Skip to content
Home » [Update] Tony Hsieh เจ้าของ Web E-Commerce ระดับโลกสายเลือดเอเชีย | zappos คือ – NATAVIGUIDES

[Update] Tony Hsieh เจ้าของ Web E-Commerce ระดับโลกสายเลือดเอเชีย | zappos คือ – NATAVIGUIDES

zappos คือ: คุณกำลังดูกระทู้

 

Tony Hsieh เจ้าของ Web E-Commerce ระดับโลกสายเลือดเอเชีย

 

 

 

       เอ่ยชื่อ Zappos บ้านเราอาจไม่ค่อยคุ้นแต่สำหรับในอเมริกา Zappos เป็นที่รู้จักอย่างดีในฐานะ Website

E-Commerce ขายรองเท้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นเว็บขายสินค้าออนไลน์หนึ่งในไม่กี่เจ้าในโลกที่จัดส่งสินค้าฟรีทั้งตอนขายและตอนเคลมกรณีลูกค้าสวมรองเท้าไม่ได้และขอเปลี่ยนสินค้า!

 

       ความยิ่งใหญ่ของ Zappos เป็นที่น่าสนใจสำหรับคนเอเชียเพราะเจ้าของซึ่งเป็น Co-Founder และ CEO ชื่อ 

Tony Hsieh (โทนี่ เชย์; Hsieh = Shay) เป็นชาวไต้หวันสายเลือดเอเชียแท้ๆ ที่ไปประสบความสำเร็จระดับโลกอยู่ในอเมริกา Web E-Commerce ที่เติบโตจี้หลังยักษ์ใหญ่เจ้าที่เจ้าทางอย่าง Amazon และ eBay จนกระทั่งขาใหญ่อย่าง Amazon อยู่เฉยไม่ได้ต้องออกโรงขอเจรจาซื้อกิจการกับ Zappos เพื่อรักษาความเป็นมหาอำนาจทางธุรกิจ Web

E-Commerce โดย Amazon จ่ายเงินซื้อ Zappos ไปในราคา 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2010 ซึ่ง ณ ขณะนั้นทาง Zappos เองมียอดขายหรือ Gross sales แตะหลัก 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี หลังการซื้อกิจการ Zappos, Amazon ยินดีและยินยอมให้ Tony Hsieh นั่งเก้าอี้ CEO บริหารกิจการต่อไปตามคำขอ

 

       แต่ย่อหน้าประโยคย่อๆ เกี่ยวกับ Tony Hsieh และ Zappos ข้างต้นยังไม่ครอบคลุมเศษเสี้ยวความมันส์ของชีวิต ฉะนั้นบทความนี้ผมขอจัดเต็มพาทัวร์เส้นทางชีวิตจากคนกล้าฝันสู่สุดยอดเจ้าของ Web E-Commerce ระดับโลกสายเลือดเอเชียที่มีความสำคัญยิ่งในการศึกษาไว้เป็นแนวทางครับ

 

Tony Hsieh เริ่มทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 9 ขวบ!

 

       ถึงแม้ทางบ้านเขาจะมีค่านิยมไม่ต่างจากครอบครัวชาวเอเชียทั่วไปคืออยากให้ลูกหลานเรียนหนังสือเยอะๆ เรียนพิเศษเยอะๆ เรียนภาษา เรียนดนตรี เรียนนู่นนี่นั่นและกำหนดชีวิตลูกล่วงหน้าว่าจะให้เรียนต่อกฎหมาย ต่อทนาย การแพทย์ ต่อวิศวะ ฯลฯ เพื่อจะได้จบไปทำงานมีหน้ามีตำแหน่ง (และเป็นลูกจ้าง) แต่ Tony Hsieh ไม่เห็นด้วย แนวคิดนี้มันสวนทางหัวใจที่อยากเป็นนักธุรกิจในจิตใต้สำนึกลึกๆ ของเขาแต่เด็กและก็นับเป็นโชคดีในแง่ที่ว่าถึงแม้ทางบ้านจะวางแผนชีวิตไว้ให้แต่ก็ไม่ได้ขัดใจหาก Tony อยากจะลองทำอะไรใหม่ๆ ของตัวเองเพราะถือว่าเป็นการให้ลูกได้เรียนรู้และฝึกให้มีประสบการณ์ชีวิต

 

       ตอน 9 ขวบผมว่าผมยังเล่นวิ่งไล่จับกับนัดเชียร์เพื่อนต่อยกันหลังโรงเรียนอยู่เลย แต่สำหรับ Tony Hsieh เขาคิดอยากทำธุรกิจและเริ่มลงมือทำตั้งแต่อายุ 9 ขวบซึ่งเทียบเท่ากับยังเป็นนักเรียนชั้นประถมตอนกลาง เขาเริ่มทำกิจการฟาร์มไส้เดือนเล็กๆ ที่สวนหลังบ้านโดยการขอเงินพ่อแม่จำนวน 33.45 เหรียญฯมาลงทุนซื้อกล่องสำหรับใส่โคลนและไส้เดือนมาเพาะในกล่อง ใต้กล่องจะมีรูไว้ระบายความชื้นและของเสีย ส่วนอาหารไส้เดือนคือไข่แดงสด เขาเพาะเลี้ยงอยู่ 1 เดือนก่อนที่จะลงมือตรวจสอบว่าไส้เดือนมีการขยายพันธุ์หรือไม่ แต่ผลปรากฏว่าพวกมันหลบหนีไปตามรูระบายความชื้นหายลงแผ่นดินไปหมด กิจการฟาร์มไส้เดือนเจ๊ง ณ บัดนั้น ประสบการณ์ชีวิตครั้งแรกในการทำธุรกิจแล้วเจ๊งภายใน 1 เดือนตอนอายุ 9 ขวบ

 

       หลังจากนั้นมาเขาก็เริ่มคิดหาแนวทางทำธุรกิจแบบอื่นๆ เช่น Mail Order พวกของชำร่วย และตอนเรียนต่อมหาวิทยาลัยเขาก็ลงทุนกับเพื่อนในการซื้อพิซซ่าถาดใหญ่มาแบ่งขายเป็นส่วนให้ในหอพักนักศึกษาซึ่งสิ่งที่เขาทำในเวลาต่อมาทำกำไรให้เขาได้อย่างมาก

 

       ก่อนที่ผมจะข้ามไปช่วงหลังเรียนจบ ประเด็นสำคัญที่จะไม่เล่าไม่ได้เลยคือช่วงที่ Tony Hsieh เรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายเขาได้แอบใช้ห้อง Computer Lab ของโรงเรียนสร้างระบบตัวหนึ่งขึ้นมาซึ่งมีการทำงานคล้าย กระดานข้อความสำหรับโพสต์เนื้อหา และแชร์ข้อความกันได้ภายในเน็ตเวิร์คคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน เขาทำขึ้นเพื่อสำหรับนักเรียนใช้แบ่งปันข้อมูล ความรู้และแนวข้อสอบ ต่อมาเขาถูกครูจับได้และสั่งห้ามเข้าใช้ห้อง Computer Lab เจ้ากระดานโพสต์ข้อความตัวนี้ผมรู้สึกว่ามันมีคอนเซปท์คล้ายๆ กับ Social network อย่าง Facebook และ Hi5 จึงอาจกล่าวได้ว่าต้นกำเนิด Social network อาจมาจากเอเชียเพียงแต่มันไม่ได้ถูกนำไปพัฒนาต่อในทางธุรกิจนั่นเอง

 

บริษัทเทคฯระดับโลกจ่อจ้างงาน Tony Hsieh ทันทีที่เรียนจบ

 

       ปี 1997 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดของรุ่น Tony Hsieh บริษัทต่างๆ ได้ส่งทีมรับสมัครงานมาเปิดบูธรับสมัครนักศึกษาใกล้จบถึงภายในมหาวิทยาลัย นักศึกษาใกล้จบส่วนใหญ่เลือกที่สมัครงานกับบริษัทการเงินและบริษัทที่ปรึกษาซึ่งเป็นอาชีพมาแรงในอเมริกาในสมัยนั้น แต่ Tony มองว่ามันเป็นอาชีพน่าเบื่อ เขาและคู่หูร่วมหอ, Sanjay, จึงกอดคอกันไปตระเวนสมัครบูธบริษัทแนวไอที (Information Technology) และลงเอยกับบริษัทซอฟต์แวร์ระดับโลก… Oracle

 

       Tony รู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จในชีวิตกับการได้รับเข้าทำงานในตำแหน่ง Software Engineer กับบริษัทเทคฯแนวหน้าอย่าง Oracle พร้อมผลตอบแทนปีละ 40,000 เหรียญฯ ซึ่งถึงว่าสูงมากสำหรับนักศึกษาจบใหม่ในสมัยปี 1997 แต่หลังจากเริ่มทำงานไปสักพักเขากลับรู้สึกว่า “มันไม่ใช่”

 

       เขาทำงานเพียง 6 ชั่วโมงต่อวัน เริ่มงาน 10 โมงเช้า พัก 1 ชั่วโมงและเลิกงานตอน 4 โมงเย็น หน้าที่ตาม Job description คือ QA หรือ System Quality Assurance แต่การทำงานในภาคปฏิบัติคือทุกเช้าจะเปิดเครื่องเดินโปรแกรมทดสอบระบบซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จะเป็นตัวดำเนินการทดสอบระบบด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติและเขาเพียงมีหน้าที่นั่งเฝ้าการทำงานของเครื่องทดสอบระบบอีกที!

 

       การทดสอบระบบใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ดังนั้นเขาจะต้องนั่งเฝ้าเครื่องประมาณวันละ 2-3 test ก็จบการทำงาน…Tony คิดว่า งานนี้มันโครตน่าเบื่อเลย เขาควรจะต้องหาอะไรทำนอกเวลางานเสียแล้ว

 

สัญชาติญาณผู้ประกอบการส่งเสียงก้องออกมาจากจิตใต้สำนึก

 

       Tony Hsieh ทนทำงานแบบนี้ต่อไปไม่ไหว เขาเริ่มต้นวางแผนทำงานเสริมนอกเวลาที่เกี่ยวกับไอที เขาปรึกษากับ Sanjay เพื่อนซี้ร่วมหอพักนักศึกษาซึ่งตอนนี้มาร่วมหอพักในฐานะคนวัยทำงานบริษัทเดียวกันและตกลงจะลองทำธุรกิจออกแบบเว็บไซต์เพราะสมัยนั้น World Wide Web กำลังมีบทบาทสำคัญและใครๆ ก็พูดถึงการมีเว็บไซต์

 

       เขาเปิดธุรกิจรับออกแบบเว็บไซต์อิสระเล็กๆ ในหอพักโดยตระเวนโทรศัพท์หาหน่วยงานราชการเพื่อเสนอขอออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ให้ฟรีโดยหวังจะเอาผลงานจากลูกค้าเหล่านั้นมาเป็น Portfolio เพื่อเสนองานกับเอกชนต่อไป Tony ใช้เวลาหลังเลิกงานทุ่มเทให้กับธุรกิจออกแบบเว็บไซต์อย่างหนักจนเริ่มประสบผลและได้รับสัญญาจ้างออกแบบและดูแลเว็บไซต์ให้ลูกค้าเอกชน สัญญาแรกได้เงินก้อนถึง 2,000 เหรียญฯ และภายในเดือนที่ 5 ของการทำงานที่ Oracle เขาก็ตัดสินใจลาออกมาทำธุรกิจของตัวเองอย่างเต็มตัว

 

       แต่หลังจากที่ Tony และ Sanjay ลาออกมาทำธุรกิจออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เต็มตัวสักพักเขาก็เริ่มเบื่อกับงานแบบ Active income ที่ต้องวิ่งเต้นอยู่ตลอดเวลา เขาอยากที่จะเป็นนักลงทุนและนักบริหารที่เป็นทั้งหัวเรือและหางเสือกำหนดทิศทางธุรกิจให้คนอื่นไปทำตามที่เขาวางแผน เขาจึงค่อยๆ ลดบทบาทและเลิกกิจการออกแบบเว็บไซต์และหันไปทดลองทำธุรกิจตัวใหม่ชื่อ Link Exchange

 

 

 

Tony Hsieh เจ้าของ Web E-Commerce ระดับโลกสายเลือดเอเชีย

 

 

 

Link Exchange ต้นกำเนิด CPA (Cost per Audience)

 

       Link Exchange ถือกำเนิดในปี 1997 และช่างเป็นเรื่องบังเอิญเสียเหลือเกินเพราะเป็นปีเดียวกับที่ Larry Page และ Surgey Brin ทิ้งการเรียนจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดมาก่อตั้งโครงการGoogle Search Engine! สองเหตุการณ์สำคัญในโลกไอทีเกิดขึ้นในเวลาไล่ๆ กันแต่ต่างสถานที่

 

       ในสมัยนั้น World Wide Web เริ่มเป็นที่นิยมและมีเว็บไซต์ใหม่เกิดขึ้นมากมายแต่ยังไม่มีระบบการจัดการเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จักหรือค้นหาได้ง่าย Link Exchange จึงสร้างขึ้นมาเพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ สมัครเป็นสมาชิกในเครือข่าย (network) Link Exchange และนำป้ายโฆษณาหรือ banner ad ของ Link Exchange ไปติดไว้ในหน้าเว็บไซต์ของเจ้าของเว็บนั้นๆ ทุกครั้งที่มีคนเข้าเว็บไซต์และเห็น banner ของ Link Exchange ทางเจ้าของเว็บไซต์จะได้คะแนน Audience คล้ายกับ CPA ในปัจจุบันเพียงแต่ผลตอบแทนไม่ใช่เงิน สมมุติมีคนเห็น banner เดือนละ 1000 views ทางเจ้าของเว็บไซต์จะได้คะแนน Audience 500 หน่วย ส่วนทาง Link Exchange จะเก็บไว้เอง 500 หน่วย (เก็บไว้ทำอะไรเดี๋ยวบอก) ต่อมาเจ้าคะแนน Audience 500 หน่วยของเจ้าของเว็บไซต์สมาชิกจะถูกนำแปลงเป็น banner ของเว็บไซต์นั้นๆ และนำไปแสดงผลยังเว็บไซต์อื่นๆ ภายในเครือข่ายสมาชิกเว็บภายใต้ Link Exchange จำนวน 500 ครั้ง เป็นการสร้าง reach และส่ง traffic ไปมาซึ่งกันและกันของเว็บไซต์ต่างๆ นั่นเอง

 

       ระบบนี้สร้างความพอใจให้เจ้าของเว็บเป็นอย่างมากเพราะ 1. เป็นการโปรโมทเว็บไซต์ฟรีๆ  2. ช่วยสร้าง traffic เข้าเว็บฟรีๆ เพราะสมัยนั้นโลกยังไม่มี search engine ประสิทธิภาพสูงมาช่วยสร้าง search traffic เหมือนในปัจจุบัน ประโยชน์ดังกล่าวจึงนับว่ามากพอที่จะทำให้ Link Exchange ถูกกล่าวขานแบบปากต่อปากออกไปเป็นไฟลามทุ่งและมีคนแห่มาสมัครใช้บริการอย่างล้นหลาม ส่วนคะแนน Audience อีกครึ่งหนึ่งที่ทาง Link Exchange แบ่งเก็บไว้ใช้ทำอะไร Tony และ Sanjay บอกว่าจะเก็บไว้เป็นโค้วต้าเพื่อขายหน่วยโฆษณาให้กับเจ้าของเว็บไซต์ที่ต้องการลงโฆษณากับเครือข่าย Link Exchange!

 

       แต่ยังไม่ทันที่ Tony และเพื่อนรักจะเริ่มทำกำไรมากมายจาก Link Exchange พวกเขาก็ถูกติดต่อขอซื้อเว็บไซต์จากนักลงทุน ทั้งนักลงทุนอิสระที่เสนอเงินให้ 1ล้านเหรียญฯตอนที่ Link Exchange มีอายุเพียง 5 เดือนแต่พวกเขาปฏิเสธ และอีกหนึ่งปีต่อมา (หลังเปิด Link Exchange) พวกเขาก็ถูกติดขอซื้อเว็บไซต์จากบริษัท Yahoo และ Microsoft สุดท้ายปิดดีลที่ 265 ล้านเหรียญ โดย Tony ตัดสินใจขายเว็บไซต์ Link Exchange ให้แก่ Yahoo ในปี 1998 เขาตั้งใจจะนำเงินก้อนมาต่อยอดทำธุรกิจแนว Venture Capital หรือ กิจการร่วมทุน หรือ วานิชธนกิจ ให้กับนักธุรกิจใหม่

 

Zappos มาแล้ว!

 

       Zappos หรือ แซปโปส ก่อตั้งในปี 1999 โดยชื่อเรียกแรกเริ่มคือ Zapos มาจากภาษาสเปน Zapatos ที่แปลว่า รองเท้า แต่ Tony เห็นว่ามันฟังดูผูกมัดกับตัวสินค้าเกินไปและเสี่ยงต่อการอ่านผิดเป็นเซ-โปส เขาจึงเติม ‘p’ ขั้นกลางให้อ่านเป็น แซป-โปส

 

       กิจการขายรองเท้าออนไลน์เป็นไอเดียของบัณฑิตหนุ่มจบใหม่ไฟแรง Nick Swinmurn กำลังมองหานายทุนวานิชธนกิจ (Venture Capitalist) มาสนับสนุนไอเดียการทำ web e-commerce ขายรองเท้าออนไลน์ของเขา ตอนแรก Tony เกือบจะไม่สนใจเพราะเขาไม่เชื่อว่าจะมีใครซื้อรองเท้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต รองเท้าเป็นสินค้าที่ต้องสวมตามไซส์ถ้าไม่ได้ลองคงไม่มีใครยอมซื้อก่อนแน่นอน แต่เขาต้องหยุดฟังเมื่อ Nick เอาสถิติตัวเลขมาคุยว่าธุรกิจขายรองเท้าในสหรัฐฯในปี

1997-1998 อยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านเหรียญและ 5% ในยอดขายเป็นการสั่งซื้อทางไปรษณีย์หรือ Mail order ดังนั้นถ้าธุรกิจนี้มีฐานลูกค้าที่ซื้อขายทาง Mail order อยู่แล้วก็น่าจะเอามาทำเป็น E-Commerce ซื้อขายทำรายการผ่านทางอินเตอร์เน็ตและจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ได้เช่นกัน นอกจากนั้น Nick ยังได้ทำการแสดงยอดขายรองเท้าให้ดู ซึ่งยอดขายรองเท้าที่ Nick ทำอยู่ ณ ตอนนั้นไม่ได้มีกำไร เขาเพียงแต่ทดลองเปิดรับออเดอร์ทางอินเตอร์เน็ตและวิ่งไปซื้อรองเท้าจากหน้าร้านค้าปลีกเพียงเพื่อลองดูว่าแนวคิดเขามันใช้งานได้

 

       หลังการนัดพูดคุยและคิดทบทวนอยู่พักใหญ่ Tony Hsieh ตัดสินใจเอาด้วยกับธุรกิจ E-Commerce ขายรองเท้าออนไลน์และก่อตั้งกิจการ Zappos ในปี 1999 ตลอดช่วงเวลาก่อนก่อตั้งไปจนถึงหลังก่อตั้ง เส้นทางของ Zappos ไม่ได้สวยงามราบรื่นแต่มีอุปสรรคและปัญหามากมายกว่าจะทะลุกำแพงแห่งปัญหามายืนได้อย่างแข็งแกร่งซึ่งผมขอไล่เรียงคร่าวๆ ดังนี้

 

  • มกราคม 2000 : 

 

       กิจการไม่ทำกำไร นายทุนและธนาคารปฏิเสธการให้กู้ยืมและเพิ่มทุน Zappos กำลังจะเจ๊ง คนรอบข้างแนะนำให้ Tony ปิดกิจการ เขามองดูพนักงานที่กำลังหวาดกลัวและเขาได้ตัดสินใจที่จะไม่ทอดทิ้งกิจการและพนักงาน เขาขายทรัพย์สินส่วนตัว เช่น รถยนต์ คอนโด และกิจการเก่าๆ ที่เหลืออยู่แล้วเอาเงินเหล่านั้นมาทุ่มลงใน Zappos

 

  • ตุลาคม 2000 : 

 

       เศรษฐกิจสหรัฐฯ พังครืน ธุรกิจดอทคอมถูกกวาดออกจากสารบบ Zappos แทบหมดตัวและ Tony ต้องทำสิ่งที่เจ็บปวดที่สุดคือเลย์ออฟพนักงาน ส่วนตัวเขาเองลดเงินเดือนในตำแหน่ง CEO ของตัวเอง เหลือเดือนละ 2 เหรียญฯ!!

 

       Tony ทยอยขายทรัพย์สินส่วนตัวเพิ่มเติม จนกระทั่งมาถึงทรัพย์สินชิ้นสุดท้าย คือคอนโดส่วนตัวเพื่อนำเงินสดมาอุ้มกิจการ Zappos หากคราวนี้ล้มเหลว Tony จะกลายเป็นคนล้มละลายทันที

 

       Tony รักษากิจการผ่านไปได้สองปี ณ สิ้นปี 2002 ยอดขาย Zappos แตะ 30-40 ล้านเหรียญฯ แต่ยังไม่มีกำไร

 

  • ปี 2004 : 

 

       Tony ย้ายสำนักงานไปยัง Las Vegas และระดมทีมงานหัวกระทิ ทำระบบคลังสินค้า จัดส่ง และระบบ Customer Service แบบ renovate ใหม่หมด

 

       หลังจากย้ายไป Las Vegas ยอดขายเติบโตสู่ 160 กว่าล้านเหรียญในปี 2004 โทนี่ เชย์ เริ่มติดต่อนายทุนอีกครั้ง แต่นายทุนตั้งเงื่อนไขและข้อจำกัดมากเกินไปจนทำให้เขารู้สึกขาดอิสระในการทำงาน ข้อตกลงการเพิ่มทุนจึงถูกระงับไว้

 

  • ปี 2005 : 

 

       ยอดขาย Zappos กระโดดไปแตะ 300 ล้านเหรียญฯ ทำให้ประธานบริษัท และ Jeff Bezos ผู้บริหารใหญ่แห่ง Amazon.com ยกคณะตีตั๋วเครื่องบินไปพบ Tony ถึง Las Vegas ขอซื้อกิจการ Zappos แต่ตอนนั้น โทนี่ เชย์ กับ Zappos ผูกจิตกันแล้วเปรียบเสมือนเลือดเนื้อของกันและกัน Tony ปฏิเสธการขายกิจการให้ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon เขาบอกว่า ถ้า Zappos ไปอยู่กับคนอื่น แบรนด์ Zappos ก็จะล่มสลาย

 

  • ปี 2007 : 

 

       Zappos ทำยอดขายแตะ 800 ล้านเหรียญฯ เป็นครั้งแรกที่ธุรกิจมีกำไรเป็นกอบเป็นกำหลังจากเปิดกิจการมา 8 ปี!!

 

       Jeff Bezos แห่ง Amazon เห็นการเติบโตอย่างน่าทึ่งของ Zappos บริษัทคนเอเชียที่กำลังหายใจรดต้นคอ eBay และ Amazon เขาจึงเชื่อแล้วว่าพลังการเติบโตมาจากวัฒนธรรมการบริหารของคนเอเชียที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกิจการในระดับจิตใจ เขาจึงเข้าพบ Tony อีกครั้งโดยขอซื้อกิจการและยื่นข้อเสนอให้เขานั่งเก้าอี้เป็นผู้บริหารสูงสุดที่มีอำนาจ 100% เต็มใน Zappos — Tony จึงตอบตกลง!

 

ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่หลังจากต่อสู้ด้วยสติปัญญาอย่างไม่ย่อท้อ

 

       หลังจากฝ่ามรสุมโหดและการทำกิจการแบบไม่ค่อยจะมีกำไรมายาวนานกระทั่งปี 2007 ที่ Zappos สามารถ

break even และทำกำไรอย่างสวยงามมาจรดปี 2010 ที่ Amazon เข้าซื้อกิจการเป็นจำนวนเงิน 1,200 ล้านเหรียญฯและหลังจากข่าวแพร่ออกไป วานิชธนกิจและธนาคารที่เคยปฏิเสธการให้เพิ่มทุนแก่ Zappos ก็แห่มาขอเป็นเจ้าหนี้และนายทุนแก่ Zappos ทำให้ Tony ได้เงินลงทุนเพิ่มอีกต่างหากจำนวน 200 กว่าล้านเหรียญ

 

       จวบจนปัจจุบัน Tony Hsieh เป็น CEO และเป็นคนเอเชียแท้ๆ ที่มีกิจการยิ่งใหญ่ระดับ eBay, Amazon, Google และ Facebook และมี Category สินค้าแตกกิ่งก้านสาขาออกไปเป็นเสื้อผ้าและเครื่องประดับ มีบริการจัดส่งที่รวดเร็วแบบ

Over-Night Shipping และเป็นที่หนึ่งในเรื่องของ Customer Service

 

       Zappos มีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างที่สุดในโลก พนักงานไม่มียูนิฟอร์มและมีอิสระในการใช้ชีวิตในที่ทำงาน

Tony Hsieh เชื่อว่าความสุขของพนักงานและความรู้สึกผูกพันกันระหว่างเพื่อนร่วมงานและกับบริษัทจะช่วยดึงศักยภาพของพนักงานออกมาอย่างเต็มที่และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ย้อนกลับมาที่ตัวองค์กรและลูกค้าในที่สุด

 

 

 

Tony Hsieh เจ้าของ Web E-Commerce ระดับโลกสายเลือดเอเชีย

 

 

 

บทเรียนทางจิตวิญญาณแห่งผู้ประกอบการ

 

       เท่าที่ผมได้เรียนรู้เรื่องราวของ Tony Hsieh ผ่านวิดีคลิปใน Youtube และหนังสือที่เขาเขียนขึ้นชื่อ Delivering Happiness; A Path to Profits, Passion and Purpose (affiliate link) ผมเชื่อว่าเขาไม่ได้มี Passion ที่จะเป็นนักขายรองเท้า เขาไม่ได้เปิดกิจการนี้ขึ้นมาเพราะเขารักรองเท้าแต่อย่างใด แต่เขามี Passion ในความเป็น Entrepreneurship หรือ ความหลงใหลในการเป็นผู้ประกอบการแต่เด็ก ความต้องการที่จะเป็นผู้นำและบริหารคนและส่งมอบประโยชน์ออกไปยังสังคมผ่านสินค้าและบริการของเขา

 

       ตลอดเรื่องราวของ Tony เขาพูดเรื่องสินค้าและเรื่องเงินน้อยกว่าเรื่อง ความสุขของลูกค้าและพนักงาน ผมเชื่อว่า ณ จุดนี้ เขาได้พบคุณค่าในชีวิตที่เกินกว่าคำว่าเงินไปแล้วโดยเขาเคยสัมภาษณ์ว่า ถ้าเขาเจ๊งอีกครั้งเขาก็ไม่เสียใจและ ไม่ถอดใจล่าถอย แต่เขาก็กลับไปเริ่มต้นสร้างธุรกิจใหม่จากศูนย์เหมือนกับที่เขาเคยเป็นมา ผมเองก็เชื่อเช่นกันว่าความสำเร็จของใครสักคนหนึ่งคงต้องเริ่มจากคิดถึงประโยชน์ที่เราจะทำให้แก่ผู้อื่น..หาใช่ตนเองไม่ Tony Hsieh ปิดท้ายหนังสือ Delivering Happiness ด้วยปรัชญายิ่งให้ยิ่งได้แบบวิถีตะวันออก

 

       “…เปลวไฟจากเทียนหนึ่งเล่มสามารถจุดเทียนต่อไปได้อีกหลายเล่มโดยที่ความสว่างไสวของมันไม่ได้ลดน้อยลงเลย… /…Thousands of candles can be lit from a single candle, and the life of the candle will not be shortened. Happiness never decreases by being shared…” Buddha

 

นี่คือคลิปภาพบรรยากาศการทำงานภายใน Zappos

 

 

 

 

 

 

 

Credit : theceoblogger.com

[Update] ประวัติ Tony Hsieh เจ้าของ Zappos เว็บไซต์ขายรองเท้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก | zappos คือ – NATAVIGUIDES

จากเด็กผู้ชายธรรมดา ๆ สายเลือดเอเชียคนหนึ่ง ที่ฝันอยากจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง และเริ่มต้นสู่เส้นทางนายตัวเองตั้งแต่อายุได้ 9 ขวบ แถมกลายเป็นเศรษฐีตั้งแต่อายุได้ 25 ปี มีเงินใช้เกือบพันล้านบาท แต่ก็ไม่วายมาลุยธุรกิจขายรองเท้าออนไลน์จนได้เรื่อง เกือบพาชีวิตเจ๊งระเนระนาด ถึงขนาดที่ต้องขายบ้าน ขายรถ เพื่อประคองธุรกิจเอาไว้ แต่ในท้ายที่สุด อุปสรรคที่ถาถมเข้ามาอย่างหนักหน่วง ก็ได้กลายเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เขาคือนักธุรกิจตัวจริงที่มันฝังอยู่ในสายเลือด จนกระทั่ง Amazon.com ที่มีมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกอย่าง Jeff Bezos คนปัจจุบัน ขอซื้อกิจการไปในมูลค่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 37,000 ล้านบาท

Tony Hsieh เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ปี 1973 ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่รัฐอิลลินอยส์ แต่ไปเติบโตที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยทั้งพ่อและแม่ (Richard and Judy Hsieh) ของเขาเป็นชาวไต้หวันสายเลือดเอเชียแท้ ๆ ร้อยเปอร์เซนต์ และมีน้องชายอีกสองคนคือ Andy Hsieh และ David Hsieh

ธุรกิจแรกในชีวิตของโทนี่เริ่มต้นเมื่ออายุได้ประมาณ 9 ขวบ เขาเริ่มเปิดฟาร์มไส้เดือน โดยได้ไส้เดือนมาทั้งหมด 100 ตัว แล้วนำไปเพาะเลี้ยงที่สวนหลังบ้าน ซึ่งขอเงินลงทุนเงินจากคุณพ่อคุณแม่ของเขาทั้งสิ้น 33.45 ดอลล่าร์ และนอกจากซื้อไส้เดือนแล้ว เขาก็นำเงินทุนไปซื้อกล่องสำหรับเพาะพันธุ์ไส้เดือน และเลี้ยงพวกมันด้วยไข่แดงสดอย่างดี เพราะอยากให้มันกินแต่ของดี ๆ จะได้ตัวอ้วน ๆ ผ่านไป 1 เดือน เขาก็ลองมาตรวจสอบความก้าวหน้าของการเจริญเติบโตของไส้เดือน แต่ก็พบว่า พวกมันได้หนีหายไปตามรูระบายความชื้นใต้กล่องที่เขาเจาะเอาไว้จนหมด และกิจการแรกของเขาก็เจ๊งไม่เป็นท่าภายใน 1 เดือน

ต่อมาในช่วงมัธยมต้นโทนี่ยังได้ทดลองหาเงินด้วยวิธีการต่าง ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น การเปิดโรงรถเพื่อขายของเก่า, ขายน้ำมะนาว, ส่งหนังสือพิมพ์, ทำหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์, บัตรอวยพร, ทำเข็มกลัดขายทางไปรษณีย์ ซึ่งธุรกิจนี้ทำรายได้และกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งเขาใช้การโฆษณาฟรีทางนิตยสารเด็ก โดยเขาจะรับออเดอร์ผ่านทางจดหมายแล้วส่งเข็มกลัดกลับไปทางไปรษณีย์ โดยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 200 ดอลล่าร์ฯ ซึ่งนับว่าเป็นธุรกิจแรกที่เขาได้ทำผ่านการส่งสินค้าทางไปรษณีย์ และลำพองว่าตัวเองนั้นเป็นเซียนด้านขายของผ่านไปรษณีย์ และเขาได้ใช้โมเดลเดียวกันนี้ในการขายอุปกรณ์เล่นมายากล ซึ่งเขามั่นใจว่า มันจะต้องได้กำไรเป็นกอบเป็นกำอย่างแน่นอน เขาจึงตัดสินใจจ่ายเงินลงโฆษณาในนิตยสารจำนวน 800 ดอลล่าร์ฯ แต่ก็พบว่า เขาขายสินค้าได้เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น ทำให้เขาได้บทเรียนว่า การมั่นใจในตัวเองเกินเหตุ สามารถนำพาธุรกิจไปสู่ความล้มเหลวได้

ในช่วงมหาวิทยาลัย เขาได้เข้าศึกษาที่ Harvard University และมีไอเดียทำเงินในระหว่างเรียนที่นี่ โดยได้ร่วมลงทุนกับเพื่อนของเขาในการซื้อเตาอบพิซซ่าในราคา 2,000 ดอลล่าร์ฯ ซึ่งพบว่ามีต้นทุนต่อถาดอยู่ที่ 2 ดอลล่าร์ฯ แต่สามารถนำมาแบ่งขายในราคาชิ้นละ 2 ดอลล่าร์ฯ ถือว่าเป็นธุรกิจกำไรงามเลยทีเดียว โดยใช้ฐานลูกค้าที่มีอยู่ในหอพักนักศึกษาจำนวนกว่า 300 คน เพราะในแต่ละห้องพักนั้น กินกันไม่กี่ชิ้น จึงไม่ค่อยมีใครสั่งเป็นถาดมากิน ซึ่งทำให้เขาสามารถทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ด้วยส่วนต่างของราคาขายปลีก และในระหว่างนี้นี่เองที่เขาได้พบกับ Alfred Lin ลูกค้าขาประจำ ที่ในภายหลังได้กลายมาเป็น CFO และ COO ของ Zappos อีกด้วย

ในปี 1995 เขาสำเร็จการศึกษาจาก Harvard University ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เขาก็ได้เข้าเริ่มต้นทำงานที่ Oracle เป็นบริษัทซอร์ฟแวร์ระดับโลกที่มี Larry Ellison เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งติดอันดับ Top 10 มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกมาอย่างยาวนานหลายปี จนเมื่อ Tony ทำงานมาถึงจุด ๆ หนึ่งที่เขารู้สึกว่าเขาประสบความสำเร็จอย่างสูงในตำแหน่ง Software Engineer ของที่นี่ โดยได้ค่าตอบแทนประมาณ 40,000 เหรียญฯ ต่อปี (ซึ่งก็ถือว่าเป็นรายได้สูงทีเดียวสำหรับเด็กที่พึ่งเรียนจบมาหมาด ๆ ในยุคนั้น) แต่เขาก็เริ่มเบื่อกับความจำเจในหน้าที่การงาน

ในช่วงนี้นี่เองที่ โทนี่ เริ่มหาอย่างอื่นทำเพื่อแก้เซ็ง โดยในช่วงนั้น ธุรกิจ World Wide Web กำลังมาแรง เขาจึงแอบเปิดธุรกิจออกแบบเว็บไซต์ กับเพื่อนซี้สมัยเรียนและเพื่อนร่วมงานของเขาอย่าง Sanjay Madan โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าที่เป็นหน่วยงานราชการ โดยได้ไล่โทรหาหน่วยงานราชการต่าง ๆ เพื่อเสนอตัวขอออกแบบเว็บไซต์ให้ฟรี โดยหวังว่าจะเอาผลงานเหล่านั้น มาเป็นแฟ้มผลงานสะสมเอาไว้ ในที่สุด เขาก็ได้รับสัญญาการว่าจ้างจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเป็นเงิน 2,000 ดอลล่าร์ฯ และนั่นก็ทำให้เขา ตัดสินใจที่จะลาออกจากงานประจำที่ Oracle ที่พึ่งเข้าทำงานที่นี่ได้เพียง 5 เดือน เพื่อไปลุยธุรกิจส่วนตัวแบบ Full-Time

แต่พอทำมาได้สักพัก เขาก็เริ่มรู้สึกว่า การทำธุรกิจแบบนี้เป็นงานที่จะต้อง Active และวิ่งหาลูกค้าอยู่ตลอดเวลา แต่เขามองว่า หากต้องการอยู่ในธุรกิจอย่างยั่งยืน จำเป็นที่จะต้องมี Platform หรือธุรกิจที่มีระบบและมีพื้นที่เป็นของตนเอง แล้วหาคนมาลงในระบบแล้วขึ้นเป็นผู้บริหารแทน

สุดท้าย Tony และ Sanjay ก็ได้ไปปิ๊งไอเดียธุรกิจโฆษณาเว็บไซต์และในปี 1996 ได้ก่อตั้งเว็บไซต์ LinkExchange ในอพาร์ตเม้นของตัวเอง โดยเริ่มทุกอย่างจากศูนย์  ซึ่งเจ้า LinkExchange ที่ว่านี้ เกิดขึ้นมาเนื่องจาก ในสมัยยุคแรก ๆ ของ World Wide Web นั้น มีเว็บไซต์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ยังไม่มีระบบการจัดการหรือระบบการค้นหาเว็บไซต์ที่เป็นแบบ Google ในปัจจุบัน (ในเวลาไล่เลี่ยกันนี้นี่เองที่ Larry Page และ Sergey Brin ก็เริ่มสร้าง Google ขึ้นมา)

โดย LinkExchange จะเปิดให้เว็บไซต์ต่าง ๆ มาสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ฟรี โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกันก็คือ ทางสมาชิกจะต้องนำป้ายแบนเนอร์โฆษณาของ LinkExchange ไปแปะบนเว็บไซต์ของตนเอง โดยจำนวนยอดวิวนั้น จะถูกสะสมเป็นแต้มเก็บเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่น หากมีคนเห็นป้ายแบนเนอร์จำนวน 100 วิว ก็จะแบ่งให้สมาชิกอย่างละครึ่ง และสมาชิกสามารถนำแต้มนี้ ไปแลกเปลี่ยนเป็นแบนเนอร์ของสมาชิกเองได้ แล้วทาง LinkExchange จะนำแบนเนอร์ไปแสดงผลในเว็บสมาชิกในเครือเป็นจำนวน 50 วิว เป็นต้น ทำให้เว็บไซต์สมาชิกในเครือนั้น ต่างส่ง Traffic คนดูวนไปมาอยู่ในเครือข่าย ทำให้ทั้ง LinkExchange และเว็บไซต์สมาชิก เติบโตไปพร้อม ๆ กัน ทำให้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่คนที่ต้องการโปรโมทเว็บไซต์ ณ ขณะนั้น ส่วนคะแนนอีกครึ่งนึงที่ LinkExchange เก็บเอาไว้ ก็จะมานำเสนอขายให้กับคนที่ต้องการลงโฆษณาในเครือข่ายของ LinkExchange นั่นเอง

ซึ่งหลังจากเปิดตัวไปได้เพียง 90 วัน ก็มีเว็บไซต์เข้ามาสมัครมากกว่า 20,000 เว็บ และมียอดวิวรวมทั้งเครือข่ายกว่า 10 ล้านวิว และผ่านไปเพียง 5 เดือน ก็มีนักลงทุนอิสระติดต่อขอเสนอซื้อกิจการด้วยเงินจำนวน 1 ล้านเหรียญฯ แต่โทนี่ขอขึ้นราคาเป็น 2 ล้านเหรียญฯ แทน จึงทำให้ข้อตกลงนั้นยุติไป และประมาณหนึ่งปีต่อมา บริษัท Serch Engine ยักษ์ใหญ่อย่าง Yahoo ได้ติดต่อขอซื้อบริษัท ด้วยเงิน 20 ล้านดอลลาร์ฯ แต่เขาปฏิเสธเพราะคิดว่า LinkExchange สามารถทำเงินได้มากกว่านั้น หลังจากนั้นเพียง 2 ปี ในปี 1998 เขาก็ได้ขายบริษัท LinkExchange ให้กับ Microsoft ด้วยมูลค่า 265 ล้านเหรียญฯ โดยมีเงื่อนไขว่า ทีมบริหารของโทนี่นั้น จะต้องบริหารในบริษัทต่อไปอีกอย่างน้อย 12 เดือน ซึ่งหากเป็นไปตามนี้ โทนี่ก็จะได้ส่วนแบ่งทั้งหมดกว่า 40 ล้านเหรียญฯ แต่ถ้าไม่ เขาก็จะต้องโดยหักเงินค่าฉีกสัญญากว่า 20 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

แต่หลังจากกิจการได้เติบโตไปอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่มีแต่คนที่เข้ามาทำงานด้วย Passion เดียวกัน จุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่เมื่อคนใหม่ ๆ เข้ามา ทำให้วัฒนธรรมองค์กรที่เคยแน่นแฟ้น กลับจางลงไป กลายเป็นการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน เพื่อให้ตนเองนั้นได้รับผลประโยชน์มากที่สุดแทน โทนี่จึงตัดสินใจฉีกสัญญาที่จะต้องอยู่บริหารที่นี่ต่ออีก 12 เดือน แล้วเดินจากไปจาก LinkExchange

หลังจากออกมา Tony Hsieh ได้ก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Venture Frogs โดยตั้งใจเอาไว้ว่า จะเป็นบริษัทที่ลงทุนในธุรกิจ Startup ใหม่ ๆ โดยเขาจะทำหน้าที่เป็นแมวมอง, พี่เลี้ยงและนักลงทุนเพื่อปลุกปั้นธุรกิจดาวรุ่ง

ในปี 1999 Zappos ได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งก่อตั้งโดย Nick Swinmurn ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการขายรองเท้าออนไลน์ โดยมีรากศัพท์มาจากภาษาสเปน Zapatos ที่แปลว่า รองเท้า) จากจุดเริ่มต้นนั้น Nick ต้องการหาซื้อรองเท้าที่อยากได้ในห้างแถวบ้าน แต่กลับไม่มีขาย จนได้ไอเดียขึ้นมาว่า “ทำไมไม่สั่งซื้อทางโทรศัพท์เอาล่ะ” เขาจึงได้ไอเดียเรื่องการขายรองเท้าออนไลน์เกิดขึ้น

โดยนิคได้ฝากข้อความเสียงเอาไว้ตอนที่โทนี่ยังไม่ว่างรับสาย ซึ่งตอนแรกเอง Tony ก็ไม่เชื่อว่าจะมีใครที่ไหนมาซื้อรองเท้าออนไลน์ เพราะโดยปกติแล้วก่อนที่จะซื้อรองเท้า ก็ต้องลองสวมใส่ด้วยตนเองดูซะก่อน แต่ก็ต้องหยุดฟังในสิ่งที่ Nick ทำการบ้านมาว่า สถิติการซื้อรองเท้าในสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1997 ถึง 1998 นั้นอยู่ที่ 40,000 ล้านเหรียญฯ โดยมีการสั่งออเดอร์ผ่านทางแคตตาล็อกแล้วส่งสินค้าผ่านทางไปรษณีย์นั้นมีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ฯ หรือคิดเป็นสัดส่วน 5% จากตลาดทั้งหมด

ซึ่งแน่นอนว่า มันมีตลาดของมันอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นการมโนขึ้นมาเอง และ Nick ก็ได้พิสูจน์ให้ Tony เห็นด้วยว่า มีการซื้อขายรองเท้าผ่านทางเว็บไซต์และส่งของทางไปรษณีย์ได้จริง โดย Nick ได้รับคำสั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์ จากนั้นเมื่อเขาได้รับคำสั่งซื้อมาแล้ว เขาก็จะวิ่งไปซื้อรองเท้าที่ร้านใกล้ ๆ บ้านแล้วส่งของให้ลูกค้า แม้ว่าตอนนั้นจะยังไม่มีกำไรก็ตามที เพราะเขาเพียงต้องการพิสูจน์ว่า ทฤษฎีของเขานั้น สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ แถมในช่วงทดลองนี้ ก็ไม่ต้องสต็อคสินค้าเองอีกด้วย ทำให้ไม่มีความเสี่ยงในการซื้อสินค้ามาเก็บไว้ที่โกดัง โดยเทคนิคที่ว่านี้ก็คือการใช้ dropshipping ด้วยการสั่งซื้อจากหน้าเว็บไซต์แล้วค่อยไปสั่งซื้อกับบริษัทรองเท้าอีกทอดหนึ่ง ว่าแล้ว Tony ก็ซื้อไอเดียของ Nick แล้วลงทุนในบริษัท Zappos ในปี 1999 นี้นี่เอง

แต่ธุรกิจก็ไม่ได้เติบโตพรวดพราดอย่างที่คิด แถมในปี 2000 ยังเจอกับวิกฤตฟองสบู่ดอทคอมแตก อันเนื่องมาจากธุรกิจ Ecommerce นั้นมีจำนวนเกิดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด ธนาคารก็ปล่อยกู้เกินมูลค่าจริงของบริษัทต่าง ๆ และ Zapposs เองก็โดนวิกฤตนี้เข้าเต็ม ๆ การจะหาเงินจากนายทุนก็ไม่มีใครสนใจ ส่วนธนาคารไม่ต้องพูดถึง ไม่ให้กู้ยืมเงินอย่างแน่นอน Tony จึงตัดสินใจขายทรัพย์สินส่วนตัวเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์, คอนโด และกิจการอื่น ๆ ที่เขานำเงินจากการขาย LinkExchange เพื่อนำไปลงทุนบริษัทอื่น ๆ เอาไว้ แล้วนำเงินทั้งหมดมาลงกับ Zappos เพื่อให้อยู่รอด และเขาต้องทำสิ่งที่เจ็บปวดที่สุดด้วยการเลย์ออฟพนักงาน ส่วนตัวเขาเองลดเงินเดือนตำแหน่ง CEO เหลือเดือนละ 2 เหรียญ!!

ซึ่ง Tony เอง ก็สามารถพาธุรกิจ Zappos ให้รอดตายได้ จนกระทั่งในสิ้นปี 2002 ยอดขายของ Zappos ก็กลับมาอยู่ที่ 30-40 ล้านเหรียญฯ แต่เมื่อบวกลบคูณหารแล้ว บริษัทก็ยังคงไม่มีกำไรอยู่ดี

จุดพลิกผันทางธุรกิจอีกครั้งของ Zappos เมื่อพวกเขาพบว่าลูกค้ามักสั่งรองเท้ารุ่นยอดนิยมที่เว็บไซต์ Zappos.com ซึ่งบริษัทที่ผลิตรองเท้ารุ่นนี้ไม่ได้สนใจด้านออนไลน์เพราะขายในช่องทางร้านค้าปลีกก็ขายดีอยู่แล้ว Tony จึงเริ่มเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมที่ไม่ต้องการสต็อคสินค้าไว้ที่ตัวเอง เพราะใช้ระบบ dropship เขาจึงเปลี่ยนแผนใหม่ด้วยการเริ่มสต๊อกสินค้าเอง และ Renovate ระบบการคลัง การจัดส่งและระบบ Customer Services ใหม่ทั้งหมด โดยใช้พาร์ทเนอร์ที่มีความชำนาญด้านเหล่านี้โดยเฉพาะ แต่นั่นก็ต้องแลกกับการใช้เงินลงทุนสต๊อกสินค้าที่สูงปรี๊ด Tony จึงหาวิธีลดต้นทุนด้วยการตัดสินใจย้ายโกดังตัวเองไปอยู่ที่รัฐเคนทักกี เพื่อลดปัญหาการขนส่ง

แต่ปัญหากระหน่ำเข้ามาอีกระลอกในปี 2004 เนื่องจากการขนย้ายโกดังไม่ได้เป็นอย่างที่คิด แถมระบบลอจิสติกส์ของบริษัทคู่ค้าก็ทำได้ไม่ดีพอ ทำให้เกิดการส่งสินค้าผิดพลาดเป็นจำนวนมาก, นับสต๊อกสินค้าคงคลังไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ยอดสั่งสินค้าเริ่มลดลง

ช่วงนี้เองเป็นช่วงดิ่งลงเหวของ Zappos เพราะเงินลงทุนก็เริ่มหมด เขาจึงต้องหันหน้าไปหาที่พึ่ง ด้วยการกู้เงินจากธนาคารมาต่อชีวิต สุดท้ายเขาก็ตัดสินใจเช่าโกดังทำระบบเอง จนสถานการณ์การเงินเริ่มดีขึ้น และตัดสินใจยกเลิกระบบ dropship ทั้งหมด แล้วย้ายศูนย์สินค้ามาที่ลาสเวกัส เพราะอยู่ใกล้สนามบินและบริษัท UPS ซึ่งเป็นบริษัท ขนส่งสินค้าและไปรษณีย์เอกชน ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาที ทำให้ใช้เวลาในการขนส่งรวดเร็วและถูกกว่าเดิมมาก (เรียกได้ว่า สามารถส่งของได้ภายในข้ามคืนเดียวเท่านั้น) ทำให้รายได้พุ่งขึ้นอย่างมหาศาล โดยในปี 2004 สามารถทำยอดขายได้กว่า 160 ล้านเหรียญฯ

Tony Hsieh ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก เขาจึงเน้นที่การบริการเป็นเลิศ โดยหากไม่พอใจสินค้าสามารถส่งกลับมาฟรีโดยไม่คิดค่าไปรษณีย์ และสามารถเลือกคู่ที่ชอบจนกว่าจะพอใจ มีครั้งหนึ่งที่ลูกค้าที่ขอคืนรองเท้าเหตุเพราะสามีที่สั่งรองเท้าคู่นั้นเสียชีวิตไปแล้ว แต่แทนที่ Zappos จะรับรองเท้าและคืนเงินเพียงอย่างเดียว แต่ยังร่วมแสดงความเสียใจด้วยการส่งดอกไม้ไปให้กับลูกค้าท่านนี้อีกด้วย

รวมไปถึงการแสดงเบอร์โทรศัพท์ทุก ๆ หน้าของเว็บไซด์ เพื่อสะดวกต่อการเรียกใช้บริการ ซึ่งในส่วนของพนักงาน Tony ก็ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากอีกเช่นกัน โดยยึดถือว่า หากพนักงานมีความสุขในการทำงาน ก็จะทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการมีความสุขตามไปด้วย ด้วยการวางหมากเซททีมตั้งแต่การเลือกคนเข้ามาทำงานในฝั่งลาสเวกัส พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงผู้บริหารได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใส่ยูนิฟอร์มมาทำงาน เรียกได้ว่ามีอิสระในการใช้ชีวิตในการทำงาน และดึงศักยภาพของพนักงานมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จนธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง ราว ๆ ปี 2005 ยอดขายก็กระโดดไปแตะที่ 300 ล้านเหรียญฯ จนผู้บริหารของ Amazon.com ถึงกับต้องบินมาที่ลาสเวกัสเพื่อติดต่อขอซื้อกิจการ Zappos แต่ Tony ก็ได้ปฎิเสธไปเพราะเกรงว่าเมื่อ Zappos ได้ไปอยู่กับคนอื่น แบรนน์ Zappos ก็จะต้องล่มสลายหายไปอย่างแน่นอน

ในปี 2007 Zappos ก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถทำยอดขายได้กว่า 800 ล้านเหรียญฯ และนับเป็นครั้งแรกที่บริษัทมีกำไรตั้งแต่เปิดกิจการมาในรอบ 8 ปี และสามารถทำรายได้ทะลุพันล้านได้ในที่สุด

จนปีใน 2009 Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon.com (ที่ ณ ปัจจุบันเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก) เห็นพลังการเติบโตจากการบริหารของ Tony Hsieh ที่บริหารสไตล์คนเอเชีย เขาจึงเข้ามาพบ Tony อีกครั้ง เพื่อยื่นข้อเสนอให้นั่งเก้าอี้ผู้บริหารสูงสุดโดยมีอำนาจ 100% ใน Zappos โดยดีลนี้มีมูลค่าสูงถึง 1,200 ล้านเหรียญฯ (หรือราว ๆ 37,000 ล้านบาท) โดยจะจ่ายเป็นเงินสดจำนวน 40 ล้านเหรียญฯ ส่วนที่เหลืออยู่ในรูปของหุ้น Amazon โดย Jeff Bezos มองว่า วิธีการนี้จะสร้างความผูกพันระยะยาวร่วมกัน มากกว่าจ่ายเงินสดแล้วขาดจากกัน และโทนี่ก็ยังทำหน้าที่บริหารบริษัทจวบจนทุกวันนี้

และหลังจากข่าวการซื้อกิจการแพร่สะพัดออกไป เหล่าบรรดานักลงทุนและธนาคารทั้งหลาย ที่ก่อนหน้านี้เคยปฏิเสธการให้เงินลงทุนและเงินกู้ยืมนั้น ต่างก็แห่กันมาติดต่อ Zappos เพื่อเสนอเงินทุนให้ และ Tony ก็ได้รับเงินทุนเพิ่มขึ้นอีกกว่า 200 ล้านเหรียญฯ

ในปี 2010 เขาได้ตีพิมพ์หนังสือที่ชื่อว่า Delivering Happiness : ใช้ความสุขทำกำไร และกลายเป็นหนังสือที่ติดอันดับ 1 บน New York Times และ Wall Street Journal ต่อเนื่องกันเป็นเวลากว่า 27 สัปดาห์

โทนี่ได้กล่าวเอาไว้ว่า

Surround yourself with the right people

“At Zappos, we really view culture as our No. 1 priority. We decided that if we get the culture right, most of the stuff, like building a brand around delivering the very best customer service, will just take care of itself.”

หมายถึง จงรายล้อมรอบตัวคุณด้วยคนที่ใช่ สำหรับใน Zappos เราให้ความสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรมาเป็นอับดับแรกสุด เพราะหากวัฒนธรรมองค์กรมันได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็จะตามมาเอง อย่างเช่นเรื่องของการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งด้วยการส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา สิ่งเหล่านี้มันจะเกิดขึ้นเอง เมื่อองค์กรคุณมีวัฒนธรรมที่ดีมาตั้งแต่แรก

Tony Hsieh


Why Company Culture Matters | Zappos Stories


Chief of Staff Jamie Naughton and Technical Advisor Jeanne Markel answer the question on everyone’s mind — how does Zappos maintain its signature company culture and identity?\r
\r
The secret? It’s all about who you hire. Markel clarifies, “The people that you work with are actually the most important resource in the entire company.” While many companies place skills and revenue potential at the top of their priority list, Zappos only hires new employees that embody our 10 Core Values and enrich our company culture.\r
\r
Check out this Zappos Story to learn the steps for maintaining the enthusiastic organizational culture people think of when they hear our company’s name. Hear about how we celebrate each Zappos employee’s differences and encourage each person to express who they are. A team succeeds when we understand each other’s different backgrounds, experiences as well as strengths and weaknesses.\r
\r
When you focus on hiring employees that blend with your core values, company culture falls naturally into place.\r
Subscribe to our YouTube channel: http://bit.ly/zappos_stories
Read the Zappos Stories blog: http://bit.ly/zappos_stories_blog
What’s Zappos? Learn about us: http://bit.ly/about_zappos
Shop shoes, clothing \u0026 more: http://bit.ly/shop_zappos
Go Beyond the Box: http://bit.ly/zappos_beyondthebox_blog
Visiting Las Vegas? Tour our campus: http://bit.ly/zappos_tours
Apply to our open positions: http://bit.ly/zappos_careers
Don’t forget! Follow Zappos on social media @zappos

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Why Company Culture Matters | Zappos Stories

A Cup of Culture ❘ บทเรียนสำคัญจาก Tony Hsieh แห่ง Zappos ❘ Ep113


ท่ามกลางกระแสการแข่งขันทางธุรกิจที่มีเป้าหมายคือผลกำไรที่เพิ่มขึ้น กลับมีหนึ่งองค์กรที่มีเป้าหมายแบบสวนทาง เพราะ กำไรคือความสุขทางจิตใจ นั้นคือบริษัท Zappos ภายใต้การบริหารงานของชายที่ชื่อว่า Tony Hseieh ผู้ซึ่งเชื่อว่า \”หากพนักงานในองค์กรมีความสุข ความสุขนั้นจะถูกส่งมอบไปยังลูกค้า แล้วผลกำไรจะตามมาเอง\”
อะไรคือจุดเด่นของวัฒนธรรมองค์กร Zappos? ที่ทำให้องค์กรมากมายทั่วโลกต้องบินไปศึกษาดูงานที่นี้ วันนี้ A Cup of Culture จะพาคุณผู้ฟังมาถอดบทเรียนสำคัญจากองค์กรนี้กัน…
A Cup of Culture

วัฒนธรรมองค์กร
corporateculture
culture

A Cup of Culture ❘ บทเรียนสำคัญจาก Tony Hsieh แห่ง Zappos ❘ Ep113

Delivering Happiness: A Path to Profits, Passion, and Purpose | Tony Hsieh | Talks at Google


Tony Hsieh visits Google in Mountain View to talk about his new book Delivering Happiness: A Path to Profits, Passion, and Purpose. \r
\r
The visionary CEO of Zappos explains how an emphasis on corporate culture can lead to unprecedented success.\r
\r
Pay new employees $2000 to quit. Make customer service the entire company, not just a department. Focus on company culture as the 1 priority. Apply research from the science of happiness to running a business. Help employees grow both personally and professionally. Seek to change the world. Oh, and make money too.\r
\r
Sound crazy? It’s all standard operating procedure at Zappos.com, the online retailer that’s doing over $1 billion in gross merchandise sales every year.\r
\r
In 1999, Tony Hsieh (pronounced Shay) sold LinkExchange, the company he cofounded, to Microsoft for $265 million. He then joined Zappos as an adviser and investor, and eventually became CEO.\r
\r
In 2009, Zappos was listed as one of Fortune magazine’s top 25 companies to work for, and was acquired by Amazon later that year in a deal valued at over $1.2 billion on the day of closing.\r
\r
In his first book, Tony shares the different business lessons he learned in life, from a lemonade stand and pizza business through LinkExchange, Zappos, and more. Ultimately, he shows how using happiness as a framework can produce profits, passion, and purpose both in business and in life.

Delivering Happiness: A Path to Profits, Passion, and Purpose | Tony Hsieh | Talks at Google

“ZupZip by Zipmex” EP.2 มาทำความรู้จัก Zipmex Token หรือ เหรียญ ZMT กันเถอะ!


🌈✨ “ZupZip by Zipmex” รายการที่จะมาพูดคุยให้ความรู้ และอัปเดตข้อมูล ข่าวสารดีๆ ในโลกคริปโทฯ แบบสั้น กระชับ เข้าใจง่าย
.
🔔 พบกันทุกวันพุธ เวลา 20.00 น. บน Youtube Zipmex ❗ อย่าลืมกด Subscribe เอาไว้ จะได้ไม่พลาดสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับคริปโทฯ
.
ZMT ใช้ซื้ออะไรได้บ้าง 👉 https://bit.ly/2T70hqt
กลุ่มร้านค้าที่ใช้ ZMT ชำระค่าสินค้าบน Facebook 👉 https://bit.ly/3AWBciZ
รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม ZipUp 👉 https://bit.ly/3yOnrkL
ZMT Whitepaper 👉 https://bit.ly/3wBulbw
วิธีโอน ZMT ง่าย ๆ ใน 2 นาที 👉 https://bit.ly/3hZaFci
.
ท่านใดที่ค้าขายและรับชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วย ZMT มา “ฝากร้าน” กันได้เลยใต้คอมเมนต์ 👇👇
ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ พวกเราชาว Zipster ไปช่วยอุดหนุนกันน้าา❤️
Sign up here : https://bit.ly/3dfyuej
Website https://www.zipmex.com
Follow us on
Facebook Thailand https://www.facebook.com/ZipmexThailand/
Twitter https://twitter.com/ZipmexTH
Telegram https://t.me/zipmexthailand
Line @zipmex
ZMT ZipmexToken ZipUp ZipLock Crypto Cryptocurrency Bitcoin BTC Ethereum ETH

“ZupZip by Zipmex” EP.2 มาทำความรู้จัก Zipmex Token หรือ เหรียญ ZMT กันเถอะ!

Core Values of Culture – Tony Hsieh (Zappos)


Tony Hsieh, CEO of Zappos.com, reviews the company’s core values of culture. Hsieh explains living by (and hiring for) these core values creates an authentic company culture within Zappos.com. These values took over a year to develop, and are revisited annually through the insights and reflections of all employees.

Core Values of Culture - Tony Hsieh (Zappos)

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ zappos คือ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *