Skip to content
Home » [Update] ฟรานซิส. จิตร ช่างภาพผู้ยิ่งใหญ่ | ฟ ราน ซิ ส – NATAVIGUIDES

[Update] ฟรานซิส. จิตร ช่างภาพผู้ยิ่งใหญ่ | ฟ ราน ซิ ส – NATAVIGUIDES

ฟ ราน ซิ ส: คุณกำลังดูกระทู้

เอนก นาวิกมูล

      ช่างภาพรุ่นแรก ๆ ของเมืองไทยมีไม่มาก เกือบจะเรียกว่านับตัวได้ ถ้าจะเอาคนที่นำวิชาถ่ายรูปเข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๘๘ ก็ต้องบาทหลวงลาร์โนดี กับสังฆราชปาเลอกัว ถ้าจะเอาคนไทยคนแรกที่เรียนวิชาถ่ายรูป ก็ต้องนายโหมดหรือพระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ต่อจากนั้นจึงเป็นเจ้านายอย่างกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา ต้นสกุลนิลรัตน์ กับคนไทยเชื้อสายฝรั่งกุฎีจีนที่ชื่อนายจิตร
      ในบรรดาช่างถ่ายรูปทั้งหมดดังเอ่ยนามและพระนามมา นายจิตรคือคนที่ฝากผลงานถ่ายภาพไว้มากที่สุด ทั้งยังเป็นผลงานอันล้ำค่าที่ไม่มีใครเทียบ เพราะถ่ายทั้งบุคคลสำคัญ ไม่สำคัญ ถ่ายทั้งเหตุการณ์และสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ รวมแล้วหลายร้อยภาพ ทุก ๆ
ภาพล้วนคมชัด
ชนิดขยายใหญ่ขนาดเท่าบานหน้าต่างบานประตูก็ยังชัด สรุปว่ามากทั้งคุณภาพและปริมาณ
      ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี มีหีบไม้สักขนาดเล็กใหญ่จำนวนนับร้อยใบ ตั้งแต่ขนาดฝ่ามือไปจนถึงขนาดสูงเกือบข้อศอก บรรจุกระจกเนกาติฟฝีมือนายจิตรไว้นับไม่ถ้วน ในอัลบัมเก่าบางเล่มของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และรูปถ่ายเจ้านาย ขุนนาง พร้อมตราร้านนายจิตรเต็มไปหมด ในหนังสือพิมพ์เก่าบางฉบับในหอสมุดแห่งชาติ ลงโฆษณารับจ้างถ่ายรูปของนายจิตรหลายครั้งหลายหน เมื่อยิ่งสืบก็ยิ่งพบผลงานของนายจิตร โดยเฉพาะใน พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ผู้สนใจภาพเก่าคนหนึ่ง คือ อาจารย์พิพัฒน์ พงศ์รพีพร ค้นพบงานถ่ายภาพกรุงเทพฯ แบบพาโนรามาหรือแบบมุมกว้างอันยิ่งใหญ่ของนายจิตร กับพบความจริงอันน่าเจ็บปวดว่า งานบางชิ้นของนายจิตร ถูกคนร่วมอาชีพจากต่างประเทศโกงชื่อเสียงเอาดื้อ ๆ
ดังอาจารย์พิพัฒน์ได้นำความจริงออกตีแผ่
สู่สาธารณชนอย่างจริงจังเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔

หลักฐานเกี่ยวกับนายจิตร

      จะศึกษาชีวิตและงานของนายจิตรเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ต้องศึกษาจากหลักฐานใดบ้าง ? หากเป็นหนังสือและเอกสารก็ต้องพึ่งหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๔ ที่ลงข่าวการตายและประวัติของนายจิตรละเอียดที่สุดครึ่งหน้า
      นอกจากนี้มีจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ ของหมอบรัดเลย์ หนังสือพิมพ์ The Siam Mercantile Gazette หนังสือจดหมายเหตุแลนิราศลอนดอน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ (มีในหอสมุดดำรงราชานุภาพ ผู้เขียนอาศัยคัดลอกจากหอสมุดนั้น) หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)

      หนังสือสยามประเภท ฉบับวันเสาร์ที่ ๒๐ มกราคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) หนังสือมหามกุฎราชคุณานุสรณ์ หนังสือจดหมายเหตุเสด็จประพาสต่างประเทศในรัชกาลที่ ๕ หนังสือเกร็ดโบราณคดีประเพณีไทย ชุดที่ ๒ มีสารคดีเรื่อง “ช่างชักรูปเงาสมัยแรกของสยาม” โดย ส. พลายน้อย หนังสือ (ประวัติ) ท่านเจ้าพะญานรรัตนราชมานิต (โต) พิมพ์แจกเมื่อ ร.ศ. ๑๓๑ หรือ พ.ศ. ๒๔๕๕ หนังสือ LE ROYAUME DE SIAM โดย M.A.de Gre’han จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๔ ในหอสมุดแห่งชาติ การสัมภาษณ์นายพัลลภ เสาวนิตนุสร ผู้เป็นโหลนของนายจิตร สัมภาษณ์ลูกหลานคนอื่น ๆ ของนายจิตร และการอ่านภาพในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

 

ประวัติย่อจากราชกิจจานุเบกษา

      แรกสุดต้องดูหนังสือราชกิจจานุเบกษา หน้า ๗๓ ก่อน ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่อ้าง ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่สุดที่ช่วยบอกประวัติย่อของนายจิตรในคราวถึงแก่กรรม หากไม่มีราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้แล้ว การหาปีเกิดปีตายจะลำบากมาก
      หนังสือกล่าวว่า นายจิตรซึ่งเวลานั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และราชทินนามว่า หลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ อายุ ๖๑ ปี
      หนังสือไม่ได้บอกปีเกิด จึงต้องเอาอายุไปลบปีตาย ได้เป็นปีเกิด พ.ศ. ๒๓๗๓ ซึ่งเท่ากับนายจิตรเกิดเมื่อต้นสมัย รัชกาลที่ ๓ หรือเมื่อ ๑๗๒ ปีมาแล้วนับจาก พ.ศ. ๒๕๔๕
      ต่อไปหนังสือบอกแต่ว่าบิดานายจิตรชื่อตึง ทหารแม่นปืนฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) ไม่ระบุชื่อมารดา แล้วจากนั้นก็จับเข้าชีวิตราชการเลย ไม่มีการพูดถึงชีวิตวัยเด็กหรือพรรณนาฝีมือความสามารถใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะข่าวตาย (ของเจ้านายกับข้าราชการ) ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา นั้น แปลกนักที่ชอบพรรณนาอาการของโรคมากกว่าอย่างอื่น

      หนังสือว่านายจิตรเดิมเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่เวรชิตภูบาล ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๕ ตำลึง ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (วังหน้า) สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๐๙ แล้ว นายจิตรก็ลงมาสมทบรับราชการในพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) หรือรับราชการกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ ช่างถ่ายรูปขึ้นกับกรมแสง (ว่าด้วยอาวุธ ไม่ใช่ลำแสง) ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่ง ห้าตำลึง
      จากนั้นได้เลื่อนเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ซึ่งหมายถึงดูแลโรงแก๊ส พระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่งกับสิบตำลึง
      วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๐ ป่วยเป็นอหิวาตกโรค ได้หาหมอชูเชลยศักดิ์ (หมายความว่าไม่ใช่หมอหลวง) มารักษา หมอชูประกอบยาให้รับประทาน อาการทรงอยู่ รุ่งขึ้นวันที่ ๑๘ เปลี่ยนให้หมอเทียนฮี ซึ่งควรหมายถึงหมอเทียนฮี้ ต้นตระกูล สารสิน มารักษาอาการไข้อหิวาตกโรคนั้นหาย รับประทานอาหารได้มื้อละ ๔ ช้อนบ้าง ๕ ช้อนบ้าง ภายหลังอาการแปรเป็นลมอัมพาตให้คลั่งเพ้อไม่ได้สติ แขนและขาข้างซ้ายตายไปซีกหนึ่ง หมอประกอบยาให้รับประทาน อาการหาคลายไม่ จนถึงวันที่ ๒๓ เวลาสองทุ่มให้หอบเป็นกำลัง ครั้นเวลาสี่ทุ่มเศษหลวงอัคนีนฤมิตรก็ถึงแก่กรรม ได้รับพระราชทานผ้าขาวสองพับ เงิน ๑๐๐ เฟื้อง ขุนฉายาสาทิศกร ผู้บุตร เป็นผู้จัดการศพ

หัดชักรูป

      ประวัติบอกไว้เพียงแค่นี้ ถ้าอยากรู้นอกเหนือจากนี้ต้องสืบเสาะเพิ่มเติมเอาเอง ในทีนี้ผู้เขียนจะแสดงหลักฐานไปตามลำดับตามอายุของนายจิตร โดยเริ่มที่หนังสือชื่อ จดหมายเหตุแลนิราศลอนดอน ก่อน หนังสือจดหมายเหตุฯ ดังว่าพิมพ์หลายครั้ง แต่คำนำไม่เหมือนกัน เล่มที่ต้องใช้คือฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ ซึ่งแจกในงานศพพระยามนตรีสุริยวงษ์ (ชื่น บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๖๑ (มีในหอสมุดดำรงราชานุภาพ)
      ในนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ในคำนำหน้า ๑๔ ว่า ผู้ที่เรียนรู้วิชาจากฝรั่งสามารถใช้ในราชการได้ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงศึกษามาแต่ยังทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษามาตั้งแต่ยังเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) นายโหมด อมาตยกุล และ….
      “มีนายจิตร อยู่กฎีจีนคน ๑ ได้หัดชักรูปกับบาทหลวงลานอดี ฝรั่งเศส แลได้ฝึกหัดต่อมากับทอมสัน อังกฤษที่เข้ามาชักรูปเมื่อในรัชกาลที่ ๔ จนตั้งห้างชักรูปได้เปนทีแรก แลได้เปนขุนฉายาทิศลักษณเมื่อในรัชกาลที่ ๕ แล้วเลื่อนเปนหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมแก๊สหลวง”
      ที่บอกว่านายจิตรอยู่กฎีจีน หรือบางแห่งเขียนกระดีจีน ก็คืออยู่แถบวัดซางตาครู้ส ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และอยู่ใกล้ ๆ กับวัดกัลยาณมิตร วัดซางครู้สเป็นวัดของชาวคาทอลิก ตั้งมาตั้งแต่ราว ค.ศ. ๑๗๗๐ หรือ พ.ศ. ๒๓๑๓ หรือเมี่อ ๒๓๐ ปีเศษ
ปัจจุบันโบสถ์เก่าอันสง่างามของวัด
ก็ยังคงได้รับการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี ถ้าจะไปวัดซางตาครู้ส ไม่ไปทางรถ
ก็อาจนั่งเรือข้ามฟากจากท่าปากคลองตลาด
ข้างโรงเรียนราชินีไปก็ได้ วัดแห่งนี้เป็นที่พิมพ์หนังสือชื่อ คำสอนคริสตัง ซึ่งเป็นหนังสือที่ใช้วิธีพิมพ์แทนการเขียนเก่าสุดเท่าที่พบในเมืองไทย

     
ชุมชนวัดซางตาครู้สในสมัยร้อยกว่าปีที่แล้วต้องมีบ้านเรือนบนบก
และเรือนแพในน้ำ
หนาแน่นพอสมควร เพราะแถบนั้นมีคนอยู่กันมากดังเห็นได้จากรูปถ่ายเก่า ๆ ไม่ว่าหน้าวัดอรุณราชวรารามที่อยู่ถัดวัดกัลยาณมิตรไปทางตอนเหนือ หรือวัดประยุรวงศาวาสที่อยู่ถัดวัดซางตาครู้สไปอีกด้าน
แม้สตูดิโอหรือร้านถ่ายรูปของนายจิตร
ก็ตั้งบนเรือนแพหน้าวัดซางตาครู้สนี้แหละ
      แต่ก่อนจะพูดถึงเรือนแพประวัติศาสตร์หลังนั้น ยังต้องย้อนกลับไปยังพระนิพนธ์เมื่อสักครู่อีก เพราะมีเรื่องต้องขยายความสองสามเรื่อง
      ที่ว่าหัดชักรูปกับบาทหลวงลานอดีฝรั่งเศสนั้นเป็นไปได้ เพราะเป็นชาวคริสต์และเป็นชาวคาทอลิกด้วยกัน ประวัติและผลงานของบาทหลวงลานอดี หรือ L’ABBE’ LARNAUDIE ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ
ผู้เขียนได้พยายามหาทั้งประวัติ
และรูปถ่ายบาทหลวงลานอดีหรือลาร์โนดีอยู่เป็นสิบปี เพิ่งจะได้รูปถ่ายชัด ๆ ของท่านก็เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ นี้เอง
      ที่ควรทราบคือบาทหลวงลาร์โนดีเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ อายุถึง ๘๐ ปี มาถึงปากน้ำประเทศสยามเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๘๘ พร้อมด้วยกล้องและอุปกรณ์การถ่ายรูปต่าง ๆ ที่สังฆราชปาเลอกัวซึ่งมาเมืองไทยก่อนแล้วสั่งให้นำเข้ามา นับเป็นครั้งแรกที่วิชาการถ่ายรูปมาถึงสยาม 
      บาทหลวงลาร์โนดีนี้เองที่น่าจะเป็นคนสอนวิชานี้ขึ้นก่อน เพราะท่านเป็นผู้มีความรู้ทางเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ทั้งไฟฟ้า การชุบเงินชุบทอง โทรเลข
นาฬิกา การถ่ายรูป เครื่องจักร กลไก ตลอดกระทั่งภาษา ถึงขนาดได้เป็นล่ามให้คณะราชทูตไทยชุดไปฝรั่งเศสถึงสองหน คือชุด พ.ศ. ๒๔๐๔ กับชุด พ.ศ. ๒๔๑๐ (ดูรายละเอียดในหนังสือ ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย ซึ่งรอตีพิมพ์มาห้าหกปีแล้ว)
      เมื่อบาทหลวงลาร์โนดีมาถึงเมืองไทย พ.ศ. ๒๓๘๘ นายจิตรเพิ่งอายุได้ ๑๕ ปี อาจจะยังไม่ได้เข้าไปขอเรียนวิชาทันที ควรรอไปอีกนานพอสมควร ส่วนที่สมเด็จฯ ทรงกล่าวว่าหัดชักรูปกับฝรั่งอีกคนหนึ่งคือทอมสัน หรือ JOHN THOMSON ซึ่งเข้ามาเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ นั้น ไม่น่าจะใช่ เพราะก่อนหน้านั้นสองปี นายจิตรได้ก่อตั้งร้านถ่ายรูปไปเรียบร้อยแล้ว ประเดี๋ยวจะบอกว่าได้หลักฐานจากที่ไหน

 

      สุดท้าย ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงกล่าวว่านายจิตรได้เป็น “ขุนฉายาทิศลักษณเมื่อในรัชกาลที่ ๕” นั้น คงจะทรงจำผิด เพราะได้เป็นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ และราชทินนามที่ถูกต้องคือ “สุนทรสาทิศลักษณ์” อันแปลว่า “ช่างทำรูปภาพอย่างดี” เรื่องราชทินนามสุนทรสาทิศลักษณ์นี้ก็มีให้อภิปรายอีกยาว เพราะผู้ได้รับราชทินนามดังกล่าวไม่ได้มีแค่นายจิตรคนเดียว ยังมีฝรั่งชื่อ DAGRON กับคนไทยอีกคนหนึ่งด้วย
      นายจิตรได้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์จริง ๆ หรือ จริงแน่นอน เพราะคำนี้มีทั้งในกระดาษปิดรูปของร้านนายจิตร และในจดหมายเหตุราชการต่าง ๆ มากมาย
      ถ้าท่านดูกระดาษปิดรูปถ่ายเจ้านายขุนนางในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ก็จะพบบางแผ่นพิมพ์ข้างหลังว่า “FRANCIS CHIT KHOON SOONDR SADISLACKS PHOTOGRAPHER HIS MAJESTY THE KING OF SIAM BANGKOK” หรือบางแผ่นพิมพ์ว่า “สุนทรสาทิศลักษณ์ KHOON SOONDR SADISLAX” ส่วนขุนสุนทรคนอื่นนั้น ไม่มีชื่อเสียงและผลงานให้ศึกษาเลย
      เมื่อสักครู่มีคำว่า FRANCIS CHIT เพิ่มเข้ามาอีกคำหนึ่ง คำนี้เมื่อแรกเริ่มศึกษาเรื่องประวัติการถ่ายรูปใหม่ ๆ ความรู้ยังไม่มากพอ ผู้เขียนเคยสงสัยว่ามีที่มาอย่างไร ไม่ช้าก็ได้พบคำตอบในหนังสือชื่อ ฟื้นความหลัง ของ เสฐียรโกเศศ บอกไว้ในเล่ม ๑ ว่า ฟรานซิสเป็นชื่อนักบุญในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ใช้เป็นชื่อหน้าของคนที่นับถือศาสนาคริสต์
ตั้งแต่เข้าพิธีรับศีลล้างบาป เป็นอันหายสงสัยไปอีกข้อหนึ่ง

ปีตั้งร้าน ๒๔๐๖

      ว่าถึงเรื่องการตั้งร้าน ระหว่างอ่านไมโครฟิล์มในหอสมุดแห่งชาติเมื่อเกือบ ๒๐ ปีก่อน วันหนึ่งผู้เขียนพบโฆษณาชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ The Bangkok Times ฉบับวันพุธที่ ๒๓ มกราคม ค.ศ. ๑๘๘๙ (พ.ศ. ๒๔๓๒) ลงโฆษณาของร้านฟรานซิศจิตรแอนด์ซันเป็นภาษาอังกฤษ แปลได้ว่า
      “ห้องภาพ ก่อตั้งปี ค.ศ. ๑๘๖๓
      เอฟ.จิตร และบุตร
      (จากเบนเก และคินเดอร์มานน์ ฮัมบูร์ก)
      กระฎีจีน (ซังตาครูซ) ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ (ตรงข้ามกับรอแยล เซมินารี)
      ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นช่างภาพหลวงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งสยาม
      รับถ่ายรูปทุกวันตั้งแต่เวลา ๗ ถึง ๑๑ พี.เอ็ม.
      มีรูปทิวทัศน์จากทุกภาพของสยามไว้จำหน่ายเสมอ
ตลอดจนรูปคนที่มีชื่อเสียงชาวสยามและรูปชีวิตชาวสยาม”
      ตรงนี้ขอหมายเหตุเล็กน้อยว่า ที่พูดถึงชื่อฝรั่งสองคนและเมืองฮัมบูร์กนั้น หมายความว่าลูกชายคนหนึ่งของนายจิตรคือนายทองดี ได้เคยไปเรียนวิชาถ่ายรูปกับฝรั่งสองคนนั้นที่เยอรมนี ทางร้านจึงเอามาเป็นจุดขาย
      โฆษณาอีกชิ้นหนึ่งพบในหนังสือพิมพ์ The Siam Mercantile Gazette ฉบับวันที่ ๒๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๙ (พ.ศ. ๒๔๓๒) บอกปีตั้งร้านเอาไว้เหมือนกันว่า
      “นายจิตรผู้พ่อ ได้ก่อตั้งห้องภาพนี้ขึ้นในปี ค.ศ. ๑๘๖๓” 
      จึงเป็นอันเชื่อได้แน่ว่าในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ นับแต่กลางสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น นายจิตรขณะอายุ ๓๓ ปีได้ตั้งร้านถ่ายรูปขึ้นแล้ว และอาจกล่าวได้ว่าเป็นคนไทยคนแรกที่ตั้งร้านรับจ้างถ่ายรูปเป็นอาชีพ เพราะยังไม่พบผู้ใดทำเช่นนี้มาก่อนเลย

      หลังจากตั้งร้านแล้ว นายจิตรได้ส่งโฆษณาไปลงตามหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ เสมอ
ข้อนี้จะนับว่าเป็นช่างถ่ายรูปคนไทยคนแรก
ที่ลงแจ้งความตามหนังสือพิมพ์โฆษณากิจการของตนก็ได้อีกเหมือนกัน ทั้งเมื่อเทียบกับร้านถ่ายรูปของผู้อื่นแล้ว ก็ไม่มีใครลงแจ้งความมากแห่งมากครั้งเท่าร้านนายจิตร การลงแจ้งความนี้ได้กระทำสืบเนื่องไปจนถึงชั้นลูก หนังสือพิมพ์ที่มีโฆษณาร้านนายจิตรได้แก่ บางกอกรีคอร์เดอร์ จดหมายเหตุสยามไสมย บางกอกไตมส์ และเดอะสยามเมอร์แคนไตล์กาเซท์
แจ้งความชิ้นแรกสุดหรือเก่าสุดของนายจิตร
เริ่มลงในหนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ นับแต่ฉบับที่ ๘ ของปี พ.ศ. ๒๔๐๘ หรือฉบับวันที่ ๑๖ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๖๕ (บางกอกรีคอร์เดอร์ เคยออกครั้งหนึ่งแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ สมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วหยุดไป) มาถึงปี พ.ศ. ๒๔๐๘ หมอบรัดเลย์ก็มาเริ่มออกใหม่อีก) ในหน้า ๕๕ นายจิตรลงโฆษณาว่า
      “อนึ่ง มิศฟะรันซิศจิต, เปนพนักงานสำหรับชักเงารูป ปราถนาจะให้คนในกรุงนอกกรุงเข้าใจว่า, ตัวนั้นอยู่ที่แพ้ (ใส่ไม้โท คงหลงลืม -เอนก) น่าบ้านกะดีจีน, ได้เป็นพนักงานสำรับชักเงารูปต่าง ๆ. รูปที่ได้ชักไว้แล้วนั้น, ก็มีหลายอย่าง, คือรูปวัง, แลรูปวัด, รูปตึก,รูปเรือน, แลรูปเงาต้นไม้, แลรูปท่านผู้มีวาศนาต่าง ๆ ในกรุงเทพนี้. ถ้าท่านผู้ใดปราถนา, จะให้ข้าพเจ้าไปชักเงารูปที่บ้านของท่าน ข้าพเจ้าก็จะไปทำ, ราคาค่าจ้างนั้น จะเอาแต่อย่างกลางภอสมควร.”

      โฆษณาชิ้นแรกนี้ลงในฉบับเดียวกับข่าวฝาแฝดอินจัน ซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๕๐ กว่าปีแล้ว กำลังอยู่ในภาวะสงครามทาสของอเมริกา นายจิตรได้ลงโฆษณาความเดียวกันต่อไปอีกหลายฉบับ และต่อมาอีกไม่นานนัก ก็มีช่างถ่ายรูปฝรั่งสองคนเดินทางเข้ามาเมืองไทย มาลงแจ้งความเรื่องถ่ายรูป ขายรูปเหมือนกัน คือ จอห์น ทอมสัน กับ เอ. แซกเลอร์
      เฉพาะคำว่า “มิศฟะรันซิศ” ตรงบรรทัดแรกสุด สมควรอธิบายไว้ ณ ที่นี้เสียเลย เพราะจะพบต่อไปตามที่ต่าง ๆ อีกมาก เช่น ในเครื่องกำกับงานข้างหลังรูปเป็นต้น
      คำว่า มิศ ย่อมาจาก มิสเตอร์ หรือ นาย เช่นที่พบในจดหมายเหตุสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลต้น ๆ คำว่า ฟะรันซิศ ก็คือ ฟรานซิศ ดังที่เสฐียรโกเศศเขียนไว้ในหนังสือ ฟื้นความหลัง เล่ม ๑ หน้า ๔๕ ต่อจากที่เล่าเรื่องบิดาไปถ่ายรูป ณ ร้านนายจิตร ว่า
      “…ที่มีอักษรย่อว่า F อยู่ข้างหน้า เห็นจะเป็นคำว่า Francis ซึ่งเป็นชื่อนักบุญในศาสนาคฤสต์นิกายโรมันคาโทลิก
ใช้เป็นชื่ออยู่หน้าชื่อของผู้ที่นับถือคฤสตศาสนาในนิกายนี้
เมื่อเข้าลัทธิพิธีรับ “ศีลล้างบาป”…”
      ในปัจจุบัน ตระกูลจิตราคนียังคงนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก แต่ที่นับถือพุทธศาสนาก็มี

ราชทินนาม สุนทรสาทิศลักษณ์

      ในสมัยรัชกาลที่ ๓ หรือก่อนหน้านั้น ราชทินนาม สุนทรสาทิศลักษณ์ ไม่เคยมีมาก่อน เพิ่งมาเริ่มมีขึ้นก็เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง ดังเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เขียนเป็นหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ตอนท้ายว่า
      “กรมแสงใน ทรงใหม่ ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ ขุนยนต์โรควิชาชาญ ขุนชำนาญยานยนต์ ขุนทิพสุคนธ์ ปลัด ทรงแปลงว่า ขุนทิพมงคล…”
     
นายจิตรเห็นจะเป็นคนแรกที่ได้รับบรรดาศักดิ์และราชทินนาม
เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์นี้ ส่วนหน้าที่การงานก็เป็นไปตามฉายาที่ทรงตั้ง คือทำหน้าที่เป็นช่างถ่ายรูปหลวง
      นายจิตรได้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์เมื่อใด ต้องดูจากประวัติตอนต้นที่อ้างแล้วจาก ราชกิจจานุเบกษา ในนั้นจะเห็นว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๐๙ แล้ว นายจิตรก็มารับราชการในวังหลวง รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ แสดงว่าได้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์เมื่ออายุราว ๓๖ ปี

 

      บรรดาศักดิ์ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์นี้ นายจิตรได้เป็นอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๓
จึงได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์
และตำแหน่งเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ส่วนผู้ที่ได้รับบรรดาศักดิ์ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์สืบต่อมาจากนายจิตร รู้ว่ามีอีกสองคน แต่ไม่ทราบประวัติชัดเจน คือ
      ๑. M. Dagron ช่างภาพของจักรพรรดินโปเลียน แห่งฝรั่งเศส
      มีหลักฐานในหนังสือชื่อ LE ROYAUME DE SIAM โดย M.A. de Gre’han ซึ่งสำนักพิมพ์ต้นฉบับนำมาแปลและพิมพ์จำหน่ายแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ ในชื่อ ราชอาณาจักรสยาม โดย พระสยามธุรานุรักษ์ (แอ็ม อา เดอ เกรอัง) ขอให้เปิดไปที่หน้า ๘๗ ของภาคภาษาไทยและหน้า ๗๘ ของภาคภาษาฝรั่งเศส ในนั้นบอกว่ารัชกาลที่ ๔ ทรงพอพระทัยฝีมือการถ่ายรูปของ มร. ดากร็อง จึงทรงแต่งตั้งให้เป็นช่างภาพประจำพระองค์ ได้รับราชทินนาม ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ค.ศ. ๑๘๖๗ พ.ศ. ๒๔๑๐
      ๒. นายชม มีหลักฐานในหนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่๑๙ หน้า ๑๖๙ ขุนสุนทรฯ ผู้นี้หนังสือว่าชื่อจริงชื่อ ชม อยู่ในกรมเซอร์เวย์ (ภายหลังคือกรมแผนที่)

ไปถ่ายรูปปราสาทหินพิมาย

      เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๑ ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร) ไปถ่ายรูปปราสาทหินที่พิมาย มีหลักฐานสำคัญสอง อย่างที่ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน อยากจะเล่าที่มาของข้อมูลไว้สักเล็กน้อยคือ ทีแรกพบสารตรากล่าวถึงเรื่องนี้ก่อน แล้วต่อมาจึงพบรูปถ่ายมีลายเซ็น F. Chit เป็นเครื่องยืนยัน ผู้พบสารตราคือคุณศรัณย์ ทองปาน แห่งศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณ ไปพบในหอสมุดแห่งชาติ ยังไม่เคยเห็นเผยแพร่ที่ไหน ได้อุตส่าห์คัดลอกมาให้ด้วยมือ และนำมาให้ผู้เขียนตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ภาษาที่เขียนเป็นภาษาแบบเก่า เวลาอ่านและคัดลอกค่อนข้างทุลักทุเลพอสมควร จะคัดให้ท่านดูตามอย่างของเดิมเสียก่อน จะได้ต่ออายุเอกสารไว้ ต่อจากนั้นจึงจะถอดความหรือสรุปให้อ่านง่ายในตอนท้ายอีกที
      จดหมายเหตุ ร.๔ จ.ศ. ๑๒๒๙ / ๘๑
      “O สารตราเจ้าพระยาจักตรีฯ มาถึ่งพระยา ณครราชศรีมาแลเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองรายทาง ด้วยมีพระบรมราชโองการดำรัศเหนือเกล้าฯ สั่งว่าโปรดเกล้าฯ ให้ขุนสุนธรษาทีดลักษ ช่างทายรูปขึ้นไปทายรูปทำแผนที่วัฒนมวัน แลของเก่า ๆ ในแขวงเมืองพีมาย เมืองขึ้นเมืองณครราชศรีมา ขุนสุนธรษาทีดลักษมาครั้งนี่มีลูกมือสองคน บ่าว ๗ คน รวม ๙ คน หิบเครื่องมือ ๓ หีบ เครื่องนำยา ๒ หิบ กับเครืองอาวุทสำรับตัวขึ้นมาด้วย ถ้าขุนสุนธรษาทีดลักษขึ้นมาถึ่งเมืองสระบูรียแล้ว ไห้พญาสระบูรีย กรมการจัตช้างแลเกวียนส่งขุนสุนธรษาทิตลักษให้ถึงเมืองณครราชศรีมาโดยเร้ว ถ้าถึ่งเมืองณครราชศรีมาแล้ว ให้พญาณครราชศรีมาจัตช้างแต่งกรมการนำขุนสุนธรษาทีดลักษขึ้นไปทายรูป ทำแผนที่ของเก่า ๆ ที่เมืองพีมายกว่าจะแล้ว ๆ ให้ร่อคอยอยู่กว่าจะกลับลงมา แลกระสาศทิวัฒพนมวัน แขวงเมืองพีมาย ทีแหงไดยเปนของเก่า ต้นไมมีมาก เหนจะรกรางอยู่ ถ้าขุนสุนธรษาทีดลักษเหนว่าทีแหงไดยภ่อจะทายรูปได ก็ให้กรมการทีกำกับขุนสุนธรษาทีดลักษ บังคับให้เจ้าเมือง กรมการเมืองพมายแผ้วถางให้เตียนดีให้ได้ถ่ายยางรูปได้ ขุนสุนธรษาทีดลักษ จขัดสนด้วยสิ่งฃองทีจะไชยสอยในการทายรูป แลเสบียงอาหานประการไดยก็ให้พญาณครราชศรีมา เจ้าเมทือง กรมการหัวเมืองรายทางจายเบียงอาหานแลสิงของทีจะไชยสอยให้ได้โดยสมควร อยาให้อดยากขัดสนได้ ถ้าขุนสุนธรษาทีดลักษทายรูปทำแผนที่เสศแล้ว ให้พญาณครราชศรีมา กรมการ จัตช้างแลเกยีน ส่งขุนสุนธรษาทีดลักษ จะได้เรงรีบกลับลงไป ณ กรุงเทพฯ แล้วให้มิไบบอกลงไปให้แจ้งด้วย จได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุนาให้ทราพฝ่าลอองฯ สารตรา มา ณ วัน ๔ ฯ๑๑ ๓ ค่ำ ปีเถาะ 
      ๑๗ นพศก ฯา
      O วัน ๔ ฯ๑๑ ๓ คำ ไดส่งตรานีให้ขุนสุนธรษาทิดลักษรับไป

      แปลว่า เจ้าพระยาจักรีได้ส่งสารตราถึงพระยานครราชสีมาและเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองรายทางว่า รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชดำรัสเหนือเกล้าฯ
สั่งให้ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ช่างถ่ายรูปขึ้นไปถ่ายรูปทำแผนที่
ที่วัดพนมวัน และถ่ายของเก่าต่าง ๆ ในแขวงเมืองพิมาย อันเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา
      ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์มาครั้งนี้มีลูกมือ ๒ คน บ่าว ๗ คน มีหีบเครื่องมือ ๓ หีบ หีบน้ำยา ๒ หีบ กับเครื่องอาวุธติดตัว
ถ้าขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ขึ้นมาถึงสระบุรีก็ให้พระยาสระบุรีเรียกกรมการเมืองจัดช้างและเกวียน
ส่งขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ให้ถึงนครราชสีมาโดยเร็ว ถ้าถึงนครราชสีมาแล้ว ให้พระยานครราชสีมาจัดช้าง และแต่งกรมการเมืองนำไปถ่ายรูปทำแผนที่ของเก่า ๆ ที่เมืองพิมายจนกว่าจะเสร็จ แล้วให้รอคอยอยู่จนกว่าจะกลับลงมา
      อนึ่งปราสาทที่วัดพนมวัน แขวงเมืองพิมายเป็นที่เก่าเห็นจะรกร้างอยู่ มีต้นไม้ขึ้นมาก ถ้าขุนสุนทรสาทิศลักษณ์เห็นว่าที่แห่งใดพอจะถ่ายรูปได้ก็ให้ช่วยกันแผ้วถางที่ให้เตียน ให้สามารถถ่ายรูปได้
หากขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ขัดสนสิ่งของใช้สอยในการถ่ายรูป
หรือเสบียงอาหาร ก็ให้จัดหาให้ตามสมควร เมื่อถ่ายรูปเสร็จแล้วให้จัดช้างและเกวียนส่งตัวลงไปถึงสระบุรี ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์จะได้กลับกรุงเทพฯ อนึ่งให้มีใบบอก บอกลงไปให้แจ้งด้วย จะได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล 
      สารตราส่งมาในวันพุธ แรม ๑๑ ค่ำเดือน ๓ ปีเถาะ นพศก (ศกที่ลงท้ายด้วยเลข ๙ คือ จ.ศ. ๑๒๒๙) เป็นปีที่ ๑๗ ของรัชกาล ซึ่งสมัยนั้นไทยยังไปขึ้นปีใหม่เอาในเดือน ๕ หรือช่วงเดือนเมษายน ถ้านับอย่างปัจจุบันแล้วจะเป็นวันพุธที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๑
      หลังจากได้สารตรานี้แล้ว ต่อมาเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ผู้เขียนไปค้นรูปถ่ายเก่าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ บังเอิญพบศรัณย์มาดูรูปถ่ายเกี่ยวกับพิมายพอดี เมื่อได้รูปมาดูแล้ว ผู้เขียนสังเกตเห็นว่าบางมุมของบางรูปมีตัวหนังสือภาษาอังกฤษเขียนว่า F. Chit จึงเป็นอันได้เห็นงานถ่ายภาพปราสาทหินพิมาย พ.ศ. ๒๔๑๑ ของนายจิตรตรงกับสารตราโดยไม่คาดฝัน

ถ่ายรูปสุริยุปราคา ๒๔๑๑

      พ.ศ. ๒๔๑๑ นายจิตรออกไปถ่ายรูปต่างเมืองอีกคือในคราวรัชกาลที่ ๔ เสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ นายจิตรในฐานะช่างภาพหลวงได้ตามเสด็จไปถ่ายรูปด้วย ดังมีข้อความกล่าวถึงอยู่ในหนังสือสยามประเภท เล่ม ๓ ตอน ๖ ฉบับวันเสาร์ที่ ๒๐ มกราคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) หน้า ๒๔๕-๒๔๖ เขียนโดย ก.ศ.ร. กุหลาบ ว่า
      “สุริยุปราคาครั้งนี้ เปนการประหลาดในท้องฟ้าอากาศ จับเมื่อ ณ วันอังคาร เดือน สิบขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุฬศักราช ๑๒๓๐ ปี ได้เห็นที่ตำบลหัววานในอ่าว ทะเลสยามฝั่งตวันตกชื่ออ่าวแม่รำพึง แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจ้าวอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนิรไปทอดพระเนตร
พร้อมด้วยนักปราชญ์ชาวยุโรปหลายพวก มาสโมสรสันนิบาตประชุมพร้อมกัน คอยดูสุริยุปราคาอยู่ที่นั่นเปนอันมาก จึ่งทรงพระกรุณาโปรฎเกล้าฯ ให้ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร) ช่างถ่ายรูปหลวง ถ่ายรูปสุริยุปราคาเมื่อจับสิ้นดวงพระอาทิตย์ดุจดั่งเช่นรูปในเล่มนี้ไว้ในวันนั้น เวลาเช้า ๕ โมง ๔๐ นาที” (ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ว่าจับสิ้นดวง ๕ โมงกับ ๓๖ นาที ๒๐ วินาที รุ่งขึ้นเช้าเจ้าเมืองสิงคโปร์ ขอฉายพระรูป)
      กับในหน้า ๒๕๑ เรื่องเดียวกัน ก.ศ.ร. กุหลาบ ยังกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า

 

      “ขณะนั้นมืดประดุจดั่งเวลาพลบค่ำได้เห็นดาวบนท้องฟ้า อากาศปรากฎเปนอันมาก
เมื่อเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจ้าวอยู่หัว
เสด็จประทับอยู่กลางแปลงทรงส่องพระกล้อง ทอดพระเนตรสุริยุปราคา จึ่งทรงพระมหากรุณาโปรฎเกล้าฯ ให้ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร) เจ้าพนักงานช่างถ่ายรูปหลวง ถ่ายรูปสุริยปราคาไว้ให้เปนแบบแผนสืบต่อไปภายน่า ครั้นล่วงมาอีกบาทหนึ่งจึ่ง…………”
     
ภาพถ่ายสุริยุปราคาจึงเป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่ง
ที่แสดงให้เห็นว่านายจิตรสามารถถ่ายภาพเหตุการณ์สำคัญทางวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ด้วย แต่ท่านจะถ่ายด้วยวิธีเปิดกล้องตั้งกล้องอย่างใดไม่มีคำอธิบาย
ผู้เขียนพบแต่กระจกรูปสุริยุปราคา
ฝีมือนายจิตรอยู่ในหีบกระจกหลวงอัคนีนฤมิตร บนชั้น ๕ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และพบว่าสมเด็จฯ
กรมพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ทรงเคยนำรูปอัดมาลงเป็นภาพประกอบ
ในหนังสือชื่อโคลงลิขิตมหามกุฎราชคุณานุสรณ์ ของพระองค์ อยู่ในหน้า ๒๒๕ นับเป็นรูปที่ ๑๐๖ มีลายมือเขียนบรรจงทับลงไปบนตัวรูป อ่านออกบ้างไม่ออกบ้าง (เนื่องจากพิมพ์ไม่ค่อยดี) ว่า
      “สุริยุปราคา จับสิ้นดวงเมื่อจุลศักราช ๑๒๓๐ ปีมโรงสัมฤทธิศก นี้เปนการประหลาด…
เมื่อ ณ วัน ๓ ๑๐ ค่ำ (วันอังคาร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ หรือ ๑๘ สิงหาคม -เอนก) ที่ตำบลหัววานในอ่าวทะเลฝั่งตวันตก ชื่ออ่าวแม่รำพึง แขวงเมือง ประจวบคีรีขันธ
พระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร คนยุโรปได้มาประชุมกันคอยดูอยู่ที่นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนสุนทรสาทิศลักษณ…
ถ่ายรูป ได้ถ่ายรูปสุริยไว้เมื่อเวลา…
๔๐ มินิต ฯาะ” (น่าสังเกตว่าถ้อยคำคล้ายในสยามประเภท -เอนก)

ตามเสด็จสิงคโปร์ ชวา พม่า และอินเดีย

      ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๑๕ นายจิตร (อายุ ๔๑-๔๒ ปี) ขณะเป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์
ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไปสิงคโปร์และปัตตาเวียหนหนึ่ง กับตามเสด็จไปพม่าและอินเดียอีกหนหนึ่ง มีหลักฐานปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง จดหมายเหตุเสด็จประพาสต่างประเทศในรัชกาลที่ ๕ เสด็จเมืองสิงคโปร์ และเมืองเบตาเวียครั้งแรก และเสด็จประพาสอินเดีย
      จากการตรวจสอบชำระช่วงเวลาเสด็จประพาส โดยผู้เขียนเอง (เสียเวลาและยุ่งยากพอสมควร) ได้ข้อสรุปว่า
      เสด็จครั้งแรกออกจากกรุงเทพฯ วันพฤหัสบดีที่ ๙ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๗๑ เท่ากับ พ.ศ. ๒๔๑๔ (ถ้านับอย่างไทยยังเป็น พ.ศ. ๒๔๑๓ หรือ จ.ศ. ๑๒๓๒) เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ ๑๕ เมษายน ในครั้งนั้นพระวรภัณฑ์พลากร (ทิม ชาตะปัทมะ) ได้จดบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า ขากลับโปรดเกล้าฯ ให้พระสุนทรานุกิจปรีชา จางวาง ไปแวะเยี่ยมเยียนเจ้าเมืองตรังกานู ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ก็ได้ขึ้นจากเรือไปในคณะเยี่ยมด้วย เมื่อถึงเวลาลากลับ “พระยาตรังกานูจัดให้ตวนกูบุตร ตวนกูจิมุดา หลานพระยาตรังกานูตามลงมาส่งถึงเรือสยามู ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ได้จัดพระราชสาทิศฉายาลักษณ์ทรงเครื่องทหาร ๕ พระรูป ให้ตวนกูบูซา ๑ ตวนกูไซ ๑ ตวนกูจิมุดา ๑ กับฝากขึ้นไปให้พระยาตรังกานู ๑ รายามุดา ๑” จากนั้นจึงเดินทางสู่กรุงเทพฯ ต่อไป

 

      ส่วนการเสด็จต่างประเทศครั้งที่ ๒ ออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๔ กลับถึงกรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๑๔๑๕ ในจดหมายเหตุได้เอ่ยชื่อขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ไว้หนึ่งแห่ง ในฐานะผู้ตามเสด็จคือ
      “ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร ช่างถ่ายรูป ภายหลังเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร) ๑” (ชื่อผู้ตามเสด็จครั้งนี้มีการทำดอกจันไว้ข้างหน้า
สำหรับคนที่เคยตามเสด็จไปสิงคโปร์ เบตาเวียมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่โปรดสังเกตว่าชื่อนายจิตรไม่มีเครื่องหมายดอกจัน เข้าใจว่าจะหลงลืมหรือมิได้สำรวจบันทึกฉบับพระวรภัณฑ์พลากรให้ละเอียด ตรงนี้ทำให้ผู้เขียนเคยพลอยสะเพร่าตามไปด้วย คือคิดว่านายจิตรได้ตามเสด็จแต่ครั้งหลังหนเดียว จริง ๆ กว่าจะแก้ไขข้อมูลอีกที เวลาก็ผ่านไปนานถึง ๑๐ ปี นับว่าเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ)
      ในการตามเสด็จทั้งสองครั้ง ไม่มีหลักฐานแสดงว่านายจิตรได้ถ่ายรูปอะไรบ้าง พระบรมฉายาลักษณ์ในรัชกาลที่ ๕ และคณะผู้ตามเสด็จรูปหนึ่งซึ่งฉายที่สิงคโปร์ ไม่ลงชื่อว่าใครเป็นผู้ฉาย
      ส่วนอีกสองรูป (พบในหอจดหมายเหตุแห่งชาติของไทย เป็นรูปขนาดใหญ่) มีตัวหนังสือภาษาอังกฤษพิมพ์ใต้รูปว่า Westfield & Co Photos Calcutta เข้าใจว่าจะเป็นฝีมือของช่างในอินเดีย แต่กระนั้น ผู้เขียนก็เชื่อว่าระหว่างตามเสด็จ นายจิตรจะต้องฉายและถ่ายรูปบ้างเป็นแน่

เป็นหลวงอัคนีนฤมิตร

      ในปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร) อายุ ๕๐ ปี ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์และตำแหน่งเป็น หลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป หรือเจ้ากรมทำลมประทีป หรือเจ้ากรมทำแก๊ส
      หนังสือชื่อ การแต่งตั้งขุนนางไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหอจดหมายเหตุแห่งชาติรวบรวมสำเนาแต่งตั้งขุนนางไทยมาตีพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้ลงข้อความจากสัญญาบัตรแต่งตั้งขุนสุนทรสาทิศลักษณ์เป็นหลวงอัคนีนฤมิตร หน้า ๑๖๐ ว่า
      “ให้ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร จันทมณี) ๒๓ เป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรม ตำแหน่งทำลมประทีป ถือศักดินา ๖๐๐ ทำราชการตั้งแต่ ณ วัน ๖ ฯ ๘ ค่ำ ปีมโรง โทศก ศักราช ๑๒๔๒ เปนวันที่ ๔๒๕๒ ในรัชกาลปัตยุบันนี้”
      เรื่องนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมเป็นเกร็ดอยู่ในหนังสือ (ประวัติ) ท่านเจ้าพะญานรรัตนราชมานิต (โต) ซึ่งเขียนโดยข้าเก่าบ่าวเดิมของเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต คือนักเลงหนังสือนามว่านายกุหลาบ อายุ ๘๐ ปี พิมพ์แจกเมื่อ ร.ศ. ๑๓๑ หรือ พ.ศ. ๒๔๕๕ คุณนิรัติ หมานหมัด สำนักพิมพ์โนรา ให้ผู้เขียนยืมถ่ายเอกสารไว้นานแล้วจนลืม เพิ่งมาอ่านพบเข้าอีกทีโดยบังเอิญตอนเขียนเรื่องใน พ.ศ. ๒๕๔๔ นี้เอง ความที่กล่าวถึงนายจิตรได้เป็นหลวงอัคนีนฤมิตร อยู่ในหน้า ๘๓-๘๕ ว่า
      จ.ศ. ๑๒๔๕ หรือ พ.ศ. ๒๔๒๖ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานรรัตนดูแลโรงกระสาปน์สิทธิการ และดูแล “โรงไฟก๊าศ” หรือโรงแก๊สที่ตั้งอยู่ริมเสาชิงช้า หน้าโบสถ์พราหมณ์
ขณะที่นายกุหลาบเขียนนั้นบอกว่า
โรงไฟแก๊สตั้งตรงตึกที่กลายเป็นตลาดเสาชิงช้าไปแล้ว ข้อนี้ถ้าเขียนในยุคปัจจุบันต้องบอกต่อเติมอีกว่าตลาดก็ถูกรื้อไปแล้ว กลายเป็นสนามกีฬาเทศบาลกรุงเทพ และเป็นลานจอดรถ ตามลำดับ ปัจจุบันกำลังทำเป็นที่จอดรถทั้งบนดินและใต้ดิน
      เมื่อต้องดูแลไฟแก๊สหลวงด้วย ท่านเจ้าคุณก็ต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วย

 

      “จึ่งมีบัญชาสั่งเราให้หาคนชำนาญการกลั่นน้ำมันดินเปนไฟก๊าศ เราจึ่งพาขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (ฟะรันซิศจิตร) ช่างถ่ายรูป ผู้เปนสหายของเรา เดิมเขาเปนคนบ้านกระฎีจีน ถือสาศนาโรมันกะทอลิก (คริษเตียยนเข้ารีดบาดหลวงฝรั่งเศส) แต่เขาเปนสานุศิษย์ท่านสังฆราชฝรั่งเศส เขาเปนผู้ร่วมอาจาริย์เดียวกันกับเรา ๆ ก็เปนศิษย์ท่านสังฆราชฝรั่งเศสด้วยกัน ขุนสุนทร (จิตร) เขาจึ่งชำนิชำนาญการวิชากลั่นน้ำมันดินเปนไฟก๊าศได้ เราเองเปนผู้พาขุนสุนทร (จิตร) เข้าหาเจ้าคุณ ๆ
กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานสัญญาบัตร
ให้ทรงตั้งขุนสุนทร (จิตร) เปนหลวงอัคคะนีนะฤมิตร เจ้ากรมโรงไฟก๊าศ ขุนจำหรัศฯ เปนปลัดกรมโรงไฟก๊าศ เจ้าคุณท่านจึ่งมอบการไฟก๊าศให้หลวงอัคคะนีนะฤมิตร
เปนผู้จัดการไฟก๊าศตามทั่วไป
ในพระบรมมหาราชวัง และตามถนลในพระนครทั่วไป ไฟก๊าศนั้นแล่นมาตามท่อเหล็กฝังใต้ดินเปนสาย ๆ โผล่ขึ้นตามเสารายตามถนล พลตระเวรเอาไฟจุดสว่าง (คล้ายไฟฟ้า) แต่เวลานั้นยังไม่มีไฟฟ้า มีแต่ไฟก๊าศ ๆ นั้นพึ่งเลิกเมื่อมีไฟฟ้ามา เพราะเหตุฉนี้ หลวงอัคคะนี (จิตร) จึ่งเปนผู้ชอบสนิทกับเรา ๆ กับเขาเปนเพื่อนกัน เปนศิษย์ร่วมอาจาริย์เดียวกัน เปนบ่าวเจ้าคุณร่วมนายเดียวกัน
      ลุจุฬศักราช ๑๒๔๕ ปีมะแมนักษัตรเบญจศก โปรฎเกล้าฯ ให้เจ้าคุณเปนข้าหลวงกองตรวจกองจ่ายเงินการก่อสร้างศาลสถิตย์ยุติธรรม………..”
      เรื่องของเรื่องเป็นอย่างนี้ จึงสรุปได้ว่าการที่นายจิตร-ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์
ได้เลื่อนที่เป็นหลวงอัคนีนฤมิตรนั้น
เป็นผลมาจากการประสานงานของนายกุหลาบ

ลักษณะผลงานของนายจิตร

      นายจิตรได้ถ่ายรูปเอาไว้มากมายโดยเฉพาะรูปบุคคล ทั้งสมัยรัชกาลที่ ๔ และ ๕ ส่วนรูปสถานที่เช่น วัด วัง ตึก เรือน เงาต้นไม้ (คงหมายถึงทิวทัศน์) ที่ได้ประกาศขายตามหน้าหนังสือพิมพ์และรูปเหตุการณ์ จะเป็นรูปใดบ้างยังคัดแยกออกมาจากที่ปะปนกับผู้อื่นไม่ค่อยได้ เพราะไม่ค่อยมี “เครื่องกำกับงาน” (คำนี้ผู้เขียนตั้งขึ้นเอง หมายถึงตัวหนังสือ ตราร้าน ตลอดจนลวดลาย หน้าตาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่กำกับอยู่บนกระดาษปิดรูป หรือบนผลงานแต่ละชิ้น) ลงไว้เหมือนเช่นรูปบุคคล 
      จะอธิบายเรื่องผลงานของนายจิตร ต้องแบ่งผลงานออกเป็นสองประเภท คือ ประเภทรูปขนาดการ์ดและแคบิเนต กับประเภทขนาดทั่วไป
      ก. รูปขนาดการ์ดและแคบิเนต
      ในตอนแรกร้านนายจิตรใช้เครื่องกำกับงานเป็นตัวหนังสือว่า ฟรานซิศจิตร บ้าง ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ บ้าง ภายหลังใช้เป็นฟรานซิศจิตร แอนด์ ซัน บ้าง ขุนฉายาสาทิศกรบ้าง หรือที่ใช้ว่า ฟรานซิศจิตร แอนด์ ซันส์ ก็มี การที่เป็นเช่นนี้ทำให้มีข้อคิดเป็นสองประเด็นคือ ที่ใช้ฟรานซิสจิตรกับขุนสุนทรสาทิศลักษณ์เฉย ๆ นั้น เชื่อว่าจะเป็นฝีมือของนายจิตรเองคนเดียว 
      ที่ใช้ว่า ขุนฉายาสาทิศกร – ฟรานซิศจิตร แอนด์ ซัน ส่วนใหญ่ควรเป็นงานของลูกชายที่ชื่อทองดี ซึ่งได้เป็นขุนฉายาสาทิศกรเมื่ออายุประมาณ ๑๗-๑๘ ปีก่อนนายจิตรจะถึงแก่กรรมสองสามปี (นายจิตรจะเลิกถ่ายรูป มอบกิจการให้ลูกเมื่อไรค้นไม่ได้ งานในระหว่างลูกกำลังโตเป็นหนุ่มจึงคาบเกี่ยวกัน ยากที่จะแยกให้เด่นชัดลงไปได้ว่าเป็นฝีมือใคร) อีกส่วนหนึ่งอาจเป็นฝีมือของน้องชายนายทองดีที่ชื่อนายสอาด เพราะโตเป็นหนุ่มไล่เลี่ยกัน ตรงนี้ก็แยกลำบากอีก ส่วนที่ใช้ว่า ฟรานซิศจิตร แอนด์ ซันส์ ตอนนั้นนายจิตรคงถึงแก่กรรมแล้ว เหลือแต่นายทองดี นายสอาด ช่วยกันรับช่วงต่อเป็นลักษณะบริษัทกลาย ๆ

 

      ตามการดำเนินงานสองชั่วคนที่กล่าวมา จึงขอแสดงเครื่องกำกับงานของทั้งนายจิตรและลูกรวมกันเลยทีเดียว ให้ชื่อว่า “เครื่องกำกับงานสกุลนายจิตร” 
      เครื่องกำกับงานสกุลนายจิตรบนรูปขนาดการ์ดและแคบิเนตมีพบไม่ต่ำกว่าเก้าแบบ มีวิธีผนึกรูปและรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่

      ๑. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง มีเส้นรอบรูปสีต่าง ๆ เช่น แดง ฟ้า เขียว แผ่นละสี ไม่มีเครื่องหมายอื่นใดด้านหน้า
พลิกไปด้านหลัง พิมพ์ตัวหนังสือว่า
      FRANCIS CHIT Bangkok
      ใช้หมึกตามสีที่พิมพ์เส้นรอบรูปด้านหน้า
      รูปถ่ายรุ่นนี้เชื่อว่าจะถ่ายในช่วงแรก ๆ เพราะเป็นรูปเจ้านาย ขุนนางในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นจำนวนมาก เช่น รูปพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งชุดทหารเรือ ประทับนั่งที่โต๊ะ น่าสังเกตว่าพบในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๒๑ รูปกรมหมื่นมเหศวร-ศิววิลาศ ในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๓ เป็นต้น พบแต่ที่พิมพ์บนรูปขนาดการ์ด (ไม่เคยพบรูปขนาดแคบิเนตที่พิมพ์เครื่องกำกับงานแบบนี้เลย)
      ๒. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง มีเส้นรอบรูปสีน้ำตาลแดง ไม่พิมพ์อะไร ด้านหน้า
      พลิกไปด้านหลัง พิมพ์หมึกสีน้ำตาลแดงเช่นเดียวกับสีด้านหน้าเป็นภาษาอังกฤษว่า
      F. Chit Photographer Sta Cruz Bangkok โดยผูกลวดลายขึ้นอย่างฝรั่ง เชื่อว่าจะเป็นกระดาษปิดรูปรุ่นแรก ๆ ที่ใช้ในเวลาใกล้เคียงกับแบบที่ ๑ แต่ตัดสินไม่ได้ว่าแบบไหนทำขึ้นก่อน พบมากในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๒๙ ได้แก่รูปหม่อมราโชทัยนั่งเก้าอี้ แขนขวาเท้าโต๊ะ บนโต๊ะมีโถขนาดใหญ่วางอยู่ ตัวหม่อมราโชทัยไว้ผมมหาดไทย แต่งตัวตามแบบขุนนางไทย ถ่ายไม่เกิน พ.ศ. ๒๔๑๐ แบบที่ ๒ นี้พบแต่ที่พิมพ์บนรูปขนาดการ์ดเช่นกัน

      ๓. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง มีเส้นรอบรูปสีทองหรือสีน้ำตาลแดง ไม่พิมพ์อะไรด้านหน้า นอกเหนือจากนี้อีก
      พลิกไปด้านหลัง พิมพ์หมึกสีเดียวกับทางด้านหน้า ใช้ตัวอักษรและลวดลายคล้ายแบบที่ ๒ แต่มีรูปช้างหันหัวไปทางขวามือ มีตัวอักษรอังกฤษเขียนว่า
      F. Chit Appointed Photographer to His Majesty The King of Siam Sta Cruz Bangkok เรียงแถวลงไปเป็นลำดับ
      การที่มีรูปช้างและข้อความเพิ่มเติมขึ้นเช่นนี้ แสดงว่าต้องเป็นเครื่องหมายหลังแบบที่ ๒ แน่นอน แต่ช่วงเวลาการถ่ายก็คงไม่ห่างกันนัก
      ตัวอย่างของแบบที่ ๓ พบมากในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๒๙ และพบแต่ที่พิมพ์บนรูปขนาดการ์ดได้แก่ รูปรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณร พ.ศ. ๒๔๐๙
      ๔. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง มีเส้นรอบรูปสีต่าง ๆ เช่น ฟ้า เขียว แดง แผ่นละสี และไม่พิมพ์สิ่งอื่นใดด้านหน้านอกเหนือจากนี้อีก (ทำเช่นเดียวกับแบบที่ ๑)
      พลิกไปด้านหลัง พิมพ์หมึกตามสีอย่างด้านหน้า ทำเครื่องหมายกำกับงานวิจิตรขึ้นไปอีก โดยวาดรูปช้างอยู่ข้างบน ถัดลงมาเป็นรูปเหรียญบุษปมาลาอันเป็นเหรียญที่รัชกาล ที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ สำหรับพระราชทานช่างมีฝีมือนายจิตร คงจะได้รับพระราชทานด้วย (ไม่ทราบปี) จึงนำมาพิมพ์ไว้เป็นที่ระลึก ซ้ายมือวาดเป็นรูปเหรียญมองจากข้างหลัง (มีคำย่อพระนาม ส.พ.ป.ม.จ. ๕ ซึ่งย่อจากคำว่าสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕ แต่ช่างแกะบล็อกแกะตัวหน้าสุดพลาดเป็นตัว ล) ขวามือวาดรูปเหรียญมองจากข้างหน้า (มีรูปพระเกี้ยวยอดตั้งอยู่ บนพานมีฉัตรสองข้าง) ถัดลงไปจากเหรียญ เป็นเถาดอกไม้ประดิษฐ์เป็นวงรี ภายในบรรจุอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมดพิมพ์ว่า
      Francis Chit
      Khoon Soondr Sadislacks
      Photographer His Majesty The King of Siam 
      Bangkok

 

      ล่างสุดวาดเป็นเหรียญบุษปมาลานั้นห้อยอยู่กับแถบผ้าแพร มีเข็มศิลปวิทยาติดอยู่ พร้อมตัวอย่าง ได้แก่รูปในอัลบัมของสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช รหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๒๔ เช่น รูปที่ ๖ ทรงเขียนคำบรรยายบอกไว้ว่า 
      “ที่ ๖ ปีมะเมีย โทศก ๑๒๓๒ อายุศม์ ๑๒ ปี รูปคาต ยืนแต่งเตมยศไปสิงค์โปร์ ถ่ายที่ลาน พระที่นั่งอมรินทร์ ขุนสุนทรสาทิศลักษณ” (ถ่าย พ.ศ. ๒๔๑๓) เครื่องกำกับงานรุ่นนี้มีพบมากและพบแต่รูปขนาดการ์ด 
      ๕. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง มีเส้นรอบรูปสีต่าง ๆ และไม่พิมพ์สิ่งอื่นใดทางด้านหน้าอีกเช่นเดียวกับแบบ ๑-๔ 
      พลิกไปด้านหลัง พิมพ์หมึกสีต่าง ๆ เช่น ฟ้า เขียว แดง ตามอย่างหมึกด้านหน้าเป็นตราประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๕ รุ่นแรกสุด (ตรานี้ยังหาประวัติไม่ได้ ห้างฝรั่งบางห้างก็ได้รับพระราชทาน เช่น ห้างแรมเซ ห้างแบดแมน เป็นแบบเดียวกับที่พระราชทานตราครุฑในปัจจุบัน) วาดลายเส้นเป็นรูปช้างสามเศียรยืนอยู่ภายในอาร์มและสังวาลเหนืออาร์มเป็นจุลมงกุฎหรือพระเกี้ยว สองข้างขวาซ้ายเป็นตัวราชสีห์ คชสีห์ ขาหน้าถือฉัตร ขา หลังเหยียบลูกโลก ใต้ลูกโลกและอาร์มเป็นผ้าแพรพลิ้วไปมา กลางผ้าแพรเป็นรูปเหรียญ บุษปมาลาด้านหน้า ถัดจากตราประจำพระองค์รัชกาลที่ ๕ ดังบรรยาย ลงไปมีภาษาไทย เขียนว่า สุนทรสาทิศลักษณ์ แต่บางแผ่นพิมพ์เป็น สุทรสาทิศลักษณ์ (ตกตัว น. หนู) เข้าใจว่าช่างเรียงคงจะเผลอลืม ถัดลงไปอีกพิมพ์ เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดว่า
      Khoon Soondr Sasislax
      By Appointment
      Photographer to
      H.M. The Supreme King of Siam
      Bangkok

      นายจิตรคงจะได้รับพระราชทานตราประจำพระองค์มาเป็นเกียรติยศในฐานะเป็นช่างทำการของหลวง และคงจะได้เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๑๗ (หนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๑๗ ที่ออกเป็นปีแรกในรัชกาลที่ ๕ ก็มีตรานี้พิมพ์ร่วมกับ ตราแผ่นดินอย่างใหญ่ซึ่งออกทีหลังกว่า ตราแผ่นดินอย่างใหญ่คือตราเท่าที่เคยเห็นในเหรียญบาท)
      รูปถ่ายที่ใช้เครื่องกำกับงานแบบนี้พบแต่รูปขนาดการ์ดทั้งที่อัดรูปแบบลอยตัว (รูปคนลอย ๆ เห็นครึ่งอก อัดให้จางบริเวณข้าง ๆ) และเต็มตัวธรรมดา
      พบมากในอัลบัมของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช รหัส ภอ.๐๐๑ หวญ ๒๔ เช่นรูปที่ ๑๘ ทรงเขียนคำบรรยายว่า
” ๑๘ ปีจอฉอศก ๑๒๓๖ อายุศม์ ๑๖ ปี
      รูปคาด แต่งเต็มยศระยะบับ ถ่ายที่พระราชวังเดิมฟากขโน้น ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์”

      ๖. ใช้กระดาษอัดรูปเต็มขอบ ไม่ต้องปิดลงบนกระดาษแข็งเช่นแบบอื่น พบเพียงรูปเดียว เป็นขนาดการ์ด ด้านหลังประทับหมึก (ปั๊ม) ตรายางเป็นภาษาอังกฤษว่า
      Thongdee Chit
      Bangkok
      ตัวอย่างคือรูป “เจ้าพระยาสุรสีห์ (เชย กัลยาณมิตร์)” ในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๑๐ อาจเป็นรูปถ่ายฝีมือนายทองดีรุ่นแรก ๆ
      ๗. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง ไม่มีเส้นรอบรูป ใต้รูปพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษว่า
      F. Chit & Son Bangkok
      พลิกไปด้านหลัง พิมพ์ตราประจำพระองค์รัชกาลที่ ๕ รุ่นแรกสีทอง ถัดลงไปพิมพ์ข้อความภาษาอังกฤษว่า
      F. Chit & Son
      By Appointment
      Photographer to
      H.M. The Supreme King of Siam
      Bangkok

 

      พบแต่รูปขนาดการ์ด เข้าใจว่าจะออกในช่วงปลายอายุนายจิตร ตัวอย่างเช่นรูป “พระยานรานุกิจมนตรี (เปลี่ยน ทัศนพยัฆ)” ในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๙ อนึ่งเครื่องกำกับงานรุ่นนี้มีพิมพ์ตราประจำพระองค์เป็น ๒ ขนาด (เล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน) นอกนั้นเหมือนกันหมด
      ๘. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง ไม่มีเส้นรอบรูป ใต้รูปพิมพ์ภาษาอังกฤษว่า
      F. Chit & Son Bangkok
      พลิกไปด้านหลัง เหนือสุดเป็นตราประจำพระองค์รัชกาลที่ ๕ รุ่นแรก ถัดลงไปเป็นรูปเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาอย่างสมบูรณ์ คือมีทั้งเข็มและเหรียญ เข็มนั้นกลัดติดกับแพรแถบ มีตัวหนังสือว่า “ศิลปวิทยา” ส่วนตัวเหรียญหันด้านที่เป็นพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ออก
      เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเหรียญดุษฎีมาลาขึ้น สำหรับพระราชทานแก่ข้าราชการที่ได้รับราชการมาด้วยดี ส่วนเข็มศิลปวิทยานั้น จะพระราชทานไปพร้อมกับเหรียญ แต่แบ่งออกตามประเภทของผู้รับห้าประเภท มีทั้งเข็มสำหรับเจ้านาย ทหาร และที่พระราชทานผู้ที่เป็นนักปราชญ์ราชกวี นายช่าง และช่างฝีมือพิเศษที่ได้คิดเริ่มประดิษฐ์สิ่งของเป็นแบบอย่าง หรือมีคุณประโยชน์ต่อบ้านเมืองและราชการ หรือผู้ที่ได้แต่งหนังสือตำราวิทยาการต่าง ๆ ที่เป็นของเก่าของใหม่ก็ดี ที่มีคุณประโยชน์ต่อราชการแผ่นดิน หรือผู้เป็นช่างฝีมืออย่างเอก ไม่มีผู้ใดเสมอ (ดูรายละเอียดได้จากหนังสือ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑)

      สำหรับนายทองดีนั้น ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเงิน แพรห้อยแถบชมพูกับขาว เข็มศิลปวิทยา พร้อมกับช่างอื่น ๆ อีก ๑๐ คน เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ในฐานะเป็น “ช่างถ่ายรูป” เพราะฉะนั้น เครื่องกำกับงานรุ่นนี้จึงต้องออกแบบขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๓ (นับแบบเก่า) เป็นต้นไป คือออกแบบเมื่อนายทองดีได้รับพระราชทานเหรียญและเข็มมาแล้ว
      รายละเอียดของเครื่องกำกับงานยังมีต่อไปอีก คือถัดจากรูปเหรียญและเข็มดังกล่าวแล้ว มีภาษาไทยพิมพ์ว่า
      ขุนฉายาสาทิศกร และพิมพ์ข้อความภาษาอังกฤษในบรรทัดถัด ๆ ไปว่า
      F. Chit & Son By Appointment
      Photographer to H.M. The Supreme King of Siam
      Bangkok
      รูปที่ใช้เครื่องกำกับงานดังบรรยายมา เชื่อว่าถ่ายประมาณหลัง พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นต้นไป มีพบทั้งขนาดการ์ดและแคบิเนต ตัวอย่างเช่นรูปในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๕ เป็นรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดพงศ์ ซึ่งทรงเขียนข้อความไว้ข้างหลังภาพว่า
      “ถวายเพื่อเป็นที่ทรงลฦก ณ วันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓” (พ.ศ. ๒๔๓๗) และรูปอื่น ๆ อีกมาก เช่น รูปรัชกาลที่ ๕ รูปสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นต้น
      ๙. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง และกดเครื่องกำกับงานลึกลงไปในเนื้อกระดาษ มีข้อความโค้งเป็นรูปวงรีอย่างลูกรักบี้ว่า
      F. Chit & Son
      Siam
      Bangkok
      มีพบทั้งที่กดลงบนกระดาษขนาดแคบิเนต (เช่นรูป “ร้อยตรีภักดิ์” ในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๒๒ ด้านหลังปล่อยพื้นว่าง ไม่พิมพ์อะไร) และกดลงบนกระดาษแข็งปิดรูปขนาดใหญ่ (เช่น อัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๗๙ ซึ่งเป็นรูปเหตุการณ์ชุดประหารชีวิต นักโทษที่มณฑลนครไชยศรี ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) เริ่มต้นตั้งแต่ตำรวจเดินแถวพานักโทษไปยังบริเวณประหาร รูปนักโทษถูกผูกกับหลัก รูปเพชฌฆาตกำลังลงดาบ และสุดท้ายเป็นรูปศีรษะนักโทษที่ถูกเสียบไม้ประจานดูน่ากลัว)

 

      ข. รูปขนาดทั่วไป
      รูปขนาดทั่วไปของนายจิตรพบทั้งที่อัดลงกระดาษแล้วกับที่เป็นกระจกเนกาตีฟ แต่พบอย่างหลังมากกว่า เพราะได้รับการเก็บรวบรวมไว้ในที่เดียวกัน และมีป้ายกำกับไว้ให้ทราบว่าเป็นของนายจิตรจริง ๆ ไม่ต้องเดาทายอย่างรูปอัดกระดาษ
      กระจกเนกาตีฟของนายจิตรบรรจุในหีบไม้ เคยเห็นเก็บอยู่บนชั้น ๕ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีทั้งสิ้น ๒๓ หีบ หีบหนึ่งใส่รูปได้ประมาณ ๒๐ แผ่น ระหว่างแต่ละแผ่นมีลิ้นไม้กันไม่ให้กระจกกระแทกกัน กระจกมีหลายขนาดตั้งแต่ประมาณขนาดโปสการ์ดไปจนถึงขนาด ๘ x ๑๐ นิ้ว ส่วนใหญ่เป็นรูปบุคคลดังที่ป้ายบนหีบเขียนบอกไว้ว่า
      “กระจกรูปคน หลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร) เปนผู้ถ่าย พระฉายาสาทิศกร (สอาด) ถวายสำหรับหอพระสมุดฯ”
      ที่เป็นรูปสถานที่ เหตุการณ์หรืออื่น ๆ ทั่วไป ได้แก่ รูปเกาะหน้าวัดอรุณราชวราราม รูปพระสมุทรเจดีย์ เรือนไทยริมน้ำ เรือแม่ปะในลำน้ำ ปราสาทหิน พระที่นั่งในพระราชวังบางปะอิน พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งต่าง ๆ วัดพระแก้ว การซ่อมพระปรางค์แปดองค์ในวัดพระแก้ว พระปรางค์วัดอรุณ เรือพายขายของมีเด็กผมจุกนั่งอยู่บนเรือนแพริมน้ำ คนเป่าปี่จุม และช่างฟ้อนจากเมืองเหนือ เป็นต้น
      ส่วนใหญ่แล้ว
รูปขนาดทั่วไปทั้งที่ยังเป็นกระจกเนกาตีฟ
และที่อัดลงกระดาษมักไม่ค่อยมีเครื่องกำกับงาน ยกเว้นบางรูป เช่นกระจกรูปเรือยงยศอโยชฌิยา (สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖) ตรงมุมขวาล่างของกระจกแผ่นนี้มีรอยขูดเยื่อน้ำยาเป็นตัวหนังสือว่า Ph by F. Chit เวลาอัดรูปก็จะเห็นรอยขูดนี้ปรากฏเป็นตัวหนังสือสีดำชัดเจน รูปนักเป่าปี่จุมจากเมืองเหนือ และรูปปราสาทหินพิมาย เป็นต้น นอกจากนี้ได้แก่รูปประหารชีวิตนักโทษ ดังที่ได้อธิบายไว้ในข้อ ๙

พิมพ์บัญชีผลงาน

      ได้กล่าวถึงหน้าตาผลงานของนายจิตรอย่างกว้างแล้ว ต่อไปนี้จะเล่าถึงหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งซึ่งสำหรับผู้เขียนแล้ว เห็นว่าเป็นหลักฐานชั้นยอด ด้วยเป็นหนังสือที่ช่วยยืนยันให้เรารุ่นหลังได้ทราบว่าเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ช่างภาพชาวไทยคนหนึ่งสามารถถ่ายรูปไว้เป็นอันมาก ในการถ่าย ก็มิใช่ถ่ายเพียงในกรุงเทพฯ แห่งเดียว หากยังบุกป่าฝ่าดงไปถ่ายรูปในที่ไกล ๆ อีกหลายแห่ง งานของนายจิตรจึงหลากหลายยิ่งกว่าช่างภาพร่วมสมัยทุกคน
      หลักฐานที่ว่าเป็นหนังสือเล่มบาง ๆ หน้าตาอย่างหนังสือโรงพิมพ์ราษฎร์เจริญหรือโรงพิมพ์วัดเกาะ พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ นักเลงหนังสือเก่าชั้นผู้ใหญ่ที่ผู้เขียนเคารพนับถือคือ พลตรี ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ได้กรุณาถ่ายเอกสารฝากคุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ ผู้จัดการสำนักพิมพ์ต้นฉบับมาให้ผู้เขียน ตั้งแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ นับเป็นพระคุณเหลือประมาณ
      หนังสือเล่มนั้นพิมพ์ปกราง ๆ ว่า
      “ต้นบาญชีรูปต่าง ๆ เล่มที่ ๑ ที่ข้าพเจ้าขุนสุลทรสาทิศรักษ เปนผู้ชั่งชักรูปอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งได้ทำไว้

 

      ได้ลงพิมพ์ในปีขานสำเรจธิศก ๑๒๔๐”
      เมื่อขึ้นต้นไว้อย่างนี้แล้ว เปิดต่อไปก็เป็นบัญชีรูป กับนัมเบอร์รูปหรืออะไรสักอย่างทันที ไม่มีคำนำหรือคำอธิบายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่กระนั้น บัญชีเหล่านี้ก็เป็นประโยชน์ในการชำระรูปทั้งในวันนี้และอนาคตได้เป็นอันมาก ยังสงสัยอยู่ก็แต่บัญชีเล่ม ๒ ได้มีการตีพิมพ์ต่อไปหรือไม่ ข้อนี้ยังไม่มีคำตอบ 
      จะยกตัวอย่างวิธีเขียน และตัวอย่างรูปตั้งแต่รายการแรกให้ท่านเห็นดังนี้
      “อย่างแกบิเนต กลาง
      พระรูปสมเดจพระเจ้าแผ่นดินสามพระองค์ ถ่ายรูปเฃียน หมายน้ำเบอ ๓๓๓, ๓๓๔, ๓๓๕
      พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องต้น ถ่ายต่อพระรูปที่มิษเตอทอมซันเปนผู้ถ่าย หมายนำเบอ
      พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องอย่างฝรังเสศ เสดจประทับพระเก้าอี้ ๑๑
      พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องอย่างฝรังเสศ เสด็จยืนกุมพระกรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
      พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องต้น
เสดจออกรับราชทูตฝรังเสศ
ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม
พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษแลข้าราชการ ถ่ายต่อรูปเฃียน ๒๓๔……….”
      เพียงเท่านี้ก็จะเห็นได้ว่าเราสามารถเอาไปขยายความภาพถ่ายได้อีก

เชื้อสายของนายจิตร

      ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีการตั้งนามสกุล เพราะฉะนั้นทั้งนายจิตรและลูกชายที่ชื่อนายทองดีจึงไม่ทันมีนามสกุลต่อท้าย ตระกูลนายจิตรเพิ่งมีนามสกุลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ อันเป็นปีแรกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงออก “พระราชบัญญัติขนานนามสกุลพระพุทธศักราช ๒๔๕๖” ขุนฉายาสาทิศกร (สอาด) ลูกชายคนสุดท้องของนายจิตรได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่ ๖ ว่า “จิตราคนี” โดยได้รับการประกาศพร้อมนามสกุลพระราชทานอื่น ๆ เป็นรุ่นที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๖ (ดูหนังสือ พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องกำเนิดนามสกุล เล่ม ๒ หน้า ๙๙)
      คำว่า จิตราคนี ต้องผูกมาจากชื่อของนายจิตรและราชทินนาม อัคนีนฤมิตร อย่างไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้นนายจิตรจึงเป็นต้นสกุล จิตราคนี ด้วยเหตุนี้
      ลูกของนายจิตรตามที่ ส. พลายน้อย เขียนไว้ในหนังสือเกร็ดโบราณคดีประเพณีไทย ชุดที่ ๒ หน้า ๓๕๖ กล่าวว่ามี หกคน (ไม่ระบุชื่อมารดา) คือ
      ๑. หญิง ชื่อนวม
      ๒. หญิง ชื่อสร้อย ผู้นี้ต่อมาได้เป็นช่างภาพสำหรับถ่ายรูปเจ้านายฝ่ายใน ได้รับการยกย่องให้เป็นช่างภาพหญิงคนแรกของเมืองไทย ๒๔ (มีคนเข้าใจผิดว่าเป็นน้องสาวของนายจิตร ซึ่งความจริงเป็นลูก)
      ๓. เป็นชายชื่อ ทองดี เคยไปเรียนถ่ายรูปที่เยอรมนี เป็นช่างถ่ายรูปหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นขุนฉายาสาทิศกร แต่อยู่มาไม่นานก็ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๔ อายุประมาณ ๓๐ เศษ ภรรยาของนายทองดีชื่ออบเชย มีลูกคือนางหลี พลอยบริสุทธิ์ ทราบว่าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ นางหลีอายุ ๘๔ ปี
      ๔. เป็นหญิงชื่อ ล้วน เป็นภรรยาเจ้าพระยานรรัตนราชมานิตย (โต มานิตยกุล)
      ๕. และ ๖. เป็นฝาแฝดกัน คนที่เป็นหญิงชื่อ เลื่อม ได้เป็นภรรยาเจ้าพระยานรรัตน์ฯ คนที่เป็นชายชื่อ สอาด ได้รับราชการเป็นช่างภาพหลวง ต่อมาจนได้เป็นที่พระฉายาสาทิศกรแทนพี่ชาย 

      จริง ๆ แล้วนายจิตรมิได้มีลูกเพียงหกคนดังเอ่ยชื่อ นายพัลลภ เสาวนิตนุสร ผู้เป็นโหลนของนายจิตรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นายจิตรยังมีลูกกับภรรยาคนอื่นอีก เท่าที่ทราบ เช่น นางเทศคนหนึ่ง ลูก ๆ ที่ ส. พลายน้อย ไม่ได้เขียนไว้มีที่สืบได้คือ
      ๑. นายทองแถม จิตราคนี หรือ ร้อยเอก หลวงประดิษฐ์ภาพฉายาลักษณ์ เป็นช่างถ่ายรูปกรมแผนที่ทหารบก ในช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ นางเทศเป็นมารดา
      จากข้อมูลนี้ทำให้นึกถึงรูปถ่ายในหนังสือ ดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ในนั้นมีรูปเครื่องบินพยาบาลขัติยะนารี ๑ ที่มุมขวาล่างมีลายมือเขียนบนกระจก ว่า “ร. ต. จิตราคนี ผู้ถ่าย” ทางด้านซ้ายบอกวันที่ถ่ายคือ ๒๘ ธ.ค. ๖๕ เชื่อว่า ร. ต. จิตราคนี ผู้ถ่ายนั้นคงไม่ใช่ใครผู้ใด นอกจากนายทองแถม จิตราคนี นี่เอง
      นายทองแถมมีลูก ๓ คน ชื่อ นางเทียบ นางถ่อง และนางไถงพร ผู้เขียนเคยได้พบตัวนางไถงพรขณะอายุ ๗๖ ปีและสัมภาษณ์เมื่อวันพฤหัสฯ ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ นางไถงพรเป็นภรรยาของนายนันท์ พลอยบริสุทธิ์ (นายนันท์เป็นลูกของนางหลีกับนายเฮนรี เฟรเดอริค หรือ หลวงเสาวนิตนุสร)
      ๒. นายต๋ำ จิตราคนี (ไม่ทราบชื่อมารดา) ว่าเป็นช่างภาพกรมรถไฟ สมัยกรมพระกำแพงเพชรฯ มีลูกหลายคน คนหนึ่งชื่อนายจรัล จิตราคนี เป็นเจ้าของร้านถ่ายรูปจิตราคนี อยู่ที่อาคารเชิงสะพานพุทธยอดฟ้าด้านขาลงปากคลองตลาด (บริเวณใกล้หัวมุม เลิกกิจการไปนานแล้ว) ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ภรรยาชื่อนางประจักษ์จิตมีบ้านอยู่ข้างวัดซางตาครู้ส นายพัลลภ เสาวนิตนุสร ยังเคยพาผู้เขียนไปสัมภาษณ์เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๗ แต่รูปถ่ายกระจัดกระจายไปเสียเกือบหมดแล้ว คงเหลือแต่หีบเก็บกระจกเปล่า ๆ หนึ่งใบ (ภายหลังได้เห็นรูปส่วนหนึ่งตีพิมพ์อยู่ในหนังสือกษัตริย์กับกล้อง ว่าเป็นของนางจันทร์ทิพย์ ศรีวัลลภ บุตรสาวของนายจรัล นางประจักษ์จิตร)
      สำหรับนายพัลลภนั้นเป็นลูกชายของนางรื่นจิตร นางรื่นจิตรเป็นลูกสาวของนางทองเจือ หรือยายหลี พลอยบริสุทธิ์ (กับนายเฮนรี เฟรเดอริค หรือหลวงเสาวนิตนุสร) นางทองเจือหรือยายหลีเป็นลูกสาวของนายทองดี นายทองดีเป็นลูกชายของนายจิตร นายพัลลภจึงมีศักดิ์เป็นโหลนของนายจิตร 
      เชื้อสายของนายจิตรที่สืบรู้ชื่อมีเพียงเท่านี้

[Update] ฟรานซิส. จิตร ช่างภาพผู้ยิ่งใหญ่ | ฟ ราน ซิ ส – NATAVIGUIDES

เอนก นาวิกมูล

      ช่างภาพรุ่นแรก ๆ ของเมืองไทยมีไม่มาก เกือบจะเรียกว่านับตัวได้ ถ้าจะเอาคนที่นำวิชาถ่ายรูปเข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๘๘ ก็ต้องบาทหลวงลาร์โนดี กับสังฆราชปาเลอกัว ถ้าจะเอาคนไทยคนแรกที่เรียนวิชาถ่ายรูป ก็ต้องนายโหมดหรือพระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ต่อจากนั้นจึงเป็นเจ้านายอย่างกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา ต้นสกุลนิลรัตน์ กับคนไทยเชื้อสายฝรั่งกุฎีจีนที่ชื่อนายจิตร
      ในบรรดาช่างถ่ายรูปทั้งหมดดังเอ่ยนามและพระนามมา นายจิตรคือคนที่ฝากผลงานถ่ายภาพไว้มากที่สุด ทั้งยังเป็นผลงานอันล้ำค่าที่ไม่มีใครเทียบ เพราะถ่ายทั้งบุคคลสำคัญ ไม่สำคัญ ถ่ายทั้งเหตุการณ์และสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ รวมแล้วหลายร้อยภาพ ทุก ๆ
ภาพล้วนคมชัด
ชนิดขยายใหญ่ขนาดเท่าบานหน้าต่างบานประตูก็ยังชัด สรุปว่ามากทั้งคุณภาพและปริมาณ
      ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี มีหีบไม้สักขนาดเล็กใหญ่จำนวนนับร้อยใบ ตั้งแต่ขนาดฝ่ามือไปจนถึงขนาดสูงเกือบข้อศอก บรรจุกระจกเนกาติฟฝีมือนายจิตรไว้นับไม่ถ้วน ในอัลบัมเก่าบางเล่มของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และรูปถ่ายเจ้านาย ขุนนาง พร้อมตราร้านนายจิตรเต็มไปหมด ในหนังสือพิมพ์เก่าบางฉบับในหอสมุดแห่งชาติ ลงโฆษณารับจ้างถ่ายรูปของนายจิตรหลายครั้งหลายหน เมื่อยิ่งสืบก็ยิ่งพบผลงานของนายจิตร โดยเฉพาะใน พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ผู้สนใจภาพเก่าคนหนึ่ง คือ อาจารย์พิพัฒน์ พงศ์รพีพร ค้นพบงานถ่ายภาพกรุงเทพฯ แบบพาโนรามาหรือแบบมุมกว้างอันยิ่งใหญ่ของนายจิตร กับพบความจริงอันน่าเจ็บปวดว่า งานบางชิ้นของนายจิตร ถูกคนร่วมอาชีพจากต่างประเทศโกงชื่อเสียงเอาดื้อ ๆ
ดังอาจารย์พิพัฒน์ได้นำความจริงออกตีแผ่
สู่สาธารณชนอย่างจริงจังเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔

หลักฐานเกี่ยวกับนายจิตร

      จะศึกษาชีวิตและงานของนายจิตรเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ต้องศึกษาจากหลักฐานใดบ้าง ? หากเป็นหนังสือและเอกสารก็ต้องพึ่งหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๔ ที่ลงข่าวการตายและประวัติของนายจิตรละเอียดที่สุดครึ่งหน้า
      นอกจากนี้มีจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ ของหมอบรัดเลย์ หนังสือพิมพ์ The Siam Mercantile Gazette หนังสือจดหมายเหตุแลนิราศลอนดอน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ (มีในหอสมุดดำรงราชานุภาพ ผู้เขียนอาศัยคัดลอกจากหอสมุดนั้น) หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)

      หนังสือสยามประเภท ฉบับวันเสาร์ที่ ๒๐ มกราคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) หนังสือมหามกุฎราชคุณานุสรณ์ หนังสือจดหมายเหตุเสด็จประพาสต่างประเทศในรัชกาลที่ ๕ หนังสือเกร็ดโบราณคดีประเพณีไทย ชุดที่ ๒ มีสารคดีเรื่อง “ช่างชักรูปเงาสมัยแรกของสยาม” โดย ส. พลายน้อย หนังสือ (ประวัติ) ท่านเจ้าพะญานรรัตนราชมานิต (โต) พิมพ์แจกเมื่อ ร.ศ. ๑๓๑ หรือ พ.ศ. ๒๔๕๕ หนังสือ LE ROYAUME DE SIAM โดย M.A.de Gre’han จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๔ ในหอสมุดแห่งชาติ การสัมภาษณ์นายพัลลภ เสาวนิตนุสร ผู้เป็นโหลนของนายจิตร สัมภาษณ์ลูกหลานคนอื่น ๆ ของนายจิตร และการอ่านภาพในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

 

ประวัติย่อจากราชกิจจานุเบกษา

      แรกสุดต้องดูหนังสือราชกิจจานุเบกษา หน้า ๗๓ ก่อน ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่อ้าง ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่สุดที่ช่วยบอกประวัติย่อของนายจิตรในคราวถึงแก่กรรม หากไม่มีราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้แล้ว การหาปีเกิดปีตายจะลำบากมาก
      หนังสือกล่าวว่า นายจิตรซึ่งเวลานั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และราชทินนามว่า หลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ อายุ ๖๑ ปี
      หนังสือไม่ได้บอกปีเกิด จึงต้องเอาอายุไปลบปีตาย ได้เป็นปีเกิด พ.ศ. ๒๓๗๓ ซึ่งเท่ากับนายจิตรเกิดเมื่อต้นสมัย รัชกาลที่ ๓ หรือเมื่อ ๑๗๒ ปีมาแล้วนับจาก พ.ศ. ๒๕๔๕
      ต่อไปหนังสือบอกแต่ว่าบิดานายจิตรชื่อตึง ทหารแม่นปืนฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) ไม่ระบุชื่อมารดา แล้วจากนั้นก็จับเข้าชีวิตราชการเลย ไม่มีการพูดถึงชีวิตวัยเด็กหรือพรรณนาฝีมือความสามารถใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะข่าวตาย (ของเจ้านายกับข้าราชการ) ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา นั้น แปลกนักที่ชอบพรรณนาอาการของโรคมากกว่าอย่างอื่น

      หนังสือว่านายจิตรเดิมเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่เวรชิตภูบาล ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๕ ตำลึง ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (วังหน้า) สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๐๙ แล้ว นายจิตรก็ลงมาสมทบรับราชการในพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) หรือรับราชการกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ ช่างถ่ายรูปขึ้นกับกรมแสง (ว่าด้วยอาวุธ ไม่ใช่ลำแสง) ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่ง ห้าตำลึง
      จากนั้นได้เลื่อนเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ซึ่งหมายถึงดูแลโรงแก๊ส พระราชทานเบี้ยหวัดปีละชั่งกับสิบตำลึง
      วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๐ ป่วยเป็นอหิวาตกโรค ได้หาหมอชูเชลยศักดิ์ (หมายความว่าไม่ใช่หมอหลวง) มารักษา หมอชูประกอบยาให้รับประทาน อาการทรงอยู่ รุ่งขึ้นวันที่ ๑๘ เปลี่ยนให้หมอเทียนฮี ซึ่งควรหมายถึงหมอเทียนฮี้ ต้นตระกูล สารสิน มารักษาอาการไข้อหิวาตกโรคนั้นหาย รับประทานอาหารได้มื้อละ ๔ ช้อนบ้าง ๕ ช้อนบ้าง ภายหลังอาการแปรเป็นลมอัมพาตให้คลั่งเพ้อไม่ได้สติ แขนและขาข้างซ้ายตายไปซีกหนึ่ง หมอประกอบยาให้รับประทาน อาการหาคลายไม่ จนถึงวันที่ ๒๓ เวลาสองทุ่มให้หอบเป็นกำลัง ครั้นเวลาสี่ทุ่มเศษหลวงอัคนีนฤมิตรก็ถึงแก่กรรม ได้รับพระราชทานผ้าขาวสองพับ เงิน ๑๐๐ เฟื้อง ขุนฉายาสาทิศกร ผู้บุตร เป็นผู้จัดการศพ

หัดชักรูป

      ประวัติบอกไว้เพียงแค่นี้ ถ้าอยากรู้นอกเหนือจากนี้ต้องสืบเสาะเพิ่มเติมเอาเอง ในทีนี้ผู้เขียนจะแสดงหลักฐานไปตามลำดับตามอายุของนายจิตร โดยเริ่มที่หนังสือชื่อ จดหมายเหตุแลนิราศลอนดอน ก่อน หนังสือจดหมายเหตุฯ ดังว่าพิมพ์หลายครั้ง แต่คำนำไม่เหมือนกัน เล่มที่ต้องใช้คือฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ ซึ่งแจกในงานศพพระยามนตรีสุริยวงษ์ (ชื่น บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๖๑ (มีในหอสมุดดำรงราชานุภาพ)
      ในนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ในคำนำหน้า ๑๔ ว่า ผู้ที่เรียนรู้วิชาจากฝรั่งสามารถใช้ในราชการได้ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงศึกษามาแต่ยังทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษามาตั้งแต่ยังเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) นายโหมด อมาตยกุล และ….
      “มีนายจิตร อยู่กฎีจีนคน ๑ ได้หัดชักรูปกับบาทหลวงลานอดี ฝรั่งเศส แลได้ฝึกหัดต่อมากับทอมสัน อังกฤษที่เข้ามาชักรูปเมื่อในรัชกาลที่ ๔ จนตั้งห้างชักรูปได้เปนทีแรก แลได้เปนขุนฉายาทิศลักษณเมื่อในรัชกาลที่ ๕ แล้วเลื่อนเปนหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมแก๊สหลวง”
      ที่บอกว่านายจิตรอยู่กฎีจีน หรือบางแห่งเขียนกระดีจีน ก็คืออยู่แถบวัดซางตาครู้ส ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และอยู่ใกล้ ๆ กับวัดกัลยาณมิตร วัดซางครู้สเป็นวัดของชาวคาทอลิก ตั้งมาตั้งแต่ราว ค.ศ. ๑๗๗๐ หรือ พ.ศ. ๒๓๑๓ หรือเมี่อ ๒๓๐ ปีเศษ
ปัจจุบันโบสถ์เก่าอันสง่างามของวัด
ก็ยังคงได้รับการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี ถ้าจะไปวัดซางตาครู้ส ไม่ไปทางรถ
ก็อาจนั่งเรือข้ามฟากจากท่าปากคลองตลาด
ข้างโรงเรียนราชินีไปก็ได้ วัดแห่งนี้เป็นที่พิมพ์หนังสือชื่อ คำสอนคริสตัง ซึ่งเป็นหนังสือที่ใช้วิธีพิมพ์แทนการเขียนเก่าสุดเท่าที่พบในเมืองไทย

     
ชุมชนวัดซางตาครู้สในสมัยร้อยกว่าปีที่แล้วต้องมีบ้านเรือนบนบก
และเรือนแพในน้ำ
หนาแน่นพอสมควร เพราะแถบนั้นมีคนอยู่กันมากดังเห็นได้จากรูปถ่ายเก่า ๆ ไม่ว่าหน้าวัดอรุณราชวรารามที่อยู่ถัดวัดกัลยาณมิตรไปทางตอนเหนือ หรือวัดประยุรวงศาวาสที่อยู่ถัดวัดซางตาครู้สไปอีกด้าน
แม้สตูดิโอหรือร้านถ่ายรูปของนายจิตร
ก็ตั้งบนเรือนแพหน้าวัดซางตาครู้สนี้แหละ
      แต่ก่อนจะพูดถึงเรือนแพประวัติศาสตร์หลังนั้น ยังต้องย้อนกลับไปยังพระนิพนธ์เมื่อสักครู่อีก เพราะมีเรื่องต้องขยายความสองสามเรื่อง
      ที่ว่าหัดชักรูปกับบาทหลวงลานอดีฝรั่งเศสนั้นเป็นไปได้ เพราะเป็นชาวคริสต์และเป็นชาวคาทอลิกด้วยกัน ประวัติและผลงานของบาทหลวงลานอดี หรือ L’ABBE’ LARNAUDIE ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ
ผู้เขียนได้พยายามหาทั้งประวัติ
และรูปถ่ายบาทหลวงลานอดีหรือลาร์โนดีอยู่เป็นสิบปี เพิ่งจะได้รูปถ่ายชัด ๆ ของท่านก็เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ นี้เอง
      ที่ควรทราบคือบาทหลวงลาร์โนดีเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ อายุถึง ๘๐ ปี มาถึงปากน้ำประเทศสยามเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๘๘ พร้อมด้วยกล้องและอุปกรณ์การถ่ายรูปต่าง ๆ ที่สังฆราชปาเลอกัวซึ่งมาเมืองไทยก่อนแล้วสั่งให้นำเข้ามา นับเป็นครั้งแรกที่วิชาการถ่ายรูปมาถึงสยาม 
      บาทหลวงลาร์โนดีนี้เองที่น่าจะเป็นคนสอนวิชานี้ขึ้นก่อน เพราะท่านเป็นผู้มีความรู้ทางเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ทั้งไฟฟ้า การชุบเงินชุบทอง โทรเลข
นาฬิกา การถ่ายรูป เครื่องจักร กลไก ตลอดกระทั่งภาษา ถึงขนาดได้เป็นล่ามให้คณะราชทูตไทยชุดไปฝรั่งเศสถึงสองหน คือชุด พ.ศ. ๒๔๐๔ กับชุด พ.ศ. ๒๔๑๐ (ดูรายละเอียดในหนังสือ ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย ซึ่งรอตีพิมพ์มาห้าหกปีแล้ว)
      เมื่อบาทหลวงลาร์โนดีมาถึงเมืองไทย พ.ศ. ๒๓๘๘ นายจิตรเพิ่งอายุได้ ๑๕ ปี อาจจะยังไม่ได้เข้าไปขอเรียนวิชาทันที ควรรอไปอีกนานพอสมควร ส่วนที่สมเด็จฯ ทรงกล่าวว่าหัดชักรูปกับฝรั่งอีกคนหนึ่งคือทอมสัน หรือ JOHN THOMSON ซึ่งเข้ามาเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ นั้น ไม่น่าจะใช่ เพราะก่อนหน้านั้นสองปี นายจิตรได้ก่อตั้งร้านถ่ายรูปไปเรียบร้อยแล้ว ประเดี๋ยวจะบอกว่าได้หลักฐานจากที่ไหน

 

      สุดท้าย ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงกล่าวว่านายจิตรได้เป็น “ขุนฉายาทิศลักษณเมื่อในรัชกาลที่ ๕” นั้น คงจะทรงจำผิด เพราะได้เป็นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ และราชทินนามที่ถูกต้องคือ “สุนทรสาทิศลักษณ์” อันแปลว่า “ช่างทำรูปภาพอย่างดี” เรื่องราชทินนามสุนทรสาทิศลักษณ์นี้ก็มีให้อภิปรายอีกยาว เพราะผู้ได้รับราชทินนามดังกล่าวไม่ได้มีแค่นายจิตรคนเดียว ยังมีฝรั่งชื่อ DAGRON กับคนไทยอีกคนหนึ่งด้วย
      นายจิตรได้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์จริง ๆ หรือ จริงแน่นอน เพราะคำนี้มีทั้งในกระดาษปิดรูปของร้านนายจิตร และในจดหมายเหตุราชการต่าง ๆ มากมาย
      ถ้าท่านดูกระดาษปิดรูปถ่ายเจ้านายขุนนางในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ก็จะพบบางแผ่นพิมพ์ข้างหลังว่า “FRANCIS CHIT KHOON SOONDR SADISLACKS PHOTOGRAPHER HIS MAJESTY THE KING OF SIAM BANGKOK” หรือบางแผ่นพิมพ์ว่า “สุนทรสาทิศลักษณ์ KHOON SOONDR SADISLAX” ส่วนขุนสุนทรคนอื่นนั้น ไม่มีชื่อเสียงและผลงานให้ศึกษาเลย
      เมื่อสักครู่มีคำว่า FRANCIS CHIT เพิ่มเข้ามาอีกคำหนึ่ง คำนี้เมื่อแรกเริ่มศึกษาเรื่องประวัติการถ่ายรูปใหม่ ๆ ความรู้ยังไม่มากพอ ผู้เขียนเคยสงสัยว่ามีที่มาอย่างไร ไม่ช้าก็ได้พบคำตอบในหนังสือชื่อ ฟื้นความหลัง ของ เสฐียรโกเศศ บอกไว้ในเล่ม ๑ ว่า ฟรานซิสเป็นชื่อนักบุญในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ใช้เป็นชื่อหน้าของคนที่นับถือศาสนาคริสต์
ตั้งแต่เข้าพิธีรับศีลล้างบาป เป็นอันหายสงสัยไปอีกข้อหนึ่ง

ปีตั้งร้าน ๒๔๐๖

      ว่าถึงเรื่องการตั้งร้าน ระหว่างอ่านไมโครฟิล์มในหอสมุดแห่งชาติเมื่อเกือบ ๒๐ ปีก่อน วันหนึ่งผู้เขียนพบโฆษณาชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ The Bangkok Times ฉบับวันพุธที่ ๒๓ มกราคม ค.ศ. ๑๘๘๙ (พ.ศ. ๒๔๓๒) ลงโฆษณาของร้านฟรานซิศจิตรแอนด์ซันเป็นภาษาอังกฤษ แปลได้ว่า
      “ห้องภาพ ก่อตั้งปี ค.ศ. ๑๘๖๓
      เอฟ.จิตร และบุตร
      (จากเบนเก และคินเดอร์มานน์ ฮัมบูร์ก)
      กระฎีจีน (ซังตาครูซ) ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ (ตรงข้ามกับรอแยล เซมินารี)
      ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นช่างภาพหลวงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งสยาม
      รับถ่ายรูปทุกวันตั้งแต่เวลา ๗ ถึง ๑๑ พี.เอ็ม.
      มีรูปทิวทัศน์จากทุกภาพของสยามไว้จำหน่ายเสมอ
ตลอดจนรูปคนที่มีชื่อเสียงชาวสยามและรูปชีวิตชาวสยาม”
      ตรงนี้ขอหมายเหตุเล็กน้อยว่า ที่พูดถึงชื่อฝรั่งสองคนและเมืองฮัมบูร์กนั้น หมายความว่าลูกชายคนหนึ่งของนายจิตรคือนายทองดี ได้เคยไปเรียนวิชาถ่ายรูปกับฝรั่งสองคนนั้นที่เยอรมนี ทางร้านจึงเอามาเป็นจุดขาย
      โฆษณาอีกชิ้นหนึ่งพบในหนังสือพิมพ์ The Siam Mercantile Gazette ฉบับวันที่ ๒๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๙ (พ.ศ. ๒๔๓๒) บอกปีตั้งร้านเอาไว้เหมือนกันว่า
      “นายจิตรผู้พ่อ ได้ก่อตั้งห้องภาพนี้ขึ้นในปี ค.ศ. ๑๘๖๓” 
      จึงเป็นอันเชื่อได้แน่ว่าในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ นับแต่กลางสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น นายจิตรขณะอายุ ๓๓ ปีได้ตั้งร้านถ่ายรูปขึ้นแล้ว และอาจกล่าวได้ว่าเป็นคนไทยคนแรกที่ตั้งร้านรับจ้างถ่ายรูปเป็นอาชีพ เพราะยังไม่พบผู้ใดทำเช่นนี้มาก่อนเลย

      หลังจากตั้งร้านแล้ว นายจิตรได้ส่งโฆษณาไปลงตามหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ เสมอ
ข้อนี้จะนับว่าเป็นช่างถ่ายรูปคนไทยคนแรก
ที่ลงแจ้งความตามหนังสือพิมพ์โฆษณากิจการของตนก็ได้อีกเหมือนกัน ทั้งเมื่อเทียบกับร้านถ่ายรูปของผู้อื่นแล้ว ก็ไม่มีใครลงแจ้งความมากแห่งมากครั้งเท่าร้านนายจิตร การลงแจ้งความนี้ได้กระทำสืบเนื่องไปจนถึงชั้นลูก หนังสือพิมพ์ที่มีโฆษณาร้านนายจิตรได้แก่ บางกอกรีคอร์เดอร์ จดหมายเหตุสยามไสมย บางกอกไตมส์ และเดอะสยามเมอร์แคนไตล์กาเซท์
แจ้งความชิ้นแรกสุดหรือเก่าสุดของนายจิตร
เริ่มลงในหนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ นับแต่ฉบับที่ ๘ ของปี พ.ศ. ๒๔๐๘ หรือฉบับวันที่ ๑๖ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๖๕ (บางกอกรีคอร์เดอร์ เคยออกครั้งหนึ่งแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ สมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วหยุดไป) มาถึงปี พ.ศ. ๒๔๐๘ หมอบรัดเลย์ก็มาเริ่มออกใหม่อีก) ในหน้า ๕๕ นายจิตรลงโฆษณาว่า
      “อนึ่ง มิศฟะรันซิศจิต, เปนพนักงานสำหรับชักเงารูป ปราถนาจะให้คนในกรุงนอกกรุงเข้าใจว่า, ตัวนั้นอยู่ที่แพ้ (ใส่ไม้โท คงหลงลืม -เอนก) น่าบ้านกะดีจีน, ได้เป็นพนักงานสำรับชักเงารูปต่าง ๆ. รูปที่ได้ชักไว้แล้วนั้น, ก็มีหลายอย่าง, คือรูปวัง, แลรูปวัด, รูปตึก,รูปเรือน, แลรูปเงาต้นไม้, แลรูปท่านผู้มีวาศนาต่าง ๆ ในกรุงเทพนี้. ถ้าท่านผู้ใดปราถนา, จะให้ข้าพเจ้าไปชักเงารูปที่บ้านของท่าน ข้าพเจ้าก็จะไปทำ, ราคาค่าจ้างนั้น จะเอาแต่อย่างกลางภอสมควร.”

      โฆษณาชิ้นแรกนี้ลงในฉบับเดียวกับข่าวฝาแฝดอินจัน ซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๕๐ กว่าปีแล้ว กำลังอยู่ในภาวะสงครามทาสของอเมริกา นายจิตรได้ลงโฆษณาความเดียวกันต่อไปอีกหลายฉบับ และต่อมาอีกไม่นานนัก ก็มีช่างถ่ายรูปฝรั่งสองคนเดินทางเข้ามาเมืองไทย มาลงแจ้งความเรื่องถ่ายรูป ขายรูปเหมือนกัน คือ จอห์น ทอมสัน กับ เอ. แซกเลอร์
      เฉพาะคำว่า “มิศฟะรันซิศ” ตรงบรรทัดแรกสุด สมควรอธิบายไว้ ณ ที่นี้เสียเลย เพราะจะพบต่อไปตามที่ต่าง ๆ อีกมาก เช่น ในเครื่องกำกับงานข้างหลังรูปเป็นต้น
      คำว่า มิศ ย่อมาจาก มิสเตอร์ หรือ นาย เช่นที่พบในจดหมายเหตุสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลต้น ๆ คำว่า ฟะรันซิศ ก็คือ ฟรานซิศ ดังที่เสฐียรโกเศศเขียนไว้ในหนังสือ ฟื้นความหลัง เล่ม ๑ หน้า ๔๕ ต่อจากที่เล่าเรื่องบิดาไปถ่ายรูป ณ ร้านนายจิตร ว่า
      “…ที่มีอักษรย่อว่า F อยู่ข้างหน้า เห็นจะเป็นคำว่า Francis ซึ่งเป็นชื่อนักบุญในศาสนาคฤสต์นิกายโรมันคาโทลิก
ใช้เป็นชื่ออยู่หน้าชื่อของผู้ที่นับถือคฤสตศาสนาในนิกายนี้
เมื่อเข้าลัทธิพิธีรับ “ศีลล้างบาป”…”
      ในปัจจุบัน ตระกูลจิตราคนียังคงนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก แต่ที่นับถือพุทธศาสนาก็มี

ราชทินนาม สุนทรสาทิศลักษณ์

      ในสมัยรัชกาลที่ ๓ หรือก่อนหน้านั้น ราชทินนาม สุนทรสาทิศลักษณ์ ไม่เคยมีมาก่อน เพิ่งมาเริ่มมีขึ้นก็เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง ดังเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เขียนเป็นหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ตอนท้ายว่า
      “กรมแสงใน ทรงใหม่ ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ ขุนยนต์โรควิชาชาญ ขุนชำนาญยานยนต์ ขุนทิพสุคนธ์ ปลัด ทรงแปลงว่า ขุนทิพมงคล…”
     
นายจิตรเห็นจะเป็นคนแรกที่ได้รับบรรดาศักดิ์และราชทินนาม
เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์นี้ ส่วนหน้าที่การงานก็เป็นไปตามฉายาที่ทรงตั้ง คือทำหน้าที่เป็นช่างถ่ายรูปหลวง
      นายจิตรได้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์เมื่อใด ต้องดูจากประวัติตอนต้นที่อ้างแล้วจาก ราชกิจจานุเบกษา ในนั้นจะเห็นว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๐๙ แล้ว นายจิตรก็มารับราชการในวังหลวง รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ แสดงว่าได้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์เมื่ออายุราว ๓๖ ปี

 

      บรรดาศักดิ์ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์นี้ นายจิตรได้เป็นอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๓
จึงได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์
และตำแหน่งเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป ส่วนผู้ที่ได้รับบรรดาศักดิ์ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์สืบต่อมาจากนายจิตร รู้ว่ามีอีกสองคน แต่ไม่ทราบประวัติชัดเจน คือ
      ๑. M. Dagron ช่างภาพของจักรพรรดินโปเลียน แห่งฝรั่งเศส
      มีหลักฐานในหนังสือชื่อ LE ROYAUME DE SIAM โดย M.A. de Gre’han ซึ่งสำนักพิมพ์ต้นฉบับนำมาแปลและพิมพ์จำหน่ายแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ ในชื่อ ราชอาณาจักรสยาม โดย พระสยามธุรานุรักษ์ (แอ็ม อา เดอ เกรอัง) ขอให้เปิดไปที่หน้า ๘๗ ของภาคภาษาไทยและหน้า ๗๘ ของภาคภาษาฝรั่งเศส ในนั้นบอกว่ารัชกาลที่ ๔ ทรงพอพระทัยฝีมือการถ่ายรูปของ มร. ดากร็อง จึงทรงแต่งตั้งให้เป็นช่างภาพประจำพระองค์ ได้รับราชทินนาม ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ค.ศ. ๑๘๖๗ พ.ศ. ๒๔๑๐
      ๒. นายชม มีหลักฐานในหนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่๑๙ หน้า ๑๖๙ ขุนสุนทรฯ ผู้นี้หนังสือว่าชื่อจริงชื่อ ชม อยู่ในกรมเซอร์เวย์ (ภายหลังคือกรมแผนที่)

ไปถ่ายรูปปราสาทหินพิมาย

      เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๑ ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร) ไปถ่ายรูปปราสาทหินที่พิมาย มีหลักฐานสำคัญสอง อย่างที่ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน อยากจะเล่าที่มาของข้อมูลไว้สักเล็กน้อยคือ ทีแรกพบสารตรากล่าวถึงเรื่องนี้ก่อน แล้วต่อมาจึงพบรูปถ่ายมีลายเซ็น F. Chit เป็นเครื่องยืนยัน ผู้พบสารตราคือคุณศรัณย์ ทองปาน แห่งศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณ ไปพบในหอสมุดแห่งชาติ ยังไม่เคยเห็นเผยแพร่ที่ไหน ได้อุตส่าห์คัดลอกมาให้ด้วยมือ และนำมาให้ผู้เขียนตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ภาษาที่เขียนเป็นภาษาแบบเก่า เวลาอ่านและคัดลอกค่อนข้างทุลักทุเลพอสมควร จะคัดให้ท่านดูตามอย่างของเดิมเสียก่อน จะได้ต่ออายุเอกสารไว้ ต่อจากนั้นจึงจะถอดความหรือสรุปให้อ่านง่ายในตอนท้ายอีกที
      จดหมายเหตุ ร.๔ จ.ศ. ๑๒๒๙ / ๘๑
      “O สารตราเจ้าพระยาจักตรีฯ มาถึ่งพระยา ณครราชศรีมาแลเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองรายทาง ด้วยมีพระบรมราชโองการดำรัศเหนือเกล้าฯ สั่งว่าโปรดเกล้าฯ ให้ขุนสุนธรษาทีดลักษ ช่างทายรูปขึ้นไปทายรูปทำแผนที่วัฒนมวัน แลของเก่า ๆ ในแขวงเมืองพีมาย เมืองขึ้นเมืองณครราชศรีมา ขุนสุนธรษาทีดลักษมาครั้งนี่มีลูกมือสองคน บ่าว ๗ คน รวม ๙ คน หิบเครื่องมือ ๓ หีบ เครื่องนำยา ๒ หิบ กับเครืองอาวุทสำรับตัวขึ้นมาด้วย ถ้าขุนสุนธรษาทีดลักษขึ้นมาถึ่งเมืองสระบูรียแล้ว ไห้พญาสระบูรีย กรมการจัตช้างแลเกวียนส่งขุนสุนธรษาทิตลักษให้ถึงเมืองณครราชศรีมาโดยเร้ว ถ้าถึ่งเมืองณครราชศรีมาแล้ว ให้พญาณครราชศรีมาจัตช้างแต่งกรมการนำขุนสุนธรษาทีดลักษขึ้นไปทายรูป ทำแผนที่ของเก่า ๆ ที่เมืองพีมายกว่าจะแล้ว ๆ ให้ร่อคอยอยู่กว่าจะกลับลงมา แลกระสาศทิวัฒพนมวัน แขวงเมืองพีมาย ทีแหงไดยเปนของเก่า ต้นไมมีมาก เหนจะรกรางอยู่ ถ้าขุนสุนธรษาทีดลักษเหนว่าทีแหงไดยภ่อจะทายรูปได ก็ให้กรมการทีกำกับขุนสุนธรษาทีดลักษ บังคับให้เจ้าเมือง กรมการเมืองพมายแผ้วถางให้เตียนดีให้ได้ถ่ายยางรูปได้ ขุนสุนธรษาทีดลักษ จขัดสนด้วยสิ่งฃองทีจะไชยสอยในการทายรูป แลเสบียงอาหานประการไดยก็ให้พญาณครราชศรีมา เจ้าเมทือง กรมการหัวเมืองรายทางจายเบียงอาหานแลสิงของทีจะไชยสอยให้ได้โดยสมควร อยาให้อดยากขัดสนได้ ถ้าขุนสุนธรษาทีดลักษทายรูปทำแผนที่เสศแล้ว ให้พญาณครราชศรีมา กรมการ จัตช้างแลเกยีน ส่งขุนสุนธรษาทีดลักษ จะได้เรงรีบกลับลงไป ณ กรุงเทพฯ แล้วให้มิไบบอกลงไปให้แจ้งด้วย จได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุนาให้ทราพฝ่าลอองฯ สารตรา มา ณ วัน ๔ ฯ๑๑ ๓ ค่ำ ปีเถาะ 
      ๑๗ นพศก ฯา
      O วัน ๔ ฯ๑๑ ๓ คำ ไดส่งตรานีให้ขุนสุนธรษาทิดลักษรับไป

      แปลว่า เจ้าพระยาจักรีได้ส่งสารตราถึงพระยานครราชสีมาและเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองรายทางว่า รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชดำรัสเหนือเกล้าฯ
สั่งให้ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ช่างถ่ายรูปขึ้นไปถ่ายรูปทำแผนที่
ที่วัดพนมวัน และถ่ายของเก่าต่าง ๆ ในแขวงเมืองพิมาย อันเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา
      ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์มาครั้งนี้มีลูกมือ ๒ คน บ่าว ๗ คน มีหีบเครื่องมือ ๓ หีบ หีบน้ำยา ๒ หีบ กับเครื่องอาวุธติดตัว
ถ้าขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ขึ้นมาถึงสระบุรีก็ให้พระยาสระบุรีเรียกกรมการเมืองจัดช้างและเกวียน
ส่งขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ให้ถึงนครราชสีมาโดยเร็ว ถ้าถึงนครราชสีมาแล้ว ให้พระยานครราชสีมาจัดช้าง และแต่งกรมการเมืองนำไปถ่ายรูปทำแผนที่ของเก่า ๆ ที่เมืองพิมายจนกว่าจะเสร็จ แล้วให้รอคอยอยู่จนกว่าจะกลับลงมา
      อนึ่งปราสาทที่วัดพนมวัน แขวงเมืองพิมายเป็นที่เก่าเห็นจะรกร้างอยู่ มีต้นไม้ขึ้นมาก ถ้าขุนสุนทรสาทิศลักษณ์เห็นว่าที่แห่งใดพอจะถ่ายรูปได้ก็ให้ช่วยกันแผ้วถางที่ให้เตียน ให้สามารถถ่ายรูปได้
หากขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ขัดสนสิ่งของใช้สอยในการถ่ายรูป
หรือเสบียงอาหาร ก็ให้จัดหาให้ตามสมควร เมื่อถ่ายรูปเสร็จแล้วให้จัดช้างและเกวียนส่งตัวลงไปถึงสระบุรี ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์จะได้กลับกรุงเทพฯ อนึ่งให้มีใบบอก บอกลงไปให้แจ้งด้วย จะได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล 
      สารตราส่งมาในวันพุธ แรม ๑๑ ค่ำเดือน ๓ ปีเถาะ นพศก (ศกที่ลงท้ายด้วยเลข ๙ คือ จ.ศ. ๑๒๒๙) เป็นปีที่ ๑๗ ของรัชกาล ซึ่งสมัยนั้นไทยยังไปขึ้นปีใหม่เอาในเดือน ๕ หรือช่วงเดือนเมษายน ถ้านับอย่างปัจจุบันแล้วจะเป็นวันพุธที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๑
      หลังจากได้สารตรานี้แล้ว ต่อมาเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ผู้เขียนไปค้นรูปถ่ายเก่าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ บังเอิญพบศรัณย์มาดูรูปถ่ายเกี่ยวกับพิมายพอดี เมื่อได้รูปมาดูแล้ว ผู้เขียนสังเกตเห็นว่าบางมุมของบางรูปมีตัวหนังสือภาษาอังกฤษเขียนว่า F. Chit จึงเป็นอันได้เห็นงานถ่ายภาพปราสาทหินพิมาย พ.ศ. ๒๔๑๑ ของนายจิตรตรงกับสารตราโดยไม่คาดฝัน

ถ่ายรูปสุริยุปราคา ๒๔๑๑

      พ.ศ. ๒๔๑๑ นายจิตรออกไปถ่ายรูปต่างเมืองอีกคือในคราวรัชกาลที่ ๔ เสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ นายจิตรในฐานะช่างภาพหลวงได้ตามเสด็จไปถ่ายรูปด้วย ดังมีข้อความกล่าวถึงอยู่ในหนังสือสยามประเภท เล่ม ๓ ตอน ๖ ฉบับวันเสาร์ที่ ๒๐ มกราคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) หน้า ๒๔๕-๒๔๖ เขียนโดย ก.ศ.ร. กุหลาบ ว่า
      “สุริยุปราคาครั้งนี้ เปนการประหลาดในท้องฟ้าอากาศ จับเมื่อ ณ วันอังคาร เดือน สิบขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุฬศักราช ๑๒๓๐ ปี ได้เห็นที่ตำบลหัววานในอ่าว ทะเลสยามฝั่งตวันตกชื่ออ่าวแม่รำพึง แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจ้าวอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนิรไปทอดพระเนตร
พร้อมด้วยนักปราชญ์ชาวยุโรปหลายพวก มาสโมสรสันนิบาตประชุมพร้อมกัน คอยดูสุริยุปราคาอยู่ที่นั่นเปนอันมาก จึ่งทรงพระกรุณาโปรฎเกล้าฯ ให้ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร) ช่างถ่ายรูปหลวง ถ่ายรูปสุริยุปราคาเมื่อจับสิ้นดวงพระอาทิตย์ดุจดั่งเช่นรูปในเล่มนี้ไว้ในวันนั้น เวลาเช้า ๕ โมง ๔๐ นาที” (ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ว่าจับสิ้นดวง ๕ โมงกับ ๓๖ นาที ๒๐ วินาที รุ่งขึ้นเช้าเจ้าเมืองสิงคโปร์ ขอฉายพระรูป)
      กับในหน้า ๒๕๑ เรื่องเดียวกัน ก.ศ.ร. กุหลาบ ยังกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า

 

      “ขณะนั้นมืดประดุจดั่งเวลาพลบค่ำได้เห็นดาวบนท้องฟ้า อากาศปรากฎเปนอันมาก
เมื่อเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจ้าวอยู่หัว
เสด็จประทับอยู่กลางแปลงทรงส่องพระกล้อง ทอดพระเนตรสุริยุปราคา จึ่งทรงพระมหากรุณาโปรฎเกล้าฯ ให้ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร) เจ้าพนักงานช่างถ่ายรูปหลวง ถ่ายรูปสุริยปราคาไว้ให้เปนแบบแผนสืบต่อไปภายน่า ครั้นล่วงมาอีกบาทหนึ่งจึ่ง…………”
     
ภาพถ่ายสุริยุปราคาจึงเป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่ง
ที่แสดงให้เห็นว่านายจิตรสามารถถ่ายภาพเหตุการณ์สำคัญทางวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ด้วย แต่ท่านจะถ่ายด้วยวิธีเปิดกล้องตั้งกล้องอย่างใดไม่มีคำอธิบาย
ผู้เขียนพบแต่กระจกรูปสุริยุปราคา
ฝีมือนายจิตรอยู่ในหีบกระจกหลวงอัคนีนฤมิตร บนชั้น ๕ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และพบว่าสมเด็จฯ
กรมพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ทรงเคยนำรูปอัดมาลงเป็นภาพประกอบ
ในหนังสือชื่อโคลงลิขิตมหามกุฎราชคุณานุสรณ์ ของพระองค์ อยู่ในหน้า ๒๒๕ นับเป็นรูปที่ ๑๐๖ มีลายมือเขียนบรรจงทับลงไปบนตัวรูป อ่านออกบ้างไม่ออกบ้าง (เนื่องจากพิมพ์ไม่ค่อยดี) ว่า
      “สุริยุปราคา จับสิ้นดวงเมื่อจุลศักราช ๑๒๓๐ ปีมโรงสัมฤทธิศก นี้เปนการประหลาด…
เมื่อ ณ วัน ๓ ๑๐ ค่ำ (วันอังคาร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ หรือ ๑๘ สิงหาคม -เอนก) ที่ตำบลหัววานในอ่าวทะเลฝั่งตวันตก ชื่ออ่าวแม่รำพึง แขวงเมือง ประจวบคีรีขันธ
พระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร คนยุโรปได้มาประชุมกันคอยดูอยู่ที่นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนสุนทรสาทิศลักษณ…
ถ่ายรูป ได้ถ่ายรูปสุริยไว้เมื่อเวลา…
๔๐ มินิต ฯาะ” (น่าสังเกตว่าถ้อยคำคล้ายในสยามประเภท -เอนก)

ตามเสด็จสิงคโปร์ ชวา พม่า และอินเดีย

      ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๑๕ นายจิตร (อายุ ๔๑-๔๒ ปี) ขณะเป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์
ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไปสิงคโปร์และปัตตาเวียหนหนึ่ง กับตามเสด็จไปพม่าและอินเดียอีกหนหนึ่ง มีหลักฐานปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง จดหมายเหตุเสด็จประพาสต่างประเทศในรัชกาลที่ ๕ เสด็จเมืองสิงคโปร์ และเมืองเบตาเวียครั้งแรก และเสด็จประพาสอินเดีย
      จากการตรวจสอบชำระช่วงเวลาเสด็จประพาส โดยผู้เขียนเอง (เสียเวลาและยุ่งยากพอสมควร) ได้ข้อสรุปว่า
      เสด็จครั้งแรกออกจากกรุงเทพฯ วันพฤหัสบดีที่ ๙ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๗๑ เท่ากับ พ.ศ. ๒๔๑๔ (ถ้านับอย่างไทยยังเป็น พ.ศ. ๒๔๑๓ หรือ จ.ศ. ๑๒๓๒) เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ ๑๕ เมษายน ในครั้งนั้นพระวรภัณฑ์พลากร (ทิม ชาตะปัทมะ) ได้จดบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า ขากลับโปรดเกล้าฯ ให้พระสุนทรานุกิจปรีชา จางวาง ไปแวะเยี่ยมเยียนเจ้าเมืองตรังกานู ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ก็ได้ขึ้นจากเรือไปในคณะเยี่ยมด้วย เมื่อถึงเวลาลากลับ “พระยาตรังกานูจัดให้ตวนกูบุตร ตวนกูจิมุดา หลานพระยาตรังกานูตามลงมาส่งถึงเรือสยามู ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ได้จัดพระราชสาทิศฉายาลักษณ์ทรงเครื่องทหาร ๕ พระรูป ให้ตวนกูบูซา ๑ ตวนกูไซ ๑ ตวนกูจิมุดา ๑ กับฝากขึ้นไปให้พระยาตรังกานู ๑ รายามุดา ๑” จากนั้นจึงเดินทางสู่กรุงเทพฯ ต่อไป

 

      ส่วนการเสด็จต่างประเทศครั้งที่ ๒ ออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๔ กลับถึงกรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๑๔๑๕ ในจดหมายเหตุได้เอ่ยชื่อขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ไว้หนึ่งแห่ง ในฐานะผู้ตามเสด็จคือ
      “ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร ช่างถ่ายรูป ภายหลังเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร) ๑” (ชื่อผู้ตามเสด็จครั้งนี้มีการทำดอกจันไว้ข้างหน้า
สำหรับคนที่เคยตามเสด็จไปสิงคโปร์ เบตาเวียมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่โปรดสังเกตว่าชื่อนายจิตรไม่มีเครื่องหมายดอกจัน เข้าใจว่าจะหลงลืมหรือมิได้สำรวจบันทึกฉบับพระวรภัณฑ์พลากรให้ละเอียด ตรงนี้ทำให้ผู้เขียนเคยพลอยสะเพร่าตามไปด้วย คือคิดว่านายจิตรได้ตามเสด็จแต่ครั้งหลังหนเดียว จริง ๆ กว่าจะแก้ไขข้อมูลอีกที เวลาก็ผ่านไปนานถึง ๑๐ ปี นับว่าเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ)
      ในการตามเสด็จทั้งสองครั้ง ไม่มีหลักฐานแสดงว่านายจิตรได้ถ่ายรูปอะไรบ้าง พระบรมฉายาลักษณ์ในรัชกาลที่ ๕ และคณะผู้ตามเสด็จรูปหนึ่งซึ่งฉายที่สิงคโปร์ ไม่ลงชื่อว่าใครเป็นผู้ฉาย
      ส่วนอีกสองรูป (พบในหอจดหมายเหตุแห่งชาติของไทย เป็นรูปขนาดใหญ่) มีตัวหนังสือภาษาอังกฤษพิมพ์ใต้รูปว่า Westfield & Co Photos Calcutta เข้าใจว่าจะเป็นฝีมือของช่างในอินเดีย แต่กระนั้น ผู้เขียนก็เชื่อว่าระหว่างตามเสด็จ นายจิตรจะต้องฉายและถ่ายรูปบ้างเป็นแน่

เป็นหลวงอัคนีนฤมิตร

      ในปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร) อายุ ๕๐ ปี ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์และตำแหน่งเป็น หลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีป หรือเจ้ากรมทำลมประทีป หรือเจ้ากรมทำแก๊ส
      หนังสือชื่อ การแต่งตั้งขุนนางไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหอจดหมายเหตุแห่งชาติรวบรวมสำเนาแต่งตั้งขุนนางไทยมาตีพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้ลงข้อความจากสัญญาบัตรแต่งตั้งขุนสุนทรสาทิศลักษณ์เป็นหลวงอัคนีนฤมิตร หน้า ๑๖๐ ว่า
      “ให้ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (จิตร จันทมณี) ๒๓ เป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรม ตำแหน่งทำลมประทีป ถือศักดินา ๖๐๐ ทำราชการตั้งแต่ ณ วัน ๖ ฯ ๘ ค่ำ ปีมโรง โทศก ศักราช ๑๒๔๒ เปนวันที่ ๔๒๕๒ ในรัชกาลปัตยุบันนี้”
      เรื่องนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมเป็นเกร็ดอยู่ในหนังสือ (ประวัติ) ท่านเจ้าพะญานรรัตนราชมานิต (โต) ซึ่งเขียนโดยข้าเก่าบ่าวเดิมของเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต คือนักเลงหนังสือนามว่านายกุหลาบ อายุ ๘๐ ปี พิมพ์แจกเมื่อ ร.ศ. ๑๓๑ หรือ พ.ศ. ๒๔๕๕ คุณนิรัติ หมานหมัด สำนักพิมพ์โนรา ให้ผู้เขียนยืมถ่ายเอกสารไว้นานแล้วจนลืม เพิ่งมาอ่านพบเข้าอีกทีโดยบังเอิญตอนเขียนเรื่องใน พ.ศ. ๒๕๔๔ นี้เอง ความที่กล่าวถึงนายจิตรได้เป็นหลวงอัคนีนฤมิตร อยู่ในหน้า ๘๓-๘๕ ว่า
      จ.ศ. ๑๒๔๕ หรือ พ.ศ. ๒๔๒๖ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานรรัตนดูแลโรงกระสาปน์สิทธิการ และดูแล “โรงไฟก๊าศ” หรือโรงแก๊สที่ตั้งอยู่ริมเสาชิงช้า หน้าโบสถ์พราหมณ์
ขณะที่นายกุหลาบเขียนนั้นบอกว่า
โรงไฟแก๊สตั้งตรงตึกที่กลายเป็นตลาดเสาชิงช้าไปแล้ว ข้อนี้ถ้าเขียนในยุคปัจจุบันต้องบอกต่อเติมอีกว่าตลาดก็ถูกรื้อไปแล้ว กลายเป็นสนามกีฬาเทศบาลกรุงเทพ และเป็นลานจอดรถ ตามลำดับ ปัจจุบันกำลังทำเป็นที่จอดรถทั้งบนดินและใต้ดิน
      เมื่อต้องดูแลไฟแก๊สหลวงด้วย ท่านเจ้าคุณก็ต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วย

 

      “จึ่งมีบัญชาสั่งเราให้หาคนชำนาญการกลั่นน้ำมันดินเปนไฟก๊าศ เราจึ่งพาขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (ฟะรันซิศจิตร) ช่างถ่ายรูป ผู้เปนสหายของเรา เดิมเขาเปนคนบ้านกระฎีจีน ถือสาศนาโรมันกะทอลิก (คริษเตียยนเข้ารีดบาดหลวงฝรั่งเศส) แต่เขาเปนสานุศิษย์ท่านสังฆราชฝรั่งเศส เขาเปนผู้ร่วมอาจาริย์เดียวกันกับเรา ๆ ก็เปนศิษย์ท่านสังฆราชฝรั่งเศสด้วยกัน ขุนสุนทร (จิตร) เขาจึ่งชำนิชำนาญการวิชากลั่นน้ำมันดินเปนไฟก๊าศได้ เราเองเปนผู้พาขุนสุนทร (จิตร) เข้าหาเจ้าคุณ ๆ
กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานสัญญาบัตร
ให้ทรงตั้งขุนสุนทร (จิตร) เปนหลวงอัคคะนีนะฤมิตร เจ้ากรมโรงไฟก๊าศ ขุนจำหรัศฯ เปนปลัดกรมโรงไฟก๊าศ เจ้าคุณท่านจึ่งมอบการไฟก๊าศให้หลวงอัคคะนีนะฤมิตร
เปนผู้จัดการไฟก๊าศตามทั่วไป
ในพระบรมมหาราชวัง และตามถนลในพระนครทั่วไป ไฟก๊าศนั้นแล่นมาตามท่อเหล็กฝังใต้ดินเปนสาย ๆ โผล่ขึ้นตามเสารายตามถนล พลตระเวรเอาไฟจุดสว่าง (คล้ายไฟฟ้า) แต่เวลานั้นยังไม่มีไฟฟ้า มีแต่ไฟก๊าศ ๆ นั้นพึ่งเลิกเมื่อมีไฟฟ้ามา เพราะเหตุฉนี้ หลวงอัคคะนี (จิตร) จึ่งเปนผู้ชอบสนิทกับเรา ๆ กับเขาเปนเพื่อนกัน เปนศิษย์ร่วมอาจาริย์เดียวกัน เปนบ่าวเจ้าคุณร่วมนายเดียวกัน
      ลุจุฬศักราช ๑๒๔๕ ปีมะแมนักษัตรเบญจศก โปรฎเกล้าฯ ให้เจ้าคุณเปนข้าหลวงกองตรวจกองจ่ายเงินการก่อสร้างศาลสถิตย์ยุติธรรม………..”
      เรื่องของเรื่องเป็นอย่างนี้ จึงสรุปได้ว่าการที่นายจิตร-ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์
ได้เลื่อนที่เป็นหลวงอัคนีนฤมิตรนั้น
เป็นผลมาจากการประสานงานของนายกุหลาบ

ลักษณะผลงานของนายจิตร

      นายจิตรได้ถ่ายรูปเอาไว้มากมายโดยเฉพาะรูปบุคคล ทั้งสมัยรัชกาลที่ ๔ และ ๕ ส่วนรูปสถานที่เช่น วัด วัง ตึก เรือน เงาต้นไม้ (คงหมายถึงทิวทัศน์) ที่ได้ประกาศขายตามหน้าหนังสือพิมพ์และรูปเหตุการณ์ จะเป็นรูปใดบ้างยังคัดแยกออกมาจากที่ปะปนกับผู้อื่นไม่ค่อยได้ เพราะไม่ค่อยมี “เครื่องกำกับงาน” (คำนี้ผู้เขียนตั้งขึ้นเอง หมายถึงตัวหนังสือ ตราร้าน ตลอดจนลวดลาย หน้าตาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่กำกับอยู่บนกระดาษปิดรูป หรือบนผลงานแต่ละชิ้น) ลงไว้เหมือนเช่นรูปบุคคล 
      จะอธิบายเรื่องผลงานของนายจิตร ต้องแบ่งผลงานออกเป็นสองประเภท คือ ประเภทรูปขนาดการ์ดและแคบิเนต กับประเภทขนาดทั่วไป
      ก. รูปขนาดการ์ดและแคบิเนต
      ในตอนแรกร้านนายจิตรใช้เครื่องกำกับงานเป็นตัวหนังสือว่า ฟรานซิศจิตร บ้าง ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ บ้าง ภายหลังใช้เป็นฟรานซิศจิตร แอนด์ ซัน บ้าง ขุนฉายาสาทิศกรบ้าง หรือที่ใช้ว่า ฟรานซิศจิตร แอนด์ ซันส์ ก็มี การที่เป็นเช่นนี้ทำให้มีข้อคิดเป็นสองประเด็นคือ ที่ใช้ฟรานซิสจิตรกับขุนสุนทรสาทิศลักษณ์เฉย ๆ นั้น เชื่อว่าจะเป็นฝีมือของนายจิตรเองคนเดียว 
      ที่ใช้ว่า ขุนฉายาสาทิศกร – ฟรานซิศจิตร แอนด์ ซัน ส่วนใหญ่ควรเป็นงานของลูกชายที่ชื่อทองดี ซึ่งได้เป็นขุนฉายาสาทิศกรเมื่ออายุประมาณ ๑๗-๑๘ ปีก่อนนายจิตรจะถึงแก่กรรมสองสามปี (นายจิตรจะเลิกถ่ายรูป มอบกิจการให้ลูกเมื่อไรค้นไม่ได้ งานในระหว่างลูกกำลังโตเป็นหนุ่มจึงคาบเกี่ยวกัน ยากที่จะแยกให้เด่นชัดลงไปได้ว่าเป็นฝีมือใคร) อีกส่วนหนึ่งอาจเป็นฝีมือของน้องชายนายทองดีที่ชื่อนายสอาด เพราะโตเป็นหนุ่มไล่เลี่ยกัน ตรงนี้ก็แยกลำบากอีก ส่วนที่ใช้ว่า ฟรานซิศจิตร แอนด์ ซันส์ ตอนนั้นนายจิตรคงถึงแก่กรรมแล้ว เหลือแต่นายทองดี นายสอาด ช่วยกันรับช่วงต่อเป็นลักษณะบริษัทกลาย ๆ

 

      ตามการดำเนินงานสองชั่วคนที่กล่าวมา จึงขอแสดงเครื่องกำกับงานของทั้งนายจิตรและลูกรวมกันเลยทีเดียว ให้ชื่อว่า “เครื่องกำกับงานสกุลนายจิตร” 
      เครื่องกำกับงานสกุลนายจิตรบนรูปขนาดการ์ดและแคบิเนตมีพบไม่ต่ำกว่าเก้าแบบ มีวิธีผนึกรูปและรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่

      ๑. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง มีเส้นรอบรูปสีต่าง ๆ เช่น แดง ฟ้า เขียว แผ่นละสี ไม่มีเครื่องหมายอื่นใดด้านหน้า
พลิกไปด้านหลัง พิมพ์ตัวหนังสือว่า
      FRANCIS CHIT Bangkok
      ใช้หมึกตามสีที่พิมพ์เส้นรอบรูปด้านหน้า
      รูปถ่ายรุ่นนี้เชื่อว่าจะถ่ายในช่วงแรก ๆ เพราะเป็นรูปเจ้านาย ขุนนางในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นจำนวนมาก เช่น รูปพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งชุดทหารเรือ ประทับนั่งที่โต๊ะ น่าสังเกตว่าพบในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๒๑ รูปกรมหมื่นมเหศวร-ศิววิลาศ ในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๓ เป็นต้น พบแต่ที่พิมพ์บนรูปขนาดการ์ด (ไม่เคยพบรูปขนาดแคบิเนตที่พิมพ์เครื่องกำกับงานแบบนี้เลย)
      ๒. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง มีเส้นรอบรูปสีน้ำตาลแดง ไม่พิมพ์อะไร ด้านหน้า
      พลิกไปด้านหลัง พิมพ์หมึกสีน้ำตาลแดงเช่นเดียวกับสีด้านหน้าเป็นภาษาอังกฤษว่า
      F. Chit Photographer Sta Cruz Bangkok โดยผูกลวดลายขึ้นอย่างฝรั่ง เชื่อว่าจะเป็นกระดาษปิดรูปรุ่นแรก ๆ ที่ใช้ในเวลาใกล้เคียงกับแบบที่ ๑ แต่ตัดสินไม่ได้ว่าแบบไหนทำขึ้นก่อน พบมากในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๒๙ ได้แก่รูปหม่อมราโชทัยนั่งเก้าอี้ แขนขวาเท้าโต๊ะ บนโต๊ะมีโถขนาดใหญ่วางอยู่ ตัวหม่อมราโชทัยไว้ผมมหาดไทย แต่งตัวตามแบบขุนนางไทย ถ่ายไม่เกิน พ.ศ. ๒๔๑๐ แบบที่ ๒ นี้พบแต่ที่พิมพ์บนรูปขนาดการ์ดเช่นกัน

      ๓. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง มีเส้นรอบรูปสีทองหรือสีน้ำตาลแดง ไม่พิมพ์อะไรด้านหน้า นอกเหนือจากนี้อีก
      พลิกไปด้านหลัง พิมพ์หมึกสีเดียวกับทางด้านหน้า ใช้ตัวอักษรและลวดลายคล้ายแบบที่ ๒ แต่มีรูปช้างหันหัวไปทางขวามือ มีตัวอักษรอังกฤษเขียนว่า
      F. Chit Appointed Photographer to His Majesty The King of Siam Sta Cruz Bangkok เรียงแถวลงไปเป็นลำดับ
      การที่มีรูปช้างและข้อความเพิ่มเติมขึ้นเช่นนี้ แสดงว่าต้องเป็นเครื่องหมายหลังแบบที่ ๒ แน่นอน แต่ช่วงเวลาการถ่ายก็คงไม่ห่างกันนัก
      ตัวอย่างของแบบที่ ๓ พบมากในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๒๙ และพบแต่ที่พิมพ์บนรูปขนาดการ์ดได้แก่ รูปรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณร พ.ศ. ๒๔๐๙
      ๔. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง มีเส้นรอบรูปสีต่าง ๆ เช่น ฟ้า เขียว แดง แผ่นละสี และไม่พิมพ์สิ่งอื่นใดด้านหน้านอกเหนือจากนี้อีก (ทำเช่นเดียวกับแบบที่ ๑)
      พลิกไปด้านหลัง พิมพ์หมึกตามสีอย่างด้านหน้า ทำเครื่องหมายกำกับงานวิจิตรขึ้นไปอีก โดยวาดรูปช้างอยู่ข้างบน ถัดลงมาเป็นรูปเหรียญบุษปมาลาอันเป็นเหรียญที่รัชกาล ที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ สำหรับพระราชทานช่างมีฝีมือนายจิตร คงจะได้รับพระราชทานด้วย (ไม่ทราบปี) จึงนำมาพิมพ์ไว้เป็นที่ระลึก ซ้ายมือวาดเป็นรูปเหรียญมองจากข้างหลัง (มีคำย่อพระนาม ส.พ.ป.ม.จ. ๕ ซึ่งย่อจากคำว่าสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕ แต่ช่างแกะบล็อกแกะตัวหน้าสุดพลาดเป็นตัว ล) ขวามือวาดรูปเหรียญมองจากข้างหน้า (มีรูปพระเกี้ยวยอดตั้งอยู่ บนพานมีฉัตรสองข้าง) ถัดลงไปจากเหรียญ เป็นเถาดอกไม้ประดิษฐ์เป็นวงรี ภายในบรรจุอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมดพิมพ์ว่า
      Francis Chit
      Khoon Soondr Sadislacks
      Photographer His Majesty The King of Siam 
      Bangkok

 

      ล่างสุดวาดเป็นเหรียญบุษปมาลานั้นห้อยอยู่กับแถบผ้าแพร มีเข็มศิลปวิทยาติดอยู่ พร้อมตัวอย่าง ได้แก่รูปในอัลบัมของสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช รหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๒๔ เช่น รูปที่ ๖ ทรงเขียนคำบรรยายบอกไว้ว่า 
      “ที่ ๖ ปีมะเมีย โทศก ๑๒๓๒ อายุศม์ ๑๒ ปี รูปคาต ยืนแต่งเตมยศไปสิงค์โปร์ ถ่ายที่ลาน พระที่นั่งอมรินทร์ ขุนสุนทรสาทิศลักษณ” (ถ่าย พ.ศ. ๒๔๑๓) เครื่องกำกับงานรุ่นนี้มีพบมากและพบแต่รูปขนาดการ์ด 
      ๕. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง มีเส้นรอบรูปสีต่าง ๆ และไม่พิมพ์สิ่งอื่นใดทางด้านหน้าอีกเช่นเดียวกับแบบ ๑-๔ 
      พลิกไปด้านหลัง พิมพ์หมึกสีต่าง ๆ เช่น ฟ้า เขียว แดง ตามอย่างหมึกด้านหน้าเป็นตราประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๕ รุ่นแรกสุด (ตรานี้ยังหาประวัติไม่ได้ ห้างฝรั่งบางห้างก็ได้รับพระราชทาน เช่น ห้างแรมเซ ห้างแบดแมน เป็นแบบเดียวกับที่พระราชทานตราครุฑในปัจจุบัน) วาดลายเส้นเป็นรูปช้างสามเศียรยืนอยู่ภายในอาร์มและสังวาลเหนืออาร์มเป็นจุลมงกุฎหรือพระเกี้ยว สองข้างขวาซ้ายเป็นตัวราชสีห์ คชสีห์ ขาหน้าถือฉัตร ขา หลังเหยียบลูกโลก ใต้ลูกโลกและอาร์มเป็นผ้าแพรพลิ้วไปมา กลางผ้าแพรเป็นรูปเหรียญ บุษปมาลาด้านหน้า ถัดจากตราประจำพระองค์รัชกาลที่ ๕ ดังบรรยาย ลงไปมีภาษาไทย เขียนว่า สุนทรสาทิศลักษณ์ แต่บางแผ่นพิมพ์เป็น สุทรสาทิศลักษณ์ (ตกตัว น. หนู) เข้าใจว่าช่างเรียงคงจะเผลอลืม ถัดลงไปอีกพิมพ์ เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดว่า
      Khoon Soondr Sasislax
      By Appointment
      Photographer to
      H.M. The Supreme King of Siam
      Bangkok

      นายจิตรคงจะได้รับพระราชทานตราประจำพระองค์มาเป็นเกียรติยศในฐานะเป็นช่างทำการของหลวง และคงจะได้เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๑๗ (หนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๑๗ ที่ออกเป็นปีแรกในรัชกาลที่ ๕ ก็มีตรานี้พิมพ์ร่วมกับ ตราแผ่นดินอย่างใหญ่ซึ่งออกทีหลังกว่า ตราแผ่นดินอย่างใหญ่คือตราเท่าที่เคยเห็นในเหรียญบาท)
      รูปถ่ายที่ใช้เครื่องกำกับงานแบบนี้พบแต่รูปขนาดการ์ดทั้งที่อัดรูปแบบลอยตัว (รูปคนลอย ๆ เห็นครึ่งอก อัดให้จางบริเวณข้าง ๆ) และเต็มตัวธรรมดา
      พบมากในอัลบัมของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช รหัส ภอ.๐๐๑ หวญ ๒๔ เช่นรูปที่ ๑๘ ทรงเขียนคำบรรยายว่า
” ๑๘ ปีจอฉอศก ๑๒๓๖ อายุศม์ ๑๖ ปี
      รูปคาด แต่งเต็มยศระยะบับ ถ่ายที่พระราชวังเดิมฟากขโน้น ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์”

      ๖. ใช้กระดาษอัดรูปเต็มขอบ ไม่ต้องปิดลงบนกระดาษแข็งเช่นแบบอื่น พบเพียงรูปเดียว เป็นขนาดการ์ด ด้านหลังประทับหมึก (ปั๊ม) ตรายางเป็นภาษาอังกฤษว่า
      Thongdee Chit
      Bangkok
      ตัวอย่างคือรูป “เจ้าพระยาสุรสีห์ (เชย กัลยาณมิตร์)” ในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๑๐ อาจเป็นรูปถ่ายฝีมือนายทองดีรุ่นแรก ๆ
      ๗. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง ไม่มีเส้นรอบรูป ใต้รูปพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษว่า
      F. Chit & Son Bangkok
      พลิกไปด้านหลัง พิมพ์ตราประจำพระองค์รัชกาลที่ ๕ รุ่นแรกสีทอง ถัดลงไปพิมพ์ข้อความภาษาอังกฤษว่า
      F. Chit & Son
      By Appointment
      Photographer to
      H.M. The Supreme King of Siam
      Bangkok

 

      พบแต่รูปขนาดการ์ด เข้าใจว่าจะออกในช่วงปลายอายุนายจิตร ตัวอย่างเช่นรูป “พระยานรานุกิจมนตรี (เปลี่ยน ทัศนพยัฆ)” ในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๙ อนึ่งเครื่องกำกับงานรุ่นนี้มีพิมพ์ตราประจำพระองค์เป็น ๒ ขนาด (เล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน) นอกนั้นเหมือนกันหมด
      ๘. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง ขอบขลิบทอง ไม่มีเส้นรอบรูป ใต้รูปพิมพ์ภาษาอังกฤษว่า
      F. Chit & Son Bangkok
      พลิกไปด้านหลัง เหนือสุดเป็นตราประจำพระองค์รัชกาลที่ ๕ รุ่นแรก ถัดลงไปเป็นรูปเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาอย่างสมบูรณ์ คือมีทั้งเข็มและเหรียญ เข็มนั้นกลัดติดกับแพรแถบ มีตัวหนังสือว่า “ศิลปวิทยา” ส่วนตัวเหรียญหันด้านที่เป็นพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ออก
      เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเหรียญดุษฎีมาลาขึ้น สำหรับพระราชทานแก่ข้าราชการที่ได้รับราชการมาด้วยดี ส่วนเข็มศิลปวิทยานั้น จะพระราชทานไปพร้อมกับเหรียญ แต่แบ่งออกตามประเภทของผู้รับห้าประเภท มีทั้งเข็มสำหรับเจ้านาย ทหาร และที่พระราชทานผู้ที่เป็นนักปราชญ์ราชกวี นายช่าง และช่างฝีมือพิเศษที่ได้คิดเริ่มประดิษฐ์สิ่งของเป็นแบบอย่าง หรือมีคุณประโยชน์ต่อบ้านเมืองและราชการ หรือผู้ที่ได้แต่งหนังสือตำราวิทยาการต่าง ๆ ที่เป็นของเก่าของใหม่ก็ดี ที่มีคุณประโยชน์ต่อราชการแผ่นดิน หรือผู้เป็นช่างฝีมืออย่างเอก ไม่มีผู้ใดเสมอ (ดูรายละเอียดได้จากหนังสือ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑)

      สำหรับนายทองดีนั้น ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเงิน แพรห้อยแถบชมพูกับขาว เข็มศิลปวิทยา พร้อมกับช่างอื่น ๆ อีก ๑๐ คน เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ในฐานะเป็น “ช่างถ่ายรูป” เพราะฉะนั้น เครื่องกำกับงานรุ่นนี้จึงต้องออกแบบขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๓ (นับแบบเก่า) เป็นต้นไป คือออกแบบเมื่อนายทองดีได้รับพระราชทานเหรียญและเข็มมาแล้ว
      รายละเอียดของเครื่องกำกับงานยังมีต่อไปอีก คือถัดจากรูปเหรียญและเข็มดังกล่าวแล้ว มีภาษาไทยพิมพ์ว่า
      ขุนฉายาสาทิศกร และพิมพ์ข้อความภาษาอังกฤษในบรรทัดถัด ๆ ไปว่า
      F. Chit & Son By Appointment
      Photographer to H.M. The Supreme King of Siam
      Bangkok
      รูปที่ใช้เครื่องกำกับงานดังบรรยายมา เชื่อว่าถ่ายประมาณหลัง พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นต้นไป มีพบทั้งขนาดการ์ดและแคบิเนต ตัวอย่างเช่นรูปในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๕ เป็นรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดพงศ์ ซึ่งทรงเขียนข้อความไว้ข้างหลังภาพว่า
      “ถวายเพื่อเป็นที่ทรงลฦก ณ วันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓” (พ.ศ. ๒๔๓๗) และรูปอื่น ๆ อีกมาก เช่น รูปรัชกาลที่ ๕ รูปสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นต้น
      ๙. ปิดรูปลงบนกระดาษแข็ง และกดเครื่องกำกับงานลึกลงไปในเนื้อกระดาษ มีข้อความโค้งเป็นรูปวงรีอย่างลูกรักบี้ว่า
      F. Chit & Son
      Siam
      Bangkok
      มีพบทั้งที่กดลงบนกระดาษขนาดแคบิเนต (เช่นรูป “ร้อยตรีภักดิ์” ในอัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๒๒ ด้านหลังปล่อยพื้นว่าง ไม่พิมพ์อะไร) และกดลงบนกระดาษแข็งปิดรูปขนาดใหญ่ (เช่น อัลบัมรหัส ภอ. ๐๐๑ หวญ ๗๙ ซึ่งเป็นรูปเหตุการณ์ชุดประหารชีวิต นักโทษที่มณฑลนครไชยศรี ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) เริ่มต้นตั้งแต่ตำรวจเดินแถวพานักโทษไปยังบริเวณประหาร รูปนักโทษถูกผูกกับหลัก รูปเพชฌฆาตกำลังลงดาบ และสุดท้ายเป็นรูปศีรษะนักโทษที่ถูกเสียบไม้ประจานดูน่ากลัว)

 

      ข. รูปขนาดทั่วไป
      รูปขนาดทั่วไปของนายจิตรพบทั้งที่อัดลงกระดาษแล้วกับที่เป็นกระจกเนกาตีฟ แต่พบอย่างหลังมากกว่า เพราะได้รับการเก็บรวบรวมไว้ในที่เดียวกัน และมีป้ายกำกับไว้ให้ทราบว่าเป็นของนายจิตรจริง ๆ ไม่ต้องเดาทายอย่างรูปอัดกระดาษ
      กระจกเนกาตีฟของนายจิตรบรรจุในหีบไม้ เคยเห็นเก็บอยู่บนชั้น ๕ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีทั้งสิ้น ๒๓ หีบ หีบหนึ่งใส่รูปได้ประมาณ ๒๐ แผ่น ระหว่างแต่ละแผ่นมีลิ้นไม้กันไม่ให้กระจกกระแทกกัน กระจกมีหลายขนาดตั้งแต่ประมาณขนาดโปสการ์ดไปจนถึงขนาด ๘ x ๑๐ นิ้ว ส่วนใหญ่เป็นรูปบุคคลดังที่ป้ายบนหีบเขียนบอกไว้ว่า
      “กระจกรูปคน หลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร) เปนผู้ถ่าย พระฉายาสาทิศกร (สอาด) ถวายสำหรับหอพระสมุดฯ”
      ที่เป็นรูปสถานที่ เหตุการณ์หรืออื่น ๆ ทั่วไป ได้แก่ รูปเกาะหน้าวัดอรุณราชวราราม รูปพระสมุทรเจดีย์ เรือนไทยริมน้ำ เรือแม่ปะในลำน้ำ ปราสาทหิน พระที่นั่งในพระราชวังบางปะอิน พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งต่าง ๆ วัดพระแก้ว การซ่อมพระปรางค์แปดองค์ในวัดพระแก้ว พระปรางค์วัดอรุณ เรือพายขายของมีเด็กผมจุกนั่งอยู่บนเรือนแพริมน้ำ คนเป่าปี่จุม และช่างฟ้อนจากเมืองเหนือ เป็นต้น
      ส่วนใหญ่แล้ว
รูปขนาดทั่วไปทั้งที่ยังเป็นกระจกเนกาตีฟ
และที่อัดลงกระดาษมักไม่ค่อยมีเครื่องกำกับงาน ยกเว้นบางรูป เช่นกระจกรูปเรือยงยศอโยชฌิยา (สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖) ตรงมุมขวาล่างของกระจกแผ่นนี้มีรอยขูดเยื่อน้ำยาเป็นตัวหนังสือว่า Ph by F. Chit เวลาอัดรูปก็จะเห็นรอยขูดนี้ปรากฏเป็นตัวหนังสือสีดำชัดเจน รูปนักเป่าปี่จุมจากเมืองเหนือ และรูปปราสาทหินพิมาย เป็นต้น นอกจากนี้ได้แก่รูปประหารชีวิตนักโทษ ดังที่ได้อธิบายไว้ในข้อ ๙

พิมพ์บัญชีผลงาน

      ได้กล่าวถึงหน้าตาผลงานของนายจิตรอย่างกว้างแล้ว ต่อไปนี้จะเล่าถึงหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งซึ่งสำหรับผู้เขียนแล้ว เห็นว่าเป็นหลักฐานชั้นยอด ด้วยเป็นหนังสือที่ช่วยยืนยันให้เรารุ่นหลังได้ทราบว่าเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ช่างภาพชาวไทยคนหนึ่งสามารถถ่ายรูปไว้เป็นอันมาก ในการถ่าย ก็มิใช่ถ่ายเพียงในกรุงเทพฯ แห่งเดียว หากยังบุกป่าฝ่าดงไปถ่ายรูปในที่ไกล ๆ อีกหลายแห่ง งานของนายจิตรจึงหลากหลายยิ่งกว่าช่างภาพร่วมสมัยทุกคน
      หลักฐานที่ว่าเป็นหนังสือเล่มบาง ๆ หน้าตาอย่างหนังสือโรงพิมพ์ราษฎร์เจริญหรือโรงพิมพ์วัดเกาะ พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ นักเลงหนังสือเก่าชั้นผู้ใหญ่ที่ผู้เขียนเคารพนับถือคือ พลตรี ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ได้กรุณาถ่ายเอกสารฝากคุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ ผู้จัดการสำนักพิมพ์ต้นฉบับมาให้ผู้เขียน ตั้งแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ นับเป็นพระคุณเหลือประมาณ
      หนังสือเล่มนั้นพิมพ์ปกราง ๆ ว่า
      “ต้นบาญชีรูปต่าง ๆ เล่มที่ ๑ ที่ข้าพเจ้าขุนสุลทรสาทิศรักษ เปนผู้ชั่งชักรูปอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งได้ทำไว้

 

      ได้ลงพิมพ์ในปีขานสำเรจธิศก ๑๒๔๐”
      เมื่อขึ้นต้นไว้อย่างนี้แล้ว เปิดต่อไปก็เป็นบัญชีรูป กับนัมเบอร์รูปหรืออะไรสักอย่างทันที ไม่มีคำนำหรือคำอธิบายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่กระนั้น บัญชีเหล่านี้ก็เป็นประโยชน์ในการชำระรูปทั้งในวันนี้และอนาคตได้เป็นอันมาก ยังสงสัยอยู่ก็แต่บัญชีเล่ม ๒ ได้มีการตีพิมพ์ต่อไปหรือไม่ ข้อนี้ยังไม่มีคำตอบ 
      จะยกตัวอย่างวิธีเขียน และตัวอย่างรูปตั้งแต่รายการแรกให้ท่านเห็นดังนี้
      “อย่างแกบิเนต กลาง
      พระรูปสมเดจพระเจ้าแผ่นดินสามพระองค์ ถ่ายรูปเฃียน หมายน้ำเบอ ๓๓๓, ๓๓๔, ๓๓๕
      พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องต้น ถ่ายต่อพระรูปที่มิษเตอทอมซันเปนผู้ถ่าย หมายนำเบอ
      พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องอย่างฝรังเสศ เสดจประทับพระเก้าอี้ ๑๑
      พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องอย่างฝรังเสศ เสด็จยืนกุมพระกรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
      พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องต้น
เสดจออกรับราชทูตฝรังเสศ
ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม
พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษแลข้าราชการ ถ่ายต่อรูปเฃียน ๒๓๔……….”
      เพียงเท่านี้ก็จะเห็นได้ว่าเราสามารถเอาไปขยายความภาพถ่ายได้อีก

เชื้อสายของนายจิตร

      ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีการตั้งนามสกุล เพราะฉะนั้นทั้งนายจิตรและลูกชายที่ชื่อนายทองดีจึงไม่ทันมีนามสกุลต่อท้าย ตระกูลนายจิตรเพิ่งมีนามสกุลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ อันเป็นปีแรกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงออก “พระราชบัญญัติขนานนามสกุลพระพุทธศักราช ๒๔๕๖” ขุนฉายาสาทิศกร (สอาด) ลูกชายคนสุดท้องของนายจิตรได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่ ๖ ว่า “จิตราคนี” โดยได้รับการประกาศพร้อมนามสกุลพระราชทานอื่น ๆ เป็นรุ่นที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๖ (ดูหนังสือ พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องกำเนิดนามสกุล เล่ม ๒ หน้า ๙๙)
      คำว่า จิตราคนี ต้องผูกมาจากชื่อของนายจิตรและราชทินนาม อัคนีนฤมิตร อย่างไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้นนายจิตรจึงเป็นต้นสกุล จิตราคนี ด้วยเหตุนี้
      ลูกของนายจิตรตามที่ ส. พลายน้อย เขียนไว้ในหนังสือเกร็ดโบราณคดีประเพณีไทย ชุดที่ ๒ หน้า ๓๕๖ กล่าวว่ามี หกคน (ไม่ระบุชื่อมารดา) คือ
      ๑. หญิง ชื่อนวม
      ๒. หญิง ชื่อสร้อย ผู้นี้ต่อมาได้เป็นช่างภาพสำหรับถ่ายรูปเจ้านายฝ่ายใน ได้รับการยกย่องให้เป็นช่างภาพหญิงคนแรกของเมืองไทย ๒๔ (มีคนเข้าใจผิดว่าเป็นน้องสาวของนายจิตร ซึ่งความจริงเป็นลูก)
      ๓. เป็นชายชื่อ ทองดี เคยไปเรียนถ่ายรูปที่เยอรมนี เป็นช่างถ่ายรูปหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นขุนฉายาสาทิศกร แต่อยู่มาไม่นานก็ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๔ อายุประมาณ ๓๐ เศษ ภรรยาของนายทองดีชื่ออบเชย มีลูกคือนางหลี พลอยบริสุทธิ์ ทราบว่าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ นางหลีอายุ ๘๔ ปี
      ๔. เป็นหญิงชื่อ ล้วน เป็นภรรยาเจ้าพระยานรรัตนราชมานิตย (โต มานิตยกุล)
      ๕. และ ๖. เป็นฝาแฝดกัน คนที่เป็นหญิงชื่อ เลื่อม ได้เป็นภรรยาเจ้าพระยานรรัตน์ฯ คนที่เป็นชายชื่อ สอาด ได้รับราชการเป็นช่างภาพหลวง ต่อมาจนได้เป็นที่พระฉายาสาทิศกรแทนพี่ชาย 

      จริง ๆ แล้วนายจิตรมิได้มีลูกเพียงหกคนดังเอ่ยชื่อ นายพัลลภ เสาวนิตนุสร ผู้เป็นโหลนของนายจิตรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นายจิตรยังมีลูกกับภรรยาคนอื่นอีก เท่าที่ทราบ เช่น นางเทศคนหนึ่ง ลูก ๆ ที่ ส. พลายน้อย ไม่ได้เขียนไว้มีที่สืบได้คือ
      ๑. นายทองแถม จิตราคนี หรือ ร้อยเอก หลวงประดิษฐ์ภาพฉายาลักษณ์ เป็นช่างถ่ายรูปกรมแผนที่ทหารบก ในช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ นางเทศเป็นมารดา
      จากข้อมูลนี้ทำให้นึกถึงรูปถ่ายในหนังสือ ดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ในนั้นมีรูปเครื่องบินพยาบาลขัติยะนารี ๑ ที่มุมขวาล่างมีลายมือเขียนบนกระจก ว่า “ร. ต. จิตราคนี ผู้ถ่าย” ทางด้านซ้ายบอกวันที่ถ่ายคือ ๒๘ ธ.ค. ๖๕ เชื่อว่า ร. ต. จิตราคนี ผู้ถ่ายนั้นคงไม่ใช่ใครผู้ใด นอกจากนายทองแถม จิตราคนี นี่เอง
      นายทองแถมมีลูก ๓ คน ชื่อ นางเทียบ นางถ่อง และนางไถงพร ผู้เขียนเคยได้พบตัวนางไถงพรขณะอายุ ๗๖ ปีและสัมภาษณ์เมื่อวันพฤหัสฯ ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ นางไถงพรเป็นภรรยาของนายนันท์ พลอยบริสุทธิ์ (นายนันท์เป็นลูกของนางหลีกับนายเฮนรี เฟรเดอริค หรือ หลวงเสาวนิตนุสร)
      ๒. นายต๋ำ จิตราคนี (ไม่ทราบชื่อมารดา) ว่าเป็นช่างภาพกรมรถไฟ สมัยกรมพระกำแพงเพชรฯ มีลูกหลายคน คนหนึ่งชื่อนายจรัล จิตราคนี เป็นเจ้าของร้านถ่ายรูปจิตราคนี อยู่ที่อาคารเชิงสะพานพุทธยอดฟ้าด้านขาลงปากคลองตลาด (บริเวณใกล้หัวมุม เลิกกิจการไปนานแล้ว) ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ภรรยาชื่อนางประจักษ์จิตมีบ้านอยู่ข้างวัดซางตาครู้ส นายพัลลภ เสาวนิตนุสร ยังเคยพาผู้เขียนไปสัมภาษณ์เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๗ แต่รูปถ่ายกระจัดกระจายไปเสียเกือบหมดแล้ว คงเหลือแต่หีบเก็บกระจกเปล่า ๆ หนึ่งใบ (ภายหลังได้เห็นรูปส่วนหนึ่งตีพิมพ์อยู่ในหนังสือกษัตริย์กับกล้อง ว่าเป็นของนางจันทร์ทิพย์ ศรีวัลลภ บุตรสาวของนายจรัล นางประจักษ์จิตร)
      สำหรับนายพัลลภนั้นเป็นลูกชายของนางรื่นจิตร นางรื่นจิตรเป็นลูกสาวของนางทองเจือ หรือยายหลี พลอยบริสุทธิ์ (กับนายเฮนรี เฟรเดอริค หรือหลวงเสาวนิตนุสร) นางทองเจือหรือยายหลีเป็นลูกสาวของนายทองดี นายทองดีเป็นลูกชายของนายจิตร นายพัลลภจึงมีศักดิ์เป็นโหลนของนายจิตร 
      เชื้อสายของนายจิตรที่สืบรู้ชื่อมีเพียงเท่านี้


CHORANK GHARA DADYEA | Francis de Tuem


Singer \u0026 Lyrics: Francis de Tuem

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

CHORANK GHARA DADYEA | Francis de Tuem

🆕 12/11/2021 FRANCIS #480H || KÍNH CHÚC MỌI NGƯỜI BINH AN VÀ CÙNG DÂNG LỜI CẦU NGUYỆN


480H, 12/ 11/ 2021ADIDAPHAT. HÔM NAY CUỐI TUẦN, KÍNH CHÚC MỌI NGƯỜI BINH AN VÀ CÙNG DÂNG LỜI CẦU NGUYỆN
Cảm ơn các sĩ quan cao cấp của ĐCSVN đã ký đạp mặt HCM và trở về với CP ĐT VNCH. www.tcdy.us. www.tcdy.info. www.tcdy.world. www.cpqgvnlt.com.
TCDY Thiếu Tướng chỉ huy trưởng binh chủng Quân Cảnh [email protected] Chính Phủ ĐT VNCH.
1Cầu nguyện cho ĐỨC QUỐC CÔNG ĐÀO MINH QUÂN TT ĐT VNCH sớm giải thể tà quyền CSVN và xây dựng lại đất nươc để mọi nhà được an hưởng thái bình.
2Cầu nguyện cho quốc dân Hoa Kỳ đạt thành ý nguyện
3 Cầu nguyện cho QUỐC DÂN VN sớm thoát khỏi ách thông trị tàn bạo tà quyền CSVN.
4 Cầu nguyện cho Đảng Cộng Sản Việt Nam sớm quay về với chính nghĩa quốc gia sẽ được đối xử tử tế

🆕 12/11/2021 FRANCIS #480H || KÍNH CHÚC MỌI NGƯỜI BINH AN VÀ CÙNG DÂNG LỜI CẦU NGUYỆN

CGI Animated Shorts : \”Francis\” – Directed by Richard Hickey | TheCGBros


Check out this well animated and creepy CGI animated film \”Francis\”, Directed by Richard Hickey, and written by Dave Eggers.
The story of \”Francis\” came about interestingly from famed radio show \”This American Life\”. Broadcaster Ira Glass asked 6 American writers to create a short story about Adventure. One of these stories written by novelist \u0026 screenwriter Dave Eggers, it was read on the show to much acclaim and praise., Richard worked with producer Kevin Batten \u0026 a team to turn the words into this short. He worked on the film tirelessly \u0026 had 40 people work on all elements of the animation. The film has been shown at Cannes Film Festival and Raindance.
About
Not To Scale Specialize in creating all types of animated, illustrated and designed content for use across all platforms and media.
Offiicial Website http://www.nottoscale.tv/
Facebook https://www.facebook.com/NotToScalehq \”Join us\”
Twitter https://twitter.com/nottoscalehq \”Twit us\”
Vimeo http://vimeo.com/84786815

CGI Animated Shorts : \

The Best of Westlife Westlife Greatest Hits Full Album


The Best of Westlife Westlife Greatest Hits Full Album
Thanks for watching. If you like video please \”SUBSCRIBE\” \”LIKE\” \”SHARE\” \”COMMENT\”
https://youtu.be/ousx7IqNZhs

The Best of Westlife   Westlife Greatest Hits Full Album

NON-STOP SONGS COVER, FRANCIS GREG AND JUSTIN VASQUEZ GREATEST HITS/ OPM LOVE SONGS


𝘏𝘦𝘭𝘭𝘰 𝘦𝘷𝘦𝘳𝘺𝘰𝘯𝘦!🤗
𝘞𝘦𝘭𝘤𝘰𝘮𝘦 𝘵𝘰 𝘮𝘺 𝘤𝘩𝘢𝘯𝘯𝘦𝘭!💕
𝘐 𝘳𝘦𝘢𝘭𝘭𝘺 𝘩𝘰𝘱𝘦 𝘺𝘰𝘶 𝘦𝘯𝘫𝘰𝘺 𝘵𝘩𝘪𝘴 𝘷𝘪𝘥𝘦𝘰.
𝘗𝘭𝘦𝘢𝘴𝘦 𝘥𝘰𝘯’𝘵 𝘧𝘰𝘳𝘨𝘦𝘵 𝘵𝘰 𝘭𝘪𝘬𝘦 𝘢𝘯𝘥 𝘴𝘩𝘢𝘳𝘦 𝘵𝘩𝘪𝘴 𝘷𝘪𝘥𝘦𝘰!
𝘗𝘭𝘦𝘢𝘴𝘦 𝘢𝘭𝘴𝘰 𝘤𝘭𝘪𝘤𝘬 𝘵𝘩𝘦 𝘴𝘶𝘣𝘴𝘤𝘳𝘪𝘣𝘦 𝘣𝘶𝘵𝘵𝘰𝘯 𝘢𝘯𝘥 𝘵𝘩𝘦 𝘯𝘰𝘵𝘪𝘧𝘪𝘤𝘢𝘵𝘪𝘰𝘯 𝘣𝘦𝘭𝘭 𝘣𝘦𝘴𝘪𝘥𝘦 𝘪𝘵 𝘵𝘰 𝘨𝘦𝘵 𝘵𝘩𝘦 𝘭𝘢𝘵𝘦𝘴𝘵 𝘶𝘱𝘥𝘢𝘵𝘦𝘴 𝘧𝘳𝘰𝘮 𝘮𝘺 𝘤𝘩𝘢𝘯𝘯𝘦𝘭! 🥰
𝘛𝘩𝘢𝘯𝘬 𝘺𝘰𝘶 𝘧𝘰𝘳 𝘸𝘢𝘵𝘤𝘩𝘪𝘯𝘨 𝘢𝘯𝘥 𝘐 𝘩𝘰𝘱𝘦 𝘵𝘰 𝘴𝘦𝘦 𝘺𝘰𝘶 𝘢𝘨𝘢𝘪𝘯 𝘰𝘯 𝘮𝘺 𝘧𝘶𝘵𝘶𝘳𝘦 𝘶𝘱𝘭𝘰𝘢𝘥𝘴 🥰💕
✅ 𝙳𝚒𝚜𝚌𝚕𝚊𝚒𝚖𝚎𝚛 : 𝙸 𝚍𝚘 𝚗𝚘𝚝 𝚘𝚠𝚗 𝚝𝚑𝚎 𝚙𝚑𝚘𝚝𝚘𝚜, 𝚐𝚒𝚏𝚜, 𝚜𝚘𝚞𝚗𝚍 𝚎𝚏𝚏𝚎𝚌𝚝𝚜 𝚊𝚗𝚍 𝚎𝚝𝚌 𝚝𝚑𝚊𝚝 𝚒𝚜 𝚒𝚗 𝚝𝚑𝚎 𝚋𝚊𝚌𝚔𝚐𝚛𝚘𝚞𝚗𝚍 𝚞𝚜𝚎𝚍 𝚒𝚗 𝚝𝚑𝚒𝚜 𝚟𝚒𝚍𝚎𝚘, 𝙸 𝚘𝚗𝚕𝚢 𝚘𝚠𝚗 𝚝𝚑𝚎 𝚎𝚍𝚒𝚝. 𝙰𝚕𝚕 𝚊𝚍𝚜 𝚢𝚘𝚞 𝚖𝚊𝚢 𝚎𝚗𝚌𝚘𝚞𝚗𝚝𝚎𝚛 𝚒𝚜 𝚌𝚘𝚗𝚝𝚛𝚘𝚕𝚕𝚎𝚍 𝚋𝚢 𝚝𝚑𝚎 𝚘𝚛𝚒𝚐𝚒𝚗𝚊𝚕 𝚘𝚠𝚗𝚎𝚛𝚜. 𝙰𝚕𝚕 𝚌𝚛𝚎𝚍𝚒𝚝𝚜 𝚐𝚘 𝚝𝚘 𝚝𝚑𝚎 𝚛𝚒𝚐𝚑𝚝𝚏𝚞𝚕 𝚘𝚠𝚗𝚎𝚛𝚜. 𝙽𝚘 𝚌𝚘𝚙𝚢𝚛𝚒𝚐𝚑𝚝 𝚒𝚗𝚝𝚎𝚗𝚍𝚎𝚍.

NON-STOP SONGS COVER, FRANCIS GREG AND JUSTIN VASQUEZ GREATEST HITS/ OPM LOVE SONGS

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ฟ ราน ซิ ส

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *