Skip to content
Home » [Update] Philosophy & Religion | เป็นจริง – NATAVIGUIDES

[Update] Philosophy & Religion | เป็นจริง – NATAVIGUIDES

เป็นจริง: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

 

 

 

ญาณวิทยา (Epistemology) หรือ ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์ หรือวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ โดยปกติเราถือว่าความรู้เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และเราสามารถแสวงหาความรู้ได้ วิชาต่าง ๆ มีอยู่ก็เพื่อให้เราแสวงหาความรู้ แต่เราก็เห็นได้เช่นกันว่า ความรู้เปลี่ยนแปลงอยู่ บ่อย ๆ บางครั้งความรู้ก็เป็นเพียงทฤษฎีหรือความเห็นหนึ่ง ยังมีความเห็นอื่น ๆ ที่คัดค้านทฤษฎีหรือความเห็นนั้น ๆ แม้แต่ประสาทสัมผัสที่ว่าแน่นอนนั้นบางครั้งก็รายงานสิ่งที่ไม่เป็นจริง เช่นการเห็นภาพลวงตาต่าง ๆ เป็นต้น ญาณวิทยาตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เช่น ถามว่าความรู้ทางประสาทสัมผัสเชื่อถือได้หรือไม่ เหตุผลเข้าถึงความจริงได้หรือไม่ ความรู้มีอยู่หรือไม่ หากมีอยู่มนุษย์สามารถแสวงหาความรู้ได้หรือไม่ ความรู้แน่นอนตายตัวหรือเปลี่ยนแปลง นักปรัชญาที่มีทัศนะต่างกันในเรื่องเหล่านี้มีมากมาย

 

ญาณวิทยาสัมพันธ์กับอภิปรัชญาในประเด็นที่ว่า เรารู้ความจริงนั้นได้อย่างไร หรือเราใช้อะไรเป็นมาตรฐานการตัดสินความรู้ของเราว่าตรงกับความเป็นจริง

โดยสรุปแล้วปัญหาสำคัญเกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์มีอยู่ ๔ ประเด็นคือ

(๑) ธรรมชาติของความรู้ : ความรู้มีลักษณะอย่างไร

(๒) ต้นกำเนิดของความรู้ : มนุษย์ได้ความรู้มาอย่างไร

(๓) ขอบเขตของความรู้ : ความรู้มีขอบเขตเพียงใด และ

(๔) ความสมเหตุสมผลของความรู้ : เกณฑ์ตรวจสอบความรู้ว่า ตรงกับความจริงหรือไม่

 

นักปรัชญาตะวันตกกล่าวถึงที่มาหรือบ่อเกิดของความรู้ไว้ ๓ ทาง คือ

(๑) ผัสสะ (Sensation) คือ ความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส และการสัมผัส

(๒) เหตุผล (Reason) คือ ความรู้ที่เกิดจากการคิดตามหลักเหตุผลในใจ หรือรู้โดยอ้างสิ่งที่แน่ใจมากกว่ามาสนับสนุน

(๓) อัชฌัตติกญาณ (Intuition) คือ ความรู้ที่ผุดขึ้นในใจโดยตรง แบ่งเป็น ๒ ระดับ คืออัชฌัตติกญาณระดับสามัญ และอัชฌัตติกญาณระดับอุตระ (Transcendental Intuition) ถ้าเป็นความรู้จากญาณวิเศษเรียกว่า “การตรัสรู้” (Enlightenment) ถ้าเป็นความรู้ที่ได้จากการดลใจของพระเจ้าก็เรียกว่า “วิวรณ์” (Revelation)

นักปรัชญาตะวันตกกลุ่มสสารนิยม (Materialism) เชื่อว่า ความรู้เกิดมาจากประสบการณ์ที่มนุษย์ได้รับผ่านมาทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ (Sensation)

กลุ่มจิตนิยม (Idealism) เชื่อว่า ความรู้ที่แท้จริงนั้นมนุษย์ได้จากการคิดตามเหตุผลในใจ (Reasoning) กลุ่มนี้ มีความเชื่อลึกลงไปอีกว่า ความจริงสูงสุดบางครั้งเกิดจากความรู้ที่ผุดขึ้นจากญาณวิเศษที่เรียกว่า อัชฌัตติกญาณ เช่นการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (Enlightenment) หรือวิวรณ์ (Revelation) ขององค์ศาสดาในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม ซึ่งถือว่าเป็นความรู้แจ้งอันเกิดจากการดลใจของพระเจ้า กลุ่มที่เชื่อว่าประสาทสัมผัสให้ความจริงสูงสุดเรียกว่า “ลัทธิประสบการณ์นิยม” (Empiricism) และกลุ่มที่เชื่อว่าการใช้ความคิดให้ความรู้สูงสุดเรียกว่า “ลัทธิเหตุผลนิยม” (Rationalism)

————————

2. ทฤษฏีทางญาณวิทยา

ทฤษฎีทางญาณวิทยามุ่งตอบปัญหาว่า มนุษย์รู้ความจริงได้อย่างไร เป็นผลสืบเนื่องจากการที่วิทยาศาสตร์ได้กำเนิดและได้กำหนดวิธีการ อันนำมาซึ่งความรู้สากลที่ทุกคนยอมรับ (มติสากลของวิทยาศาสตร์) ส่งผลให้มีการตั้งคำถามว่า แล้วปรัชญามีหลักการหาความรู้อย่างไร จึงมีการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับหลักการได้มาซึ่งความรู้ของปรัชญา (รู้ความจริงได้อย่างไร) โดยสรุปแนวคิดที่สำคัญสามแนวกว้างๆ ได้แก่

2.1 เหตุผลนิยม (Rationalism)

2.1.1 พื้นฐานและลักษณะแนวคิด
แนวคิดเหตุผลนิยม มีพื้นฐานจากแนวคิดที่อธิบายความเป็นจริงว่า เป็นจิต/อุดมการ จิต (สติปัญญา) ของมนุษย์เป็นคุณลักษณะพิเศษ สามารถรู้ความจริง เน้นศักยภาพของจิต (สติปัญญา) ซึ่งมีศักยภาพที่จะเข้าใจความจริง ที่เป็นสากล และแน่นอนตายตัว ซึ่งประสาทสัมผัสไม่สามารถให้ได้ แนวคิดนี้ เน้นบทบาทของจิต ในการแสวงหาความรู้ด้วยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นศักยภาพของมนุษย์ในการใช้สติปัญญา (จิต) เพื่อการรู้ความจริง ความจริง/ความรู้มีลักษณะที่แน่นอน ชัดเจนและเป็นสากล ดังนั้น ต้องใช้จิตมนุษย์ ที่เป็นสากล จึงจะเข้าใจกันได้ (สิ่งเหมือนกัน ย่อมเข้าใจกัน) นักปรัชญาที่สำคัญมากในกลุ่มเหตุผลนิยม คือ เรอเน เดสการต์ (Rene Descartes, ค.ศ. 1596 – 1650) ซึ่งสรุปความคิดได้ว่า

ก. ความรู้ที่ถูกต้อง ต้องมีความแน่นอน ตายตัว
ข. มนุษย์มีสติปัญญาที่สามารถบรรลุถึงความจริงได้
ค. ปฏิเสธความรู้ที่ได้จากประสาทสัมผัส เพราะประสาทสัมผัสหลอกลวงเรา (ประสาทสัมผัส เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ขึ้นกับกาลเวลา สถานที่)
ง. ใช้วิธีการ “นิรนัย” กล่าวคือ การพิสูจน์ความจริง อาศัยความจริงที่มีอยู่เดิม เช่น นักศึกษาวิทยาลัยแสงธรรมต่างเรียบจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (หรือเทียบเท่า) แล้ว ดังนั้น นาย ก. (นักศึกษาคนหนึ่งของวิทยาลัยแสงธรรม) จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว เป็นต้น

2.1.2 ตัวอย่างแนวคิดที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดเหตุผลนิยม สามารถแยกย่อยได้อีกหลายทฤษฏี (กีรติ บุญเจือ, 2522) เช่น

ก. ทฤษฏีการระลึกได้ (Theory of recollection) เสนอความคิดว่าความรู้ของมนุษย์ คือ การระลึกได้ เนื่องจากความรู้แฝงในวิญญาณมนุษย์ แต่มนุษย์หลงลืมไปเนื่องจากมนุษย์มีร่างกาย จึงจำเป็นต้องช่วยขุด หรือฟื้นความรู้ (ที่เขามีอยู่แล้ว) เพื่อให้เขาระลึกได้ถึงความจริงที่เขารู้อยู่แล้ว อาศัยประสบการณ์ ครูช่วยกระตุ้น และการทำปัสนา นักปรัชญาที่สำคัญตามแนวคิดนี้ ได้แก่ เปลโต้ (Plato, ราวปี 428 – 347 ก่อน ค.ศ.)

ข. ทฤษฏีส่องสว่าง (Theory of illumination) เสนอความคิดว่า ความรู้ของมนุษย์ได้จากการที่พระเจ้าประทานให้ภายในจิต (สติปัญญา) เนื่องจากความรู้ทั้งหลายอยู่ในพระเจ้า มนุษย์เข้าใจความจริงได้ก็เพราะพระเจ้าประทานให้ นักปรัชญาที่สำคัญตามแนวคิดนี้ ได้แก่ นักบุญออกัสติน (St. Augustine, ค.ศ. 354 – 430)

ค. ทฤษฏีอัชฌัตติกญาณ (Theory of intuitionism) เสนอความคิดว่าความจริงได้มาจากการฝึกจิต จนถึงขั้นอุตรญาณ (ตรัสรู้) ความรู้โดยทางอื่นไม่อาจจะยืนยันได้ว่าจริง นอกจากจะตรงกับความรู้ที่ได้จากญาณวิเศษดังกล่าว นักปรัชญากลุ่มนี้แต่ละคนจะอ้างว่าตนเองเป็นคนแรกที่บรรลุถึงญาณนี้ ดังนั้น ถ้าใครจะบรรลุถึงจะต้องเข้าใจความจริงได้เช่นเดียวกัน นักปรัชญาสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ ฟิกเต (Johann Gottlieb Fichte, ค.ศ. 1762 – 1864) เชลลิง (Friedrich Wilhelm Joseph von Sheliing, ค.ศ. 1775 – 1854) เฮเก็ล (George Wilhelm Friedrich Hegel, ค.ศ. 1770 – 1831) โชเป็นฮาวเวอร์ เวอร์ (Arthur Schopenhauer, ค.ศ. 1788 – 1860) นิตเช่ (Friedrich Wilhelm Nietzsche, ค.ศ. 1844 – 1900)
2.2 ประสบการณ์นิยม/ประจักษ์นิยม (Empiricism)

2.2.1 พื้นฐานและลักษณะแนวคิด

แนวคิดประสบการณ์นิยม มีพื้นฐานจากแนวคิดที่เสนอว่าความเป็นจริง เป็นสสาร (สสารนิยม) ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ (ปรัชญกรีกระยะเริ่มต้น) แนวคิดนี้มีลักษณะตรงกันข้ามกับแนวคิดเหตุผลนิยม ด้วยการ เน้นบทบาทของประสาทสัมผัส ว่าเป็นแหล่งที่มาของความรู้/ความจริง มนุษย์ไม่มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ต้องค่อยๆ เรียนรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงมากในกลุ่มประสบการณ์นิยม ได้แก่ จอห์น ล็อค ซึ่งสรุปความคิดได้ว่า

ก. การรู้ความจริงตามแนวเหตุผลนิยม (วิธีการนิรนัย) มีจุดอ่อน คือ ไม่ได้ความรู้ใหม่ ส่งผลให้วิชาปรัชญาไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้กับสังคม
ข. ยอมรับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ให้ความสำคัญแก่ประสบการณ์ในระดับประสาทสัมผัสในการแสวงหาความรู้ เพื่อได้ความรู้ใหม่ (จากการค้นคว้าทดลอง เป็นสาธารณะ/เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ เป็นสากล ช่วยคาดเดาอนาคตได้) มาเป็นหลักการได้มาซึ่งความรู้ในการแสวงหา/เข้าใจความจริง จึงนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาเป็นวิธีการรู้ความจริงตามแนวปรัชญา
ค. การได้ความรู้อาศัยใช้วิธีการอุปนัย กล่าวคือ การกระโดดจากความจริง ส่วนย่อย (ที่มั่นใจแล้ว) ไปสู่ความจริงสากล เช่น รถคันที่หนึ่ง ตกน้ำ ผลคือ จมน้ำ รถคันที่สอง ตกน้ำ ผลคือ จม ดังนั้น รถทุกคันที่ตกน้ำ จะต้องจม เป็นต้น

2.2.2 ตัวอย่างแนวคิดที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดประสบการณ์/ประจักษ์นิยม เน้นความรู้และการตัดสินความจริงอาศัยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส แนวคิดทำนองนี้เกี่ยวพันกับแนวคิด/ลัทธิทางปรัชญาหลายแนว เช่น แนวคิดปฏิฐานนิยม (Positivism) และพัฒนาสู่แนวคิดปฏิฐานนิยมใหม่ (Neo-positivism) ได้แก่แนวคิดแนวปฏิฐานนิยมแบบตรรกะ (Logical positivism) และแนววิเคราะห์ภาษา (Language analysis) นักปรัชญาสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ โอกุส กองต์ (Auguste Comte, ค.ศ. 1798 – 1857) จอห์น สจ๊วต มิล (John Stuart Mill, ค.ศ. 1806 – 1873) ลุกวิก วิตเก็นสไตน์ (Ludwig Wittgenstein, ค.ศ. 1889 – 1951) เป็นต้น

2.3 ปฏิบัตินิยม (Pragmatism)

แนวคิดปฏิบัตินิยม (Pragmatism) มีพื้นฐานจากการอธิบายความเป็นจริงว่า เป็นสสาร และจิต (ยอมรับว่าสสาร และจิต ต่างมีอยู่จริง และเป็นพื้นฐานของสรรพสิ่ง) จึงเห็นได้ว่าความจริงมีมากมาย เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ทั้งหมด ดังนั้น มนุษย์ควรเลือกที่จะรู้เฉพาะความจริงที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต นักปรัชญาสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ วิลเลียม เจมส์ และจอห์น ดิวอี้ เป็นต้น ซึ่งสรุปแนวความคิดนี้ได้ว่า

ก. เน้นการประนีประนอมความจริง ระหว่างสสารกับจิต
ข. เน้นความรู้เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์/ นำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิต
ค. เน้นการรู้จักตัวเอง เพื่อทำตัวให้ชีวิตดีขึ้น มีความสุขขึ้น

—————————-

 

ญาณวิทยาศาสนามุ่งการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาในประเด็นทางญาณวิทยา โดยเฉพาะในศาสนาแบบเทวนิยม (ยูดาย คริสต์ อิสลาม) อาทิเช่น ปัญหาเกี่ยวกับสถานะของความรู้ทางศาสนา เช่น ความรู้ในเชิงรหัสยะ (mystical knowledge) ถือเป็นความรู้หรือไม่ ความรู้ที่ได้จากการวิวรณ์ (revelation) หรือวิธีการแบบเทววิทยาธรรมชาติ (natural theology) สามารถยอมรับได้หรือไม่ การมีประสบการณ์ทางศาสนา การมีอยู่ของพระเจ้า การรับรู้คุณสมบัติต่างๆ ของพระเจ้า เช่น การหยั่งรู้ทุกอย่าง (omniscience) การมีอำนาจสูงสุด (omnipotence) หรือการดำรงอยู่ทุกที่ทุกเวลา (omnipresence) เป็นต้น อย่างไรก็ดีปัญหาหลักที่ญาณวิทยาศาสนาให้ความสนใจคือ ปัญหาเรื่องความมีเหตุมีผล (rationality) ของความเชื่อทางศาสนา การรับประกัน (warrant) หรือการให้เหตุผลสนับสนุน (justification) ความเชื่อทางศาสนา

การอธิบายเนื้อหาญาณวิทยาศาสนาในที่นี้จะเป็นการอธิบายในประเด็นปัญหาหลัก คือ การพิจารณาเรื่องการให้เหตุผลสนับสนุนความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า หรือประเด็นคำถามว่า ความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้าเป็นความเชื่อที่สามารถทำให้ถูกหลักการได้หรือไม่ แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการให้เหตุผลสนับสนุนกับความเชื่อทางศาสนา รวมถึงข้อโต้แย้งของแต่ละแนวคิดโดยสังเขป อาทิเช่น แนวคิดแบบหลักฐานนิยม (evidentialism) ศรัทธานิยมแบบวิตเกนไตน์ (Wittgensteinian fideism) และแนวคิดที่พยายามปฏิรูปหลักการทางญาณวิทยาเพื่อใช้แก้ปัญหาการให้เหตุผลสนับสนุนกับความเชื่อทางศาสนาที่เรียกว่า “ญาณวิทยาเชิงปฏิรูป” (Reformed epistemology) เช่น แนวคิดของ อัลวิน แพลนทิงกา (Alvin Platinga) และวิลเลี่ยม พี. อัลสตัน (William P. Alston) เป็นต้น ในการกล่าวถึงญาณวิทยาทางศาสนาในที่นี้ จะเป็นการกล่าวถึงลักษณะของความเชื่อศาสนาในบริบทของศาสนาเป็นหลัก เนื่องจากมีการพัฒนาข้อถกเถียงในประเด็นญาณวิทยาเป็นอันมาก

1. ลักษณะของความเชื่อทางศาสนา

โดยทั่วไป ความเชื่อทางศาสนาจะมีสถานะแตกต่างจากความเชื่ออื่น คือเป็นความเชื่อที่ถือว่าจริงโดยไม่ต้องมีการอ้างหลักฐานสนับสนุน หรือเป็นความเชื่อที่ไม่สามารถพิจารณาด้วยเหตุผล ในทางศาสนา สิ่งที่ใช้รับประกันว่าความเชื่อชนิดเป็นความจริงก็คือศรัทธาในความเชื่อนั้น ด้วยทัศนะเช่นนี้ จึงทำให้ความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้ามีสถานะพิเศษกว่าความเชื่ออื่น ดังที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิ้ล เช่น “ศรัทธาเป็นเครื่องประกันแห่งความหวัง เป็นการเชื่อมั่นในสิ่งที่ไม่ได้เห็น” (ฮิบรู 11:1) “หากปราศจากศรัทธาแล้วเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า เพราะว่าผู้ที่จะมาเฝ้าพระเจ้าได้นั้น ต้องเชื่อว่าพระองค์มีอยู่ และเป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ผู้ที่แสวงหาพระองค์” (ฮิบรู 11: 6) ศรัทธาจึงเป็นสิ่งที่ใช้รับประกันความเชื่อทางศาสนา และทำหน้าที่เป็นเสมือนกับเสาหลักในการสนับสนุนความเชื่อทางศาสนา

ความจริงของความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้าเป็นความจริงในระดับที่เรียกว่า “ความจริงระดับอุตรภาวะ” (transcendent truth) ที่หมายถึงความจริงในระดับเหนือธรรมชาติ หรือเป็นความจริงที่มีลักษณะเหนือกว่า หรือเกินไปกว่าการรับรู้โดยประสบการณ์ปรกติ มีความเชื่อว่าการรับรู้ความจริงในเชิงอุตรภาวะเป็นการรับรู้ได้เฉพาะในรูปแบบพิเศษ เช่น การรับรู้ผ่านการเผยแสดงของพระเจ้าที่เรียกว่า “วิวรณ์” (revelation) มนุษย์จะสามารถรับรู้ความจริงลักษณะนี้ได้ก็ต่อเมื่อพระเจ้าทรงมีพระประสงค์จะให้มนุษย์รับรู้เท่านั้น การรับรู้การมีอยู่ของพระเจ้าในความหมายนี้ จึงมีลักษณะลึกลับ เหนือธรรมชาติ หรือดังที่เรียกว่าเป็นการรับรู้ในเชิง “รหัสยะ” (mystical) จอห์น คัลแวง (John Calvin) นักเทววิทยาคนสำคัญกล่าวถึงลักษณะของความรู้ทางศาสนาว่า “เมื่อพวกเรากล่าวถึงความรู้ เราไม่ได้หมายถึงความเข้าใจโดยทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ภายในขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ เพราะว่าศรัทธาเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกว่าการรับรู้ที่จิตของมนุษย์จะสามารถบรรลุถึง และพัฒนาถึงระดับนั้นได้ หรือถึงแม้ว่าจิตจะรับรู้ก็ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่รับรู้นั้น” (Konyndyk, 1986: 93)

จากแนวคิดดังกล่าวจึงมีข้อโต้แย้งว่า หากความเชื่อทางศาสนาเป็นเพียงความเชื่อที่จริงสำหรับผู้ที่มีศรัทธา หรือเฉพาะกับผู้ที่มีความเชื่ออยู่แล้ว ความเชื่อก็จะมีเพียงความจริงเชิงอัตวิสัย (subjective truth) เท่านั้น หากเป็นเช่นนี้ ความเชื่อทางศาสนาจะมีความแตกต่างอย่างไรกับความเชื่อของเด็กๆ เกี่ยวกับซานตาคลอสหรือนางเงือก หรือจะสามารถแยกแยะความแตกต่างได้อย่างไรระหว่างความเชื่อของคนทั่วไปกับคนที่มีจิตผิดปรกติ แนวคิดเรื่องการสนับสนุนความเชื่อทางศาสนาในรูปแบบนี้จึงอาจจะมีความเหมาะสมกับผู้ที่มีศรัทธาทางศาสนา แต่จะมีปัญหาในการตอบข้อสงสัยหรืออธิบายกับผู้ที่ไม่มีความเชื่ออยู่ก่อนให้สามารถเข้าใจและยอมรับได้

นอกจากการเข้าใจความหมายของศรัทธาในรูปแบบที่กล่าวถึง ยังมีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความหมายของศรัทธาในอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้แยกความเชื่อทางศาสนาจากเรื่องการใช้เหตุผลโดยสิ้นเชิง เป็นความหมายของศรัทธาไม่ได้มีนัยถึงการเชื่อมั่นแน่ใจโดยปราศจากความลังเลสงสัยเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า ตัวอย่างเช่น แนวคิดเรื่องศรัทธาของนักบุญออกัสติน (St. Augustine) ที่เห็นว่าการใช้เหตุผลเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง หรือเชื่อมโยงกับ “แรงผลักดันทางศาสนา” (religious impulse) ในขั้นต้น ผู้เชื่อจะต้องมีศรัทธาในวิวรณ์ที่บันทึกในพระคัมภีร์ หรือปรากฎในประวัติศาสตร์ของชนชาติยิวว่าเป็น “ความจริง” ก่อน (เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างโลก บาปกำเนิด การฟื้นคืนชีพ หรือการไถ่บาป ซึ่งถือว่าเป็นความเชื่อที่จำเป็นสำหรับการช่วยให้รอด) หลังจากนั้น เหตุผลจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้มนุษย์สามารถทำให้เข้าใจความจริงทางศาสนาได้ ลำพังเพียงแต่การใช้เหตุผลอย่างเดียวจะไม่สามารถพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าได้

แนวคิดแบบเทววิทยาธรรมชาติ (natural theology) ของนักบุญโธมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) เป็นตัวอย่างที่สำคัญของแนวคิดในรูปแบบนี้ เขาอธิบายว่าความเชื่อทางศาสนาไม่ได้แยกออกอย่างเด็ดขาดจากการใช้เหตุผล และได้นำการใช้เหตุผลแบบปรัชญามาพิสูจน์ความจริงของความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า รวมถึงทัศนะทางปรัชญาที่มีอยู่ เช่น ทัศนะทางปรัชญาของ อริสโตเติล (Aristotle) มาประยุกต์เพื่อใช้สนับสนุนความเชื่อทางศาสนา ที่รู้จักกันคือข้อพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า 5 วิธี (ดูหัวข้อ “การอ้างเหตุผลยืนยันการมีอยู่ของพระเจ้า” ในสารานุกรมฉบับนี้) อไควนัสอธิบายถึงศรัทธาว่า ลำพังแต่เพียงการใช้เหตุผลของมนุษย์นั้นสามารถรับรู้ได้แต่ความจริงระดับธรรมชาติ (natural truth) ซึ่งเป็นความจริงที่เข้าใจได้โดยสภาวะการรับรู้อันจำกัดของมนุษย์ แต่หากมนุษย์ไม่ได้รับวิวรณ์จากพระเจ้า ก็จะไม่สามารถรับรู้ความจริงในระดับที่สูงขึ้นไปได้ เช่น ความจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระเจ้า หรือความจริงเกี่ยวกับลักษณะของพระเจ้า ศรัทธาจึงทำหน้าที่เป็นเหมือนกับ “เครื่องมือนำทาง” ให้กับการใช้เหตุผลของมนุษย์ซึ่งมีข้อที่จำกัด อันจะช่วยให้สามารถรับรู้ความจริงในระดับที่เหนือธรรมชาติ (supernatural truth) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าโดยทั่วไปกลุ่มของผู้ที่ยอมรับความเชื่อทางศาสนาว่าเป็นความจริง จะนิยมอ้างถึงวิธีการที่ต้องอาศัยศรัทธาเพื่อสนับสนุนความเชื่อทางศาสนาเป็นสำคัญ แม้แต่ในทัศนะของเทววิทยาธรรมชาติ ก็ยังต้องถือว่าศรัทธาเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดสำหรับการยืนยันความจริงของความเชื่อทางศาสนา

2. แนวคิดแบบหลักฐานนิยม

แนวคิดแบบหลักฐานนิยม (evidentialism) เป็นแนวคิดที่ท้าทายประเพณีความคิดเรื่องการมีศรัทธาในแบบของคัลแวงและอไควนัส หรือต่อความหมายของศรัทธาที่คริสตศาสนิกชนส่วนมากเข้าใจ แนวคิดแบบหลักฐานนิยมมีความเห็นว่าความเชื่อใดๆ ก็ตามหากปราศจาก “การอ้างหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอ” ก็จะถือว่าเป็นความเชื่อที่บกพร่อง วิลเลี่ยม คลิฟฟอร์ด (William Clifford) เป็นคนสำคัญที่นำเสนอทัศนะแบบนี้ เขาได้กล่าวประโยคที่เป็นเสมือนกับสัญลักษณ์ของแนวคิดแบบหลักฐานนิยมว่า “เป็นสิ่งที่ผิดเสมอไม่ว่าในที่ใดหรือกับใครก็ตามที่จะเชื่อในสิ่งที่ตั้งอยู่บนหลักฐานที่ไม่เพียงพอ” (Clifford, 1998: 403) ความเชื่อที่น่าเชื่อถือตามทัศนะแบบหลักฐานนิยมจึงหมายถึงความเชื่อที่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ ตามมาตรฐานนี้ ความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้าที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอจึงต้องถือว่าเป็นความเชื่อที่บกพร่อง

มีข้อโต้แย้งว่าหลักการเชื่ออย่างมีเหตุผลที่คลิฟฟอร์ดเสนอมีความคลุมเคลือและไม่สามารถเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ เนื่องจากไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจนว่าหลักฐานอย่างไรจึงจะถือได้ว่าเป็น “หลักฐานที่เพียงพอ” หากขาดความชัดเจนเช่นนี้ ในกรณีของนักเทววิทยา ก็อาจมีการอ้างหลักฐานเพื่อสนับสนุนว่าความเชื่อที่มีเป็นความเชื่อที่มีหลักฐานเพียงพอเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น อาจมีการยกหลักฐานจากประสบการณ์ทางศาสนา ข้อความที่ปรากฏในพระคัมภีร์ หรือแม้แต่การมีอยู่ของตัวศาสนิกเองในฐานะสิ่งสร้างของพระเจ้า สำหรับผู้มีศรัทธา สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นหลักฐานเช่นกัน

นอกจากแนวคิดแบบหลักฐานนิยมที่คลิฟฟอร์ดเสนอ ยังมีแนวคิดแบบหลักฐานนิยมในรูปแบบอื่นที่มีความชัดเจนกว่า ตัวอย่างเช่น “หลักฐานนิยมแบบล็อค” (Lockean evidentialism) จอห์น ล็อค (John Locke) อธิบายถึงลักษณะของหลักการในการตัดสินความเชื่อที่มีเหตุผลว่าหมายถึงการไม่ยอมรับประพจน์ใดๆ ด้วยความเชื่อมั่นในระดับที่เกินกว่าที่หลักฐานจะสนับสนุนได้ (Konyndyk, 1986: 103) นั่นคือ ล็อคเห็นว่าการตัดสินความมีเหตุผลของความเชื่อใดๆ ต้องพิจารณาจากน้ำหนักความน่าเชื่อถือของหลักฐานที่สนับสนุน เนื่องจากศรัทธาเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือในระดับที่ต่ำหรือไม่เป็นที่ยอมรับทั่วไป จึงต้องถือว่าความเชื่อที่สนับสนุนด้วยศรัทธาไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือมีความน่าเชื่อถือในระดับที่ต่ำตามไปด้วย

ในทัศนะแบบหลักฐานนิยม ความเชื่อทางศาสนาจึงไม่ใช่ความเชื่อที่มีสิทธิพิเศษ แต่เป็นความเชื่อที่ต้องมีหลักฐานสนับสนุนเหมือนกับความเชื่ออื่นๆ เช่นกัน อาจจะสรุปการอ้างเหตุผลของหลักฐานนิยมในการอธิบายถึงความบกพร่องของความเชื่อทางศาสนาได้ดังนี้

P.1 ความเชื่อทางศาสนาจะเป็นความเชื่อที่มีเหตุผลสนับสนุนได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานที่เพียงพอเท่านั้น
P.2 ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอสำหรับสนับสนุนความเชื่อทางศาสนา
สรุป ความเชื่อทางศาสนาเป็นความเชื่อที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุน

ถึงแม้ความเชื่อที่มีหลักฐานเพียงพอจะยังมีความหมายที่คลุมเครือว่าหมายถึงความเชื่อในลักษณะอย่างไร แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าทัศนะแบบหลักฐานนิยมมุ่งหมายถึงสิ่งที่คนเข้าใจกันอยู่โดยทั่วไป ท่าทีของผู้ที่มีทัศนะในลักษณะนี้ จึงมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธความน่าเชื่อถือของความเชื่อทางศาสนา เนื่องจากเห็นว่าความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้าไม่สามารถมีหลักฐานที่เพียงพอมาสนับสนุนได้ ขณะที่ฝ่ายผู้ที่มีความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้ามีแนวโน้มที่จะปฏิเสธการพิจารณาความเชื่อทางศาสนาตามที่หลักฐานนิยมเสนอ มากกว่าจะพยายามหาหลักฐานเพื่อสนับสนุนความเชื่อทางศาสนาของตน

3. แนวคิดแบบศรัทธานิยมของ ลุดวิก วิตเกนสไตน์

ศรัทธานิยม (fideism) เป็นทัศนะที่ปฏิเสธหลักฐานนิยม (anti-evidentialism) โดยเห็นว่าไม่ควรประเมินความเชื่อทางศาสนาในเชิงเหตุผล ความเชื่อทางศาสนานั้นควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของศรัทธา เนื่องจากเห็นว่าความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าเป็นความเชื่อที่อยู่เหนือกว่า ตรงกันข้าม หรือไม่เกี่ยวข้องกับการใช้เหตุผล นักปรัชญาที่นำเสนอแนวคิดในรูปแบบนี้ ได้แก่ เบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) โซเร็น เคียร์คีกอร์ด(Soren Kierkegaard) ลุดวิก วิตเกนสไตน์ (Ludwig Wittgenstein) และดี. ซี. ฟิลิปส์ (D. Z. Philips) เป็นต้น ในที่นี้จะอธิบายแนวคิดแบบศรัทธานิยมโดยอาศัยแนวคิดเรื่อง “รูปแบบของชีวิต” (form of life) ในทฤษฎีเกมภาษา (language game) ของวิตเกนสไตน์ เพื่อเป็นตัวอย่างในการทำความเข้าใจแนวคิดแบบศรัทธานิยม

เกมภาษาเป็นแนวคิดที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ Philosophical Investigations ของวิตเกนสไตน์ ซึ่งเปรียบเทียบภาษาว่าเป็นเหมือนกับเกมกีฬา เขาอธิบายว่าการใช้ภาษาเป็นไปได้เนื่องจากคนมีความเข้าใจร่วมกันในกฎเกณฑ์ซึ่งกำหนดความหมายของคำในบริบทต่างๆ กฎเกณฑ์เหล่านี้มิได้มีเพียงชุดเดียว แต่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการใช้ภาษา เหมือนกับที่กฎกติกาของเกมที่เราเล่น ซึ่งต้องเปลี่ยนไปตามบริบทของกีฬาที่แตกต่างกัน การใช้ภาษาจึงเหมือนการเล่นเกมที่ต้องรู้กฎกติกาว่ากำลังเล่นเกมอะไร วิธีใช้ลูกบอลในเกมวอลเลย์บอลนั้น ต่างไปจากวิธีใช้ลูกบอลในเกมแชร์บอล เช่นกันคำๆ เดียวกันหากอยู่ในเกมภาษาที่แตกต่างกัน ก็อาจจะมีความหมายที่ต่างกันได้ ความหมายของภาษาจึงแยกออกจากบริบทของการใช้คำไม่ได้ วิตเกนสไตน์เรียกบริบทดังกล่าวว่า “บริบทของชีวิต” (context of life) หรือ “รูปแบบของชีวิต” (form of life) เช่น ศาสนา วิทยาศาสตร์ การศึกษา อาชีพ การเมือง ดังนั้น ตามแนวคิดของวิตเกนสไตน์ การกำหนดความหมายที่แน่นอนตายตัวให้กับภาษาจึงไม่สามารถทำได้ เพราะความหมายของคำแต่ละคำเป็นเพียงความหมายที่ขึ้นอยู่กับบริบทหนึ่งๆ เท่านั้น

ความหมายของข้อความทางศาสนาก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ความหมายของข้อความทางศาสนาเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบของชีวิตแบบหนึ่ง การนำกฎเกณฑ์ของเกมภาษาจากรูปแบบชีวิตอื่นมาใช้ในเกมภาษาทางศาสนาจึงกระทำไม่ได้ เช่น วิทยาศาสตร์อาจจะมีกฎเกณฑ์ว่าต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือโดยพิจารณาจากหลักฐานสนับสนุน แต่กฎเกณฑ์นี้สามารถใช้ได้ในวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ใช้ไม่ได้ในศาสนาซึ่งมีกฎเกณฑ์ของตนเอง นั่นคือ อาศัยศรัทธา ไม่ใช่การตรวจสอบหลักฐาน ดังนั้น หากนำมาใช้เมื่อใด ภาษาศาสนาย่อมไม่สามารถเข้ากับกฎเกณฑ์จากเกมภาษาของวิทยาศาสตร์ได้ และการนำกฎเกณฑ์จากเกมภาษาอื่นมาใช้เช่นนี้ ยังทำให้ไม่สามารถเข้าใจภาษาศาสนาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังไม่อาจเทียบได้ว่ารูปแบบชีวิตใดที่จริงกว่าหรือถูกต้องกว่า จึงกล่าวไม่ได้ว่าเกมภาษาของวิทยาศาสตร์เหนือกว่าศาสนา ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงทำให้ผู้ที่นำทัศนะของวิตเกนสไตน์มาใช้ยืนยันว่าเราไม่ควรพยายามตรวจสอบความเชื่อทางศาสนา แต่ควรยอมรับความเชื่อทางศาสนาอย่างที่เป็น จัดทัศนะแบบนี้ว่าเป็นศรัทธานิยม

ดี ซี ฟิลิปส์ เป็นบุคคลสำคัญที่นำแนวคิดของวิตเกนสไตน์มาใช้อธิบายลักษณะของความเชื่อทางศาสนาในแบบของศรัทธานิยม เขาใช้ทฤษฎีเกมภาษาของวิตเกนสไตน์ในการอธิบายการมีความหมายของข้อความทางศาสนา นั่นคือ กฎเกณฑ์การมีความหมายของข้อความต่างๆ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของชีวิตที่มีความแตกต่างกัน และไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบตัดสินกันได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถแสวงหาหลักเกณฑ์ที่เป็นสากล หรือเป็นภววิสัย เพื่อตัดสินความมีความหมายของภาษาทุกประเภท ฟิลิปส์ชี้ว่าความหมายของความเชื่อทางศาสนาเป็นสิ่งที่มีความหมายจากภายใน (internal) รูปแบบของชีวิตทางศาสนา เขาจึงปฏิเสธวิธีการตัดสินความมีความหมายของภาษาศาสนาโดยอาศัยหลักเกณฑ์จากภายนอก (external)

ไค นีลสัน (Kai Nielson) สรุปแนวคิด “ศรัทธานิยมแบบวิตเกนสไตน์” (Wittgensteinian fideism) ว่ามีลักษณะที่สำคัญ 3 ข้อ คือ

(ก) การอธิบายถึงพื้นฐานของเรื่องราวต่างๆ ทางศาสนาว่าเป็นสิ่งที่จำแนกโดยรูปแบบของชีวิตที่มีระบบตรรกะเป็นของตัวเอง
(ข) รูปแบบของชีวิตทั้งหมดไม่เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ระหว่างกันได้ แต่ละรูปแบบของชีวิตมีสิ่งที่เป็นบรรทัดฐานหรือมีกฎเกณฑ์เป็นของตัวเองที่จะสามารถใช้เข้าใจเรื่องความจริงเท็จ ความมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล
(ค) มีความเชื่อว่าไม่มีจุดยืนกลางที่สามารถใช้เป็นหลักการในการวิพากษ์วิจารณ์ตัดสินรูปแบบของชีวิตแบบต่างๆ ได้ เพราะทุกครั้งที่เราใช้หลักเกณฑ์มาตัดสิน หลักเกณฑ์นั้นก็จะมาจากรูปแบบของชีวิตแบบใดแบบหนึ่งเสมอ (Stiver, 1996: 69)

เห็นได้ว่าทฤษฎีเกมภาษานำสู่ “มุมมองนิยมแบบแข็ง” (hard perspectivism) มุมมองนิยมคือทัศนะที่ว่าความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับภูมิหลังของผู้เชื่อ เช่น ข้อมูลจากประสบการณ์ ความเชื่อที่ยอมรับก่อนหน้า ความประทับใจต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะเรียกรวมๆ กันว่าเป็น “กรอบมโนทัศน์” (conceptual framework) ซึ่งทำหน้าที่กำหนดมุมมอง การตีความ และการให้ความหมายกับสิ่งต่างๆ ที่พานพบ มุมมองนิยมแบบแข็งนั้นจะยืนยันว่ามุมมองที่แตกต่างกันนี้ไม่สามารถเปรียบเทียบตัดสินระหว่างกันได้อย่างเด็ดขาด และไม่มีวันพบจุดยืนภายนอกที่จะช่วยการวิพากษ์วิจารณ์หรือเปรียบเทียบระหว่างมุมมองที่แตกต่างกันนี้ได้

ประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งในการโต้แย้งอาศัยการตั้งคำถามว่า นอกจากศาสนิกจะยอมรับว่าความเชื่อทางศาสนาเป็นสิ่งที่มีความหมายแล้ว ศาสนิกเหล่านี้ยอมรับหรือไม่ว่าความเชื่อเหล่านี้บรรยายข้อเท็จจริงในจักรวาล เช่น ความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้ากล่าวถึงพระเจ้าที่มีอยู่จริงในจักรวาล ถ้ายอมรับเช่นนี้ ก็แปลว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงการตรวจสอบข้อความทางศาสนาในเชิงข้อเท็จจริงได้ ข้อโต้แย้งนี้มีผลกับกลุ่มที่เชื่อว่าข้อความทางศาสนามีองค์ประกอบเชิงปริชาน (cognitive) คือจริงเท็จได้ อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งนี้ไม่มีผลต่อนักปรัชญา เช่น ฟิลิปส์ ที่ไม่เห็นด้วยว่าภาษาศาสนาอ้างถึงข้อเท็จจริง คนเหล่านี้จัดเป็นกลุ่มที่เห็นว่าข้อความทางศาสนาไม่เกี่ยวข้องกับด้านปริชาน (non-cognitive) คือไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริงเท็จ ภาษาศาสนามีความหมายภายในรูปแบบชีวิตทางศาสนา การจะเข้าถึงความหมายได้ก็คือการยอมรับและดำเนินชีวิตตามแนวทางของรูปแบบชีวิตเท่านั้น เมื่อเข้าถึงแล้ว ก็ย่อมไม่ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาต่างๆ แต่จะใช้ภาษาศาสนาตามหน้าที่ที่กำหนดในรูปแบบชีวิต เช่น สวดภาวนาเพื่อสร้างความหวังและกำลังใจในสถานการณ์ที่ทุกข์ยาก

4. ข้อเสนอเรื่องญาณวิทยาเชิงปฏิรูปของ อัลวิน แพลนติงกา

อัลวิน แพลนทิงกา (Alvin Plantinga) เสนอทฤษฎีที่จัดอยู่ใน “ญาณวิทยาเชิงปฏิรูป” (Reformed epistemology) เพื่อโต้แย้งหลักฐานนิยม นักปรัชญาที่นำเสนอแนวคิดในทำนองนี้คนอื่นๆ มีเช่น ริชาร์ด สวินเบิร์น (Richard Swinburne) วิลเลี่ยม พี อัลสตัน (William P. Alston) ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป) เหตุที่เรียกว่า “ญาณวิทยาปฏิรูป” เนื่องจากนักปรัชญาเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของนักคิดในจารีตสายปฏิรูป (Reformed tradition) ของคริสต์ศาสนาที่เริ่มโดย จอห์น คัลแวง (John Calvin)

ข้อเสนอของแพลนติงกาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีมูลฐานนิยม (foundationalism) ซึ่งเขาเห็นว่าสามารถใช้สนับสนุน รวมทั้งแก้ปัญหาที่ตามมาจากหลักฐานนิยมได้ ดังที่เห็นแล้วตอนต้นว่าหลักฐานนิยมเห็นว่าความเชื่อที่ยอมรับได้ต้องมีหลักฐานสนับสนุน ตามแนวคิดนี้ ถ้ามีใครถามถึงความเชื่อหนึ่งๆ ว่ายอมรับได้หรือไม่ ผู้ที่เชื่อก็จะต้องอ้างอิงถึงความเชื่ออื่นในฐานะหลักฐานสนับสนุน แต่การอ้างอิงหลักฐานที่เป็นความเชื่ออื่นต่อไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหานี้ว่า “ปัญหาการถอยกลับแบบอนันต์” (infinite regression problem) มูลฐานนิยมเป็นทฤษฎีการให้เหตุผลสนับสนุนกับความเชื่อที่แก้ปัญหานี้ได้ โดยอธิบายว่าการอ้างหลักฐานจะถอยกลับไปยุติที่จุดหนึ่ง เรียกว่า “ความเชื่อพื้นฐาน” (basic belief) ที่มีลักษณะสำคัญคือไม่ต้องอ้างอิงหลักฐานอื่น ดังนั้น จึงทำหน้าที่เป็นพื้นฐานให้กับความเชื่ออื่นๆ ได้ มูลฐานนิยมโดยทั่วไปถือว่าความเชื่อพื้นฐานอยู่ในรูปประพจน์ (proposition) หรือในรูปของประพจน์พื้นฐาน (basic proposition)
ความเชื่อพื้นฐานที่เป็นความเชื่อที่สนับสนุนตัวเอง มีทั้งที่เป็นความเชื่อที่เป็นหลักฐานในตัวเอง (self-evident) และความเชื่อที่ไม่สามารถเป็นเท็จได้ (incorrigible) ตัวอย่างของประพจน์ที่แสดงความเชื่ออันเป็นหลักฐานในตัวเอง เช่น “2 + 1 = 3” หรือ เช่น “ไม่มีคนโสดคนใดที่แต่งงานแล้ว” ซึ่งเป็นความจริงเชิงตรรกะ ตัวอย่างของประพจน์แสดงความเชื่อที่ไม่สามารถเป็นเท็จได้ เช่น “ฉันรู้สึกหิว” ประพจน์เหล่านี้เข้าเงื่อนไขการเป็นความเชื่อพื้นฐานแนวคิดของมูลฐานนิยม คือ มีลักษณะเป็นจริงโดยตัวเองและไม่ต้องการการสนับสนุน อย่างไรก็ตาม ประพจน์หรือความเชื่อที่เป็นหลักฐานในตนเองหรือไม่สามารถเป็นเท็จได้นั้น ถือว่ามีลักษณะเป็น “พื้นฐานที่เหมาะสม” (properly basic) ด้วยในขณะเดียวกัน ความเชื่อพื้นฐานที่เหมาะสมก็คือผู้เชื่อสามารถเชื่อได้อย่างมีเหตุมีผลว่าความเชื่อนั้นมีความเป็นพื้นฐานจริงๆ เห็นได้ว่ามีการเพิ่มเงื่อนไขของความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับผู้เชื่อเข้าไปด้วย

ทฤษฏีมูลฐานสมัยใหม่ถือว่าความเชื่อพื้นฐานที่เหมาะสมมีเพียงความเชื่อที่เป็นเหตุผลในตัวเองและความเชื่อที่ไม่สามารถเป็นเท็จได้เท่านั้น ถ้ายึดตามทฤษฎีมูลฐานนิยมสมัยใหม่ ความเชื่อในพระเจ้าไม่ใช่ความเชื่อพื้นฐานที่เหมาะสม ทฤษฎีมูลฐานนิยมดั้งเดิมจะมีความเชื่อพื้นฐานที่เหมาะสมกว้างไปกว่าของมูลฐานนิยมสมัยใหม่ คือ ครอบคลุมถึงความเชื่อที่กระจ่างชัดต่อผัสสะ (evident to the senses) หรือทฤษฎีมูลฐานนิยมของโธมัส เรด (Thomas Reid) ก็ยอมรับกว้างไปกว่านั้น เช่น เห็นว่าความทรงจำที่ระลึกขึ้นได้หรือคำบอกเล่าจากผู้อื่นก็เป็นความเชื่อพื้นฐานที่เหมาะสมได้

แพลนติงกาเห็นว่าความเปิดกว้างของมูลฐานนิยมแบบหลังสามารถใช้สนับสนุนความเชื่อทางศาสนาได้ แพลนติงกาเริ่มโดยชี้ว่าความเชื่อพื้นฐานที่เหมาะสมมีลักษณะสำคัญร่วมกัน คือ มักเป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นมาเอง (spontaneous) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการตอบสนองต่อบางสิ่งโดยความเชื่อเหล่านี้ไม่ต้องอาศัยการ เช่น เชื่อว่ามีนกอยู่ที่หน้าต่างเมื่อนกปรากฏต่อผู้เชื่อ เชื่อว่าเมื่อเช้ากินข้าวต้มเมื่อผู้เชื่อระลึกขึ้นมาว่าเมื่อเช้ากินอะไร เป็นต้น ความเชื่อในพระเจ้าก็เช่นกันอาจเกิดจากการมองเห็นความสวยงามของธรรมชาติและเชื่อขึ้นมาเองว่าพระเจ้าทรงสร้างธรรมชาติ หรือเมื่อกระทำความผิดแล้วมีความเชื่อผุดขึ้นมาว่าพระเจ้าทรงไม่พอพระทัย โดยนัยนี้ ความเชื่อในพระเจ้าจึงเป็นความเชื่อพื้นฐานที่เหมาะสมได้ หากเป็นเช่นนั้น จึงกล่าวได้ว่าเราเชื่อในพระเจ้าได้อย่างมีเหตุผลสนับสนุนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานมาสนับสนุนความเชื่อนั้นอย่างที่หลักฐานนิยมคิด ความเชื่อทางศาสนาสามารถยอมรับได้อย่างมีเหตุผลสนับสนุนเนื่องจากเป็นความเชื่อพื้นฐานที่เหมาะสมได้ และหลักฐานนิยมต้องยอมรับความเชื่อประเภทนี้ เนื่องจากความเชื่อประเภทนี้เป็นไปตามทฤษฎีมูลฐานนิยมซึ่งหลักฐานนิยมต้องใช้เพื่อมิให้ทฤษฎีของตนต้องประสบปัญหาการถอยกลับแบบอนันต์

แพลนติงกาชี้ว่าสำหรับชาวคริสต์เอง มีฐานสำหรับสนับสนุนการเกิดขึ้นของความเชื่อในพระเจ้าเช่นนี้ โดยอ้างถึงแนวคิดที่พัฒนาโดย จอห์น คัลแวง ซึ่งเห็นว่ามนุษย์มีผัสสะสำหรับรับรู้พระเจ้าได้ (sensus divinitatis) ซึ่งทำให้มนุษย์เกิดความเชื่อในพระเจ้าในสถานการณ์ต่างๆ เช่น เมื่ออยู่ในอันตราย เมื่อกระทำผิด เมื่อเห็นลักษณะอันยิ่งใหญ่น่าประทับใจของธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม อาจถือว่าแนวคิดดังกล่าวไม่มีบทบาทนัก สำหรับการโต้แย้งกับผู้ที่ไม่ใช่คริสต์เพื่อให้ยอมรับว่าสามารถเชื่อในพระเจ้าได้อย่างมีเหตุผลสนับสนุน ในหัวข้อต่อไป จะเห็นว่าอัลสตันก็อาศัยความคิดเรื่องผัสสะพิเศษเช่นนี้เหมือนกัน

5. แนวคิดเรื่องการรับรู้ประสบการณ์ทางศาสนาของ วิลเลี่ยม พี อัลสตัน

วิลเลี่ยม พี อัลสตัน อธิบายว่าความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้ามีเหตุผลสนับสนุนจากประสบการณ์ของผู้เชื่อ ที่เรียกว่า “ความตระหนักรู้ในเชิงประสบการณ์ถึงพระเจ้า” (experiential awareness of God) หรือ “การรับรู้พระเจ้า” (perceiving God) การรับรู้พระเจ้าที่อัลสตันกล่าวถึงคือการมีประสบการณ์ทางศาสนา เช่น การรับรู้ถึงพลังอำนาจ ความรัก ความเมตตา ความสงบสุข ที่มาจากพระเจ้า หรือการมีประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการสวดภาวนาหรือการอธิษฐาน ข้อเสนอของอัลสตันใน Perceiving God: The Epistemology of Religious Experience มีจุดประสงค์ที่สำคัญคือเพื่อเสนอว่าประสบการณ์ดังกล่าวสามารถเป็นเหตุผลสนับสนุนความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าได้

อัลสตันอธิบายการรับรู้พระเจ้าว่าเป็นการรับรู้ที่เหมือนกับการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสอื่นๆ หรืออาจเรียกว่าเป็น “การรับรู้ของชาวคริสต์” (Christian perception) คือเป็นการรับรู้เชิงผัสสะที่ชาวคริสต์มีประสบการณ์ และการรับรู้เช่นนี้เป็นเหตุผลสนับสนุนกับความเชื่อโดยทันทีเหมือนกับการรับรู้ทั่วๆ ไป ตัวอย่างเช่น สำหรับผู้หนึ่งที่รับรู้ว่า “หนังสือเล่มนี้มีสีฟ้า” การรับรู้นี้จะเป็นการให้เหตุผลสนับสนุนกับความเชื่อว่า “หนังสือเล่มนี้มีสีฟ้า” ในทันที การให้เหตุผลสนับสนุนในลักษณะเช่นนี้ อัลสตันเรียกว่า “การให้เหตุผลสนับสนุนความเชื่อในชั้นต้น” (prima facie justification) การให้เหตุผลสนับสนุนเกิดขึ้นพร้อมกับการรับรู้ทันที โดยไม่ต้องอาศัยหลักฐานอื่นเป็นเหตุผลสนับสนุน (Alston, 1992: 68) ความเชื่อเช่นนี้จะต้องยอมรับไว้ก่อนจนกว่าจะมีสิ่งอื่นที่มีน้ำหนักมากพอที่จะทำให้ต้องปฏิเสธไป (เช่น หลักฐานว่าผู้ที่รับรู้กำลังเมายา) ลักษณะสำคัญของอัลสตันคือทัศนะเกี่ยวกับบทบาทของสังคมหรือชุมชนในการก่อรูปความเชื่อของปัจเจกบุคคล กล่าวคือ คนในกลุ่มเดียวกันจะมี “แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเชื่อ” (doxastic practice) ร่วมกัน (Alston, 1992: 73) แนวปฏิบัตินี้ขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆ เช่น ประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ หรือรูปแบบการดำเนินชีวิตของแต่ละชุมชนที่เป็นพื้นฐานให้กับความเชื่อ แนวปฏิบัติดังกล่าวมีอิทธิพลต่อประสบการณ์ของบุคคล คนในกลุ่มที่ยึดถือแนวปฏิบัติเดียวกันจึงมีความเชื่อในลักษณะเดียวกัน ความเชื่อที่ได้จากประสบการณ์การรับรู้อันได้รับอิทธิพลจากแนวปฏิบัติดังกล่าว ถือว่ามีเหตุผลสนับสนุนเบื้องต้น

วรเทพ ว่องสรรพการ (ผู้เรียบเรียง)
เอกสารอ้างอิง

·

วรเทพ ว่องสรรพการ. 2546. การอ้างเหตุผลสนับสนุนการมีอยู่ของพระเจ้าตามทฤษฎีสหนัยนิยม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

·

Alston, William P. 1991. Perceiving God: The Epistemology of Religious Experience. New York: Cornell University Press.

·

Alston, William P. 1992. The Autonomy of Religious Experience. Philosophy of Religion 31: 67-87.

·

Audi, Robert. 1986. Direct Justification, Evidential Dependence, and Theistic Belief. In Robert Audi and William J. Wainwright (eds.). Rational Religious Belief, & Moral Commitment: New Essays in the Philosophy of Religion, pp. 139-166. New York: Cornell University Press.

·

Clifford, William K. 1998. The Ethics of Belief. In Louis P. Pojman (ed.). Philosophy of Religion: Anthology. Third edition, pp. 399-403. New York: Wadsworth.

·

Konyndyk, Kenneth. 1986. Faith and Evidentialism. In Robert Audi and William J. Wainwright (eds.). Rational Religious Belief, & Moral Commitment: New Essays in the Philosophy of Religion, pp. 82-108. New York: Cornell University Press.

·

Martin, Michael. 1998. A Critique of Plantinga’s Religious Epistemology. In Louis P. Pojman (ed.). Philosophy of Religion: Anthology. Third edition, pp. 475-483. New York: Wadsworth.

·

Plantinga, Alvin. 1998. Religious Belief without Evidence. In Louis P. Pojman (ed.). Philosophy of Religion: Anthology. Third edition, pp. 461-475. New York: Wadsworth.

·

Stiver, Dan R. 1996. The Philosophy of Religious Language: Sign, Symbol, and Story. Cambridge: Blackwell Published.
·

Trigg, Roger. 1998. Rationality and Religion: Does Faith Need Reason? Oxford: Blackwell.

เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม

·

Alston, William P. 1991. Perceiving God: The Epistemology of Religious Experience. New York: Cornell University Press. (คำอธิบายของ วิลเลี่ยม พี. อัลสตัน เรื่องทฤษฎีความรู้กับประสบการณ์ทางศาสนา)
·

Audi, Robert and Wainwright, William J. (eds.). 1986. Rational Religious Belief, & Moral Commitment: New Essays in the Philosophy of Religion. New York: Cornell University Press. (รวมบทความนำเสนอประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลกับความเชื่อทางศาสนาที่สำคัญ)
·

Plantinga, Alvin. 2000. Warranted Christian Belief. New York & Oxford: Oxford University Press. (การนำเสนอแนวคิดเรื่องการปฎิรูปทางญาณวิทยา และการประยุกต์กับการให้หลักการกับความเชื่อทางเทววิทยาของศาสนาคริสต์)

 

cr: http://www.philospedia.net/EpistemologyofReligion.html

Share this:

Like this:

Like

Loading…

[NEW] ภาษา python เบื้องต้น บทที่ ๖: ความเป็นจริงเท็จและการตั้งเงื่อนไข :: บล็อกของ phyblas ;囧; いつか見えた空 ~ φυβλαςのブログ | เป็นจริง – NATAVIGUIDES

เหมือนกับที่ในธรรมชาติมักจะมีการแบ่งแยก เช่นเวลาไปเที่ยวคนต่างชาติจะต้องจ่ายค่าเข้าแพงกว่า หนังบางประเภทมีการจำกัดอายุคนดู ห้องน้ำก็มีการแยกชายหญิง สังคมมนุษย์เต็มไปด้วยการแบ่งแยก

ในคอมพิวเตอร์เองก็สามารถมีการแบ่งแยก เช่นเวลาคำนวณ เจอจำนวนบวกให้คำนวณอย่างหนึ่ง เจอจำนวนลบให้คำนวนแบบหนึ่ง เป็นต้น

หากมีการตั้งเงื่อนไขก็จะสร้างให้เกิดทางแยกในการทำงาน และทำงานได้ยืดหยุ่นกว้างขวางมากขึ้น

ในภาษาไพธอน (รวมถึงภาษาโปรแกรมอื่นๆส่วนใหญ่) คำสั่งที่ใช้ในการตั้งเงื่อนไขก็คือ if และ else

การใช้ if และ else เพื่อตั้งเงื่อนไข

โครงสร้างของการใช้ if เป็นดังนี้

if

เงื่อนไข:
    คำสั่งที่จะให้ทำเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง

else

เงื่อนไข:
    คำสั่งที่จะให้ทำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

ยกตัวอย่าง

x =

int

(

input

(

‘1+1 เท่ากับเท่าไหร่? : ‘

))

if

x==2:
   

print

(

‘ถูกต้องนะคร้าบ’

)

else

:
   

print

(

‘ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนตอบผิด’

)

ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์นั้นมักจะต้องมีการแบ่งแยกเงื่อนไขเพื่อที่จะให้คอมทำงานแตกต่างกันไปตามสถานการณ์เหมือนกับที่ในธรรมชาติมักจะมีการแบ่งแยก เช่นเวลาไปเที่ยวคนต่างชาติจะต้องจ่ายค่าเข้าแพงกว่า หนังบางประเภทมีการจำกัดอายุคนดู ห้องน้ำก็มีการแยกชายหญิง สังคมมนุษย์เต็มไปด้วยการแบ่งแยกในคอมพิวเตอร์เองก็สามารถมีการแบ่งแยก เช่นเวลาคำนวณ เจอจำนวนบวกให้คำนวณอย่างหนึ่ง เจอจำนวนลบให้คำนวนแบบหนึ่ง เป็นต้นหากมีการตั้งเงื่อนไขก็จะสร้างให้เกิดทางแยกในการทำงาน และทำงานได้ยืดหยุ่นกว้างขวางมากขึ้นในภาษาไพธอน (รวมถึงภาษาโปรแกรมอื่นๆส่วนใหญ่) คำสั่งที่ใช้ในการตั้งเงื่อนไขก็คือและโครงสร้างของการใช้ if เป็นดังนี้ยกตัวอย่าง

ผลที่ได้ก็คือเริ่มมาโปรแกรมจะถามคำถามว่า “1+1 เท่ากับเท่าไหร่?” แล้วก็ให้พิมพ์คำตอบลงไป

ถ้าพิมพ์ 2 ลงไป ก็คือตอบถูก จะมีข้อความ “ถูกต้องนะคร้าบ” ขึ้นมา

แต่ถ้าพิมพ์ตัวเลขค่าอื่นลงไป จะมีข้อความ “ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนตอบผิด” ขึ้นมา

จากตัวอย่าง สรุปโครงสร้างโดยรวมก็คือ

บรรทัดแรกพิมพ์คำว่า if แล้วก็ตามด้วยเงื่อนไขจากนั้นก็ต้องพิมพ์โคลอน : จากนั้นขึ้นบรรทัดใหม่แล้วก็เขียนคำสั่งที่ต้องการให้ทำเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงไว้ โดยที่บรรทัดถัดมานั้นจะต้องมีการเคาะเว้นวรรค

ในส่วนคำสั่ง ที่จะทำเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงนั้นจะมีกี่บรรทัดก็ได้ โดยสิ่งที่เป็นตัวบ่งบอกว่าคำสั่งส่วนไหนเป็นส่วนที่จะให้ทำเมื่อเงื่อนไข เป็นจริงก็คือ การร่น (indent)

ซึ่งหมายถึงการเคาะเครื่องหมายเว้นวรรค (spacebar) ให้ตัวหนังสืออยู่ห่างออกมาทางขวาเมื่อเทียบกับคำว่า if และ else

การใช้การร่นเพื่อกำหนดขอบเขตของโครงสร้างแบบนี้เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ ภาษาไพธอน ในภาษาอื่นส่วนใหญ่เช่นภาษา C จะใช้วงเล็บปีกกาคร่อม { } แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เมื่อมีการใช้ if else คนก็มักจะนิยมทำการร่นเพื่อให้ดูแล้วเข้าใจง่าย แม้ว่าจริงๆจะไม่จำเป็นก็ตาม

ในภาษาไพธอนการร่นกลายเป็นสิ่งบังคับตายตัว ข้อดีก็คือเราไม่จำเป็นต้องใส่วงเล็บปีกกาหรือใช้สัญลักษณ์ใดๆเพื่อบ่งบอกขอบเขต

การร่นนั้นจะร่นโดยการเคาะกี่ครั้งก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะร่นไป ๔ ช่อง อีดิเตอร์ส่วนใหญ่ที่รอบรับการเขียนภาษาไพธอนเวลาที่เราพิมพ์โคลอน : แล้วกด enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่จะมีการร่นให้ ๔ ช่องโดยอัตโนมัติ

เมื่อจบคำสั่งที่ให้ทำเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงแล้ว ขั้นตอนถัดมาก็คือใส่ส่วนของคำสั่งที่จะให้ทำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ ซึ่งเขียนได้โดยใช้ else

else นั้นจะต้องยกเลิกการร่นให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกับ if จากนั้นก็ตามด้วยโคลอน : แล้วก็ขึ้นบรรทัดใหม่พร้อมกับร่นแล้วก็เขียนคำสั่งที่ต้องการให้ทำเมื่อ เงื่อนไขเป็นเท็จไว้ตรงนั้น

เมื่อจบโครงสร้างในส่วนนี้แล้วหากมีคำสั่งที่จะให้ทำต่อโดยไม่เกี่ยวกับว่าเงื่อนไขจะเป็นอย่างไร ก็แค่เขียนคำสั่งถัดไปโดยให้ไม่มีการร่นบรรทัด

ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น โปรแกรมหาค่าสัมบูรณ์ของค่าที่ป้อนเข้าไป

x =

float

(

input

())

if

(x<0):
   

print

(

“ค่าติดลบ”

)
    x = -x

else

:
   

print

(

“ค่าไม่ติดลบ”

)

print

(

‘ค่าสัมบูณ์คือ’

, x)

ในกรณีนี้ถ้าป้อนค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0 ลงไปจะทำให้เงื่อนไขเป็นเท็จ แล้วก็จะแสดงผลว่าค่าเป็นบวก

แต่ถ้ามากกว่า 0 เงื่อนไขจะเป็นจริง ก็จะมีการแสดงผลว่าค่าเป็นลบ พร้อมมีการคำนวณติดลบ

แต่ไม่ว่าจะเข้าเงื่อนไขอะไร สุดท้ายแล้วก็จะมีการทำสิ่งที่อยู่บรรทัดถัดไปซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เท่าเทียมกับ if และ else คือไม่มีการร่น นั่นคือคำสั่ง print ที่พิมพ์ค่า x ออกมา

อนึ่ง เงื่อนไขที่อยู่หลัง if อาจใส่วงเล็บครอบก็ได้ ให้ผลไม่ต่างกันกับไม่ใส่ ดังตัวอย่างที่เห็นนี้ และจะเห็นว่าในกรณีมีวงเล็บจะไม่จำเป็นต้องเว้นวรรคหลัง if

แม้ภาษาไพธอนจะไม่จำเป็นต้องใสวงเล็บหลัง if แต่การใส่วงเล็บนั้นจำเป็นในหลายภาษา เช่น C, fortran, javascript, php, ฯลฯ

เนื่องจากการใส่วงเล็บทำให้การเขียนดูสวยงามมีระเบียบกว่า ดังนั้นในตัวอย่างต่อจากนี้ไปทั้งหมดจะใส่วงเล็บหลัง if เสมอ หากใครจะนำโค้ดไปเขียนตามโดยตัดวงเล็บออกไปก็ทำงานได้ไม่ต่างกัน

กรณีที่โค้ดมีอยู่เพียงบรรทัดเดียวก็สามารถเขียนคำสั่งต่อจาก if ได้เลยโดยไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ก็ได้ เช่นตัวอย่างแรกอาจเขียนใหม่เป็น

x =

int

(

input

(

‘1+1 เท่ากับเท่าไหร่? : ‘

))

if

(x==2):

print

(

‘ถูกต้องนะคร้าบ’

)

else

:

print

(

‘ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนตอบผิด’

)

หากไม่มีสิ่งที่ต้องการให้ทำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จก็อาจไม่ต้องใส่ else แต่ใส่แค่ if เฉยๆก็ได้ เช่น

x =

int

(

input

(

‘โปรดระบุอายุผู้เข้าชม’

))

if

(x<18):

print

(

‘คำเตือน: ผู้ชมอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่แนะนำให้เข้าชม กรุณาใช้วิจารณญาณ’

)

ผลลัพธ์

โปรดระบุอายุผู้เข้าชม: 17
คำเตือน: ผู้ชมอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่แนะนำให้เข้าชม กรุณาใช้วิจารณญาณ

แต่ถ้าใส่เลข 18 ขึ้นไปจะไม่มีอะไรขึ้นมา

การเขียนผังงาน

เพื่อให้เข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้ง่ายอาจต้องมีการเขียนผังงาน (flow chart) เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

ตัวอย่างแผนภาพผังงานสำหรับตัวอย่างแรก

การเขียนนิพจน์ทางตรรกศาสตร์

จากตัวอย่างที่ผ่านมาจะเห็นเงื่อนไขที่ถูกเขียนอยู่หลัง if นั้นอยู่ในรูปของตัวแปรหรือข้อมูลสองตัวเปรียบเทียบกันแล้วพิจารณาว่าสิ่ง ที่เขียนนั้นเป็นจริงหรือเท็จ การเขียนในลักษณะนี้เรียกว่าเป็น นิพจน์ทางตรรกศาสตร์

เมื่อพิจารณาเงื่อนไขแล้วก็จะส่งค่าบูลออกมา โดยหากเป็นจริงจะให้ค่า True หากเป็นเท็จจะให้ค่า False

การเขียนนิพจน์แสดงเงื่อนไขในการเขียนโปรแกรมนั้นมีความใกล้เคียงกับในทาง คณิตศาสตร์ แต่ก็มีค่าออกไปบ้าง ดังนั้นจำเป็นต้องทำความเข้าใจสักหน่อย

เช่น จากตัวอย่างข้างต้นอาจมีคนสงสัยว่าทำไมเวลาที่เขียนเท่ากับภายในส่วนของ เงื่อนไขจะต้องเขียนเครื่องหมาย == สองตัวแบบนี้ แทนที่จะเขียนอันเดียวเป็น =

ความจริงแล้วเป็นเพราะเครื่องหมายเท่ากับอันเดียว = กับสองอัน == นั้นถือว่ามีความหมายต่างกัน ใช้ในคนละสถานการณ์

หากเขียนเครื่องหมายเท่ากับ = ตัวเดียวจะเป็นการป้อนค่าให้กับตัวแปร ซึ่งในกรณีนี้จะไม่สามารถสลับสิ่งที่อยู่ทางซ้ายและขวาของ = ได้

แต่หากเขียนสองอัน == จะหมายถึงการเปรียบเทียบว่าซ้ายกับขวาว่าเท่ากันหรือเปล่า ถ้าเท่ากันก็คืนค่า True ถ้าไม่เท่ากันก็คืนค่า False สิ่งที่อยู่สองข้างของ == นั้นสามารถสลับกันได้

การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล ๒ ตัว

x < y

หมายถึง x น้อยกว่า y

x <= y

หมายถึง x น้อยกว่าหรือเท่ากับ y

x > y

หมายถึง x มากกว่า y

x >= y

หมายถึง x มากกว่าหรือเท่ากับ y

x == y

หมายถึง x เท่ากับ y

x != y

หมายถึง x ไม่เท่ากับ y

การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลต่างชนิดกัน

ข้อมูลที่เป็นตัวเลขทั้งจำนวนจริงและจำนวนจริงสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ตามปกติ เช่น

3 > 3.1

# ได้ False

7.0 == 7

# ได้ True

แต่จำนวนจริงหรือจำนวนเต็มไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนเชิงซ้อนได้

3 > (3+0j)

# ได้ TypeError: unorderable types: int() > complex()

ยกเว้นเครื่องหมาย == สามารถเปรียบเทียบได้

3 == (3+0j)

# ได้ True

ข้อมูลตัวเลขไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับสายอักขระได้

3.1 >

‘3’

# ได้ TypeError: unorderable types: float() > str()

สำหรับเครื่องหมาย == สามารถใช้เทียบได้ แต่จะได้เท็จเสมอ

3 ==

‘3’

# ได้ False

สำหรับเรื่องของการเปรียบเทียบระหว่างสายอักขระนั้นจะยกไปพูดถึงในบทที่กล่าวถึงสายอักขระอย่างละเอียดอีกที

การรวมหลายนิพจน์เข้าด้วยกัน

ในบางครั้งเงื่อนไขที่ต้องการพิจารณาอาจจะไม่ใช่สามารถเขียนอยู่ในรูปง่ายๆแค่เงื่อนไขเดียว แต่ต้องระบุหลายเงื่อนไขพร้อมกัน การนำเงื่อนไขมารวมกันสามารถทำได้โดยเขียน and กับ or

ให้ A และ B ในที่นี้เป็นข้อมูลชนิดบูลที่ได้มาจากการพิจารณาเงื่อนไข ค่าความจริงที่ได้จาก and และ or จะเป็นไปตามตารางนี้

A
B
A and B
A or B

T
T
T
T

T
F
F
T

F
T
F
T

F
F
F
F

เช่น

x = 10
x > 0

and

x < 5

# ได้ False

x > 0

or

x < 5

# ได้ True

x > 0

and

x < 15

# ได้ True

x > 15

or

x < 5

# ได้ False

หากต้องการให้ผลที่ได้กลับเป็นในทางตรงกันข้ามสามารถทำได้โดยเติม not เช่น

x > 0

and not

x < 5

# ได้ True

not

x > 0

or

x < 5

# ได้ False

สามารถใส่วงเล็บเพื่อให้มีการคิดผลในวงเล็บก่อน ดังนั้นการใส่วงเล็บกับไม่ใส่ให้ผลต่างกัน

not

(x > 0

and

x < 5)

# ได้ True

not

x > 0

and

x < 5

# ได้ False

การใช้ if elif else

บางครั้งเราอาจไม่ได้พิจารณาเงื่อนไขที่แบ่งสถานการณ์ออกเป็นแค่ ๒ กรณี แต่อาจแบ่งย่อยมากกว่านั้น ในกรณีนั้นใช้แค่ if else ไม่เพียงพอ ต้องใช้ if elif else

ตัวอย่าง โปรแกรมคำนวณเกรดโดยการป้อนคะแนนเข้าไปแล้วให้พิจารณาว่าควรจะได้เท่าไหร่โดยดูจากช่วงคะแนน

khanaen =

float

(

input

(

‘จงป้อนคะแนนของคุณ: ‘

))

if

(khanaen<50):

print

(

‘คุณได้ F เสียใจด้วย พบกันใหม่ปีหน้า’

)

elif

(khanaen<60):

print

(

‘คุณได้ D’

)

elif

(khanaen<70):

print

(

‘คุณได้ C’

)

elif

(khanaen<80):

print

(

‘คุณได้ B’

)

elif

(khanaen<=100):

print

(

‘คุณได้ A ยินดีด้วย ทำได้ดีมาก’

)

else

:

print

(

‘คะแนนไม่ควรเกิน 100’

)

ตัวอย่างผล
ครั้งที่ ๑

จงป้อนคะแนนของคุณ: 49
คุณได้ F เสียใจด้วย พบกันใหม่ปีหน้า

ครั้งที่ ๒

จงป้อนคะแนนของคุณ: 81
คุณได้ A ยินดีด้วย ทำได้ดีมาก

ครั้งที่ ๓

จงป้อนคะแนนของคุณ: 555
คะแนนไม่ควรเกิน 100

เงื่อนไขซ้อนกันหลายชั้น

บางครั้งเงื่อนไขก็ไม่ได้แยกเป็นหลายทางพร้อมๆกัน แต่บางครั้งต้องผ่านเงื่อนไขหนึ่งจึงจะมีการทำอะไรต่อแล้วจึงเจอกับเงื่อนไขต่อไปอีก

ในสถานการณ์แบบนี้จะเกิดเป็นเงื่อนไขซ้อนเงื่อนไข คือภายในส่วนคำสั่งหลัง if มี if ซ้อนอยู่อีกอัน ซึ่งกรณีนี้คำสั่งที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของ if ตัวในก็จะต้องมีการร่นไปอีก

ยิ่งมีการซ้อนก็จะยิ่งมีการร่น เกิดเป็นโครงสร้างเป็นชั้นๆ

if

(เงื่อนไข):
    คำสั่ง
   

if

(เงื่อนไข):
        คำสั่ง
   

else

:
        คำสั่ง
    คำสั่ง

else

:
    คำสั่ง
   

if

(เงื่อนไข):
        คำสั่ง
   

else

:
        คำสั่ง
    คำสั่ง

ตัวอย่าง สมมุติว่ากำลังเล่นเกมอยู่ เกมนี้มีระบบคำนวณโอกาสที่เราจะเอาชนะศัตรูได้โดยการให้ป้อนเลเวลของตัวเรา และศัตรูลงไป สูตรคำนวณโอกาสชนะเป็น % คือ 50 + เลเวลเรา – เลเวลศัตรู

เพียงแต่ว่าขอบเขตเลเวลของผู้เล่นต้องเป็นจำนวนเต็มบวก ไม่เกิน 100 ส่วนศัตรูต้องไม่เกิน 500 ถ้าหากป้อนตัวเลขที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตนี้ก็จะขึ้นเตือนมาแล้วหยุดทำงานไป ทันที

lv_rao =

int

(

input

(

‘คุณเลเวล: ‘

))

if

(lv_rao<1 or lv_rao>100):
   

print

(

‘เลเวลผู้เล่นต้องอยู่ระหว่าง 1 ถึง 100’

)

else

:
    lv_sattru =

int

(

input

(

‘ศัตรูเลเวล: ‘

))
   

if

(lv_sattru<1 or lv_sattru>500):
       

print

(

‘เลเวลศัตรูต้องอยู่ระหว่าง 1 ถึง 500’

)
   

else

:
       

if

(lv_rao+50<=lv_sattru):
           

print

(

‘ศัตรูเมพเกินไป’

)
       

elif

(lv_rao-50>=lv_sattru):
           

print

(

‘ศัตรูกากเกินไป’

)
       

else

:
           

print

(

‘คุณมีโอกาสชนะ’

, 50+lv_rao-lv_sattru,

‘%’

)

ตัวอย่างผล
ครั้งที่ ๑

คุณเลเวล: 101
เลเวลผู้เล่นต้องอยู่ระหว่าง 1 ถึง 100

ครั้งที่ ๒

คุณเลเวล: 50
ศัตรูเลเวล: 600
เลเวลศัตรูต้องอยู่ระหว่าง 1 ถึง 500

ครั้งที่ ๓

คุณเลเวล: 80
ศัตรูเลเวล: 200
ศัตรูเมพเกินไป

ครั้งที่ ๔

คุณเลเวล: 90
ศัตรูเลเวล: 110
คุณมีโอกาสชนะ 30 %

การใช้ข้อมูลชนิดต่างๆแทนค่าความจริงเท็จ

ปกติเวลาตั้งเงื่อนไขโดยเปรียบเทียบข้อมูลผลที่ได้จะออกมาเป็นตัวแปรชนิดบูลซึ่งมีค่าได้แค่ True หรือ False

แต่ที่จริงแล้วก็ไม่ใช่ว่าหลัง if จะใส่ได้แต่ค่า True หรือ False ลงไปเท่านั้น แต่สามารถใส่ข้อมูลชนิดอื่นลงไปได้ทุกชนิด แล้วข้อมูลจะถูกแปลงเป็นชนิดบูลไปก่อนนำไปพิจารณาเป็นเงื่อนไข

โดยปกติแล้วเราสามารถแปลงข้อมูลจากชนิดใดๆเป็นชนิดบูลได้ โดยถ้าเป็นจำนวนตัวเลข ค่า 0 จะได้ False นอกนั้นจะได้ True ถ้าเป็นสายอักขระ ค่าว่างเปล่าจะได้ False นอกนั้นจะได้ True

bool

(1)

# ได้ True

bool

(0.1)

# ได้ True

bool

(0)

# ได้ False

bool

(0.0)

# ได้ False

bool

(

‘0’

)

# ได้ True

bool

(

)

# ได้ False

ลองนำค่าไปใช้กับ if

if

(10):

print

(

‘จริง’

)

else

:

print

(

‘เท็จ’

)

ผลจะได้ว่าเป็นจริงดังนั้นจึงแสดงผล “จริง”

สรุปเนื้อหา

– ในโปรแกรมจะต้องมีการตัดสินจริงเท็จเพื่อกำหนดเงื่อนไขให้เกิดทางแยก
– คำสั่งสำหรับสร้างเงื่อนไขคือ if elif else
– เงื่อนไขตัดสินจากนิพจน์ทางตรรกศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วย == > < >= <= and or not เป็นต้น ซึ่งให้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลชนิดบูล True หรือ False
– โครงสร้าง if elif else สามารถซ้อนกันกี่ชั้นก็ได้
– ข้อมูลชนิดอื่นก็สามารถนำมาใช้แทนค่าบูลเพื่อพิจารณาค่าความจริงเท็จได้เช่นกัน

อ้างอิง

ในกรณีนี้ถ้าป้อนค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0 ลงไปจะทำให้เงื่อนไขเป็นเท็จ แล้วก็จะแสดงผลว่าค่าเป็นบวกแต่ถ้ามากกว่า 0 เงื่อนไขจะเป็นจริง ก็จะมีการแสดงผลว่าค่าเป็นลบ พร้อมมีการคำนวณติดลบแต่ไม่ว่าจะเข้าเงื่อนไขอะไร สุดท้ายแล้วก็จะมีการทำสิ่งที่อยู่บรรทัดถัดไปซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เท่าเทียมกับ if และ else คือไม่มีการร่น นั่นคือคำสั่ง print ที่พิมพ์ค่า x ออกมาอนึ่ง เงื่อนไขที่อยู่หลัง if อาจใส่วงเล็บครอบก็ได้ ให้ผลไม่ต่างกันกับไม่ใส่ ดังตัวอย่างที่เห็นนี้ และจะเห็นว่าในกรณีมีวงเล็บจะไม่จำเป็นต้องเว้นวรรคหลัง ifแม้ภาษาไพธอนจะไม่จำเป็นต้องใสวงเล็บหลัง if แต่การใส่วงเล็บนั้นจำเป็นในหลายภาษา เช่น C, fortran, javascript, php, ฯลฯเนื่องจากการใส่วงเล็บทำให้การเขียนดูสวยงามมีระเบียบกว่า ดังนั้นในตัวอย่างต่อจากนี้ไปทั้งหมดจะใส่วงเล็บหลัง if เสมอ หากใครจะนำโค้ดไปเขียนตามโดยตัดวงเล็บออกไปก็ทำงานได้ไม่ต่างกันกรณีที่โค้ดมีอยู่เพียงบรรทัดเดียวก็สามารถเขียนคำสั่งต่อจาก if ได้เลยโดยไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ก็ได้ เช่นตัวอย่างแรกอาจเขียนใหม่เป็นหากไม่มีสิ่งที่ต้องการให้ทำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จก็อาจไม่ต้องใส่ else แต่ใส่แค่ if เฉยๆก็ได้ เช่นผลลัพธ์แต่ถ้าใส่เลข 18 ขึ้นไปจะไม่มีอะไรขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้ง่ายอาจต้องมีการเขียนเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นตัวอย่างแผนภาพผังงานสำหรับตัวอย่างแรกจากตัวอย่างที่ผ่านมาจะเห็นเงื่อนไขที่ถูกเขียนอยู่หลัง if นั้นอยู่ในรูปของตัวแปรหรือข้อมูลสองตัวเปรียบเทียบกันแล้วพิจารณาว่าสิ่ง ที่เขียนนั้นเป็นจริงหรือเท็จ การเขียนในลักษณะนี้เรียกว่าเป็น นิพจน์ทางตรรกศาสตร์เมื่อพิจารณาเงื่อนไขแล้วก็จะส่งค่าบูลออกมา โดยหากเป็นจริงจะให้ค่า True หากเป็นเท็จจะให้ค่า Falseการเขียนนิพจน์แสดงเงื่อนไขในการเขียนโปรแกรมนั้นมีความใกล้เคียงกับในทาง คณิตศาสตร์ แต่ก็มีค่าออกไปบ้าง ดังนั้นจำเป็นต้องทำความเข้าใจสักหน่อยเช่น จากตัวอย่างข้างต้นอาจมีคนสงสัยว่าทำไมเวลาที่เขียนเท่ากับภายในส่วนของ เงื่อนไขจะต้องเขียนเครื่องหมาย == สองตัวแบบนี้ แทนที่จะเขียนอันเดียวเป็น =ความจริงแล้วเป็นเพราะเครื่องหมายเท่ากับอันเดียว = กับสองอัน == นั้นถือว่ามีความหมายต่างกัน ใช้ในคนละสถานการณ์หากเขียนเครื่องหมายเท่ากับ = ตัวเดียวจะเป็นการป้อนค่าให้กับตัวแปร ซึ่งในกรณีนี้จะไม่สามารถสลับสิ่งที่อยู่ทางซ้ายและขวาของ = ได้แต่หากเขียนสองอัน == จะหมายถึงการเปรียบเทียบว่าซ้ายกับขวาว่าเท่ากันหรือเปล่า ถ้าเท่ากันก็คืนค่า True ถ้าไม่เท่ากันก็คืนค่า False สิ่งที่อยู่สองข้างของ == นั้นสามารถสลับกันได้หมายถึง x น้อยกว่า yหมายถึง x น้อยกว่าหรือเท่ากับ yหมายถึง x มากกว่า yหมายถึง x มากกว่าหรือเท่ากับ yหมายถึง x เท่ากับ yหมายถึง x ไม่เท่ากับ yข้อมูลที่เป็นตัวเลขทั้งจำนวนจริงและจำนวนจริงสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ตามปกติ เช่นแต่จำนวนจริงหรือจำนวนเต็มไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนเชิงซ้อนได้ยกเว้นเครื่องหมาย == สามารถเปรียบเทียบได้ข้อมูลตัวเลขไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับสายอักขระได้สำหรับเครื่องหมาย == สามารถใช้เทียบได้ แต่จะได้เท็จเสมอสำหรับเรื่องของการเปรียบเทียบระหว่างสายอักขระนั้นจะยกไปพูดถึงในบทที่กล่าวถึงสายอักขระอย่างละเอียดอีกทีในบางครั้งเงื่อนไขที่ต้องการพิจารณาอาจจะไม่ใช่สามารถเขียนอยู่ในรูปง่ายๆแค่เงื่อนไขเดียว แต่ต้องระบุหลายเงื่อนไขพร้อมกัน การนำเงื่อนไขมารวมกันสามารถทำได้โดยเขียน and กับ orให้ A และ B ในที่นี้เป็นข้อมูลชนิดบูลที่ได้มาจากการพิจารณาเงื่อนไข ค่าความจริงที่ได้จาก and และ or จะเป็นไปตามตารางนี้เช่นหากต้องการให้ผลที่ได้กลับเป็นในทางตรงกันข้ามสามารถทำได้โดยเติม not เช่นสามารถใส่วงเล็บเพื่อให้มีการคิดผลในวงเล็บก่อน ดังนั้นการใส่วงเล็บกับไม่ใส่ให้ผลต่างกันบางครั้งเราอาจไม่ได้พิจารณาเงื่อนไขที่แบ่งสถานการณ์ออกเป็นแค่ ๒ กรณี แต่อาจแบ่งย่อยมากกว่านั้น ในกรณีนั้นใช้แค่ if else ไม่เพียงพอ ต้องใช้ if elif elseตัวอย่าง โปรแกรมคำนวณเกรดโดยการป้อนคะแนนเข้าไปแล้วให้พิจารณาว่าควรจะได้เท่าไหร่โดยดูจากช่วงคะแนนตัวอย่างผลครั้งที่ ๑ครั้งที่ ๒ครั้งที่ ๓บางครั้งเงื่อนไขก็ไม่ได้แยกเป็นหลายทางพร้อมๆกัน แต่บางครั้งต้องผ่านเงื่อนไขหนึ่งจึงจะมีการทำอะไรต่อแล้วจึงเจอกับเงื่อนไขต่อไปอีกในสถานการณ์แบบนี้จะเกิดเป็นเงื่อนไขซ้อนเงื่อนไข คือภายในส่วนคำสั่งหลัง if มี if ซ้อนอยู่อีกอัน ซึ่งกรณีนี้คำสั่งที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของ if ตัวในก็จะต้องมีการร่นไปอีกยิ่งมีการซ้อนก็จะยิ่งมีการร่น เกิดเป็นโครงสร้างเป็นชั้นๆตัวอย่าง สมมุติว่ากำลังเล่นเกมอยู่ เกมนี้มีระบบคำนวณโอกาสที่เราจะเอาชนะศัตรูได้โดยการให้ป้อนเลเวลของตัวเรา และศัตรูลงไป สูตรคำนวณโอกาสชนะเป็น % คือ 50 + เลเวลเรา – เลเวลศัตรูเพียงแต่ว่าขอบเขตเลเวลของผู้เล่นต้องเป็นจำนวนเต็มบวก ไม่เกิน 100 ส่วนศัตรูต้องไม่เกิน 500 ถ้าหากป้อนตัวเลขที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตนี้ก็จะขึ้นเตือนมาแล้วหยุดทำงานไป ทันทีตัวอย่างผลครั้งที่ ๑ครั้งที่ ๒ครั้งที่ ๓ครั้งที่ ๔ปกติเวลาตั้งเงื่อนไขโดยเปรียบเทียบข้อมูลผลที่ได้จะออกมาเป็นตัวแปรชนิดบูลซึ่งมีค่าได้แค่ True หรือ Falseแต่ที่จริงแล้วก็ไม่ใช่ว่าหลัง if จะใส่ได้แต่ค่า True หรือ False ลงไปเท่านั้น แต่สามารถใส่ข้อมูลชนิดอื่นลงไปได้ทุกชนิด แล้วข้อมูลจะถูกแปลงเป็นชนิดบูลไปก่อนนำไปพิจารณาเป็นเงื่อนไขโดยปกติแล้วเราสามารถแปลงข้อมูลจากชนิดใดๆเป็นชนิดบูลได้ โดยถ้าเป็นจำนวนตัวเลข ค่า 0 จะได้ False นอกนั้นจะได้ True ถ้าเป็นสายอักขระ ค่าว่างเปล่าจะได้ False นอกนั้นจะได้ Trueลองนำค่าไปใช้กับ ifผลจะได้ว่าเป็นจริงดังนั้นจึงแสดงผล “จริง”- ในโปรแกรมจะต้องมีการตัดสินจริงเท็จเพื่อกำหนดเงื่อนไขให้เกิดทางแยก- คำสั่งสำหรับสร้างเงื่อนไขคือ if elif else- เงื่อนไขตัดสินจากนิพจน์ทางตรรกศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วย == > < >= <= and or not เป็นต้น ซึ่งให้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลชนิดบูล True หรือ False- โครงสร้าง if elif else สามารถซ้อนกันกี่ชั้นก็ได้- ข้อมูลชนิดอื่นก็สามารถนำมาใช้แทนค่าบูลเพื่อพิจารณาค่าความจริงเท็จได้เช่นกัน


รอยยิ้มนักสู้


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

รอยยิ้มนักสู้

นางงาม ฝันเป็นจริง! เอ ศุภชัย พาเข้าสวัสดีผู้ใหญ่ช่อง3


เอศุภชัย อเเมนด้า ขอขอบคุณข้อมูลจากhttps://entertain.teenee.com/thaistar/230581.html?fbclid=IwAR2LivUPOtS6fkwQcKC6zrtAsNiM5T7FY5r16CZtRDuBIcNieWmGQYJDg

นางงาม ฝันเป็นจริง! เอ ศุภชัย พาเข้าสวัสดีผู้ใหญ่ช่อง3

*พุทธวจน การดับทุกข์ ตามที่เป็นจริง


พุทธวจน คำสอนของพระพุทธเจ้า
ให้ใช้ธรรมวินัยเป็นศาสดา
อานนท์ !!
ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
ธรรมวินัยของพวกเรา
มีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว
พวกเราไม่มีพระศาสดา ดังนี้
อานนท์ !!
พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น
อานนท์ !!
ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว
บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น
จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
อานนท์ !!
ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี
ใครก็ตาม
จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่
อานนท์ !!
ภิกษุพวกใดเป็นผู้ใคร่ในสิกขา
ภิกษุพวกนั้น
จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล
อานนท์ !!
ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้
มีในยุคแห่งบุรุษใด
บุรุษนั้นชื่อว่า
เป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย
เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า
เธอทั้งหลาย !!
อย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย
Cr http://watnapp.com/audio

*พุทธวจน  การดับทุกข์ ตามที่เป็นจริง

ไทด์ วัชรินทร์ – ขอบคุณที่มีเธอ [Official MV]


โหลดเพลง “ขอบคุณที่มีเธอ” ได้ที่ 492 244 304 กดโทรออก ทุกเครือข่าย
ถ่ายทำจากชีวิตจริงของคู่รักทั้ง 6 คู่
\”ขอบคุณที่มีเธอ\”
ไม่ใช่เพลงของใครคนนึง
ไม่ใช่เพลงของเธอ หรือของฉัน
แต่มันคือ… เพลงของเรา

ขอบคุณที่มีเธอ
ศิลปิน : ไทด์ วัชรินทร์
เนื้อร้อง / ทำนอง : ยศพันธ์ อนันต์พิทยา
เรียบเรียง : ต้น StoryLine
♬ Download ♬
▶Available on iTunes :: soon
▶Available on TrueMusic :: http://af.truelife.com/song/3347992

ไทด์ วัชรินทร์ ขอบคุณที่มีเธอ [Official MV]

ติดต่องานจ้างงานโชว์อีเว้นท์แสดงหนังละครโฆษณา
✆ คุณโอ๊ต 0849988953
✆ คุณจอย 0847648077

ติดต่อสอบถามข้อมูล/ประชาสัมพันธ์
✆ คุณน้ำ 0891191147

For More Information :
www.facebook.com/TrueFantasia
www.youtube.com/AFfantasia
twitter.com/True_Fantasia
instagram.com/True_Fantasia
© 2013 True Fantasia. All rights reserved.

ไทด์ วัชรินทร์ - ขอบคุณที่มีเธอ [Official MV]

[ENG SUB] วินาทีช็อก! ฝันเป็นจริง \”หนูจะเป็นหมอให้ได้\” HIGHLIGHT | SUPER100


\”ทำไมหนูจนได้ขนาดนี้ ทำไมเราถึงไม่มีเงิน\”
ชีวิตพลิกผัน คณิตศาสตร์นำทางกับโอกาสที่เข้ามาในชีวิต…
น้องกานต์ นางสาวคีตกานต์ แซ่ม้า อายุ 16 ปี จากจังหวัดตาก กับความสามารถตอบไว แลกทุนเรียน สาวน้อยจากยอดดอยขอท้าภารกิจเพื่อฝันขอทุนเรียนหมอ
น้องกานต์ช่วยคุณแม่เลี้ยงดูน้องๆ และออกไปทำงานเก็บพริก ทำไร่ข้าวโพดในวันหยุดกับคุณแม่
ส่วนคุณพ่อเป็นช่างเชื่อมเหล็กทำงานอยู่ต่างประเทศ ซึ่งช่วงหลังคุณแม่ของน้องป่วยเป็นไทรอยด์เป็นพิษ
ทำให้ไม่สามารถทำงานหนักได้ น้องจึงต้องคอยช่วยงานแบ่งเบาคุณแม่ทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
วันนี้โอกาสดีๆ ที่น้องและครอบครัวใฝ่ฝันได้เป็นจริงแล้วค่ะ กับวินาทีที่เมื่อน้องกานต์และคุณแม่ได้ทราบถึงเซอร์ไพรส์อันยิ่งใหญ่จากคิงส์ เพาเวอร์ “มูลนิธิ วิชัย ศรีวัฒนประภา” ที่เล็งเห็นถึงความดี ความต้งใจ กวามกตัญญูที่น้องกานต์มี วินาทีสำคัญนั้นจะเป็นอย่างไร ไปรับชมพร้อมๆ กันเลยค่ะ
เวทีสร้างแรงบันดาลใจ จากอัจฉริยะทุกวัย
The Stage of Inspiration from The Genius of all ages.
รายการวาไรตี้สำหรับทุกคนในครอบครัว
เวทีสร้างฝันและส่งต่อแรงบันดาลใจ ที่เปิดโอกาสให้กับอัจฉริยะทุกวัย
Super 100 อัจฉริยะเกินร้อย ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 18.00 น.
ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/Super100tv
Super100 Superjeew เราสามคนให้ผ่าน

[ENG SUB] วินาทีช็อก! ฝันเป็นจริง \

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เป็นจริง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *