Skip to content
Home » [Update] 9 วิธีใช้คอมม่าในภาษาอังกฤษแบบเบื้องต้น เจอทุกข้อสอบแน่นอน! | จุลภาค ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[Update] 9 วิธีใช้คอมม่าในภาษาอังกฤษแบบเบื้องต้น เจอทุกข้อสอบแน่นอน! | จุลภาค ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

จุลภาค ภาษาอังกฤษ: คุณกำลังดูกระทู้

     สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว

Dek-D.com

วันนี้เรามาเรียนแกรมมาร์ง่ายๆ ตัวนึงที่เราคุ้นเคยกันมากๆ ดีกว่าค่ะ นั่นคือการใช้เครื่องหมายจุลภาคหรือคอมม่า (comma) นั่นเอง มาดูกันว่าวิธีใช้ขั้นพื้นฐานของคอมม่ามีอะไรกันบ้าง

1. ใช้คั่นคำหรือกลุ่มคำที่เรียงต่อกันตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไปในความหมายว่า “และ” หรือ”หรือ”

     เห็นชื่อแล้วอาจจะงงๆ ว่ามันใช้ยังไงนะ จริงๆ มันก็คือใช้คั่น cat, dog, bird, and rat นั่นแหละค่ะ แต่ทีนี้จะเป็น and หรือว่า or รั้งท้ายก็ได้ ที่สำคัญคือต้องมี 3 อย่างขึ้นไปจะ cat, dog เฉยๆ ไม่ได้ ถ้ามีแค่ 2 ก็ใช้ cat and dog ได้เลย
     อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ บางคนจะเขียนคอมม่าไว้หน้า and หรือว่า or แต่บางคนก็ไม่เขียนเช่น
    

I have 2 cats, 3 dogs, and 5 birds.

กับ

I have 2 cats, 3 dogs and 5 birds.

     ซึ่งถือว่าถูกทั้งคู่ค่ะ จะใช้แบบมีคอมม่าตัวสุดท้ายหรือไม่ก็ได้ แต่พี่อยากให้ใช้แบบมีมากกว่าค่ะ ส่วนสาเหตุที่อยากให้ใช้ก็คือมันช่วยให้สับสนน้อยลงได้เมื่อเจอกลุ่มคำก้อนใหญ่ขึ้นมา เช่น

   I have coffee, hot chocolate and milk and tea.
   ถ้าเจอแค่นี้ เราแปลความได้หลายอย่างค่ะ
    – มีของ 4 อย่าง 1) กาแฟ 2) ช็อคโกแลตร้อน 3) นม 4) ชา
    – มีของ 3 อย่าง 1) กาแฟ 2) ช็อคโกแลตร้อน 3) นมกับชา
    – มีของ 3 อย่าง 1) กาแฟ 2) ช็อคโกแลตร้อนกับนม 3) ชา

     ทีนี้ก็จะงงได้ว่าตกลงเมนูไหนที่เป็นของผสมกันแน่ ดังนั้นการใส่คอมม่าไปช่วยก็จะทำให้เราเข้าใจว่ามันคือ

I have coffee, hot chocolate and milk, and tea.

มี 3 อย่างนะ 1) กาแฟ 2) ช็อคโกแลตร้อนกับนม 3) ชา ซึ่งเจ้าคอมม่าตัวสุดท้ายนี้มีชื่อว่า Oxford comma ค่ะ มันมีประโยชน์ในหลายสถานการณ์จริงๆ นะ ยิ่งถ้าเขียนเรียงความก็ควรใส่ทุกครั้ง เพราะจะช่วยให้คนอ่านเข้าใจงานเขียนของเราได้ง่ายขึ้นค่ะ

     นอกจากคั่นคำและกลุ่มคำแล้ว จะคั่นการกระทำก็ได้เช่นกัน เช่น

I had dinner, washed the dishes, and went to bed.

ฉันกินอาหารเย็น ล้างจาน และขึ้นนอน ก็ใช้คั่นได้เช่นกัน

2. ใช้คั่นประโยคเมื่อใช้คำเชื่อมจิ๋วๆ มาเชื่อมให้เป็นประโยคความรวม

     คำเชื่อมจิ๋วๆ ก็คือพวก

and, or, but, for, nor, yet, so

ที่เป็นคำสั้นๆ นี่แหละค่ะ เวลาเชียนเราก็จะใส่คอมม่าหลังจบประโยคแรก เช่น

I really want to go to school, but I am too sick to go.

ฉันอยากไปโรงเรียนจริงๆ แต่ฉันป่วยเกินจะไปได้ แต่ถ้าเป็นประโยคที่สั้นมากๆ อย่าง I come and you go. ก็สามารถละคอมม่าได้ค่ะ

     นอกจากนี้ถ้าประโยคหลังไม่มีประธาน ก็สามารถละคอมม่าได้เช่นกัน เช่น I thought for a while but still did not answer correctly. (ฉันคิดเป็นระยะเวลาหนึ่งแต่ก็ตอบไม่ถูกอยู่ดี) ประโยคนี้เราละประธานของ did not answer เพราะประธานคือ I เหมือนประโยคหน้า จึงสามารถละคอมม่าได้ค่ะ แต่ก็นั่นแหละ มันต้องมีบางประโยคที่ละแล้วทำให้สับสนยิ่งกว่าช็อคโกแลตร้อนอยู่แน่ๆ อย่างเช่นตัวอย่างนี้

     I saw that he was busy and prepared to leave. ถ้าไม่มีคอมม่าแบบนี้ผู้อ่านจะตีความว่ามันคือ
I saw that he was busy. He was prepared to leave.
     แต่ถ้าความหมายจริงๆ ที่เราต้องการคือ I saw that he was busy. I prepared to leave. แบบนี้ต้องมีคอมม่าเข้าไปช่วยทำให้กระจ่างค่ะ โดยเขียนเป็น

I saw that he was busy, and prepared to leave.

แบบนี้ผู้อ่านก็เข้าใจได้ว่าตัว I เป็นคน prepared เอง

3. ใช้คั่นเมื่อมีอนุประโยคนำหน้าในประโยค

     ภาษาทางการดูยากอีกแล้ว อนุประโยคที่ใช้ขึ้นต้นประโยคก็เช่น V.ing หรือคำบุพบทหรืออะไรที่มันไม่ใช่ประธานกริยากรรมแบบธรรมดาทั่วไป ตัวอย่างเช่น
    

If you are not sure about this, let me know now.

(ถ้าคุณไม่แน่ใจก็บอกฉันมาเลย)
    

After his long nap in the backyard, he felt better.

(หลังงีบในสวนหลังบ้านเป็นเวลานาน เขาก็รู้สึกดีขึ้น)
     นอกจากนี้พวกประโยคที่ขึ้นด้วย Adverb ก็ใช้คอมม่าตามหลังเพื่อคั่นเช่นกัน
    

Sadly, our old school was completely destroyed.

(น่าเศร้าที่โรงเรียนเก่าของเราถูกทำลายจนสิ้น)
     เช่นเดียวกับวิธีใช้ข้ออื่นๆ ที่บอกไป ถ้าอนุประโยคข้างหน้าสั้นๆ เข้าใจง่าย เราจะไม่ใส่คอมม่าก็ได้ค่ะ แต่ต้องสังเกตดีๆ ด้วยว่าถ้าไม่ใส่แล้วจะทำให้ความหมายกำกวมมั้ย

   เช่น Last Friday evening classes were canceled.
   เวลาคือก้อนไหนระหว่าง Last Friday evening กับ Last Friday
    

Last Friday, evening classes were canceled.

     (เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ชั้นเรียนตอนเย็นถูกยกเลิก)
    

Last Friday evening, classes were canceled.

     (เมื่อเย็นวันศุกร์ที่แล้ว ชั้นเรียนถูกยกเลิก)

4. ใช้คอมม่าคร่อมส่วนขยายที่สามารถตัดทิ้งได้

     ข้อนี้น่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เพราะเจออยู่บ่อยๆ เช่น
    

My big sister, Rita, is coming.

ประโยคนี้เราสามารถตัดริต้าออกไปได้ ให้เหลือแค่ My big sister is coming. ก็เข้าใจได้อยู่
    

Jimmy, who is a president of this club, cannot be here today.

เราก็ตัดท่อนในคอมม่าออกไปได้เช่นกัน ความหมายยังเหมือนเดิมคือจิมมี่ไม่สามารถมาได้

5. ใช้คั่นชื่อที่ตั้งเมืองเช่น เมืองกับรัฐ หรือจังหวัดกับประเทศ หรือเมืองกับประเทศ

    

Bangkok, Thailand, is “The City of Angels.”
     I went to London, England, last year.

     ไม่ว่าจะเป็นชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด รัฐ แคว้น หรือประเทศ และไม่ว่าจะอยู่ต้าประโยค กลางประโยค หรือท้ายประโยคก็สามารถใช้คอมม่าคั่นได้ทุกตำแหน่งเลยค่ะ

6. ใช้คั่นเวลาเรียกใคร หรือเวลาอุทาน เช่น

    

Hello, sir.
     I need your help, Lisa.
     Yes, I did.
     Well, it could be.
     Let’s eat, Mom!

     ลองนึกภาพเราไม่ใส่คอมม่าสิ ประโยคก็จะออกมาเป็น Let’s eat Mom! (กินแม่กันเถอะ)

7. ใช้คั่นสิ่งที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูดกับสิ่งที่อยู่ข้างนอก

     อ่านแล้วต้องงงแน่ๆ ลองมาดูตัวอย่างแบบต่างๆ นะคะ
    

“I thought,” said Dan, “you were going out with him.”
     “How could you,” she cried. “How could you do that to me?”
     “I love you,” she said.
     She said, “I love you.”

     **อ่านเรื่องการใช้เครื่องหมายคำพูดเพิ่มเติมได้ที่

อ่านแล้วต้องงงแน่ๆ ลองมาดูตัวอย่างแบบต่างๆ นะคะ**อ่านเรื่องการใช้เครื่องหมายคำพูดเพิ่มเติมได้ที่ www.dek-d.com/studyabroad/37997/

8. ใช้คั่น question tag

    

I can go, can’t I?

(ฉันไปได้ใช่มั้ย)

     That’s your book, isn’t it?

(นั่นคือหนังสือของคุณใช่มั้ย)

     I am a student, aren’t I?

(ฉันเป็นนักเรียนใช่มั้ย)

9. ใช้คั่นวันที่กับปี

    

It was in the in that magazine’s August 5, 2015, edition.

(มันอยู่ในนิตยสารเล่มนั้นฉบับวันที่ 5 สิงหาคม 2015
     แต่ถ้าไม่มีวันที่มาให้ มีแค่เดือนกับปีก็ไม่ต้องใส่คอมม่าค่ะ นี่ไม่ได้ให้เลือกว่าจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้นะคะ แต่กฎนี้คือห้ามใส่เลย เช่น It was in the in that magazine’s August 2015 edition.

    

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีใช้คอมม่าแบบเบื้องต้นค่ะ จริงๆ ยังมีกฎอีกหลายข้อและรายละเอียดอีกมากมายแต่จะลึกเกินไป แม้อาจจะดูเหมือนกฎเยอะและจุกจิก แถมยังมีตัวที่ใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ แต่ถ้าเจอแบบนั้นพี่แนะนำให้ใส่ไว้จะดีกว่าค่ะ เพราะมันช่วยชีวิตเราได้จริงๆ แถมยังช่วยชีวิตโยโย่ไว้ไม่ให้ถูกเรากินด้วย 555 แล้วพบกับ

English Issues

ได้ใหม่เสาร์หน้านะคะ

[NEW] คำขึ้นต้นเพื่อทักทาย และคำลงท้ายปิดข้อความ ในจดหมายภาษาอังกฤษ | จุลภาค ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

เพราะเหตุที่ว่า ผมได้ทำเว็บไซต์ที่สื่อสารกับผู้เยี่ยมชมเป็นภาษาอังกฤษอยู่หลายเว็บ ในบางทีก็ลังเลอยู่เหมือนกันว่า ควรจะใช้คำขึ้นต้น (คำทักทาย)  และคำลงท้าย อย่างไรดีเพื่อตอบจดหมายอีเล็คโทรนิค ที่เราเรียกว่า

email

เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนบนเว็บ  เช่นเดียวกันบนเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะมีหน้าเว็บที่ใช้บอกเรื่องราวเกี่ยวกับตัวผู้เขียน คือ หน้าเกี่ยวกับฉัน (เรา) หรือในภาษาอังกฤษก็เป็นหน้า

about me, about us,

หรือ

about the authors

ก็จะต้องมีคำขึ้นต้น (คำทักทาย)  และคำลงท้าย ที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของเว็บไซต์ และบุคลิกภาพของผู้เยี่ยมชมที่เราคาดเดาว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น

 

คำขึ้นต้น (คำทักทาย) และคำลงท้าย ที่ใช้ในจดหมายภาษาอังกฤษ หรือสื่อต่าง ๆนั้น เราต้องให้ความสำคัญ และระมัดระวังในการที่จะเลือกใช้คำ หรือวลีให้ถูกกาลเทศะ ซึ่งพวกฝรั่งเองก็คงมีธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาด้วยเช่นกัน มาดูกันว่าคำ หรือวลีแบบไหนจะเหมาะสมกับใครกันบ้าง

 

ปกติคำขึ้นต้นที่ใช้สำหรับทักทาย และคำลงท้ายที่ใช้เพื่อจบการสนทนาในจดหมายภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นใดก็แล้วแต่ สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งก็คือ ต้องพิจารณาให้แน่ชัดว่า เรากำลังจะส่งข้อความนั้นไปถึงใคร เพื่อที่จะเลือกคำขึ้นต้น (ทักทาย) และคำลงท้ายที่เหมาะสมได้ ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะของจดหมายได้เป็น

3

ประเภทคือ

 

:::

แบบเป็นทางการ (

Formal

)

 

ใช้ในกรณีที่เป็นจดหมายธุรกิจ หนังสือราชการ ข้อความถึงบุคคลสำคัญ สุนทรพจน์ เอกสารวิชาการ จดหมายสมัครงาน เช่น อีเมลจากธนาคารถึงลูกค้า หนังสือเวียนเพื่อทราบภายในกระทรวง หนังสือเรียนเพื่อพิจารณาถึงนายกรัฐมนตรี บันทึกการประชุมบริษัทถึงหุ้นส่วนจดทะเบียน  เป็นต้น

 

:::

แบบกึ่งทางการ (

Semi- Formal

)

 

ในกรณีที่ผู้ส่งจดหมายมีความสนิท หรือรู้จักกับผู้รับเป็นอย่างดี ในทางธุรกิจอาจใช้คำขึ้นต้น และคำลงท้ายเป็นแบบกึ่งทางการก็ได้เช่น บันทึกข้อความจากพนักงานบัญชีถึงผู้จัดการแผนกที่เป็นเพื่อนกัน หรือกรณีที่ผู้มีตำแหน่งสูงกว่ามีบันทึกสั่งงานมาถึงผู้ใต้บังคับบัญชา ก็สามารถทำหนังสือในลักษณะนี้ได้เช่นกันเช่น บันทึกการสั่งงานจากกรรมการผู้จัดการถึงผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเป็นต้น

 

เป็นเรื่องที่อ่อนไหวเอามาก ๆ สำหรับผู้คิดจะทำหนังสือ หรือจดหมายแบบกึ่งทางการควรใคร่ครวญให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะเมื่อผู้ส่งมีฐานะหน้าที่การงานที่ต่ำกว่าผู้รับ การทำเป็นแบบทางการจะปลอดภัย และดูดีกว่า เพราะแม้ว่าเราจะสนิทสนมเป็นการส่วนตัวกับผู้รับ แต่บางทีจดหมายนั้นจำเป็นต้องถูกเวียนไปให้บุคคลอื่น ๆที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบ หรือมีการสั่งงานจากผู้รับบนจดหมายนั้นถึงบุคคลอื่น ๆ จะได้ไม่น่าเกลียด

 

:::

แบบไม่เป็นทางการ (

Informal

)

 

ถ้าเราต้องการเขียนถึงเพื่อน คนรัก คนในครอบครัว แน่นอนว่าจดหมาย หรืออีเมล ที่มีคำทักทาย ละลงท้ายแบบไม่เป็นทางการนั้น จะเป็นทางเลือกที่ดูอบอุ่น คุ้นเคย เป็นกันเอง และจริงใจมากกว่า

 

คำขึ้นต้น หรือคำทักทายแบบเป็นทางการ

 

คำขึ้นต้นที่ใช้สำหรับการทักทายแบบเป็นทางการนั้น ควรเป็นคำที่แสดงความยอมรับนับถือ ที่ถูกเจือไปด้วยความอบอุ่น มีความเป็นมิตร และสุภาพเรียบร้อย โดยทั่วไปมักจะใช้คำว่า

Dear

และตามด้วย

 

:::

คำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว พลเอก ดอกเตอร์

 

:::

ชื่อสกุล

 

::;

เครื่องหมาย

colon :

 

เช่น

Dear Dr. Amante:

 

หมายถึง

Dear Dr. Wonka Amante

 

หรือ

 

:::

ตามด้วยชื่อ และนามสกุล โดยสามารถละคำนำหน้าชื่อได้

 

เช่น

Dear Wonka Amante:

 

หรือ

 

:::

ตามด้วยคำนำหน้าชื่อ

 

:::

ตามด้วยตำแหน่ง

 

เช่น

Dear Mr. President:

 

คำทักทายในภาษาอังกฤษในรูปแบบเป็นทางการ นอกจากคำว่า

Dear

แล้ว อาจใช้คำว่า

Attn.

แทนก็ได้ ในภาษาไทยหมายถึง เรียนคุณ  

…..

 

ปกติจดหมาย หรืออีเมลแบบเป็นทางการนั้นมักจะระบุชื่อ และนามสกุล แต่ในกรณีที่เราไม่ทราบชื่อที่แท้จริงก็อาจใช้เป็น

 

Dear Sir:

สำหรับสุภาพบุรุษ

 

Dear Madam:

สำหรับสุภาพสตรี

 

และถ้าหากไม่สามารถระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงในทุก ๆด้านทั้งชื่อ นามสกุล เพศ ตำแหน่ง ก็อาจใช้

 

To whom it may concern:

ก็ได้

 

คำขึ้นต้น หรือคำทักทายแบบกึ่งทางการ

 

คำทักทายขึ้นต้นใช้แบบเป็นทางการได้เลย เพียงแต่จะตามด้วยชื่อแรกของผู้รับ และตามด้วยเครื่องหมาย

colon :

เช่น

 

Dear Wonka:

 

คำขึ้นต้น หรือคำทักทายแบบไม่เป็นทางการ

 

จดหมาย หรืออีเมลแบบไม่เป็นทางการจะถูกใช้อยู่ในแวดวงเพื่อนฝูง หรือสมาชิกในครอบครัว คำขึ้นต้น หรือคำทักทายมักจะเปลี่ยนไปเป็นสำเนียงแบบภาษาพูด โดยใช้

Hi

หรือ

Hello

แล้วตามด้วยชื่อแรก และปิดลงด้วยเครื่องหมายจุลภาค

comma ,

เช่น

 

Hi Wonka,

หรือ

Hello Wonka,

คำลงท้ายที่ใช้ในจดหมายภาษาอังกฤษ


คำลงท้ายที่เรามักคุ้น ๆกันอยู่มีมากมาย เช่น 

Best, Regards, Yours, Sincerely, Yours, Yours truly, Best wishes, Loves, Hugs, Your friends, kisses

เป็นต้น เราสามารถเลือกคำลงท้ายเอามาใช้ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งพอจะสรุปได้ตามนี้

 

::: Best, All the best, All best, Best regards, Best wishes

 

คำลงท้ายที่เกี่ยวพันกับคำว่า

Best

ได้รับการยอมรับว่าเป็นคำที่สุภาพ ที่สามารถใช้ได้กับจดหมายถึงเพื่อน กระทั่งถึงจดหมายธุรกิจ ซึ่งมีความหมายในทำนองที่ว่า ผู้ส่งมีความหวังว่าผู้ที่ได้รับจดหมายนี้จะพบเจอแต่ประสบการณ์ที่ดี และมีสิ่งดี ๆเข้ามาในชีวิตตลอดไป เป็นคำที่หวาน และผู้เชี่ยวชาญทางภาษาลงความเห็นว่าเป็นคำลงท้ายที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย และมีเสน่ห์

โดยคำว่า

Best, All best, All the best, Best wishes

จะเป็นคำลงท้ายแบบกึ่งเป็นทางการ

ในขณะที่

Best regards,

จะเป็นคำลงท้ายแบบเป็นทางการมากกว่า นอกจากนี้อาจใช้

Regards,

เฉย ๆก็ได้จะเป็นแบบกึ่งเป็นทางการ แต่ถ้าหากเติมเป็น

Warm regards,

ก็จะสร้างความอบอุ่นให้กับความรู้สึกของผู้รับได้อีกมากโขเลย

 

::: Sincerely, Sincerely yours,

 

Sincerely yours,

เป็นคำลงท้ายจดหมายแบบเป็นทางการที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ส่งที่ยังไม่คุ้นเคยกับผู้รับเป็นอย่างดี ส่วน

Sincerely,

จะนิยมใช้แบบกึ่งเป็นทางการ

 

::: Yours, Yours truly,

 

เป็นคำที่ก้ำกึ่งระหว่างแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งขึ้นกับเนื้อหาในจดหมาย และผู้ที่ได้รับจดหมายว่าเขาเป็นใคร หากผู้รับเป็นเพื่อนสนิท และเนื้อหาในจดหมายออกแนวขำ ๆก็อาจใช้เป็นคำลงท้ายแบบไม่เป็นทางการได้ แต่โดยปกติแล้ว

Yours truly,

จะใช้เป็นคำลงท้ายแบบเป็นทางการ และ

Yours,

จะเป็นแบบกึ่งเป็นทางการ นิยมใช้กับจดหมายที่มีเนื้อหาที่ผู้ส่งต้องการเน้นข้อความในจดหมายเพื่อแสดงความจริงใจ ที่จะอุทิศตนเพื่อทำอะไรบางอย่างให้แก่ผู้รับจดหมาย

 

::: Thanks, Thank you, Thank so much

 

คำลงท้ายเพื่อแสดงความขอบคุณในจดหมาย ควรถูกเลือกใช้ให้เหมาะสม ผู้ส่งบางคนมักจะคุ้นเคยกับการจบข้อความในจดหมายทุกฉบับด้วยคำว่า

Thanks,

จนเคยชิน ทั้งที่บางครั้งข้อความในจดหมายไม่ได้มีเนื้อหาที่ต้องไปขอบคุณผู้รับเลย มันอาจสร้างความสับสนให้กับผู้รับได้ว่า มาขอบคุณเขาเพื่อ

?

หรือบางทีเป็นจดหมายเพื่อสั่งงาน ที่ไม่จำเป็นต้องไปขอบคุณผู้รับเสียก่อนที่เขาจะได้เริ่มต้นทำงาน การขอบคุณควรทำเป็นจดหมายมาในภายหลัง เมื่องานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีแล้ว

 

::: Speak to you soon, Look forward to speaking with you soon, See you soon, Talk to you later,

 

เป็นการจบการสนทนาทางอีเมล หรือจดหมายที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ เป็นการให้คำมั่นสัญญาว่าจะมีการพูดคุยกันอีก ตามมาในภายหลัง ซึ่งมักจะเป็นการพูดคุยกันแบบเผชิญหน้า ที่จะนำมาถึงซึ่งข้อสรุป ข้อตกลงที่สำคัญ ๆ และทำให้ทั้งสองฝ่ายบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งโดยปกติแล้ว วลีข้างต้นจะถูกใช้เป็นคำลงท้ายในแบบเป็นทางการ

 

:::

ไม่มีคำลงท้าย

 

การไม่มีคำลงท้ายในอีเมล หรือจดหมายอื่น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องผิดปกติ แต่บางกรณีก็อาจอนุโลม หรือยอมรับได้ เช่นในกรณีที่มีการถาม

ตอบบนอีเมล ซ้ำไป ซ้ำมาหลาย ๆครั้งในวันนั้น คุณอาจมีคำลงท้ายอีเมลเพียงฉบับแรก และในฉบับต่อ ๆมาอาจละคำลงท้าย และชื่อของคุณไว้ก็ได้ แต่พึงระมัดระวังกับผู้รับที่เราไม่คุ้นเคยกันดีพอ

 

::: Take care,

 

เป็นคำลงท้ายจดหมายที่มีความหมายใกล้เคียงกับ คำในกลุ่ม

Best

คือขออย่าให้มีอุปสรรคเกิดขึ้นกับคุณเลย เป็นคำลงท้ายที่เป็นแบบกึ่งเป็นทางการ ที่อย่างน้อยผู้ส่งก็ควรจะคุ้นเคยกับผู้รับในระดับหนึ่ง

 

::: Cheers,

 

คงเคยได้ยินกันในวงเหล้า ถ้าถูกนำมาใช้ในจดหมาย ก็ให้ความหมายทีดีต่อความรู้สึกไม่น้อยทีเดียว

Cheers,

เป็นคำเบา ๆฟังสบาย ๆมองโลกในแง่บวก เหมือนกับเรากำลังส่งความปรารถนาดีให้กับผู้ที่รับจดหมาย เป็นคำหนึ่งที่ควรเก็บไว้ใช้ในกรณีที่คุณคุ้นเคยกับผู้รับ หรือผู้อ่านระดับหนึ่ง ผมเป็นคนหนึ่งที่เลือกใช้คำนี้ในเว็บไซต์ภาษาอังกฤษของผมเอง

 

::: XOXO

 

เป็นสัญลักษณ์ ที่หมายถึง

Hugs and Kisses 

X

 เป็นสัญลักษณ์ของ การกอด

เป็นสัญลักษณ์ของ การจุมภิต

คำลงท้ายแบบนี้ เหมาะใช้กับสาว ๆเท่านั้น ห้ามนำไปใช้กับเจ้านายเป็นเด็ดขาด

::: Yours friend,

 

แม้ว่าเป็นคำง่าย ๆ ทื่อ ๆแต่นี่ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ผมเลือกใช้ในเว็บไซต์ที่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษของผม คำนี้ฟังดูอบอุ่น จริงใจ และตอกย้ำ เหมือนกับจะเตือนว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

ผม

….Yours friend

 

::: Warmly,

 

คำนี้ก็น่านำไปใช้ ฟังแล้วรู้สึกดี เหมือนมีสัมผัส อบอุ่น จริงใจ

 

::: Onward,

 

คล้ายจะบอกว่าให้ มุ่งไปข้างหน้า ก้าวต่อไป เป็นคำที่ทรงพลัง เข้มแข็ง ให้กำลังใจ น่าใช้เป็นอย่างยิ่ง

ก่อนจบบทความนี้มีเกร็ดเล็ก ๆฝากไว้อีกนิดหน่อยคือ คำลงท้ายจดหมาย ควรขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ และหลังคำ หรือวลีนั้นให้ใส่เครื่องหมายจุลภาค

,

ไว้ด้วยทุกครั้ง อย่าลืมเซ็นชื่อ หรือพิมพ์ชื่อ ถ้ามี

Logo

หรือ

Profile Picture

ก็ใส่ด้วยผู้รับจะได้รู้สึกว่า นี่แหละเป็นอีเมล ของเขาจริง ๆ

 

คำขึ้นต้น หรือคำทักทาย และคำลงท้าย ที่ใช้ในจดหมายภาษาอังกฤษ ถ้าเลือกได้อย่างเหมาะสม และถูกกาลเทศะแล้ว จะเป็นผลดีกับตัวคุณ และกิจการงานต่าง ๆได้เป็นอย่างดี สำหรับคืนนี้ ฝันดี ราตรีสวัสดิ์ครับผม

 

Your friend,

Warmly,

Onward,

 


ความหมายของเศรษฐศาสตร์ l เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น บทที่ 1 EP.1


❓EP นี้ เราจะมาตอบคำถามว่า…
1️⃣ เศรษฐศาสตร์คืออะไร
2️⃣ เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหภาค หมายถึงอะไร
กับ เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เล่มที่ 1 : เศรษฐศาสตร์จุลภาค
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปของเศรษฐศาสตร์จุลภาค
EP.1 เกริ่นนำ
สอนโดย พี่วิน สถาบันสอนเศรษฐศาสตร์ EconA+
สั่งซื้อหนังสือทั้งแบบสีหรือขาวดำ และ VDO ทุกหัวข้อพร้อมเฉลยข้อสอบ
หรือ ติดต่อเรียนแบบตัวต่อตัว ได้ที่
https://www.facebook.com/EconAplus
เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เศรษฐศาสตร์จุลภาค

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ความหมายของเศรษฐศาสตร์ l เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น บทที่ 1 EP.1

Grammar \u0026 Punctuation : When to Use a Dash vs. a Comma


Use a dash in a sentence to set off parenthetical information and provide emphasis. Commas can also be used to set off parenthetical information, but they do not generally bring as much attention to the information. Use commas to rename a nearby noun phrase with help from a writer and English tutor in this free video on grammar and punctuation.
Expert: Heather Kamins
Bio: Heather Kamins was diagnosed with lupus when she was 14 years old, and has dealt with kidney involvement, joint problems, medication side effects and other lupusrelated issues.
Filmmaker: Dimitri LaBarge

Grammar \u0026 Punctuation : When to Use a Dash vs. a Comma

VAR_024 – Linguistic Micro-Lectures: Scottish English


In this short microlecture, Marlene Helmling, one of Prof. Handke’s students, discusses the central features of Scottish English, a dialect of PDE.

VAR_024 - Linguistic Micro-Lectures: Scottish English

Commas


Learn how to use commas in English grammar.

Commas

ฝึกออกเสียง 40 ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐาน


ติดตาม Facebook Fanpage ครูเชอรี่ English Bright
https://www.facebook.com/cherry.englishbright
https://www.englishbright.net

ฝึกออกเสียง 40 ประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐาน

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ จุลภาค ภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *