Skip to content
Home » [Update] 7 เทคนิค เขียนอีเมล์ email ภาษาอังกฤษธุรกิจ ให้ฝรั่งร้องว้าว | เขียนตัวเขียนภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[Update] 7 เทคนิค เขียนอีเมล์ email ภาษาอังกฤษธุรกิจ ให้ฝรั่งร้องว้าว | เขียนตัวเขียนภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

เขียนตัวเขียนภาษาอังกฤษ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

วิธีเขียนอีเมล์ email ภาษาอังกฤษธุรกิจแบบมืออาชีพ

          การติดต่อประสานงาน และการเจรจาทางธุรกิจในปัจจุบันแทบจะหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้เลย โดยเฉพาะทักษะการเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจ อันกล่าวกันว่าเป็นหนึ่งใน Skill ปราบเซียนที่อาจทำให้กำแพงภาษาเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ แต่ท่านไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะบทความนี้มีตัวช่วย

          การเขียนอีเมล์ (email) ไม่ว่า Gmail หรือ Hotmail ในภาษาไทยเพียงลำพังก็ยากอยู่แล้วที่จะเรียบเรียงถ้อยคำให้กระชับ สวยงาม และเป็นทางการ ยิ่งต้อง เขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษ แล้วเป็น ภาษาอังกฤษธุรกิจ ด้วย อาจทำให้หลายคนอกสั่นขวัญผวากันไปตาม ๆ กัน กระนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีรูปแบบ (pattern) ที่หากเราเข้าใจเทคนิคหรือเคล็ดลับแล้ว ก็จะสามารถช่วยเพิ่มพูนความมั่นใจใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ มากขึ้นเป็นทบทวี หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น กลเม็ดมัดใจ (wow factor) ในการเขียน อีเมล์ ของเรา

          วันนี้ เราจึงขอเสนอ 7 เทคนิค เขียนอีเมล์ (Email) ภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นเซียน ที่ทำให้ฝรั่งผู้รับอีเมล์ของเราต้องร้องว้าวด้วยความชื่นชม แล้วเข้าใจผิดนึกว่าฝรั่งเป็นคนเขียนเลยทีเดียว พร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลย

 

Table of Contents

สารบัญ 

  1. เขียนอีเมล์ให้สั้นกระชับ (Always be brief)
  2. ใส่ข้อมูลติดต่อในอีเมล์ Signature ให้ครบถ้วน
  3. ตั้งหัวข้ออีเมล์อย่างเป็นมืออาชีพ
  4. ใช้วาทศิลป์ในการโน้มน้าวใจผู้รับอีเมล์
  5. ใช้ชั้นเชิงของภาษาให้เกิดประโยชน์ในการเขียนอีเมล์
  6. ใช้ภาษาเป็นทางการเท่าที่จำเป็นในอีเมล์
  7. ก่อนส่งอีเมล์ ให้ตรวจเช็คความถูกต้องของไวยากรณ์และการสะกดคำเสมอ
  8. สรุป

 

1.เขียนอีเมล์ ให้สั้นกระชับ (Always Be Brief)

          ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การเขียนอีเมล์ ไม่ใช่เรียงความหรือบทความที่เราจะต้องใส่เนื้อหาทั้งหมดลงไป เนื่องจากความสนใจและเวลาของผู้อ่านอีเมล์ของเรามีข้อจำกัด ฉะนั้น เราจึงต้องวางแผนให้ดีว่าต้องการให้คนที่อยู่ปลายทางรับรู้ เข้าใจ หรือทำอะไร ด้วยข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ก่อนอื่นให้เราถามตนเองก่อนว่าเราเขียนอีเมล์นี้ขึ้นมาเพื่ออะไร โดยอาจทำ Bullet point ง่าย ๆ ขึ้นมาบนกระดาษ เช่น

  • เราต้องการให้เขาทำอะไร
  • เราต้องการให้เขารับรู้หรือเข้าใจอะไร
  • ถ้าเราเป็นคนอ่าน เราต้องการอะไรจากอีเมล์ฉบับนี้
  • ถ้าเราเป็นคนอ่าน เราจะใช้เวลาเท่าไหร่ในการอ่านอีเมล์ฉบับนี้
  • ถ้าเราเป็นคนอ่าน ทำไมเราต้องหยุดอ่านอีเมล์ฉบับนี้ทันที

 

           พอเราทำ Bullet Point เสร็จแล้ว ก็ให้เราเขียนคำตอบสั้น ๆ กำกับลงไป เช่น เราต้องการให้เขาทำอะไร ถ้าเป็นจดหมายสมัครงาน ก็ต้องการให้ผู้อ่านพิจารณารับเราเข้าทำงาน หรือหากเป็นอีเมล์เสนอสินค้า เราก็ต้องการให้เขาเกิดความสนใจในสินค้าของเรา หรือ ถ้าเราเป็นคนอ่าน ทำไมเราต้องการอะไรจากอีเมล์ฉบับนี้ ในกรณีที่มีคนอีเมล์มาเสนอสินค้า เราก็ต้องการสรรพคุณ ข้อมูลโดยสังเขป และลิงก์ที่สามารถนำเราไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า รีวิว และรายละเอียดอื่น ๆ ได้ เมื่อวางแผนเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นลงมือเขียน

          หลักง่าย ๆ ของ การเขียนอีเมล์ ให้กระชับ คือ การจัดวางย่อหน้าให้มีความสำคัญลดหลั่นกันลงไป ย่อหน้าแรก ในกรณีที่เราไม่รู้จักผู้รับอีเมล์ ควรเป็นการแนะนำตัว ตำแหน่ง และจุดประสงค์ของการเขียนอีเมล์ดังกล่าว ย่อหน้าต่อมา ควรเป็นเนื้อหาหรือสารที่เราต้องการนำเสนอให้กับผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสินค้า/บริการ สิ่งที่เราต้องการให้ผู้รับอีเมล์กระทำหรือช่วยเหลือ และจบย่อหน้าสุดท้ายด้วยข้อความแสดงความขอบคุณ ช่องทางในการติดต่อ และลิงก์หรือช่องทางในการหาข้อมูลเพิ่มเติม เพียงแค่ 3 ย่อหน้า ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ก็จะทำให้เราเขียนอีเมล์คุณภาพขึ้นมาได้โดยใช้เวลาไม่นาน แถมยังสั้น กระชับ และตรงประเด็นอีกด้วย

 

เทคนิคการเขียนอีเมล์ สั้นกระชับ ตรงประเด็น ด้วย 3 ย่อหน้า

  • ย่อหน้าที่ 1 : แนะนำตัว จุดประสงค์ของการเขียนอีเมล์
  • ย่อหน้าที่ 2 : เนื้อหาสาระที่เราต้องการให้ผู้รับอีเมล์รับทราบ กระทำ หรือเกิดความสนใจ
  • ย่อหน้าที่ 3 : ข้อความแสดงความขอบคุณ ช่องทางในการติดต่อ และหาข้อมูลเพิ่มเติม

ตัวอย่าง การเขียนแนะนำตัวใน อีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ

          – Just a couple of lines to introduce myself. My name is Somchai and I am responsible for marketing for Srinak cooperation. I’m based in Chiang Mai.

          – Just a quick introduction: my name is Wittaya, I head up marketing business here in Lampang.

ตัวอย่าง การเขียนเนื้อหาสาระให้ผู้รับอีเมล์ทราบ

          – I am contracting you because we need to recruit some HR staffs for our office in Rayong.

          – I am now collecting information on what is currently in place and our customers would love to have. Given your role, I would love to pick your brains on this process.

ตัวอย่าง การเขียนแสดงความขอบคุณ และช่องทางในการติดต่อ

          – I look forward to hearing from you, please feel free to contact me via …[email protected] or simply call me at xxx-xxxx-xxxx

          – Thanks in advance, for more details, please call me xxx-xxxx-xxxx

 

2.ใส่ข้อมูลติดต่อใน Signature ให้ครบถ้วน

          ปัจจุบัน อีเมล์ ไม่ว่าจะเป็น Gmail หรือ Hotmail เราสามารถเพิ่มข้อมูลติดต่อ (contact information) ในส่วนของลายเซ็น (Signature) ได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะปรากฎอยู่ในอีเมล์ของเราตลอดโดยไม่ต้องเพิ่มใหม่ทุกครั้งที่ส่งอีเมล์ โดยหลัก ๆ แล้ว ข้อมูลติดต่อที่เราควรใส่ลงใน Signature ควรประกอบด้วย

  • ชื่อ – สกุล (Name)
  • ตำแหน่ง (Position)
  • บริษัท/สังกัด (Company
  • แผนก (Department/Division/Branch)
  • หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ทั้งมือถือและเบอร์ที่ทำงาน (Phone Number)
  • อีเมล์สำหรับติดต่อ (Email Address)
  • Line, Facebook, เว็บไซต์ และโซเชียลมีเดียที่ติดต่อได้

          ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใส่ในลายเซ็นอีเมล์ ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

          ตัวอย่าง ข้อมูลติดต่อใน Signature อีเมล์

                    วิรัช ธานี (Wirat Thani)

                    หัวหน้าแผนกครีเอทีฟ (Head of Creative Department)

                    บริษัท เพลินตาเพลินใจ มาร์เกตติ้ง (Pleon Ta Ploen Jai Marketing)

                    xxx-xxxx-xxxx   [email protected]

 

3.ตั้งหัวข้ออีเมล์อย่างเป็นมืออาชีพ

          หัวข้ออีเมล์เปรียบได้ดั่งประตูบานแรกสู่เนื้อหาที่เราต้องการเสนอแก่ผู้รับ หากเราตั้งใจเขียนอีเมล์อย่างถูกตั้งตามหลักการเป๊ะๆ แต่มาตกม้าตายที่ผู้รับไม่เปิดอ่านอีเมล์เพราะคิดว่าเป็นสแปมล่ะ เป็นความรู้สึกที่แย่มากเลยใช่ไหมล่ะ เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องพิถีพิถันกับการตั้งหัวข้ออีเมล์สักหน่อย อาจจะดูหยุมหยิมไปบ้าง แต่การตั้งหัวข้ออีเมล์ที่ดี เป็นมืออาชีพ และตรงประเด็นจะช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารกับผู้รับในระยะยาวไปได้ไม่น้อย โดยหลักแล้ว หัวข้ออีเมล์ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

  • ตรงประเด็นต่อผู้รับ
  • กระตุ้นให้ผู้รับอยากเปิดอีเมล์เราอ่าน
  • เตือนผู้รับว่าควรอ่านอีเมล์โดยเร็วหรือทันที่ได้รับ
  • ค้นหาง่ายในกล่องอีเมล์ขาเข้า (Mailbox)
  • สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา อ่านแล้วรู้ทันทีว่าเกี่ยวกับอะไร

 

          ตรงประเด็นต่อผู้รับ: หัวข้ออีเมล์ของเราควรมีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งหรือหน้าที่การงานของผู้รับ เช่น หากเราต้องการส่งอีเมล์สมัครงาน เราก็ควรต้องใส่คีย์เวิร์ด ‘สมัครงาน’ ลงไปในอีเมล์ของเราด้วย เพื่อสร้างความเกี่ยวข้องกับผู้รับ เมื่อเขาได้รับแล้วก็ต้องเปิดเพราะเป็นส่วนหนึ่งของงาน ไม่ใช่อีเมล์สแปมที่ไหน

          กระตุ้นให้ผู้รับอยากเปิดอีเมล์เราอ่าน: การตั้งหัวข้ออีเมล์ก็ไม่ต่างจากการตั้งชื่อบทความหรือชื่อคลิปวิดีโอที่เราต้องการให้คนเข้ามาอ่านหรือดูเยอะ ๆ แต่การกระตุ้นในที่นี่ไม่ได้หมายความจะต้องเรียกร้องความสนใจแบบ Click bait อะไรกันขนาดนั้น โดยเราอาจใส่ข้อความเชิงข้อร้อง please หรือ quick favor ให้ผู้รับเห็นว่าเราต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ หรืออยากให้เปิดอ่านอีเมล์ของเราจริง ๆ

          เตือนผู้รับว่าควรอ่านอีเมล์โดยเร็วหรือทันที่ได้รับ: เทคนิคนี้ขอเตือนไว้ก่อนว่าใช้ได้ แต่อย่าใช้บ่อย มิฉะนั้น จะสร้างความรำคาญต่อผู้รับอีเมล์มากกว่าการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ กรณีนี้เราอาจจะใส่คำว่า ‘Urgent!’ ไว้ข้างหน้าหัวข้ออีเมล์เพื่อแสดงความเร่งด่วนให้ผู้รับอีเมล์ร้อนใจอยากเปิดเข้ามาอ่านทันทีที่ได้รับ ทั้งนี้ เนื้อหาอีเมล์ของเราควรมีความสัมพันธ์กับหัวข้อด้วย ไม่ใช่ตั้งชื่อหัวข้อว่า ด่วน! แต่เปิดเข้ามาเป็นอีเมล์ขายถั่งเช่าก็คงไม่ใช่นะ

          ค้นหาง่ายในการกล่องอีเมล์ขาเข้า: การที่อีเมล์ของเราจะค้นหายากหรือง่ายใน Mailbox ของผู้รับนั้นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อคีย์เวิร์ดที่เราใส่ลงในหัวข้อของเรา เพราะฉะนั้น หัวข้อของอีเมล์เราควรมีคีย์เวิร์ดที่จัดประเภทหมวดหมู่ได้ง่าย เช่น [สมัครงาน] หรือ [เทคนิค SEO] ซึ่งช่วยให้ผู้รับที่มีความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดดังกล่าวสามารถ Search หาอีเมล์ของเราได้ง่าย โดยไม่จมหายไปในกองอีเมล์ Spam ต่าง ๆ นั่นเอง

          สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา อ่านแล้วรู้ทันทีว่าเกี่ยวกับอะไร: เช่นเดียวกับเนื้อหาอีเมล์ หัวข้ออีเมล์ของเราก็ควรที่จะมีความสั้น กระชับ ตรงไปตรงมา กวาดตาดูรวดเดียวก็รู้ได้เลยว่าเป็นอีเมล์เกี่ยวกับอะไร ต้องการอะไร และมีความเร่งด่วนขนาดไหน เช่น ถ้าเราจะส่งอีเมล์ไปสมัครงานในตำแหน่งหนึ่งเราก็ควรระบุให้ชัดไปเลยในหัวข้อว่าอีเมล์ของเราเกี่ยวกับอะไร ต้องการอะไร เช่น Wichai Pisut. Request for interview for position as SEO specialist เป็นต้น

        

4.ใช้วาทศิลป์ในการโน้มน้าวใจ

          นอกเหนือจากสไตล์ การเขียนอีเมล์ ให้อ่านง่าย กระชับ ได้ใจความ การใช้ระดับของสำนวนภาษาอังกฤษ และจิตวิทยาในการโน้มน้าวให้ผู้รับอีเมล์ยอมทำในสิ่งที่เราต้องการก็มีความสำคัญมากเช่นกัน แน่นอนว่า ชั้นเชิงการใช้ภาษาหรือทักษะความสามารถทางวรรณศิลป์ของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ มักจะมีรูปแบบการใช้ระดับของภาษาที่เป็นแบบแผน (pattern) อยู่พอสมควร ฉะนั้น เราสามารถนำแบบแผนดังกล่าวมาปรับใช้กับ การเขียนอีเมล์ ของเราได้ ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง การใช้ภาษาสำหรับการขอร้อง

          – I know that you are very busy but…

          – I really need your help to

          – Sorry to bother you but…

          – Any comments you may have, would be very much appreciated

          – I cannot sort this out by myself

 

ตัวอย่าง การใช้ภาษาเพื่อเน้นย้ำความสำคัญ

          – We would like to point out that

          – As far as we know

          – Please note that

          – May We take opportunity to

          – We also like to take this opportunity to bring to your attention…

ตัวอย่าง การใช้ภาษาสำหรับการนัดหมาย

          – Can we arrange a meeting on…

          – Would it be possible for us to meet on…

          – Let’s arrange to meet and we an discuss about this

ตัวอย่าง การใช้ภาษาเพื่อสอบถามรายละเอียดกับสินค้าและบริการ

          – We are considering buying

          – We urgently need

          – Could you also let us know if you are prepared to…

          – Will you please let us know whether you could supply…

          – Please send up price list for…

          – Could you send us further details of…

 

5.ใช้ชั้นเชิงภาษาให้เกิดประโยชน์ในการเขียนอีเมล์

          การใช้ชั้นเชิงของภาษาให้เป็น คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับการเขียนเพื่อประสานงานทุกชนิด ใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ บางครั้งเราต้องการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม ซึ่งในบางครั้งเราก็ต้องลองประมาณการความรู้สึกของผู้รับอีเมล์ด้วยเช่นกัน หากเราเป็นเขาเราจะรู้สึกอย่างไรขณะที่อ่านข้อความที่เราเขียนขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในบางครั้งเราอาจต้องใช้ชั้นเชิงของภาษาในการสื่อความให้สละสลวยและมีความสุภาพมากขึ้น ถือว่าเป็นการถนอมน้ำใจและจูงใจให้ผู้รับอีเมล์เกิดความรู้สึกต่อเรา ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง การใช้ชั้นเชิงภาษาในการแสดงความคิดเห็น

          แทนที่เราจะคอมเมนต์ว่า ‘Your assignment is okay’ เราอาจเขียนไปว่า ‘It’s looking really good and I like the way you’ve used statistics’

          หรือแทนที่จะเขียนตอบไปแบบสั้น ๆ ห้วน ๆ ว่า ‘It looks fine’ เราอาจลองเพิ่มถ้อยคำไปว่า ‘Overall it looks satisfying and the conclusions are quite obvious’

          เพียงเท่านี้เราก็สามารถซื้อใจผู้รับอีเมล์ของเราได้แล้ว เพียงแค่การเปลี่ยนหรือเพิ่มถ้อยคำอีกไม่กี่คำ เพราะการเขียนอีเมล์เป็นการสื่อสารทางเดียวโดยที่อีกฝ่ายไม่มีโอกาสได้เห็นสีหน้าท่าทางของเรา เพราะฉะนั้น เขาย่อมต้องมีการตีความถ้อยคำที่เราเขียน ในแง่ร้ายที่สุด อาจตีความผิดไปเลยก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ขอให้เราลองคิดถึงความรู้สึกของผู้รับอีเมล์ แล้วลองใช้เทคนิคชั้นเชิงภาษาปรับการเขียนอีเมล์ของเราให้ Soft มากขึ้น

 

6.ในอีเมล์ ให้ใช้ภาษาเป็นทางการเท่าที่จำเป็น

          แน่นอนว่าการใช้ภาษาทางการใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม หากเราได้รู้จักมักคุ้นกับผู้รับอีเมล์ของเรามาระดับหนึ่งแล้ว การใช้ภาษาแบบไม่เป็นทางการจะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นมิตรและสนิทใจมากกว่า ซึ่งช่วยให้การประสานงานราบรื่นและผ่อนคลายเหมือนเราคุยกับเพื่อนนั่นเอง ตัวอย่างการแปลงภาษาทางการ ให้อยู่ในรูปแบบไม่เป็นทางการก็มีอยู่ไม่น้อย ที่เราใช้ในการเขียนอีเมลหลักๆ ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง การเปลี่ยน ภาษาทางการ เป็น ภาษาไม่เป็นทางการ ในการเขียนอีเมล์

          – We have pleasure in confirming the acceptance of your order (เป็นทางการ)

            This is to confirm that your order has been accepted (ไม่เป็นทางการ)

          – It is necessary that I have the assignment by Monday (เป็นทางการ)

            Please could I have the assignment by Monday (ไม่เป็นทางการ)

          – You are requested to acknowledge this email (เป็นทางการ)

            Please acknowledge this email (ไม่เป็นทางการ)

ข้อสังเกต: จะเห็นได้ว่า การเขียนอีเมล์ ด้วยรูปแบบไม่เป็นทางการ นอกจากจะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นมิตรและเป็นกันเองแล้ว ยังช่วยให้อีเมล์ของเราสั้นลง น่าอ่านมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

 

7.ก่อนส่งอีเมล์ ให้ตรวจเช็คความถูกต้องของไวยากรณ์และการสะกดคำเสมอ

          สิ่งที่สำคัญที่สุดของ การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ คือ การตรวจเช็คความถูกต้องของไวยากรณ์และการสะกดคำต่าง ๆ เพราะการพิมพ์ผิดนอกจากจะแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดที่สร้างความเสียหายมหาศาลได้อีกด้วย โดยหลักแล้ว ก่อนที่เราจะส่งอีเมล์ ควรที่จะหยุดพักไว้ก่อนสักสองสามนาที เดินไปชงกาแฟหรือไปเข้าห้องน้ำ อย่าส่งหลังจากพิมพ์เสร็จทันที เพราะเราจะอยู่ใกล้กับตัวงานมากจนมองไม่เห็นข้อผิดพลาด หลังเขียนอีเมล์เสร็จให้เราทิ้งไว้สักพัก แล้วกลับมานั่งอ่านทวนทั้งหมดอีกครั้ง โดยมีจุดที่เราต้องให้ความสำคัญในการ รีวิวอีเมล์ของเราเราก่อนกดส่ง สรุปได้ดังนี้

  • ตรวจเช็คไวยากรณ์ว่าถูกต้องตามหลักภาษาอังกฤษหรือไม่
  • ตรวจเช็คคำผิด และการสะกดคำจาก Dictionary
  • คัดเกลาภาษาให้อ่านลื่นไหลมากขึ้น
  • เนื้อหาที่เราเขียนสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเขียนอีเมล์หรือไม่
  • หากเราเป็นผู้รับอีเมล์จะรู้สึกอย่างไรกับอีเมล์ฉบับนี้
  • ถ้าไม่รีบมาก ลองให้เพื่อนร่วมงานหรือคนรู้จักลองอ่านและให้ความเห็นดู

          หลังจากเราตรวจเช็คและรีวิวอีเมล์ของเราเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมตรวจเช็คว่าเราได้ใส่ข้อมูลติดต่อกลับลงใน Signature ครบถ้วนดีแล้วหรือยัง จากนั้นก็คลิก Send เพื่อส่งก็เป็นอันเสร็จภารกิจ ทางทีดี เราควร copy email ของเราหรือทำโฟลเดอร์แบบฟอร์มอีเมลที่เราเขียนขึ้นให้เป็นหมวดหมู่ คราวหน้าจะได้หยิบฟอร์มเก่ามาแก้ไขรายละเอียดเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและความสะดวกสบายใน การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษ เพื่อการติดต่อประสานงานมากขึ้นในอนาคต

 

สรุป

                     การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ ให้ฝรั่งที่เป็นผู้รับอีเมล์รู้สึกประทับใจในความเป็นมืออาชีพและทักษะชั้นเชิงการใช้ภาษาของเราไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย หากเราจับจุดและแบบแผนการเขียนอีเมล์ในแบบของเราได้ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำ เทคนิคการเขียนอีเมล์ 7 ประการข้างต้นไปปรับใช้กับหน้าที่การงานและการติดต่อประสานงานได้ไม่มากก็น้อย การเขียนอีเมล์เป็นภาษาอังกฤษ อาจเป็นสิ่งที่ดูน่ากลัวสำหรับใครหลายคน แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อเราตั้งใจและทุ่มเทเวลาให้กับมันแล้ว ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้อย่างแน่นอน จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

          หากท่านใดยังไม่มี อีเมล์สำหรับใช้งาน ก็สามารถ สมัครอีเมล์ใหม่ Gmail และ สมัครอีเมล์ใหม่ Hotmail ได้แบบง่ายๆ ด้วยการทำตามขั้นตอนที่เราได้เรียบเรียงไว้ ใช้เวลาไม่เกิน [2 นาที] ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

 

แถมเพิ่มเติม

คำลงท้าย สำหรับการเขียน อีเมล์ ภาษาอังกฤษธุรกิจ

คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ แบบมาตรฐาน

– Best regards

– Kind regards

– Regards

– With Best regards

คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ แบบไม่เป็นทางการ

– Cheers

– Have a nice weekend

– Hope to hear from you soon

-All the best

คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ สำหรับการติดต่อธุรกิจ

– Yours truly

– Yours faithfully

– Sincerely yours

– Yours sincerely

                   

ข้อมูลอ้างอิง: Email and Commercial Correspondence – Adrian Wallwork

Tag: การเขียนอีเมล์, การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษ, การเขียนอีเมล์ภาษาอังกฤษธุรกิจ, สมัครอีเมล์ใหม่, สมัครอีเมล์ใหม่ Gmail, สมัครอีเมล์ใหม่ Hotmail, คำลงท้ายอีเมล์ภาษาอังกฤษ 

[Update] หลักการใช้ Capital Letter ง่ายๆ 5 ข้อ | เขียนตัวเขียนภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

เวลาเขียนภาษาอังกฤษ เคยสับสนไหมครับว่า เอ…คำนี้ต้องใช้ capital letter (ตัวอักษรใหญ่) ไหมนะ เช่น จะเขียน Mother’s Day หรือ mother’s day ดี  หรือระหว่าง Oxford Street กับ Oxford street เขียนแบบไหนถึงจะถูกต้อง  บทความนี้จะทำให้คุณสับสนมากขึ้น เอ้ย! หายสับสนว่ากรณีไหนบ้างต้องใช้ capital letter กรณีไหนบ้างไม่ต้องใช้

การใช้ capital letter ให้ถูกต้องนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ใส่ใจเวลาพิมพ์แชทกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว แต่เวลาเขียนจดหมาย บทความ หรืองานเขียนใดๆ ที่เป็นทางการ การใช้ capital letter ที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เราดูไม่เป็นมืออาชีพ หรืออาจทำให้สื่อสารผิดพลาดได้

capital-letter

การใช้ capital letter มีหลักง่ายๆ 5 ข้อ คือ

1. ใช้ capital letter เมื่อขึ้นต้นประโยค

นั่นคือ ตัวอักษรแรกของคำแรกในประโยคจะต้องเป็นตัวอักษรใหญ่ เช่น

  • She watched Game of Thrones with me last night. (เธอดูมหาศึกชิงบัลลังก์กับฉันเมื่อคืนนี้)
  • I met a girl this morning. Her name was Arya. (ฉันพบเด็กสาวคนหนึ่งเมื่อเช้านี้ เธอชื่ออาร์ยา)

แต่สำหรับประโยคที่ตามหลังเครื่องหมาย colon * (:) และ semicolon (;) ไม่ต้องใช้ capital letter เช่น

  • He got what he deserved: he was dumped. (เขาได้รับในสิ่งที่สมควรได้ เขาถูกทิ้ง)
  • Some people write with a pen; others write with a pencil. (บางคนเขียนด้วยปากกา แต่บางคนเขียนด้วยดินสอ)

* ยกเว้นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ให้ใช้ capital letter เมื่อขึ้นต้นประโยคหลังเครื่องหมาย colon

He got what he deserved: He was dumped.

ข้อยกเว้นอีกข้อคือคำว่า I (ฉัน) ต้องใช้ตัวอักษรใหญ่เท่านั้นไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประโยค เช่น

Do I know you? (ฉันรู้จักคุณเหรอ)

2. คำนามเฉพาะ (proper noun)

ให้ใช้ capital letter เมื่อเขียนคำนามเฉพาะ  คำนามเฉพาะมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ได้แก่

  • ชื่อ นามสกุล และคำนำหน้าชื่อ เช่น Jon Snow (จอน สโนว์), Mr Potter (คุณพอตเตอร์), Professor Dumbledore (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์)
  • เดือนและวัน เช่น Sunday (วันอาทิตย์), Friday (วันศุกร์), February (เดือนกุมภาพันธ์), December (เดือนธันวาคม)
  • ฤดู ได้แก่ Spring (ฤดูใบไม้ผลิ), Summer (ฤดูร้อน), Autumn/Fall (ฤดูใบไม้ร่วง), Winter (ฤดูหนาว)
  • วันสำคัญ เช่น Mother’s Day (วันแม่), Christmas (วันคริสต์มาส), New Year’s Day (วันปีใหม่), Valentine’s Day (วันวาเลนไทน์)
  • ชื่อประเทศ เช่น Thailand (ประเทศไทย), England (ประเทศอังกฤษ), Scotland (ประเทศสก็อตแลนด์), France (ประเทศฝรั่งเศส)
  • ชื่อรัฐ ชื่อเมือง และชื่อเขตการปกครองต่างๆ เช่น California (รัฐแคลิฟอร์เนีย), London (กรุงลอนดอน), Edinburgh (กรุงเอดินบะระ), Oxfordshire (มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์)
  • ชื่อแม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ และมหาสมุทร เช่น the Thames (แม่น้ำเทมส์), the Mekong (แม่น้ำโขง), the Pacific (มหาสมุทรแปซิฟิก)
  • ชื่อพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆ เช่น the Bosphorus (ช่องแคบบอสฟอรัส), the Himalayas (เทือกเขาหิมาลัย), the Alps (เทือกเขาแอลป์), the Sahara (ทะเลทรายสะฮารา)
  • ชื่อสัญชาติและภาษา เช่น Thai (คนไทย ภาษาไทย), English (คนอังกฤษ ภาษาอังกฤษ), Italian (คนอิตาเลียน ภาษาอิตาเลียน)
  • ชื่อถนน ตึก สวน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น the Empire State Building (ตึกเอ็มไพร์สเตต), Central Park (สวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์ค), the Eiffel Tower (หอไอเฟล)

3. ชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ

ใช้ตัวอักษรใหญ่ขึ้นต้นคำประเภท noun (คำนาม), verb (คำกริยา), adjective (คำคุณศัพท์), adverb (คำวิเศษณ์), subordinating conjunction (เช่น because, that, as)  แต่ไม่ต้องใช้ตัวอักษรใหญ่ขึ้นต้นคำประเภท article (คำนำหน้านาม ได้แก่ a, and, the), preposition (คำบุพบท เช่น in, on, at),  coordinating conjunction (เช่น for, and, but, or)  ตัวอย่างเช่น

“Harry Potter and the Cursed Child” (แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเด็กต้องคำสาป)

จากตัวอย่างจะเห็นว่าทุกคำยกเว้น and และ the ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่

อย่างไรก็ตามบทความในปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ capital letter แค่คำแรกของชื่อเท่านั้น เช่น “Energy solutions for a sustainable world”

นอกจากนี้ตามปกหนังสือหรือโปสเตอร์ภาพยนตร์ ชื่อเรื่องจะถูกเขียนเป็นตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด เช่น “HARRY POTTER AND THE CURSED CHILD” ซึ่งการเขียนแบบนี้ก็ไม่ผิดอะไร  แต่ถ้าเราไปเขียนชื่อเรื่องที่อื่น แนะนำให้เขียนตามหลักการเขียนชื่อเรื่องที่กล่าวมา

4. คำย่อต่างๆ

คำย่อต่างๆ โดยเฉพาะคำย่อชื่อนิยมใช้ capital letter ตัวอย่างเช่น

UN = United Nations (สหประชาชาติ)
NATO = North Atlantic Treaty Organization (องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ)
ASEAN = Association of Southeast Asian Nations (สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

แต่ก็ไม่ใช่ว่าคำย่อทุกคำจะใช้ตัวอักษรใหญ่ ตัวอย่างคำยกเว้น เช่น cm = centimetre/centimeter (เซนติเมตร) หรือบางคำย่อก็ใช้ตัวอักษรใหญ่เพียงบางตัวอักษร เช่น PhD = Doctor of Philosophy (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หรือผู้ที่ได้รับปริญญาเอก)

5. ใช้เพื่อเน้นคำ

ในกรณีนี้ผู้เขียนจงใจไม่เขียนตามหลักข้างต้นเพื่อเน้นคำ กลุ่มคำ หรือประโยคโดยการเขียนตัวอักษรใหญ่ทั้งหมด เช่น  HELP! (ช่วยด้วย)  STOP! (หยุดนะ)  เมื่อลองเปรียบเทียบกับการเขียนแบบปกติ  Help!  Stop! จะเห็นว่าให้ความรู้สึกต่างกันเวลาอ่าน

การใช้ตัวอักษรใหญ่ทั้งหมดอ่านแล้วให้ความรู้สึกเหมือนเป็นการตะโกน ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนตัวอักษรใหญ่ติดกันยาวๆ โดยไม่จำเป็น แบบนี้  I’M SO HAPPY TODAY. I GOT PROMOTED AND WON THE £14 MILLION LOTTERY JACKPOT.  จะเห็นว่าอ่านยากและดูไม่สุภาพ  ทั้งยังอาจทำให้ผู้อ่านรำคาญอีกด้วย

ลองทบทวนหลัก 5 ข้อนี้แล้วเอาไปใช้กันดูครับ จริงๆ แล้วการใช้ capital letter ยังมีหลักยิบย่อยอีกหลายข้อ ดังนั้นเพื่อนๆ ควรจะอ่านข่าวหรือบทความภาษาอังกฤษเยอะๆ และสังเกตว่า capital letter ต้องใช้ในกรณีไหนบ้าง จะได้เขียนได้ถูกต้อง (และคนอ่านไม่แอบบ่นในใจ)


how to write english capital letters in four lines | cursive writing a to z | cursive abcd | abcd


in this video you want to learn how to write english capital letters in four lines….for more amazing handwriting related videos and tutorials subscribe to the channel..
thank you so much..
handwriting capitalletters cursivewriting

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

how to write english capital letters in four lines | cursive writing a to z | cursive abcd | abcd

How to draw 3D Alphabet letters | วาดตัวหนังสือ A-Z สามมิติ


How to draw 3D Alphabet letters | วาดตัวหนังสือ A-Z สามมิติ

[ทักษะภาษาอังกฤษ] การเขียนตัวอักษร A-Z


[ทักษะภาษาอังกฤษ] การเขียนตัวอักษร A-Z

Writing the Copperplate Calligraphy Alphabet with a Pentel Touch Brush Pen


Watch me write a copperplate calligraphy majuscule (capital) alphabet in real time with a brush pen. Or at least the best I can sitting at a weird angle. I write super slow, and probably extra slow here since I’m doing all majuscules, and I want to make sure not to mess up too bad for the camera! Follow our calligraphy journey on Instagram @inkandsea. xo, lauren
pen: pentel touch sign pen with brush tip
paper: hp premium choice laserjet with printed guidlines
video speed: 1x
music: Cryptic Sorrow Atlantean Twilight by Kevin MacLeod is licensed under a Creative Commons Attribution license (https://creativecommons.org/licenses/…)
Source: http://incompetech.com/music/royalty…
Artist: http://incompetech.com/ /

Writing the Copperplate Calligraphy Alphabet with a Pentel Touch Brush Pen

Ep.5 ฝึกคัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัด | by : ครูลูกหยีตีไม่เจ็บ


Ep.5 ฝึกคัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัด | by : ครูลูกหยีตีไม่เจ็บ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ เขียนตัวเขียนภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *