past perfect tense ประโยค: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ ” Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ” ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว) และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time ในกลุ่ม Past Tenses หรือ อดีตกาล ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย
มาเริ่มกับ Past Tenses
การพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดในอดีตนั้นสามารถพูดได้หลายรูปแบบ แต่จะพูดอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบทนั้นย่อมสำคัญเช่นกัน และก่อนอื่นเราจะต้องรู้จักก่อนว่า การเล่าถึงเหตุการณ์ในอดีตนั้นเราสามารถเล่าได้หลายแบบ ครูจะขอยกตัวอย่างจากสถานการณ์การใช้ไปหาโครงสร้างและคำศัพท์ที่จำเป็นเพื่อให้เราเข้าใจความสำคัญของ Tense นั้นๆ ร่วมกับเทคนิค “Situational usage” บทสนทนาที่ใช้ ใน Past Tenses ทั้งสี่รูปแบบของประโยคบอกเล่า/ปฏิเสธ ไปลุยกันเลยเด้อ
Time Expressions ในประโยคบอกเล่า/ปฏิเสธ
อดีตกาล
(Past Tenses)
การใช้
(Usage)
โครงสร้าง
(Structure)
คำกำกับเวลา
1) Past Simple Tense
ใช้กับเหตุการณ์ที่เราทำในอดีตย้ำว่า
เกิดขึ้นและจบลงไปแล้ว
Ex: บอกเล่า
“Subject + V.2 หรือ Verb –ed”
Daniel ate noodles yesterday.
แดเนียลกินก๋วยเตี๋ยวเมื่อวานนี้
ปฏิเสธ:
“Subject + did not + v.inf…”
Ex:
You did not go home last week.
คุณไม่ได้กลับบ้านสัปดาห์ที่แล้ว
เวลาในอดีต 1990
3 days ago (สามวันที่แล้ว)
last month (เดือนที่แล้ว)
yesterday (เมื่อวานนี้)
in 1997 (ในปี ค.ศ. 1997 ที่เป็นอดีตมาแล้ว)
2. Past Continuous
บอกเล่า:
“Subject + was, were + V.ing…”
Ex: Albert Einstein was sitting under the apple tree.
แปล อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กำลังนั่งอยู่
ใต้ต้นแอปเปิล
(ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอดีต)
โครงสร้างประโยคปฏิเสธ: Subject + was, were + “not” (wasn’t, weren’t) + V.ing…
Ex:
Sophia did not like durian.
แปล โซเฟียไม่ชอบทุเรียน
at the moment in the past
(ณ ขณะหนึ่งในอดีต)specific time in the past
(จุดๆหนึ่งที่เฉพาะเจาะจงในอดีต)
3. Past Perfect
บอกเล่า: Subject + had + V.3
Ex: I have had breakfast recently.
แปล ฉันพึ่งทานข้าวเช้าเมื่อครู่นี้เอง
ปฏิเสธ:
Subject + had not(hadn’t)+v.3
Ex:
The refugee hadn’t had breakfast since yesterday.
แปล ผู้อพยพยังไม่ได้ทานอาหารเช้าตั้งแต่เมื่อวานนี้
Previously (ก่อนหน้านี้)
just (พึ่งจะ)Before (ก่อน)
Recently (ไม่นานมานี้)Since (ตั้งแต่) + จุดๆหนึ่งของเวลาFor (เป็นเวลา) + ช่วงเวลาTill or until (จนกระทั่ง)
4. Past Perfect Continuous
บอกเล่า:
Subject + had + been + V.ing
Ex:
I had been running since 5 a.m. till 6 a.m. this morning.
แปล ฉันได้วิ่งมาตั้งแต่ตีห้าถึงหกโมงเช้า (วิ่งแบบไม่หยุดเลย)
ปฏิเสธ:
Ex.
I hadn’t been studying hard like before.
ฉันไม่ได้ขยันเรียนเหมือนแต่ก่อนเลย
Past Simple Tense
โครงสร้างประโยคบอกเล่า: Subject + Verb 2 หรือ Verb เติม ed ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำของอดีตมากำกับเช่น yesterday, ago, last year, last month, last time
Situation: Rosie went to school late.
Dan: Why did you go to school late yesterday Rosie? (ทำไมเมื่อวานโรซี่ไปโรงเรียนสายเหรอ)
Rosie: I was at the garage.(ฉันไปอู่ซ่อมรถมาน่ะ)
Dan: What happened? (เป็นอะไรหรือเปล่า)
Rosie: My motorbike didn’t work yesterday. (รถมอเตอร์ไซ์ฉันเสียเมื่อวานนี้)จะสังเกตได้ว่า yesterday (เมื่อวานนี้) คือคำบอกเวลาในอีต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้ว
สรุปโครงสร้างประโยคปฎิเสธ: Subject + did + not (didn’t)+ V.inf…
เช่น I did not go to school yesterday. แปลว่า ฉันไม่ได้ไปโรงเรียนเมื่อวานนี้
Past Continuous Tense
โครงสร้างประโยคบอกเล่า: Subject + was, were + V.ing…
เช่น
She was writing her diary while I was playing games.
เธอกำลังเขียนไดอารี่อยู่ขณะที่ฉันกำลังเล่นเกม
โครงสร้างประโยคปฎิเสธ: Subject + was, were + “not” (wasn’t, weren’t) + V.ing…
เช่น
Danniel was not paying attention to the class while a teacher was teaching.
แดเนียลไม่ตั้งใจเรียนขณะที่ครูกำลังสอนอยู่
สรุปหลักการใช้ Past Continuous:
1) ใช้ร่วมกับ Past Simple Tense เมื่อมีเหตุการณ์ หรือการกระทำ 2 อย่างเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต
- Past Simple Tense ใช้กับเหตุการณ์สั้นๆ ที่เกิดขึ้นทีหลัง
- Past Continuous Tense ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน และ กำลังดำเนินอยู่ ณ ขณะนั้น
Situation: While Dazy was watching a Netflix, her mom arrived at the door.
Mom: Knock knock! Dazy, could you open the door? (ก้อกๆ เดซี่เปิดประตูให้แม่หน่อย)
Mom: (Complaining) why wasn’t she openning the door? (แม่บ่น…ทำไมเธอถึงไม่เปิดประตู)
Dazy: Wait mom, I was waching a Netflix. (รอก่อนนะแม่ หนูกำลังดู Netflix อยู่)
2) อย่างที่กำลังดำเนินอยู่ในอดีตในเวลาเดียวกัน
Situation: Venus was playing her mobile phone, while her teaching was teaching.
Ohm: What were you doing Venus while your teacher was teaching?
(วีนัส เธอทำอะไรอยู่ตอนที่ครูกำลังสอน)
Venus: Um…I was playing on my mobile phone. (เอิ่ม ฉันเล่นโทรศัพท์อยู่นะ)
Ohm: No wonder why teacher was very mad at you. (ไม่น่าล่ะ ครูโกรธใหญ่เลย)
Past Perfect Tense
โครงสร้างประโยคปฏิเสธ: Subject + had not + V.3 (Past Participle)…
ทวนโครงสร้างประโยคบอกเล่า ในโครงสร้าง Subject + had + Past participle (V.3)
ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำ 2 อย่างที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดแล้วลงในอดีต
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนให้ใช้ Past Perfect Tense
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทีหลังให้ใช้ Past Simple Tense
Situation: Uncle Roger is talking to his grandmother, Mali
Uncle Roger: Had you been to the USA in 90s?
(คุณเคยไปประเทศสหรัฐอเมริกาในยุค90มั้ย)
Granny Mali: Nope, I hadn’t been to the USA during that time.
(ฉันไม่เคยไปอเมริกาในยุค 90 เลย)
Granny Mali: I had been to Italy, Sweden, Denmark, and Singapore.
(ฉันเคยไปประเทศอิตาลี สวีเดน เดนมาร์ก และสิงคโปร์)
Uncle Roger: I got jealous already!
(อิจฉาคุณยายจังเลยครับ)
Past Perfect Continuous Tense
โครงสร้างประโยคบอกเล่า: Subject + had + been + V. ing
โครงสร้างประโยคปฏิเสธ: Subject + had not (hadn’t) + been +V.ing
Past Perfect Continuous Tense จะเน้นความต่อเนื่องของเหตุการณ์
หรือการกระทำได้ดีกว่า Past Perfect Tense
Situation: Interviewing Mark Zuckerberg, the co-founder of Facebook
Interviewer: What’s your secret of becoming so “successful”?
= ความลับที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จคืออะไร
Mark Zuckerberg: I had been working hard on my dream.
= ผมทำงานหนักเพื่อความฝันของผม (อย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน หรือพักเลย)
Interviewer: Why had you been working hard like that?
= ทำไมคุณถึงทำงานหนักแบบนั้นMark Zuckerberg: Because I hadn’t been living in a good life-quality like today.
= เพราะว่าเมื่อก่อนผมไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบทุกวันนี้
ขอให้สนุกกับการทบทวนบทเรียนกันนะคะ อย่าลืมทบทวนบทเรียนเรื่อง Past Simple Tense กับวีดีโอด้านล่างนะคะ ซึ่งทั้งอัลบั้มนี้มีให้ทบทวนบทเรียนเกือบทุกเรื่องในภาษาอังกฤษบนยูทูปฟรีๆ เลยจร้า กดดูวีดีโอทบทวนสนุกๆได้ที่ด้านล่างเลยเด้อ
Have a good day! ขอให้มีวันที่ดีค่า
See you next time! แล้วเจอกันค่า
+1
[Update] การแปลTense | past perfect tense ประโยค – NATAVIGUIDES
การแปล Tense
ลักษณะ Tense ในภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนรูปกริยาเพื่อแสดงกาล กริยานั้นอาจจะเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น go went gone หรือเติมปัจจัยเข้าไปหลังกริยา เช่น walk walked walked ในประโยคอาจมีหรือไม่มีคำบอกกาลเวลากำกับอยู่ หน้าที่ของกริยาที่เปลี่ยนไปที่เราเรียกว่า tense ต่าง ๆ นี้ คือ เพื่อบอกความหมายของกาลเวลาต่าง ๆ กัน
ตัวอย่างประโยค 3 ประโยคต่อไปนี้ มีความหมายไม่เท่ากันในแง่ของกาลเวลา
1. My friend lives in Bangkok.
2. My friend lived in Bangkok.
3. My friend has lived in Bangkok.
ประโยค 1-3 อาจแปลได้ความเท่ากัน คือ “เพื่อนของฉันอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ” แต่ความหมายของประโยคที่เกี่ยวกับเวลาไม่เท่ากัน
ประโยคที่ 1 ใช้ simple present tense หมายความชัดเจนว่า
เพื่อนของฉันอยู่ในกรุงเทพฯ (กำลังอยู่ในขณะนั้น)
ประโยคที่ 2 ใช้ past tense แสดงว่า
เขาไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว
ประโยคที่ 3 ใช้ present perfect tense อาจหมายความว่า
เขาเคยอยู่ที่นั่นในอดีต ตอนนี้อาจจะยังอยู่หรืออาจไม่อยู่แล้ว
คำบอกกาลในภาษาไทย
ภาษาที่มีวิภัตติ ปัจจัย อย่างภาษาบาลี สันสกฤตและอังกฤษ กาล มาลา วาจก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่ในภาษาไทย กาล มาลา วาจก ไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่าไรนัก เพราะภาษาไทยเวลานำมาพูดหรือเขียน ไม่จำเป็นต้องระบุเวลาว่าเมื่อไร ผู้ฟังและผู้อ่านต้องทำความเข้าใจเอาเอง ภาษาไทยไม่มีการแจกวิภัตติ ปัจจัยเพื่อบอกกาลเวลา คำแต่ละคำใช้ได้ในทุกโอกาส เมื่อต้องการจะบอกกาลเวลาก็มีวิธีการที่จะบอกได้ดังนี้
เมื่อต้องการทราบว่า กริยากระทำเมื่อไรต้องอาศัยกริยาช่วย เช่น จะ อยู่ กำลัง ได้ แล้ว ในภาษาไทยจะบ่งชัดลงไปว่า กริยาแท้ หรือ กริยาช่วย ต้องดูตำแหน่งในประโยคเป็นส่วนประกอบด้วย คำเหล่านี้บอกกาลเวลาต่างกัน คือ
บอกปัจจุบัน เช่น อยู่ กำลัง กำลัง….อยู่ กำลัง….อยู่แล้ว
ดูโทรทัศน์อยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักหลับนอน
(เป็นการบอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยังไม่ยุติลง แสดงว่า ยังดูโทรทัศน์โดยไม่ยอมเข้านอน)
เขากำลังวิ่ง
(คำว่า “กำลัง” เป็นคำบอกเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน แสดงว่าเขากำลังวิ่งอยู่อย่างต่อเนื่อง แสดง ให้เห็นว่าเขายังไม่ได้หยุดวิ่ง)
สมศักดิ์กำลังนอนหลับอยู่
(แสดงว่า ตลอดเวลาสมศักดิ์นอนหลับอยู่ยังไม่ตื่นขึ้นมา เป็นการบอกเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่โดยเน้น ความ)
สมศรีกำลังทำการบ้านอยู่แล้ว
(ประโยคนี้เน้นความยิ่งกว่า สมศักดิ์กำลังนอนหลับอยู่เพราะในข้อความนี้ได้เน้นให้เห็นว่า สมศรีได้ลง มือทำการบ้านแล้ว แต่ยังทำการบ้านไม่เสร็จ ซึ่งเป็นการบอกเหตุการณ์ให้รู้ว่าการกระทำได้เริ่มเรียบร้อย แล้ว แต่ยังไม่เสร็จ)
บอกอดีต ได้แก่ ได้ ได้….แล้ว เช่น
สมศรีได้รับจดหมาย
(บอกให้รู้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา สมศรีได้รับจดหมาย)
สมศรีได้พบคุณพ่อแล้ว
(บอกให้รู้ว่าการพบคุณพ่อของสมศรีได้ผ่านพ้นไปและเสร็จสิ้นลงเรียบร้อยแล้ว)
บอกอนาคต ได้แก่ จะ กำลังจะ….อยู่ กำลัง….อยู่แล้ว เช่น
ใครจะไปใครจะมา
(บอกเวลาล่วงหน้า เหตุยังไม่เกิด)
หล่อนกำลังจะเปิดวิทยุฟังเพลง
สมศรีกำลังจะกินอาหารอยู่เดี๋ยวนี้แหละ
คุณแม่กับคุณพ่อกำลังจะไปตลาดอยู่แล้ว
ความแตกต่างและความคล้ายคลึงของ tense ในภาษาอังกฤษและภาษาไทยในแง่รูปคำและหน้าที่
Tense ในภาษาอังกฤษ Tense ในภาษาไทย
รูปคำ
– เปลี่ยนรูปคำกริยา เช่น go went gone – ไม่เปลี่ยนรูปกริยา
– เติมปัจจัย ed เช่น walk walked walked – มีการเติมกริยาช่วย เช่น กำลัง กำลัง จะ แล้ว
– มีหรือไม่มีคำบอกกาล/เวลา กำกับ – มีหรือไม่มีคำบอกกาล/เวลา กำกับ
หน้าที่
– บอกความหมายของกาลเวลาต่าง ๆ กัน ตาม tense ที่ต่างกัน – ไม่ให้ความสำคัญกับกาล/เวลาที่ต่างกัน
– รู้กาลเวลาโดยเดาจากปริบท หรือจากคำกำกับเวลา (ถ้ามี)
วิธีแปล
ผู้แปลควรอ่านประโยคภาษาอังกฤษเพื่อทำความเข้าใจความหมายของ tense ในแง่ของกาล/เวลา ดูว่าประโยคนั้นใช้ tense อะไร แล้วจึงแปลถ่ายทอดเป็นภาษาไทยให้ตรงกับลักษณะกาล/เวลา ที่นิยมใช้ในภาษาไทย โดยอาจจะเติมคำเสริมกริยาต่าง ๆ หรือคำบอกเวลาที่เหมาะสมในภาษาไทย เช่น มาตลอด ก่อน แล้ว จะ เพิ่ง เคย เป็นต้น ถ้าในประโยคภาษาอังกฤษนั้นมีกริยาหลายตัวที่อยู่ใน tense เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องใส่คำเสริมกริยาไปทุกที่ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนซึ่งภาษาไทยไม่นิยม ดังตัวอย่างเช่น
เขากำลังจะโทรศัพท์ถึงเพื่อนของเขาและเพื่อนของเขากำลังจะมา
เขาทั้งสองกำลังจะไปทานข้าวนอกบ้านกัน
(ภาษาไทยไม่นิยม)
เช่นเดียวกันเมื่อแปลประโยคหรือข้อความที่เป็นเรื่องเล่า ซึ่งใช้คำกริยาเป็นอดีตกาล
เวลาแปลภาษาไทยไม่นิยมใส่คำบอกกาล ได้ + กริยา อย่างพร่ำเพรื่อ ตัวอย่างเช่น
เขาได้ไปโรงเรียน เขาได้มาถึงโรงเรียนทันเวลา และเขาได้ทำความเคารพครูที่ยืนอยู่หน้าโรงเรียน
(ภาษาไทยไม่นิยม)
ตัวอย่างการแปลประโยคภาษาอังกฤษที่มี tense ต่าง ๆ เป็นภาษาไทย
1. Have you finished your term paper?
ทำรายงานเสร็จแล้วหรือยัง
อธิบาย: แล้ว-ยัง คำบอกเวลาจากอดีตมาจนปัจจุบัน (present perfect tense)
No, but I’ll finish it this evening.
ยังหรอก แต่จะทำให้เสร็จตอนเย็นนี้
อธิบาย: จะ….ตอนเย็นนี้ บอกกาลอนาคตแบบของไทย
2. Did you see a lot of friends at the party?
คุณพบเพื่อนหลายคนไหมที่งานเลี้ยง
อธิบาย: อดีต แต่ไม่จำเป็นต้องใส่คำเสริมบอกอดีต เช่น “ได้” ข้างหน้าคำกริยา
No, I didn’t. When I arrived there, some of them had already left.
ไม่ค่อยพบหรอก พอไปถึงที่งานปรากฏว่าเพื่อนหลายคนกลับไปก่อนแล้ว
อธิบาย: already = ก่อนแล้ว และกริยาในประโยคก็แปลอย่างปกติ
3. Did you enjoy the party last night?
เมื่อคืนงานเลี้ยงสนุกไหม
อธิบาย: แปลคำบอกกาลก็เพียงพอแล้ว last night = เมื่อคืน
Yes, I did. It wasn’t like any other party that I have ever been to.
สนุกซิ ไม่เหมือนกับงานเลี้ยงก่อน ๆ ที่เคยไปเลย
อธิบาย: แปล present perfect จากอดีตจนถึงปัจจุบันโดยใช้คำบอกกาล เคย….เลย
4. When I arrived at the office, the meeting was just beginning
เมื่อฉันไปถึงที่ทำงาน การประชุมกำลังเพิ่งเริ่มพอดี
อธิบาย: เราไม่แปล past tense ของกริยาว่าได้ + v แปลว่า ไปถึง เท่านั้น just
แปลว่า เพิ่ง ใช้คำนี้กับเหตุการณ์ในอดีตก็ได้
continuous tense ในประโยคนี้ แปลตรงกับภาษาไทยว่า กำลัง + v
5. Talking to her wasn’t easy although I had known her for a long time.
(การ) คุยกับเธอนั้นไม่ใช่ของง่าย ทั้ง ๆ ที่ฉันเคยรู้จักเธอมาก่อนแล้ว
อธิบาย: เหตุการณ์ในอดีต ไม่นิยมแปลว่า ได้ + v การแปลเพื่อแสดง past perfect
tense ใช้คำเสริมกริยา เคย…ก่อนแล้ว
6. By the time you read this letter, I will have already left home.
กว่าเธอจะได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันก็คงออกจากบ้านไปแล้ว
อธิบาย: เหตุการณ์ช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต สังเกตคำแปล กว่า…จะ คง…แล้ว
แล้ว ในที่นี้ แปลว่า ทำอาการนั้นแล้ว ไม่ได้แปลว่า อดีตหรือเวลาที่ล่วงเลยมาแล้ว
7. She explained that the problem of water was solved when she moved to this area ten years ago.
เธอชี้แจงว่าปัญหาเรื่องน้ำแก้ไขไปก่อนที่เธอจะย้ายมาอยู่แถบนี้เมื่อ 10 ปีก่อน
อธิบาย: v. + ed ไม่จำเป็นต้องแปลว่า ได้ + v. เสมอไป ในบางจุดอาจเติม “จะ” เพื่อให้เห็นช่วงเวลาก่อนหลังที่ห่างกัน 2 ช่วง แก้ไขไปก่อน…จะ คำว่า “ก่อน” ที่อยู่ท้ายประโยค แปลจาก ago
8. When I finally knew what was happening, I saw many police inside my house.
ก่อนที่ผมจะรู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้น ผมก็เห็นตำรวจอยู่เต็มบ้าน
อธิบาย: เพื่อให้เห็นความแตกต่างของเวลา 2 ช่วง ที่ใช้ past tense กับ past
continuous แปลเป็นภาษาไทย โดยใช้คำเสริมกริยา ก่อนจะ
9. She has been standing there, waiting for her son, for more than two hours.
เธอยืนอยู่ที่นั่นมาตลอด คอยลูกชายอยู่เป็นเวลากว่าสองชั่วโมงแล้ว
อธิบาย: present perfect continuous tense แสดงโดยใช้คำเสริมบอกการทอดระยะของ
ช่วงเวลา ….มาตลอด….แล้ว
10. I’ll be seeing him tomorrow at the office.
ผมนัดกับเขาไว้ว่าจะเจอกันพรุ่งนี้ที่ที่ทำงาน
อธิบาย: ประโยคที่ใช้ future continuous tense แสดงว่า มีการตกลงกันไว้แล้ว จะแปลต่างจากประโยคที่ว่า “I’ll see him” ผมจะไปพบเขา ซึ่งใช้ future tense ธรรมดา ที่แสดงถึงอนาคตกาลเท่านั้นเอง
Share this:
Like this:
ถูกใจ
กำลังโหลด…
We’d Been Hoping for a Romantic Trip – Past Perfect Continuous
Learn how to use the past perfect continuous tense (also known as the past perfect progressive tense) to express an action that started in the past and continued until a later time in the past.
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
What were you doing? – Past Continuous
Learn how to use Past Continuous/Progressive through a short story in this video. We use this tense 1. for a continuous action in the past which was interrupted by another action \”I was reading the label, when the jar slipped out of my hands\”; 2. to describe the atmosphere \”The sun was shining\”; 3. for two actions which happened in the same time in the past \”I was sitting in the living room and she was taking a shower\”
Past Simple และ Past Perfect Tense ตอนที่ 7 ภาษาอังกฤษ ป.4 – ม.6
Past Simple และ Past Perfect Tense
ภาษาอังกฤษ ป.4 ม.6
มาตราฐาน ต 2.2
มาดูหลักการใช้และความแตกต่างระหว่าง Past Simple และ Past Perfect กับ Bobby และผองเพื่อนกัน
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ DLIT (Distance Learning Information Technology)
http://www.dlit.ac.th
Past Perfect Tense
Learn how to use correctly the past perfect tense in this video. You’re going to see several situations where we need to use this tense. Words like already, when, after, before, never can indicate that Past Perfect could be used.
Past Tense and Past Perfect Tense – MELC Based
This learning video discusses the difference between simple past tense and past perfect tense.It also presents and analyzes clear examples of simple past tense and past perfect tense.
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE
ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ past perfect tense ประโยค