand pounds to rebuild the house.
“any (-thing, -body, -one)
1. “any” ใช้ในความหมายเน้น จะมีความหมายกว้างๆ “ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง” หรือ “อะไรก็ได้” เช่น
Come any day you like.
Get me some cigarettes, please; any kind will do.
Any student can answer the question.
He is a man who will do anything for money.
You must give an excuse for not going; any excuse will do.
I have any number of (= a great many) small plants in my garden; I will give you as many as you want.
2. “any” ใช้ในความหมายไม่เน้น จะมีความหมายเหมือน “some” ที่ใช้ในลักษณะ 1 (ดูการใช้ “some”)
3. “any” ใช้กับนามเอกพจน์นับได้ นามนับไม่ได้ และนามพหูพจน์ เช่น Any sane person would have acted as you did.
Haven’t you any work to do?
Are there any cows in the field?
4. “any” ใช้เป็น Adverb ในประโยคต่อไปนี้:-
I am sorry to say he isn’t any better.
I couldn’t come any sooner.
In spite of your careful explanation, I don’t think he is any the wiser.
“some และ any”
จงสังเกตความแตกต่างทางความหมายระหว่างคำ 2 คำ ในประโยคต่อไป
Richard is older than some of the other boys in his class.(= เขาไม่ใช่คนอายุน้อยที่สุดและก็ไม่ใช่คนอายุมากที่สุด)
Richard is older than any of the other boys in his class. (= เขาเป็นคนที่มีอายุมากที่สุด)
That firm does more business than some of its competitors. (= มากกว่าจำนวนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด)
That firm does more business than any of its competitors. (= มากกว่าทั้งหมด)
ความแตกต่างระหว่าง “some” และ “any” แบบง่ายๆ โดยทั่วไปก็คือ “some” ใช้ในประโยคบอกเล่า (Affirmative Sentence) และ “any” ใช้ในประโยคคำถาม (Interrogative Sentence) และประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence) เช่น
I am looking for some matches.
Have you any matches?
I haven’t any matches.
There is someone in the room.
Is there anyone in the room?
There isn’t anyone in the room?
There’s something I want to ask you.
Is there anything you want to ask me?
There isn’t anything I want to ask you.
ความหมายปฏิเสธอาจจะแสดงด้วยคำ “never, without, seldom etc.” ฉะนั้น “any” จะต้องใช้กับประโยคเช่นนี้ด้วย เช่น
He never had any luck.
He worked hard but without any success.
บางครั้งความหมายคำถามจะแสดงด้วยประโยคเงื่อนไข จึงใช้ “any” ในกรณีนี้เช่นกัน เช่น
If there are any good apples in the shop, bring me two pounds.
ยิ่งกว่านั้น “some” ยังถูกนำไปใช้กับประโยคคำถาม ในกรณีที่ผู้ถามหวังคำตอบ “yes” เช่น
Didn’t you put some matches in your pocket? หมายความว่า “ฉันเกือบแน่ใจว่าฉันเห็นเธอเอาไม้ขีดใส่กระเป๋า” ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ Question-tag
You put some matches in your pocket, didn’t you?
(จงทำความเข้าใจประกอบกับในเรื่อง Question-tag)
คำถาม “Are you expecting someone this afternoon?
เป็นการถามต้องการคำตอบ “yes” ถ้าต้องการคำตอบ “No” คำถามจะเป็นดังนี้
Are you expecting anyone this afternoon ?
เช่นเดียวกัน
Is someone coming this afternoon? (= ผมแน่ใจเพราะผมเห็นคุณกำลังเตรียมอะไรอยู่)
Have you lost something? (= ผมแน่ใจเพราะผมเห็นคุณกำลังค้นหาอยู่)
ลักษณะเช่นนี้อาจนำไปประยุกต์ใช้กับ Adverb “somewhere, anywhere” เช่น
Have you seen him before somewhere? (= ดูคุณเหมือนจะรู้จักเขา)
นอกจากนี้ ถ้าประโยคคำถาม มีความหมายทำนองขอร้อง เชื้อเชิญ หรือ คำสั่ง ให้ใช้ “some” เช่น
Will you ask someone to carry this bag for me, please?
May I give you some more tea?
Won’t you try some of this cake?
Could you let me have some money, father?
“no, nothing, nobody, no one, none”
คำกำหนดนาม “no” ใช้ในลักษณะ Attributive เท่านั้น และมีความหมาย “ไม่มีเลย” (= not any) เช่น
There is no (there isn’t any) salt on the table, and no (there aren’t any) glasses.
“No smoking allowed.”
“no” มีความหมายเท่ากับ “not a” ในประโยค เช่น He is no hero.
“nothing” สามารถแทนด้วยคำ “not anything ส่วน nobody (หรือ no one) สามารถแทนด้วยคำ “not anybody (-one) ยกเว้นเมื่อ “nothing หรือ nobody หรือ no one เป็นประธานของประโยค
There was nothing (= wasn’t anything) in the shop that I wanted to buy.
Can no one (= Can’t anyone) answer the question?
There’s nobody (=There isn’t anybody) in the room.
“nobody และ no one” ใช้สำหรับบุคคล แต่ “none” ใช้สำหรับทั้งบุคคลและสิ่งของ เช่น
No one came to the class. There was nobody in the room.
I wanted some more coffee but there was none left.
“none” เป็น Pronoun และมีความหมายเท่ากับ “not one” หรือ “not any” (= ไม่มีเลย) เช่น
None of his pupils failed their examination.
“How many fish did you catch?” “None.”
“None so blind as those who will not see” (สุภาษิต)
“nobody, nothing และ no one” เป็นเอกพจน์จึงใช้กับกิริยาเอกพจน์ ส่วน “none” ใช้กับกิริยาเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ เช่น
None of us is perfect; we all make mistakes.
“There are none so deaf as those who will not hear.” (สุภาษิต)
“none” ใช้กับกิริยาเอกพจน์นั้น นักไวยากรณ์ส่วนใหญ่เห็นว่าถูกต้องมากกว่าที่จะใช้กับกิริยาพหูพจน์
“none, nothing, nobody, no one” มักจะใช้เพื่อเป็นคำตอบย่อ (Short answers) เช่น
“How-many of the exercises did you get right?” “None.”
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ความแตกต่างระหว่าง “nothing” และ “none” ก็คือ ในการตอบย่อนั้น “nothing” เป็นคำตอบของคำถาม ที่ขึ้นต้นด้วย “What” ส่วน “none” เป็นคำตอบของคำถามที่ขึ้นต้นด้วย “How many” หรือ “How much”
และ “nobody หรือ no one” เป็นคำตอบของคำถามที่ขึ้นต้นด้วย “Who” เช่น
“What is on the table?” “Nothing.”
“How many books are on the table?” “None”
“Who is in the dining-room?” “Nobody” (no one)
“How much petrol is there in the car?” “None”
“no, something, nothing” สามารถใช้ในลักษณะ Adverb ด้วย เช่น He is no better and is still very ill.
It is no faster to go there by train than by car.
No sooner had I let the cat out of the room than she wanted to come in again.
He is something like what his father was at that age.
Your work is nothing like so good as Henry’s.
หมายเหตุ น่าประหลาดที่ “no” เมื่อใช้เป็น Adverb มักจะประกอบกับคุณศัพท์รูปขั้นกว่า (ดังตัวอย่าง 3 ประโยคแรก) จะไม่ใช้กับคุณศัพท์รูปขั้นธรรมดา (ยกเว้น 2 คำคือ “no different และ no good”) และคุณศัพท์ขั้นสูงสุดเลย
“other, another”
“other” ใช้เป็นทั้ง Adjective และ Pronoun เมื่อเป็น Adj. จะไม่มีการเปลี่ยนรูป เมื่อเป็น Pronoun จะมีฐานะเป็นนามนับได้ จึงมีรูปพหูพจน์ “others” และเมื่อใช้กับ Indefinite Article (an) จะเขียนติดเป็นคำเดียวกันคือ “another”
“The other” (เอกพจน์) หมายถึง “สิ่งที่สองในสองสิ่ง” เช่น
He held a sword in one hand and a pistol in the other.
One of my brothers is named Richard, the other is named Frederick.
When we got to that round about we ought to have taken the other road.
“The other (s)” หมายถึง “remaining” (= สิ่งที่ค้าง) เช่น
We got home by 6 o’clock, but the others didn’t get back until about 8 o’clock.
The other guests that we had expected didn’t come.
“other (s)” อาจหมายความว่า “different” (= ต่างๆ) หรือ “additional” (= อีก) หรือ “remaining” (=สิ่งที่ค้าง) เช่น
There are other ways of doing this exercise.
I have no other friend but you.
Some like milk chocolate, others prefer plain chocolate.
“another” มีความหมาย ดังนี้
1. “เพิ่มทีละหนึ่ง” (an additional one) เช่น
Joe is terribly greedy; his hostess offered him another cake but he took one cake, then another and another.
Mr. Brown already has two cars, and now he has bought another.
2. “อีกสิ่งหนึ่ง” (a different one) เช่น
The point of this pencil is broken; can you lend me another, please?
On one day he will say one thing and on another day something quite different.
“each other, one another”
“each other” และ “one another” จะใช้ตามหลังสกรรมกิริยา (Transitive Verbs) เพื่อแสดงความหมาย “ร่วมกัน” นั่นคือ มีความรู้สึกและการกระทำร่วมกัน
นักไวยากรณ์ให้ข้อสังเกตว่า “each other” นั้นมีความเกี่ยวข้องกันเพียง 2 คน เช่น The two sisters love each other.
และ “one another” จะมีคนมากกว่า 2 คนขึ้นไปเกี่ยวข้องกัน เช่น Little children love one another.
นอกจากนี้ “each other” และ “one another” ยังใช้ตามหลังบุพบทได้ด้วย (Preposition Object) เช่น
They gave presents to each other.
They are very fond of one another.
7. Relative Pronoun (สรรพนามทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม)
Relative Pronoun คือ “who” (รูปประธาน) “whom” (รูปกรรม) “whose” (รูปแสดงความเป็นเจ้าของ), “which”, “that”, “as” และ “but” ทุกคำเป็นทั้งรูปเอกพจน์และพหูพจน์ทั้งเพศชายและเพศหญิง
“Relative Pronoun” “who” และ “which” จะไม่มีเสียงเน้นหนักเหมือนกับที่มันถูกใช้ในลักษณะ “Interrogative Pronoun”
หลักการใหญ่ๆ ที่จะใช้ Relative Pronoun เหล่านี้ก็คือนำไปสร้าง Adjective Clause (ขอให้ศึกษาประกอบกับเรื่อง Adjective Clauses)
“who”, “whom” และ “whose”
“who”, “whom” แระ “whose” จะใช้กับบุคคล (persons) เช่น
The man who spoke was my brother.
He is one of the men whom I feel I can trust.
He is a man whose word is as good as his bond.
“which” ใช้สำหรับสิ่งของ (Things) และสัตว์ (animals) เท่านั้น
The current, which is very rapid, makes the river dangerous.
The dog which was lost has been found.
แต่ถ้าสัตว์ถูกตั้งชื่อจะถือเหมือนว่าเป็นบุคคล “who” จะถูกนำมาใช้ในกรณีเช่นนี้
Our dog, Jock, who had been lost for two days, was found and brought home by a policeman.
ถ้าใช้กับ Collective Nouns ซึ่งเป็นบุคคลและมีความหมายเป็นเอกพจน์ จะใช้ “which” แต่ถ้ามีความหมายเป็นพหูพจน์จะใช้ “who (m)” เช่น
The London team, which played so well last season, has done badly this season.
The team, who are just getting their tickets, will meet on the platform at 2:30.
แต่จะใช้ “which” เมื่อ Antecedent เป็นประโยคทั้งประโยค
He invited us to dinner, which was very kind of him.
“That”
“that” ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไป (เป็นทั้งประธานและกรรม เอกพจน์และพหูพจน์) และใช้กับ Antecedent ที่เป็นบุคคลหรือสิ่งของ และเมื่อใช้ในกรณีเป็น Relative Pronoun เช่นนี้ จะไม่มีเสียงเน้นหนัก Shakespeare is the greatest poet that England has ever had.
The plays that he wrote have been performed in almost every country in the world.
They live in a house that was built in 1600.
Have you everything that you need?
“that” (ไม่ใช่ “who” หรือ which”) จะใช้ในกรณีต่อไปนี้
1. ใช้หลังคำ Adjective ขั้นสูงสุด (รามทั้งคำ “first” และ “last”) และหลัง Indefinite Pronoun ส่วนใหญ่
Yesterday was one of the coldest days that I have ever known.
His book is the best that has ever been written on that subject, and yet you say this is the first time that you have heard of it.
He never says anything that is worth listening to.
There’s not much that can be done.
2. ใช้ในประโยคที่ขึ้นต้นด้วย “It is….” “It was ……” และในประโยคคำถามที่เกี่ยวข้องกันลักษณะเช่นนี้
“It’s an ill wind that blows nobody good.” (สุภาษิต)
It is the teacher that is important, not the kind of school he teaches in.
What was it that he wanted?
In which play of Shakespeare’s is it that Viola appears?
Was it you that broke the window?
3. เมื่อ Antecedent มีทั้งบุคคลและสิ่งของ เช่น
He talked brilliantly of the men and the books that interested him.
“that” จะไม่ใช้ใน Non-defining clause เลย และจะมี Preposition วางไว้ข้างหน้าไม่ได้เด็ดขาด (แต่ “which” และ “whom” มี Prep อยู่ข้างหน้าได้)
Preposition จะต้องวางไว้ท้าย Clause เสมอ
Here is the car about which I told you.
Here is the car that I told you about.
“that” ใช้ตามหลัง “same” ได้ เช่น
She wore the same dress that she wore at Mary’s wedding.
แต่ Relative Pronoun ที่ใช้ตามหลัง “same” และ “such” คือ “as” เช่น
I shall be surprised if he does this in the same way as I do.
She wears the same kind of clothes as her sister usually does.
I never heard such stories as he tells.
“What”
“what” จะใช้เมื่อคำ Antecedent ไม่ปรากฏหรือพูดได้ว่า “what” เป็นทั้ง Relative Pronoun และ Antecedent ในคำเดียวกัน (ดูเรื่อง Noun Clause ประกอบ) เช่น
Tell me what you want to know.
ประโยคข้างต้นนี้อาจเขียนได้ดังนี้อีกแบบหนึ่ง
Tell me the things which you want to know.
“what” จะถูกนำไปใช้ในกรณีที่ Antecedent คือ ประโยคทั้งประโยค เช่น
He is an interesting speaker, and, what is more important, he knows his subject thoroughly.
“Whichever, whatever, whoever” คือ Relative Pronoun รูปผสมใช้ในความหมายเน้นขึ้น เช่น
You can have whatever you want.
Take whichever you like.
She can marry whoever she chooses.
ความสัมพันธ์ภายใน Relative Pronouns
Relative Pronouns จะสัมพันธ์กับตัว Antecedent ในเรื่องของพจน์ และบุรุษ จงสังเกตประโยคต่อไปนี้
1. He waved his hand to Brown, whom he saw buying cigarettes in the shop.
2. He waved his hand to Brown, who, he saw, was buying cigarettes in the shop.
ทั้งสองประโยคเขียนถูกไวยากรณ์ทั้งคู่ ในประโยคที่ 1 “whom” เป็นกรรมของ “saw” และในประโยคที่ 2 “who” เป็นประธานของ “was buying”
ข้อสังเกตอีกอันที่ต้องระวังก็คือ เกี่ยวกับพจน์ของกิริยาของ Subordinate Clause ที่มี “one” ใช้อยู่ใน Main Clause เช่น
This is one of the most difficult questions that have been asked.
That is one of the books that were given to us for study.
Richard is one of the boys who always do good work for me.
ข้อสังเกต กิริยาใน Subordinate Clause จะต้องสัมพันธ์กับ Antecedent ที่ติดกับมันมากที่สุด ฉะนั้น “one” แม้ว่าจะเป็นประธานที่ แท้จริง จึงไม่ถูกกระทบด้วย
เมื่อลักษณะของ Adjective Clause เป็นไปในลักษณะเช่นนี้ จึงต้องระมัดระวังให้มาก เมื่อจะใช้ Adjective Clause ในประโยคจะต้องวาง Adjective Clause ให้ใกล้ตัว Antecedent มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
จงสังเกตประโยคที่ใช้ Adjective Clause ที่ชวนขันประโยคนี้
After the wedding the bride and the bridegroom left in a car for London which had been given as a present by the bride’s father.
ที่มา:อาจารย์ชำนาญ ศุภนิตย์, ดร.สัญญา จัตตานนท์, อาจารย์สุทิน พูลสวัสดิ์
[NEW] Pronoun คืออะไร? มีทั้งหมดกี่แบบ ใช้ยังไงบ้าง? มาดูกัน! | pronoun ตาราง – NATAVIGUIDES
PRONOUN คือ อะไร?
หลายคนตอบได้ว่า “คำสรรพนาม” ไง ง่ายๆ ไม่เห็นต้องถาม แต่! ที่ต้องถามเพราะคนส่วนใหญ่เวลาเจอข้อสอบ คำถามที่วัดเรื่องนี้ ยังจะมีความงงๆ ว่าควรใช้ Pronoun แบบไหน? คำนี้ กับคำนี้เหมือนกันมั้ยนะ? แม้คำถามจะง่ายแค่ไหน แต่ถ้าไม่แม่นซักที ก็เสียคะแนนเอาได้ง่ายๆ เลยนะ
ข้อสอบ TOEIC วัด Pronoun ยังไง?
ก่อนไปรู้จักกับ Pronoun ทั้ง 5 ลองทำโจทย์ข้อนี้ดูก่อน ถ้าทำได้ –ลองอธิบายให้ตัวเองฟังดูว่าที่เลือกตอบข้อนั้นๆ เพราะอะไร?
เสร็จแล้วลองอ่านต่อไปว่าที่เราเข้าใจมันถูกมั้ยนะ?
While some countries have made huge investments in the Caribbean lately, others have reduced _____.
(A) themselves
(B) their
(C) they
(D) theirs
สรุป Pronouns ทั้ง 5 แบบ
Subject Pronoun
Object Pronoun
Possessive Adjective
Possessive Pronoun
Reflexive Pronoun
I
me
my
mine
myself
you
you
your
yours
yourself
he
him
his
his
himself
she
her
her
hers
herself
it
it
its
—
itself
we
us
our
ours
ourselves
they
them
their
theirs
themselves
มาไขความกระจ่างเรื่อง Pronoun แต่ละแบบที่ออก สอบ TOEIC กัน และช่วงท้ายจะเอาแนว “ข้อสอบ TOEIC พร้อมเฉลย” เรื่องนี้มาให้ลองทำกันดูด้วย
ดูจากตารางด้านบนแล้ว Pronoun “เหมือนจะ” ไม่ยาก แต่ถ้าลองถามว่า “แต่ละแบบใช้ต่างกันยังไง?” หลายคนจะตอบไม่ค่อยได้ ไม่มั่นใจบ้าง ป้ะ! ค่อยๆ ไปดูทีละแบบกันดีกว่า
Subject Pronoun
I – You – We – They – He – She – It
ตามชื่อเลย คือ Pronoun ที่ทำตัวเป็น Subject (ประธาน) ของประโยคนั้นๆ ปกติมักจะใช้ขึ้นต้นประโยคเลย เช่น
- He is not certain whether to invest in the property market.
- I invited him to the meeting but he declined.
- We bought both sofas from a big furniture warehouse out of town.
และอีกกรณีหนึ่งคือใช้เพื่อหลีกเลี่ยง “ความจำเจ” ในการพูดถึงประธานเดิม (ที่เคยกล่าวถึงไปแล้ว) ก็สามารถใช้ Subject Pronoun มาแทนได้เช่น
- If James was here now, he’d know what to do.
(James = he) - This table is broken and it needs to be repaired.
(This table = it)
โครงสร้างของ Subject Pronoun ในประโยคพื้นฐานก็คือ = Subject Pronoun + Verb
Object Pronoun
me – you – us – them – him – her – it
ทำนองเดียวกันเลย คือเป็น Pronoun ที่ทำตัวเป็น Object (กรรม) ของประโยค เช่น
- His passport was confiscated by the police to prevent him from leaving the country.
- The company invited me to join the management team.
- We really appreciate all the help you gave us last weekend.
และสามารถใช้ในกรณีที่พูดถึง Object ตัวเดิมอีกรอบได้ เช่น
- Babies are curious about everything around them.
(Babies = them) - Don’t bother drying the pan – just leave it to drain.
(the pan = it)
โครงสร้างของ Object Pronoun ในประโยคคือ = Subject + Verb + Object Pronoun
Possessive Adjective
my – your – our – their – his – her – its
กลุ่มนี้ที่ต้องเรียกว่าเป็น Adjective เพราะว่ามันมักวางหน้าคำนามนั่นเอง (ขยายคำนาม) ว่าอะไร ของใคร เช่น
- I’d like to talk to her supervisor about her performance.
- Customs stopped us and checked our bags for alcohol and cigarettes.
- She thanked the staff for their dedication and enthusiasm.
โครงสร้างของ Possessive Adjective คือ = Possessive Adjective + Noun
*ซึ่งทั้งก้อน สามารถไปปรากฎในประโยคเป็น Subject หรือ Object ก็ได้ เช่น
- Everyone has their own ideas about the best way to bring up children.
(ทำหน้าที่เป็น Object ของ has) - Our new house is heaps bigger than our last one.
(ทำหน้าที่เป็น Subject ของประโยค)
Possessive Pronoun
mine – yours – ours – theirs – his – hers
เป็น Pronoun ที่แสดงความเป็นเจ้าของเหมือนกัน โดยจะไม่ได้วางไว้หน้าคำนาม แต่จะใช้แทนคำนามไปเลย ตัวอย่างประโยคเช่น
- Your son is the same age as mine.
(mine = my son) - Yours is the room on the top floor, on the left.
(yours = your room) - Nicky and I both have red hair but hers is lighter than mine.
(hers = her hair, mine = my hair)
จากตัวอย่างจะเห็นว่าการใช้ Possessive Pronoun นั้นสามารถใช้แทนคำนามในตำแหน่ง Subject หรือ Object ก็ได้ และนอกจากนี้ยังมีโครงสร้างการใช้แบบตามหลัง of ได้ด้วย เช่น
- Susan is a friend of mine.
- I think she’s a relation of theirs.
Reflexive Pronoun
myself – yourself – ourselves – themselves – himself – herself – itself
กลุ่มนี้มักจะใช้ในตำแหน่ง Object ในกรณีที่ Object นั้นๆ เป็นสิ่งเดียวกับ Subject ของประโยค ตัวอย่างประโยคเช่น
- I am teaching myself to play the piano.
(myself – I คนเดียวกัน) - She kept telling herself that nothing was wrong.
(herself – she คนเดียวกัน) - It was so noisy that we couldn’t hear ourselves speak.
(ourselves – we คนเดียวกัน)
และสามารถใช้เพื่อบอกว่ากระทำ “ด้วยตัวเอง” คนเดียว ไม่มีใครช่วย โดยใช้ตามหลัง by เช่น
- He lived by himself in an enormous house.
- I prepared the whole meal by myself.
หรือใช้เน้นความหมายถึงคน หรือสิ่งที่เรากำลังพูดถึงในประโยค เช่น
- The director of the company wrote to us himself to apologize for the dreadful service.
(เน้นว่าผู้อำนวยการเขียนจดหมายขอโทษด้วยตัวเองเลยนะ) - They themselves had no knowledge of what was happening.
(เน้นที่พวกเขา – กรณีนี้ใช้เป็น Subject ได้เมื่อมาคู่กับ N./Pronoun เพราะใช้เน้นประธาน)
✿ พื้นฐานน้อย เตรียมสอบ TOEIC ยังไง? ✿
ถ้าพื้นฐานอ่อนมาก หรือไม่มีพื้นเลย ไม่แนะนำให้อ่านเองค่ะ เพราะจะเสียเวลาเตรียมตัวนาน แถมอาจจะเตรียมสอบได้ไม่ดี เพราะไม่รู้ว่าจับจุดถูกรึเปล่า
แนะนำให้หาคนช่วยติวให้ โดยที่ต้องเน้นเรื่องดังนี้ค่ะ
- ปูพื้นฐาน Grammar ให้แม่นๆ เพราะจะช่วยในการฟัง และอ่านบทความต่างๆ ให้เข้าใจมากขึ้น
- รู้ศัพท์ที่ออกบ่อยๆ เน้นจำเฉพาะคำที่ออกสอบบ่อย พร้อมพวกโครงสร้างการใช้ศัพท์ต่างๆ
- ควรฝึกจากแนวข้อสอบจริงๆ จะพัฒนาเร็ว ทำให้ชินกับข้อสอบมากขึ้น
- แนะนำให้หาคนช่วยติว เพราะถ้าพื้นฐานน้อยเราจะไม่รู้ว่าควรเริ่มจากอะไร เก็งตรงไหนบ้าง
✿ สรุปแกรมม่า TOEIC ออกสอบ ครบ จบในเล่มเดียว สั่งซื้อได้เลย! ✿
กดสั่งซื้อหนังสือสรุป TOEIC Grammar ทาง Shopee
กดสั่งซื้อหนังสือสรุป TOEIC Grammar ทาง Facebook
✿ คอร์ส KruDew ติว TOEIC มีให้ครบทุกอย่าง! ✿
ติว TOEIC กับครูดิว ดียังไง?
- คอร์สติว TOEIC ของครูดิวนั้น เรียน Online
- แบ่งบทเรียนชัดเจน เรียนง่ายไม่งง คลิ๊กเลือกบทเรียนที่ต้องการได้ทันที
- สามารถหยุด, เล่นซ้ำบทเรียนที่ต้องการได้แบบไม่อั้น! (ตลอดระยะเวลาคอร์ส)
- อัพเดทข้อสอบ New TOEIC ใหม่ล่าสุด! ครบชุด!
- มีไฟล์ E-Book (PDF) ประกอบการเรียนให้ดาวน์โหลด (และมีหนังสือเรียนเป็นเล่มส่งให้ถึงบ้าน)
- เรียนเวลาไหนก็ได้ อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ แค่มี Internet
- หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบทเรียน สามารถส่งคำถามหาทีมงานได้
- การันตีคะแนน 750+ (หากสอบแล้วไม่ถึง สามารถแจ้งทวนคอร์สได้ฟรี!)
ทดลองติว TOEIC ฟรีได้ที่ >>> คอร์ส KruDew TOEIC
ลองทำข้อสอบ TOEIC เรื่อง Pronouns
ลองไปทดสอบความรู้กันดูหน่อยดีกว่า (แนวข้อสอบ TOEIC — ลองทำก่อนนะ เฉลยอยู่ด้านล่าง)
1. The board of directors thanked Ruby Lin for _____efforts in organizing the shareholder’s meeting.
(A) her
(B) she
(C) herself
(D) hers
2. Jettizon Company expects that the new e-mail system will not affect _____ clients.
(A) it
(B) their
(C) its
(D) them
3. Unfortunately, replacing the copy machine will cost more than _____ had anticipated.
(A) us
(B) ours
(C) we
(D) our
4. While some countries have made huge investments in the Caribbean lately, others have reduced _____.
(A) themselves
(B) their
(C) they
(D) theirs
5. Mr. Takara has decided to employ a payroll service because it is becoming too difficult to manage the payroll accounts _____.
(A) himself
(B) him
(C) he
(D) his
เฉลย
1. ตอบ (A) her เพราะด้านหลังมี efforts เป็น N. แสดงว่าด้านหน้าคำที่จะมาขยาย แสดงความเป็นเจ้าของได้คือ Possessive Adjective
2. ตอบ (C) its เหมือนกับข้อที่แล้ว มีคำนาม clients แสดงว่าด้านหน้าต้องเป็น Possessive Adjective แต่ข้อนี้ต้องดู Subject ด้วยคือ Jettizon Company เป็นเอกพจน์ ดังนั้นต้องใช้ its (ใช้ their ไม่ได้นะ)
3. ตอบ (C) we เพราะหลังช่องว่างเป็น V. (had anticipated) แสดงว่ายังขาดประธานอยู่ ซึ่ง Pronoun ที่จะมาเป็นประธานได้ก็คือ Subject Pronoun คือ we นั่นเอง
4. ตอบ (D) theirs ข้อนี้ตำแหน่งของช่องว่างตามหลัง S (others) และ V (have reduced) อยู่ แสดงว่าต้องเป็น Object แต่จะเลือก theirs หรือ themselves ดี? – ต้องตอบ theirs นะ เพราะความหมายคือมีพูดถึงในท่อนแรกว่า “some countries have made hugh investments” แต่ others have reduced____ (ลดอะไร? ก็ต้องลดการลงทุนเหมือนที่กล่าวถึงในท่อนแรกสิ) แสดงว่าใช้ theirs เพื่อหมายถึง their investments นั่นเอง ถ้าใช้ themselves ความหมายจะเปลี่ยนไปเลยคือ ประเทศอื่นๆ ได้ลดด้วยตัวพวกเขาเอง — ลดอะไรก็ไม่รู้ =.=”
5. (A) himself ข้อนี้เป็นการเน้น ซึ่งประธานเป็นคนเดียวกัน เพราะเขาบอกว่า Mr. Takara ตัดสินใจใช้บริการเรื่องการจ่ายเงินเดือน เพราะว่ามันเริ่มยากเกินไปที่จะจัดการเรื่องนี้ด้วยตัวเขาเอง
Pronouns | Pronouns List / Chart | Types of pronouns
Pronoun chart, list, table in English Grammar.
Types of pronouns.
First, 2nd, third person pronouns.
Personal, possessive, reflexive Pronouns. Possessive Adjectives.
Parts of speech.
Đại từ nhân xưng, phản thân, sở hữu. Tính từ sở hữu.
Các loại đại từ.
Ngữ pháp tiếng Anh cơ bản.
Học Tiếng Anh.
→ Facebook: https://www.facebook.com/learnenglish.hta
→ Youtube Channel (More videos):
https://www.youtube.com/channel/UC8vctFX1bKhxNVhm7vXFuTQ
Pronouns englishgrammar Nguphaptienganh
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
Pronouns : ep 1 Pronoun คือ คำสรรพนาม แล้วมันคืออะไรนะ
จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
ติดตาม Facebook และ Instagram : The Happy Time with Q
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀
Pronoun คำสรรพนามในภาษาอังกฤษ
grammar pronoun subject
ติว TOEIC : Pronoun คืออะไร? เทคนิคการใช้โดยครูดิว
✿ ถ้าพื้นฐานน้อย แนะนำหาคอร์สติวดีกว่าค่ะ! ✿
👉 สมัครคอร์ส KruDew ติว New TOEIC 2020 (ทดลองติวฟรี!) ➡️ https://bit.ly/2wR4Gmu
✿ คอร์ส KruDew ติว TOEIC มีอะไรให้บ้าง? ✿
✅Grammar ที่ใช้สอบ TOEIC ให้ครบ เริ่มสอนจากพื้นฐาน เรียนได้ทุกคนแน่นอน
✅เทคนิคช่วยจำต่างๆ จำง่าย เอาไปใช้กับข้อสอบได้จริงๆ
✅เก็งศัพท์ TOEIC ออกข้อสอบบ่อยๆ ให้ครบ ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งรวบรวมเอง
✅ อัพเดทข้อสอบ New TOEIC ล่าสุด ครบ 200 ข้อ
✅สามารถสอบถามข้อหรือจุดที่สงสัยได้ตลอด
✅การันตี 750+ (ถ้าสอบแล้วไม่ถึง สามารถทวนคอร์สได้ฟรี)
📣 ถ้าไม่อยากพลาดคลิปดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด ❤️ Subscribe ❤️กันนะคะ
Pronouns : ep 10 บทสรุปของ Pronoun
แก้ไข
Possessive Pronouns คือ mine, ours, theirs, his, hers, it’s, yours
Possessive Adjective คือ my, our, their, his, her, its, your
ตารางหัวข้อชื่อมันสลับกันนะคะ
ขอโทษด้วยนะคะ🙏
จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
ติดตาม Facebook และ Instagram : The Happy Time with Q
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE
ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ pronoun ตาราง