Skip to content
Home » [Update] Philosophy & Religion | be honest แปลว่า – NATAVIGUIDES

[Update] Philosophy & Religion | be honest แปลว่า – NATAVIGUIDES

be honest แปลว่า: คุณกำลังดูกระทู้

จริยศาสตร์คืออะไร

……………………..

2.1 ความหมายของจริยศาสตร์

คำว่า “จริยศาสตร์” เป็นคำศัพท์สันสกฤต แยกออกได้เป็น 2 คำ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ และคำว่า ศาสตร์ แปลว่า ความรู้ หรือ วิชา

จริยศาสตร์จึงมีความหมายว่า วิชาที่ว่าด้วยความประพฤติ   แปลมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Ethics   ซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า Peri ethikes โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า Ethos แปลว่า ขนบธรรมเนียม ภาษาละตินทับศัพท์กรีกว่า Ethica แปลว่า จริยศาสตร์ มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น Moral Philosophy ปรัชญาศีลธรรม Ethical Philosophy ปรัชญา จริยะ

ดังนั้น สรุปว่า จริยศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด สิ่งที่ควรเว้น สิ่งที่ควรทำ  หมายถึง The science of morals ; the principles of morality ; rules of conduct and behaviour  แปลว่า   ศาสตร์ที่ว่าด้วยศีลธรรม หลักศีลธรรม กฎที่ว่าด้วยความประพฤติและพฤติกรรม

2.2   ลักษณะเนื้อหาและขอบเขตของจริยศาสตร์

2.2.1 เน้นหนักในลักษณะเรื่องความดีอันควรจะเป็น ควรจะทำและคุณค่าต่าง ๆ เกี่ยวกับพฤติ

กรรมของมนุษย์อันเกิดมาจากการมีเสรีภาพในการตัดสินใจ

2.2.2 เน้นอยู่ในวงขอบเขตเกี่ยวกับอุดมคติทางศีลธรรม เกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติว่าดี

หรือชั่ว กล่าวถึงเสรีภาพแห่งเจตจำนง ( Freedom of will ) อิสรภาพของมนุษย์ ความรับ

ผิดชอบ สิทธิ หน้าที่

2.2.3 เป็นศาสตร์ที่เน้นคุณค่าทางศีลธรรม ให้อิสระในการเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ตนปรารถนา

2.3 ปัญหาพื้นฐานที่สำคัญของจริยศาสตร์เป็นอย่างไร?

2.3.1 อะไรคือความดีซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ ? (Summum Bonum)

2.3.2 มีเกณฑ์อะไรในการตัดสินความดีชั่วของมนุษย์

2.3.3 เราจะนิยามดีชั่วได้หรือไม่?

2.3.4 มนุษย์ทำเพื่อตนเองหรือผู้อื่นกันแน่ ?

2.4 อะไรคือวิธีการในการศึกษาจริยศาสตร์?

       การศึกษาในทางจริยศาสตร์มี 3 ลักษณะคือ

2.4.1 เป็นการศึกษาในลักษณะพรรณนาหรือลักษณะเชิงประจักษ์ (descriptive – empirical study) เป็นการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานมาอธิบาย   ปรากฏการณ์ต่างๆพบได้จากพวกมานุษยวิทยานักประวัติศาสตร์นักสังคมวิทยา เป็นต้น

2.4.2 เป็นการศึกษาเพื่อหาเกณฑ์บรรทัดฐาน (normative study) โดยอาศัยฐานข้อมูลจากที่รวบรวมได้ นักจริยศาสตร์จะทำการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบว่า อะไรคือความดี – ชั่ว มีเกณฑ์อะไรในการตัดสินการกระทำว่าถูกว่าผิด เรียกว่าเป็น จริยศาสตร์เชิงบรรทัดฐาน (normative ethics) เป็นการศึกษาที่นิยมกันมานานในการศึกษาจริยศาสตร์

2.4.3 เป็นการศึกษาในลักษณะการวิเคราะห์และวิจารณ์ (analytical – critical study) การศึกษาแบบนี้เป็นการนำเกณฑ์บรรทัดฐานมาวิเคราะห์ว่า ดี ชั่ว นั้น สามารถนิยามได้หรือไม่ การศึกษาแบบนี้เป็นที่นิยมในราวกลางศตวรรษที่ยี่สิบที่เรียกว่าอภิจริยศาสตร์

– จริยศาสตร์ สังเกตพิจารณาความจริงซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางศีลธรรม จัดประเภทศีลธรรม อธิบายศีลธรรมโดยยึดเอาความดีสูงสุดเป็นแม่บท ซึ่งความดีสูงสุดนี้อยู่เหนือข้อเท็จจริง (fact)ทางวิทยาศาสตร์วิธีการนี้จึงเป็นทั้งวิธีทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา

2.6 อะไรคือประโยชน์ของการศึกษาจริยศาสตร์?

2.6.1 ช่วยให้แยกแยะได้ออกถึงคำว่า ดี ชั่ว คนดี คนชั่ว จะได้เลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้รู้ว่ามนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นอย่างไร? ทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นตามความเป็นจริง เพื่อที่จะได้เข้ากับผู้อื่นได้ดีขึ้นและมีความสุขใจขึ้น

            2.6.2 ทำให้เข้าใจกฎศีลธรรมที่แท้จริง ที่จิตวิญญาณมนุษย์โหยหาเรียกร้องตลอดเวลา

2.6.3 ทำให้เรามีหลักเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมาย คือ อุดมคติที่ตั้งไว้ ชีวิตไม่เป็นเหมือนปุยนุ่นที่ล่องลอยไปตามกระแสลม หรือกอสวะที่สุดแต่กระแสน้ำจะพัดพาไป

2.7 อะไรคือจุดหมายสูงสุดของจริยศาสตร์ ?

– ให้รู้จักความประพฤติที่ดีงามถูกต้องอันเป็นทฤษฎี จะได้ปฏิบัติให้ดีงามถูกต้อง เพื่อยกระดับจิตวิญญาณของมนุษย์ให้สูงส่งขึ้น หลุดพ้นจากสัญชาตญาณอย่างสัตว์โลกทั่วไป

2.8 จริยศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ

2.8.1 จริยศาสตร์กับวิทยาศาสตร์กายภาพ

            จริยศาสตร์ว่าด้วยเรื่องศีลธรรมของมนุษย์ โดยที่มนุษย์นั้นต้องอาศัยอยู่ในท่ามกลางธรรมชาติอันเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์กายภาพ ความรู้เข้าใจในกฏธรรมชาติทำให้มนุษย์หายกลัวสิ่งแวดล้อมส่งผลถึงศีลธรรมในตัวมนุษย์ด้วย เนื่องจากมนุษย์สมัยก่อนอาจสร้างระบบศีลธรรมขึ้นมาจากการไม่เข้าใจระบบธรรมชาติก็ได้ เช่น การฆ่าหญิงสาวพรหมจารีบูชายัญต่อเทพเจ้าเพื่อทำให้คนในเผ่าปลอดภัยเป็นต้น

2.8.2 จริยศาสตร์กับชีววิทยา

มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 ประการคือ ร่างกายและจิตใจ วิชาชีววิทยาให้ความรู้เกี่ยวกับระบบ   ต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าร่างกายมีระบบใดที่ผิดปรกติย่อมส่งผลกระทบต่อระบบศีลธรรมของผู้นั้นด้วย เช่น คนสติไม่สมบูรณ์ย่อมเป็นการยากที่จะให้มีศีลธรรมครบถ้วน

2.8.3 จริยศาสตร์กับจิตวิทยา

วิชาจิตวิทยาให้ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของจิตและพฤติกรรมมนุษย์ วิชานี้จึงเป็นพื้นฐานของวิชาจริยศาสตร์ แต่จิตวิทยามีขอบเขตที่กว้างกว่าจริยศาสตร์ เพราะศึกษาทั้งความรู้ ความรู้สึกและเจตจำนง ส่วนจริยศาสตร์จะเน้นการศึกษาที่เจตจำนงอย่างเดียว จิตวิทยามีพื้นฐานอยู่ที่วิทยาศาสตร์ คือศึกษาที่ธรรมชาติของความจริง แต่ จริยศาสตร์ศึกษาข้อเท็จจริงทางศีลธรรม

            2.8.4 จริยศาสตร์กับสังคมวิทยา

สังคมวิทยามองโครงสร้างของสังคม บ่อเกิดและพัฒนาการของมนุษย์ ขนบธรรมเนียมของมนุษย์ แต่จริยศาสตร์เน้นคุณค่าทางศีลธรรมของปัจเจกชนและสังคมส่วนรวมแต่สังคมวิทยาจะมองเพียงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมโดยไม่ตัดสินว่าถูกผิด

 

2.8.5 จริยศาสตร์กับอภิปรัชญาและญาณวิทยา

อภิปรัชญาเป็นเรื่องของความจริง เช่น พระเจ้า นรก สวรรค์ ส่วนญาณวิทยาเป็นการแสวงหาความรู้เพื่อเข้าถึงความจริงนั้น จริยศาสตร์มีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับ 2 วิชาข้างต้น เพราะมนุษย์จะมีหลักแห่งความเชื่อในใจ เช่น ในอภิปรัชญา เชื่อว่าความจริงมีอยู่คือพระเจ้า และในญาณวิทยาเชื่อว่าการจะเข้าถึงความจริงนั้นจะสามารถรู้ได้ด้วยการวิวรณ์คือการเปิดเผยตัวของพระเจ้า จริยศาสตร์ก็จะปฏิบัติตามบัญญัติ 10 ประการอย่างเคร่งครัด

ศาสตร์ต่าง ๆที่ได้ยกมาที่มีส่วนสัมพันธ์กับจริยศาสตร์นั้นโดยสรุปก็คือเป็นศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เพื่อความเข้าใจได้ง่ายขึ้นจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นระหว่างจริยศาสตร์กับวิทยาศาสตร์และระหว่างจริยศาสตร์กับสังคมศาสตร์ ดังนี้

 

2.9 จริยศาสตร์เป็นปรัชญาบริสุทธิ์หรือปรัชญาประยุกต์

มีมุมมองที่ต่างกันในเรื่องนี้ บางพวกก็ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาบริสุทธิ์ เพราะมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กันกับอภิปรัชญาและญาณวิทยา บางพวกก็ถือว่าเป็นปรัชญาประยุกต์ เพราะมีการนำปรัชญาบริสุทธิ์คืออภิปรัชญาและญาณวิทยาไปตีค่าให้กับความประพฤติของมนุษย์ แต่ในวงการปรัชญายังไม่ถือว่าจริยศาสตร์เป็นวิชาการแบบศาสตร์อื่น ๆ โดยทั่วไป ทั้ง ๆ ที่มีเนื้อหากระจายอยู่ในวิชาต่าง ๆ เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา แต่นิยมเรียกว่า จริยศาสตร์ (Ethics) อันเป็นการรวมทั้งปรัชญาจริยะและวิชาจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน

 

 

 

 

ตารางเปรียบเทียบจริยศาสตร์กับศาสตร์ต่าง ๆ

จริยศาสตร์ (Normative)
วิทยาศาสตร์ (Positive)
จริยศาสตร์ เน้นเรื่องความดี ความเหมาะ ความควร

ปัญหาหลักของจริยศาสตร์คือ การนิยามว่า “ดี” คืออะไร

นี้คือจุดสำคัญที่สุดของจริยศาสตร์

จริยศาสตร์เป็นเรื่องของคุณค่า

คุณค่าคือ ลักษณะที่พึงประสงค์, ควรจะเป็น, น่าพึงปรารถนา พาให้เราบรรลุถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น น้ำนม มีคุณค่า เพราะพาให้เราถึงความเจริญเติบโต

คุณค่ามี 2 อย่าง คือ

  1. ค่าในตัวเอง (intrinsic value) ทำให้เราพอใจ ไม่ต้องการสิ่งอื่น เช่น ความสุข
  2.   ค่านอกตัว (extrinsic value) เช่น เงินไม่ได้มีค่าในตัว แต่พาเราไปสู่สิ่งที่เราต้องการ เพื่อซื้ออาหาร เพื่อประทังความหิว เพื่อพ้นทุกข์

วิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องข้อเท็จจริง

ข้อเท็จจริงคือ การระบุถึงคุณสมบัติของสิ่งนั้น

ได้เป็นมาแล้ว = อดีต สมชายเกิดเมื่อ 15 ปีที่แล้ว

กำลังเป็นอยู่ = ปัจจุบัน เขากำลังคบเพื่อนไม่ดี,

จะเกิดต่อไป = อนาคต แดงจะเป็นโจร

วิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องสังเกต, ทดลอง, ตั้งทฤษฎี เมื่อทฤษฎีได้รับการยืนยันจึงเป็นกฎ

จริยศาสตร์

พฤติกรรมทางเพศที่เสรี “ควร” ให้มีดีหรือไม่?

Table of Contents

สังคมศาสตร์

ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ เกี่ยวกับข้อเท็จจริง เช่น พฤติกรรมทางเพศที่เสรี

  1. อะไรเกิดขึ้น
  2. มีอะไรเป็นสาเหตุ
  3. จะเกิดต่อไปหรือไม่
  4. ถ้าจะให้เกิดหรือไม่เกิดจะทำอย่างไร?

 

 

            สรุป วิทยาศาสตร์ตัดสินที่ข้อเท็จจริง ส่วนจริยศาสตร์ตัดสินที่คุณค่า การเถียงกันเรื่องคุณค่า คือการแสวงหาเป้าหมายอันพึงประสงค์ แต่ต้องตั้งบนฐานของข้อเท็จจริง มิฉะนั้น เป้าหมายจะกลายเป็นความเพ้อฝัน ในทางตรงกันข้าม ถ้าเถียงกันแต่เรื่องข้อเท็จจริง โดยไม่มีเป้าหมาย เราก็จะอยู่ในสภาพคนตาบอด เพราะไม่ทราบว่า จุดหมายปลายทางคืออะไร?

————————–

1. จริยศาสตร์เชิงคุณธรรมแบบเก่า

จริยศาสตร์เชิงคุณธรรม (virtue ethics) มีบทบาทสูงมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เช่น ในปรัชญาของเพลโตและอริสโตเติล) จนกระทั่งยุคแห่งความรุ่งโรจน์ทางปัญญา (the Enlightenment) เมื่อต้องศึกษาเกี่ยวกับ “คุณธรรม” (virtue) นักปรัชญาคนสำคัญที่มักนึกถึงกันก็คืออริสโตเติล เบื้องต้น จึงควรกล่าวถึงแนวคิดของเขาโดยย่อเพื่อให้เห็นภาพของจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมแบบเก่าก่อนที่จะได้พิจารณาข้อถกเถียงของจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมแบบใหม่ต่อไป

อริสโตเติลเห็นว่าชีวิตที่ดี (หรือ “ความสุข” หรือ “ความเจริญงอกงาม”) เป็นสิ่งที่มีค่าในตนเอง และคุณค่าของสิ่งต่างๆ ขึ้นอยู่กับการดำเนินไปตามธรรมชาติของตน ชีวิตที่ดีจึงไม่ใช่ภาวะแต่เป็นกิจกรรม (activity) ที่เกิดจากการปฏิบัติตามธรรมชาติอันเป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์ อันได้แก่ เหตุผล ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่าชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีคุณธรรม เนื่องจากคุณธรรมคือความเป็นเลิศ (excellence) ในการนำธรรมชาตินั้นมาปฏิบัติ เนื่องจากเหตุผลของมนุษย์นั้นประกอบด้วยสองส่วนได้แก่ ด้านปฏิบัติ (practical) และด้านทฤษฎี (theoretical) คุณธรรมจึงสามารถแบ่งเป็นสองด้านเช่นกัน อย่างไรก็ตาม คุณธรรมที่เกี่ยวกับกิจกรรมของเหตุผลด้านปฏิบัติอันเรียกว่า “คุณธรรมเชิงจริยธรรม” (moral virtue) นั้นมีลักษณะแตกต่างจากคุณธรรมที่เกี่ยวกับกิจกรรมของเหตุผลด้านทฤษฎี หรือ “คุณธรรมเชิงสติปัญญา” (intellectual virtue) กล่าวคือ คุณธรรมเชิงสติปัญญานั้นสามารถสั่งสอนกันได้โดยตรง แต่การจะเรียนรู้คุณธรรมเชิงจริยธรรมนั้น บุคคลต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจนกระทั่งเกิดเป็นคุณลักษณะของตน

ต่อไปจะเห็นว่าในปัจจุบัน คุณธรรมอย่างหลังนี้ก็คือคุณธรรมที่เรามักนึกถึงยามที่กล่าวคำว่า “คุณธรรม” และมักเรียกกันอีกอย่างว่า “คุณธรรมแห่งลักษณะนิสัย” (virtue of character) คุณธรรมนี้เป็นลักษณะแห่งความพอเหมาะพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป เช่น บุคคลที่มีคุณธรรมด้านความกล้าหาญ ก็คือบุคคลที่ไม่บ้าบิ่นหรือขี้ขลาด การจะมองเห็น “จุดกึ่งกลางอันน่าพึงปรารถนา” (golden mean) นี้ได้ต้องอาศัย “เหตุผลปฏิบัติ” หรือ “ปัญญาปฏิบัติ” (phronesis) นั่นเอง

ทั้งนี้ ผลงานเกี่ยวกับคุณธรรมของอริสโตเติลที่มักอ้างถึงกันมีชื่อว่า Nichomachean Ethics อย่างไรก็ตาม อริสโตเติลเองมิได้เห็นว่า “จริยศาสตร์” (ethics) ซึ่งเป็นเรื่องของ “คนดี” นั้นแยกอยู่ต่างหากจาก “รัฐศาสตร์” (politics) ซึ่งเป็นเรื่องของ “รัฐที่ดี” เนื่องจากเขาเห็นว่าคุณธรรมเป็นเรื่องของการมีชีวิตที่ดีในชุมชน และการจะพัฒนาคุณธรรมเพื่อมีชีวิตที่ดีเช่นนั้นได้ จำเป็นต้องอาศัยบริบทที่เหมาะสม อันได้แก่ ชุมชน สถาบันทางสังคม หรือรัฐที่ดี ข้อนี้มิได้เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงการไม่แยกปัจเจกบุคคลออกจากสังคมเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงบทบาทของโชคชะตาอีกด้วย กล่าวคือ การที่ปัจเจกบุคคลจะได้อยู่ในบริบทที่เหมาะสมต่อการพัฒนาคุณธรรมหรือไม่นั้น ขึ้นกับปัจจัยมากมายที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

เราจะพบองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ในทฤษฎีของอริสโตเติลเกี่ยวกับคุณธรรมได้อีกในทฤษฎีจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมแบบใหม่ แต่ก็จะมีการตีความแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้นอกจากจะเป็นเพราะกรอบการทำงานแบบใหม่ที่มีการเสวนากับจริยศาสตร์สมัยใหม่แล้ว ยังเป็นผลมาจากลักษณะของผลงานของอริสโตเติล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nichomachean Ethics ที่มีความซับซ้อน เปิดโอกาสให้มีการตีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ในบางตอนก็ดูเหมือนอริสโตเติลจะเห็นว่า “คุณธรรมแห่งรัฐ” หรือ “รัฐที่ดี” นั้นสำคัญกว่า “คุณธรรมของบุคคล” แต่ในบางตอนก็ดูเหมือนว่า “รัฐที่ดี” เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับปัจเจกบุคคลในการบรรลุสู่ชีวิตที่ดีเท่านั้น

2. การฟื้นคืนของจริยศาสตร์เชิงคุณธรรม

ในปัจจุบัน ทฤษฎีจริยศาสตร์เชิงบรรทัดฐาน (normative ethics) ต่างๆ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กรณียธรรม (deontology) อันตวิทยา (teleology) และจริยศาสตร์เชิงคุณธรรม สำหรับจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมนั้น หากมองในบริบทปัจจุบันแล้ว กล่าวได้ว่าเป็นการฟื้นคืน เนื่องจากบทบาทของจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมได้หายไปจากจริยศาสตร์สมัยใหม่ (modern ethics) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ก่อนจะกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งในศตวรรษที่ผ่านมา

เบื้องต้นควรกล่าวถึง “อันตวิทยา” และ “กรณียธรรม” ก่อน ลักษณะร่วมของทฤษฎีในกลุ่มอันตวิทยา (เช่น อัตนิยมและประโยชน์นิยม) คือการอาศัยผลการกระทำเป็นมาตรฐานในการตัดสินว่าการกระทำนั้นถูกหรือผิด ขณะที่ลักษณะร่วมของทฤษฎีที่จัดไว้ในกลุ่มกรณียธรรม (เช่น ทฤษฎีของค้านท์) คือการอาศัยลักษณะของตัวการกระทำเป็นมาตรฐานการตัดสินว่าการกระทำนั้นถูกหรือผิด ข้อสำคัญคือทฤษฎีกลุ่มอันตวิทยาจะไม่พิจารณาลักษณะของตัวการกระทำเอง ขณะที่ทฤษฎีกลุ่มกรณียธรรมจะไม่พิจารณาผลการกระทำ ในจริยศาสตร์สมัยใหม่ ทฤษฎีจริยศาสตร์จะจัดอยู่ใน 2 กลุ่มนี้เป็นหลัก โดยมักเรียก “อันตวิทยา” ว่า “กลุ่มทฤษฎีจริยศาสตร์ที่เน้นผลการกระทำ” (consequentialism) และเรียก “กรณียธรรม” ว่า “กลุ่มทฤษฎีจริยศาสตร์ที่ไม่พิจารณาผลการกระทำ” (non-consequentialism) ทฤษฎีทั้ง 2 กลุ่มนี้เรียกได้ว่าเป็น “จริยศาสตร์เชิงหน้าที่” (duty ethics หรือ duty-based ethics) เนื่องจากมุ่งความสนใจไปที่การพิจารณาตัดสินความถูกผิดของการกระทำ ในฐานะที่การกระทำนั้นเป็นการทำ “หน้าที่” บางอย่าง (เช่นหน้าที่ในการทำตามกฏสากลในทฤษฎีของค้านท์ หรือหน้าที่ในการทำตามหลักมหสุขในทฤษฎีประโยชน์นิยม เป็นต้น) โดยไม่ได้เน้นการพิจารณาความดีเลวของตัวผู้กระทำเอง

จนกระทั่งปลายทศวรรษที่ 1950 อลิซาเบธ แอนสกอมบ์ (Elizabeth Anscombe) เขียนบทความเรื่อง “Modern Moral Philosophy” โดยพิจารณาความเคลื่อนไหวในจริยศาสตร์สมัยใหม่ที่ทฤษฎีจริยศาสตร์ 2 กลุ่มดังกล่าวมีอิทธิพลครอบคลุมอยู่ และแสดงทัศนะวิพากษ์วิจารณ์ว่าการที่จริยศาสตร์สมัยใหม่สนใจเฉพาะประเด็นความถูกผิดของการกระทำโดยมุ่งแต่จะแสวงหามาตรฐานสากลสำหรับตัดสินความถูกผิดของการกระทำในทุกสถานการณ์นั้น ทำให้ละเลยคำถามอื่นๆ ที่สำคัญทางจริยศาสตร์ โดยเฉพาะคำถาม ที่เกี่ยวกับตัวบุคคล ได้แก่ คุณธรรม ชีวิตที่ดี บทบาทของอารมณ์ความรู้สึก ความรักความผูกพัน ความสุขของชีวิต และจริยศึกษา (moral education) ที่มุ่งสร้างคุณลักษณะทางจริยธรรมในตัวบุคคล เป็นต้น

หากพิจารณาจริยศาสตร์เชิงบรรทัดฐานโดยรวม ก็จะเห็นน้ำหนักข้อวิจารณ์ของแอนสกอมบ์อย่างชัดเจน จริยศาสตร์เชิงบรรทัดฐานซึ่งมุ่งตอบคำถามเกี่ยวกับความถูกผิด/ดีเลวนั้น มีคำถามสำคัญ 2 ประการ คือ “อะไรคือการกระทำที่ถูก” และ “อะไรคือชีวิตที่ดี” คำถามหลังสัมพันธ์กับคำถามอื่นๆ อีกหลายคำถาม ได้แก่ “อะไรควรเป็นเป้าหมายในชีวิต” และ “อะไรคือการเป็นคนดี” เป็นต้น การที่จริยศาสตร์สมัยใหม่ให้ความสำคัญกับการตอบคำถามแรกเกี่ยวกับความถูกผิดของการกระทำ จึงเป็นการละเลยคำถามที่สองเกี่ยวกับชีวิตที่ดี ทั้งๆ ที่คำถามนี้ รวมถึงคำถามอื่นๆ ที่สัมพันธ์กัน ต่างก็มีบทบาทในชีวิตทางจริยธรรมของคน หรืออีกนัยหรือ ยังเป็นคำถามที่เราต่างก็ให้ความสนใจและแสวงหาคำตอบเพื่อการดำเนินชีวิตของเรา รวมถึงเพื่อการสั่งสอนเยาวชนอีกด้วย

หลังจากทศวรรษที่ 1950 ที่แอนสกอมบ์จุดประกายให้แก่การฟื้นคืนของจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมแล้ว ในทศวรรษที่ 1980 ยังมีนักปรัชญาที่สำคัญอีก 2 คนที่มีบทบาทสำคัญในการวิจารณ์จริยศาสตร์สมัยใหม่และเปิดทางให้จริยศาสตร์เชิงคุณธรรม คนแรกคือเบอร์นาร์ด วิลเลียมส์ (Bernard Williams) วิลเลียมส์แยกแยะระหว่าง “ศีลธรรม” (morality) กับ “จริยธรรม” (ethics) “ศีลธรรม” ก็คือทฤษฎีต่างๆ ในจริยศาสตร์เชิงหน้าที่ข้างต้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นความพยายามตอบคำถาม “อะไรคือการกระทำที่ถูกต้อง” เท่านั้น ขณะที่ “จริยธรรม” คือความพยายามที่จะตอบทั้งคำถาม “อะไรคือการกระทำที่ถูกต้อง” และคำถาม “อะไรคือชีวิตที่ดี” ดังนั้น “จริยธรรม” จึงกว้างขวางกว่า โดยครอบคลุมการพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตที่ดีตั้งแต่คุณธรรม ความสุข มิตรภาพ ครอบครัว สังคมที่ดีไปจนกระทั่งอุดมคติต่างๆ เช่น ความยุติธรรม

วิลเลียมส์เสนอว่าเราควรที่จะให้ความสนใจ “จริยธรรม” มากกว่า “ศีลธรรม” เนื่องจากการที่ “ศีลธรรม” มุ่งให้ความสนใจเกี่ยวกับความถูกผิดของการกระทำนั้น เป็นการปิดโอกาสบทบาทของ “โชคชะตา” (luck) กล่าวคือ เราเห็นได้ว่าการตัดสินความถูกผิดของการกระทำมีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบของผู้กระทำ ถ้าบุคคลกระทำสิ่งที่ถูกต้อง ก็จะได้รับคำชม แต่หากกระทำสิ่งที่ผิด ก็จะได้รับคำตำหนิ ดังนั้น การมุ่งให้ความสนใจเฉพาะความถูกผิดของการกระทำ จึงเป็นการจำกัดความสนใจอยู่กับสิ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของบุคคล ทั้งนี้เนื่องจากเรามิอาจให้บุคคลรับผิดชอบในสิ่งที่เขามิอาจควบคุมได้ จึงหมายความว่าการจำกัดความสนใจอยู่กับสิ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของบุคคลเป็นการจำกัดความสนใจอยู่กับสิ่งที่อยู่ในความควบคุมของบุคคลเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม วิลเลียมส์เห็นว่าโชคชะตามีบทบาทมาก สมมุติว่านาย ก พบเงินจำนวนห้าหมื่นบาทตกอยู่และนำเงินไปคืนเจ้าของ ในกรณีนี้ เราจะกล่าวว่านาย ก กระทำสิ่งที่ถูกต้อง และเราจะชื่นชมนาย ก อย่างไรก็ตาม การที่นาย ก ตัดสินใจกระทำสิ่งที่ถูกอันเป็นสิ่งที่อยู่ในความควบคุมของเขา(คือ จะนำเงินไปคืนหรือไม่ก็ได้) อาจจะเป็นเพราะว่าเขาได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอื่นๆ ที่ตนมิอาจควบคุมได้ เช่น นาย ก เป็นคนซื่อสัตย์เนื่องจากบังเอิญเกิดมาในครอบครัวที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี จะเห็นได้ว่าหากเราขยายการพิจารณาให้ครอบคลุมปัจจัยอื่นๆ เช่น ลักษณะของบุคคล หรือครอบครัว เราก็จะเห็นบทบาทของโชคชะตาได้ชัดเจนขึ้น

อลาสแดร์ แมคอินไทร์ (Alasdair MacIntyre) ก็เป็นคนสำคัญอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นคืนของจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมในทศวรรษนี้ ทัศนะของเขาดึงความสนใจมาสู่จริยศาสตร์เชิงคุณธรรมเป็นอย่างมาก ผลงานเรื่องสำคัญของเขาที่รู้จักกันดีก็คือ “After Virtue” แม็คอินไทร์พบว่าคุณธรรมมิได้เหมือนกันทุกกรณีหรือสถานการณ์ ในทางตรงข้าม ในบริบทที่ต่างกัน จะพบชุดของคุณธรรมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้คำอธิบายเกี่ยวกับคุณธรรมยังแตกต่างกันออกไปอีกด้วย ความแตกต่างเหล่านี้เนื่องมาจากวิถีชีวิตอันประกอบด้วยการปฏิบัติต่างๆ ที่แตกต่างกัน การจะทำความเข้าใจคุณธรรมได้ จึงต้องพิจารณาควบคู่กับบริบทของคุณธรรมนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิจารณาว่าคุณธรรมต่างๆ นั้นมีบทบาทอะไรในบริบทดังกล่าว

ด้วยเหตุนี้ แม็คอินไทร์จึงสรุปว่าคุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ อันเป็นกิจกรรมทางสังคมรูปแบบต่างๆ โดยการปฏิบัติเหล่านี้จะมีความเป็นระบบสอดคล้องกลมกลืน และต่างก็มีเป้าหมายบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายในการบรรลุถึงสิ่งที่นิยามว่าดีในบริบทของการปฏิบัตินั้น บทบาทของคุณธรรมคือการบรรลุสู่เป้าหมายในการปฏิบัตินั้นๆ ทั้งนี้ กล่าวได้ว่าในที่สุดแล้ว เป้าหมายของการปฏิบัติต่างๆ มุ่งไปหาเป้าหมายที่ใหญ่กว่า อันเป็นเป้าหมายที่ถือว่าหากบรรลุแล้ว จะได้มาซึ่งชีวิตที่ดี หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นเป้าหมายของชีวิตโดยรวมของมนุษย์ หากเป็นเช่นนี้ ก็ต้องหมายความว่ามีคุณธรรมบางอย่างที่ช่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายโดยรวมนี้ อาจเรียกได้ว่า “คุณธรรมแห่งความยึดมั่นซื่อตรงต่อตนเอง” (virtue of integrity) หรือ “คุณธรรมแห่งความมั่นคงสม่ำเสมอ” (virtue of constancy) จะเห็นได้ว่าทัศนะของแม็คอินไทร์ไม่เพียงปฏิเสธที่จะจำกัดตนเองอยู่กับการตัดสินคุณค่าในระดับการกระทำเท่านั้น แต่ยังเป็นการท้าทายความมุ่งหมายของจริยศาสตร์สมัยใหม่ในอันที่จะแสวงหามาตรฐานสากลที่อยู่พ้นบริบทอีกด้วย

3. ลักษณะของคุณธรรม

ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า จริยศาสตร์เชิงคุณธรรมเคยมีบทบาทสำคัญในสมัยกรีกโบราณ การทำความเข้าใจ “คุณธรรม” ในสมัยการฟื้นคืนนี้จึงอ้างอิงถึงมโนทัศน์ต่างๆ ที่เคยใช้ในสมัยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งของอริสโตเติล ได้แก่

(1) “arête” (ความเป็นเลิศ – excellence หรือ คุณธรรม – virtue)

(2) “phronesis” (ปัญญาเชิงปฏิบัติ หรือ ปัญญาเชิงจริยธรรม – practical or moral wisdom)

(3) “eudaimonia” (ความสุข – happiness หรือ ความเจริญงอกงาม – flourishing)

ทั้งนี้ ในที่นี้ขอเรียก arête ว่า “คุณธรรม” เรียก phronesis ว่า “ปัญญาปฏิบัติ” และเรียก eudaimonia ว่า “ความเจริญงอกงาม” แม้ว่ามโนทัศน์เหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในทฤษฎีต่างๆ ที่จัดไว้ในกลุ่มจริยศาสตร์เชิงคุณธรรม แต่คนก็มักจะสับสนในความหมาย โรสาลินด์ เฮิสท์เฮาส์ (Rosalind Hursthouse) ซึ่งเป็นนักจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมที่สำคัญคนหนึ่งในปัจจุบันได้ให้คำอธิบายไว้เป็นอย่างดีดังต่อไปนี้

ถ้าบุคคลใดมีคุณธรรม จะถือว่าบุคคลนั้นเป็นคนดี เป็นคนที่น่าชื่นชม หรือเป็นคนที่มีความเป็นเลิศทางจริยธรรม เป็นบุคคลที่มีความคิด ความรู้สึกและการกระทำอย่างที่เหมาะที่ควร มีหลายคนที่เห็นว่าคุณธรรมคือความโน้มเอียง (tendency) ที่จะมีพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ยามที่กล่าวว่าบุคคลหนึ่งมีคุณธรรมข้อ “ซื่อสัตย์” (honest) ก็หมายความเพียงว่าบุคคลนั้นมีความโน้มเอียงที่จะแสดงพฤติกรรมซื่อสัตย์ ในทำนองเดียวกัน บางคนก็กล่าวว่าคุณธรรมเป็นลักษณะของบุคคล (character trait) นั่นคือ ความโน้มเอียงที่เป็นส่วนหนึ่งของบุคคลอย่างมั่นคง อย่างไรก็ตาม เฮิสท์เฮาส์ชี้ว่าการนิยามเช่นนี้ไม่ถือว่าเพียงพอ เนื่องจากคุณธรรมเป็นมากไปกว่านั้น คุณธรรมหนึ่งๆ อาจนำสู่การกระทำที่แตกต่างหลากหลาย และอาจมีความสัมพันธ์กับภาวะทางจิตวิทยาอื่นๆ มากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น ความรู้สึก ความคาดหวัง ทัศนคติ ฯลฯ ผู้ที่เรียกได้ว่า “ซื่อสัตย์” จึงมิได้มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมบางอย่างเพียงอย่างเดียว และมิได้มีภาวะทางความคิดความรู้สึกเพียงอย่างเดียว

ผู้ที่มีพฤติกรรมที่เรียกว่า “ซื่อสัตย์” สม่ำเสมอ อาจจะไม่ใช่ผู้ที่มีคุณธรรมแห่งความ “ซื่อสัตย์” จริงๆ ก็ได้ หากเขามีพฤติกรรมเช่นนั้นด้วยความคิดที่ว่าความซื่อสัตย์จะช่วยให้เป็นที่ชื่นชม หรือด้วยความกลัวที่ว่าหากคดโกงแล้วจะถูกลงโทษ บุคคลต้องคิดว่า “หากไม่กระทำเช่นนั้น จะเป็นการไม่ซื่อสัตย์” ไม่เพียงเท่านั้น หากบุคคลคิดว่าตนต้องกล่าวความจริง เพียงเพราะว่า “นี่คือความจริง” (หรือ “หากไม่กล่าวออกไป จะเป็นการไม่ซื่อสัตย์”) ก็มิอาจกล่าวได้อย่างเหมาะสมว่าเขาซื่อสัตย์ เนื่องจาก “ซื่อสัตย์” ต่างจาก “ขวานผ่าซาก” หรือ “ไม่รู้จักกาลเทศะ” เฮิสท์เฮาส์เห็นว่าการที่จะกล่าวได้อย่างเหมาะสมว่าเขามีคุณธรรมข้อนี้ บุคคลนั้นต้องคิดเพียงว่า “หากไม่กระทำเช่นนั้น จะเป็นการไม่ซื่อสัตย์” แม้ข้อนี้จะสำคัญที่สุดก็ตาม แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็ต้องคิดว่า “หากกระทำเช่นนั้น จะเป็นการซื่อสัตย์” (“หากกล่าวออกไป จะเป็นการซื่อสัตย์”) อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น แพทย์คนหนึ่งมุ่งมั่นจะมีคุณธรรมแห่งความซื่อสัตย์ แพทย์คนนี้จึงแจ้งให้ผู้ป่วยทุกคนทราบเสมอเมื่อพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง เนื่องจากคิดว่า “หากไม่แจ้ง จะเป็นการไม่ซื่อสัตย์” ในกรณีนี้ คงไม่มีใครยกย่องแพทย์ผู้นี้ว่า “ซื่อสัตย์” หากแต่จะประณามว่า “ไม่รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร” ถ้าแพทย์ผู้นี้เห็นว่า “หากไม่แจ้ง จะเป็นการไม่ซื่อสัตย์” และเขาต้องการที่จะซื่อสัตย์ ก็แปลว่าจะต้องแจ้ง แต่เท่านั้นยังไม่พอ เนื่องจากเพื่อที่จะมีคุณธรรมอย่างแท้จริง แพทย์คนนี้ต้องคิดต่อไปว่า “หากแจ้งแล้ว จะเป็นการซื่อสัตย์” หรือไม่ ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการทราบเกี่ยวกับโรคของตนจริงๆ เช่น ต้องการข้อมูลการตัดสินใจเพื่อเตรียมตัวให้พร้อม การแจ้งข่าวร้ายก็ถือเป็นความซื่อสัตย์ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยจิตใจอ่อนแอ ไม่สามารถเผชิญความจริงได้ การแจ้งข่าวร้ายจะกลับถือเป็นความไม่มีคุณธรรม เช่น “ไม่รู้จักกาลเทศะ” หรือ “ไม่มีหัวใจ” อย่างไรก็ตาม การที่จะตัดสินได้ว่าเมื่อใดควรหรือไม่ควรแจ้งนั้นมิใช่เรื่องง่าย คุณธรรมจึงต้องอาศัย “ปัญญาปฏิบัติ” ด้วย ดังจะกล่าวถึงต่อไป

นอกจากนี้ คุณธรรมข้อความซื่อสัตย์ยังมิต้องปรากฏเป็นพฤติกรรมเฉพาะในรูปของการไม่กล่าวเท็จหรือการไม่คดโกงเท่านั้น หากแต่ยังปรากฏในรูปอื่นที่สะท้อนทัศนคติที่ให้ความสำคัญแก่คุณค่าของความซื่อสัตย์ด้วย ข้อนี้เห็นได้ชัดจากการตัดสินใจและพฤติกรรมต่างๆ เช่น ผู้ที่เห็นความสำคัญของความซื่อสัตย์จะเลือกทำงานที่ไม่ทำให้ต้องคดโกงหรือหลอกลวงใคร จะเลือกคบเพื่อนที่ซื่อสัตย์เหมือนกัน หรือจะสั่งสอนบุตรหลานให้ซื่อสัตย์ นอกจากนี้ ยังจะแสดงความไม่พึงใจในพฤติกรรมที่ไม่ซื่อสัตย์ ไม่นิยมผู้ที่ประสบความสำเร็จด้วยวิธีคดโกง หรือดูแคลนผู้ที่ไม่เห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์

ด้วยเหตุนี้ การจะตัดสินได้ว่าบุคคลมีคุณธรรมใดหรือไม่ จึงไม่เพียงแต่จะต้องรู้ถึงเหตุผลเบื้องหลังการกระทำเท่านั้น หากแต่ยังต้องรู้ถึงทัศนคติและพฤติกรรมอื่นๆ อีกด้วย นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าการเป็นผู้มีคุณธรรมอย่างสมบูรณ์ คือ ถึงพร้อมด้วยความคิด ความรู้สึก ทัศนคติและพฤติกรรมต่างๆ นั้น นับเป็นเรื่องยาก คุณธรรมจึงมีระดับต่างกันออกไป เช่น คนที่เรียกได้ว่าซื่อสัตย์อย่างสมบูรณ์แบบ อาจจะไม่เพียงแต่ยึดมั่นในคุณค่านี้แม้ต้องสละชีวิตเท่านั้น แต่ยังยึดมั่นที่จะดำรงความซื่อสัตย์แม้ในกรณีเล็กน้อย แต่คนทั่วไปๆ ที่เรียกได้ว่าซื่อสัตย์ อาจจะเป็นเช่นนั้นในกรณีส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันอาจจะยอมยกเว้นคุณธรรมข้อนี้เมื่อเห็นว่าตนเองจะต้องประสบกับความเดือดร้อนอย่างมาก หรืออาจจะไม่ใส่ใจที่จะนำกรณีเล็กน้อยมาเป็นข้อคำนึง ทำนองเดียวกันคนที่ไร้คุณธรรม ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นอย่าง “สมบูรณ์แบบ” ในบางกรณีเขาอาจกระทำสิ่งที่ทำให้บุคคลต่างๆ อยากเรียกเขาว่าเป็นผู้มีคุณธรรมก็ได้ การพิจารณาเกี่ยวกับคุณธรรมจึงเป็นเรื่องซับซ้อน

เฮิสท์เฮาส์ชี้ว่าองค์ประกอบหนึ่งที่มีผลต่อระดับคุณธรรมคือความประสานกันของเหตุผลและอารมณ์ ดังที่อริสโตเติลแบ่งผู้มีคุณธรรมเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ที่สมบูรณ์แบบ (หรือมีความเป็นเลิศแท้จริง) และผู้ที่ยังต้องอาศัยความเข้มแข็งของเจตจำนง (strength of the will) บุคคลประเภทแรกนั้นไม่ประสบปัญหาจากความขัดแย้งระหว่างเหตุผลและอารมณ์ ขณะที่บุคคลในอีกประเภทหนึ่งต้องอาศัยการข่มใจเพื่อให้สามารถทำสิ่งที่เหตุผลบอกว่าถูกต้องได้ ประเด็นนี้ดูเหมือนจะขัดกับความรู้สึกทั่วไปที่ว่าผู้ที่ “ชนะใจตนเอง” เป็นผู้ที่มีคุณธรรมยิ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ จึงควรแยกให้ชัดระหว่างผู้ที่ “ชนะใจตนเอง” อย่างแท้จริงกับผู้ที่ยังมีคุณธรรมบกพร่อง กรณีที่บุคคลยืนยันที่จะซื่อสัตย์ท่ามกลางการขู่เข็ญเอาชีวิตของมาเฟีย กรณีนี้ไม่ถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มของคนที่ยังต้อง “ออกแรง” คือ อาศัยความเข้มแข็งของเจตจำนง แต่ในกรณีที่บุคคลตัดสินใจที่จะซื่อสัตย์ (เช่น ไม่คดโกง) หลังจากยื้อยุดกับความปรารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่ของตน กรณีนี้จึงกล่าวได้ว่าเขายังไม่สมบูรณ์แบบ หรืออีกนัยหนึ่ง ยังมีความบกพร่องทางคุณธรรมอยู่

อีกองค์ประกอบหนึ่งที่หากหายไปแล้วจะทำให้เรียกไม่ได้ว่าเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมก็คือ “ปัญญาปฏิบัติ” มีคำกล่าวที่ได้ยินบ่อยๆ ทำนองที่ว่าบุคคลมีคุณธรรมบางอย่าง “มากเกินไป” เช่น ซื่อสัตย์มากเกินไป มีน้ำใจมากเกินไป กล้าหาญมากเกินไป หรือไม่ก็มีคำกล่าวทำนองที่ว่า “คุณธรรมก่อโทษ” หรือ “เพราะความมีคุณธรรม เขาจึงทำเลว” หากคุณธรรมเป็นสิ่งที่ดีจริง คำกล่าวเหล่านี้ย่อมจัดได้ว่าไม่ถูกต้อง สาเหตุของความเข้าใจผิดนี้ก็เพราะมีหลายคนมักเข้าใจว่าคุณธรรมเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของเหตุผล เช่น คนที่ซื่อสัตย์ก็คือคนที่รู้สึกผิดยามที่คดโกงหรือกล่าวเท็จ คนที่มีน้ำใจก็คือคนที่รู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คนที่กล้าหาญก็คือคนที่ไม่รู้สึกเกรงกลัวหรือชอบเสี่ยง ถ้าคุณธรรมเป็นเรื่องของแรงผลักดันจากความรู้สึก ก็ไม่น่าแปลกใจที่ “ผู้มีคุณธรรม” อาจถูกความรู้สึกที่รุนแรงผลักดันให้กระทำสิ่งที่เกินพอดี ความรู้สึกเหล่านี้แม้เด็กก็มีกันได้ แต่เราก็มักไม่กล่าวว่าเด็กเหล่านี้มีคุณธรรม อริสโตเติลเรียกความรู้สึกเหล่านี้ว่า “คุณธรรมแบบธรรมชาติ” (natural virtue) ซึ่งยังมิได้เป็นคุณธรรมอย่างแท้จริง เป็นเพียงวัตถุดิบที่จะต้องแปรรูปโดยอาศัยปัญญาปฏิบัติเสียก่อน

เฮิสท์เฮาส์ชี้ว่าปัญญาปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจ โดยทั่วไปกล่าวได้ว่าปัญญาปฏิบัติคือความรู้ความเข้าใจที่ทำให้บุคคลสามารถทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมได้ แต่ยังไม่มีคำตอบแน่ชัดว่าอะไรคือองค์ประกอบของความรู้ความเข้าใจเช่นนี้ ที่ยอมรับทั่วไปคือปัญญาปฏิบัติได้จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิต ทำให้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และความเป็นจริง สิ่งนี้ช่วยให้สามารถเข้าใจสถานการณ์ที่เผชิญ รวมถึงคาดเดาผลจากการกระทำต่างๆ ได้ ความสามารถในการเข้าใจสถานการณ์นี้กล่าวถึงกันมากในฐานะองค์ประกอบของปัญญาปฏิบัติ ผู้มีปัญญาย่อมสามารถแยกแยะได้ว่าในสถานการณ์ที่เผชิญ อะไรคือสิ่งที่สำคัญควรแก่การพิจารณา ประเด็นนี้สัมพันธ์กับข้อที่ว่าผู้มีปัญญาย่อมรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญหรือมีค่าแท้จริง หรืออีกนัยหนึ่ง บุคคลเช่นนี้ย่อมรู้ว่าอะไรคือการมีชีวิตที่ดี อะไรคือความสุขในชีวิต หรืออะไรคือความเจริญงอกงาม จะเห็นได้ว่าถ้าบุคคลที่ถูกผลักดันด้วย “คุณธรรมแบบธรรมชาติ” ที่มีและใช้ปัญญาปฏิบัติกำกับการปฏิบัติตามแรงผลักดันนั้น บุคคลผู้นั้นก็จะไม่เผชิญกับภาวะ “มีคุณธรรมมากเกินไป” หรือภาวะที่ “คุณธรรมนำสู่โทษ”

แล้วอะไรคือชีวิตที่ดี เฮิสท์เฮาส์กล่าวว่าคำว่า “eudaimonia” เป็นคำกรีกที่แปลยาก บ้างนิยมแปลว่า “เจริญงอกงาม” แต่คำแปลนี้มีปัญหาว่าแม้แต่พืชก็เจริญงอกงามได้ คำนี้จึงดูจะขาดองค์ประกอบที่เกี่ยวกับจิตใจ บ้างก็นิยมแปลว่า “ความสุข”​ แต่ก็ประสบปัญหาว่าคำนี้มักทำให้คนคิดถึงสิ่งที่เป็นอัตวิสัย (subjective) เสียมาก นั่นคือ เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่จะตัดสินว่าชีวิตของตนมีความสุขหรือไม่ และเจ้าตัวก็ไม่น่าผิดพลาดในการตัดสินว่าตนมีความสุขหรือไม่ อย่างไรก็ตาม “eudaimonia” เป็นสิ่งที่ผู้อื่นสามารถช่วยตัดสินได้ และเป็นสิ่งที่เจ้าตัวอาจตัดสินผิดได้ เพราะหลอกตนเอง หรือไม่เข้าใจว่าอะไรคือชีวิตที่ดีแท้ ในแง่นี้ การแปลว่า “เจริญงอกงาม” ถือว่ามีข้อดีมากกว่า เพราะผู้อื่นสามารถตัดสินได้ว่าชีวิตของบุคคลหนึ่งเจริญงอกงามหรือไม่ และเจ้าตัวเองก็อาจเข้าใจผิดว่าชีวิตของตนเจริญงอกงามแล้ว ทั้งนี้ ที่กล่าวคือลักษณะเบื้องต้นของ “เจริญงอกงาม” แต่สำหรับรายละเอียดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าอะไรคือความเจริญงอกงาม หรืออะไรคือชีวิตที่ดี เช่น บ้างก็เห็นว่าชีวิตที่ดีคือชีวิตที่เปิดรับต่อผู้อื่นและมุ่งสร้างคุณประโยชน์ให้แก่โลก บ้างก็เห็นว่าชีวิตที่ดีคือชีวิตที่สอดคล้องกับสารัตถะแห่งความเป็นมนุษย์ บ้างเห็นว่าแค่เป็นชีวิตที่มีคุณธรรมก็เพียงพอต่อการเป็นชีวิตที่ดีแล้ว

ทฤษฎีต่างๆ ที่จัดไว้ในกลุ่มจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมเห็นร่วมกันว่า “คุณธรรม” มีความสัมพันธ์กับ “ความเจริญงอกงาม” การดำรงชีวิตอย่างมีคุณธรรมจัดเป็นเงื่อนไขจำเป็นของความเจริญงอกงามหรือการมีชีวิตที่ดี อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความเพียงว่าคุณธรรมเป็นวิถีทางที่นำสู่ความเจริญงอกงาม แต่หมายความว่าคุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของตัวความเจริญงอกงามเอง สำหรับรายละเอียดของประเด็นนี้ ยังไม่เป็นที่ลงรอยกันทั้งหมด เช่น อริสโตเติลเห็นว่าคุณธรรมเป็นส่วนที่จำเป็นของชีวิตที่ดี แต่ไม่ใช่ทั้งหมด การจะมีชีวิตที่ดีต้องอาศัยสิ่งดีภายนอกอื่นๆ ที่มิอาจควบคุมได้ด้วย ข้อนี้ทำให้ต้องสรุปว่าโชคชะตาเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งของการมีชีวิตที่ดี

การพิจารณาในส่วนก่อนหน้าและในส่วนนี้ช่วยให้เห็นว่าจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมมิได้ปฏิเสธการตอบคำถามว่า “อะไรคือการกระทำที่ถูกต้อง” หากแต่เห็นต่างจากฝ่ายอันตวิทยาและกรณียธรรมว่าการตอบคำถามนี้ต้องอาศัยคำตอบต่ออีกคำถามหนึ่งด้วย นั่นคือ “อะไรคือชีวิตที่ดี” นอกจากนี้ ในขณะที่อันตวิทยาให้ความสำคัญกับผลการกระทำและกรณียธรรมให้ความสำคัญกับลักษณะบางอย่างของตัวการกระทำเอง จริยศาสตร์เชิงคุณธรรมก็ให้ความสำคัญกับคุณธรรมในฐานะสิ่งที่มีค่าในตนเอง ข้อนี้ทำให้เห็นว่าเราไม่อาจกล่าวง่ายๆ ว่าสิ่งหนึ่งเป็นคุณธรรมเพราะทำให้เราทำสิ่งที่ถูกต้อง มิฉะนั้น ก็จะเป็นการลดทอนคุณธรรมอันเป็นเรื่องของคุณลักษณะของบุคคลลงสู่ระดับการกระทำ คำอธิบายของเฮิสท์เฮาส์ข้างต้นได้แสดงความซับซ้อนของคุณธรรมที่ช่วยให้หลีกเลี่ยงการทอนเช่นนี้ได้

นอกจากนี้ เรายังเห็นด้วยว่าจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมนั้นต่างจากอันตวิทยาและกรณียธรรมตรงที่มิได้มุ่งหามาตรฐานสากลที่อยู่เหนือบริบท จริยศาสตร์เชิงคุณธรรมเปิดโอกาสให้พิจารณาความซับซ้อนของบริบทควบคู่กันไป รวมถึงอาศัยแนวคิดเรื่องปัญญาปฏิบัติอีกด้วย สำหรับการตัดสินคุณค่าการกระทำตามแนวจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมนั้น ทฤษฎีของไมเคิล สโลต (Michael Slote) น่าจะช่วยให้เห็นภาพดีที่สุด ตามทฤษฎีนี้ การกระทำจะถูกต้องก็ต่อเมื่อผู้กระทำเป็นผู้มีคุณธรรม หรืออีกทฤษฎีหนึ่งก็น่าจะช่วยให้เห็นภาพได้ นั่นคือ ทฤษฎีจริยศาสตร์แห่งความอาทร (ethics of care) ตามทฤษฎีนี้ การกระทำจะถูกต้องก็ต่อเมื่อกระทำโดยมีพื้นฐานมาจากความเอื้ออาทร ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ทฤษฎีนี้ยกย่อง

ทั้งนี้ มีข้อควรระวังว่าจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมนี้ต่างจาก “ทฤษฎีคุณธรรม” (virtue theory) คืออย่างหลังเป็นความพยายามอธิบายเกี่ยวกับคุณธรรมจากจุดยืนของทฤษฎีในกลุ่มอันตวิทยาหรือกรณียธรรม เช่น ประโยชน์นิยมอาจจะอธิบายว่าคุณธรรมคือสิ่งที่หากบุคคลมีแล้วจะนำมาซึ่งมหสุข หรือในทฤษฎีของค้านท์เอง ก็มีความพยายามที่จะหาแนวคิดของค้านท์เกี่ยวกับคุณธรรมจากงานเขียนเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจาก Groundwork of the Metaphysics of Morals เช่น Doctrine of Virtue หรือ Anthropology From a Pragmatic Point of View เป็นต้น

4. ข้อวิจารณ์
มีข้อวิจารณ์ที่สำคัญต่างๆ ต่อจริยศาสตร์เชิงคุณธรรม ประการแรกคือ จริยศาสตร์เชิงคุณธรรมนั้นมิอาจนำมาใช้ได้ เนื่องจากมิได้ให้มาตรฐานกฎเกณฑ์สำหรับการตัดสินความถูกผิดของการกระทำอย่างแน่ชัดดังที่พบได้ในทฤษฎีจริยศาสตร์ในกลุ่มอันตวิทยาและกรณียธรรม แม้บางทฤษฎีในจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมดูเหมือนจะระบุมาตรฐานดังกล่าวชัดเจน เช่น ของสโลต แต่การนำมาใช้ก็ยังต้องพิจารณาสิ่งที่ตัดสินได้ยากหรือไม่มีความแน่ชัด ได้แก่ คุณธรรม ซึ่งครอบคลุมถึงภูมิหลังผู้กระทำ ความรู้สึกนึกคิดขณะกระทำ รวมถึงบริบทของสถานการณ์ หรือแม้กระทั่งปัญญาปฏิบัติ อันเป็นปัจจัยของคุณธรรมที่มีลักษณะยากแก่การระบุตัดสิน

สำหรับข้อวิจารณ์นี้ นักจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมตอบว่าอันที่จริงไม่มีเหตุผลสมควรที่จะเชื่อว่ามีมาตรฐานกฎเกณฑ์ที่แน่ชัดสำหรับการตัดสินทางจริยธรรม กรณีของข้อขัดแย้งเนื่องจากประเด็นจริยธรรมต่างๆ ทางการแพทย์หรือทางชีวภาพที่มีในปัจจุบันนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ว่าการตัดสินความถูกผิดของการกระทำ (เช่น การทำแท้ง การอุ้มบุญ การทำสำเนาพันธุกรรม เป็นต้น) เป็นเรื่องซับซ้อนยุ่งยากเกินกว่าที่จะจัดการด้วยมาตรฐานกฎเกณฑ์บางอย่างได้ นอกจากนี้ ปัจจุบัน แม้แต่นักจริยศาสตร์ในกลุ่มอันตวิทยาและกรณียธรรมเอง ต่างก็ยอมรับว่าแม้เราจะตกลงร่วมกันได้ว่าอะไรคือมาตรฐานกฎเกณฑ์สำหรับการตัดสินทางจริยธรรม แต่ก็ยังจะมีปัญหาเกี่ยวกับการนำมาตรฐานกฎเกณฑ์นั้นไปใช้ ข้อนี้สนับสนุนประเด็นที่ว่าในที่สุดแล้ว ปัญญาปฏิบัติ อันช่วยให้มีความอ่อนไหวด้านคุณค่าและเข้าใจสถานการณ์ที่เผชิญ คือปัจจัยที่จะขาดเสียมิได้ในการปฏิบัติทางจริยธรรม

ข้อวิจารณ์อีกประการหนึ่งก็คือว่าจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมไม่อาจแก้ไขปัญหาทางสองแพร่งทางจริยธรรม(moral dilemma) ได้ กล่าวคือ จริยศาสตร์เชิงคุณธรรมดูจะไม่สามารถให้ทางออกได้ในกรณีที่คุณธรรมให้คำตอบที่ขัดแย้งกัน เช่น เราจะตัดสินอย่างไรถ้าพบกรณีที่ความซื่อสัตย์บอกว่าเราต้องพูดความจริง แต่ความกรุณาบอกว่าเราต้องโกหก หรือกรณีที่ความกรุณาบอกว่าเราต้องช่วยหญิงที่ตั้งครรภ์ทำแท้งและความกรุณาเดียวกันนี้บอกว่าเราต้องรักษาเด็กในครรภ์ไว้ นักจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมตอบข้อวิจารณ์นี้ว่าในหลายๆ กรณี ทางสองแพร่งเช่นนี้เป็นเพียงภาพลวง หากบุคคลมีปัญญาปฏิบัติ เขาก็จะสามารถตัดสินได้ว่าควรจะทำอย่างไร

ข้อวิจารณ์ประการต่อไปก็คือว่าคุณธรรมเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ฉะนั้น การที่จริยศาสตร์เชิงคุณธรรมให้ความสำคัญกับคุณธรรมเป็นหลัก จึงเป็นการส่งเสริมให้บุคคลสนใจแต่เฉพาะเรื่องของตนเอง (เช่น ชีวิตที่ดีของตนเอง) นับเป็นลักษณะที่ขัดกับจริยธรรมที่มีจุดสนใจอยู่ที่การกระทำอันมีผลกระทบต่อผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น บ้างก็วิจารณ์ว่าจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมยกย่องคนที่เห็นแก่ตัว กล่าวคือ คนที่มีคุณธรรมคือคนที่ทำสิ่งต่างๆ ตามลักษณะคุณธรรมนั้นได้โดยไม่ต้องต่อสู้ภายใน คนเช่นนี้จึงเป็นผู้ที่ทำตามใจต้องการอย่างแท้จริง แต่คนที่ทำตามใจตนก็ไม่ต่างไปจากคนเห็นแก่ตัว หรือในทำนองเดียวกันมีที่วิจารณ์ว่าคนมีคุณธรรมทำสิ่งต่างๆ ตามคุณธรรมก็เพื่อให้ตนมีชีวิตที่ดี หรือมีความสุข ข้อนี้ย่อมแสดงชัดว่าเขาทำเพื่อตนเอง ซึ่งไม่ต่างไปจากคนเห็นแก่ตัวเช่นกัน

นักจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมตอบข้อวิจารณ์นี้ว่าโดยรวมแล้ว อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายที่ถูกที่ควรของคุณธรรม (ดังที่เฮิสท์เฮาส์อธิบายข้างต้น) นอกจากนี้ หากพิจารณาข้อเท็จจริง เราจะเห็นได้ว่าผู้มีคุณธรรมคือคนไม่เห็นแก่ตัว เช่น คนที่กล้าหาญยอมเสี่ยงชีวิตของตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น และหากพิจารณาตัวคุณธรรมเอง ก็จะพบว่าแม้หลายข้อจะเป็นเรื่องที่ให้ประโยชน์ตนเองโดยตรง (self-regarding) (เช่น มีระเบียบวินัย รอบคอบ) หลายข้อก็เป็นเรื่องที่มุ่งให้ประโยชน์แก่คนอื่น (other-regarding) (เช่น เมตตา กรุณา ยุติธรรม) อีกทั้งคำว่า “ชีวิตที่ดี” หรือ “ความสุข” นั้น ก็มิได้มีความหมายว่าเป็นชีวิตที่มีความสุขสบายและเพลิดเพลิน (pleasure) แต่มีความหมายอื่น เช่น หมายถึงชีวิตที่ดำเนินไปอย่างสมค่าความเป็นคน (หรือสารัตถะความเป็นคน)

ข้อวิจารณ์ที่สำคัญประการสุดท้ายคือจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมทำให้จริยธรรมต้องอาศัยปัจจัยเรื่องโชคชะตา ทั้งๆ ที่จริยธรรมควรเป็นเรื่องของสิ่งที่อยู่ในความควบคุมของผู้กระทำ หาไม่แล้วการให้รางวัลหรือลงโทษก็จะหมดความหมายไป ทำไมจึงกล่าวว่าจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมส่งเสริมบทบาทของโชคชะตา หากพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าคุณธรรมเป็นคุณลักษณะของบุคคล แต่การที่บุคคลจะพัฒนามีคุณลักษณะใดขึ้นมา ก็ขึ้นกับปัจจัยหลากหลายมากมายที่ไม่อยู่ในความควบคุม เช่น พันธุกรรม ครอบครัวที่บุคคลบังเอิญมาเกิด สภาพแวดล้อมของชุมชน คุณภาพโรงเรียน สื่อสารมวลชน หรือแม้แต่เหตุการณ์บางอย่างที่บังเอิญเกิดกับบุคคล นอกจากนี้ การมีคุณธรรมหลายข้อก็ขึ้นกับปัจจัยภายนอก เช่น เราจะมีคุณธรรมข้อกัลยาณมิตรไม่ได้ ถ้าเราไม่มีเพื่อนที่มีลักษณะเหมาะสม ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าคนที่มีคุณธรรมเป็นคนที่โชคช่วย สำหรับข้อวิจารณ์นี้ นักจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมส่วนใหญ่จะยอมรับ โดยยืนยันว่านี่คือความซับซ้อนของชีวิตมนุษย์และจริยธรรม

ปกรณ์ สิงห์สุริยา (ผู้เรียบเรียง)

เรียบเรียงจาก

·

Annas, J. 1992. Ethics and Morality. In L. C. Becker and C. B. Becker (eds.). Encyclopedia of Ethics Vol I, pp. 329-331. New York: Garland Publishing Inc.
·

Athanassoulis, N. 2006. Virtue Ethics. In James Fieser and Bradley Dowden (eds.). Internet Encyclopedia of Philosophy. [Online]. Available: http://www.iep.utm.edu/v/virtue.htm. (Accessed date: 2/4/2009).
·

Fieser, J. 2006. Ethics. In James Fieser and Bradley Dowden (eds.). Internet Encyclopedia of Philosophy. [Online]. Available: http://www.iep.utm.edu/e/ethics.htm. (Accessed date: 2/3/2008).
·

Garcia, J. L. A. 1995. Virtue Ethics. In Robert Audi (ed.). The Cambridge Dictionary of Philosophy, pp. 840-842. Cambridge: Cambridge University Press.
·

Pojman, L. P. 1997. Ethical Theories: Classical and Contemporary Readings. 3rd Edition. Belmont, CA: Wadsworth Publishing Company.
·

Rosalind, H. 2007. Virtue Ethics. In Edward N. Zalta (ed.). Stanford Encyclopedia of Philosophy. [Online]. Available: http://plato.stanford.edu/entries/ethics-virtue/. (Accessed date: 2/4/2009).

เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม

·

Anscombe, G.E.M. 1958. Modern Moral Philosophy. Philosophy 33: 1-19. (เป็นผลงานเรื่องสำคัญที่จุดประกายให้คนกลับมาสนใจจริยศาสตร์คุณธรรมอีกครั้ง)

·

Baier, A. 1985. Postures of the Mind. Minneapolis: University of Minnesota Press. (ว่าด้วยทฤษฎีจริยศาสตร์แห่งความเอื้ออาทรแบบหนึ่ง)

·

Crisp, R. and Slote, M. 1997. Virtue Ethics. New York: Oxford University Press. (รวมบทความสำคัญๆ เกี่ยวกับจริยศาสตร์คุณธรรม)

·

Foot, P. 1978. Virtues and Vices. Oxford: Blackwell. และ Foot, P. 2001. Natural Goodness. Oxford: Clarendon Press. (การพัฒนาทฤษฎีจริยศาสตร์คุณธรรมที่สำคัญแนวหนึ่ง)

·

Hursthouse, R., Lawrence, G. and Warren, Q. 1995. Virtues and Reasons. Oxford: Clarendon Press. (รวมบทความสำคัญๆ เกี่ยวกับจริยศาสตร์คุณธรรม)

· Hursthouse, R. 1999. On Virtue Ethics. Oxford: Oxford University Press. (การพัฒนาทฤษฎีจริยศาสตร์คุณธรรมที่สำคัญแนวหนึ่ง)
· MacIntyre, A. 1985. After Virtue. London: Duckworth. (ผลงานเรื่องสำคัญที่ทำให้คนหันมาสนใจจริยศาสตร์คุณธรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงการพัฒนาทฤษฎีจริยศาสตร์คุณธรรมที่สำคัญแนวหนึ่ง)
· Slote, M. 1992. From Morality to Virtue. New York: Oxford University Press. และ Slote, M. 2001. Morals from Motives. Oxford: Oxford University Press. (การพัฒนาทฤษฎีจริยศาสตร์คุณธรรมที่สำคัญแนวหนึ่ง)
· Statman, D. 1997. Virtue Ethics. Cambridge: Edinburgh University Press. (การพัฒนาทฤษฎีจริยศาสตร์คุณธรรมที่สำคัญแนวหนึ่ง)
· Swanton, C. 2003. Virtue Ethics. New York: Oxford University Press. (การพัฒนาทฤษฎีจริยศาสตร์คุณธรรมที่สำคัญแนวหนึ่ง)
· Williams, B. 1985. Ethics and the Limits of Philosophy. London: Fontana. (ผลงานเรื่องสำคัญที่เปิดทางสู่จริยศาสตร์คุณธรรม)

 

cr: http://www.philospedia.net/virtueethics.htmlEthics–จริยศาสตร์กับจริยธรรม ( Ethics and Morality )-stu

จริยศาสตร์กับจริยธรรม ( Ethics and Morality )
จริยศาสตร์ เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งที่ว่าด้วยการครองชีวิต ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักแห่งความประพฤติ ศาสตร์แห่งความถูกต้อง ศาสตร์ที่มีจุดมุ่งหมายอยู่ในตัวเอง ช่วยบอกให้รู้คุณค่าแท้คุณคาเทียมของชีวิต จริยธรรม เป็นหลักธรรมสำหรับการประพฤติ ปฏิบัติ เพราะธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมให้เป็นมโนธรรมสำนึกและให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ด้วยมีเมตตาธรรมในการดำเนินชีวิต
สรุปว่า จริยธรรมเป็นเรื่องส่วนบุคคลหรือองค์กร ส่วนจริยศาสตร์เป็นเรื่องส่วนสังคมหรือองค์การณ์
เขียนโดย Dr.Niwes,Aj.yut ที่ 20:44

พุทธจริยศาสตร์คืออะไร

จริยศาสตร์ (Ethics) เป็นสาขาหนึ่งของคุณวิทยา (Axiology) หรือทฤษฎีคุณค่า (Theory of values) ซึ่งประกอบด้วยอีก ๒ สาขาย่อยคือ ตรรกศาสตร์ (Logic) และสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) ศาสตร์ทั้ง ๓ นี้เป็นศาสตร์แห่งการแสวงหาคุณค่าอันเป็นคุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ ๓ ประการด้วยกัน คือ ความดี (Good), ความจริง (Truth) และความงาม (Beauty) ตามลำดับ

พุทธจริยศาสตร์ ความดี ความชั่วจริยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการตัดสินว่าอะไรคือความดี ความชั่ว อะไรควรทำไม่ควรทำ ทั้งนี้การที่จะกำหนดว่าอะไรดีหรือไม่ดีนั้น จึงใช้เป้าหมายเป็นตัวชี้วัด ว่าการกระทำนั้นๆจะทำให้สามารถดำเนินไปสู่เป้าหมายของชีวิตได้หรือไม่

ตามทรรศนะของพระพุทธศาสนา จริยศาสตร์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับญาณวิทยา นั้นก็คือความสมบูรณ์ทางจริยะและความรู้มีความจำเป็นต่อกันและกัน ในอัคคัญญสูตร แสดงว่า ในหมู่เทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้ (วิชชา) และความประพฤติ (จรณะ) เป็นผู้ประเสริฐสุด (วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส) ดังนั้น ทั้งความสมบูรณ์ทางจริยะและความรู้จึงเป็นสองด้านของความสมบูรณ์ที่แยกกัน ไม่ได้

นอกจากนั้น จริยศาสตร์ของพระพุทธศาสนายังสัมพันธ์กับปรัชญาสังคม (Social Philosophy) ด้วย นั้นก็คือการพยายามตอบปัญหาที่ว่าเราควรทำอะไร? ปัญหานี้เป็นทั้งเรื่องส่วนบุคคลและเรื่องของสังคม คำตอบสำหรับปัญหานี้ก็เกี่ยวโยงไปถึงปัญหาที่ว่า เป้าหมายของชีวิตควรจะเป็นอย่างไรหรือว่าคืออะไร? และปัญหาที่ว่าเพื่อแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น เพื่อการรู้แจ้งตนเองและเพื่อบรรลุถึงความดีสูงสุด เราจะต้องปฏิบัติอย่างไร? นี้เป็นปัญหาส่วนบุคคล แต่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับสังคมด้วย นั้นก็คือเราควรทำอะไรเพื่อความดีของสังคมหรือเพื่อประโยชน์สุข ของมนุษยชาติ แต่ปัญหาทั้งสองนี้ คือปัญหาส่วนบุคคลกับส่วนสังคมก็เกี่ยวข้องกัน

ความหมายของความดีและความชั่วในทางพุทธจริยศาสตร์
กุศล อกุศลความดี ตรงกับศัพท์ภาษาบาลีว่า บุญและกุศล ส่วนความชั่วตรงกับภาษาบาลีว่า บาปและอกุศล
ในทางธรรม กุศลมีความหมาย ๔ ประการ คือ
๑. อาโรคยะ ความไม่มีโรค หมายถึง จิตที่มีสุขภาพดี ไม่ถูกบีบคั้น ไม่กระสับกระส่าย ใช้งานได้ดี
๒. อนวัชชะ ไม่มีโทษ หรือไร้ตำหนิ หมายถึง ไม่มัวหมอง ไม่ขุ่นมัว สะอาด
๓. โกศลสัมภูต เกิดจากปัญญา หรือเกิดจากความฉลาด หมายถึง ภาวะที่จิตประกอบอยู่ด้วยปัญญา มองเห็นหรือรู้เท่าทันความเป็นจริง
๔. สุขวิบาก มีสุขเป็นผล หมายถึง เป็นสภาพที่ทำให้มีความสุข
ส่วนอกุศลมีความหมายตรงกันข้าม คือ เป็นสภาพจิตที่มีโรค มีโทษ เกิดจากอวิชชา และมีทุกข์เป็นผล

————————-

3. ทฤษฏีทางคุณวิทยา/อัคฆวิทยา

ตามที่ได้นำเสนอไปแล้วว่า ทฤษฏีความเป็นจริง (อภิปรัชญา) เป็นพื้นฐานสู่ทฤษฏีความรู้ (ญาณวิทยา) และทฤษฏีด้านคุณค่า (ความประพฤติ/จริยศาสตร์, ความงาม/สุนทรียศาสตร์) จึงขอนำเสนอแนวความคิดสำคัญของปัญหาเรื่องคุณค่า โดยแยกเป็นทฤษฏีความประพฤติ (จริยศาสต์) และทฤษฎีความงาม (สุนทรียศาสตร์)

3.1 ทฤษฏีทางจริยศาสตร์ : หลักการประพฤติ ปฏิบัติของมนุษย์

แบ่งคำตอบได้สามแนวทางสำคัญ ได้แก่

3.1.1 แนวคิดศานตินิยม

แนวคิดนี้ มีพื้นฐานบนแนวเหตุผลนิยม ซึ่งยืนยันศักยภาพของจิตมนุษย์ ว่าสามารถมุ่งสู่ความเป็นจริงสูงสุดได้ แต่ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีแนวทางฝึกฝนจิต อาศัยกระบวนการพิเศษ เช่น วิปัสนา การบำเพ็ญตน ฯลฯ เพื่อขัดเกลาจิตให้สะอาด สงบ ปราศจากกิเลส ความหลงผิด หรืออวิชชา รวมถึงแนวคิดที่ถือว่าคุณค่าฝ่ายจิต (ความสุขสงบแห่งจิตใจ) มีคุณค่าสูงกว่าคุณค่าทางวัตถุ สสาร (ความสุขด้านร่างกาย) มนุษย์จึงควรตัดสละผลประโยชน์ทางวัตถุ เพื่อช่วยกันจรรโลง สนับสนุนการพัฒนาจิตให้มาก โดยมีเป้าหมายชีวิตอยู่ที่การบรรลุถึงจิตที่สมบูรณ์ ซึ่งไม่ได้อยู่ในโลกปัจจุบันนี้

ดังนั้น หลักการประพฤติ ปฏิบัติของมนุษย์ คือ จงแสวงหาความสงบสุขของจิตใจ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นจริงสูงสุด กลุ่มนักปรัชญาที่ดำเนินตามแนวคิดนี้ได้แก่ แนวจิตนิยม อุดมการนิยม เป็นต้น

3.1.2 แนวคิดสุขนิยม/รตินิยม (Hedonism)

แนวคิดนี้ มีพื้นฐานบนแนวสสารนิยม ที่ให้ความสำคัญแก่ร่างกาย/กายภาพ ลดทอนและปฏิเสธคุณค่าของจิต หลักการดำเนินชีวิตของมนุษย์ คือ การส่งเสริม อำนวยความสะดวกด้านกายภาพแก่ชีวิต ทั้งนี้ ให้ระมัดระวังด้วยว่า การแสวงหาความสุขของแต่ละบุคคลต้องไม่รบกวนคนอื่น หรือทำให้สังคมวุ่นวาย เพราะถ้าความสุขที่เราได้รับนี้อยู่บนความทุกข์ของคนอื่น หรือทำให้สังคมวุ่นวาย จะส่งผลระยะยาวต่อการเสพสุขของแต่ละคน แนวคิดนี้ เสนอให้คำนึงถึงชีวิตที่เป็นอยู่ ไม่ใช่รอคอยความสุขในโลกหน้า ซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ด้วยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แนวคิดนี้อาจพัฒนาสู่แนวคิดประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ที่เน้นการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมและให้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในสถานการณ์ที่เป็นจริงของชีวิต โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อคนกลุ่มมากที่สุดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

ดังนั้น หลักการประพฤติ ปฏิบัติของมนุษย์ คือ การดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ให้เป็นสุข ปราศจากความทุกข์ในชีวิตนี้ กลุ่มนักปรัชญาที่ดำเนินตามแนวคิดนี้ ได้แก่ แนวจักรกลนิยม กลุ่มจารวากของอินเดีย และแนวคิดของเอียงจื้อ เป็นต้น

3.1.3 แนวคิดมนุษยนิยม (Humanism)

แนวคิดนี้ ให้ความสำคัญต่อการพิจารณามนุษย์เป็นสำคัญ มนุษย์ที่ดำเนินชีวิตบนโลก ที่เป็นทั้งร่างกายและจิต (วิญญาณ) มนุษย์เป็นสิ่งที่มีอยู่บนโลก หลักการดำเนินชีวิตของมนุษย์ควรยึดเอาความก้าวหน้าของมนุษย์เป็นหลัก เนื่องจากมนุษย์คุณลักษณะพิเศษที่สามารถพัฒนาตนเองสู่ความเป็นจริงสูงสุดได้ แนวคิดนี้แบ่งย่อยได้เป็นสองแนว คือ แนวเทวนิยม และอเทวนิยม

นอกจากนั้น แนวคิดนี้ยังเชื่อมโยงกับแนวคิดของอิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant, ค.ศ. 1724 – 1804) ที่เสนอแนะให้ดำเนินชีวิตตามหลักการที่ถูกต้อง ทำตามหน้าที่ที่มนุษย์พึงปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่ความสมบูรณ์ที่แท้จริงของชีวิต

3.2 ทฤษฏีทางสุนทรียศาสตร์ : หลักการตัดสินความงาม

สุนทรียศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องความงามของศิลปะและความงามของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ปัญหาที่สุนทรียศาสตร์ต้องค้นหาคำตอบคือ อะไรคือสิ่งสวยงาม เราจะตัดสินได้อย่างไรว่าอะไรงาม เราใช้อะไรเป็นมาตรฐานในการตัดสินว่าอะไรงามไม่งาม โดยมุ่งตอบด้านทฤษฏี หรือพูดง่าย ๆ คือ สาระสำคัญสุนทรียศาสตร์ก็คือ ความคิดเรื่องความงาม หรือปรัชญาศิลปะ (ความงาม) นั่นเอง

3.2.1 ศิลปะ (ความงาม) คือ อะไร

มีการอธิบายทฤษฏีศิลปะกว้างๆ 3 แนว คือ (สุเชาวร์ พลอยชุม, 2545)

ก. ทฤษฏีการเลียนแบบธรรมชาติ (Theory of imitation) เสนอแนวคิดว่า ศิลปะ คือ การเลียนแบบ การลอกแบบวัตถุธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน จัดว่าเป็นสิ่งสวยงามที่สุด (แนวคิดกรีกโบราณ) แนวคิดนี้ ได้รับอิทธิพลจากเปลโต้ และแผ่อิทธิพลยาวนาว จนถึงศตวรรษที่ 18 มีแนวคิดว่าศิลปะ คือ การลอกเลียน/คัดลอกสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ (ศิลปิน ทำหน้าที่ลอกเลียนแบบสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติรอบตัว)

ข. ทฤษฏีการแสดงออก (Theory of Expression) เสนอแนวคิดว่า ศิลปะ คือ การแสดงออกมาจากภายในตัวศิลปิน สะท้อนถึงบุคลิกภาพภายในมนุษย์ หรือการถ่ายทอดความรู้สึกภายใน หรือระบายความในใจออกมา วัตถุประสงค์ของศิลปะ คือ ต้องการแสดงอารมณ์ภายในของมนุษย์ออกมาให้ปรากฏ โดย

1) การแสดงอารมณ์ที่เป็นศิลปะนั้น ต้องแสดงออกอย่างมีเจตนา
2) การแสดงอารมณ์ที่เป็นศิลปะ ต้องมีจุดประสงค์/คุณค่าในตัว
3) การแสดงอารมณ์ที่เป็นศิลปะ ไม่ใช่แบบวัตถุวิสัย/รูปธรรม (วิทยาศาสตร์) แต่เป็นเรื่องของความรู้สึกต่อวัตถุนั้นๆ
4) ให้ความสำคัญแก่สื่อที่ใช้ถ่ายทอดอารมณ์
5) ให้ความสำคัญกับความเป็นเอกภาพของอารมณ์/ความรู้สึก
6) เป็นการแสดงอารมณ์/ความรู้สึกของมนุษย์ทั่วไป ไม่ใช่ส่วนบุคคล

แนวคิดเช่นนี้ได้รับความนิยมในราวศตวรรษที่ 19 (แนวคิดของ ต็อลสลอย/ Leo Tolstoi, ค.ศ. 1828 – 1911, โครเช่/ Benedetto Croce, ค.ศ. 1866 – 1952)

ค. ทฤษฏีรูปทรง (Theory of Form) เสนอแนวคิดว่า ศิลปะ คือ งานสร้างสรรที่มีรูปทรง หรือโครงสร้างที่เป็นสัดส่วน สมดุล กลมกลืน คิดว่ารูปทรงเท่านั้นที่มีความสำคัญทางศิลปะ เพราะศิลปะไม่ใช่การลอกแบบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ความสวยงามของศิลปะเกิดจากรูปทรงอย่างเดียวเท่านั้น แนวคิดนี้เริ่มได้รับความนิยมในราวศตวรรษที่ 20 มีพื้นฐานจากอริสโตเติ้ลที่อธิบายว่า ความงามคือความกลมกลืนของสัดส่วนต่างๆ

3.2.2 ความงามขึ้นกับอะไร (เอาอะไรมาตัดสินความงาม)

มีแนวคำตอบ แยกได้สี่กลุ่ม ที่มีพื้นฐานบนทฤษฏีที่อธิบายปัญหาเชิงอภิปรัชญา ได้แก่

ก. แนวคิดอัตนัยนิยม (Subjectivism) : ความงามขึ้นกับแต่ละคน

มีแนวคิดว่าคุณค่าความงามขึ้นกับความสนใจของแต่ละบุคคล ไม่ได้ขึ้นกับวัตถุ เนื่องจาก

1) ถ้าไม่มีใครเห็นคุณค่าของวัตถุนั้น ก็จะไม่มีการตีคุณค่าทางสุนทรียะ
2) มนุษย์มีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกัน และคุณสมบัติบางอย่างนี้เองทำให้มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดในทางสุนทรียะได้เหมือน ๆ กัน

ข. แนวคิดปรนัยนิยม (Objectivism) : ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ
แนวคิดนี้เสนอความคิดว่า ความงามเป็นคุณลักษณะของสิ่งนั้น (ในฐานะที่มันมีอยู่ มันย่อมมีความงาม) วัตถุมีความงามในตัวเอง ไม่ได้ขึ้นกับมนุษย์ เนื่องจาก
1) ความงามเป็นสิ่งที่มีอยู่ในวัตถุ
2) เราไม่อาจอธิบายความงามได้ ถ้าไม่มีวัตถุหรือตัวกลาง
3) ประสบการณ์บอกเราว่า ความงามอยู่นอกตัวมนุษย์ ไม่ว่าเราจะสนใจหรือไม่สนใจมันก็ตาม
4) เรารู้และตัดสินเรื่องความงามอาศัยความงามของวัตถุ

ค. แนวคิดสัมพัทธนิยม (Relativism) : ความงามขึ้นกับความสัมพันธ์
เป็นแนวคิดที่ประสานงานระหว่างแนวคิดอัตนัยนิยมและปรนัยนิยม มีความคิดว่าความงามขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลกับวัตถุนั้น ถ้าบุคคล (อัตนัย) มีความสัมพันธ์กับวัตถุนั้น (ปรนัย) มากแค่ไหน ก็ยิ่งมีความงามมากขึ้นเท่านั้น

ง. แนวคิดนวนิยม : ความงามเป็นอุบัติการณ์ใหม่

เป็นแนวคิดที่ประสาน และพยายามแก้ปัญหาของแนวคิดที่นำเสนอไปแล้วข้างต้น มีความคิดว่า ความงามเป็น “สิ่งใหม่” ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับวัตถุเท่านั้น นำเสนอว่า ความงามต้องมีองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

1) วัตถุซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัว (คุณค่าของความงาม)
2) บุคคลที่มีความรู้/ความสามารถที่จะตีคุณค่าหรือสนใจวัตถุนั้นต้อง
มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างวัตถุกับบุคคล
3) ต้องมีหลักเกณฑ์สำหรับการตีคุณค่าทางสุนทรียะ
4) ความงามเกิดจากการที่วัตถุมีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ที่ใช้ตัดสิน

ดังนั้น

– คุณค่าของความงาม เป็นผลิตผลหรือสิ่งที่เกิดจากการตีคุณค่าของเราตามหลักเกณฑ์อันเป็นที่ยอมรับ
– คุณค่าทางสุนทรียะ (ความงาม) เป็นคนละสิ่งกับสิ่งที่เรารับรู้ซึ่งมีอยู่ในขณะนั้น และคุณค่าทางสุนทรียะเปลี่ยนแปลงได้ แต่วัตถุไม่เปลี่ยนแปลง
– วัตถุไม่ใช่สิ่งเดียวกับคุณค่าทางสุนทรียะฉันใด การตัดสินตามข้อเท็จจริงก็เป็นคนละสิ่งกับการตัดสินทางคุณค่าสุนทรียะฉันนั้น
– ความงามจึงเป็นทั้งอัตนัยนิยม ปรนัยนิยมและสัมพันธนิยม
4. สรุปประจำบท

แนวคิดเชิงปรัชญาที่นำเสนอในรูปแบบของลัทธิต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของปรัชญาคือ วิพากษ์วิธี กล่าวคือ การนำเสนอประเด็นหนึ่ง ตามด้วยเหตุผล และต่อมามีนำเสนออีกประเด็นหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่หนึ่ง ตามด้วยเหตุผล จากนั้นมีการประสานระหว่างประเด็นที่หนึ่งกับประเด็นที่สอง พัฒนาการแนวคิดทางปรัชญาจึงต่อเนื่องและไม่สิ้นสุด จึงกล่าวได้ว่าไม่มีสูตรสำเร็จรูปหรือคำตอบตายตัวสำหรับความคิดเชิงปรัชญา ยังไม่มีคำถามที่ได้รับคำตอบอย่าง “อิ่มใจ” สำหรับนักปรัชญา ตราบใดก็ตามที่มนุษย์มีสติปัญญา มนุษย์ย่อมค่อย ๆ พัฒนาคำตอบให้ลงลึกสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสถานการณ์ของสังคม

Share this:

Like this:

Like

Loading…

[Update] 100 คำย่อภาษาอังกฤษ ใช้ส่งข้อความในโซเชียล สายแชทห้ามพลาด | be honest แปลว่า – NATAVIGUIDES

คำย่อ ภาษาอังกฤษ ถือเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่นต่างชาติ ที่เวลาคุยกับเพื่อนต่างชาติทีไร ก็มักจะมีคำย่อแปลก ๆ มาให้เห็นทุกที แต่ในปัจจุบันไม่เพียงแค่คนต่างชาติเท่านั้น เพราะแม้แต่เพื่อนคนไทยด้วยกัน ก็มักจะใช้คำย่อในการคุยแชทด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากจะสะดวกต่อการพิมพ์เป็นอย่างมากแล้ว แถมยังได้ฝึกภาษาไปในตัวอีกด้วย วันนี้ Wongnai Beauty จึงได้รวบรวมเอา 100 คำย่อ ภาษาแชท ที่นิยมใช้กันมากในโลกโซเชียลมาฝากทุกคนกันค่ะ รับรองว่าไม่ว่าจะคุยกับใครก็รู้เรื่อง ไม่ตกเทรนด์อย่างแน่นอน จะมีคำว่าอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่า

ตัวย่อภาษาอังกฤษ สายแชทต้องรู้ 

100 คำย่อภาษาอังกฤษ สายแชทห้ามพลาด

KK (Cool, Okay) แปลว่า เจ๋ง

Q (Question) แปลว่า คำถาม

BTT (Back to Topic) แปลว่า กลับมาคุยเรื่องเดิมต่อ

AAMOF (As a matter of fact,) แปลว่า ตามความจริงแล้ว

DWH (During work hours) แปลว่า อยู่ในช่วงเวลางาน

DGMW (Don’t get me wrong) แปลว่า อย่าเข้าใจฉันผิด

EOD (End of Discussion) แปลว่า จบการสนทนา

E123 (Easy as 1, 2, 3) แปลว่า ง่ายเหมือนปอกกล้วย

BTW (By the way) แปลว่า อย่างไรก็ตาม (ใช้ในการเปลี่ยนหัวข้อสนทนา)

NNTR (No need to reply) แปลว่า ไม่จำเป็นต้องตอบกลับมา

คำย่อภาษาแชท เน้นบอกความรู้สึก แบบจัดเต็ม

100 คำย่อภาษาแชทยอดนิยมไว้คุยบนโซเชียล

QQ (Crying) แปลว่า กำลังร้องไห้

BG (Big grin) แปลว่า ยิ้มอยู่

BFF (Best friends forever) แปลว่า เพื่อนกันตลอดไป

CSL (Can’t stop laughing) แปลว่า หยุดขำไม่ได้เลย

BTDT (Been there, done that) แปลว่า ไปมาแล้ว ทำเรียบร้อยแล้ว

TBH (To be honest) แปลว่า จากใจเลยนะ (พูดตามจริง)

SMH (Shaking my head) แปลว่า ส่ายหน้า

SRSLY (Seriously) แปลว่า จริงจังเลยนะ

IIRC (If I remember correctly) แปลว่า ถ้าฉันจำไม่ผิดนะ

DM (Direct message) แปลว่า ทักข้อความส่วนตัว

ภาษาแชท สำหรับสายขี้เกียจ แชทง่าย สั้น ๆ ได้ใจความ

100 คำย่อภาษาแชท

TL;DR (Too long; didn’t read) แปลว่า ยาวไป ไม่อ่าน

PTB (Please text back) แปลว่า ส่งข้อความมาหาหน่อย

GRATZ (Congratulations) แปลว่า ยินดีด้วยนะ

GL (Good luck) แปลว่า โชคดีนะ

IDK (I don’t know) แปลว่า ไม่รู้เหมือนกัน

COZ (Because) แปลว่า เพราะว่า

CU (See you) แปลว่า แล้วเจอกัน

EZ (Easy) แปลว่า ง่าย

BRB (Be right back) แปลว่า เดี๋ยวกลับมา

W8 (Wait) แปลว่า รอแป๊บนะ

สาย ฝ. ต้องดู ภาษาแชท บนโซเชียล เขินบิด จนตัวม้วน

100 คำย่อภาษาแชท

B4N (Bye for now) แปลว่า ไปก่อนนะ

BBIAS (Be back in a sec) แปลว่า เดี๋ยวกลับมา แป๊บนะ

RUOK (Are you OK?) แปลว่า เธอโอเคไหม

CYT (See you tomorrow) แปลว่า เจอกันพรุ่งนี้

DBMIB (Don’t bother me I’m busy) แปลว่า อย่าเพิ่งยุ่ง ฉันยุ่งอยู่

NBD (Not big deal) แปลว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่

TC (Take Care) แปลว่า ดูแลตัวเองนะ

LUV (LOVE) แปลว่า รัก

OSM (Awesome) แปลว่า เจ๋งมากๆ

OMG (Oh My God!) แปลว่า โอ้พระเจ้า

ตัวย่อภาษาแชท ใช้ส่งข้อความ คุยกับเพื่อนสะดวกสุด ๆ

100 คำย่อภาษาแชท

GJ (Good Job) แปลว่า ดีมาก

GR8 (Great) แปลว่า เยี่ยม

HF (Have fun) แปลว่า ขอให้สนุกนะ

HTH (Hope this Helps) แปลว่า คิดว่าช่วยได้

NOYB (None of your Business) แปลว่า ไม่ใช่เรื่องของคุณ

NP (No Problem) แปลว่า ไม่มีปัญหา

NRN (No Reply Necessary) แปลว่า ไม่จำเป็นต้องตอบ

NSFW (Not Safe for Work) แปลว่า ไม่ปลอดภัยในการทำงาน

NVM (Nevermind) แปลว่า ไม่เป็นไร

OIC (Oh, I See) แปลว่า อ๋อ เข้าใจละ

คำย่อภาษาแชท แบบเก๋ ๆ ไว้ใช้คุยแชทกับเพื่อนต่างชาติ

100 คำย่อภาษาแชท

P.S. (Postscript) แปลว่า ป.ล.

QT (Cutie) แปลว่า น่ารัก

TYT (Take Your Time) แปลว่า ใช้เวลาตามสบาย

TYVM (Thank You Very Much) แปลว่า ขอบคุณมาก

C-P (Sleepy) แปลว่า ง่วงนอน

CTN (Cannot talk now) แปลว่า คุยไม่ได้ตอนนี้

OT (Off-Topic) แปลว่า นอกเรื่อง

OTL (Out to Lunch) แปลว่า ออกไปกินข้าวเที่ยง

OTOH (On the other hand,) แปลว่า ในอีกด้านหนึ่ง

OTP (On the Phone) แปลว่า คุยโทรศัพท์อยู่

ตัวย่อภาษาแชท ใช้คุยกับเพื่อนก็ได้ แชทกับแฟนก็ดี

100 คำย่อภาษาแชท

WB (Welcome Back) แปลว่า ยินดีต้อนรับกลับมานะ

B/C (Because) แปลว่า เพราะว่า

B3 (Blah, Blah, Blah) แปลว่า บลา ๆ ๆ

AEAP (As Early as Possible) แปลว่า เช้าสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

WYCM (Will You Call Me?) แปลว่า จะโทรหาฉันไหม

WYWH (Wish You Were Here) แปลว่า ถ้าเธออยู่นี่ได้ก็คงดี

BM&Y (Between Me and You) แปลว่า ระหว่างคุณกับฉัน

N/A (Not Available) แปลว่า ไม่ว่าง

NC (No Comment) แปลว่า ไม่มีความเห็น

SIT (Stay in touch) แปลว่า ไว้ติดต่อกันใหม่

ภาษาแชทบนโซเชียล แชทสนั่น ไม่ต้องพิมพ์เยอะ

100 คำย่อภาษาแชท

SOZ, SRY (Sorry) แปลว่า ขอโทษที

MMW (Mark my Words) แปลว่า จำคำพูดฉันไว้เลย

SCNR (Sorry, could not Resist) แปลว่า ขอโทษ อดไม่ได้จริง ๆ

SEP (Someone else’s Problem) แปลว่า ปัญหาของคนอื่น

J4F (Just for fun) แปลว่า เพื่อความสนุกสนาน

WUZUP (What’s up?) แปลว่า ว่าไง

SSDD (Same stuff, different day) แปลว่า วันไหนก็ไม่ต่างกัน

PLS (Please) แปลว่า ได้โปรด

PLZ (Please) แปลว่า ได้โปรด

DIY (Do it yourself) แปลว่า ทำเองสิ

สาย ฝ. ต้องดู ตัวย่อภาษาแชท วัยรุ่นฝรั่งนิยมใช้

100 คำย่อภาษาอังกฤษ สายแชทห้ามพลาด

LOL (Laughing out loud) แปลว่า หัวเราะหนักมาก, ขำกลิ้ง

ASAP (As soon as possible) แปลว่า เร็วที่สุดที่จะทำได้

FYI (For your information) แปลว่า แจ้งให้ทราบ

G2G (Got to go) แปลว่า ต้องไปแล้วนะ

FB (Facebook) แปลว่า เฟซบุ๊ก

MSG (Message) แปลว่า ข้อความ

TTYL (Talk to you later) แปลว่า ไว้ค่อยคุยกันนะ

IMO (In my opinion) แปลว่า ฉันคิดว่า

PAW (Parents are watching) แปลว่า พ่อแม่ดูอยู่

PITR (Parent in the room) แปลว่า พ่อแม่อยู่ในห้อง

ภาษาแชท วัยรุ่นชอบใช้ สายแชทห้ามพลาด

100 คำย่อภาษาอังกฤษ สายแชทห้ามพลาด

PBB (Parent behind back) แปลว่า พ่อแม่อยู่ข้างหลัง

IFYP (I feel your pain) แปลว่า ฉันเข้าใจความรู้สึกคุณนะ

TNTL (Trying not to laugh) แปลว่า พยายามจะไม่ขำ

JK (Just kidding) แปลว่า ล้อเล่นหน่า

IDC (I don’t care) แปลว่า ไม่สนใจอยู่แล้ว

ILY (I love you) แปลว่า รักเธอนะ

IMU (I miss you) แปลว่า คิดถึงนะ

ZZZ (Sleeping, bored, tired) แปลว่า นอนอยู่, เบื่อ, เหนื่อย

WYWH (Wish you were here) แปลว่า อยากให้คุณอยู่ตรงนี้จัง

TIME (Tears in my eyes) แปลว่า น้ำตาคลอเบ้า


น้องบีม | อย่าทำแบบนี้นะมันอันตราย EP2


อย่าทำแบบนี้นะมันอันตราย EP2

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

น้องบีม | อย่าทำแบบนี้นะมันอันตราย EP2

เริ่มพูดภาษาอังกฤษ | ประโยคสั้นๆ | ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน พร้อมคำอ่านคำแปล


ฝึกพูดภาษาอังกฤษ | ประโยคพื้นฐาน | สำหรับผู้เริ่มเรียน | สามารถจำนำไปใช้ได้เลย
เรียนภาษาอังกฤษฟรี
📌 ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ถามตอบ ประโยคพื้นฐานใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน
👉 https://www.youtube.com/watch?v=IHuK…
📌ฝึกพูดภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เริ่มต้น ในชีวิตประจำวัน ฝึกแบบนี้ได้แน่นอน
👉https://www.youtube.com/watch?v=kxZAU…
📌 ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ถามตอบ ประโยคพื้นฐานใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน
👉 https://www.youtube.com/watch?v=IHuK…
📌ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐาน วลีต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันบ่อยๆ
👉https://www.youtube.com/watch?v=AT2p…
📌 ฝึกพูด ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐาน ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน พร้อมคำอ่าน EP.2
👉 https://www.youtube.com/watch?v=cZqpc…
📌 ฝึกพูด ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐาน ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน พร้อมคำอ่าน EP.3
👉 https://www.youtube.com/watch?v=uQ3k…
📌 เรียนภาษาอังกฤษง่ายๆ การใช้ This, That, These, Those พร้อมประโยคตัวอย่าง
👉https://www.youtube.com/watch?v=qS1MH…
📌 คำศัพท์ ที่เราคิดว่าเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ได้เรียกว่าแบบนี้หรอ
👉 https://www.youtube.com/watch?v=cAa9v…
📌สรุปการใช้ Verb to be ( is , am , are, was ,were) เข้าใจง่าย | ภาษาอังกฤษพื้นฐาน
👉https://www.youtube.com/watch?v=b9M76…
📌 50 คำย่อภาษาอังกฤษ ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน มีอะไรบ้าง
👉https://www.youtube.com/watch?v=19Two…

เริ่มพูดภาษาอังกฤษ | ประโยคสั้นๆ | ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน พร้อมคำอ่านคำแปล

gareth.t – honest feat moon tang (official video)


\”honest, it’s too hard to be honest\”……it’s easy for one to lose their way in the chase of success and dreams especially in this city of 7 million people. but ill try my very best to keep my course with the help of @moon tang and a couple of loving friends
listen to the song on:
► https://garetht.lnk.to/honest
follow me on:
► instagram: https://www.instagram.com/gareth_tong/
video credits
director: ran zhang @r.anz
on set production manager: nicholas cheung @nicholascheung and natalie wong @pinkmonster
director of photography: ran zhang @r.anz
camera operator: ran @r.anz, jimmy kwan @hagausiumai and matthew ho @mattsphotos___
focus puller: jimmy kwan @hagausiumai
gaffer: eric wong @thewonggrip
electrician: coco lam
make up artist: kary chan @kkarychan
bts photography: gabriel lee @gabrieljslee
editor and colorer: ran zhang @r.anz
special thanks to: mido cafe 美都餐室
song credits
performers: gareth.t @gareth_tong and moon tang @moonstyles_
composition \u0026 lyrics : gareth.t @gareth_tong and jacob strom @jstrom_
producer: gareth.t @gareth_tong
arranger: gareth.t @gareth_tong, teddy fan @teddyfanguitar and patrick yip @yippatrick
project \u0026 artist manager: nicholas cheung @nicholascheung
mixing: enoch cheng @enoch_cheng and gareth.t @gareth_tong
mastering: chris gehringer @chrisgehringer of @sterlingsound
a\u0026r: nicholas cheung @nicholascheung
label: warner music hong kong @warnermusichk

gareth.t - honest feat moon tang (official video)

[THAISUB] Honesty – Pink Sweat$ แปลเพลง


Sources :
Lyrics : https://genius.com/Pinksweathonestylyrics
Music Video : https://youtu.be/Y9VtoPvtuM
Translated by me (pretty girl)
เพลงนี้คือแอบเศร้าอะ เหมือนความรู้สึกของคนสองคนตรงกันทุกอย่าง แต่มีใครคนหนึ่งรู้สึกกลัวที่จะก้าวไปในความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งขึ้น หรือเป็นคนรักนั่นเอง หวังว่าใครที่กำลังสับสนว่าจะก้าวต่อดีไหม ฟังเพลงนี้ในมุมของคนที่พร้อมเผชิญไม่ว่าทางข้างหน้าจะเป็นยังไงดูนะคะ
∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞
Leave a comment down below if you guys want more videosssss
I’ll check it ASAP ka
สามารถติชมได้เลยนะคะ ถ้าอยากให้ทำวิดิโอเพลงไหนคอมเม้นต์ไว้ด้านล่างได้เลยค่า พูดคุยกันได้เลยน้าเราพร้อมตอบ!
Dnt fall in love
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCXiUJ8d28K1YRWUPV0LM2Uw
Facebook : https://www.facebook.com/dntfallinl0ve/
Instagram : https://instagram.com/dntfallin.love?igshid=7m57oio09e39
เรามีเพลลิสต์ใน spotify แล้วน้าาา
I still got love for you but I don’t wanna be your lover anymore(สากล) : https://open.spotify.com/user/21temexhzc2hotwyakoerhfuq/playlist/4elwpVu7XcEMPKEwfjH0zU?si=SNewdtnERfqqzbU4ToYuQ
เนปจูน(ไทย) : https://open.spotify.com/user/21temexhzc2hotwyakoerhfuq/playlist/0q79NXhNgRfFX5k5IZctTT?si=tGnRDglkRJqJ7OU1b_l7JQ
∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞
With love
Dnt fall in love
/spread love to everyone especially hot guyssssssssssssss(especially zion) mwah !
∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞
แวะไปดูเสื้อที่ร้านเราก่อนได้น้า @handmedownnnshop

[THAISUB] Honesty - Pink Sweat$ แปลเพลง

[THAISUB] Jae Jin – Gonna Be Honest แปลเพลง


Sources :
Streams or download :
Spotify https://open.spotify.com/track/5LyNr2ZzD2bPOdBlwN7XwO?si=V6yS4GbCRNCmxZwQcrBMUA
iTunes Letters and Drinks by Jae Jin
https://music.apple.com/th/album/lettersanddrinks/1438872333
Youtube https://youtu.be/CwaS3G2TGc
IG @jaejinmusic
Translated by me (pretty girl)

ถ้าใครกำลังหาเพลงน่ารักๆ ส่งให้แฟน มาถูกที่แล้วค่ะ! ไม่รู้จะพูดถึงอะไรเลน เอาเป็นว่าเป็นเพลงฟังสบาย ไพเราะเสนาะหู หวานหยดเยิ้ม ไม่เชื่อไปฟังงง💘💘

∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞∞
Leave a comment down below if you guys want more videosssss
I’ll check it ASAP ka
สามารถติชมได้เลยนะคะ ถ้าอยากให้ทำวิดิโอเพลงไหนคอมเม้นต์ไว้ด้านล่างได้เลยค่า พูดคุยกันได้เลยน้าเราพร้อมตอบ!
Dnt fall in love
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCXiUJ8d28K1YRWUPV0LM2Uw
Facebook : https://www.facebook.com/dntfallinl0ve/
Instagram : https://instagram.com/dntfallin.love?igshid=7m57oio09e39
เรามีเพลลิสต์ใน spotify แล้วน้าาา
🔗https://open.spotify.com/user/21temexhzc2hotwyakoerhfuq?si=7ZBlfty1T8GV2eq7W29BLw
IG(ร้านเสื้อเราเอง!) : @handmedownnnshop
https://instagram.com/handmedownnnshop?igshid=kolx6wmyyvno
(สมทบทุนไปคอนเสิร์ตของเรา5555 ขอบคุณล่วงหน้าค่าาา)
With love
Dnt fall in love
/spread love to everyone especially hot guyssssssssssssss(especially zion) mwah !

[THAISUB] Jae Jin - Gonna Be Honest แปลเพลง

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ be honest แปลว่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *