Skip to content
Home » [Update] 10 คำถามปราบเซียน สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ (PART II) | สายงาน ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[Update] 10 คำถามปราบเซียน สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ (PART II) | สายงาน ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

สายงาน ภาษาอังกฤษ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Table of Contents

10 คำถามปราบเซียน สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ (PART II)

 

– Why do you want this job? –

– ทำไมถึงอยากได้งานนี้ –

 

คำแนะนำ : คุณควรรู้จักบริษัทที่คุณสมัคร และรู้ถึงข่าวสารล่าสุดที่บอกถึงทิศทางที่บริษัทกำลังจะไป และที่สำคัญคุณต้องรู้ว่าตำแหน่งคุณต้องเข้ามาแก้ปัญหาในด้านไหน

 

สำหรับการตอบคำถามให้ตอบว่า “ทำไมคุณถึงเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้” คุณจะเข้ามาช่วยสร้างอะไรให้กับบริษัท และคุณจะได้อะไรตอบแทนที่นอกเหนือจากตัวเงิน เช่น ความต้องการพิสูจน์ตัวเอง เป็นต้น

 

“I want this job because it emphasizes sales and marketing, two of my greatest skill sets. I know I could bring my ten years of sales and marketing experience to this company, and help you continue your years of growth.”

 

ดิฉันต้องการงานตำแหน่งนี้เพราะมันจะช่วยต่อยอดทักษะด้ายการขายและการตลาดซึ่งเป็นสองทักษะที่ดีที่สุดของดิฉัน ดิฉันเชื่อว่าดิฉันสามารถนำเอาประสบการณ์การขายและการตลาดกว่า 10 ปีที่ดิฉันมีมาใช้กับที่นี่ได้ และช่วยให้บริษัทของคุณมียอดขายเติบโตในทุกๆปีค่ะ

 

“I understand that this is a company on the rise. As I’ve read on your website and in various press releases, you are planning to launch several new products in the coming months. I want ​to be a part of this business as it grows, and I know my experience in product development would help your company as you roll out these products.”

 

ดิฉันเชื่อว่าบริษัทอยู่ในช่วงขาขึ้นนะคะ จากที่ดิฉันได้อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์และข่าวต่างๆ ทางบริษัทของคุณมีแผนที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หลากหลายรายการในเดือนที่จะมาถึงนี้ ดิฉันอยากเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของบริษัทค่ะ และดิฉันรู้ว่าประสบการณ์ทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดิฉันมี จะช่วยบริษัทของคุณในเรื่องของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ว่านี้ได้ค่ะ

 

“This job is a good fit for what I’ve been doing and enjoying throughout my career. It offers a mix of short-term projects and long-term goals. My organizational skills allow me to successfully multitask and complete both kinds of projects.”

 

งานนี้เหมาะเจาะกับสิ่งที่ดิฉันทำและดิฉันสนุกกับมันในอาชีพของดิฉันค่ะ มันสร้างโอกาสให้ดิฉันได้ทำโปรเจ็คระยะสั้นและระยะยาวผสมผสานกัน ทักษะการจัดการที่ดิฉันมีนั้นจะช่วยให้ดิฉันสามารถทำทั้งสองอย่างได้สำเร็จลุล่วงค่ะ

 

ข้อควรระวัง : ถึงแม้การตอบว่าเงินเดือนดี สวัสดิการดี หรือบ้านใกล้จะเป็นคำตอบที่แท้จริงในใจคุณ แต่มันไม่ได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตัวคุณ อย่าลืมว่าผู้สัมภาษณ์ต้องการวัดทัศนคติในการเรียนรู้ และความมุ่งมั่นในการทำงานของคุณด้วย ฉะนั้นอย่าลืมตอบให้ดู “มีไฟ” ด้วยนะครับ

 

– Why are you leaving or have left your job? –

– ทำไมคุณถึงลาออกหรือกำลังจะลาออกจากงานเก่า –

 

คำแนะนำ : หลายๆบริษัทมักจะถามคุณอยู่แล้วว่าทำไมคุณกำลังจะออกจากงาน หรือคุณออกจากที่เก่าเพราะอะไร ทั้งนี้เพื่อที่จะได้รู้ว่าคุณลาออกมาเองหรือถูกให้ออกจากงานเนื่องจากความผิดพลาดในการทำงานบางอย่างหรือเปล่า อย่างไรก็ตาม คำตอบของคุณควรจะทำให้คุณดูดีอยู่ดี ไม่ว่าจะมาจากเหตุผลอะไรก็ตามนะครับ

 

“จงโฟกัสที่ปัจจุบันและอนาคต มากกว่าประสบการณ์ในอดีต”

 

สิ่งที่คุณสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการหลีกเลี่ยงคำตอบตรงๆ ในเรื่องประสบการณ์การทำงานที่เก่าก็คือการพูดถึง “แพสชั่น” หรือความคาดหวังส่วนตัวของคุณที่มีต่อชีวิตการทำงาน โดยโฟกัสว่างานใหม่นี้จะมอบโอกาสทางการทำงานให้คุณอย่างไรได้บ้างนั่นเอง

 

มาดูตัวอย่างคำตอบกันนะครับ

 

คุณกำลังมองหาความท้าทาย — “I found myself bored with the work and looking for more challenges. I am an excellent employee, and I didn’t want my unhappiness to have any impact on the job I was doing for my employer.” ผมพบว่าผมเบื่องานเดิมและต้องการมองหาความท้าทายใหม่ๆ ผมเป็นลูกจ้างที่ดีนะครับ และผมไม่ต้องการให้ “ความรู้สึกไม่มีความสุข” ของผมนั้นมากระทบกับงานที่ทำที่บริษัทเดิมครับ

 

คุณกำลังมองหาความก้าวหน้า — “There isn’t room for growth with my current employer, and I’m ready to move on to a new challenge.” ผมไม่มีโอกาสได้ก้าวหน้าในที่ทำงานเดิมเลยครับ และผมเองพร้อมแล้วที่จะเจอความท้าทายใหม่ๆ

 

คุณโดนเลย์ออฟมา — “I was laid off from my last position when our department was eliminated due to corporate restructuring.” ผมถูกให้ออกเพราะแผนกที่ผมทำงานอยู่ถูกยุบ เนื่องจากบริษัทนั้นได้ทำการปรับโครงสร้างองค์กรครับ

 

คุณมีเหตุผลส่วนตัว — “I’m relocating to this area due to family circumstances and left my previous position in order to make the move.” ผมย้ายมายังที่นี่เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านครอบครัวของผมครับ ผมจึงต้องลาออกจากงานเดิมมา

 

คุณคิดว่างานเก่าไม่ใช่งานในฝัน — “I’ve decided that my current work role is not the direction I want to go in my career and my current employer has no opportunities in the direction I’d like to head.” ผมคิดว่างานเก่านั้นไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่ผมต้องการจะเติบโต และนายจ้างก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้กับทิศทางที่ผมต้องการจะไปครับ

 

คุณเพิ่งเรียนจบ — “I recently received my degree, and I want to utilize my educational background in my next position.” ผมเพิ่งได้รับปริญญามา และผมต้องการใช้ความสามารถจากพื้นฐานการศึกษาที่ผมมีกับงานใหม่นี้ครับ

 

คุณเบื่อการเดินทาง — “I was commuting to the city and spending a significant amount of time each day on travel. I would prefer to be closer to home.” ผมเคยต้องเดินทางเข้าเมืองและใช้เวลาอย่างมากมายในการเดินทาง ผมจึงอยากที่จะได้ทำงานใกล้บ้านมากขึ้นน่ะครับ

 

คุณโดนให้ออก — “The company was cutting back and, unfortunately, my job was one of those eliminated.” บริษัทเก่าลดต้นทุน และโชคร้ายที่งานของผมก็เป็นหนึ่งตำแหน่งที่โดนโละครับ

 

ข้อควรระวัง : อย่าด่าเจ้านายเก่า! เพราะโลกธุรกิจนั้นเชื่อมโยงกันไปหมด เผลอๆบริษัทเก่าที่คุณลาออกมา กลับกลายเป็นลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์เจ้าสำคัญของบริษัทใหม่ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้ ซึ่งผู้สัมภาษณ์คงไม่อยากจ้างคนที่ด่า “ลูกค้าคนสำคัญ” ของเขาอย่างเสียๆหายๆใช่ไหมล่ะครับ

 

– How do you handle stress and pressure? –

– คุณรับมือกับความเครียดและความกดดันอย่างไรบ้าง –

 

คำแนะนำ : คำถามข้อนี้ สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์อยากรู้มากที่สุดคือ “ความเครียดปริมาณมากแค่ไหน ที่จะส่งผลต่อการทำงานของคุณ” และคุณจะจัดการมันได้อย่างไรโดยไม่กระทบกับการทำงานในแต่ละวัน คุณสามารถตอบโดยเล่าถึงสถานการณ์ในอดีตว่าคุณเคยจัดการกับปัญหาที่สร้างความเครียดให้คุณอย่างไรบ้าง คุณอาจบอกว่าเคสที่คุณเล่านั้นได้ทำให้คุณเครียด แต่ความเครียดปริมาณดังกล่าวทำให้คุณรู้สึกตั้งใจทำงานมากขึ้น และทำให้คุณรู้สึกท้าทาย เป็นต้น

 

ถ้าความเครียดที่เคยเกิดขึ้นกับคุณเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นโดยปกติตามเนื้องาน (ซึ่งมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้) คุณไม่ควรกล่าวถึงมันนะครับ เช่น ถ้าคุณสมัครงานตำแหน่งพนักงานขาย แต่คุณบอกผู้สัมภาษณ์ว่าคุณเครียดเวลาต้องคุยกับคนเยอะๆ (อ้าว…) หรือคุณสมัครเป็นโปรเจ็คแมเนเจอร์ แต่ดันไปบอกว่าเครียดเวลาทำงานหลายๆอย่างพร้อมกัน (เอ๊ะ!) แบบนี้คงหมดโอกาสได้งานกันพอดีจริงไหมครับ

 

ตัวอย่างการตอบที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ก็คือ…

 

“I actually work better under pressure, and I’ve found that I enjoy working in a challenging environment.” จริงๆแล้วดิฉันสามารถทำงานได้ดีขึ้นภายใต้ความกดดันนะคะ ดิฉันพบว่าดิฉันนั้นชอบทำงานในสภาวะที่ท้าทายความสามารถค่ะ”

 

“I find that when I’m under the pressure of a deadline, I can do some of my most creative work.” ดิฉันพบว่าเมื่อดิฉันอยู่ในสภาวะที่ถูกกดดันด้วยวันเด้ดไลน์ ดิฉันจะสามารถทำงานได้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด

 

หรือจะบอกว่า “I react to situations, rather than to stress. That way, the situation is handled and doesn’t become stressful.” ดิฉันเลือกที่จะจัดการกับสถานการณ์นั้นมากกว่าจะมานั่งเครียดกับมันนะคะ ด้วยวิธีนี้ทำให้ดิฉันควบคุมสถานการณ์นั้นไว้ได้และไม่เกิดเป็นความเครียดค่ะ

 

โดยคุณอาจยกตัวอย่างให้ผู้สัมภาษณ์ฟัง โดยใช้คำว่า “For example”

 

“For example, when I deal with an unsatisfied customer, rather than feeling stressed, I focus on the task at hand. I believe my ability to communicate effectively with customers during these moments helps reduce my own stress in these situations and also reduces any stress the customer may feel.”

 

เมื่อดิฉันต้องดูแลลูกค้าที่รู้สึกไม่พึงพอใจกับสินค้า แทนที่ดิฉันจะเครียด ดิฉันกลับมาโฟกัสที่งานที่ดิฉันต้องแก้ไขมากกว่า ซึ่งดิฉันเชื่อมั่นว่าความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับลูกค้าของดิฉันนั้น จะช่วยลดความเครียดในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และยังทำให้ลูกค้าไม่รู้สึกเครียดไปด้วย

 

แชร์

[NEW] 10 คำถามปราบเซียน สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ | สายงาน ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

10 คำถามปราบเซียน สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ

ช่วงนี้คนเปลี่ยนงานกันเยอะนะครับ แน่นอนว่าตั้งแต่ประเทศเราเกิดกระแสเห่อ AEC มา เรียกได้ว่าบริษัท ห้างร้าน กิจการทุกที่ก็เอาแต่สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษกันทั้งนั้น! ถ้าใครยัง “หวั่นๆ”

กับการสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ

กดเซฟ Blog นี้ไว้เลยครับ หรือจะพิมพ์แปะฝาบ้านก็ได้ เพราะ Blog นี้ช่วยคุณได้ชัวร์ป๊าบบบบบ! มาเริ่มกันเลยกับคำถามแรกครับ…

 

– Tell me about yourself. –

– เล่าเรื่องของตัวเองให้ฟังหน่อย –

 

คำแนะนำ : คำถามนี้เปิดโอกาสให้คุณเล่าเรื่องให้ตัวเองดูดี แต่ควรเล่าอย่างมีชั้นเชิง โดยคุณอาจพูดถึงงานอดิเรกที่คุณทำที่ช่วยสะท้อนแง่มุมดีๆในตัวคุณ เช่น I enjoy going to a marathon running program. ฉันชอบลงวิ่งมาราธอน การที่คุณชอบวิ่งมาราธอนอาจหมายถึงคุณเป็นคนมีความมุ่งมั่น อดทน ชอบความท้าทาย และรักสุขภาพ!

 

หรือจะบอกว่า In my freetime, I like to go to a volunteering event. ในเวลาว่าง ฉันมักจะชอบไปทำงานอาสาสมัคร การที่คุณชอบทำงานอาสา แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และประสานงานกับผู้อื่นได้ดี เป็นต้น

 

เมื่อคุณพูดถึงแง่มุมสนุกๆในตัวคุณไปแล้ว คุณอาจกลับมาที่เรื่องงาน โดยใช้ประโยคว่า…

 

“In addition to those interests and passions”

ในส่วนที่นอกเหนือจากงานอดิเรกความสนใจของผมแล้ว

 

“my professional life is a huge part of who I am”
การทำงานก็เป็นพาร์ทที่สำคัญที่ทำให้ผมเป็นผมอย่างเช่นทุกวันนี้ครับ

 

“I’d like to talk a bit about some of the strengths which I would bring to this job.”

ผมขอกล่าวถึงจุดแข็งของผมที่ผมสามารถนำมาใช้ในงานตำแหน่งนี้นะครับ

 

…จากตรงนี้คุณก็สามารถเล่าถึงจุดแข็งและประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาได้เลยครับ

 

ข้อควรระวัง : อย่าพูดมากเกินไป ควรพูดให้สั้น กระชับ ได้ใจความ และไม่ต้องเล่าถึงเรื่องส่วนตัว พ่อแม่พี่น้อง หรืออะไรที่ไม่ได้มีจุดเด่น และอย่าพูดถึงข้อดีเป็นสิบๆข้อ ให้เลือกข้อที่เด่นๆมาพูดจะดีกว่า ควรหลีกเลี่ยงเรื่องศาสนาและการเมืองเพื่อไม่ให้ดูเป็นคนชอบตัดสิน (A judgmental person) ครับ

 

– Why should we hire you? –

– ทำไมเราต้องจ้างคุณ –

 

คำแนะนำ : คุณอาจเจอคำถาม “Why should we hire you?” ทำไมเราต้องจ้างคุณ หรือ “What makes you the best fit for this position?” อะไรทำให้คุณคิดว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งนี้ คำตอบที่ควรตอบคือการ “ขายตัวเอง” ให้กับผู้สัมภาษณ์

 

“จงจำไว้ว่าบริษัทจ้างคน เพื่อมาแก้ปัญหา และคุณคือคนที่จะเข้ามาแก้ปัญหานั้น”

 

วิธีที่คุณจะตอบคำถามนั้นได้ดีที่สุด คือการทำความเข้าใจรายละเอียดของตำแหน่งที่คุณสมัคร และสกิลที่จำเป็นสำหรับงานนี้ รวมถึงเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของบริษัท ก่อนที่จะนำเสนอเอกลักษณ์หรือจุดเด่นในตัวคุณที่ทำให้คุณเหนือกว่าผู้สมัครคนอื่น และอธิบายว่าคุณจะสามารถ “เอาชนะ” หรือ “แก้ไขปัญหา” ที่บริษัทมีได้อย่างไร

 

โดยคุณอาจใช้ประโยคว่า

 

“I have ……… ability to be an asset to your company.”

ดิฉันมีคุณสมบัติ……ที่จะสร้างคุณค่าให้กับบริษัทของคุณค่ะ

   

“Your company provides many services that I have had experience with. I believe that my familiarity with the industry would make me a good fit for this position.”

 

องค์กรของคุณมีการให้บริการ (หรือสินค้า) ในหลายรูปแบบที่ดิฉันเคยมีประสบการณ์การทำงานด้วยมาก่อน ดิฉันเชื่อว่าความคุ้นเคยที่ดิฉันมีกับธุรกิจในรูปแบบนี้จะทำให้ดิฉันเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ค่ะ

 

หรือจะกล่าวถึงปัญหา (Pain Point / Problem) ที่บริษัทกำลังมีอยู่ เช่น…

“You have explained that you are looking for a sales executive who is able to effectively manage over a dozen employees.”

 

จากที่คุณได้อธิบายว่าคุณกำลังมองหาพนักงานขายที่สามารถบริหารลูกทีมหลายคนได้ (บริษัทมีปัญหาในการหาคนมาบริหารฝ่ายขาย)

 

“In my 15 years of experience as a sales manager, I have developed strong motivational and team-building skills.”

 

จากประสบการณ์ของดิฉันที่เป็นผู้จัดการฝ่ายขายมา 15 ปี ฉันได้เรียนรู้ทักษะการสร้างทีมและสร้างแรงจูงใจมาเป็นอย่างดีเลยค่ะ

 

และอาจกล่าวเพิ่มเติมถึงใบประกาศนียบัตรหรือรางวัลที่ได้รับ เช่น “I was awarded manager-of-the-year for my new managment strategies. If hired, I will bring my leadership abilities and strategies for achieving profit gains to this position.”

 

ดิฉันได้รับรางวัลผู้จัดการแห่งปี สำหรับกลยุทธ์การบริหารงานรูปแบบใหม่ของดิฉัน ถ้าคุณจ้างดิฉัน ดิฉันจะนำทักษะความเป็นผู้นำและกลยุทธ์ในการทำกำไรมาสู่ที่นี่เองค่ะ!

 

ข้อควรระวัง : ถ้าคุณถูกถามกลับกันว่า “Why shouldn’t we hire you?” ทำไมเราถึงไม่ควรจ้างคุณ คุณไม่ควรตอบกวนๆว่า “ถ้าไม่อยากได้คนเก่ง ก็ไม่ต้องจ้างสิยะ” หรือ “ถ้าคุณไม่อยากได้กำไร ก็ไม่ต้องจ้างดิฉันก็ได้” แต่ให้คุณบอกถึงคุณสมบัติกลางๆ ไม่ดีไม่ร้าย เช่น “ถ้าดิฉันเป็นคนพูดน้อย อาจจะไม่เหมาะกับบริษัทที่เฮฮาอย่างนี้ก็ได้มั้งคะ” เพราะจริงๆแล้วคุณสมบัติ “พูดน้อย” แบบนี้ไม่ได้เป็นคุณลักษณะ (Trait) ที่สร้างความเสียหายให้กับบริษัทแต่อย่างใด

 

– What are your salary expectations? –

– คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่ –

 

คำแนะนำ : คุณควรศึกษาหาความรู้ว่าสายงานของคุณโดยเฉลี่ยแล้วได้เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ ซึ่งตัวเลขนั้นจะทำให้คุณประเมินตนเองได้ว่าควรเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี แต่สิ่งสำคัญคือ  “อย่ายอมรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าที่คุณตั้งใจ เว้นเสียว่าทางบริษัทอาจชดเชยเป็นผลประโยชน์อื่นๆ” ซึ่งคุณต้องชั่งน้ำหนักเอาเองว่าคุณสามารถเอาชีวิตรอดในเงินเดือนเท่านั้นได้หรือไม่

 

เรื่องเงินเดือนเป็นเรื่องที่ต่อรองได้ คุณต้องแฟร์กับตัวเองด้วย ซึ่งคุณสามารถบอกกับผู้สัมภาษณ์ได้ด้วยประโยคตัวอย่างเหล่านี้…

 

“I understand that positions similar to this one pay in the range of ฿35,000 to ฿45,000. With my experience, I would like to receive something in the range of ฿40,000 to ฿42,000.”

 

ผมเข้าใจว่าตำแหน่งงานแบบนี้จะจ่ายที่ประมาณ 35,000 – 45,000 บาท ด้วยประสบการณ์ของผม ผมต้องการได้รับค่าตอบแทนที่ 40,000 – 42,000 บาทครับ

 

หรือ “I would like to be compensated fairly for my experience.” ผมต้องการรับค่าจ้างที่ยุติธรรมสำหรับประสบการณ์ของผมครับ

 

หรือ “The research I’ve done indicates that positions like this one pay ฿35,000 to ฿45,000 and something in that range would be acceptable to me as a starting salary.”

 

จากที่ผมทำการบ้านมา ตำแหน่งนี้จะจ่ายที่ประมาณ 35,000 – 45,000 บาท ดังนั้นถ้าผมได้รับเงินเดือนในช่วงดังกล่าวเป็นเงินเดือนเริ่มต้น ผมคิดว่าผมรับได้ครับ

 

และ “My salary requirements are flexible, but I do have significant experience in the field that I believe adds value to my candidacy.”

 

สามารถเจรจาได้ครับ แต่ผมมีประสบการณ์ในสายงานนี้มาอย่างดี ผมเชื่อว่าตรงนี้สามารถนำมาคิดเป็นเงินเดือนของผมได้

 

ข้อควรระวัง : หลายบริษัทที่คุณไปสัมภาษณ์มักจะพยายามกดเงินเดือนที่คุณเรียกอยู่แล้ว ฉะนั้นถ้าคุณต้องการตัวเลขใดให้บวกเพิ่มไป 15-20% ก่อนจะเจรจาจะดีกว่านะครับ

 

– What is your greatest strength? –

– จุดแข็งที่ใหญ่ที่สุดของคุณคืออะไร –

 

 

คำแนะนำ : ก่อนสัมภาษณ์คุณควรลิสต์ข้อดี จุดแข็ง สกิล และประสบการณ์ที่คุณมีออกมาก่อน และเลือกมาสัก 3-4 อย่างที่เด่นๆ และเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่คุณสมัครเท่านั้น อย่าพูดอะไรเรื่อยเปื่อยไม่มีโฟกัส เพราะมันจะลดความน่าเชื่อถือของข้อดีที่คุณเล่าไปก่อนหน้า และควรยกตัวอย่างว่าคุณได้ใช้ข้อดีเหล่านั้นทำอะไรมาบ้างในอดีต เพราะหากผู้สัมภาษณ์ถามว่า “คุณจะเอาข้อดีเหล่านั้นมาช่วยบริษัทได้อย่างไร” คุณจะได้คิดออกทันท่วงที

 

ตัวอย่างที่คุณอาจเอาไปใช้ได้

 

“I have extremely strong writing skills.” ดิฉันมีประสบการณ์ทางด้านการเขียนที่ดีมากค่ะ

 

แชร์


ฝึกโทรถาม รับสาย ภาษาอังกฤษ formal ไม่ยาก ประโยคที่ใช้บ่อยเกี่ยวกับโทรศัพท์ make a phone call


Would you like to leave a message?(พิมพ์ ‘to’ ตกไปค่ะ 🙏🙏)
ประโยคสนทนาทางโทรศัพท์
ฝึกถาม ตอบเป็นภาษาอังกฤษทางโทรศัพท์
ประโยคฮิตโทรเข้า รับสาย ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษคุยโทรศัพท์ที่ใช้บ่อย
making answering a phone call
พูดโทรศัพท์ภาษาอังกฤษ
ฝึกพูดภาษาอังกฤษ
โทรศัพท์แบบทางการ
ฝึกฟังฝึกพูดภาษาอังกฤษ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ฝึกโทรถาม รับสาย ภาษาอังกฤษ formal ไม่ยาก ประโยคที่ใช้บ่อยเกี่ยวกับโทรศัพท์ make a phone call

รวมขั้นตอนเทคนิคการพรีเซนต์งานเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับคนอ่อนภาษาอังกฤษ เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE


รวมขั้นตอนเทคนิคการพรีเซนต์งานเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับคนอ่อนภาษาอังกฤษ เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
คลิปนี้เหมาะมากสำหรับคนที่อ่อนภาษาอังกฤษ เนื่องจากแบ่งขั้นตอนการนำเสนองานไว้อย่างชัดเจน สามารถดูขั้นตอนการนำเสนอได้ทีละขั้นตอน เพื่อทำให้การนำเสนอภาษาอังกฤษให้เป็นธรรมชาติและมืออาชีพยิ่งขึ้น การนำเสนองานภาษาอังกฤษ อาจจะต้องใช้ความเคยชินและความคล่องในการซ้อมด้วยเช่นกัน เพราะฉนั้น ต้องอย่าลืมขยันฝึกประโยคสำเร็จรูปในการนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษ ด้วยนะ
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ครบทุกหลักการใช้งานในคลิปเดียวแบบเต็มสูบทั้งหมด
หากสนใจมาเรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว กับทางESE สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางเหล่านี้นะครับ
อย่าลืมกดติดตามเราทางช่องทางอื่นๆด้วยนะครับ
Follow us on Facebook: https://www.facebook.com/easyandsimpleenglish/
Follow us on Instagram: https://www.instagram.com/ese_stagram_th/
Visit our website: http://easysimpleenglish.com/
Contact: Tel: 0863537300

รวมขั้นตอนเทคนิคการพรีเซนต์งานเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับคนอ่อนภาษาอังกฤษ เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE

7 อาชีพ ได้เงินดี ได้ภาษาด้วย | Tina Academy Ep.79


♡ดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือได้ที่ https://www.tinaacademy.com/books
♡ ติดต่อซื้อหนังสือ Line ID: ShopTina
♡ รายละเอียดคอร์สสอนภาษา https://www.tinaacademy.com
♡ Subscribe จะได้ไม่พลาดคลิปทุกๆสัปดาห์
https://www.youtube.com/tinathanchannel/
♡ Instagram: https://www.instagram.com/tinathancha…
♡ Facebook: https://www.facebook.com/tinathanchannel
♡ Line ID: @hxr4999x https://line.me/R/ti/p/%40hxr4999x

7 อาชีพ ได้เงินดี ได้ภาษาด้วย | Tina Academy Ep.79

ศัพท์อังกฤษ ตำแหน่งงานในองค์กร


ศัพท์อังกฤษ ตำแหน่งงานในองค์กร
English Vocabulary Work and Job Position in Organization
นักศึกษาบริหาร และประชาสัมพันธ์การจัดการองค์กร ควรรู้ทุกคำ

ศัพท์อังกฤษ ตำแหน่งงานในองค์กร

คำศัพท์ ผัก ภาษาอังกฤษ Vegetables


คำศัพท์ ผัก ภาษาอังกฤษ Vegetables
เรียนภาษาอังกฤษ
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ผักภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ ผักอังกฤษ คำศัพท์

คำศัพท์ ผัก ภาษาอังกฤษ Vegetables

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ สายงาน ภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *