Skip to content
Home » [Update] Participles คืออะไร การเติม ed และ ing ต่างกันอย่างไร แปลว่าอะไร ใช้อย่างไร | เติม a หรือ an – NATAVIGUIDES

[Update] Participles คืออะไร การเติม ed และ ing ต่างกันอย่างไร แปลว่าอะไร ใช้อย่างไร | เติม a หรือ an – NATAVIGUIDES

เติม a หรือ an: คุณกำลังดูกระทู้

Participles หมายถึง คำกริยาที่ใช้เป็นคุณศัพท์ขยายนาม โดย
เติม – ing  แสดงว่านามนั้นเป็นผู้กระทำกริยา  หรือ
เติม – ed แสดงว่านามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ

-ed กับ -ing ต่างกันอย่างไร
มาดูความหมาย วิธีใช้ และตัวอย่างประโยคกันครับ

Table of Contents

การเติม -ed

use to describe how people feel
ใช้สำหรับบรรยายความรู้สึกของคน

bored = (รู้สึก) เบื่อ
interested = (รู้สึก) สนใจ
excited = (รู้สึก) ตื่นเต้น
confused = (รู้สึก) สับสน
surprised = (รู้สึก) แปลกใจ
frustrated = (รู้สึก) ท้อแท้

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

Jimmy had nothing to do. He was very bored.
จิมมี่ไม่มีอะไรทำ เขาเบื่อมาก

การเติม -ing

use to describe something that causes an emotion
ใช้สำหรับอธิบายบางสิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกนั้น

boring = น่าเบื่อ
interesting = น่าสนใจ
exciting = น่าตื่นเต้น
confusing = น่าสับสน
surprising = น่าแปลกใจ
frustrating = น่าท้อแท้, น่าผิดหวัง

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

The movie was interesting. I want to watch it again.
หนังเรื่องนั้นน่าสนใจ ฉันอยากดูอีก

Present Participles

กริยาที่เติม – ing  โดยวางอยู่หน้าคำนาม  แสดงว่าเป็นผู้
กระทำกริยานั้น  และเป็นวลีที่ใช้รวมประโยค Simple Sentence 2 ประโยคเข้าเป็นประโยคเดียวกันได้

ตำแหน่งและหน้าที่ของ Present Participles

1. วางอยู่หน้าคำนาม   จะเป็นดังรูป   V.ing + noun
Mary is a working woman.

2. เป็นวลีอยู่หน้าคำอื่นๆ  ดังรูป   V.ing + word or words  ซึ่งประโยค Simple Sentence 2 ประโยคที่มีประธานเป็นคนเดียวกันมารวมกันเป็นประโยคเดียวกัน  โดยตัดประธานอีกตัวทิ้ง กริยาที่เกิดก่อนทำเป็น V.ing
Seeing her father, Mary ran away.
มาจาก   Mary saw her father. และ  Mary ran away.

Past Participles

Past Participles  คือกริยาช่องที่ 3 ที่วางไว้หน้าคำนามเพื่อแสดงว่านามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ และเป็นวลีที่ใช้รวมประโยค Simple Sentence 2 ประโยคเข้าเป็นประโยคเดียวกัน

ตำแหน่งและหน้าที่ของ Past Participles

1.   วางอยู่หน้าคำนาม (V3 + noun) หรือ หลังคำนาม (noun + V3)  เมื่อเป็น transitive verb  ( กริยาที่ต้องมี
กรรมมารับ) หรือ วางไว้หน้าคำนามที่เดียวเท่านั้น เมื่อเป็น intransitive verb ( กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ) ตัวอย่างเช่น

transitive verb :
The car which was stolen last week is mine.
จะได้   The car stolen last week is mine.
The stolen car last week is mine.

intransitive verb :
Please change the flowers which were faded in the living room.
จะได้  Please change the faded flowers in the living room.

2.   วางอยู่หลัง verb to be จะเป็น passive voice (is, am, are, was, were + V.3)  เช่น
John was punished by his teacher.

3.   เป็นวลีที่อยู่หน้าคำอื่น ๆ (V.3 + word or words) โดยรวมประโยค Simple Sentence 2 ประโยคเข้าด้วยกันเป็นประโยคเดียว  โดยตัดประธานออก 1 ตัว กริยาที่เกิดก่อนทำเป็น V.3 เช่น
He was punished by his teacher.  He cried loudly.
Punished  by his teacher, he cried loudly.

4.   Past Participle ใช้  Adverb  ขยายได้ (Adv. + past participle + noun) เช่น
a well-designed dress

การรวมประโยค Simple Sentence

1.   เมื่อประธานเป็นตัวเดียวกัน   มีหลักดังนี้

– ถ้าประธานเป็น noun และ pronoun  ให้ตัดประธานที่เป็น pronoun  ทิ้ง

– ถ้ากริยาที่เกิดขึ้นก่อนเป็น active form และเป็น past simple tense  ให้เปลี่ยนกริยาเป็น present participle ( V-ing) เช่น
He believed in her story.  He gave her hundred baht.
Believing in her story, he gave her hundred baht.

– ถ้ากริยาที่เกิดขึ้นก่อนเป็น passive form อยู่ในรูป  Verb to be + V3 ให้ตัด Verb to be ออกให้เหลือ V3 (past participle) หรือใช้  being + V3  เช่น
She was arrested by the police.  She was sent to the prison.
Arrested by the police, she was sent to the prison.
Being arrested by the police, she was sent to the prison.

– ถ้ากริยาที่เกิดขึ้นก่อนเป็น active form และเป็น past perfect tense คืออยู่ในรูป had + V3  ให้เปลี่ยน had  เป็น having  หรือตัด had ทิ้งแล้วเปลี่ยน V3 เป็น V-ing
He had worked hard all week.  He felt tried.
Having worked hard all week, he felt tried.
Working hard all week, he felt tried.

2. เมื่อประธานไม่ใช่ตัวเดียวกัน  มีหลักดังนี้
– ไม่ตัดประธานของทั้ง 2 ประโยคออก
– ถ้ากริยาที่เกิดก่อนเป็น Active form  อยู่ในรูป past simple tense ให้เปลี่ยนกริยาเป็น (had + V3) และเปลี่ยน had  ให้เป็น having  เช่น
She walked in the park.  A dog bit her.
She having walked in the park, a dog bit her.

– ถ้ากริยาที่เกิดก่อนเป็น Passive form ( verb to be + V.3)ให้เปลี่ยน เป็น had been + V.3 แล้วเปลี่ยน had  เป็น having
She was taken to hospital.  The doctor examined her.
She having been taken to hospital, the doctor examined her.

– ถ้ากริยาที่เกิดก่อนเป็น Active form อยู่ในรูป had + V.3 ให้เปลี่ยน had  เป็น having
He had worked for five days.  His job was finally finished.
He having worked for five days, his job was finally finished.

เรียนเรื่อง participle อย่างละเอียด ได้ที่
 Participle คืออะไร

[Update] หลักการในการเติม s และ es มีหลักการอย่างไร และมีกี่แบบ มาดูกัน | เติม a หรือ an – NATAVIGUIDES

เพื่อนๆกำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหมว่าทำไมเราต้องเติม s และ es หลังกริยาด้วยวันนี้ แอดมินจากเพจ EngConvo Thailand จะมาไขข้อสงสัยกันว่าทำไมถึงต้องเติม s และ es หลังกริยา ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อนว่า

Photograph: Grammar Monster

นามทั้งหมดมี 2 ประเภทได้แก่ นามที่นับได้(countable noun) และ และนามที่นับไม่ได้(uncountable noun) เรามาดูกันว่านามทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

นามนับได้

นามนับได้ (countable noun)  คือ

คำนามที่นับได้ ก็คือเราสามารถนับได้จริงๆ นับเป็นชิ้นๆ อันๆ มองเห็นได้ชัดเจน เช่น apple นี่ก็เป็นนามนับได้ เพราะเราเห็นเป็นผลหนึ่งผลเลย pen ก็นับได้เพราะเราเห็นเป็นแท่งๆ

นามนับไม่ได้

นามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือ

คำนามที่เราไม่รู้จะนับยังไงเพราะเรามองไม่เห็นความชัดเจนจากมันเช่น water – เพราะมันเป็นของเหลว เรานับไม่ได้แน่นอน เราจะนับได้ก็ต่อเมื่อมันอยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์เช่น A bottle of water – นำ 1 ขวด นอกจากนั้นนามนับได้จะมีพวกนามธรรมที่เรามองไม่เห็นเช่น honesty (ความซื่อสัตย์) ที่เราไม่รู้ว่ามันหน้าตาเป็นยังไง

หากนักเรียนเข้าใจเรื่องคำนามนับได้ – ไม่ได้แล้ว ทีนี้เราก็จะมาแต่งประโยคกัน ในภาษาไทยนั้น ไม่ว่าประธานจะเป็นอะไร เราก็ใช้กริยาเหมือนกันหมดเช่น

  • ฉันกิน
  • เขากิน
  • หล่อนกิน

เราใช้คำว่า “กิน” หมดเลยในภาษาไทย แต่!!!! มันไม่ใช่แบบนี้กับภาษาอังกฤษ ถ้าเหตุการณ์ที่เราจะพูด มันเกิดขึ้นในปัจจุบัน หรืออะไรก็ได้ที่มันเป็นความจริง เป็นนิสัย กิจวัตรต่างๆ เราจะใช้ tense ที่เรียกว่า “Present Simple Tense” ก็คือ ใส่ประธาน + กริยาช่อง 1 ไปเลย

ความงงของคนไทยคือ แล้วทำไมบางทีกริยาต้องเติม s ด้วยหล่ะ!!
คือกฏมันมีแบบนี้ครับนักเรียน ไม่ต้องเครียดไป
ก่อนจะเริ่มกันเรามาทบทวนความรู้กันหน่อย

ทบทวนความรู้

คำกริยารูป เอกพจน์ ได้แก่ is, does, has, คำกริยารูปที่ เติม s/es
คำกริยารูป พหูพจน์ ได้แก่ are, do, have, คำกริยารูปที่ ไม่ได้เติม s/es

ใน present simple tense เราจะใช้คำกริยารูปเอกพจน์ กับคำนามเอกพจน์ เช่น

  • Tim walks to school every day.

และจะใช้คำกริยารูปพหูพจน์ กับคำนามพหูพจน์ เช่น

  • My friends walk to school every day

ถ้าประธานมี 1 คน(เรียกว่า ประธานเอกพจน์)นะครับนักเรียน (1 คน/สิ่งเท่านั้นนะครับ) เราจะต้องเอากริยามาเติม s/ es เช่น

  • Aof loves to eat Thai food. – ออฟชอบกินอาหารไทย ไม่ใช่
  • Jane love to eat Thai food. ตรงนี้ผิด เพราะ love ไม่เติม s

หรือถ้าเป็น verb to be เราก็จะใช้ is/was นะครับ
หรือถ้าเป็น verb to have เราจะใช้ has นะครับ

  • John is happy because he works out every day.
  • Jimmy has a lot of money so he goes shopping every week.
  • The baby is crying now.
  • My cat has been sick for four days.

หลักการเติม s/es ก็คือ

1. เติม s หลังคำกริยาได้ทั่วๆไปเลย

  • eat eats
  • walk walks
  • stay stays

2. ถ้าคำกริยาลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, z และ o เราต้องเติม es หลังกริยานั้นๆ

  • miss misses
  • wish wishes
  • watch watches
  • fix fixes
  • buzz buzzes
  • go goes

ประเด็นคือ ให้เราฝึกฟอร์มประโยคบ่อยๆ เพราะเวลาใช้จริงๆ จะได้ไม่ลืม!

  • Tom goes to school every day.
  • Jack cooks dinner for his wife twice a week.
  • She has to work every Sunday.

E

ng

Convo

Th

ai

land

คอร์สเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ตัวต่อตัว พูดได้ ใช้ได้จริง

รายละเอียดคอร์สเรียน

ถ้าประธานมีมากกว่า 1 คน (นามพหูพจน์) รวมถึง you ด้วยนะครับเราไม่ต้องเติม s ที่กริยานะครับ ปล่อยมันไปเลยครับ เช่น

  • Jack and Tom want to eat out tonight.
    แจ็คและทอมอยากออกไปทานข้าวข้างนอกคืนนี้
  • We have to study hard.
    พวกเราต้องเรียนให้หนักๆ

ถ้าเป็น verb to be เราก็จะใช้ are/were นะครับ
ถ้าเป็น verb to have เราจะใช้ have นะครับ

คำที่ไม่เข้าพวกหน่อยก็คือ “I” นี่แหละครับ
“I” (ฉัน) ดูเหมือนว่าจะมีคนเดียว เอ๊ะเติม s ที่กริยาป่าวนะ?
“I” ให้ใช้กริยาที่ไม่เติม s นะครับ เช่น

  • I drive my car to work every day.
  • I have a lot of friends.

ข้อควรระวัง

อย่าสับสนระหว่างพจน์ของคำนามและพจน์ของคำกริยา
คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่ไม่ได้เติม s/es อย่างเช่น student, cat, table
คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่เติม s/es อย่างเช่น students, cats, tables

สรุป

คำกริยาเอกพจน์ คือคำกริยาที่เติม s/es อย่างเช่น eats, walks, goes
คำกริยาพหูพจน์ คือคำกริยาที่ไม่ได้เติม s/es อย่างเช่น eat, walk, go

เวลาใช้ เราจะต้องใช้คำนามเอกพจน์ กับคำกริยาเอกพจน์ และใช้คำนามพหูพจน์กับคำกริยาพหูพจน์ หรือถ้าจะจำแบบง่ายๆก็คือ เราจะเติม s/es คำนามและคำกริยาสลับกัน ถ้าคำนามเติม s/es คำกริยาก็ไม่ต้องเติม แต่ถ้าคำนามไม่ได้เติม s/es คำกริยาก็จะต้องเติม แทน ยกตัวอย่างเช่น

  • My cat eats very fast. (แมวของฉันกินเร็วมาก)
  • My cats eat very fast. (บรรดาแมวๆของฉันนั้นกินเร็วมาก)

(จริงๆแล้ว คำนามพหูพจน์บางคำก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย s/es หลักการนี้ใช้เพื่อให้จำได้ง่ายเท่านั้น)

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งฝึกฝนยิ่งหัดพูด อ่าน ฟัง และ เขียนทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ไวขึ้นแอดมินหวังว่าบทความนี้จะช่วยเพื่อนๆได้ไม่มากก็น้อย แรกๆในการฝึกอาจจะไม่ชินและอาจจะลืมเติม s ได้ แต่ต้องฝึกต่อไปเรื่อยๆนะครับ ทำไปเรื่อยๆ ให้มันเป็นนิสัย สุดท้ายมันจะได้เองครับ ทางสถาบัน Engconvo Thailand ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ


หรือเพราะลีลาไม่เด็ด!!! เป่าไม่เสร็จถ้าไม่ใช้มือช่วย | #หงี่เหลาเป่าติ้ว


อยากถามทุกคนในเพจว่า ถ้าเลือกได้ 1 อย่าง จะเลือกเสร็จช้า(มากๆ) หรือเสร็จเร็ว?

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

หรือเพราะลีลาไม่เด็ด!!! เป่าไม่เสร็จถ้าไม่ใช้มือช่วย | #หงี่เหลาเป่าติ้ว

ฉันกำลังเป็นตัวแทนของใครหรือเปล่า – พี สะเดิด 【OFFICIAL MV】


Digital Download : 123 7004
เพลง : ฉันกำลังเป็นตัวแทนของใครหรือเปล่า
คำร้อง / ทำนอง : ตุ๋ย ด๊ะดาด
เรียบเรียง : ศิลาแลง อาจสาลี
อัลบั้ม ชุดที่ 7 ขอโทษที่ลืมบ่ได้
ติดต่องานแสดงศิลปิน แกรมมี่ โกลด์ โทร.026699159

ฉันกำลังเป็นตัวแทนของใครหรือเปล่า - พี สะเดิด 【OFFICIAL MV】

ใช่ฉันหรือเปล่า – KALA【OFFICIAL MV】


Digital Download :123 1007371 3
iTunes Download : https://goo.gl/yNPpKv
KKBOX :http://kkbox.fm/6d08S2
เพลง : ใช่ฉันหรือเปล่า
ศิลปิน : กะลา
คำร้อง : กานต์กวี ไชยหาญ;ฉันรักแม่
ทำนอง : กานต์กวี ไชยหาญ
เรียบเรียง : Holly Berry
อัพเดทผลงานศิลปินที่คุณชื่นชอบได้ที่
https://www.facebook.com/gmmgrammyofficial?fref=nf
http://www.youtube.com/user/gmmgrammyofficial
https://plus.google.com/+GmmgrammyofficialBlogspot2014/posts
http://www.gmmgrammyofficial.blogspot…

ใช่ฉันหรือเปล่า - KALA【OFFICIAL MV】

การใช้ A,An


การใช้ A,An

เรื่อง A An The ที่เข้าใจกันแบบผิดๆ กระจ่างได้ใน 10 นาที!!!


เคยเรียน A An The กันมาตั้งแต่สมัยประถม
แต่หารู้ไม่..ที่เรียนกันมาทั้งหมด หลักการนั่นมันใช้ไม่ได้ 100%!!!
วันนี้ครูพี่แอน จะมาปลดล็อคข้อสงสัยให้กับทุกคน
เปลี่ยนความเข้าใจ A An The ที่เคยร่ำเรียนมากันตั้งแต่สมัยเด็ก
ด้วยหลักสูตรการสอนแบบ Speed Up โดย ครูพี่แอน
ที่จะทำให้นักเรียนเข้าใจ A An The แบบกระจ่างใน 10 นาที!!!
ติดตามครูพี่แอนได้ที่ช่องทาง
Perfect English : https://www.facebook.com/englishforfu…
IG : https://www.instagram.com/krupann.eng…
twitter : https://twitter.com/englishbykruann
Tiktok : https://www.tiktok.com/@krupann.english
ครูพี่แอน KruPAnn ภาษาอังกฤษ OnlineEnglish คอร์สเรียนออนไลน์ เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์

เรื่อง A An The ที่เข้าใจกันแบบผิดๆ กระจ่างได้ใน 10 นาที!!!

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เติม a หรือ an

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *