Skip to content
Home » [Update] PANTIP.COM : K7646413 ปริญญาโท การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ (มศว และ ธรรมศาสตร์) [การศึกษา] | สอบ ตรง ม ศว เข้า ยาก ไหม – NATAVIGUIDES

[Update] PANTIP.COM : K7646413 ปริญญาโท การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ (มศว และ ธรรมศาสตร์) [การศึกษา] | สอบ ตรง ม ศว เข้า ยาก ไหม – NATAVIGUIDES

สอบ ตรง ม ศว เข้า ยาก ไหม: คุณกำลังดูกระทู้

    ความคิดเห็นที่ 7

    ของจุฬาฯที่ คห. 4 กล่าวถึง คงไม่ได้หมายถึงของคณะครุศาสตร์นะครับ แต่เป็น MA in English as an International Language ซึ่งเป็นหลักสูตรนานาชาติเหมือนกัน แต่เป็นโครงการร่วมระหว่าง คณะอักษรศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และสถาบันภาษาจุฬาฯ เป็นหลักสูตร 1 ปี ภาคปกติ ถ้าเรียนแผนที่ไม่เลือกทำวิทยานิพนธ์ สามารถจบได้ใน 1 ปี แต่ถ้าทำวิทยานิพนธ์อาจใช้เวลามากกว่าอีก 1-2 เทอมครับ และค่าเรียนของหลักสูตรนี้จะแพงกว่าของคณะครุฯ เพราะจะมีการเชิญ อ. จากมหาวิทยาลัยต่างประเทศมาบรรยายด้วย และสาขานี้มีการเปิดสอนถึง ป.เอกครับ

    ในความเห็นส่วนตัวนะครับ อยากให้ลองเลือกที่เรียนตามนี้นะครับ
    1. เลือกที่เราอยากเรียนจริงๆ อาจไม่มีเหตุผลอธิบายได้ชัดเจน แต่เป็นความชอบในสาขาหรือสถาบันนั้นๆโดยส่วนตัว เช่น ชอบบรรยากาศ ชอบชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยโดยรวม หรือมีความใฝ่ฝันว่าอยากเข้าเรียนที่นี่มาตั้งแต่เด็ก ฯลฯ อาจฟังดูไม่ค่อยมีเหตุผลเท่าไร แต่ว่าอาจเป็นความรู้สึกที่เราก็ไม่สามารถอธิบายได้ เหมือนอย่างตอนผมจะเอ็นท์ ป.ตรี อยากเรียน มช. มาก ถามว่าทำไม ก็ตอบได้ไม่ชัดเจน แต่ก็ไม่ได้ไปเรียน ตอนนี้อายุมากแล้ว คงไม่มีโอกาสได้กลับไปเรียนใหม่ ก็เลยรู้สึกเสียดายการตัดสินใจในครั้งก่อนๆน่ะครับ

    2. ลองดูสาขาที่จะเรียนและความต้องการในการทำงานในอนาคต
    สมมติว่าอยากเป็น อ.สอนภาษาอังกฤษระดับมหาวิทยาลัยนะครับ ลองดูว่าเราอยากสอนวิชาแนวไหน ซึ่งจะมีแบ่งคร่าวๆคือ 1) สอนทักษะทั่วไป เป็นวิชาพื้นฐาน หรือวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะทางเช่น ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวะกรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษธุระกิจ ที่เด็กปี 1-2 คณะต่างๆต้องเรียน รวมทั้งวิชาเกี่ยวกับทักษะภาษาทั่วๆไป ที่เด็กเอกอังกฤษต้องเรียน เช่น การเขียนภาษาอังกฤษ การฟัง-พูด ฯลฯ 2) อยากสอนวิชาเฉพาะสำหรับเด็กเอกอังกฤษได้ด้วย เช่น วิชาพวกวรรณคดีอังกฤษ-อเมริกัน หรือวิชากลุ่มภาษาศาสตร์ เช่น linguistics, phonology, contrastive analysis, psycholinguistics ฯลฯ

    ถ้าคิดว่ามีแนวโน้มว่าจะได้สอนวิชาในกลุ่ม 1) ก็เรียนสาขาการสอนหรือสาขาที่เกียวกับภาษาอังกฤษ/ภาษาศาสตร์ ของที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าอยากเปิดโอกาสให้ตัวเองมากขึ้นในการสมัครงานหรือการสอนในอนาคต ก็น่าจะเลือกเรียนสาขาในกลุ่ม 2) คือเลือกเรียนโทสาขา English ที่เน้นวิชาทางด้านวรรณคดีด้วย เช่น MA (English) ของอักษรจุฬาฯ , มศว (สาขา English นะ ไม่ใช่ TEFL) , คณะศิลปศาสตร์ธรรมศาสตร์ (English Literature) หรือ MA (Linguistics) ซึ่งจะเป็นการเรียนเน้นภาษาศาสตร์ไปเลย ข้อดีของการเรียนสองสาขานี้คือ ผู้เรียนสามารถที่จะสอนวิชาพวกวรรณคดีหรือภาษาศาสตร์ให้เด็กเอกอังกฤษได้ด้วย ซึ่งหลายมหาวิทยาลัย เวลารับ อ. เพื่อไปสอนวิชาวรรณคดีหรือภาษาศาสตร์ จะระบุเลยว่าต้องการคนจบสาขา วรรณคดีหรือภาษาศาสตร์

    แต่ถ้าหากว่า คุณเรียนสาขาที่เน้น การสอนภาษาฯ เช่น MA/MEd พวกTeaching English as a Foreign Language (TEFL) ของครุศาสตร์จุฬาฯ มศว ธรรมศาสตร์ นเรศวร ABAC คณะศึกษาศิลปากร….., Teaching English to Speakers of Other Languages (TESOL) ที่ต่างประเทศ, Applied Linguistics ของมหิดล บางมด สงขลาฯ…., English as an International Language จุฬาฯ สงขลาฯ Language and Intercultural Communication คณะโบราณฯ ศิลปากร Language and Communication, NIDA….หลักสูตรพวกนี้ ผู้เรียนจะสอนได้เฉพาะวิชาทักษะภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน (วิชาในกลุ่ม 1 ที่กล่าวถึงขั้นต้นครับ) แต่จะสอนวิชาวรรณคดี หรือ ภาษาศาสตร์ไม่ได้ครับ (นอกจากว่าบางมหาวิทยาลัยที่เล็กมากๆ และขาดบุคคลากร ก็อาจให้ผู้จบสาขาเหล่านี้มาสอนวรรณคดี/ภาษาศาสตร์ด้วย แต่ผู้สอนไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเลย)

    ข้อดีของการเรียนในกลุ่มการสอนฯ คือ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีการสอนต่างๆ จะทำให้มีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น รู้วิธีออกข้อสอบ ประเมินผลและวัดผลการเรียน การเขียนบทเรียน ทำสื่อประกอบการสอน การออกแบบหลักสูตร เรื่องพวกนี้ยากทีเดียวถ้าหากจะทำให้ได้ดี ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ข้อเสียคือ อาจได้สอนแต่วิชาทางด้านทักษะภาษา ไม่ได้สอนวิชาที่เฉพาะสำหรับเด็กเอกอังกฤษมากนัก

    ข้อดีของการเรียนสาขาวรรณคดี/ภาษาศาสตร์คือ สามารถสอนได้ทั้งวิชาทักษะภาษาเหมือนคนที่จบการสอน และยังสามารถสอนวิชาเฉพาะพวกวรรณคดีหรือภาษาศาสตร์ได้ด้วย ข้อเสียคือ ตอนเรียนอาจจะเรียนหนักหน่อย และจะเป็นหลักสูตรภาคปกติเสียเป็นส่วนใหญ่ และอาจไม่มั่นใจเมื่อไปสอนช่วงแรก เพราะอาจไม่ได้เรียนวิชาเกี่ยวกับการสอน แต่อันนี้แก้ได้ครับ เพราะเวลาที่เราเข้าไปเป็น อ.มหาวิทยาลัย ส่วนมากจะมี อ.พี่เลี้ยงหรือเพื่อนๆที่มีประสบการณ์ช่วยแนะนำได้ หรือเราสามารถไปอบรมพวกการสอนภาษาระยะสั้นๆได้ครับ

    ดังนั้นก็ลองดูว่าเราชอบแบบไหน ชอบทักษะภาษาอย่างเดียว หรือว่าชอบเรียนวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์ด้วย (ไม่ทราบว่าคุณจบตรีเอกภาษาอังกฤษและเรียนวรรณคดีมาบ้างหรือเปล่า หากไม่ได้จบเอกอังกฤษ คงจะลำบากหน่อยถ้าจะเรียนเน้นวรรณคดี เพราะต้องสอบวิชาเกี่ยวกับวรรณคดีอังกฤษ-อเมริกันด้วย) ต้วผมเองสมัยเรียน ตัดสินใจเลือกสายภาษาศาสตร์ประยุกต์/การสอนนะ ถึงแม้จะชอบวรรณคดี แต่คิดว่าคงเรียนไม่ไหวแน่ๆ ทั้งที่จริงๆแล้วตอนนั้นไม่ได้ตั้งใจจะทำงานสอนสักเท่าไร

    3. ถ้าไม่รีบ และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนในปีนี้ให้ได้ อยากให้ลองย้อนกลับไปดูในข้อ 1 และ 2 อีกครั้งครับ ว่าเราอยากเรียนสาขาไหน มีความพร้อมแค่ไหน สะดวกที่จะเรียนที่ไหน รวมทั้งโอกาสในการหางานทำในอนาคต เพราะตอนนี้ ทั้งมหาวิทยาลัยเอกชนและรัฐบาล ก็เปิด ป.โท ทางด้านภาษาเยอะมากๆ บางที่เปิด ป.เอก ทางด้านภาษาอังกฤษด้วย เช่น PhD in English as an International language (จุฬาฯ), PhD in Applied Linguistics (บางมด), PhD in English Studies (ม.สุรนารี) PhD in English (มศว และที่ ม.มหาสารคามหรือนเรศวร อันนี้จำไม่ได้) แล้วก็ยังมี ป.เอก คณะครุจุฬาฯ กับ ศึกษาฯ ศิลปากร ในสาขาหลักสูตรและการสอน ที่ผู้เรียนสามารถเลือกทำวิจัยสาขาการสอนภาษาอังกฤษได้อีก ฯลฯ คนที่ไปเรียนต่างประเทศก็เยอะ เรียน part time หรือเรียนเป็น distant/flexible learning กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศก็เยอะ คนจบสาขานี้ก็ค่อนข้างเยอะพอๆกับสาขาอื่นๆ ดังนั้นต้องวางแผนให้ดีครับ

    4. ถ้าต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ลองหาหลักสูตรที่เรียนเป็นภาคพิเศษอย่างที่ ธรรมศาสตร์ หรือบางมด (ที่นี่ก็ดังเหมือนกัน แต่ภาคพิเศษแพงไปนิด) จะได้ทำงานไปด้วยได้ แต่ก็จะเหนื่อยหน่อย และอาจขาดการฝึกทักษะหรือการทุ่มเทให้กับการเรียนเมื่อเทียบกับคนเรียนหลักสูตรปกติ (บางคน) อาจส่งผลให้เสียเปรียบตอนสอบแข่งเข้าเป็น อ. ของมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่ถ้าคุณแบ่งเวลาได้ดี และภาษาดีอยู่แล้วก็ไม่ต้องกังวลครับ

    อีกวิธีหนึ่งคือ ลองดูหลักสูตรที่ให้เด็ก ป.โท เป็นผู้ช่วยสอนได้หลังเรียน coursework จบ และอยู่ในช่วงทำวิทยานิพนธ์ สาขา Applied Linguistics ของมหิดล กับ บางมด เมือก่อนให้เด็กเรียน ป.โท ที่อยู่ในช่วงทำวิทยานิพนธ์ สมัครสอนวิชาภาษาอังกฤษพื้อนฐานได้ครับ ตอนนี้คิดว่าก็ยังคงมีนโยบายนี้ของคณะอยู่ครับ ข้อดีคือ ได้เงินมาช่วยเหลือในค่าใช้จ่ายของเรา สามารถเอาไปใส่ใน cv ได้ด้วย และได้เรียนรู้ระบบการสอน ออกข้อสอบ คุมสอบ ภาระงานโดยทั่วไป ในสภาพการทำงานจริง ซึ่งก็จะช่วยเราในการตัดสินใจว่าเราจะเลือกทำงานสาขานี้ต่อไปหรือไม่

    ของจุฬาฯ ถ้าจบ coursework แล้วก็ทำงานเป็นผู้ช่วยสอนได้ที่สถาบันภาษาฯ แต่ว่าจะไม่ได้สอนนะครับ แต่จะให้ไปคุมห้อง self-access learning centre คอยให้คำแนะนำกับนิสิตปีหนึ่ง เวลาที่เข้ามาทำกิจกรรมภาษานอกห้องเรียน ถ้าจะได้สอนจริง ต้องเป็นนักศึกษาที่มาเรียนหลักสูตร ป.เอก ที่อยู่ในช่วงทำวิทยานิพนธ์ครับ

    มหาวิทยาลัยอื่นๆก็มีครับ เป็นบางแห่ง แล้วแต่เงินทุนของคณะ และนโยบาย เวลาสอบสัมภาษณ์เราสามารถถามกรรมการสอบได้ครับ ถึงเรื่องพวกนี้

    5. ถ้าชอบอยู่ต่างจังหวัด ลองดูมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด ถ้าคะแนน ป.ตรีดี บางแห่งรับ อ.ตั้งแต่ ป.ตรีครับ แล้วให้ทุนเราในการเรียนต่อ ป. โท เอก บางที่ไม่ได้ประกาศรับออกมาเป็นทางการ แต่เราสามารถโทรไปถาม หรือ ยื่นใบสมัครไว้ล่วงหน้าได้ หรือถ้าเราตัดสินใจที่จะเรียนก่อนที่จะได้รับทุน พอเข้าเรียน ป.โท ได้สักพัก ก็มองหาทุนได้ จะมีบางมหาวิทยาลัยที่ต้องการรับ อ. และอาจให้ทุนตั้งแต่ช่วงเรียนโท แต่อาจจะมีไม่มากนัก เพราะเดี๋ยวนี้ ส่วนมากต้องการ ป.เอก เป็นส่วนมาก

    แต่ถ้าหากว่าคุณทำงานมาแล้ว มีต้นสังกัดแล้ว และได้ทุนมาแล้วหรือลาเรียน ก็ลืมเรื่องทุนไปได้เลย

    6. ลองสอบชิงทุนไปเรียนเมืองนอกครับ ลองใช้เวลาหาดูหน่อย ถามอาจารย์เก่าๆ เพื่อนๆ ดูใน pantip เสียเวลานิด แต่ประหยัดเงิน และมีงานทำทันทีหลังเรียนจบนะ

    7. ถ้าตั้งใจอยากเป็น อ.มหาวิทยาลัย ก็ลองเข้าไปดูเวป ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ดูว่า อ.แต่ละที่จบมาจากที่ไหนกันบ้าง profile ขนาดไหน แล้วถ้าเราจะสมัครที่นั่น เรามีโอกาสไหม อย่ารอให้เรียนจบก่อนแล้วไปเสี่ยงดวงเอา ลองพิจารณาดูก่อนว่า เราจะทำอะไรที่เพิ่ม profile เราให้น่าสนใจ และเพิ่มความรู้ ให้แข่งกับคนอื่นได้

    8. สำหรับทั้ง 3 หลักสูตรที่กล่าวมา ผมไม่เคยเรียนครับ แต่คิดว่าแต่ละที่มีดีคนละอย่าง ขอใช้ข้อมูลจากการคาดการณ์ (ก็เดานั่นเอง) และจากข้อมูลที่ได้ยินมานะ ของคณะโบราณฯ อันนี้ชอบเป็นการส่วนตัว เพราะคนเรียนคงไม่มากนัก และรู้จักกับ อ.หลายท่าน ที่ทุ่มเทและมีใจรักให้กับการสอนจริงๆ แต่เนื่องจากเป็นสาขาเปิดใหม่ เลยไม่แน่ใจว่าจะมีคนสมัครเรียนมากไหม ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ถ้าคนสมัครน้อย ตัวเลือกน้อย อาจได้คนเก่งไม่มากเท่าที่อื่น อาจทำให้บรรยากาศการเรียนแตกต่างจากที่อื่น

    ของธรรมศาสตร์ ข้อดีคือคนสมัครเยอะ เลยอาจคัดคนเก่งได้มากกว่า แต่ในขณะเดียวกันก็รับเด็กเยอะมากกว่าที่อื่น ทำให้อาจไม่ได้ใกล้ชิดกับ อ. มากนัก บรรยากาศในการเรียนเลยอาจเหมือน ป.ตรี ไปนิดนึง อีกอย่างคือ รู้สึกว่า แทบจะไม่ค่อยมีคนเลือกทำวิทยานิพนธ์ ส่วนมากจะเลือกสอบ คอมพรีฯ มากกว่า เพราะจบเร็วกว่า แต่ถ้าตั้งใจเป็น อ.มหาวิทยาลัย อยากให้เลือกทำวิทยานิพนธ์ เพราะจะมีประโยชฯมากในการทำผลงานวิชาการเมื่อมาเป็น อ. และที่สำคัญคือ มีประโยชน์ต่อการเรียนเอก

    ของ มศว. อันนี้คิดว่าเด็กคงไม่เยอะมาก ข้อดีคือ มศว. มีความเชี่ยวชาญสาขาการสอนมาก แต่ด้านผู้เรียนและการสอนในหลักสูตร ไม่รู้ครับ เพราะไม่มีเพื่อนสนิทที่เรียนที่นี่

    ถ้าผมต้องเลือกในสามมหาวิทยาลัยนี้นะครับ ผมใช้เกณฑ์ ตามข้อหนึ่งที่กล่าวถึงครับ คือเลือกที่อยากเรียน เพราะชอบเป็นการส่วนตัว อาจไม่ได้ดูในด้านชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยหรือสาขา แล้วก็ที่ไหนที่ค่าเรียนไม่แพงเกิน ก็จะเลือกที่นั่นครับ จะได้ไม่ต้องมากังวลเรื่องเงินทีหลัง เพราะว่าถ้าเราไปดู profile ของ อ.สอนภาษาอังกฤษ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่จบตรี-โทเมืองไทย เอาแค่ในเฉพาะ มหาวิทยาลัยในกทม นะครับ ก็มี คนที่จบมาจากทั้ง 3 มหาวิทยาลัย (ยกเว้น คนที่จบโท Language and Intercultural Communication ของคณะโบราณฯ เพราะเพิ่งเปิด แต่ก็มีเด็กจบ ตรี เอกอังกฤษของคณะโบราณหลายคนที่เรียนต่อโทสาขาภาษาอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยอื่น แล้วเป็น อ. ในมหาวิทยาลัยของรัฐเหมือนกัน)

    ที่สำคัยคือ ดูว่าอยากเรียนที่ไหนจริงๆ ถ้าเกิดว่าเราไปเรียนที่เราไม่ได้ชอบจริงๆ เวลาที่เราเกิดปัญหาขึ้นมา เราจะรู้สึกไม่ดีขึ้นมาทันทีว่า ทำไมถึงเลือกเรียนที่นี่ แล้วก็จะรู้สึกไม่ดีไปหมดซะทุกเรื่อง ค่อยๆ พิจารณาดูครับ ว่าเราอยากเรียนที่ไหนมากที่สุดในสามที่นี้ (ซึ่งผมว่าดีทั้ง 3 ที่เลยนะ) หรือว่าเรามีที่อื่นอยู่ในใจหรือเปล่า อย่าง การสอนภาษาฯที่เกษตร ภาษาอังกฤษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ธุระกิจที่พระนครเหนือ หรือลาดกระบัง ภาษาอังกฤษสื่อสารที่ราม การแปลที่จุฬาฯ ราม หรือ ธรรมศาสตร์ ฯลฯ เพียงแต่เลือกที่/สาขาที่อยากเรียนจริงๆ อย่ารีบเรียนเพราะคิดว่าต้องรีบเรียนหรือไม่อยากเสียเวลารอ นะครับ

    จากคุณ :
    JP
    – [
    20 มี.ค. 52 20:33:54
    A:212.9.104.91 X: TicketID:144076
    ]

 

[NEW] เจาะลึก PAT3 ความถนัดวิศวะ ที่ออกโดย สสวท. ใน TCAS65 | สอบ ตรง ม ศว เข้า ยาก ไหม – NATAVIGUIDES

Save

Write CSS OR LESS and hit save. CTRL + SPACE for auto-complete.


รีวิวหอขวัญใจชาว มศว ถูกและดีมีอยู่จริง! [รีวิวหอ ep.3] |LADYGUNNY


อยากให้เจ้เลดี้ทำคลิปอะไรขอมาเลยเด้อ แต่ๆ!ต้องกด Like, Share และ Subscribe! ด้วยน้าาาาʕ•ᴥ•ʔ
Music by VALNTN Mona Lisa https://thmatc.co/?l=0B40C7C5
:
💖เม้ามอยกับเจ้เลดี้
🌈𝗜𝗚 : 𝗜𝗻𝘀𝘁𝗿𝗮𝗴𝘂𝗻
https://www.instagram.com/instragun/?igshid=pt6bkafdl5ae\u0026fbclid=IwAR18Zx_7aTjT8LAH3m6yq6ZoqP5uJj6vCRHTrsKU4fwwsa0eU8pZ3OGEvVo
🧸𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸 : 𝗟𝗮𝗱𝘆𝗴𝘂𝗻𝗻𝘆
https://www.facebook.com/ladygunnyy

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

รีวิวหอขวัญใจชาว มศว ถูกและดีมีอยู่จริง! [รีวิวหอ ep.3] |LADYGUNNY

EP.4 เปิดค่าเทอม มศว ฉบับอัพเดท 2020 |คณะที่เราอยากเข้า ค่าเทอมเท่าไหร่กันนะ?|


สำหรับน้องๆที่อยากเข้า มศว ค่าเทอมเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่น้องๆควรทราบ ถ้าอยากรู้กันแล้ว ไปร่วมค้นหาคำตอบกันได้ในคลิปนี้เลยครับ

EP.4 เปิดค่าเทอม มศว ฉบับอัพเดท 2020 |คณะที่เราอยากเข้า ค่าเทอมเท่าไหร่กันนะ?|

EP.3 แต่ละคณะ ของ มศว เรียนที่ไหน ? |ประสานมิตร องครักษ์ บางสาขาไปเรียนต่างประเทศด้วยนะ|


น้องๆที่มีความใฝ่ฝันอยากเข้ามาเรียนที่ มศว แต่อยากรู้ข้อมูลว่า มศว มีกี่คณะ วิทยาลัย แล้วแต่ละคณะไปเรียนที่ในกันบ้างในแต่ละชั้นปี มาร่วมหาคำตอบได้ในคลิปนี้ครับ

EP.3 แต่ละคณะ ของ มศว เรียนที่ไหน ? |ประสานมิตร องครักษ์ บางสาขาไปเรียนต่างประเทศด้วยนะ|

🍭ตอบคำถาม Q\u0026A เกี่ยวกับ มศว‼️ รับน้องโหดมั้ย? เตรียมตัวสอบเข้ายังไง?


มาแล้วว ‼️ คลิปตอบคำถาม Q\u0026A จากทุกคน พร้อมแล้วไปดูกันเล้ยย
ทีมมศว SWU มศว
ฝากกด Like 👍🏻กด Share และกด Subscribe กดกระดิ่ง🔔ช่องตองด้วยน้า จะได้ไม่พลาดคลิปใหม่ๆกันเนอะ😆💖
ติดตาม/ติดต่อ ตองได้ที่
Instagram: https://www.instagram.com/pk_btongg/
FB FanPage : https://www.facebook.com/Btongpattara…
FB : https://m.facebook.com/baitonglovekaew

🍭ตอบคำถาม Q\u0026A เกี่ยวกับ มศว‼️ รับน้องโหดมั้ย? เตรียมตัวสอบเข้ายังไง?

📒เจาะลึกสอบเข้าเอกการแสดงมศว!! เปิด Portfolio กิจกรรมตั้งแต่ปี1-ปี4 จบไปงานมั่นคงมั้ย? [NAME FRAME]


ลิ้งของบทละครนะคะ มาโหลดไปอ่านกันได้~
https://drive.google.com/drive/mobile/folders/0BxdGAgx3jQoMZ0x0ZXpqOU5GR0k?usp=drive_web
การแสดงมศว สอบเข้าเอกการแสดง สินกำมศว SWU มศว TCAS64 dek64
📣📣ใครดูคลิปแล้วอย่าลืม กด Like👍กด Share และกดกระดิ่ง🔔แจ้งเตือนด้วยนะ จะได้ไม่พลาดคลิปใหม่ๆของเฟรมเนอะ 😄💖และฝากติดตาม Subscribe💕

00:00 intro
0:23 พูดเปิดคลิป
1:17 เริ่มเข้าเรื่องเอกการแสดง
2:04 อธิบายย่อยเอกออกแบบเพื่อการแสดง
2:45 ต้องเรียนสายไหน?
3:05 คุณสมบัติการสอบเข้า
3:26 คะแนนที่ใช้ยื่น
3:40 รับ TCASรอบไหน?
4:29 นวัตกรรมกับศิลปกรรมต่างกันยังไง?
5:12 ต้องอ่านอะไรสอบ?
5:34 แนวข้อสอบ
6:14 ข้อเขียนหรือขอกา?
7:01 ชีทอ่านสรุปสอบเข้าเอกการแสดงและออกแบเพื่อการแสดง
7:40 สไตล์การสอบเด็ก64
8:09 ครูสัมภาษณ์อะไรบ้าง
8:25 แสดงละครไม่เป็นเข้าได้มั้ย?
9:15 ครูให้ทำอะไรบ้างรอบออดิชั่น
10:24 เปิดPortfolioพี่เนมเฟรม
19:09 ค่าเทอมเท่าไหร่?
19:31 เรียนองครักษืหรือประสานมิตร?
19:53 เอกการแสดงรับกี่คน
20:09 ไม่เก่งอังกฤษเรียนได้มั้ย?
20:21 แหล่งติดตามข้อมูลข่าวสาร
20:37 พูดเชิญ4Angiesมาพูดคุย
21:06 กฎระเบียนตอนปี1
23:08 เอกการแสดงดเรียนอะไรบ้าง?
30:14 ปี4 ทำอะไรบ้าง
32:10 กิจกรรมตลอดปี1ถึงปี4
40:02 เงินที่ต้องจ่ายนอกเหนือค่าเทอม
41:12 การแสดงจบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?
43:17 อยากเป็นนักแสดงต้องเรียนเอกนี้
44:11 การแสดงรับแต่คนสวย…
45:59 สังคมเอกการแสดง
47:43 คนดังที่จบจากการแสดงมศว
🥨Work Contact 🥨
ᴥ︎Tel : 0826494245
ᴥ︎Line : Summer_spm2 (คุณซายส์)
ᴥ︎Email : [email protected]
🥨 Contact Me 🥨
ᴥ︎Facebook : https://www.facebook.com/nameframechannel/
ᴥ︎Instagram : https://www.instagram.com/nameframe/?hl=th
★โปรแกรมตัดต่อ : Final Cut ProX🍎
★Camera : Sony a7III🍎

📒เจาะลึกสอบเข้าเอกการแสดงมศว!! เปิด Portfolio กิจกรรมตั้งแต่ปี1-ปี4 จบไปงานมั่นคงมั้ย? [NAME FRAME]

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ สอบ ตรง ม ศว เข้า ยาก ไหม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *