Skip to content
Home » [Update] 7 เทคนิค เขียนอีเมล์ email ภาษาอังกฤษธุรกิจ ให้ฝรั่งร้องว้าว | ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[Update] 7 เทคนิค เขียนอีเมล์ email ภาษาอังกฤษธุรกิจ ให้ฝรั่งร้องว้าว | ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ: คุณกำลังดูกระทู้

วิธีเขียนอีเมล์ email ภาษาอังกฤษธุรกิจแบบมืออาชีพ

          การติดต่อประสานงาน และการเจรจาทางธุรกิจในปัจจุบันแทบจะหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้เลย โดยเฉพาะทักษะการเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจ อันกล่าวกันว่าเป็นหนึ่งใน Skill ปราบเซียนที่อาจทำให้กำแพงภาษาเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ แต่ท่านไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะบทความนี้มีตัวช่วย

          การเขียนอีเมล์ (email) ไม่ว่า Gmail หรือ Hotmail ในภาษาไทยเพียงลำพังก็ยากอยู่แล้วที่จะเรียบเรียงถ้อยคำให้กระชับ สวยงาม และเป็นทางการ ยิ่งต้อง เขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษ แล้วเป็น ภาษาอังกฤษธุรกิจ ด้วย อาจทำให้หลายคนอกสั่นขวัญผวากันไปตาม ๆ กัน กระนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีรูปแบบ (pattern) ที่หากเราเข้าใจเทคนิคหรือเคล็ดลับแล้ว ก็จะสามารถช่วยเพิ่มพูนความมั่นใจใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ มากขึ้นเป็นทบทวี หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น กลเม็ดมัดใจ (wow factor) ในการเขียน อีเมล์ ของเรา

          วันนี้ เราจึงขอเสนอ 7 เทคนิค เขียนอีเมล์ (Email) ภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นเซียน ที่ทำให้ฝรั่งผู้รับอีเมล์ของเราต้องร้องว้าวด้วยความชื่นชม แล้วเข้าใจผิดนึกว่าฝรั่งเป็นคนเขียนเลยทีเดียว พร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลย

 

Table of Contents

สารบัญ 

  1. เขียนอีเมล์ให้สั้นกระชับ (Always be brief)
  2. ใส่ข้อมูลติดต่อในอีเมล์ Signature ให้ครบถ้วน
  3. ตั้งหัวข้ออีเมล์อย่างเป็นมืออาชีพ
  4. ใช้วาทศิลป์ในการโน้มน้าวใจผู้รับอีเมล์
  5. ใช้ชั้นเชิงของภาษาให้เกิดประโยชน์ในการเขียนอีเมล์
  6. ใช้ภาษาเป็นทางการเท่าที่จำเป็นในอีเมล์
  7. ก่อนส่งอีเมล์ ให้ตรวจเช็คความถูกต้องของไวยากรณ์และการสะกดคำเสมอ
  8. สรุป

 

1.เขียนอีเมล์ ให้สั้นกระชับ (Always Be Brief)

          ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การเขียนอีเมล์ ไม่ใช่เรียงความหรือบทความที่เราจะต้องใส่เนื้อหาทั้งหมดลงไป เนื่องจากความสนใจและเวลาของผู้อ่านอีเมล์ของเรามีข้อจำกัด ฉะนั้น เราจึงต้องวางแผนให้ดีว่าต้องการให้คนที่อยู่ปลายทางรับรู้ เข้าใจ หรือทำอะไร ด้วยข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ก่อนอื่นให้เราถามตนเองก่อนว่าเราเขียนอีเมล์นี้ขึ้นมาเพื่ออะไร โดยอาจทำ Bullet point ง่าย ๆ ขึ้นมาบนกระดาษ เช่น

  • เราต้องการให้เขาทำอะไร
  • เราต้องการให้เขารับรู้หรือเข้าใจอะไร
  • ถ้าเราเป็นคนอ่าน เราต้องการอะไรจากอีเมล์ฉบับนี้
  • ถ้าเราเป็นคนอ่าน เราจะใช้เวลาเท่าไหร่ในการอ่านอีเมล์ฉบับนี้
  • ถ้าเราเป็นคนอ่าน ทำไมเราต้องหยุดอ่านอีเมล์ฉบับนี้ทันที

 

           พอเราทำ Bullet Point เสร็จแล้ว ก็ให้เราเขียนคำตอบสั้น ๆ กำกับลงไป เช่น เราต้องการให้เขาทำอะไร ถ้าเป็นจดหมายสมัครงาน ก็ต้องการให้ผู้อ่านพิจารณารับเราเข้าทำงาน หรือหากเป็นอีเมล์เสนอสินค้า เราก็ต้องการให้เขาเกิดความสนใจในสินค้าของเรา หรือ ถ้าเราเป็นคนอ่าน ทำไมเราต้องการอะไรจากอีเมล์ฉบับนี้ ในกรณีที่มีคนอีเมล์มาเสนอสินค้า เราก็ต้องการสรรพคุณ ข้อมูลโดยสังเขป และลิงก์ที่สามารถนำเราไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า รีวิว และรายละเอียดอื่น ๆ ได้ เมื่อวางแผนเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นลงมือเขียน

          หลักง่าย ๆ ของ การเขียนอีเมล์ ให้กระชับ คือ การจัดวางย่อหน้าให้มีความสำคัญลดหลั่นกันลงไป ย่อหน้าแรก ในกรณีที่เราไม่รู้จักผู้รับอีเมล์ ควรเป็นการแนะนำตัว ตำแหน่ง และจุดประสงค์ของการเขียนอีเมล์ดังกล่าว ย่อหน้าต่อมา ควรเป็นเนื้อหาหรือสารที่เราต้องการนำเสนอให้กับผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสินค้า/บริการ สิ่งที่เราต้องการให้ผู้รับอีเมล์กระทำหรือช่วยเหลือ และจบย่อหน้าสุดท้ายด้วยข้อความแสดงความขอบคุณ ช่องทางในการติดต่อ และลิงก์หรือช่องทางในการหาข้อมูลเพิ่มเติม เพียงแค่ 3 ย่อหน้า ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ก็จะทำให้เราเขียนอีเมล์คุณภาพขึ้นมาได้โดยใช้เวลาไม่นาน แถมยังสั้น กระชับ และตรงประเด็นอีกด้วย

 

เทคนิคการเขียนอีเมล์ สั้นกระชับ ตรงประเด็น ด้วย 3 ย่อหน้า

  • ย่อหน้าที่ 1 : แนะนำตัว จุดประสงค์ของการเขียนอีเมล์
  • ย่อหน้าที่ 2 : เนื้อหาสาระที่เราต้องการให้ผู้รับอีเมล์รับทราบ กระทำ หรือเกิดความสนใจ
  • ย่อหน้าที่ 3 : ข้อความแสดงความขอบคุณ ช่องทางในการติดต่อ และหาข้อมูลเพิ่มเติม

ตัวอย่าง การเขียนแนะนำตัวใน อีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ

          – Just a couple of lines to introduce myself. My name is Somchai and I am responsible for marketing for Srinak cooperation. I’m based in Chiang Mai.

          – Just a quick introduction: my name is Wittaya, I head up marketing business here in Lampang.

ตัวอย่าง การเขียนเนื้อหาสาระให้ผู้รับอีเมล์ทราบ

          – I am contracting you because we need to recruit some HR staffs for our office in Rayong.

          – I am now collecting information on what is currently in place and our customers would love to have. Given your role, I would love to pick your brains on this process.

ตัวอย่าง การเขียนแสดงความขอบคุณ และช่องทางในการติดต่อ

          – I look forward to hearing from you, please feel free to contact me via …[email protected] or simply call me at xxx-xxxx-xxxx

          – Thanks in advance, for more details, please call me xxx-xxxx-xxxx

 

2.ใส่ข้อมูลติดต่อใน Signature ให้ครบถ้วน

          ปัจจุบัน อีเมล์ ไม่ว่าจะเป็น Gmail หรือ Hotmail เราสามารถเพิ่มข้อมูลติดต่อ (contact information) ในส่วนของลายเซ็น (Signature) ได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะปรากฎอยู่ในอีเมล์ของเราตลอดโดยไม่ต้องเพิ่มใหม่ทุกครั้งที่ส่งอีเมล์ โดยหลัก ๆ แล้ว ข้อมูลติดต่อที่เราควรใส่ลงใน Signature ควรประกอบด้วย

  • ชื่อ – สกุล (Name)
  • ตำแหน่ง (Position)
  • บริษัท/สังกัด (Company
  • แผนก (Department/Division/Branch)
  • หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ทั้งมือถือและเบอร์ที่ทำงาน (Phone Number)
  • อีเมล์สำหรับติดต่อ (Email Address)
  • Line, Facebook, เว็บไซต์ และโซเชียลมีเดียที่ติดต่อได้

          ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใส่ในลายเซ็นอีเมล์ ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

          ตัวอย่าง ข้อมูลติดต่อใน Signature อีเมล์

                    วิรัช ธานี (Wirat Thani)

                    หัวหน้าแผนกครีเอทีฟ (Head of Creative Department)

                    บริษัท เพลินตาเพลินใจ มาร์เกตติ้ง (Pleon Ta Ploen Jai Marketing)

                    xxx-xxxx-xxxx   [email protected]

 

3.ตั้งหัวข้ออีเมล์อย่างเป็นมืออาชีพ

          หัวข้ออีเมล์เปรียบได้ดั่งประตูบานแรกสู่เนื้อหาที่เราต้องการเสนอแก่ผู้รับ หากเราตั้งใจเขียนอีเมล์อย่างถูกตั้งตามหลักการเป๊ะๆ แต่มาตกม้าตายที่ผู้รับไม่เปิดอ่านอีเมล์เพราะคิดว่าเป็นสแปมล่ะ เป็นความรู้สึกที่แย่มากเลยใช่ไหมล่ะ เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องพิถีพิถันกับการตั้งหัวข้ออีเมล์สักหน่อย อาจจะดูหยุมหยิมไปบ้าง แต่การตั้งหัวข้ออีเมล์ที่ดี เป็นมืออาชีพ และตรงประเด็นจะช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารกับผู้รับในระยะยาวไปได้ไม่น้อย โดยหลักแล้ว หัวข้ออีเมล์ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

  • ตรงประเด็นต่อผู้รับ
  • กระตุ้นให้ผู้รับอยากเปิดอีเมล์เราอ่าน
  • เตือนผู้รับว่าควรอ่านอีเมล์โดยเร็วหรือทันที่ได้รับ
  • ค้นหาง่ายในกล่องอีเมล์ขาเข้า (Mailbox)
  • สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา อ่านแล้วรู้ทันทีว่าเกี่ยวกับอะไร

 

          ตรงประเด็นต่อผู้รับ: หัวข้ออีเมล์ของเราควรมีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งหรือหน้าที่การงานของผู้รับ เช่น หากเราต้องการส่งอีเมล์สมัครงาน เราก็ควรต้องใส่คีย์เวิร์ด ‘สมัครงาน’ ลงไปในอีเมล์ของเราด้วย เพื่อสร้างความเกี่ยวข้องกับผู้รับ เมื่อเขาได้รับแล้วก็ต้องเปิดเพราะเป็นส่วนหนึ่งของงาน ไม่ใช่อีเมล์สแปมที่ไหน

          กระตุ้นให้ผู้รับอยากเปิดอีเมล์เราอ่าน: การตั้งหัวข้ออีเมล์ก็ไม่ต่างจากการตั้งชื่อบทความหรือชื่อคลิปวิดีโอที่เราต้องการให้คนเข้ามาอ่านหรือดูเยอะ ๆ แต่การกระตุ้นในที่นี่ไม่ได้หมายความจะต้องเรียกร้องความสนใจแบบ Click bait อะไรกันขนาดนั้น โดยเราอาจใส่ข้อความเชิงข้อร้อง please หรือ quick favor ให้ผู้รับเห็นว่าเราต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ หรืออยากให้เปิดอ่านอีเมล์ของเราจริง ๆ

          เตือนผู้รับว่าควรอ่านอีเมล์โดยเร็วหรือทันที่ได้รับ: เทคนิคนี้ขอเตือนไว้ก่อนว่าใช้ได้ แต่อย่าใช้บ่อย มิฉะนั้น จะสร้างความรำคาญต่อผู้รับอีเมล์มากกว่าการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ กรณีนี้เราอาจจะใส่คำว่า ‘Urgent!’ ไว้ข้างหน้าหัวข้ออีเมล์เพื่อแสดงความเร่งด่วนให้ผู้รับอีเมล์ร้อนใจอยากเปิดเข้ามาอ่านทันทีที่ได้รับ ทั้งนี้ เนื้อหาอีเมล์ของเราควรมีความสัมพันธ์กับหัวข้อด้วย ไม่ใช่ตั้งชื่อหัวข้อว่า ด่วน! แต่เปิดเข้ามาเป็นอีเมล์ขายถั่งเช่าก็คงไม่ใช่นะ

          ค้นหาง่ายในการกล่องอีเมล์ขาเข้า: การที่อีเมล์ของเราจะค้นหายากหรือง่ายใน Mailbox ของผู้รับนั้นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อคีย์เวิร์ดที่เราใส่ลงในหัวข้อของเรา เพราะฉะนั้น หัวข้อของอีเมล์เราควรมีคีย์เวิร์ดที่จัดประเภทหมวดหมู่ได้ง่าย เช่น [สมัครงาน] หรือ [เทคนิค SEO] ซึ่งช่วยให้ผู้รับที่มีความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดดังกล่าวสามารถ Search หาอีเมล์ของเราได้ง่าย โดยไม่จมหายไปในกองอีเมล์ Spam ต่าง ๆ นั่นเอง

          สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา อ่านแล้วรู้ทันทีว่าเกี่ยวกับอะไร: เช่นเดียวกับเนื้อหาอีเมล์ หัวข้ออีเมล์ของเราก็ควรที่จะมีความสั้น กระชับ ตรงไปตรงมา กวาดตาดูรวดเดียวก็รู้ได้เลยว่าเป็นอีเมล์เกี่ยวกับอะไร ต้องการอะไร และมีความเร่งด่วนขนาดไหน เช่น ถ้าเราจะส่งอีเมล์ไปสมัครงานในตำแหน่งหนึ่งเราก็ควรระบุให้ชัดไปเลยในหัวข้อว่าอีเมล์ของเราเกี่ยวกับอะไร ต้องการอะไร เช่น Wichai Pisut. Request for interview for position as SEO specialist เป็นต้น

        

4.ใช้วาทศิลป์ในการโน้มน้าวใจ

          นอกเหนือจากสไตล์ การเขียนอีเมล์ ให้อ่านง่าย กระชับ ได้ใจความ การใช้ระดับของสำนวนภาษาอังกฤษ และจิตวิทยาในการโน้มน้าวให้ผู้รับอีเมล์ยอมทำในสิ่งที่เราต้องการก็มีความสำคัญมากเช่นกัน แน่นอนว่า ชั้นเชิงการใช้ภาษาหรือทักษะความสามารถทางวรรณศิลป์ของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ มักจะมีรูปแบบการใช้ระดับของภาษาที่เป็นแบบแผน (pattern) อยู่พอสมควร ฉะนั้น เราสามารถนำแบบแผนดังกล่าวมาปรับใช้กับ การเขียนอีเมล์ ของเราได้ ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง การใช้ภาษาสำหรับการขอร้อง

          – I know that you are very busy but…

          – I really need your help to

          – Sorry to bother you but…

          – Any comments you may have, would be very much appreciated

          – I cannot sort this out by myself

 

ตัวอย่าง การใช้ภาษาเพื่อเน้นย้ำความสำคัญ

          – We would like to point out that

          – As far as we know

          – Please note that

          – May We take opportunity to

          – We also like to take this opportunity to bring to your attention…

ตัวอย่าง การใช้ภาษาสำหรับการนัดหมาย

          – Can we arrange a meeting on…

          – Would it be possible for us to meet on…

          – Let’s arrange to meet and we an discuss about this

ตัวอย่าง การใช้ภาษาเพื่อสอบถามรายละเอียดกับสินค้าและบริการ

          – We are considering buying

          – We urgently need

          – Could you also let us know if you are prepared to…

          – Will you please let us know whether you could supply…

          – Please send up price list for…

          – Could you send us further details of…

 

5.ใช้ชั้นเชิงภาษาให้เกิดประโยชน์ในการเขียนอีเมล์

          การใช้ชั้นเชิงของภาษาให้เป็น คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับการเขียนเพื่อประสานงานทุกชนิด ใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ บางครั้งเราต้องการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม ซึ่งในบางครั้งเราก็ต้องลองประมาณการความรู้สึกของผู้รับอีเมล์ด้วยเช่นกัน หากเราเป็นเขาเราจะรู้สึกอย่างไรขณะที่อ่านข้อความที่เราเขียนขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในบางครั้งเราอาจต้องใช้ชั้นเชิงของภาษาในการสื่อความให้สละสลวยและมีความสุภาพมากขึ้น ถือว่าเป็นการถนอมน้ำใจและจูงใจให้ผู้รับอีเมล์เกิดความรู้สึกต่อเรา ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง การใช้ชั้นเชิงภาษาในการแสดงความคิดเห็น

          แทนที่เราจะคอมเมนต์ว่า ‘Your assignment is okay’ เราอาจเขียนไปว่า ‘It’s looking really good and I like the way you’ve used statistics’

          หรือแทนที่จะเขียนตอบไปแบบสั้น ๆ ห้วน ๆ ว่า ‘It looks fine’ เราอาจลองเพิ่มถ้อยคำไปว่า ‘Overall it looks satisfying and the conclusions are quite obvious’

          เพียงเท่านี้เราก็สามารถซื้อใจผู้รับอีเมล์ของเราได้แล้ว เพียงแค่การเปลี่ยนหรือเพิ่มถ้อยคำอีกไม่กี่คำ เพราะการเขียนอีเมล์เป็นการสื่อสารทางเดียวโดยที่อีกฝ่ายไม่มีโอกาสได้เห็นสีหน้าท่าทางของเรา เพราะฉะนั้น เขาย่อมต้องมีการตีความถ้อยคำที่เราเขียน ในแง่ร้ายที่สุด อาจตีความผิดไปเลยก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ขอให้เราลองคิดถึงความรู้สึกของผู้รับอีเมล์ แล้วลองใช้เทคนิคชั้นเชิงภาษาปรับการเขียนอีเมล์ของเราให้ Soft มากขึ้น

 

6.ในอีเมล์ ให้ใช้ภาษาเป็นทางการเท่าที่จำเป็น

          แน่นอนว่าการใช้ภาษาทางการใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม หากเราได้รู้จักมักคุ้นกับผู้รับอีเมล์ของเรามาระดับหนึ่งแล้ว การใช้ภาษาแบบไม่เป็นทางการจะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นมิตรและสนิทใจมากกว่า ซึ่งช่วยให้การประสานงานราบรื่นและผ่อนคลายเหมือนเราคุยกับเพื่อนนั่นเอง ตัวอย่างการแปลงภาษาทางการ ให้อยู่ในรูปแบบไม่เป็นทางการก็มีอยู่ไม่น้อย ที่เราใช้ในการเขียนอีเมลหลักๆ ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง การเปลี่ยน ภาษาทางการ เป็น ภาษาไม่เป็นทางการ ในการเขียนอีเมล์

          – We have pleasure in confirming the acceptance of your order (เป็นทางการ)

            This is to confirm that your order has been accepted (ไม่เป็นทางการ)

          – It is necessary that I have the assignment by Monday (เป็นทางการ)

            Please could I have the assignment by Monday (ไม่เป็นทางการ)

          – You are requested to acknowledge this email (เป็นทางการ)

            Please acknowledge this email (ไม่เป็นทางการ)

ข้อสังเกต: จะเห็นได้ว่า การเขียนอีเมล์ ด้วยรูปแบบไม่เป็นทางการ นอกจากจะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นมิตรและเป็นกันเองแล้ว ยังช่วยให้อีเมล์ของเราสั้นลง น่าอ่านมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

 

7.ก่อนส่งอีเมล์ ให้ตรวจเช็คความถูกต้องของไวยากรณ์และการสะกดคำเสมอ

          สิ่งที่สำคัญที่สุดของ การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ คือ การตรวจเช็คความถูกต้องของไวยากรณ์และการสะกดคำต่าง ๆ เพราะการพิมพ์ผิดนอกจากจะแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดที่สร้างความเสียหายมหาศาลได้อีกด้วย โดยหลักแล้ว ก่อนที่เราจะส่งอีเมล์ ควรที่จะหยุดพักไว้ก่อนสักสองสามนาที เดินไปชงกาแฟหรือไปเข้าห้องน้ำ อย่าส่งหลังจากพิมพ์เสร็จทันที เพราะเราจะอยู่ใกล้กับตัวงานมากจนมองไม่เห็นข้อผิดพลาด หลังเขียนอีเมล์เสร็จให้เราทิ้งไว้สักพัก แล้วกลับมานั่งอ่านทวนทั้งหมดอีกครั้ง โดยมีจุดที่เราต้องให้ความสำคัญในการ รีวิวอีเมล์ของเราเราก่อนกดส่ง สรุปได้ดังนี้

  • ตรวจเช็คไวยากรณ์ว่าถูกต้องตามหลักภาษาอังกฤษหรือไม่
  • ตรวจเช็คคำผิด และการสะกดคำจาก Dictionary
  • คัดเกลาภาษาให้อ่านลื่นไหลมากขึ้น
  • เนื้อหาที่เราเขียนสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเขียนอีเมล์หรือไม่
  • หากเราเป็นผู้รับอีเมล์จะรู้สึกอย่างไรกับอีเมล์ฉบับนี้
  • ถ้าไม่รีบมาก ลองให้เพื่อนร่วมงานหรือคนรู้จักลองอ่านและให้ความเห็นดู

          หลังจากเราตรวจเช็คและรีวิวอีเมล์ของเราเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมตรวจเช็คว่าเราได้ใส่ข้อมูลติดต่อกลับลงใน Signature ครบถ้วนดีแล้วหรือยัง จากนั้นก็คลิก Send เพื่อส่งก็เป็นอันเสร็จภารกิจ ทางทีดี เราควร copy email ของเราหรือทำโฟลเดอร์แบบฟอร์มอีเมลที่เราเขียนขึ้นให้เป็นหมวดหมู่ คราวหน้าจะได้หยิบฟอร์มเก่ามาแก้ไขรายละเอียดเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและความสะดวกสบายใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษ เพื่อการติดต่อประสานงานมากขึ้นในอนาคต

 

สรุป

                     การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ ให้ฝรั่งที่เป็นผู้รับอีเมล์รู้สึกประทับใจในความเป็นมืออาชีพและทักษะชั้นเชิงการใช้ภาษาของเราไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย หากเราจับจุดและแบบแผนการเขียนอีเมล์ในแบบของเราได้ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำ เทคนิคการเขียนอีเมล์ 7 ประการข้างต้นไปปรับใช้กับหน้าที่การงานและการติดต่อประสานงานได้ไม่มากก็น้อย การเขียนอีเมล์เป็นภาษาอังกฤษ อาจเป็นสิ่งที่ดูน่ากลัวสำหรับใครหลายคน แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อเราตั้งใจและทุ่มเทเวลาให้กับมันแล้ว ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้อย่างแน่นอน จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

          หากท่านใดยังไม่มี อีเมล์สำหรับใช้งาน ก็สามารถ สมัครอีเมล์ใหม่ Gmail และ สมัครอีเมล์ใหม่ Hotmail ได้แบบง่ายๆ ด้วยการทำตามขั้นตอนที่เราได้เรียบเรียงไว้ ใช้เวลาไม่เกิน [2 นาที] ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

 

แถมเพิ่มเติม

คำลงท้าย สำหรับการเขียน อีเมล์ ภาษาอังกฤษธุรกิจ

คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ แบบมาตรฐาน

– Best regards

– Kind regards

– Regards

– With Best regards

คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ แบบไม่เป็นทางการ

– Cheers

– Have a nice weekend

– Hope to hear from you soon

-All the best

คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ สำหรับการติดต่อธุรกิจ

– Yours truly

– Yours faithfully

– Sincerely yours

– Yours sincerely

                   

ข้อมูลอ้างอิง: Email and Commercial Correspondence – Adrian Wallwork

Tag: การเขียนอีเมล์, การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษ, การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ, สมัครอีเมล์ใหม่, สมัครอีเมล์ใหม่ Gmail, สมัครอีเมล์ใหม่ Hotmail, คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ 

[Update] เทคนิคเขียนภาษาอังกฤษ ให้เป๊ะเหมือนฝรั่งเขียนเอง!(ไม่ยากอย่างที่คิด คุณก็ทำได้) | ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

พูดถึงการเขียน แม้จะเป็นภาษาไทย ก็ยากแล้วสำหรับหลายๆ คน และถ้าอยู่ดันในสถานการณ์ที่ต้อง เขียนภาษาอังกฤษ ล่ะ เราจะทำยังไงดีนะ? 

ถ้าคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์นี้และรู้สึกไม่มั่นใจกับการเขียน วันนี้เรามีตัวช่วยดีๆ มาฝากกันค่ะ

ไม่ว่าคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์แบบไหน เขียน Essay เขียนเรียงความ เขียนบทความ เขียนอีเมล เขียนจดหมาย เขียน Landing Page เขียนขายของ เรามี Tips ดีๆ มาฝากที่สามารถประยุกต์ได้หลากหลายค่ะ

ก่อนอื่นขอแนะนำตัวซักนิดนึงนะคะ ตัวเรานั้นเรียนโรงเรียนไทยมาทั้งชีวิต และยังไม่เคยมีโอกาสได้ไปเรียนหรือใช้ชีวิตในต่างประเทศนานๆ มาก่อน แต่เพราะมีสิ่งที่อยากทำหลายอย่าง ที่ผ่านมาเคยทำโปรเจกต์ร่วมกับชาวต่างชาติ เขียนข่าว เขียนบทความภาษาอังกฤษ และล่าสุดก็ได้ร่วมก่อตั้ง Justoneclub.com เป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าสำหรับคนที่รักการพัฒนาตัวเอง และตั้งเป้าขยายกลุ่มลูกค้าในหลากหลายประเทศทั่วโลก

ที่สำคัญคือไม่ยากอย่างที่คิด เพราะสมัยนี้มีเครื่องมือและเทคโนโลยีมากมาย ส่วนใหญ่เริ่มต้นใช้งานได้ฟรีด้วยค่ะ บทความนี้จะเน้นแนะนำเครื่องมือสำคัญๆ ที่มีประโยชน์ น่าเชื่อถือ ใช้แล้วช่วยเราได้เยอะมากๆ

แนะนำเครื่องมือช่วยเขียนภาษาอังกฤษ

เครื่องมือช่วยตรวจเช็คแกรมม่าและการสะกดคำ

Grammar หรือ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่คนไทยเรียนมากันเยอะที่สุดแล้ว แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะเขียนได้อย่าง Perfect หมดจดไม่มีที่ติ บางครั้งเราทราบแต่ก็อาจจะเผลอสะกดผิดบ้าง เช่น ลืมเติม s ต่อท้าย verb

Grammarly ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีเวอร์ชันใช้งานฟรี และรองรับการใช้งานบนหลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชัน..

  • Native app บนเครื่อง Mac

  • Add-in สำหรับโปรแกรม Microsoft Office บน Windows

  • Web application สามารถใช้งานได้เลยบนเว็บบราวเซอร์ ไม่จำกัด OS

หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นดังภาพนี้

เขียนภาษาอังกฤษ เช็คแกรมมาร์ grammarly

Grammarly มันสามารถช่วยเช็คแกรมมาร์ให้เรา พร้อมแนะนำวิธีแก้ไขให้ เราสามารถเขียนเอกสารในโปรแกรม หรือจะ Import ไฟล์ Word (.docx) เข้าไปก็ได้ แล้วมันก็จะช่วยเช็คให้ว่าเราพลาดตรงไหนบ้าง พร้อมบอกเราว่าต้องปรับยังไง รูปด้านล่างคือตัวอย่างผลลัพธ์หลังจากที่เราอัปโหลดไฟล์ Press Release ที่เราเคยเขียนใน Microsoft Word เข้าไป

use-grammarly-for-techsauce-press-release

ตามรูปคือ มันช่วยบอกเราว่าเรามีจุดที่ลืมเติม s อยู่ และมีจุดที่ลืมเติมคำนำหน้า ในที่นี้โปรแกรมช่วยแนะนำให้ด้วยว่า ควรใช้คำว่า the

นอกจากการแปะข้อความ หรืออัปโหลดไฟล์แล้ว อีกเรื่องสำคัญที่อยากชี้คือ Grammarly ยังมีเวอร์ชัน Google Chrome Extension และ Firefox Add-on ด้วยนะ ซึ่งความหมายคือ มันจะช่วยเช็คแกรมมาร์ให้ทุกๆ การพิมพ์ของเราเวลาเราเล่นอินเทอร์เน็ตเลย!

ตัวอย่างนี้คือการติดตั้งบน Chrome และกำลังเปิดหน้าอีเมลเอาไว้อยู่ มันจะถามเราว่าอยากให้เช็คข้อความในอีเมลไหม? นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเหมือน Dictionary อังกฤษ-อังกฤษ ช่วยแสดงผล Definition และ Synonym ในตัวได้อีกด้วย

grammarly-on-browser

 

Shifu แนะนำ

การติดตั้งบน Browser นั้นสะดวกมากๆ เพราะแปลว่าไม่ว่าจะเป็นอีเมล เขียนสเตตัสเฟซบุ๊ก

เขียนบล็อก

บน

WordPress

มันก็จะตามอ่านและให้คำแนะนำกับเรา แน่นอนว่ามันสะดวกมาก แต่ก็อาจจะสูญเสียความเป็นส่วนตัวของข้อมูลไปบ้าง แม้ใน Policy จะระบุว่าเขาจะไม่แชร์ข้อมูลให้ปาร์ตี้ที่สามก็ตาม แต่ตัวโปรแกรมเอง ก็มีการเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อการปรับปรุง Product อันนี้ก็แล้วแต่ทางผู้ใช้จะลองพิจารณาดูค่ะ

เครื่องมือช่วยเช็คความอ่านง่ายของการเขียน

บางทีเรื่องที่คนกังวลอาจจะไม่ใช่เรื่องของ Grammar แต่อาจจะเป็นเรื่องการสื่อสารให้ตรงประเด็น ถ้าคุณเขียนแล้วประโยคออกมางงๆ เช่น รูปประโยคซับซ้อนเกินไป เครื่องมืออีกตัวที่คุณใช้ช่วยได้คือ Hemingway สามารถใช้งานได้เลยในเว็บไซต์ หรือจะโหลด Desktop App ก็ได้

ภาพด้านล่างนี้สาธิตการใช้งาน Hemingway มันสามารถไฮไลท์บอกได้ว่าการเรียบเรียงให้ง่ายต่อการอ่าน (Readability) ของข้อความของเรานั้น ทำได้ดีแค่ไหน รวมถึงช่วยไฮไลท์จุดที่คุณควรลองดูเพื่อปรับให้มันง่ายขึ้น โดยเฉพาะประโยคที่ได้รับไฮไลต์สีเหลืองและสีแดง คือประโยคที่ค่อนข้างเป็นรูปประโยคที่ซับซ้อน 

เครื่องมือนี้จึงค่อนข้างเหมาะกับงานเขียนบทความออนไลน์ในภาษาอังกฤษทั่วๆ ไป ซึ่งความง่ายในการอ่านเป็นเรื่องสำคัญ มากกว่าความสวยหรูของประโยค แต่เราอยากบอกว่า ไม่ต้องถึงกับยึดตามคำแนะนำมากก็ได้ เพราะมันจะแนะนำให้เราไม่ใส่ Adverb หรือ Passive voice เยอะเกินไป (ซึ่งเขาถือว่ามันทำให้ประโยคซับซ้อน แต่จริงๆ แล้วสองอย่างนี้ก็มีประโยชน์มากในการแต่งประโยค) โดยส่วนตัวเรามองว่าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับใช้ช่วยเช็คคร่าวๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ

คิดชื่อเรื่องบทความภาษาอังกฤษดีๆ ไม่ออก

“ชื่อดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” พวกเราได้เคยเขียนแนะนำการตั้งชื่อบทความไปตั้งแต่บล็อกแรกๆ การตั้งชื่อสำคัญมากเพราะมันเป็นสิ่งแรกที่คนเห็น แต่ก็ยากไม่ใช่เล่นเลย แล้วทีนี้ถ้าเราต้องเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษล่ะ ถามว่ามีอะไรที่พอเข้ามาช่วยเราได้บ้างไหม ข่าวดีคือมีค่ะ และลิงก์เหล่านี้คือเครื่องมือที่สามารถใช้ช่วยได้

Shifu แนะนำ

อันที่จริงแล้วเครื่องมือเหล่านี้ทำขึ้นเพื่อช่วยนักเขียนที่เริ่มคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไรดี ไว้ใช้หาไอเดียในการเขียนบล็อกได้ ซึ่งคุณผู้อ่านเองก็สามารถใช้ในการหาไอเดียได้เช่นกัน แถมเมื่อได้ไอเดียแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังช่วยให้ได้เห็นไกด์ไลน์ หรือสไตล์การตั้งชื่อบทความ ที่นักเขียนสากลนิยมใช้อีกด้วย

บทความภาษาอังกฤษ

ภาพด้านบนนี้แสดงตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จาก HubSpot‘s Blog Topic Generator เมื่อขอไอเดียในการเขียนเรื่อง Inbound Marketing หรือ Blogging ก็จะเห็นสไตล์การตั้งชื่อบทความภาษาอังกฤษ ว่านิยมเขียน Copywriting กันในรูปแบบไหน

ช่วยเขียน Rewrite หรือ Paraphrase เพื่อให้สละสลวยขึ้น

หลายๆ ครั้ง ความยากในการสื่อสารไม่ใช่เรื่องความถูกผิดของภาษา แต่เป็นเรื่องระดับภาษา ว่าที่เขียนมามันสละสลวยไหม ภาษาออกมาเป็นโทนที่เราต้องการสื่อสารหรือเปล่า โดยส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยากยิ่งกว่า ถูก หรือ ผิด เยอะเลยค่ะ

โชคดีที่ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยี AI ช่วยเขียนคอนเทนต์ภาษาอังกฤษ ออกมาเป็น Products ให้เราเลือกใช้ ซึ่งเจ้า AI เหล่านี้สามารถช่วยแนะนำการเขียนให้กับเราได้ค่ะโดยตัวที่อยากจะขอแนะนำ มีชื่อว่า Quillbot เป็นอีกตัวที่สามารถเริ่มต้นใช้ได้เลยฟรี

จากหน้าจอเมนู Paraphraser นี้ จะเห็นว่าเราสามารถเลือก Mode การเขียนได้แบบ เช่น โหมดแบบครีเอทีฟ โหมด Formal (เป็นทางการ) โหมดเขียนให้สั้นเอง (เดิมเขียนยาวไป อยากย่อ) โหมดเขียนยาวๆ (เดิมเขียนสั้นไป อยากขยาย) เป็นต้น

ช่วยแนะนำการเขียนตามวัตถุประสงค์

อีกหนึ่งความโหดของ AI Content Writer ในปัจจุบัน คือการพัฒนาให้ช่วยแนะนำการเขียนตามวัตถุประสงค์ได้ ซึ่งเดี๋ยวเราจะนำมารีวิวให้ดู พร้อมๆ กับแชร์เทคนิคการเขียนตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ในหัวข้อถัดไปให้ด้วยค่ะ

แชร์เทคนิคการเขียนภาษาอังกฤษ

เครื่องมือส่วนใหญ่ที่ได้แนะนำไป สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันก็มีเครื่องมือแบบเฉพาะกิจด้วย  และนอกจากเรื่องเครื่องมือแล้ว ความจริงการรู้จักและเข้าใจ “หลักการสื่อสาร” ที่เหมาะสมกับรูปแบบนั้นๆ คืออีกหัวใจที่สำคัญไม่แพ้เรื่องทักษะด้านภาษาโดยตรงค่ะ

เขียนเมลภาษาอังกฤษ

ปัจจุบัน Email provider ต่างๆ เริ่มมีฟังก์ชัน Quick reply หรือฟังก์ชันแนะนำการเขียนมาให้ใช้งาน ถ้าใครใช้ Gmail อยู่ จะพบว่าเมื่อเราเริ่มพิมพ์ลงไป มันจะสามารถแนะนำคำหรือประโยคที่เป็นที่นิยมเขียนมาให้ด้วย (เรียกว่า Smart compose feedback) หลังจากที่ลองใช้มาสักระยะ คิดว่า AI นี้ของ Gmail เก่งใช้ได้เลยค่ะ แนะนำภาษามาได้ตรงกับรูปแบบภาษาที่นิยมใช้เขียนในอีเมลกัน

อย่างเช่นช่วงที่ขึ้นต้นประโยคแรกๆ ในอีเมล คนนิยมเขียนเพื่อตอบรับอีกฝ่าย เช่น ในที่นี้เขาแนะนำมาเป็น It’s good to hear from you.

หรือช่วงปิดท้ายอีเมล เมื่อมีคำว่า Look ขึ้นประโยคมา Gmail ก็เดาทางต่อว่าเราน่าจะอยากเขียนประโยคนี้

โดยรวมแล้วจึงทำให้การเขียนอีเมลง่ายและเร็วขึ้นค่ะ โดยปกติจะเราเองก็จะเขียนใน Gmail ลงไปเลย และตรวจสอบเพิ่มเติมด้วย Grammarly ต่ออีกหน่อย

Shifu แนะนำ

ความจริง Gmail มีฟีเจอร์ Check spelling ด้วยค่ะ ถ้าเข้าบน Desktop จะอยู่ในเมนูสามจุดด้านซ้ายล่าง ได้ลองใช้แล้ว พบว่าสามารถตรวจสอบการเขียนผิดได้เบื้องต้น แต่ยังตรวจได้ละเอียดไม่เท่า Grammarly เช่น การเช็คว่าคำนามนี้ ต้องต่อท้ายด้วย s หรือไม่ต้อง ด้วย ed หรือไม่ต้อง

อีกเรื่องที่อยากแนะนำเพิ่มเติมคือ แม้โปรแกรมต่างๆ จะช่วยเช็คและแนะนำได้เบื้องต้น แต่การเขียน Effective email นั้น เป็นเรื่องที่ผู้เขียนจะต้องเรียนรู้ตัวอย่างดีๆ เพิ่มเติมกันต่อด้วยนะคะ โดยปกติแล้วอีเมลควรเขียนด้วยรูปประโยคที่อ่านเข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้ Complex sentence (ซึ่งใช้ Hemingway ช่วยดูได้ค่ะว่า Complex เกินไปหรือเปล่า) อีเมลควรชัดเจนว่าอยากบอกอะไร Next step คืออะไร เป็นต้น

การเขียนบทความภาษาอังกฤษ

จริงอยู่ที่ AI Content Writer เหล่านี้รองรับความสามารถในการเขียนบทความแล้ว โดยสามารถนำเสนอได้ถึงระดับไอเดียหัวข้อบทความ รวมไปถึง Outline ก็ทำได้โอเคเลย อย่างในเคสนี้คือเราแค่ใส่ประเด็นลงไปว่า ‘English Writing’ โปรแกรมก็แนะนำชื่อบทความและ Outline มาเสร็จสรรพ

ทั้งนี้ เราไม่แนะนำวิธีนี้เท่าไรนะคะ เราคิดว่าดูเป็นไอเดียได้ แต่คนเขียนควรจะเป็น Leader ที่กำหนดทิศทางด้วยตัวเอง โดยปกติเราจะเขียนบทความขึ้นมาด้วยตัวเอง แล้วใช้โปรแกรมในการช่วยตรวจสอบ ช่วย Paraphrase บางประโยค

อีกเรื่องคือ บางคนชอบเขียนบทความเป็นภาษาไทยแล้วเอาไปแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย Google Translate จากนั้นก็อาจจะใช้โปรแกรม Paraphrase ต่อ วิธีนี้ก็ทำได้ แต่โดยส่วนตัวยังเชียร์ให้คิดและเขียนด้วยตัวเองเป็นภาษาอังกฤษเลยแต่แรก จะดีที่สุดค่ะ

Shifu แนะนำ

ถ้าคุณยังเป็นมือใหม่ในเรื่องการเขียนบทความ อาจเริ่มต้นฝึกเขียนบทความในภาษาที่ตัวเองถนัดก่อน และถ้าอยากเรียนรู้วิธีการและเทคนิคการเขียนบทความตั้งแต่มือใหม่จนฝึกเป็นมืออาชีพ ขอแนะนำ คอร์สเรียน Content Writing for Beginners คอร์สนี้ และ คอร์ส Digital Copywriting สำหรับการเขียนก็อปปี้ค่ะ

การเขียน Essay หรือเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ

สำหรับการเขียน Essay หรือ เรียงความ คำแนะนำจะไม่ต่างกับการเขียนบทความมากนัก แต่ขอให้บริบทเพิ่มเติมคือ ในการเขียนบทความเพื่อลงในบล็อกต่างๆ ความง่ายในการอ่านจะมีความสำคัญ ในขณะที่เรียงความหรือ Essay มักจะใช้ในเชิงวิชาการ เช่น เพื่อการสมัครเรียนต่อ อาจต้องการรูปประโยคที่สละสลวยและโชว์ความ Advanced English มากกว่า

ในบริบทที่เราเคยเขียน Essay จริงจังเพื่อสอบชิงทุน เราจะไม่ได้ใช้เพียงแค่ตัวเอง+AI Tools แต่จะขอรับ Feedback จากเพื่อนๆ คนอ่านและผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมด้วย

เขียน Copywriting หรือข้อความเพื่อการตลาด

ในบรรดา Use Case ทั้งหมด โดยส่วนตัวคิดว่าอันนี้ยากที่สุดสำหรับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา เพราะ Copywriting เป็นเรื่องของการกระตุ้นความสนใจ ซึ่งความถูกต้องของภาษาไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ประเด็นคือความน่าสนใจ เรายังคงใช้หลักการเดียวกันกับการเขียน Digital Copywriting ภาษาไทย ตามที่เราเองก็เคยทำคอร์สเรียนสอน แต่สิ่งที่ทำเพิ่มก็คือมีการใช้ AI Writer ช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะใน Use Case ที่ต้องการนำไปใช้งานจริง

Shifu แนะนำ

โปรแกรมที่ชื่อ Writesonic เป็นตัวที่เราพบว่ามีฟีเจอร์เพื่อการเขียนขายของและเขียนเพื่อการตลาดเยอะดีค่ะ เลือกได้ว่าต้องการเขียนสำหรับ Channel ไหน เลือกได้ทั้ง Facebook Ads, Google Ads, LinkedIn Ads, Ecommerce Copy, YouTube Copy เป็นต้น

นอกจากนี้ที่ขาดไม่ได้คือการศึกษาดูงานต่างๆ เพราะก็อปปี้เป็นเรื่องของความครีเอทีฟ เราไม่ได้เชื่อใจโปรแกรมอย่างเดียว 100% แต่ Research ดูคนอื่นๆ ที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันว่าเขาเขียนกันประมาณไหน กลุ่มเป้าหมายของเราใกล้เคียงกันกับใคร เป็นต้น

เกร็ดน่ารู้เพิ่มเติม

ใจเย็นๆ ค่อยๆ ฝึกที่ละสไตล์

แม้ว่าเราจะเคยมีประสบการณ์เขียนบทความสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษก่อนหน้ามาบ้างแล้ว แต่เราก็ยังคงใช้เวลาปรับตัวไม่น้อยตอนเราเริ่มต้นเขียนบทสัมภาษณ์สไตล์แบบไม่เป็นทางการ เรายังไม่ชินกับแนว Lifestyle (สำหรับภาษาอังกฤษ) เพราะเดิมทีที่ประสบการณ์จากรั้วมหาวิทยาลัย จะเน้นสาย Acedemic writing มากกว่า ตอนนั้นเราจึงต้องปรับตัวนิดนึง อ่านบล็อกแนวไลฟ์สไตล์มากขึ้น

ตอนที่ต้องเขียนแนว PR ก็เช่นกัน เราต้องเรียนรู้ใหม่เยอะมาก มันจะใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าฝึกเรื่อยๆ คุณจะเก่งขึ้นจริงๆ นะ

ฝึกให้ครบ ฟัง พูด อ่าน เขียน ในชีวิตประจำวัน

ถึงแม้งานของเราจะเน้นที่การเขียนเป็นหลัก แต่เราก็ยังพบว่าการฝึกฟังและพูดนั้นมีส่วนช่วยด้วย หลักๆ แล้วมันช่วยให้เรา “คิดเป็นภาษาอังกฤษ” มากขึ้น นั่นเอง คอนเทนต์ที่ทำมาเพื่อการฟัง เพื่อการพูด การอ่าน การเขียน ก็มีความแตกต่างกันไป เพิ่มความหลากหลายของสไตล์เข้าไปในสมองมากยิ่งขึ้น

เริ่มต้นที่ไดอารี่สั้นๆ

จุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนของเรา อันที่จริงแล้วมันคือสเตตัสบน Facebook นั่นเอง ซึ่งเราเขียนแบบกึ่งไดอารี่ เมื่อเราเปรียบเทียบสเตตัสเก่าๆ กับสเตตัสใหม่ๆ เราก็เห็นว่าตัวเองเขียนดีขึ้นจริงๆ  หากอยากฝึกภาษาอังกฤษก็สามารถลองเริ่มจากสเตตัสภาษาอังกฤษก็ได้นะ หรือจะเขียนเก็บไว้ดูเอง เป็นไดอารี่สั้นๆ ก็ได้ค่ะ Seth Godin ก็เป็นคนนึงที่เขียนบล็อกแล้วมีคนติดตามเยอะมาก แม้ว่าบล็อกของเขาจะเป็นสไตล์ไดอารี่สั้นๆ ก็ตาม

หาคนช่วยตรวจ

วิธีการจัดการกับความไม่มั่นใจที่ดีที่สุด คือการหาคนช่วยตรวจ ถ้าให้ดี ควรเป็นคนที่สามารถแลกเปลี่ยนกันและกันได้ คือ คุณขอเขาช่วยเล็กๆ น้อยๆ  และเขาก็ขอคุณช่วยบางอย่างเล็กๆ น้อยๆ เช่นกัน

แต่ก่อนจะหาคนตรวจ ให้อากู๋ Google ช่วยตรวจให้ด้วยก็ได้ แทบทุกครั้งที่เขียน เรามักจะมีคำที่ไม่แน่ใจเรื่องวิธีการใช้ ซึ่งเราก็สามารถศึกษาการใช้คำเหล่านี้ก่อน โดยการเซิร์จอ่านเอาได้ อย่างเรื่อง Preposition มักจะเป็นเรื่องที่คนไทยใช้ผิดบ่อย เช่น Interested ต้องใช้คู่กับ in; I am interested in marketing ไม่ใช่ I am interested about marketing เป็นต้น

ทดสอบภาษาอังกฤษ

สำคัญคือต้อง ‘รู้’ ว่าตัวเอง ‘ไม่รู้’ อะไร

สำคัญสุดคือตัวคอนเทนต์

ภาษา คือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร และเครื่องมือน้ันมีไว้ให้ใช้งาน ไม่ได้มีไว้ให้กลัว

ภาษาเป็นเครื่องมือนึง แต่สาระจริงๆ คือตัวคอนเทนต์ ครั้งหนึ่งเราจะเขียนบทความเกี่ยวกับซอฟแวร์สัญชาติญี่ปุ่นตัวหนึ่ง เราหาข้อมูลภาษาอังกฤษไม่ได้เลย จึงตัดสินใจหาเป็นภาษาญี่ปุ่น แล้วใช้ Google Translate ช่วยแปลเอา ผลลัพธ์การแปลอาจจะยังไม่ใช่ภาษาอังกฤษที่สมบูรณ์เพอร์เฟกต์ แต่เมื่อเราได้อ่านแล้ว เราก็พึงพอใจกับเนื้อหา และพบว่าบทความนี้มีคุณค่ากับเรา ในการทำงานเองก็เหมือนกัน ถ้าเชื่อว่าตัวเองมีเนื้อหาที่ดี ก็ลงมือเลย ภาษาเดี๋ยวค่อยๆ พัฒนากันไปได้

สรุป

บทความนี้เราเขียนโดยแบ่งเป็นเคสการใช้งานหลักๆ ที่หลายๆ คนต้องเจอในการเขียนภาษาอังกฤษ โดยเน้นการแนะนำโปรแกรมต่างๆ รวมถึงแนะนำความคิดเห็นเพิ่มเติมจากประสบการณ์ส่วนตัว ยังไงก็ตาม การเรียนภาษาอังกฤษและฝึกเขียนฝึกใช้บ่อยๆ ยังคงเป็นพื้นฐานความรู้ที่สำคัญมากๆ ที่เราไม่อยากให้ละเลยกัน

หวังว่าบทความจะมีประโยชน์เพื่อให้คุณพร้อมลุยตลาด International ไปด้วยกันนะคะ 🙂

ตาคุณแล้ว

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว ขอให้คุณลองเริ่มต้นเขียนภาษาอังกฤษ เริ่มจาก Caption สเตตัสต่างๆ ไล่ไปสู่ไดอารี่ จนกระทั่งเขียนบทความภาษาอังกฤษได้ และอย่าลืมเข้าไปดูเครื่องมือต่างๆ ที่เราแนะนำและลองใช้ดูนะคะ

ใครที่ได้ลองเล่น ลองใช้ ลองทำตามแล้ว เป็นยังไงกันบ้างคะ? นำสิ่งที่คุณได้เรียนรู้หรือได้ลอง มาแชร์ความรู้ด้วยกันได้ที่คอมเมนต์ใต้บทความนี้เลยค่ะ 🙂

New call-to-action


แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ


แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษกลับหัวสำหรับแฟนหนัง \”ฝนตกขึ้นฟ้า\”\r
\r
http://www.facebook.com/headshotmovie

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

เขียน E-mail ภาษาอังกฤษให้ดูโปรขึ้น ด้วย 4 อย่างนี้ !!


P.S. ทุกคนนนน ทั้ง 4 อย่างนี้ไม่มีอะไรตายตัวน้าา
ไม่จำเป็นต้องมีทุกอัน หรือต้องเป็นตามตัวอย่างนี้เท่านั้นก็ได้น้า
ลองเอาไปปรับใช้ตามที่เหมาะกับเราได้เลยยย
___________________________________________
เรียนภาษาสำหรับ “การทำงานและธุรกิจ” โดยเฉพาะ กับเรา

English for Career Development เรียนอังกฤษ ติดเทอร์โบ พูดได้โปรเติบโตในงาน
https://www.farangangmor.com/course/englishforcareerdevelopment/
หรือเรียนบน SkillLane: https://www.skilllane.com/courses/EnglishforCareerDevelopment

_______________________
คอร์สอื่นๆของฝรั่งอั่งม้อ
Think in English คิดเป็นภาษาอังกฤษ พูดได้คล่องไม่ต้องท่องจำ
https://www.farangangmor.com/course/thinkinenglish/
พูดฝรั่งได้ดั่งเสก Online Course
https://www.farangangmor.com/course/speaklikemagic/
PRONUNCIATION พูดเหมือนเด๊ะ ออกเสียง เป๊ะเวอร์
https://www.farangangmor.com/course/pronunciation/
CONVERSATION สนทนาลื่นไหล มั่นใจร้อยเปอร์
https://www.farangangmor.com/course/conversation/
Speak Brilliantly Excel at Public Speaking \u0026 Presentation in English
พรีเซ้นต์เป็นภาษาอังกฤษ ได้โดดเด่น โดนใจ เป็นมืออาชีพ!
https://www.farangangmor.com/course/speakbrilliantly/
Teach English It’s Cool สอนภาษาออนไลน์ได้ด้วยหลักสูตรนี้
https://forms.gle/WzX8gZdwyS3QhM7s5
____________________________________________
เมนูหลัก:
1. จากใจครูคะน้า
https://www.facebook.com/KanaFarangAngmor/photos/a.681816342274311/681816408940971?type=3\u0026sfns=mo
2. ความปลื้มใจของคุณครู (ข้อความจากนักเรียนที่น่ารักของเรา)
https://www.facebook.com/KanaFarangAngmor/photos/?tab=album\u0026album_id=682186882237257
________________________________
ติดตามเราในช่องทางต่างๆ ให้ไม่พลาด content แบบนี้📱❤️
Facebook: ฝรั่งอั่งม้อ
https://www.facebook.com/KanaFarangAngmor/
IG: farang_angmor
https://www.instagram.com/farang_angmor/
LINE: @farangangmor
https://lin.ee/cjP5cGv
Tiktok: @farangangmor
https://vt.tiktok.com/A5GEg6/
Website:
http://farangangmor.com/

เขียน E-mail ภาษาอังกฤษให้ดูโปรขึ้น ด้วย 4 อย่างนี้ !!

วิธีเทียบอักษรภาษาอังกฤษเป็นไทยง่ายๆ | เขียนชื่อภาษาอังกฤษ


เรียนปูพื้นฐานภาษาอังกฤษ แบบง่ายๆ ด้วย Alphabets ซึ่ง alphabet (แอล’ ฟาเบท) หมายถึง อักษรพยัญชนะ, อักขระ, ระบบตัวอักษร นั่นเองครับ โดยตัวอักษรในภาษาอังกฤษมี 26 ตัว ครับ สระมี 5 และถ้าไปผสมตัวอื่นๆ ที่ได้บอกไว้ใน VDO ก็จะมีเสียงสระเยอะขึ้นนะครับ ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์
การเทียบเสียงอักษร ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สระ พยัญชนะ ประสมคำ สะกด ชื่อ นามสกุล
ค. ควาย นะครับอ่านผิดไป
เรียนออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษฟรี
📌 ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ถามตอบ ประโยคพื้นฐานใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน
👉 https://www.youtube.com/watch?v=IHuKZYgki4\u0026t=5s
📌 ฝึกอ่านแปลภาษาอังกฤษ เข้าใจง่าย เรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน
👉 https://www.youtube.com/watch?v=URCUv47gnc8
📌 ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ตั้งปณิธานเรื่องที่จะทำในปีใหม่ New Year’s Resolutions
👉 https://www.youtube.com/watch?v=AWo2r51ZLFA\u0026t=10s
📌 เรียนภาษาอังกฤษฟรี ดูโครงสร้างภาษาอังกฤษ ฝึกพูดพร้อมตัวอย่างประโยค
👉 https://www.youtube.com/watch?v=UgGf1QS7O6s
📌 5 โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ (English sentence structures)
👉 https://www.youtube.com/watch?v=iGS5sPRefdA\u0026t=82s
📌 ประโยคอวยพรปีใหม่ ภาษาอังกฤษ พร้อมคำอ่านและแปลภาษาไทย
👉 https://www.youtube.com/watch?v=BYqot65xu6k
📌วิธีใช้ Used to, Be used to และ Get used to (เคย และ เคยชิน)
👉https://www.youtube.com/watch?v=in1gK2AAi9Q\u0026t=3s
📌 Whenever, Whatever, Whoever, However, Whichever | ใช้ยังไง
👉 https://www.youtube.com/watch?v=AnATbRFCE
📌 How far/How much/How many/How long/ ใช้อย่างไร และแปลว่าอย่างไร ภาษาอังกฤษ
👉 https://www.youtube.com/watch?v=AnATbRFCE
📌 เรียนภาษาอังกฤษ Do, Does, Did, Done | แปลว่าอย่างไร เข้าใจง่ายพร้อมตัวอย่าง
👉 https://www.youtube.com/watch?v=JrNKYd2YFzg\u0026t=2s

วิธีเทียบอักษรภาษาอังกฤษเป็นไทยง่ายๆ | เขียนชื่อภาษาอังกฤษ

10 วิธีง่ายๆ ในการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่สามารถฝึกได้ทุกวัน


ใครที่กำลังฝึกเขียนภาษาอังกฤษอยู่หรือวางแผนว่าจะฝึก มาดู 10 วิธีการพัฒนาทักษะการเขียนง่ายๆ ที่เราได้จากหนังสือ 100 Ways To Improve Your Writing เขียนโดย Gary Provost
อ่านบทความแบบเต็มๆ ได้ที่ https://bit.ly/2WuO2Ti

ติดตาม Bloombuzz ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
Instagram: https://instagram.com/bloombuzzco
Twitter: https://twitter.com/bloombuzzco
Facebook: https://www.facebook.com/bloombuzzco
Medium: https://medium.com/@bloombuzz

ติดตาม Bloombuzz Reads ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
Instagram: https://instagram.com/bloombuzzreads
Twitter: https://twitter.com/bloombuzzreads
Music: Meganne by Mark Generous

10 วิธีง่ายๆ ในการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่สามารถฝึกได้ทุกวัน

ภาษาอังกฤษ ทักษะการเขียน Lesson 2 (V. to Be, เป็น อยู่ คือ)


วิธีการแต่งประโยคภาษาอังกฤษโดยการใช้โครงสร้าง Verb to Be (เป็น อยู่ คือ) (ต่อ)

ภาษาอังกฤษ ทักษะการเขียน Lesson  2 (V. to Be, เป็น อยู่ คือ)

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *