อากาศ ที่ นิวซีแลนด์: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
นิวซีแลนด์
นิวซีแลนด์
นิวซีแลนด์
New Zealand
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง: ตั้งอยู่ในภาคพื้นแปซิฟิกตอนใต้กึ่งกลางระหว่างเส้นศูนย์สูตรและขั้วโลกใต้ห่างจากทวีปอเมริกาไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 10,400 กิโลเมตร ห่างจากออสเตรเลียไปทางตะวันออกประมาณ 1,500 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากไทยประมาณ 11,000 กิโลเมตร
พื้นที่: 271,534 ตารางกิโลเมตร (ขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น และอังกฤษ) ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ เกาะเหนือ และเกาะใต้
เมืองหลวง: กรุงเวลลิงตัน (Wellington) ตั้งอยู่ทางใต้ของเกาะเหนือ
เมืองสำคัญ: 1) เมืองโอ๊คแลนด์ มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ 2) เมืองไครสต์เชิร์ช 3) เมืองดันเนอดิน
ประชากร: 4.504 ล้านคน ( 2 ม.ค. 2557)
เชื้อชาติ: ชนผิวขาว ร้อยละ 69.8 ชาวพื้นเมือง (เมารี) ร้อยละ 7.9 ชาวเอเชีย ร้อยละ 5.7 ชาวเกาะแปซิฟิกใต้ ร้อยละ 4.4 และชนชาติอื่น ๆ ร้อยละ 12
ภูมิอากาศ: ภูมิอากาศของนิวซีแลนด์เป็นแบบกึ่งเขตร้อนในตอนเหนือและแบบเขตอบอุ่นในตอนใต้ สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลามีฝนตกชุกและมีลักษณะอากาศที่ไม่หนาวจัดและไม่ร้อนจัด ได้รับอิทธิพลจากลมประจำที่พัดผ่าน คือ ลมฝ่ายตะวันตกและกระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก นิวซีแลนด์มี 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน (ธ.ค.- ก.พ) ฤดูใบไม้ร่วง (มี.ค.-– พ.ค.) ฤดูหนาว (มิ.ย.- ส.ค.) ฤดูใบไม้ผลิ (ก.ย.- พ.ย. )
เวลา: นิวซีแลนด์ตั้งอยู่ใกล้เส้นแบ่งเวลาสากล (International Date Line) โดยเร็วกว่ามาตรฐาน กรีนิช 12 ชั่วโมง และเร็วกว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง ในช่วง Daylight Saving Time (ต.ค.-มี.ค.) จะปรับเวลาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมงทำให้เวลาเร็วกว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมง
ความหนาแน่นของประชากร: ความหนาแน่นของประชากรประมาณ 16 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77 อาศัยอยู่ในเกาะเหนือ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และเป็นเขตธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศ
ภาษาราชการ: ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการแต่ดั้งเดิม ต่อมาได้รับภาษาเมารีเป็นภาษาราชการภาษาที่สองในปี 2530 และรับภาษามือ (sign language) เป็นภาษาราชการภาษาที่สามเมื่อเดือนเมษายน 2549
ศาสนา: ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายแองกลิกัน ร้อยละ 14.9 โรมันคาทอลิก ร้อยละ 12.4 เพรสบิเทอเรียน ร้อยละ 10.9 เมโธดิสท์ ร้อยละ 2.9 แบพติสท์ร้อยละ 1.3 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 57.6
หน่วยเงินตรา: 1 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ = 26 บาท (2 ม.ค. 2557)
วันชาติ: 6 กุมภาพันธ์ (Waitangi Day)
1. การเยือนนิวซีแลนด์
1.1 ระดับพระบรมวงศานุวงศ์
– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 18-26 ส.ค. 2505 ในฐานะพระราชอาคันตุกะของผู้สำเร็จราชการนิวซีแลนด์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์จากต่างประเทศพระองค์แรดที่เสด็จฯ เยือนนิวซีแลนด์ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของผู้สำเร็จราชการนิวซีแลนด์ และในปี 2555 เป็นปีที่ครบรอบ 50 ปี ของการเสด็จฯ เยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการ
– สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ เยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการระหว่าง 21-26 พ.ย. 2532
– สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนเมือง Scott Base (ฐานทดลองทางวิทยาศาสตร์ บนเกาะ Ross Island) ในทวีปแอนตาร์กติกอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 18-23 พ.ย. 2536
– สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 22-24 มี.ค. 2549 ในฐานะพระราชอาคันตุกะของผู้สำเร็จราชการนิวซีแลนด์
– สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนนิวซีแลนด์ระหว่างวันที่ 2-3 ส.ค. 2551 ในครั้งที่เสด็จเยือนราชอาณาจักรตองกา เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกและฉลองสิริราชสมบัติของสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ทูโพ ที่ 5 แห่งตองกา
1.2 ระดับนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี
– นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนภูมิภาคแปซิฟิกใต้ โดยเยือนนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 17-21 ส.ค. 2537
– นายอำนวย วีรวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 10-14 ก.ค. 2539
– นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปค ที่นครโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2542
– นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 22-25 พ.ย. 2546
– นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 6-7 ก.ค. 2547
– นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 6-8 ก.ค. 2549 เพื่อร่วมงานเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตและพบหารือกับนาง Helen Clark นายกรัฐมนตีนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2549 และนาย Phil Goff รัฐมนตรีการค้า เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2549 ณ กรุงเวลลิงตัน
– นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 7-12 ก.ค. 2552 เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 1
– น.ส. ยิงลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 22-24 มีนาคม 2556 ในฐานะพระราชอาคันตุกะของผู้สำเร็จราชการนิวซีแลนด์
2. การเยือนไทย
– นาย James Bolger นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 16-18 พ.ย. 2537
– นาง Helen Clark ผู้นำฝ่ายค้าน เดินทางเยือนไทย ระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย. 2538
– นาย Phil Goff รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า เดินทางแวะผ่านไทยหลังจากกลับจากเดินทางเยือนภูมิภาคตะวันออกกลาง และได้ขอเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่30 พ.ค. 2546
– นาง Helen Clark นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมผู้นำ APEC ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 20-21 ต.ค. 2546
– นาย Phil Goff รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า เดินทางมาภูเก็ตและพังงา ภายหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ ระหว่างวันที่ 4-5 ม.ค. 2548
– นาง Helen Clark นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการวันที่ 19-20 เม.ย. 2548 เพื่อเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
– นาย Tim Groser รัฐมนตรีการค้า เดินทางเยือนไทย ระหว่างวันที่ 25-28 ก.พ. 2552 เพื่อเข้าร่วมในการลงนามความตกลง ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Agreement (AANZFTA) ระหว่างการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 14 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
– นาย Murray McCully รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า เดินทางเยือนไทย ระหว่างวันที่ 21-23 ก.ค. 2552 เพื่อเข้าร่วมการประชุม East Asia Summit Foreign Ministers’ Informal Consultations และ ASEAN-NZ Ministerial Meeting (Post Ministerial Conference) ที่จังหวัดภูเก็ต
– นาย Tim Groser รัฐมนตรีการค้า เดินทางเยือนไทย ระหว่างวันที่ 14-16 ส.ค. 2552 เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers’ Meeting) ครั้งที่ 41 ที่กรุงเทพฯ
– นาย John Key นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เดินทางเยือนไทย ระหว่างวันที่ 24-25 ต.ค. 2552 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) ครั้งที่ 4 ที่ อำเภอชะอำ-หัวหิน จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์
– นาย John Allen ปลัดกระทรวงการต่างประเทศและการค้านิวซีแลนด์ เดินทางเยือนไทย ระหว่างวันที่ 2-4 ส.ค. 2553 เพื่อเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 8 ที่กรุงเทพฯ
– นาย David Carter ประธานรัฐสภานิวซีแลนด์ เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐสภา ระหว่างวันที่ 29 ก.ย. – 2 ต.ค. 2556 โดยได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี ประธานสภาและประธานวุฒิสภา ทั้งนี้ ระหว่างการเยือนฯ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามจัดตั้งกลุ่มมิตรภาพไทย-นิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2556
– นาย John Key นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกรัฐบาล ระหว่างวันที่ 17-20 พ.ย. 2556
ที่ตั้ง ภูมิอากาศ เวลา พื้นที่ ภาษาราชการ ศาสนา พื้นที่ เมืองสำคัญ ภาษาราชการ ศาสนา ความหนาแน่น หน่วยเงินตรา วันชาติ
การเมืองการปกครอง
รูปแบบ ประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา (สภาเดี่ยว)
ประมุข สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ผู้สำเร็จราชการ Lt. Gen. The Rt. Hon. Sir Jeremiah Mateparae ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมื่อเดือน 31 ส.ค. 2554 ผู้สำเร็จราชการฯ ได้รับการแต่งตั้งจากประมุขของประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ทำหน้าที่ด้านพิธีการในการเปิดและปิดสมัยประชุมรัฐสภา มีวาระ 5 ปี
นายกรัฐมนตรี The Right Honourable John Key (รับตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อเดือน พ.ย. 2554)
รัฐมนตรีต่างประเทศ The Honourable Murray McCully (รับตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อเดือน พ.ย. 2554)
พรรคการเมืองสำคัญ 1. National Party (นำโดยนาย John Key)
2. Labour Party (นำโดยนาย David Cunliffe)
3. Green Party (นำโดยนาง Metiria Turei และนาย Russell Norman)
4. ACT New Zealand (นำโดยนาย John Boscawen)
5. Maori Party (นำโดยนาง Tariana Turia อดีต สส.พรรคแรงงาน และ Pita Sharples)
6. United Future (นำโดยนาย Peter Dunne)
7. Progressive Party (นำโดยนาย Jim Anderton)
รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญของนิวซีแลนด์เป็นแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือไม่มีกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งที่บัญญัติถึงระบบการเมืองการปกครอง แต่จะมีกฎหมายอื่นๆ หลายฉบับมาประกอบกัน เช่น Constitution ACT1986 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ได้รวบรวมเอาหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กระจัดกระจายอยู่มาบัญญัติไว้ด้วยกัน และพระราชบัญญัติเลือกตั้ง เป็นต้น แต่พระราชบัญญัติเหล่านี้ไม่มีบทบัญญัติ ที่ว่า บทบัญญัติของกฎหมายใดที่ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับมิได้ นอกจากนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญของนิวซีแลนด์ยังรวมเอากฎหมายของอังกฤษ บางฉบับที่บังคับใช้ในนิวซีแลนด์ด้วย เช่น Act of Settlement 1701 ซึ่งเกี่ยวกับ การสืบราชสันตติวงศ์ของกษัตริย์อังกฤษ คำพิพากษาของศาลในคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ และธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 24 คน ทำหน้าที่รายงานและให้คำปรึกษาแก่ผู้สำเร็จราชการฯ ด้านนโยบายสำคัญ ๆ สมาชิกคณะรัฐมนตรีจะต้องมาจากสมาชิกสภาฯ ในการบริหารงาน คณะรัฐมนตรีกระทำผ่านคณะกรรมมาธิการ กระบวนการกำหนดนโยบายสำคัญภายในคณะรัฐมนตรี กระทำโดยการหารืออย่างไม่เป็นทางการและอย่างมีชั้นความลับ เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปโดยอย่างมีฉันทามติ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีนั้นรับผิดชอบร่วมกันและควรต้องมีท่าทีอันเป็นเอกภาพ เพื่อจะได้เป็นฐานสนับสนุนการบริหารงานของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ฝ่ายนิติบัญญัติ: รัฐสภานิวซีแลนด์เป็นแบบสภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 120 คน โดยจะมีการเลือกตั้งทุก 3 ปี (เลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อ 8 พ.ย. 2551) ประชาชนทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปี มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง สำหรับชาวเมารีนั้น ได้มีการจัดสรรที่นั่งในสภาฯ ให้ผู้แทนชาวเมารีจำนวน 7 ที่นั่ง
ฝ่ายตุลาการ: สถาบันตุลาการประกอบด้วยศาลที่สำคัญ 3 ศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา นอกจากนั้น มีศาลอื่น ๆ อีก เช่น ศาลคดีเด็กและเยาวชน พิจารณาคดี
เกี่ยวกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี ศาลอนุญาโตตุลาการ และศาลที่ดินของชาวเมารี เป็นต้น ศาลทุกศาลในนิวซีแลนด์มีอำนาจตัดสินทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา อำนาจทางตุลาการเป็นอำนาจอิสระ
สถานการณ์ทาง
การเมืองปัจจุบัน: – นิวซีแลนด์มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551พรรค National ซึ่งมีนายจอห์น คีย์ (John Key) เป็นหัวหน้าพรรคมีคะแนนเสียงนำพรรค Labour โดยได้รับคะแนนเสียงทั้งหมด (Party Vote) ร้อยละ 46 ในขณะที่พรรค Labour ซึ่งมีนางเฮเลน คล้าก (Helen Clark) อดีตนายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์ได้คะแนนเสียง ร้อยละ 34 ทำให้นายคีย์คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยจัดตั้งรัฐบาลผสมของพรรค National ซึ่งมีเสียงจำนวน 58 เสียง บวกด้วยเสียงของพรรคร่วมรัฐบาล ได้แก่พรรค Maori Party, ACT New Zealand และ United Future จึงรวมเป็น 69 เสียงในสภา ซึ่งถือว่ามีความมั่นคง ตามมาตรฐานระบบรัฐสภานิวซีแลนด์ และคาดการณ์ว่ารัฐบาลของนายคีย์จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ครบวาระการทำงาน (ปี 2551-2554)
นโยบายสำคัญที่นายคีย์ใช้ในการดำเนินงานบริหารประเทศในขณะนี้ คือ 1) นโยบาย New Zealand Inc. ซึ่งกำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศและการค้า New Zealand Trade and Enterprise และ Tourism New Zealand ดำเนินนโยบาย ‘New Zealand Incorporated’ และร่วมกันหาและบริหารตลาดในต่างประเทศ 2) เน้นความสัมพันธ์กับมิตรประเทศหลัก เช่น ออสเตรเลีย กระชับความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และอินโดนีเซีย รวมทั้งพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศในลาตินอเมริกา และยุโรป และให้ความสำคัญต่อการเปิดเสรีทางการค้ากับสหรัฐฯ ผ่านความตกลง Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement (P4) (3) ส่งเสริมความสัมพันธ์และการหารือกับประเทศในแปซิฟิกใต้ 4) พัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศในเอเชีย และเน้นการหารือกับชาวนิวซีแลนด์เชื้อสายเอเชียเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาค 5) รักษาระดับเงินช่วยเหลือในปีงบประมาณ 2552 โดยมุ่งความสำคัญไปยังประเทศในแปซิฟิกใต้ และทบทวนการดำเนินการของ New Zealand Aid (NZAid) เพื่อให้สามารถใช้เงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ 6) เน้นความสำคัญขององค์การสหประชาชาติ ต่อประเทศเล็ก เช่น นิวซีแลนด์ และผลักดันการปฏิรูป (reform) และ modernize องค์การสหประชาชาติ 7) ให้การสนับสนุนกองกำลังทหารนิวซีแลนด์ในปฏิบัติการรักษาสันติภาพและบทบาทด้านมนุษยธรรมทั่วโลก และ 8) ร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการต่อต้านการก่อการร้าย
เศรษฐกิจการค้า
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.7 (2553)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 140.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2553)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 27,350 ดอลลาร์สหรัฐ (2553)
อัตราการว่างงาน ร้อยละ 4.2 (2551)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2.3 (2553)
อุตสาหกรรมหลัก การแปรรูปอาหาร ไม้ สิ่งทอ เครื่องจักร กระดาษ ปุ๋ย ซีเมนต์
แผ่นเหล็ก อลูมิเนียม
เกษตรกรรมหลัก เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ผลิตภัณฑ์นม ขนแกะ ผักและผลไม้
ปริมาณการค้า ในปี 2553 นิวซีแลนด์มีปริมาณการค้ารวม 1,310 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งออก 799.8 พันล้านดอลลาร์ นำเข้า 510.5 พันล้านดอลลาร์
ประเทศคู่ค้าสำคัญ ออสเตรเลีย จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมันและสิงคโปร์ (ตามลำดับ)
สินค้านำเข้า: รถยนต์ เครื่องจักรกล เชื้อเพลิง เครื่องใช้ไฟฟ้า และพลาสติก
สินค้าส่งออก: ผลิตภัณฑ์นมเนย เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ไม้ เครื่องจักร
การค้าในภาคบริการ: ในปี 2551 นิวซีแลนด์ส่งออกสินค้าบริการรวมประมาณ 7.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเน้นการท่องเที่ยวและการศึกษาเป็นสำคัญ ในปี 2546 – 2548 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับแรก ในปี 2548 มีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 4.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นโยบายทางเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ (ปี 2517 – ปัจจุบัน)
เศรษฐกิจภายในประเทศ
นิวซีแลนด์มีระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กที่ยังพึ่งพาการผลิตในภาคเกษตรและป่าไม้เป็นสำคัญ อาทิ นมเนย เนื้อสัตว์ ขนสัตว์ ประมง ป่าไม้ ผักผลไม้สด ไวน์ ซึ่งผลิตผลดังกล่าวมีความผันผวนมาก ทำให้นิวซีแลนด์ได้ทำการปฏิรูปการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการลงทุนและภาคบริการให้ทันสมัย และปรับนโยบายการเงินและการคลังภายในหลายประการเพื่อตอบรับกระแสเศรษฐกิจโลกที่มีการแข่งขัน มานับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 นโยบายทางเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์
ปี 2517 – 2525 ภาวะเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์มีการเจริญเติบโตที่ต่ำมาก (ไม่ถึง 1%ต่อปี) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยปีละ 15% และมีการว่างงานสูงมาก
ปี 2527 – 2530 พรรคแรงงานใช้นโยบายเศรษฐกิจที่แข็งกร้าวเพื่อลดภาวะเงินเฟ้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ผลของการดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวดทำให้พรรคแรงงานประสบความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง
ปี 2531 – 2537 พรรค National คงมุ่งเน้นนโยบายรัดเข็มขัด พยายามลดหนี้สินสาธารณะ ตัดค่าใช้จ่ายต่างๆ และมีนโยบายให้ธนาคารกลาง (Reserve Bank) ลดอัตราเงินเฟ้อให้เหลือเพียง 2% ภายในปี 2536 ซึ่งธนาคารกลางสามารถทำได้สำเร็จในปี 2537 (จากเดิม 15% ลดลงเหลือ 2%) ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะเติบโตอย่างช้าๆ
ปี 2538 – 2541 เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นมากจนรัฐบาลสามารถที่จะลดภาษีเงินได้และสามารถให้เงินอุดหนุนด้านสาธารณสุขและการศึกษาได้กว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ การวางนโยบายงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล สำหรับปี 2538/39 เป็นการวางนโยบายภายใต้กฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางด้านการคลัง (Fiscal Responsibility Act 1994) อย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่ยังเข้มงวดกวดขันด้านค่าใช้จ่าย และเป็นผลให้งบประมาณแผ่นดินเกินดุลอยู่กว่า 3 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ ในปี 2539 และ 2540
ปี 2542 – 2545 – นาง Helen Clark นายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงาน ได้ดำเนินนโยบายมุ่งเสริมสร้างศักยภาพของประเทศให้โดดเด่นโดยได้ตั้งเป้าหมายจะให้เป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญ เติบโตสูงสุด 1 ใน 10 ของกลุ่มสมาชิก OECD โดยมีนโยบายหลัก คือ จะต้องลดการพึ่งพาส่งออกสินค้าเกษตรและสร้างเศรษฐกิจให้อยู่บนรากฐานของการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยสามารถผลิตสินค้าและการบริการที่มีคุณภาพและราคาสูง โดยในปี 2545 ได้ประกาศนโยบาย Growth and Innovative Framework เน้นการพัฒนาศักยภาพของประเทศในเชิงพาณิชย์ 3 สาขา ได้แก่ ICT, Biotechnology และ Creative Industries
ปี 2545-2548
– ในช่วงปี 2544-2548 นิวซีแลนด์ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยถึง 3.8 % สูงกว่าออสเตรเลีย ซึ่งเติบโตเฉลี่ย 3.3 % ในขณะที่ประเทศสมาชิก OECD มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 2.3 % นอกจากนี้ ยังมีอัตราการว่างงาน 3.9 % ต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ดี การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าวก็เกิดขึ้นควบคู่กับความไม่สมดุลย์ในช่วงสั้น อาทิ
-การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องจากตลาดเงินทุนนิวซีแลนด์ไม่มากพอจึงต้องกู้ยืมจากต่างประเทศ
-อัตราเงินเฟ้อสูง เนื่องจากมีการใช้จ่ายมาก การออมน้อย โดยเฉพาะภาคอหังสาริมทรัพย์
-อัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อรองรับการออมที่ต่ำ
-ค่าเงินดอลลาร์ นซ. สูงมาก เนื่องจากเงินไหลเข้าจากต่างประเทศมาก ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกของนิวซีแลนด์
ปี 2549-2551
– ในปี 2549 อัตราการเจริญเติบโต (GDP) ลดลงเหลือร้อยละ 1.7 เทียบกับร้อยละ 2.5 ในปี 2548 รัฐบาลนิวซีแลนด์ในขณะนั้นจึงต้องเข้มงวดนโยบายการเงิน เนื่องจากปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งจะมีผลให้การเจริญเติบโตชะลอตัวต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจลดลงรัฐบาลของนาง Clark จึงผ่อนคลายนโยบายการเงิน ซึ่งคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์จะเพิ่มขึ้นมาอีกในปี 2553 การส่งออกจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ นซ. ที่ลดลง
– รัฐบาลของนาง Clark ได้ดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจในช่วงปี 2549-2551 ดังต่อนี้
– ทบทวนและปฏิรูปภาษีธุรกิจ ตลอดจนทบทวนกฏระเบียบต่างๆ ที่ควบคุมธุรกิจ
– ออกกฎหมายเพื่อพัฒนาระบบ internet broadband ให้เร็วขึ้นและราคาถูกลง
– เพิ่มเงินทุนสำหรับการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัย
– ทบทวนโครงการเงินช่วยเหลือธุรกิจ เพื่อเพิ่มการแข่งขัน โดยเฉพาะการส่งออก และได้กำหนดให้ปี 2550 เป็นปีแห่งการส่งออก (Export Year)
– พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ไฟฟ้า ถนน ท่าเรือ ท่าอาศยานนานาชาติโอ๊คแลนด์
– ปฏิบัติตามพันธกรณีตามพิธีสารเกียวโต และการรักษาสิ่งแวดล้อม
– เปิดตลาดให้แก่สินค้านิวซีแลนด์
นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน (2552)
นโยบายของนิวซีแลนด์ที่กระทบต่อไทย
– หลังจากเกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย 11 ก.ย. 2544 รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้เพิ่มความเข้มงวดในการออกใบอนุญาตทำงาน และการให้สวัสดิการสังคมแก่ผู้ขอลี้ภัย ทำให้จำนวนผู้แอบอ้างสถานะผู้ลี้ภัยลดลง ก่อนหน้านี้ไม่นาน ไทยเป็นประเทศที่มีผู้ขอลี้ภัยในนิวซีแลนด์จำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างนิวซีแลนด์กับไทยที่ต่อมาได้ถูกระงับ เนื่องจากมีการละเมิดความตกลงอย่างกว้างขวาง
– เมื่อปลายเดือน ธ.ค. 2547 รัฐบาลนิวซีแลนด์ประกาศว่าจะดำเนินการอย่าง
จริงจังกับผู้ที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะผู้ที่หลบหนีจากเรือต่างชาติ แต่จะยังไม่จับกุมจนฤดูร้อนปี 2549 เนื่องจากอุตสาหกรรมสวนผลไม้ยังขาดแคลนแรงงาน ปัจจุบัน มีจำนวนผู้หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายมีประมาณ 20,328 คน 5 ลำดับแรกเป็นคนของประเทศซามัว (3,900 คน) ตองกา (2,496 คน) จีน (2,050 คน) ไทย (1,232 คน) อินเดีย (1,066 คน) ไทย (975 คน)
– แม้จะประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่รัฐบาลนิวซีแลนด์ยังไม่มีนโยบายที่จะเปิดกว้างรับแรงงานต่างชาติ โดยพยายามแก้ไขปัญหาด้วยมาตรการอื่นๆ เช่น การผ่อนคลายกฎระเบียบในการดึงดูดผู้อพยพที่มีฝีมือ การสนับสนุนให้แม่บ้านหรือหญิงที่แต่งงานและมีบุตรกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกครั้ง การใช้ประโยชน์จากชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาภายใต้ Working Holiday Scheme เป็นต้น
– เมื่อ 5 ธ.ค. 2549 ครม. ได้ผ่านความเห็นชอบข้อเสนอปรับปรุง พ.ร.บ. คนเข้าเมืองนิวซีแลนด์ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2530 และมีกำหนดเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในเดือน ส.ค. 2550 ระเบียบฉบับใหม่จะลดจำนวนหน่วยงานที่มีอำนาจพิจารณาคำขอและคำอุทธรณ์ หลายฝ่ายให้ความเห็นว่า ระเบียบใหม่จะทำให้การเข้าเมืองง่ายขึ้นสำหรับผู้ที่รัฐบาลนิวซีแลนด์ต้องการ และเพิ่มมาตรการความมั่นคงสำหรับผู้ที่นิวซีแลนด์ไม่ต้องการ
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
– นิวซีแลนด์มีระบบการค้าเสรี หลังจากที่เคยมีการควบคุมการนำเข้าเพื่อคุ้มครอง อุตสาหกรรมภายในประเทศ ระบบใบอนุญาตนำเข้า (Import Licensing) ได้ถูก
ยกเลิกไปและระบบภาษีศุลกากรซึ่งเข้ามาแทนที่ก็ลดหย่อนลงตามลำดับ และเมื่อกลางปี 2541 นิวซีแลนด์ได้ประกาศยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ และส่วนใหญ่สินค้านำเข้าของนิวซีแลนด์ร้อยละ 95 อัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 0 อย่างไรก็ดี สินค้าที่นิวซีแลนด์ยังคงเข้มงวดในการนำเข้าได้แก่ สินค้าเกษตร โดยยังมีการควบคุมการนำเข้าสินค้าหลายๆ ชนิด เช่น ไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่ ปลาน้ำจืดที่มิได้บรรจุกระป๋อง น้ำผึ้ง เนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีหรือบรรจุกระป๋อง ผัก ผลไม้ เป็นต้น เนื่องจากนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ปลอดโรคพืชและสัตว์ที่เรียกว่าเขต Agridome และเป็นประเทศที่มีการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องมีการคุ้มครองและป้องกันอย่างเข้มงวด
ระบบการค้า
– นิวซีแลนด์ยึดถือนโยบายการเปิดเสรีการค้า โดยเฉพาะการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรภายใต้กรอบ WTO และให้ความสำคัญต่อการจัดทำ FTA ทวิภาคีและระดับภูมิภาคมากขึ้น ได้ทำ FTA กับออสเตรเลีย สิงคโปร์ ไทย (ลงนามเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2548 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ค. 2548) และความตกลงเขตการค้าเสรีภูมิภาคแปซิฟิก 4 ฝ่าย (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement) กับชิลี บรูไน และสิงคโปร์ (Pacific 4 CEP) ในวันที่ 1 พ.ค. 2549 อยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับจีน มาเลเซีย และอาเซียน โดยตั้งเป้าหมายให้การเจรจากับอาเซียนเสร็จใน 2 ปี และและจะเริ่มเจรจา FTA กับกลุ่ม Gulf Cooperation Council (GCC) รวมทั้ง จะเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ในการทำ FTA กับอินเดียปลายปี 2550 นิวซีแลนด์สนับสนุนการจัดทำ Asian FTA ซึ่งเสนอโดยญี่ปุ่นเมื่อ 4 เม.ย. 2549 และมีประเทศเข้าร่วม 16 ประเทศซึ่งรวมอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน และอินเดีย และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเสนอโดยสภาธุรกิจของเอเปค อย่างไรก็ดี นิวซีแลนด์ยังไม่สามารถเริ่มการเจรจากับสหรัฐฯ นรม. Clark ได้เดินทางเยือนสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 19 – 26 มี.ค. 2550 เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ โดยคาดหวังที่จะให้สหรัฐฯ เจรจา FTA ด้วยในอนาคตอันใกล้
นโยบายเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ ปี 2553-2554
– นโยบายเศรษฐกิจในระยะสั้นที่เร่งด่วนของรัฐบาลขณะนี้คือ การเร่งบูรณะเมืองไครซ์เชิร์ช (Christchurch) ซึ่งเกิดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงถึง 7.6 ริกเตอร์ เมื่อ 4 กันยายน 2553 และแผ่นดินไหวรุนแรงตามเป็นระลอก (aftershock) กว่า 3,000 ครั้ง และแม้ว่าจะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่บ้านเรือนอาคาร รวมทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง คาดว่าต้องใช้งบประมาณ 4-6 พันล้านเหรียญดอลลาร์นิวซีแลนด์ในการฟื้นฟู นายจอห์น คีย์ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ได้ใช้โอกาสเหตุการณ์ภัยภิบัติดังกล่าว แสดงบทบาทผู้นำได้อย่างเหมาะสม สามารถเพิ่มคะแนนนิยมแก่พรรคเนชันแนล (National) ได้มาก จึงมีความเป็นไปสูงที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีคีย์จะสามารถชนะการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งนายคีย์เอง แสดงความมั่นใจว่าจะสามารถชนะการเลือกตั้งสมัยหน้าได้ โดยกล่าวไว้ว่าหากแพ้การเลือกตั้งสมัยที่สอง ก็จะยุติบทบาทการเมืองต่อไป
ถึงแม้รัฐบาลของนายคีย์ ยังคงมีแผนจะประกาศใช้นโยบายที่อาจส่งผลกระทบต่อคะแนนนิยม ได้แก่ แผนการปรับนโยบายการประกันอุบัติภัยจากการบาดเจ็บในที่ทำงาน และแผนกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพการผลิตเพื่อมุ่งลดช่องว่างรายได้ ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับออสเตรเลีย โดยมาตรการที่รัฐบาลมีแผนจะบังคับใช้ ได้แก่ การปรับลดสิทธิประโยชน์ของชาวนิวซีแลนด์วัยทำงาน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการให้สัมปทานเหมืองแร่ในที่ดินของรัฐ เป็นต้น จึงทำให้นายคีย์ ต้องหา “ดุลยภาพ” ระหว่าง กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งเป็นฐานเสียงที่สำคัญในการเลือกตั้งสมัยต่อไปด้วย
นายคีย์ ให้ความสำคัญลำดับต้นแก่นโยบาย 6 ประการ
คือ 1) การปฏิรูปกฎเกณฑ์ให้ทันสมัย
2) การลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
3) พัฒนาการบริการประชาชน
4) การศึกษาและการฝึกทักษะอาชีพ
5) นวัตกรรม และการสนับสนุนภาคธุรกิจ
6) การจัดทำระบบภาษีที่ล้ำหน้าระดับโลก
– นโยบายเศรษฐกิจในระยะยาว รัฐบาลกำลังหาทางกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และประสิทธิผลการผลิต (productivity) เพื่อมุ่งลดช่องว่างรายได้เมื่อเปรียบเทียบกับออสเตรเลียภายในปี 2568 ซึ่งมาตรการที่นำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว คือ การปฏิรูประบบภาษี โดยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีคีย์ได้ประกาศปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้มีอัตราที่ต่ำกว่าออสเตรเลีย ร้อยละ 2 เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน ในขณะเดียวกัน รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ประกาศเพิ่มอัตราภาษีสินค้าและบริการ (GST) จากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 15 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นมา นอกจากนี้ รัฐบาล มีแผนเพิ่มงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อดึงดูดการค้าและการลงทุนสาขานวัตกรรมเข้าสู่ภาคการผลิตที่สำคัญของนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะสู่ภาคเกษตรกรรม
รัฐบาลนายคีย์ยังคงใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุล เพื่อบูรณะฟื้นฟูเมืองไครซ์เชิร์ช และดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตกต่ำจากวิกฤติการเงินโลกและกำลังมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างช้าๆ นอกจากนี้รัฐบาลยังเร่งผลักดันกฎหมายปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม เพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อผู้รับสวัสดิการผู้ตกงานในระยะยาวให้พยายามหางานทำ ซึ่งจะช่วยลดภาระของภาครัฐ
นโยบายการค้าต่อเอเชีย
– นิวซีแลนด์ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมูลค่าการค้าต่างประเทศโดยรวมของ นิวซีแลนด์ประมาณหนึ่งในสามเป็นการค้ากับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ และจากการที่ประเทศในภูมิภาคดังกล่าวนี้เริ่มมีการจัดตั้งองค์กรภูมิภาคและการรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจ อาทิ ASEAN, AFTA, ARF ทำให้นิวซีแลนด์เกรงว่าตนจะถูกโดดเดี่ยว จึงพยายามที่จะผูกสัมพันธ์ที่ดีกับทุกประเทศในภูมิภาคดังกล่าว และได้แสดงบทบาทที่แข็งขันโดยการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกหรือประเทศคู่เจรจารักษาสถานะและความ สามารถในการมีอิทธิพลต่อผลของการเจรจาในองค์การระหว่างประเทศต่างๆ
นโยบายการค้าพหุภาคี
– รักษาสถานะและความสามารถในการมีอิทธิพลต่อผลของการเจรจาในองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งนี้ นิวซีแลนด์ให้ความสำคัญในลำดับต้นกับการเจรจาใน WTO และ APEC นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังเน้นนโยบายการรวมประเด็นด้านมาตรฐานแรงงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าไว้ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย
องค์กรส่งเสริม ความสัมพันธ์กับเอเชีย
– Asia 2000 Foundation ตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเอเชีย โดยผ่านกิจกรรมด้านการศึกษา ธุรกิจ สื่อมวลชน วัฒนธรรม
การค้นคว้าวิจัย และศึกษานโยบาย รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมที่จะเพิ่มพูนความเข้าใจ และความสัมพันธ์ระหว่างชาวนิวซีแลนด์กับประชาชนในทวีปเอเชีย Asia 2000 Foundation เปลี่ยนชื่อเป็น Asia New Zealand Foundation เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2547 จัดเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ซึ่งมีรัฐบาลนิวซีแลนด์อยู่เบื้องหลังในการจัดตั้งและให้การสนับสนุนมาโดยตลอด ผู้อำนวยการของมูลนิธิเกือบทุกคนเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่ลาออกไป หรือถูกยืมตัวชั่วคราว
บทบาทของนิวซีแลนด์ในกรอบพหุภาคี
– รัฐบาลนายกรัฐมนตรีคีย์ยังคงยึดมั่นในหลักการค้าเสรีและการดำเนินการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี โดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศในเอเชีย ขณะนี้ นิวซีแลนด์กำลังเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับอินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น รวมทั้งการเจรจาความตกลงด้านบริการทางการเงินและการลงทุนในกรอบ Trans-Pacific Strategic Economic Partnership ทั้งนี้ นิวซีแลนด์ยินดีที่รัฐบาลสหรัฐฯ โดยประธานาธิบดีโอบามา ได้ประกาศเข้าร่วมหารือในกรอบความตกลงการค้าเสรีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Regional Free Trade Agreement) ซึ่งสหรัฐฯ ประกาศเมื่อช่วงการประชุมเอเปคที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2552
– รัฐบาลนิวซีแลนด์เร่งขยายปฏิสัมพันธ์ในทุกมิติ กับเอเชีย ปัจจุบันเอเชียเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของนิวซีแลนด์ มูลค่าการค้าระหว่างนิวซีแลนด์กับภูมิภาคเอเชียสูงเกือบเท่ากับมูลค่าการค้าระหว่างนิวซีแลนด์กับประเทศในอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และทวีปยุโรปรวมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับ จีน ญี่ปุ่น และ อาเซียน ล่าสุด นิวซีแลนด์ได้ประกาศในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-นิวซีแลนด์ ที่กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 ว่า จะมอบความช่วยเหลือในกรอบอาเซียนมูลค่า 74 ล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยผ่าน 4 โครงการ คือ (1) ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาในอาเซียน จำนวน ๑๗๐ ทุนต่อปี เป็นเวลา ๕ ปี (2) การแลกเปลี่ยนการเยือนของนักบริหารธุรกิจรุ่นใหม่ (3) การบริหารจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติ จำนวน 8 ล้านดอลลาร์ เป็นเวลา 3 ปี (4) การถ่ายทอดความเชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม และต่อมาอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดการประชุมผู้นำอาเซียน-นิวซีแลนด์เพื่อรำลึกการครบรอบ 35 ปี ความสัมพันธ์นิวซีแลนด์-อาเซียน (ASEAN-New Zealand Commemorative Summit) วันที่ 30 ตุลาคม 2553
– นับตั้งแต่นิวซีแลนด์กับออสเตรเลียได้ทำความตกลงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น (Closer Economic Relations Agreement) ระหว่างกันตั้งแต่ปี 2526 นั้น ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศได้พัฒนามากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง การค้าการลงทุน ฯลฯ รัฐบาลของทั้งสองประเทศอยู่ระหว่างการหารือความร่วมมือเพื่อจัดทำโครงการสร้างเขตแดนร่วมกัน (common border) โดยการเชื่อมโยงระบบสวัสดิการที่สามารถจะใช้ได้ในทั้งสองประเทศ การสร้างแบบแผนการลงทุนร่วมกัน (joint investment protocol) และแนวคิดการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว (single economic market) เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่รัฐควีนสแลนด์ในออสเตรเลียเมื่อเดือนธันวาคม 2553 นิวซีแลนด์ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คนเพื่อสนับสนุนภารกิจการจัดการภัยพิบัติและช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วย
นโยบายสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ
– นิวซีแลนด์ตระหนักดีว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นปัญหาระดับนานาประเทศ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ เนื่องจากนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีประชากรน้อย และไม่มีปัญหามลพิษ ดังนั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่ชาวนิวซีแลนด์ให้ความสำคัญ ทั้งนี้ นิวซีแลนด์มีพระราชบัญญัติการจัดการทรัพยากร (Resource Management Act) เริ่มบังคับใช้ในปี 1991 ซึ่งนับได้ว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกที่จัดการเกี่ยวกับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังเป็นประเทศอันดับที่ 2 ที่ให้สัตยาบัน London Amendment (1990) to the Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer
นโยบายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ – Asia 2000 Foundation ตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเอเชีย โดยผ่านกิจกรรมด้านการศึกษา ธุรกิจ สื่อมวลชน วัฒนธรรม
การค้นคว้าวิจัย และศึกษานโยบาย รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมที่จะเพิ่มพูนความเข้าใจ และความสัมพันธ์ระหว่างชาวนิวซีแลนด์กับประชาชนในทวีปเอเชีย Asia 2000 Foundation เปลี่ยนชื่อเป็น Asia New Zealand Foundation เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2547 จัดเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ซึ่งมีรัฐบาลนิวซีแลนด์อยู่เบื้องหลังในการจัดตั้งและให้การสนับสนุนมาโดยตลอด ผู้อำนวยการของมูลนิธิเกือบทุกคนเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่ลาออกไป หรือถูกยืมตัวชั่วคราว
– นิวซีแลนด์ตระหนักดีว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นปัญหาระดับนานาประเทศ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ เนื่องจากนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีประชากรน้อย และไม่มีปัญหามลพิษ ดังนั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่ชาวนิวซีแลนด์ให้ความสำคัญ ทั้งนี้ นิวซีแลนด์มีพระราชบัญญัติการจัดการทรัพยากร (Resource Management Act) เริ่มบังคับใช้ในปี 1991 ซึ่งนับได้ว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกที่จัดการเกี่ยวกับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังเป็นประเทศอันดับที่ 2 ที่ให้สัตยาบัน London Amendment (1990) to the Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer
– นิวซีแลนด์มียุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment) ได้แก่ การพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดจากการผสมผสานระหว่างการค้าและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ นิวซีแลนด์มีบทบาทอย่างแข็งขันในเวทีการประชุมระดับนานาชาติที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การลดน้อยลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสี เนื่องจากนิวซีแลนด์มีฝั่งทะเลที่ยาวมากติดมหาสมุทรแปซิฟิก และประชากรส่วนมากอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล ประกอบกับฝรั่งเศสเคยใช้หมู่เกาะในแปซิฟิกใต้เป็นที่ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ด้วยเหตุนี้ นิวซีแลนด์จึงให้ความ สำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่อนิวซีแลนด์ และได้ให้สัตยาบันใน Kyoto Protocol เมื่อปี 2002 นิวซีแลนด์กำหนดเป้าหมายที่จะเป็นประเทศปลอดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon neutral) โดยการปลูกป่า ซื้อคาร์บอนเครดิต ขณะนี้ รัฐบาลนิวซีแลนด์กำลังยกร่างแผนปฏิบัติการในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสะท้อนความมุ่งมั่นของนิวซีแลนด์ในการเป็นผู้นำในด้านการผลิตพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเฉพาะเชื้อเพลิงชีวภาพ ตลอดจนกำหนดมาตรการในการใช้รถยนต์ที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำลงและใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– นิวซีแลนด์ยังมีบทบาทนำในด้านสิ่งแวดล้อม โดยได้ภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีพิธีสารเกียวโตเมื่อปี ๒๕๔๐ และมีบทบาทอย่างแข็งขันในเวทีการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสี เนื่องจากเคยเกิดกรณีฝรั่งเศสใช้หมู่เกาะในแปซิฟิกใต้เป็นสถานที่ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นเกาะในแปซิฟิกใต้และประชากรส่วนใหญ่ยังอาศัยอยู่บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล
นโยบายที่กระทบต่อไทย นโยบายนิวซีแลนด์ที่กระทบต่อไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
สถาปนาความสัมพันธ์ 26 มีนาคม 2499
กลไกความสัมพันธ์ทวิภาคี
1. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส Senior Officials’ Talks – SOT จัดการ
ประชุมปีละครั้ง ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ การประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งที่ 8 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2553 ที่กรุงเทพฯ
2. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-นิวซีแลนด์ (Thai-New Zealand Joint Commission Meeting) ซึ่งได้จัดขึ้นครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 52 ณ นครโอ๊คแลนด์ และไทยถึงคราวจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JC ครั้งที่ 2 ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่า อาจจะจัดการประชุมได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2554
3. Thai – New Zealand Economic Consultation มีการประชุมครั้งที่ 1
เมื่อเดือน ธ.ค. 2540 ที่กรุงเทพฯ
4. สภาธุรกิจไทย – นิวซีแลนด์ (Thailand – New Zealand Business
Council – TNZBC) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 กำหนดให้มีการประชุมปีละครั้ง การประชุมครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ย. 2538 ที่นครโอ๊คแลนด์ และครั้งที่สองเมื่อเดือนก.ย. 2539 ที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้ หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย กรอบ
ความร่วมมือดังกล่าวลดความสำคัญลง ในปี 2548 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้รื้อฟื้นสภาธุรกิจฯ โดยฝ่ายนิวซีแลนด์จะมีประธานThai Chapter ของ ASEAN-New Zealand Combined Business Council (ANZCBC) เป็นประธาน สำหรับประธานร่วมฝ่ายไทย ได้แก่ นางบาร์บาร่า บูรณศิลปิน ประธานสภาธุรกิจร่วม
ไทย-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (Joint Thailand-Australian-New Zealand Business Council : TANZBC)
5. การสัมมนาแลกเปลี่ยนข่าวกรองไทย-นิวซีแลนด์ (Thai-NZ Intelligence
Talks) ครั้งล่าสุดจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2552 ณ กรุงเวลลิงตัน
6. คณะกรรมการร่วมสาขาต่างๆเช่น การศึกษา สิ่งแวดล้อม แรงงาน และ TNZCEP เป็นต้น
– หลังจากไทยได้จัดตั้งรัฐบาลในปี 2551 นิวซีแลนด์ได้ปรับความสัมพันธ์ทวิภาคีกลับสู่สภาวะปรกติ จากที่เคยระงับการติดต่อเจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับสูงไว้ชั่วคราวในช่วงที่ไทยมีรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยได้มีการประชุมหารือทวิภาคีที่สำคัญ ดังนี้
(1) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-นซ. (Senior Officials’ Talks – SOT) ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 20 พษฤภาคม 2551 ณ กรุงเวลลิงตัน
(2) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-นิวซีแลนด์ (JC) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 ที่นครโอ๊คแลนด์
(3) การหารือทวิภาคีระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ นาย John Key นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ในช่วงการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit – EAS) ครั้งที่ 4เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2552 ที่อำเภอชะอำ-หัวหิน
(4) การหารือทวิภาคีระหว่างนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นาย McCully รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศนิวซีแลนด์ ในห้วงการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและประเทศคู่เจรจา (AMM/PMC) ครั้งที่ 43 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 ณ กรุงฮานอย
(5) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2553 ที่กรุงเทพฯ และล่าสุด
(6) การหารือทวิภาคีระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ นาย John Key นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ในช่วงการประชุม East Asia Summit (EAS) ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2553 ทีกรุงฮานอย
การเยือนและพบหารือ
ทวิภาคีในช่วงที่ผ่านมา
1. นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พบหารือกับนาย Winston Peters รัฐมนตรีต่างประเทศ เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2550 ในระหว่างการประชุม รมว. กต. อาเซียนและประเทศคู่เจรจา (PMC) ที่กรุงมะนิลา
2. นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พบหารือกับนาย Winston Peters รัฐมนตรีต่างประเทศ เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2549 ในระหว่างการประชุมเอเปคที่กรุงฮานอย
3. นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการวันที่ 6-8 ก.ค. 2549 และพบหารือกับนาง Helen Clark นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ และนาย Phil Goff รัฐมนตรีการค้า เมื่อวันที่ 7 และ 6 ก.ค. 2549 ณ กรุงเวลลิงตัน
4. พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีพบหารือกับนาง Helen Clark นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ วันที่ 13 ธ.ค. 2548 ในระหว่างการประชุม EAS ที่กัวลาลัมเปอร์
5. นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พบหารือกับนาย Winston Peters รัฐมนตรีต่างประเทศ เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2548 ในระหว่าง การประชุมเอเปคที่เมืองปูซาน เพื่อลงนามในข้อตกลงจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย-นิวซีแลนด์ (Joint Commission)
6. นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พบหารือกับนาย Phil Goff รัฐมนตรีต่างประเทศและการค้าในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 38 ที่เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2548
7. นางเฮเลน คลาร์ก นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 19 – 20 เม.ย. 2548 และมีการลงนามความตกลง
ทวิภาคี 4 ฉบับ ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย – นิวซีแลนด์ (CEP) ข้อตกลงโครงการตรวจลงตราทำงานและท่องเที่ยว (Working Holiday Scheme) ข้อตกลงด้านแรงงาน และข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม
8. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 6-7 ก.ค. 2547 และพบหารือกับนาง Helen Clark นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ตลอดจนประชุมคณะรัฐมนตรี
ผู้แทนประเทศ
การค้าไทย – นิวซีแลนด์
– เอกอัครราชทูตไทยประจำนิวซีแลนด์คนปัจจุบัน : – (อุปทูตคือ นายนนทวัฒน์ จันทร์ตรี)
เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจำไทยคนปัจจุบัน : นาย Bede Gilbert Corry
– ปัจจุบันการค้าของไทยกับนิวซีแลนด์ยังมีไม่มากนัก นิวซีแลนด์เป็นคู่ค้าอันดับ ที่ 36 ของไทย ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 ของนิวซีแลนด์ โดยในกลุ่มอาเซียนรองจากมาเลเซีย และสิงคโปร์ นิวซีแลนด์ส่งออกสินค้าไปยังไทยมากเป็นลำดับที่ 17
– ในปี 2541 – 2544 ไทยเสียเปรียบดุลการค้านิวซีแลนด์มาโดยตลอด แต่เริ่มได้ดุลเมื่อปี 2545 จำนวน 17.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 อัตราการส่งออกไทยขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 20.9 มูลค่าการค้าระหว่างกันสูงขึ้นเป็น 475.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยได้เปรียบดุลการค้า 56.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 การค้าระหว่างไทยและนิวซีแลนด์มีมูลค่าการค้ารวม 774.8 ล้าน USD เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.75 ไทยส่งออก 522 ล้าน USD นำเข้า 252.8 ล้าน USD ไทยเกินดุลการค้า 269.2 ล้าน USD คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทย
– ในปี 2549 การค้าระหว่างไทยและนิวซีแลนด์มีมูลค่าการค้ารวม 841.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.69 ไทยส่งออก 526.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 315.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเกินดุลการค้า 210.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.33 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทย
สินค้าเข้าจากไทย
– รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป
สินค้าออกมาไทย
– นมและผลิตภัณฑ์นม อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก ไม้ซุง ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ด้ายและเส้นใย สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก และผลไม้ เคมีภัณฑ์
การลงทุนไทย-นิวซีแลนด์
– ปัจจุบัน การลงทุนระหว่างสองประเทศมีไม่มากโดยตั้งแต่ปี 2528- 2548 มูลค่าการลงทุน 1,261.3 ล้านบาท ในปี 2549 มีโครงการลงทุนจากนิวซีแลนด์ที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมจาก BOI เพียง 3 โครงการ มีมูลค่าการลงทุน 80 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 0.03 ของการลงทุนต่างประเทศทั้งหมดในไทย การลงทุนจากนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็ก (มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท) และเป็นโครงการผลิตเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่นิวซีแลนด์สนใจลงทุน คือ อุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเบา กิจการบริการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร เคมีภัณฑ์และกระดาษ
– นอกจากนี้การลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศยังมีไม่มากนัก แม้ว่านิวซีแลนด์จะเปิดโอกาสให้ไทยลงทุนได้ร้อยละ ๑๐๐ ในกิจการเกือบทุกประเภท (ยกเว้นประมง)
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ การผลิตในนิวซีแลนด์เริ่มประสบปัญหาต้นทุนสูง และแนวโน้มคือการต้อง relocate แหล่งผลิตสินค้าไปในประเทศกำลังพัฒนา โดยปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในหมู่นักธุรกิจนิวซีแลนด์ว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างนิวซีแลนด์กับประเทศต่างๆ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ไม่เอื้ออำนวยต่อผู้ผลิตสินค้าในนิวซีแลนด์ เนื่องจากการผลิตในประเทศที่สามซึ่งนิวซีแลนด์มีความตกลงฯ ด้วยมีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตในนิวซีแลนด์ เมื่อเดือน เม.ย. 2550 บริษัท Fisher & Paykel ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของนิวซีแลนด์ได้ประกาศย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างมายังไทยภายในปลายปี 2550 และจะเริ่มผลิตได้ภายในกลางปี 2551
ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะดึงดูดนักลงทุนของนิวซีแลนด์ให้มาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์อย่างเต็มที่
– คนไทยที่ประกอบธุรกิจและลงทุนในนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวร หรือถือสัญชาตินิวซีแลนด์ การลงทุนของไทยในนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านร้านอาหารไทยและบริษัท Import-Export ขนาดเล็กในการสั่งสินค้าประเภทเครื่องปรุงอาหารจากไทย และในระยะหลังมีผู้สนใจเปิดธุรกิจนวดแผนไทยหรือสปา แต่มักประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์ บริษัทด้านการค้าและการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท T&J Trading Co.Ltd.เป็นบริษัทผู้นำเข้าผลไม้ไทยรายใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ ซึ่งมีนายโกมล วงศ์เกียรติวงศ์ เป็นผู้ดำเนินการ บริษัท Amora Group เป็นบริษัทผู้ลงทุนไทยซึ่งเข้ามาลงทุนในธุรกิจการโรงแรม คือ โรงแรม Duxton ในกรุงเวลลิงตัน นครโอ๊คแลนด์ และเมืองโรโตรัว การลงทุนขนาดใหญ่ของไทยในนิวซีแลนด์ ได้แก่ 1) การร่วมทุนของบริษัท N.C.C. Management & Development ของไทยกับบริษัท Addington Raceway ของนิวซีแลนด์จัดตั้งบริษัท N.C.C. (New Zealand) ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากสภาเทศบาลเมืองไครสต์เชิร์ชให้เป็นผู้บริหารจัดการ Christchurch Town Hall, Christchurch Convention Centre และ Westpac Trust Centre และ 2) โรงแรม Novotel Lakeside ที่เมืองโรโตรัว
– สำหรับการลงทุนของนิวซีแลนด์ในไทยยังมีมูลค่าไม่มากเช่นกัน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเบาและสิ่งทอเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมบริการ เฟอร์นิเจอร์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมทั้งการร่วมทุนในกิจการโรงพยาบาล บริษัทผลิตเครื่องฉีดพลาสติก บริษัทที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ และบริษัทผลิตก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ มีเพียงบริษัท Fisher & Paykel ที่ได้ย้ายฐานการผลิตส่วนใหญ่มาที่ไทยในปี ๒๕๕๐ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน ๓,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในนิวซีแลนด์นอกจากธุรกิจร้านอาหารรายย่อยแล้วยังมีบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เข้าไปประมูลและได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมนอกชายฝั่งทะเลตอนใต้ (The Great South Basin) ของเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ จำนวน ๖ แปลง เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐ โดยลงทุนร่วมกับบริษัท OMV New Zealand Ltd. (บริษัทสัญชาติออสเตรีย) และบริษัท Mitsui E&P Australia Ply Ltd.
องค์กรสนับสนุนการค้า
– The New Zealand – Thai Chamber of Commerce จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 115 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางพาณิชย์แก่นักลงทุนชาวนิวซีแลนด์
นโยบายส่งเสริมการค้า
และการลงทุน
– ไทยและนิวซีแลนด์ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย – นิวซีแลนด์ (CEP) เมื่อ 19 เม.ย. 2548 และมีผล
บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2548 ทำให้การค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ
ขยายตัวสูงขึ้น
จำนวนคนไทยใน
นิวซีแลนด์ 1. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส Senior Officials’ Talks – SOT จัดการ
ประชุมปีละครั้ง ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ การประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งที่ 6 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2548 ที่กรุงเทพฯ
2. Thai – New Zealand Economic Consultation มีการประชุมครั้งที่ 1
เมื่อเดือน ธ.ค. 2540 ที่กรุงเทพฯ
3. สภาธุรกิจไทย – นิวซีแลนด์ (Thailand – New Zealand Business
Council – TNZBC) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 กำหนดให้มีการประชุมปีละครั้ง การประชุมครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ย. 2538 ที่นครโอ๊คแลนด์ และครั้งที่สองเมื่อเดือนก.ย. 2539 ที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้ หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย กรอบ
ความร่วมมือดังกล่าวลดความสำคัญลง ในปี 2548 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้รื้อฟื้นสภาธุรกิจฯ โดยฝ่ายนิวซีแลนด์จะมีประธานThai Chapter ของ ASEAN-New Zealand Combined Business Council (ANZCBC) เป็นประธาน สำหรับประธานร่วมฝ่ายไทย ได้แก่ นางบาร์บาร่า บูรณศิลปิน ประธานสภาธุรกิจร่วม
ไทย-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (Joint Thailand-Australian-New Zealand Business Council : TANZBC)
4. การสัมมนาแลกเปลี่ยนข่าวกรองไทย-นิวซีแลนด์ (Thai-NZ Intelligence
Talks) ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 4-5 มิ.ย. 2546 ณ กรุงเวลลิงตัน ครั้งล่าสุดคือ
19-21 พ.ค. 2548 ณ กรุงเวลลิงตัน
– เอกอัครราชทูตไทยประจำนิวซีแลนด์คนปัจจุบัน : นายอุ้ม เมาลานนท์
เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจำไทยคนปัจจุบัน : นาย Brook Barrington
– ปัจจุบันการค้าของไทยกับนิวซีแลนด์ยังมีไม่มากนัก นิวซีแลนด์เป็นคู่ค้าอันดับ ที่ 36 ของไทย ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 10 ของนิวซีแลนด์ โดยในกลุ่มอาเซียนรองจากมาเลเซีย และสิงคโปร์ นิวซีแลนด์ส่งออกสินค้าไปยังไทยมากเป็นลำดับที่ 19
– ในปี 2541 – 2544 ไทยเสียเปรียบดุลการค้านิวซีแลนด์มาโดยตลอด แต่เริ่มได้ดุลเมื่อปี 2545 จำนวน 17.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 อัตราการส่งออกไทยขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 20.9 มูลค่าการค้าระหว่างกันสูงขึ้นเป็น 475.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยได้เปรียบดุลการค้า 56.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 การค้าระหว่างไทยและนิวซีแลนด์มีมูลค่าการค้ารวม 774.8 ล้าน USD เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.75 ไทยส่งออก 522 ล้าน USD นำเข้า 252.8 ล้าน USD ไทยเกินดุลการค้า 269.2 ล้าน USD คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทย
– ในปี 2549 การค้าระหว่างไทยและนิวซีแลนด์มีมูลค่าการค้ารวม 841.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.69 ไทยส่งออก 526.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 315.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเกินดุลการค้า 210.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.33 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทย
– รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป
– นมและผลิตภัณฑ์นม อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก ไม้ซุง ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ด้ายและเส้นใย สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก และผลไม้ เคมีภัณฑ์
– ปัจจุบัน การลงทุนระหว่างสองประเทศมีไม่มาก ตามข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นิวซีแลนด์มีการลงทุนในไทยมากเป็นอันดับที่ 43 โดยตั้งแต่ปี 2528- 2548 มีโครงการลงทุนจากนิวซีแลนด์ที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมจาก BOI ทั้งสิ้น 23 โครงการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.2 ของจำนวนโครงการจากต่างชาติทั้งหมดที่ได้รับการอนุมัติ และมีมูลค่าการลงทุน 1,261.3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.03 ของจำนวนมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด การลงทุนจากนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็ก (มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท) และเป็นโครงการผลิตเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่นิวซีแลนด์สนใจลงทุน คือ อุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเบา กิจการบริการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร เคมีภัณฑ์และกระดาษ
– คนไทยที่ประกอบธุรกิจและลงทุนในนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวร หรือถือสัญชาตินิวซีแลนด์ การลงทุนของไทยในนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านร้านอาหารไทยและบริษัท Import-Export ขนาดเล็กในการสั่งสินค้าประเภทเครื่องปรุงอาหารจากไทย และในระยะหลังมีผู้สนใจเปิดธุรกิจนวดแผนไทยหรือสปา แต่มักประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์ บริษัทด้านการค้าและการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท T&J Trading Co.Ltd.เป็นบริษัทผู้นำเข้าผลไม้ไทยรายใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ ซึ่งมีนายโกมล วงศ์เกียรติวงศ์ เป็นผู้ดำเนินการ บริษัท Amora Group เป็นบริษัทผู้ลงทุนไทยซึ่งเข้ามาลงทุนในธุรกิจการโรงแรม คือ โรงแรม Duxton ในกรุงเวลลิงตัน นครโอ๊คแลนด์ และเมืองโรโตรัว การลงทุนขนาดใหญ่ของไทยในนิวซีแลนด์ ได้แก่ 1) การร่วมทุนของบริษัท N.C.C. Management & Development ของไทยกับบริษัท Addington Raceway ของนิวซีแลนด์จัดตั้งบริษัท N.C.C. (New Zealand) ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากสภาเทศบาลเมืองไครสต์เชิร์ชให้เป็นผู้บริหารจัดการ Christchurch Town Hall, Christchurch Convention Centre และ Westpac Trust Centre และ 2) โรงแรม Novotel Lakeside ที่เมืองโรโตรัว
– The New Zealand – Thai Chamber of Commerce จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 115 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางพาณิชย์แก่นักลงทุนชาวนิวซีแลนด์
– ไทยและนิวซีแลนด์ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย – นิวซีแลนด์ (CEP) เมื่อ 19 เม.ย. 2548 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2548 ทำให้การค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ
ขยายตัวสูงขึ้น
– ปัจจุบัน มีคนไทยอาศัยอยู่ในนิวซีแลนด์ประมาณ 10,092 คน(มี.ค.2550) และคาดว่ามีคนไทยที่พำนักอย่างผิดกฎหมายในนิวซีแลนด์ 795 คน (มี.ค.2550)
คนไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเกาะเหนือ โดยชุมชนไทยที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่นครโอ๊คแลนด์และเมืองใกล้เคียง รองลงมาคือ เมืองไคร้สเชิร์ช และกรุงเวลลิงตัน
ด้านวิชาการ
– รัฐบาลไทยและนิวซีแลนด์ ร่วมกันจัดตั้งสถาบันลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute – MI) ขึ้นเมื่อปี 2539 โดยมีวัตถุประสงค์ให้สถาบันฯ เป็นศูนย์ฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงจากประเทศสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ (ยูนนาน) ในปี 2546 สถาบันฯ ได้ยกระดับเป็นสถาบันระดับภูมิภาค
ความร่วมมือปัจจุบัน
– องค์กรให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศของนิวซีแลนด์หรือ NZAID มีความตกลง Funding Arrangement กับสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงเป็นเวลา 3 ปี ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2548 ถึง 30 มิถุนายน 2550 ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว NZAID จะให้เงินสนับสนุนในลักษณะ core funding แก่สถาบันฯ จำนวนไม่เกิน 82.7 ล้านบาท ขณะนี้ NZAID กำลังอยู่ระหว่างการจัดสรรเงินสนับสนุนสำหรับปีที่ 3 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของความตกลง 3 ปี ดังกล่าว จำนวนไม่เกิน 27,046,043 บาท
ด้านการพัฒนา
-ในอดีตรัฐบาลนิวซีแลนด์โดย New Zealand Agency for International Development (NZAID) ได้ให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือแก่ไทยภายใต้กรอบทวิภาคีในรูปแบบของการฝึกอบรมด้านต่างๆ เช่น การจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านการค้าระหว่างประเทศ การเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผ่านแผนการโคลอมโบ (Colombo Plan) อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน NZAID ได้ยุติการให้ความร่วมมือในกรอบทวิภาคี ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศโดย สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) และ NZAID ได้หารือปรับเปลี่ยนรูปแบบความร่วมมือ โดยเน้นการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่สาม โดยเน้นให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกลุ่มความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region – GMS) และแปซิฟิกใต้
– นิวซีแลนด์มีบทบาทในการก่อตั้งสถาบันความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute – MI) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนิวซีแลนด์และรัฐบาลไทยเมื่อปี 2539 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 เห็นชอบร่างความ
ตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและสถาบันฯ มีการลงนามความตกลงดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550
ด้านการท่องเที่ยว
– ในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนนิวซีแลนด์จำนวน 2.42 ล้านคน นักท่องเที่ยวจากประเทศซึ่งเป็นตลาดสำคัญคือ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในปี 2548 และ 2549 นักท่องเที่ยวนิวซีแลนด์เดินทางมาประเทศไทย 77,351 คน และ 86,703 คน นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปนิวซีแลนด์ 19,122 คน และ 18,032 คน ตามลำดับ ในปี 2547 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้เดินทางแวะก่อนเดินทางต่อไปเยือนนิวซีแลนด์ 86,069 คน สูงเป็นลำดับที่ 5 รองจากออสเตรเลีย สิงคโปร์ สหรัฐฯ และฟิจิ
ด้านการศึกษา
– New Zealand Agency for International Development (NZAID) และ
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็นองค์กรที่รับผิดชอบความร่วมมือด้านวิชาการ
– รัฐบาลไทยและนิวซีแลนด์ ร่วมกันจัดตั้งสถาบันลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute – MI) ขึ้นเมื่อปี 2539 โดยมีวัตถุประสงค์ให้สถาบันฯ เป็นศูนย์ฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงจากประเทศสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ (ยูนนาน) ในปี 2546 สถาบันฯ ได้ยกระดับเป็นสถาบันระดับภูมิภาค
– องค์กรให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศของนิวซีแลนด์หรือ NZAID มีความตกลง Funding Arrangement กับสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงเป็นเวลา 3 ปี ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2548 ถึง 30 มิถุนายน 2550 ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว NZAID จะให้เงินสนับสนุนในลักษณะ core funding แก่สถาบันฯ จำนวนไม่เกิน 82.7 ล้านบาท ขณะนี้ NZAID กำลังอยู่ระหว่างการจัดสรรเงินสนับสนุนสำหรับปีที่ 3 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของความตกลง 3 ปี ดังกล่าว จำนวนไม่เกิน 27,046,043 บาท
– ในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนนิวซีแลนด์จำนวน 2.42 ล้านคน นักท่องเที่ยวจากประเทศซึ่งเป็นตลาดสำคัญคือ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในปี 2548 และ 2549 นักท่องเที่ยวนิวซีแลนด์เดินทางมาประเทศไทย 77,351 คน และ 86,703 คน นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปนิวซีแลนด์ 19,122 คน และ 18,032 คน ตามลำดับ ในปี 2547 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้เดินทางแวะก่อนเดินทางต่อไปเยือนนิวซีแลนด์ 86,069 คน สูงเป็นลำดับที่ 5 รองจากออสเตรเลีย สิงคโปร์ สหรัฐฯ และฟิจิ
– ไทยและนิวซีแลนด์ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านการศึกษา เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2550 ขอบข่ายของความร่วมมือด้านการศึกษากับนิวซีแลนด์ รวมถึงการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา การวิจัยและการพัฒนา การศึกษาทางไกลและทางอินเตอร์เน็ต การฝึกอบรมอาจารย์ การแลกเปลี่ยนนักเรียน ครู และเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นต้น
– ปัจจุบันสถาบันการศึกษาของไทยและนิวซีแลนด์ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันประมาณ 20 ฉบับ โดยมีความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนอาจารย์ และนักศึกษา การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ทั้งหมด 8 แห่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของไทยแล้ว ในแต่ละปี มีคนไทยมาเรียนต่อที่นิวซีแลนด์ประมาณ 3,500 – 4,000 คน ส่วนใหญ่เรียนระดับต่ำกว่ามหาวิทยาลัย ซึ่งรวมถึงคนที่มาเรียนภาษาอังกฤษอย่างเดียว คนไทยที่เรียนระดับมหาวิทยาลัย ขณะนี้ มีประมาณ
300 กว่าคน
– ไทยและนิวซีแลนด์ได้ลงนามในข้อตกลงโครงการตรวจลงตราทำงานและท่องเที่ยว (Arrangement on a Working Holiday Scheme) เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2548 ให้เยาวชนสามารถท่องเที่ยว และมีโอกาสทำงานเป็นครั้งคราวเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ และได้เรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน ข้อตกลงมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 และในสองปีแรกของโครงการมีผู้เข้าร่วมฝ่ายไทยครบตามจำนวนโควตา 100 คน ในปี 2549 ฝ่ายไทยจึงได้ขอเพิ่มโควตาผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของนิวซีแลนด์
ด้านนิติวิทยาศาสตร์
– ไทยและนิวซีแลนด์มีความร่วมมือด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาที่นิวซีแลนด์มีความเชี่ยวชาญ โดยเริ่มมีความร่วมมือระหว่าง สถาบัน Institute of Environmental Science and Research Limited (ESR) ของนิวซีแลนด์กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งแต่ปี 2546 อย่างไม่ต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อปี 2553 กระทรวงการต่างประเทศได้ริเริ่มจัดโครงการนำคณะผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์จากสถาบัน ESRซึ่งมีผลให้ฝ่ายนิวซีแลนด์จัดทำข้อเสนอแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี เพื่อช่วยพัฒนาระบบงานและมาตรฐานการตรวจสอบด้านนิติวิทยาศาสตร์ของไทย และจะมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าว รวมทั้งจะมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ของสองประเทศอย่างสม่ำเสมอทุกปี
ด้านความมั่นคง
– ไทยและนิวซีแลนด์มีความร่วมมือทวิภาคีด้านการทหารภายใต้โครงการ Mutual Assistance Programme (MAP) ซึ่งเป็นการฝึกอบรมทหารประมาณ 10 ทุนต่อปี ขณะนี้ฝ่ายไทยได้เสนอขอรับทุนอีกหลายหลักสูตรเพิ่มเติมจากนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ ไทยและนิวซีแลนด์อยู่ระหว่างพิจารณาร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือตำรวจและการต่อต้านการก่อการร้าย (Arrangement between the New Zealand Police and the Royal Thai Police on Combating Transnational Crime and Developing Police Cooperation) ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามได้ภายในปี 2554
ในระดับภูมิภาค ไทยและนิวซีแลนด์ต่างร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกันในกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงที่สำคัญ อาทิ ASEAN Regional Forum (ARF) การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministerial Meeting Plus – ADMM+) ความร่วมมือในกระบวนการ Bali Process เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยและนิวซีแลนด์ยังเป็นภาคีสนธิสัญญา SEATO ร่วมกันด้วย
– ด้านความมั่นคง นิวซีแลนด์มีบทบาทแข็งขันในเวทีระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค โดยส่งกองกำลังไปปฏิบัติการรักษาสันติภาพในภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งภายใต้กรอบสหประชาชาติ และองค์กรอื่นๆ ใน 21 ประเทศ อาทิ ในหมู่เกาะโซโลมอน อัฟกานิสถาน คาบสมุทรไซไน ซูดาน ทวีปแอนตาร์กติก บอสเนีย โคโซโว ติมอร์เลสเต และคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลนิวซีแลนด์ก็ยังคงรักษามาตรการคว่ำบาตรฟิจิ ซึ่งเป็นการตอบโต้การรัฐประหารที่เกิดขึ้นที่ฟิจิในปี 2549 และการที่ฟิจิเลื่อนการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยออกไปถึงปี 2557 (ค.ศ. 2014) ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองในปัจจุบันจึงยังถือได้ว่าอยู่ในระดับไม่ปกติ
– นิวซีแลนด์จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council – UNSC) ในวาระปี 2558-2559 ค.ศ. 2015-2016) ซึ่งนิวซีแลนด์เคยเป็นสมาชิกมาแล้ว 3 ครั้ง เมื่อปี 2497 – 2498 ปี 2509 และปี 2536 – 2537 และถือเป็นนโยบายต่างประเทศที่สำคัญเป็นลำดับแรกในทศวรรษหน้า โดยนิวซีแลนด์ได้ตกลงแลกเสียงสนับสนุนการสมัครที่นั่ง UNSC วาระปี ค.ศ. 2017-2018 ของไทย กับการสมัคร UNSC วาระปี ค.ศ. 2015-2016 ของนิวซีแลนด์แล้ว ทั้งนี้ นิวซีแลนด์ก็ได้ให้การสนับสนุนผู้สมัครไทยเป็นกรรมการในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Council – HRC) วาระปี 2010-2013 ด้วย
– นิวซีแลนด์ยังมีความสนใจบทบาทในการเป็น ‘ผู้เจรจาสันติภาพ’ (International Peace Negotiator)
โดยอดีตนายกรัฐมนตรี เฮเลน คลาร์ก ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหาร (Executive Director) ของ United Nations Development Programme เคยเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ สนับสนุนการดำเนินการในกรอบการเจรจาความหลากหลายทางศาสนา (Interfaith Dialogue) โดยเชิญผู้นำทางศาสนาและผู้นำชุมชนมาร่วมประชุมเพื่อแสวงหาแนวทางต่อต้านการก่อการร้าย และนำมาซึ่งสันติภาพและความเข้าใจระหว่างประชาชนที่นับถือต่างศาสนา
ความตกลงที่สำคัญ
1. ความตกลงทางการค้าระหว่างไทย – นิวซีแลนด์ ลงนามเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2524
2. ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย – นิวซีแลนด์ ลงนามเมื่อ 5 สิงหาคม 2530
3. ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย – นิวซีแลนด์ ลงนามเมื่อ 22 ตุลาคม 2541
4. ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราไทย – นิวซีแลนด์ ปี 2530 (มีการยกเว้นการบังคับใช้ความตกลงฯ เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544)
5. Thai – New Zealand Action Agenda ลงนามเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 (ได้สิ้นสุดลงเมื่อปี 2543)
6. ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น (Thailand – New Zealand Closer Economic Partnership Agreement – CEP) ลงนามเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548
7. ข้อตกลงโครงการตรวจลงตราท่องเที่ยวและทำงาน (Arrangement on Working Holiday Scheme) ลงนามเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548
8. ข้อตกลงด้านแรงงาน (Arrangement on Labour) ลงนามเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548
9. ข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม (Arrangement on Environment) ลงนามเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548
10. ข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะคณะกรรมาธิการร่วมไทย-นิวซีแลนด์ (Arrangement on the Establishment of a Joint Commission) ลงนามเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548
11. ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา (Arrangement on Education Cooperation) ลงนามเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550
25 มีนาคม 2554
กองแปซิฟิกใต้ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5117-8 Fax. 0-2643-5119 E-mail : [email protected]
[NEW] | อากาศ ที่ นิวซีแลนด์ – NATAVIGUIDES
Q&A Question-Answer about Thailand Elite Card
Thailand Elit, Privilege Visa for Long Stay, especially for the members who will be granted to stay in the Kingdom of Thailand for 5-20 years. In general, foreigner who which to stay in the Kingdom of Thailand for long time
7 ข้อดี 7 ข้อเสีย ของการใช้ชีวิตอยู่ที่นิวซีแลนด์ | ย้ายประเทศมาดีไหม | Slow life ณ นิวซีแลนด์
สวัสดีค่ะ วันนี้ปลามาแชร์ประสบการณ์ของตัวเองกับการอยู่นิวซีแลนด์มาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรกันบ้าง ไปฟังกันเลยค่ะ ^^
ทำงานนิวซีแลนด์ เรียนนิวซีแลนด์ เที่ยวนิวซีแลนด์
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
อากาศแย่ หมอกลง หนาม๊าก ที่นิวซีแลนด์ ขับรถกลับบ้านไม่ได้! | Follow me AeYada
สรุปประเทศ ‘นิวซีแลนด์’ ใน 3 นาที
สารคดีเอเวอเรสต์ โศกนาฏกรรมช็อกโลก l สารคดีช่อง FIRSTSTEP ภาพชัดระดับ HD
วันที่ 10 พฤษภาคม ปี 1996 ที่ร็อบ ฮอล หัวหน้าทีมของแอดเวนเจอร์ คอนซัลแทนท์ในนิวซีแลนด์ ผู้รอบคอบและระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย และสก็อต ฟิชเชอร์ นักปีนเขามากประสบการณ์และหัวหน้าทีมของเมาน์เทน์ แมดเนสในซีแอตเติล ได้นำทีมของพวกเขาออกเดินทางครั้งสุดท้ายขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลก นั่นคือยอดเขา เอเวอร์เรสต์ ที่อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 29,029 ฟุต (8,848 เมตร)…หรือระยะบินของเครื่องโบอิ้ง 747 นั่นเอง ทั้งสองทีมใช้เวลาสองเดือนที่ผ่านมาในการปีนภูเขายักษ์ใหญ่นี้ โดยพวกเขาค่อยๆ ปรับตัวให้เคยชินกับสภาพอากาศหนาวจัดและอากาศที่เบาบางที่ระดับความสูงนี้ พวกเขาต้องเจอกับสภาพอ็อกซิเจนที่เบาบางถึงขนาดที่เพียงแค่การเดินก็เป็นเรื่องที่เหนื่อยแสนสาหัส .
Subscribe: https://www.youtube.com/channel/UCzakwEfA6JTDR4x6RYE2gpA
Everest – The Summit Climb
To license these images please visit:
https://licensing.eliasaikaly.com/videocollections/everestthesummitclimb/
Raw and Unfiltered. The final climb on Mt. Everest. Experience what climbers endure on their final push to the top of the world. Shot by yours truly on a Canon 5D with a 1635mm lens.
Behind the scenes blog 1: https://eliasaikaly.com/thisiswhatsummitingeverestlookslike/
Behind the scenes blog 2: https://eliasaikaly.com/intothedeathzone/
Don’t forget to subscribe for more videos. Helps me make these videos possible. Thank you for your support.
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE
ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ อากาศ ที่ นิวซีแลนด์