Skip to content
Home » [Update] US สำหรับผู้ชาย ‘ละเอียดกว่านี้มีอีกไหม?’ | uk ย่อมาจาก – NATAVIGUIDES

[Update] US สำหรับผู้ชาย ‘ละเอียดกว่านี้มีอีกไหม?’ | uk ย่อมาจาก – NATAVIGUIDES

uk ย่อมาจาก: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

วิธีการ เทียบเบอร์รองเท้า ถือเป็นสิ่งที่ผู้ชายหลายคนยังสับสนและไม่ค่อยแน่ใจนักในการเลือกซื้อรองเท้าสำเร็จรูปหรือ Made to Order สักคู่หนึ่ง ซึ่งรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหนังคุณภาพดีนั้น บางครั้งก็มีราคาสูงจนเราไม่อยากที่จะเสี่ยงซื้อมาแล้วใส่ไม่พอดี วันนี้ MenDetails จึงขอหยิบวิธีการ เทียบไซส์รองเท้า 3 แบบที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในโลกของรองเท้าสากล มาแนะนำให้ผู้ชายทุกคนทำความเข้าใจ รวมถึงบอก “สูตรการคำนวณ” เทียบไซส์รองเท้า ในแต่ละแบบ ว่าเบอร์ไหนไซส์ใดกันแน่ที่จะเหมาะกับเท้าของเราด้วยนะครับ

– เรื่องราวการซื้อรองเท้าของคุณจะง่ายขึ้น หากเทียบไซส์ EUR – US – UK ได้ด้วยตนเอง –

ความยาวเท้าจริงของตัวเอง คือสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ชาย “ต้องรู้”

ก่อนจะไปถึงสูตรและวิธีการ เทียบเบอร์รองเท้า นั้น สิ่งสำคัญแรกสุดที่ผู้ชายเราควรจะรู้ก็คือ ความยาวของเท้าจริงของเราเอง ว่าเรามีเท้าที่ยาวแค่ไหนกันแน่ ซึ่งเราควรจะวัดทั้งจากเท้าเปล่า และขณะที่ใส่ถุงเท้าที่เราชอบใส่เป็นประจำ เพราะความหนาของถุงเท้าอาจทำให้ความยาวของเท้าเราเปลี่ยนแปลงไปได้บ้างเช่นกัน หากใครยังไม่รู้ว่าเท้าของตัวเองยาวเท่าไหร่กันแน่ ลองเข้าไปอ่านวิธีการวัดเท้าที่เราเคยอธิบายไว้ในบทความก่อนหน้านี้ได้เลยครับ

– ภาพสาธิตการวัดความยาวของเท้า แบบคร่าว ๆ หากชอบใส่ถุงเท้า ก็อย่าลืมใส่ก่อนวัดด้วยนะครับ –

เทียบเบอร์รองเท้า EUR

ไซส์รองเท้า EUR มีที่มาจากมาตรฐานหน่วยวัดความยาวรองเท้าที่เรียกว่า “The Paris Point” ที่คิดค้นในประเทศฝรั่งเศสช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และกลายเป็นมาตรฐานของเบอร์รองเท้าทั่วยุโรป จึงมีตัวย่อว่า EUR ที่ย่อมาจากชื่อทวีป Europe แม้บางครั้งเราอาจเห็นบางแบรนด์รองเท้าจากยุโรปใช้ตัวย่อว่า FR (France) หรือ GER (Germany) หรือ IT (Italy) แต่หลักการวัดเบอร์รองเท้าก็เป็นแบบเดียวกันคือ EUR นั่นเอง

– รองเท้า Belgian Loafers จาก Berwick ใช้ระบบ EUR คู่นี้เป็นไซส์ 43 EUR –

ที่มาของหน่วยวัด The Paris Point มาจากความยาวของรอยเย็บรองเท้า 1 ฝีเย็บ ที่มีความยาวประมาณ 2/3 เซ็นติเมตร หรือ 6.6667 มิลลิเมตร โดยเบอร์รองเท้า EUR จะเริ่มต้นที่ 15 ฝีเย็บ และมีวิธีคำนวณด้วยการเอา เบอร์รองเท้า EUR คูณกับ 6.6667 มิลลิเมตร ก็จะได้ความยาวของพื้นรองเท้าด้านใน (Insole Length) ของรองเท้าคู่นั้น ๆ ซึ่งควรจะยาวกว่าความยาวเท้าจริงของเรา (Foot Length) ประมาณ 15 มิลลิเมตร สรุปเป็นสูตรคำนวนได้ว่า

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า EUR
(ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 6.6667 

ตัวอย่าง : หากความยาวเท้าจริงของเราเท่ากับ 265 มิลลิเมตร เมื่อบวก 15 มิลลิเมตร แปลว่าเราควรจะใส่รองเท้าที่มีความยาวของพื้นในประมาณ 280 มิลลิเมตร ซึ่งไซส์ EUR ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือเบอร์ 42 (มาจากการคำนวณ (265+15)/6.6667 = 41.999 นั่นเอง)

– ความยาว 1 Paris Point Stitch เท่ากับประมาณ 6.6667 มิลลิเมตร (credit : sioux-shop.co.uk) –

CQP รุ่น RACQUET เบอร์ 41 EUR –

เทียบเบอร์รองเท้า UK

ข้อดีของเบอร์รองเท้า EUR คือความตรงไปตรงมาและคำนวณได้ง่าย ในขณะที่การ เทียบไซส์รองเท้า UK จะมีความซับซ้อนกว่า EUR ค่อนข้างมาก เพราะมีประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งแต่ยุคที่หน่วยวัดยังไม่ชัดเจนนัก และถูกปรับเปลี่ยนดัดแปลงเสริมรายละเอียดจนบางครั้งทำให้เรา “งง” เอาได้ง่าย ๆ ตำนานกล่าวว่า กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงบัญญัติให้ความยาวของเม็ดข้าวบาร์เลย์ (Barleycorn) จำนวน 3 เม็ดเรียงกัน จะมีขนาดเท่ากับความกว้างของนิ้วหัวแม่โป้งเฉลี่ยของชายชาวอังกฤษจำนวน 1 นิ้ว เป็นอีกหนึ่งที่มาของหน่วยวัด “นิ้ว” (Inch) หรือประมาณ 25.4 มิลลิเมตรในปัจจุบัน

เบอร์รองเท้า UK ขยับความยาวขึ้นเบอร์ละ 1 Barleycorn หรือประมาณ 8.46 มิลลิเมตร (credit sioux-shop.co.uk)

รองเท้า Carmina Shoemaker จากสเปน ใช้ระบบไซส์ UK คู่นี้ขนาด 8.5 UK

เบอร์รองเท้า UK แต่ละเบอร์จะมีความยาวเพิ่มขึ้นเบอร์ละ 1 Barleycorn หรือ 1/3 นิ้ว เทียบได้ประมาณ 8.46 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าแต่ละเบอร์มีความยาวห่างกันค่อนข้างเยอะ ในช่วงปี ค.ศ. 1880 จึงมีการเพิ่มขนาด “ครึ่งเบอร์” เพื่อให้ความยาวของเบอร์รองเท้า UK ขยับขึ้นทีละ 4.23 มิลลิเมตรแทน ช่วยทำให้ไซส์ UK ละเอียดขึ้น

รองเท้า Crockett & Jones รุ่น Cavendish 2 ไซส์ 8 UK มีความยาว Insole 280 มิลลิเมตร

เบอร์รองเท้า UK สำหรับผู้ชายจะเริ่มต้นที่ “ไซส์เด็ก” ก่อน (UK Child Size) โดยเริ่มที่เบอร์ศูนย์ (ประหลาดมาก) หรือ 0 UK Child Size ซึ่งจะมีความยาวของพื้นรองเท้าด้านใน (Insole) ที่ 12 Barleycorns หรือประมาณ 101.6 มิลลิเมตร แล้วเพิ่มไปเรื่อย ๆ จนถึงเบอร์ 13.5 UK Child Size ที่มีความยาวพื้นในประมาณ 220 มิลลิเมตร ซึ่งเมื่อถึงเบอร์ 13.5 UK สำหรับเด็กนี้เอง ระบบไซส์ UK จะปรับให้เทียบเท่ากับเบอร์ 0 สำหรับผู้ใหญ่ หรือ 0 UK Adult Size (เพื่อ!!??) จากนั้นก็เพิ่ม Barleycorn ไปเรื่อย ๆ เช่นเดิม จนถึงเบอร์ 14 UK Adult Size ที่จะมีความยาวพื้นรองเท้าด้านในประมาณ 330 มิลลิเมตร

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า UK ผู้ใหญ่ (สำหรับผู้ชาย)
(((ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 25.4) x 3) – 25 

ตัวอย่าง : หากความยาวเท้าจริงของเราเท่ากับ 265 มิลลิเมตร เมื่อบวกอีก 15 มิลลิเมตร แปลว่าเราควรจะใส่รองเท้าที่มีความยาวของพื้นในประมาณ 280 มิลลิเมตร ซึ่งไซส์ UK ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือเบอร์  8 UK Adult Size (มาจากการคำนวณ (((265+15)/25.4) x3) -25 = 8.07 นั่นเอง)

เทียบเบอร์รองเท้า US

เบอร์รองเท้า US ใช้พื้นฐานการวัดมาจากเบอร์รองเท้า UK เป็นหลัก อีกทั้งมีการแบ่งเป็นเบอร์เด็กและเบอร์ผู้ใหญ่เช่นกัน แตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่เบอร์รองเท้า US จะเริ่มต้นที่เบอร์ 1 US Child Size ที่มีความยาว 13 15/16 นิ้ว (เทียบเท่า 15 EUR) ส่วนไซส์ผู้ใหญ่เริ่มต้นที่ 1 US Adult Size มีความยาวพื้นในที่ 7 13/16 นิ้ว หรือราว 194.7 มิลลิเมตร จากนั้นเพิ่มทีละครึ่งไซส์ด้วยการเพิ่มความยาว 4.23 มิลลิเมตร ต่อครึ่งไซส์ ใกล้เคียงกับระบบ UK

สูตรคำนวณหาเบอร์รองเท้า US ผู้ใหญ่ (สำหรับผู้ชาย)
(((ความยาวเท้าจริง (หน่วยมิลลิเมตร) + 15) / 25.4) x 3) – 24 

ตัวอย่าง : หากความยาวเท้าจริงของเราเท่ากับ 265 มิลลิเมตร เมื่อบวกอีก 15 มิลลิเมตร แปลว่าเราควรจะใส่รองเท้าที่มีความยาวของพื้นในประมาณ 280 มิลลิเมตร ซึ่งไซส์ US ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือเบอร์  9 US Adult Size (มาจากการคำนวณ (((265+15)/25.4) x3) -24 = 9.07 นั่นเอง)

รองเท้า Alden ระบุไซส์เป็นระบบ US คู่นี้ไซส์ 9 US ความกว้างส้นรองเท้า B และความกว้างตัวรองเท้า D

ด้วยความที่ระบบ UK กับ US มีวิธีวัดที่ใกล้เคียงกัน ทำให้มีหลักการง่าย ๆ ที่นิยมใช้กันก็คือการเอาเบอร์รองเท้า UK ของตัวเอง “บวก  1” ก็จะได้เป็นเบอร์รองเท้า US ไปเลย แต่ MenDetails ต้องขอหมายเหตุเล็กน้อยว่า “มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น” เพราะบางแบรนด์อาจมีการเทียบไซส์ที่แตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์รองเท้าหนัง Edward Green ของอังกฤษ ที่จะบวกเบอร์รองเท้า US เพียงแค่ 0.5 จากเบอร์รองเท้า UK ของพวกเขาเท่านั้น ดังนั้นเราต้องพิจารณาแยกกันไปเป็นแบรนด์ต่อแบรนด์ด้วยนะครับ

Charles F. Brannock ผู้คิดค้นเครื่องมือวัดเท้า Brannock Device ที่กลายเป็นมาตรฐานให้เบอร์รองเท้า US ในปัจจุบัน

วิธีการหาเบอร์รองเท้า US อีกวิธีหนึ่งคือการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Brannock Device ที่คิดค้นโดย Charles F. Brannock ซึ่งมีประโยชน์ในการหาความยาวของเท้า รวมทั้งความกว้างเพื่อเทียบเป็นเบอร์ US ได้อย่างเป็นมาตรฐานตามแบบที่แบรนด์รองเท้าจากฝั่งสหรัฐอเมริกายึดถือ แต่หากใครไม่มี หรือหาเครื่องมือนี้ไม่ได้ การเทียบเคียงด้วยสูตรข้างต้นที่ MenDetails นำมาฝาก ก็ช่วยให้เราสามารถเทียบเบอร์รองเท้า US คร่าว ๆ ได้ดีพอสมควรแล้วครับ

สไตล์ของรองเท้ามีส่วนกับความยาวพื้นในเช่นกัน

ถึงแม้ตัวเลขที่เราคำนวณได้จากสูตรอาจจะแม่นยำและเป็น “มาตรฐานสากล” ก็จริงอยู่ แต่เมื่อเราวัดความยาวของพื้นด้านในของรองเท้าแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ “จากตัวรองเท้าจริง ๆ” เราจะพบว่ารองเท้ายี่ห้อเดียวกัน เบอร์เดียวกัน แต่ถ้าหากใช้หุ่นรองเท้าคนละหุ่นกัน ความยาวรวมของ Insole อาจไม่เท่ากัน ซึ่งสิ่งที่กำหนดเรื่องนี้คือ “สไตล์การใช้งาน” ของรองเท้าแต่ละแบบ

รองเท้า Loafers จาก Alden ที่ใช้ last Aberdeen มักจะมีความยาวของ Insole ที่ “ตรงสูตรมาตรฐาน”

ยกตัวอย่างเช่น ที่เบอร์รองเท้าเท่ากัน รองเท้าประเภท Sneakers หรือรองเท้าหนังแบบสวมในสไตล์ Loafers ที่มีความลำลอง ได้รับการออกแบบให้เหมาะกับการใส่กับกางเกงชีโน่ หรือ กางเกงยีนส์ พื้นด้านในของรองเท้าสไตล์นี้มักจะใกล้เคียงกับตัวเลขที่เราคำนวณได้จากสูตรข้างต้น แต่ในทางกลับกัน รองเท้าประเภท Oxfords ที่ดูสุภาพและเป็นทางการกว่า อาจจะมีความยาวของ Insole ที่ยาวกว่า Loafers เพื่อให้เท้าดูเรียวยาวกว่า และเหมาะกับการใส่กับชุดสูทมากกว่า แต่ที่สำคัญความยาวของรองเท้าจะยาวขึ้นเฉพาะตรงปลายหัวรองเท้า ในขณะที่ช่วงอื่นของรองเท้าซึ่งมีผลต่อ fitting จะคงรูปแบบที่ใกล้เคียงกันครับ

รองเท้าประเภท Sneakers มักให้ความยาว insole ที่ “ตรงตามมาตรฐาน” แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางรุ่นอย่าง Onitsuka Tiger ‘Mexico 66 Nippon Made’ ที่ทำหัวรองเท้าให้ยื่นยาวมากกว่าเดิมอีกเล็กน้อยเพื่อเป็นสไตล์เฉพาะตัว

ครบถ้วนเรียบร้อยสำหรับการ เทียบเบอร์รองเท้า ตามความยาวเท้า จากต่างระบบไซส์ ตั้งแต่ EUR ถึง UK และ US ซึ่ง MenDetails เชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการหา “ความยาวเท้าจริง” ของเราให้ได้เสียก่อน เพื่อนำไปเปรียบเทียบว่าเราควรจะใส่รองเท้าขนาดใดกันแน่ และถ้าจะให้ปลอดภัยจริง ๆ ควรจะได้ลองสวมใส่รองเท้าตัวจริงเพื่อเช็คฟิตติ้งอีกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อนะครับ

ข้อควรระวังอย่างหนึ่งสำหรับผู้ชายไทยและชาวเอเชียตะวันออกส่วนใหญ่ คือเรื่องของ “ความกว้างของรองเท้า” เพราะการที่พวกเรามักมีเท้าที่ค่อนข้าง “บาน” และ “แบน” เมื่อเทียบกับรูปร่างเท้าของคนตะวันตก ในขณะที่เบอร์รองเท้าที่เป็นตัวเลข ไม่ว่าจะเป็น EUR, UK หรือ US คือการบอกเพียง “ความยาวของเท้า” เท่านั้น

รูปเท้าที่กว้าง อาจทำให้เราต้องผูกเชือกรองเท้าหนังประเภท Derbyให้ห่างออกจากกันพอสมควร แต่ถ้าเพิ่มไซส์ รองเท้าก็ยิ่งดูยาวกว่าเดิมอีก ต้องดูสัดส่วนให้ดี ก่อนตัดสินใจซื้อด้วยนะครับ

ดังนั้นหากความยาวของรองเท้าที่เราเลือกนั้นถูกต้อง แต่ใส่แล้วยังรู้สึกคับแน่นไม่สบายที่ด้านกว้างหรือตรงหน้าเท้า นั่นแปลว่าเท้าเราบานหรืออ้วนกว่าขนาดปกติของหุ่นรองเท้านั้น ข้อแนะนำที่ถูกต้องคือให้เราหาวิธีขยายความกว้างออก โดยที่ความยาวควรจะอยู่เท่าเดิม ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่ “ยาวเกินไปจนดูเหมือนมีเรือหางยาวอยู่ที่เท้า” และในคราวหน้าเราจะมาพูดถึงความกว้างของรองเท้ากันอีกครั้ง ครั้งนี้เฉพาะเรื่อง “ความยาว” ก็ละเอียดสุด ๆ แล้วครับ MenDetails หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับคนที่กำลังตัดสินใจซื้อรองเท้ากันทุกคนนะครับ

[Update] PANTIP.COM : H9887333 ขอคำแนะนำเกี่ยวกับ Postgrad ใน UK ที่เปิด Distance Learning ด้าน Management หน่อยค่ะ [ศึกษาต่อต่างประเทศ] | uk ย่อมาจาก – NATAVIGUIDES

ความคิดเห็นที่ 5

ขออนุญาตเสริม คห. 4 นะคะ

Postgraduate study หรือ Postgraduate ใช้เรียกการเรียนในระดับหลังปริญญาตีค่ะ
คำว่า Post- แปลว่า หลัง ค่ะ graduate แปลว่า จบการศึกษา ค่ะ
ดังนั้น รวมกันแล้วจึงแปลว่า หลังจบการศึกษา ซึ่งในที่นี้คือ หลังจบการศึกษาปริญญาตรี ค่ะ

คำว่า Postgraduate student (นักศึกษาบัณฑิตศึกษา) นั้น จะใช้เรียกในประเทศอังกฤษ หรือเครือสหราชอาณาจักร (United Kingdom, UK) รวมถึงประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ค่ะ

ส่วนในอเมริกาจะเรียกนักศึกษาปริญญาโท/เอกว่า Graduate student ค่ะ

ดังนั้น การเรียนระดับ Postgraduate จะหมายถึงการเรียนในระดับปริญญาโท (Master’s degree) และระดับปริญญาเอก (Doctorates) ค่ะ

แต่ก็ยังอาจรวมถึงการเรียน Postgraduate Certificate (เรียนประมาณ 6 เดือน) และ Postgraduate Diploma (เรียนประมาณ 1 ปี) ด้วยค่ะ ซึ่งใน 2 อันหลังนี้จะเป็นการเรียนหลังปริญญาตรีที่ได้วุฒิต่ำกว่าปริญญาโท แต่ถือเป็นการเรียนที่สูงกว่าปริญญาตรีค่ะ การเรียกชื่อ ควรเติมคำว่า Postgraduate นำหน้าด้วย เพื่อให้ทราบว่าเป็น Cert. หรือ Dipl. ในระดับ Postgradute ค่ะ เพราะบางครั้ง Certificate อาจหมายถึงเรียนในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีก็มีค่ะ รวมถึง Diploma บางแห่งเป็นการเรียนในระดับอนุปริญญา (ยังไม่ถึงปริญญาตรี) แต่เป็นใบเบิกทางเพื่อให้เข้าสู่การเรียนปริญญาตรี ค่ะ

ดังนั้น พอจะพูดว่าเป็น Cert. อะไร หรือ Dipl. อะไร บางครั้งจำเป็นต้องเติมคำว่า Postgraduate Certificate หรือ Postgraduate Diploma ด้วยค่ะ

อย่างไรก็ดี ในบางมหาวิทยาลัยดังๆ จะมี Diploma ที่เป็นระดับ Postgraduate เท่านั้น ไม่มีระดับที่เป็นอนุปริญญาตรี ถ้าใส่วุฒิว่า Diploma (เขียนย่อว่า Dipl.) คู่กับชื่อมหาวิทยาลัยนั้นๆ คนวงใน เขาจะรู้กันเอง ว่าเป็นระดับ Postgraduate Diploma โดยไม่ต้องใส่คำว่า Postgradute นำหน้าก็ได้ค่ะ

การเรียนในระดับนี้จะเรียนใน Graduate School หรือภาษาไทยแปลว่า บัณฑิตวิทยาลัย ค่ะ ในบางประเทศได้แยก Graduate School ออกมาจากคณะวิชา (Faculty) หรือ School ทั่วๆ ไปที่ใช้สอนระดับปริญญาตรีไปเลยค่ะ

เช่น ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์  นักศึกษาจะสังกัด Faculty of Engineering
     ปริญญาโท/เอก    นักศึกษาจะสังกัด Graduate School of Engineering เป็นต้น

สำหรับการเรียนปริญญาโทนั้น วุฒิที่ได้ก็มักขึ้นต้นด้วยคำว่า Master of…… เช่น
Master of Science ในอเมริกาย่อว่า M.S. ในเกาะอังกฤษหรือประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ย่อว่า M.Sc.

Master of Arts ย่อว่า M.A. (ทั้งใน US และ UK รวมถึงประเทศอื่นๆ)

Master of Business Administration ย่อว่า M.B.A. (ทั้งใน US และ UK รวมถึงประเทศอื่นๆ)

Master of Engineering ย่อว่า M.E. (ใน US) หรือ M.Eng. ในประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น หรืออื่นๆ

หรือ Master of Philosophy ซึ่งเป็นการเรียนปริญญาโท ที่เน้นการทำวิจัย มีชื่อย่อปริญญาว่า M.Phil. ซึ่ง M.Phil. นี้จะมีเฉพาะใน UK, ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และบางประเทศในยุโรป แต่ใน US ไม่มี M.Phil. เพราะได้มอบปริญญาโท เป็นทางเฉพาะไปแล้ว ดังที่กล่าวข้างต้น เช่น M.S., M.E., M.A., M.B.A. และ Master of….. อื่นๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ชื่อวุฒิปริญญาโท ยังมีอีกหลากหลายนะคะ ขึ้นกับประเทศนั้นๆ ด้วย เพราะบางประเทศในยุโรปที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดหลัก ก็จะใช้วุฒิที่เป็นภาษาประเทศเขา เช่น วุฒิ M.S. หรือ M.Sc. ในเยอรมันก็ใช้ตัวย่อว่า M.Sc.rer.nat. เป็นต้น ค่ะ

นอกจากนี้ยังมีข้อยกเว้น พิเศษ อื่นๆ อีกเช่น ใน Harvard University ใช้ชื่อย่อปริญญาที่จะอ้างอิงภาษาลาตินเป็นหลัก ดังนั้น คุณจะแปลกใจว่าทำไม คนจบจาก Harvard U ทำไมถึงมีชื่อย่อปริญญาแบบแปลกๆ หรือไม่เหมือนชาวบ้าน เช่น
A.B. เป็นวุฒิปริญญาตรี ย่อมาจาก artium baccalaureus

ส่วนระดับปริญญาโท อาจจะเป็น A.M. หรือ AM ย่อมาจาก Artium Magister
                                         S.M. หรือ SM ย่อมาจาก Scientiae Magister

ส่วนวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาเอก (Doctorates) นั้น ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ หรือ English speaking countries

วุฒิที่มอบให้ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อว่า Doctor of Philosophy  ซึ่งมีชื่อย่อว่า PhD หรือ Ph.D. ซึ่งจริงๆ คำนี้ มาจากรากศัพท์ภาษา ลาติน คือ Philosophiae Doctor
บางมหาวิทยาลัยในอังกฤษ เช่น University of Oxford มอบปริญญานี้ในชื่อย่อว่า D.Phil. ค่ะ ส่วนใน Harvard U ก็จะใช้รากศัพท์จากลาติน จึงอาจเป็น S.D. หรือ A.D. อะไรแบบนี้ค่ะ

ในบางมหาวิทยาลัยหรือในประเทศวุฒิปริญญาเอก อาจให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละด้านลงไปเลยก็มี เป็น D.Sc., D.A., Dr.Sc.Ag.  เป็นต้น ค่ะ

จริงๆ ชื่อปริญญาในระดับ Postgraduate นั้นมีหลากหลายค่ะ ขึ้นกับมหาวิทยาลัยหรือประเทศด้วยค่ะ แต่พอยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้น คือชื่อที่เราพบเห็นได้ทั่วไป และข้อยกเว้นที่ควรรู้ค่ะ

ว๊า ต้องไปซะแล้ว เพราะเดี๋ยวจะมีหนุ่มหล่อน่ารักสุดแมนเท่ห์ นักบาสฯ มหาวิทยาลัย กับหนุ่มนักฟุตบอลสุดหล่อ เท่ห์ มาชวนไปดูหนัง มันไม่งามค่ะ เราเป็นหญิงไทย แย้มต้องหลบก่อนดีกว่า เพราะเราเป็นหญิงไทยจะไปไหนกับชายหนุ่ม 2 ต่อสองเขาจะหาว่าเรา 11 ร.ด. บ้าง เป็น รา (ใส่ นอ หนู เติมไม้เอกบ้าง) แย่จริงๆ เฮ้อ แต่แย้มก็ต้องรักนวลสงวนตัวนะคะ เพราะเราก็เป็นหญิงไทย มากสุด เราก็แสดงออกได้แค่ในเนตนะคะ คริ คริ

จากคุณ
:
คุณหญิงแย้ม ณ นางทาส (คุณหญิงแย้ม ณ นางทาส)

เขียนเมื่อ
:
7 พ.ย. 53 21:46:50



ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ uk ย่อมาจาก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *