Skip to content
Home » [Update] โพรไฟล์แน่น! รีวิวละเอียดยิบ กว่าจะได้ทุน ERASMUS+ ไปเรียนโทที่ยุโรปฟรีๆ ไม่มีข้อผูกมัด | ไม่ อยาก เรียน มหา ลัย – NATAVIGUIDES

[Update] โพรไฟล์แน่น! รีวิวละเอียดยิบ กว่าจะได้ทุน ERASMUS+ ไปเรียนโทที่ยุโรปฟรีๆ ไม่มีข้อผูกมัด | ไม่ อยาก เรียน มหา ลัย – NATAVIGUIDES

ไม่ อยาก เรียน มหา ลัย: คุณกำลังดูกระทู้

ได้ทุน Erasmus Mundus Joint Master Degrees (ERASMUS+) ไปเรียน ป.โทใน 3 ประเทศ ได้แก่ อิตาลี ฟินแลนด์ และเนเธอร์แลนด์

“The limits of my language mean the limits of my world.”
— Ludwig Wittgenstein

สวัสดีค่ะชาวDek-Dในยุคไร้พรมแดนแบบนี้ไม่เพียงแค่คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น แต่ยังช่วยให้เราและโอกาสใหม่ๆ เดินทางข้ามประเทศแล้วตามหากันจนเจอด้วย ซึ่งแน่นอนคือต้องอาศัย ‘ภาษา’ เป็นตัวเชื่อม สำหรับใครที่กำลังฝึกฝนภาษาที่ 2, 3, 4… เราขอเสิร์ฟกำลังใจกับเรื่องราวของผู้หญิงชื่อสุดเก๋‘รักกัลป์ เตี๋ยสกุล’ (กี้)ที่พยายามจนฝึกพูดได้ 5 ภาษา ซึ่งช่วยต่อยอดไปเจอโอกาสดีๆ ทั้งแลกเปลี่ยน-ฝึกงานที่เยอรมนี, ทำงานในบริษัทต่างชาติ และล่าสุดเพิ่งได้ทุน Erasmus Mundus Joint Master Degrees (ERASMUS+)ไปเรียน ป.โทใน 3 ประเทศ ได้แก่ อิตาลี ฟินแลนด์ และเนเธอร์แลนด์*ทุนนี้คือดีงามมากกก มาดูกันว่าภาษาและทัศนคติของเธอพาไปพบกับประสบการณ์แบบไหนมาบ้าง!

Table of Contents

“ตอนประถมเราอ่อนภาษาอังกฤษมาก”

ตอนประถมเราไม่เก่งทั้งแกรมมาร์ทั้งสื่อสาร แต่จุดเปลี่ยนคือมีคุณน้าคนนึงตั้งใจสอนจนเราเก่งขึ้นมาได้ การได้ครูดีสำคัญมากจริงๆ แล้วพอมัธยมก็ได้อยู่โรงเรียนที่ไม่แบ่งสายวิทย์กับศิลป์จริงจัง + มีคลาสภาษาให้เรียนเยอะมากกก นักเรียนเลยมีโอกาสค้นหาว่าตัวเอง enjoy กับอะไร หรือสามารถชอบเรียนทั้ง 2 สายไปพร้อมๆ กันได้ขนาดตอนมหา’ลัยเราเรียนคณะวิศวะฯ ก็ยังมีแพสชันกับการเรียนภาษามากๆ อยู่นะ เวลาเครียดวิชาหลัก ก็ไปหาที่ยึดเหนี่ยวโดยการลงไปเรียนภาษาสเปนที่ศูนย์ภาษาของมหา’ลัย

จนทุกวันนี้เราพูดได้ 5 ภาษา ไทย อังกฤษ จีน เยอรมัน และฝรั่งเศส อาจไม่ได้ fluent ทุกภาษาแต่อย่างน้อยสื่อสารได้เพราะเรียนหลายปีตั้งแต่มัธยม(เยอรมันได้เยอะสุดเพราะ รร.มีคอนเนกชันกับสถาบันเกอเธ่) และไม่เชิงว่ามีโอกาสได้ใช้ครบทุกภาษาขนาดนั้น แต่ได้เพิ่มโอกาสต่อยอดขั้นต่อๆ ไป เหมือนเป็นแต้มต่อให้ไปเจอโอกาสใหม่ๆ ในชีวิต

*เราอยากถือโอกาสฝากถึงครูแต่ละโรงเรียนที่อาจจะเข้ามาเป็นผู้อ่านตอนนี้ อยากให้เต็มที่กับการสอนให้ใช้เป็นมากกว่าจะเน้นแกรมมาร์อย่างเดียว เพราะจากที่มีโอกาสคุยกับเพื่อนหลายคน เค้าบอกว่าไม่ชอบ eng เพราะครูและการท่องจำ ไม่รู้จำไปทำไม ถ้าบังคับจะพาลปิดกั้นไม่ให้ชอบภาษาอื่นไปด้วย

ขอยกตัวอย่างการเรียนภาษาอังกฤษจากโรงเรียนที่จบมาเราไม่ได้เรียนแค่ท่องจำแกรมมาร์ แต่ครูที่สอนมีการสั่งงานผ่านการอ่านหนังสือนอกเวลาภาษาอังกฤษของสำนักพิมพ์ Oxford ซึ่งตรงนี้ เด็กนักเรียนก็จะได้ประโยชน์ทั้งในแง่แกรมมาร์ คำศัพท์ การเขียนตอบคำถามในเนื้อหาของหนังสือที่เด็กได้เลือกอ่านเอง และความเพลิดเพลินต่อการอ่านภาษาอังกฤษด้วยค่ะ

………

ไปต่างประเทศครั้งแรกในชีวิต

แลกเปลี่ยนที่เยอรมนีตอน ม.5

เราได้ทุนโรงเรียนที่เป็นความร่วมมือกับสถาบันเกอเธ่ (Goethe-Institut Thailand)ได้ไปเยอรมนีทำวิจัยเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาของทั้ง 2 ประเทศ ได้ฝึกความรับผิดชอบ ฝึกความตรงต่อเวลา เมเนจชีวิตและความผิดพลาด ณ ตอนนั้นคือไม่มีใครโอ๋เหมือนเราเป็นเด็กแล้ว

เราไปเห็นอะไรหลายอย่างทั้งสถานที่ท่องเที่ยว ความตรงต่อเวลาของรถสาธารณะ และการเรียนการสอนที่ให้อิสระกับเด็กมาก ครูจะเน้นให้เข้าใจหลักการ เช่น ตอนสอนอาจสอนสร้างโต๊ะจากไม้ แต่ตอนสอบเปลี่ยนมาให้สร้างเก้าอี้ หรืออย่างวิชาภาษาก็ไม่ได้บังคับให้ท่องจำ นอกจากนี้เรื่องการถกเถียงไม่ใช่ความก้าวร้าว ในทางกลับกันนักเรียนควรกล้ายกมือถามและ discuss กับครูในคลาสด้วย บรรยากาศทุกอย่างดีจนคิดว่า ‘จะทำยังไงให้ตัวเองได้กลับมาอยู่สภาพแวดล้อมแบบนี้อีก?’

………

เยอรมนีครั้งที่สอง

ได้ทุนมหา’ลัยไปฝึกงาน

ตอนเรียนภาควิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ช่วงปิดเทอมปี 3 ขึ้นปี 4 เราได้ทุนไปฝึกงาน 2 เดือนที่ประเทศเยอรมนี พื้นฐานภาษาตอนนั้นคือพูดเยอรมันได้ตั้งแต่ ม.6 สอบได้ระดับ B1 ตอนสมัครขอทุนกับอาจารย์ สกิลภาษาที่มีน่่าจะเป็นแต้มต่อให้ได้ทุนนี้ด้วย พอไปถึงก็สามารถเอาตัวรอดได้ พาเพื่อนที่ไปด้วยกันเที่ยวได้ และสามารถคุยกับ professor เป็นภาษาเยอรมันได้

เราได้ไปทำแล็บในมหา’ลัยในเยอรมนี ไปถึงเช้า เขียนโค้ด พักเที่ยง แล้วกลับมาทำงานต่อ เรารู้สึกเค้าไม่แคร์เลยนะว่าจะกลับช้าหรือเร็ว ขอให้งานเสร็จและมีคุณภาพ เลิกงานตรงเวลาได้โดยไม่ต้องถูกมองแปลกๆบางที professor ยังถามด้วยซ้ำว่าจะลาวันศุกร์ไปเที่ยวในเมืองหรือประเทศรอบๆ ดูบ้างมั้ย 5555

เคยเจอเหตุการณ์ Racist

ทำให้รู้ว่า ‘ตำรวจ(เยอรมนี)ช่วยเหลือเราได้’

เรากำลังเดินระหว่างทางจากบ้านไปมหา’ลัย แล้วอยู่ๆ มีคนนึงวิ่งจ็อกกี้ เราเลยหยุดรอให้เค้าวิ่งผ่าน คิดว่าผ่านแล้วผ่านเลย แต่คนนั้นดันวกกลับมาเขย่าตัว โชคดีมีพลเมืองดีเห็นแล้วเข้ามาช่วยแล้วช่วยโทรหาเจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่มาเร็วมากกกภายใน 5 นาทีพร้อมอุปกรณ์ ติดต่อกงศุลในไทยด้วย ทุกอย่างเร็วมากๆ แล้วเรื่องทั้งหมดก็จบใน 3 วัน ยิ่งไปกว่านั้นคือมหา’ลัยติดต่อจิตแพทย์ให้เราไปปรึกษา(ฟรีด้วย) เขาใส่ใจมากๆ ถ้าเจอคนดีจะดีมากจริงๆ

รีวิวความเยอรมนีใน 5 ข้อ

  • ตอนมาแลกเปลี่ยน ม.5 มุมมองเราคิดว่าเขาดูดุดัน เคร่งขรึม แต่พอไปแลกเปลี่ยนตอนมหา’ลัย เราถึงรู้ว่าก่อนหน้านี้คิดไปเอง ธรรมชาติของภาษาคือมีความกระแทกกระทั้น แต่ถ้าเรื่องบุนิสัยของคนเยอรมันมีหลากหลาย มีทั้งตรงเวลาและมาเลท ไม่เด็ดขาดก็มี ถ้าใครมีโอกาสไปอยากให้เปิดใจยอมรับกับคนทุกรูปแบบ อย่าตั้งแง่จนปิดกั้นตัวเอง

  • อยู่เราสามารถวางแผนชีวิตใน 1 วันแบบแน่นอนได้ เพราะรถสาธารณะมาตรงเวลาคนไม่จำเป็นต้องมีรถส่วนตัว แค่มีจักรยานแค่คันเดียวสามารถขึ้นสถานีรถไฟฟ้าหรือขี่ในเมืองอื่นๆ ได้ (คนเน้นขึ้นรถไฟเป็นหลัก) เราฝึกงานเมืองออฟเฟินบูร์ก (Offenburg) ที่อาจไม่ได้ศิวิไลซ์เท่ามิวนิก แต่ก็ยังมีสถานีรถไฟขนาดกลางเป็นจุดชุมทางรถไฟที่ไปลงฝรั่งเศสหรือสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ตั๋วรถไฟฟ้าก็ซื้อง่าย ไม่ต้องต่อแถวแลกเหรียญ การใช้ชีวิตบนถนนหนทางสบายและปลอดภัย รถหยุดให้เราข้ามถนน

  • มิวนิก (Munich) จะมีค่าใช้จ่ายสูงเพราะเป็นเมืองเศรษฐกิจของรัฐบาเยิร์น (Bayern) รายรับสมเหตุสมผลกับความรู้ทางวิชาชีพ ค่าแรงจึงเยอะและค่าใช้จ่ายสูงตาม เพราะรัฐให้ความสำคัญกับประชาชนทุกคนและทุกสายงาน

  • ผู้คนได้ใช้ชีวิตแบบสุนทรีย์มีพิพิธภัณฑ์กับโรงละครเยอะมาก เด็กมัธยมที่นั่นเลิกเรียนบ่าย 3 แล้วไปหากิจกรรมทำด้วยกัน เช่น เล่นกีฬา ซ้อมดนตรี วาดรูปที่สวน รับจ้างเป็นพี่เลี้ยงเด็ก บางคนฐานะดีแต่ก็ทำงานเสริม ไม่ได้หมดเวลาไปกับการเรียนหนักโดยไม่ได้ค้นหาตัวเอง

  • ส่วนตัวรู้สึกอาหารไม่ค่อยถูกปาก ที่นั่นเน้นแป้งกับไส้กรอกและเนื้อสัตว์วัฒนธรรมการกินคือไม่แชร์ สั่งจานใครจานมัน แล้วร้านอาหารให้จานใหญ่ม้ากกก

………

ทำงานเป็น Developer ในบริษัทต่างชาติ

สภาพแวดล้อมสุดดีงาม!

เราเข้าไปทำงานบริษัทข้ามชาติชื่อ ExxonMobil เป็น Back-end Developerภายใต้ตำแหน่ง IT Application Development Engineerตอนสัมภาษณ์งานครั้งแรก คณะผู้สัมภาษณ์ก็ถามเรื่องการฝึกงานที่เยอรมนี แล้วชวนคุยภาษาจีนต่ออีก อาจจะเป็นข้อได้เปรียบให้ประวัติเราโดดเด่น แล้วพอได้ภาษาจีนก็ทำให้เราถูกเลือกไปทำโปรเจกต์ช่วงเวลาสั้นๆ ที่จีนด้วย

เจอสไตล์การทำงานแบบไหน?

  • เราได้ไปอยู่ทีม Developer เพียวๆ เลยค่ะ เขียนโค้ดกันแบบขะมักเขม้น งานมีความชาเลนจ์ ต้องไล่ตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ทัน บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่เราไม่ทันได้เรียนในมหา’ลัยด้วยซ้ำ

  • ทำงานกับเพื่อนร่วมงานหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งจากอเมริกา ยุโรป เอเชีย ฯลฯ เพื่อนร่วมงานน่ารักและทัศนคติดี เราไม่จำเป็นต้องเก็บสิ่งที่สงสัยไว้ในใจเพราะกลัวโดนด่า เพราะเขาไม่ได้คาดหวังว่าคุณจะต้องเพอร์เฟกต์ 100% เขาต้องการคนที่เปิดใจและพร้อมพัฒนาตัวเองตลอดเวลา

  • คนในทีมสามารถให้ feedback งานโดยไม่ต้องกังวลเรื่องความอาวุโสของอีกฝ่าย เพราะจุดประสงค์คือเถียงกันเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด เอา fact มาฟาดกันแบบตรงๆ 55555 แต่ถึงจะห้ำหั่นขนาดไหน สุดท้ายทุกคนก็กลับมาทำงานด้วยกันดีๆ เหมือนเดิม เวลาต้องการเรียนรู้เชิงเทคนิคหรือ soft skills เขาจะช่วยเหลือและผลักดันกันเต็มที่

  • มีกิจกรรมที่ทำงานร่วมกันในบริษัทเยอะ เขาให้โอกาสเรามา lead กิจกรรมใหญ่ของบริษัท เช่น งาน Open House ที่ต้องต้อนรับและพาน้องนักศึกษา 60 คนเยี่ยมชมบริษัท ระหว่างทำงานหลักคือเขียนโค้ดไปด้วย ก็ต้องแบ่งเวลามาโฟกัสงานรอง จัดทีมคิดแผนล่วงหน้านาน 10 เดือน รวมๆ เราได้ฝึก soft skills เยอะมากกก

  • นอกจากนี้ยังมี Business Trip ให้เราบินไปทำงานและประชุมที่ต่างประเทศแบบจริงจัง รู้สึกโชคดีที่เขาไว้ใจและกล้าหยิบยื่นโอกาสนี้ให้เราที่เพิ่งจะเข้าทำงานได้แค่ 2 เดือน!

ไปจีนก็เจอความท้าทายอีกแบบนึง

เราได้ไปทำหนึ่งใน process ของโปรเจกต์เทรน Technical Knowledge เหมือนแค่ย้ายที่นั่งเขียนโค้ดจากไทยไปจีนเฉยๆ แหละ แต่ตอนทำงานเราต้องสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษตลอดเวลา เพราะนอกจากต้องทำงานกับคนจีนแล้วก็ยังมีคนจากชาติอื่นๆ ด้วย แล้วที่นั่นก็เป็นบริษัทดังในวงการไอที คนจีนแต่ละคนประสบการณ์ในสายงานโชกโชนมากกก เราอยู่ 3-4 เดือนมีโดนดุนิดหน่อยเพราะเจอบางงานที่ยากจริงๆ แต่หลังจากดุเสร็จเค้าก็ตั้งใจสอนเต็มที่ ทำให้เราได้รู้วิธีแก้ไขปัญหานั้นๆ พอมองย้อนไปคือภูมิใจมาก

บริษัทช่วยซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายทั้งค่าที่พัก อาหาร และเดินทาง แล้วการไปจีนครั้งนั้นทำให้เรามีโอกาสพัฒนาภาษาจีนไปในตัว พร้อมกับเปลี่ยนความเข้าใจผิดที่เคยคิดว่าประเทศจีนต้องไม่สะอาดแน่ๆ เพราะหลังจากไปถึง… เฮ้ยยย ใช้ชีวิตง่ายมาก! ทางเท้าเดินง่าย มีรถบัส รถแทรม รถไฟใต้ดิน ถ้าจะเรียนต่อหรือทำงานก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีเหมือนกันค่ะ

(กลับมาก่อนโควิดเริ่มระบาด ฉิวเฉียดไปอี้ก!)

………

จิ๊กซอว์ทุกชิ้น พาไปเจอโอกาสใหม่

ได้ทุน ป.โท เรียนต่อ 3 ประเทศ!

เล่าก่อนว่า ทุน Erasmus Mundus Joint Master Degrees (EMJMD) เป็นทุนเรียนต่อระดับปริญญาโทจากสหภาพยุโรป (EU) ส่งไปเรียนมหาวิทยาลัยในประเทศเครือเชงเก้น 2 ปี ผู้เรียนต้องเลือกอย่างน้อย 2 ประเทศ แต่จะประเทศไหนขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่สมัครค่ะ

ส่วนเราเลือกเรียนสาขา Software Engineering for Sustainability ซึ่งจะได้ไปเรียน 3 ประเทศในยุโรป คืออิตาลี ฟินแลนด์ และเนเธอร์แลนด์โดยทุนจะครอบคลุมทั้งค่าเดินทาง (ปีละ 3,000 ยูโร) + ค่าเรียนและค่าประกัน (ปีละ 9,000 ยูโร) + ค่าใช้จ่ายรายเดือน (เดือนละ 1,000 ยูโร) + เดินทางไปเดือนแรกได้ 2,000 ยูโร รวมแล้วในระยะเวลา 2 ปีได้เงินสนับสนุนรวม 49,000-50,000 ยูโร ~2 ล้านบาทไทย และเรียนจบโดยไม่ต้องใช้ทุนสักยูโร เรียนฟรี ได้เงินฟรี!

Q: เลือกคณะได้มั้ย?

เราสมัครหลักสูตรที่ต้องการเรียนได้เลย แล้วมาขอทุนทีหลัง บนหน้าเว็บหลักสูตรจะมีบอกไว้ว่าหลักสูตรนี้ provide Erasmus Scholarship

Q: ทำไมเลือกเรียนสาขานี้?

จริงๆ แล้วเราอยากเรียนสายมนุษย์ สายเศรษฐศาสตร์มากกว่าค่ะ แต่ปีนี้หลักสูตรพวกนั้น require แค่คนจบจากคณะนั้น ๆ ซึ่งหลักสูตรนี้ก็ตอบโจทย์เราในแง่ relation คณะที่เราจบมา + เรามีประสบการณ์ทำงานสายนี้อยู่แล้ว + เทรนด์ sustainability กำลังมาแรงมาก ๆ ในฝั่งยุโรป จึงเป็นอีกแรงจูงใจสำคัญค่ะ

Q: ยื่นเอกสารอะไรบ้าง?

  • ใบแสดงผลการเรียน (Transcript)
  • วิทยานิพนธ์ช่วง ป.ตรี (Thesis)
  • จดหมายแนะนำตัว (Motivation Letter)อธิบายถึงแรงจูงใจที่ทำให้เราอยากเรียนต่อในสาขานี้ ต้องอธิบายเหตุผลให้กรรมการเห็นว่าทำไมเราถึงเป็นคนที่สมควรได้รับการคัดเลือก จำได้ว่าก่อนส่งเราเกลาหลายรอบมาก เพราะต้องใส่ความรู้สึกส่วนตัวและแพสชัน + หา fact มาสนับสนุนเพื่อเพิ่มน้ำหนัก ตอนนั้นมีพี่ที่รู้จักและเคยได้ทุนนี้คอยให้คำแนะนำ

Q: โพรไฟล์และประสบการณ์ช่วงสมัครทุน?

  • เคยได้ทุนแลกเปลี่ยนไปเยอรมนีตอน ม.5
  • เคยฝึกงานสหกิจ 4 เดือนกับสตาร์ทอัปที่ไทย ตอนปี 3
  • เคยได้ทุนฝึกงาน 2 เดือนที่เยอรมนีตอนปี 3
  • ทำเกม AR multiplayer เป็นธีสิสจบ
  • จบ: วิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ @ ม.เกษตร
  • เกรดจบ 3.03
  • ตั้งแต่ 2562 จนถึงปัจจุบัน ทำงานเป็น Back-end Developer ในบริษัท ExxonMobil
  • เคยถูกส่งไปทำงานที่จีน 4 เดือน

Q: เตรียมตัวยังไงบ้าง?

  • หาหลักสูตรที่เปิดรับสมัคร ตั้งแต่ช่วงตุลาคมปี 2020 ที่ https://t.co/CulXSufQwW?amp=1

  • เข้าไปดู application requirement ที่หลักสูตรกำหนด และ deadline ต่าง ๆ

  • เตรียมเอกสารที่หลักสูตรนั้น ๆ requireของเรามีดังนี้
    – สำเนาพาสปอร์ต
    – สำเนาทรานสคริปต์
    – สำเนาปริญญาบัตร
    – ผลสอบภาษาอังกฤษ ielts/toefl/cambridge *แต่ละหลักสูตรต้องการคะแนนขั้นต่ำไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่อยู่ที่ 6.5 – 7
    – ใบอ้างอิงระบบเกรดจากมหาลัยที่ไทย
    – เอกสารอธิบายหลักสูตรที่เรียนของมหาลัยที่ไทย
    – เปเปอร์โปรเจกต์/ธีสิสจบ
    – motivation letter เขียนว่าทำไมเราถึงอยากเรียน มี perception และ goal ยังไงบ้าง ทำไมตัวเองถึงเหมาะที่จะเรียน
    – recommendation letter 2 ฉบับ

  • ส่งเอกสารผ่าน portal ของทุนให้ถูกต้องและครบถ้วน

  • รอเกือบสองเดือน 5555

  • รับอีเมลเรียกสัมภาษณ์ **บางหลักสูตรอาจจะไม่มีสัมภาษณ์ ถ้าเอกสาร eligible ก็จะโดน rank ผ่านเกรดหรือผลงานต่างๆ แล้วได้อีเมลประกาศผลการคัดเลือกเลย

  • ตอนสัมภาษณ์ ขอไม่เล่ามากนะคะ เนื่องจากแต่ละหลักสูตรสัมภาษณ์ไม่เหมือนกันอยู่แล้วเราก็ไม่รู้ว่าปีหน้า เขาจะสัมภาษณ์แบบเดิมรึเปล่า หลัก ๆ แล้วเขาก็ถามเรื่อง motivation และก็ technical knowledge ค่ะ เราได้เวลาเตรียมตัวประมาณ 1 อาทิตย์

  • หลังสัมภาษณ์เสร็จ เรารอผลอีกเดือนนึง แล้วเราก็ได้อีเมลว่าติดตัวสำรองค่ะ (แต่ตอนนี้ติดตัวจริงอย่างเป็นทางการแล้วล่ะ)

Q: ความยากของทุน?

จริงๆ แล้วแต่คนมองค่ะ เราไม่ได้คิดว่า process มันยาก เพราะแค่เตรียมเอกสารทุกอย่างให้พร้อม ติดต่ออาจารย์มหาลัย+หัวหน้าที่ทำงานให้เขียนจดหมายแนะนำให้ -> ไปสอบไอเอล (เราสอบแค่ครั้งเดียวแล้วยื่นเลย) และก็เขียน motivation letter

เรามองว่ามันกดดันและ competitive มากๆ ทุน Erasmus ซึ้นชื่อเรื่องการแข่งขันสูง บางหลักสูตรเปิดมานานคนสมัครเป็นพันแต่รับแค่ 15 คนก็มี ส่วนหลักสูตรเราเปิดปีนี้เป็นปีแรก คนสมัครในหน้าเว็บ 2xx คน application eligibled 9x คน เข้ารอบสัมภาษณ์ 46 คน และให้ทุนจริง ๆ 22 คนค่ะ
และในจำนวน 22 คนนี้ไม่ใช่ว่าแค่คะแนนถึงก็ได้เลย แต่ทุนเรามีการ rank คะแนน และจำกัดจำนวนทุนต่อภูมิภาคประเทศด้วยค่ะ ไม่เกินภูมิภาคละ 3 คน (เราต้องแข่งกับจีน เกาหลี อินโด ฟิลิปปินส์ ปากี ศรีลังกา มัลดีฟท์ ฯลฯ เพื่อเป็น 1 ใน 3) ถ้ามีคนที่ 4 ของภูมิภาคโผล่มา จะโดนปัดไปเป็นตัวสำรองเลย

ส่วนตัวเราก็ตั้งใจและเต็มที่มากๆ ในทุกขั้นตอนแหละ ถ้าติดก็ดี เพราะเป็นครั้งนึงในชีวิต แต่คนอื่นที่เขาสมัครก็ตั้งใจมากๆ เหมือนกัน ความน่ากลัวคือเราไม่รู้เลยว่าคู่แข่งเรามี profile ที่โหดกว่าขนาดไหน เพราะเป็นทุนที่อายุเท่าไหร่ มีประสบการณ์มากี่ปีก็สมัครได้// อันนี้ขอแชร์ความเครียด ช่วงที่เราต้องเตรียมเอกสาร ไปสอบ IELTS เขียนจดหมายบลาๆ ช่วงนั้นเราเครียดเรื่องงานมากด้วยค่ะ ต้องเทรนพนักงานใหม่ด้วย มันยากนะที่ต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน

ในแง่ Academic เราไม่แน่ใจว่าเราดีพอแล้วรึเปล่า เพราะเกรดไม่สูงเลยเมื่อเทียบกับเพื่อน ๆ ในภาคที่จบมาด้วยกัน แต่เราคิดว่าเรามาถึงจุดนี้ได้เพราะประสบการณ์การฝึกงาน การทำงานในสาย software development และที่สำคัญก็คือเรากินบุญเก่าเรื่องภาษาค่ะ(ย้ำว่าไม่อยากให้ทุกคนทิ้งภาษา!)

………

ชวนคุยเรื่อง ‘ภาษา’

พร้อมแนะนำวิธีที่ตัวเองใช้ได้ผล

Q: จากที่เรียนมา คิดว่าเสน่ห์ของแต่ละภาษาอยู่ที่ตรงไหน?

  • ภาษาเยอรมันเจ๋งและเท่มากกก ออกเสียงคำศัพท์แบบ aggressive (ดุดันสุดๆ!) แล้วรู้สึกสนุกอ่ะ เช่น คำว่าปากกาในภาษาอังกฤษคือ pen แต่เยอรมนีคือ Kugelschreiber โคตรยาว 55555 แกรมมาร์ยาก หลักการเยอะ จนมีเพจนึงทำมีมตลกๆ แบบ ‘Life is too short to learn German’

  • ภาษาฝรั่งเศสเราอาจแนะนำไม่ได้เพราะไม่ค่อยมีโอกาสใช้ทำงาน แต่เราชอบท่องเลขภาษาฝรั่งเศสอ่ะ สนุกดี ชื่อสถานที่กับชื่อคนก็ฟังแล้วหรูหรา บางทีถ้าได้ภาษาอังกฤษ ฟังศัพท์ฝรั่งเศสอาจพอเดาคำแปลได้บ้าง

  • ภาษาสเปนเราชอบเวลาฟังเพลง ดูหนัง ฟังบทสนทนาแล้วลื่นไหล ไม่ได้เข้าใจมากหรอก แต่สังเกตว่าลิ้นเค้าไปรัวมาก (เคยคุยกับครูสองภาษานี้เค้าบอกว่าถ้าเรียนฝรั่งเศสได้ก็เรียนสเปนได้ ยากพอกัน)

  • ภาษาจีนไวยากรณ์คล้ายไทย หลักการจำไม่เยอะ แต่ยากตรงตัวอักษรและตัวเขียน แต่ในขณะเดียวกัน เสน่ห์ก็อยู่ที่ตัวอักษรจีนเหมือนรูปวาด การฝึกเขียนเหมือนฝึกจินตนาการและสมาธิ การตวัดเส้นปากกาก็มีผล ถ้าใครชอบซีรีส์หรือนิยายจีนน่าจะง่าย

  • ภาษาไทยเราชอบมาก ไม่ใช่เพราะเป็นภาษาแม่นะ แต่เรารู้สึกไวยากรณ์ไทยมีอะไรให้เล่นเยอะ คำแปลที่ปรากฏในนิยายแปล ซับหนัง พอแปลแล้วสวยจะมีเสน่ห์มาก ความยากไม่แพ้ภาษาในยุโรปเลยแหละ เราคิดว่าต่อให้เก่งภาษาอื่นแค่ไหนก็อย่าลืมใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องด้วย

Q: ทั้งหมดนี้ตีกันมั้ย?

แน่นอนที่สุด 5555 เผลอเอาแกรมมาร์ภาษานึงมาใช้อีกภาษานึง และความยากคือการต้องแบ่งเวลาจำศัพท์หลายๆ ภาษาด้วย

Q: อยากเรียนให้ได้ผลควรเริ่มจากไหน?

ควรเริ่มจากภาษาที่ตัวเองชอบเป็นหลัก หาแรงบันดาลใจให้เจอว่าอะไรทำให้ enjoy กับการเรียนภาษานั้นๆ ส่วนในแง่การใช้ประโยชน์อาจเป็นเหตุผลรองเพราะต่อให้สร้างรายได้แต่ไม่ชอบก็ทรมานอยู่ดี แต่ถ้าใครที่มีตัวเลือกในใจเยอะ ลองหาเวลาเรียนหลายๆ ภาษาไปก่อน ถ้าไม่ค่อยตัดช้อยส์ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจง่ายๆ หมั่นฝึกฝนท่องจำ อย่ากลัวหรืออายที่จะพูด ถ้ามีทุนอาจลองไปเรียนสถาบันหรือหาคอร์สออนไลน์ก็ได้ แต่ถ้าให้เราแนะนำสักภาษานึง ภาษาเยอรมันก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดีเพราะมีทุนเรียนต่อเยอะ และมีบริษัทในไทยเยอะด้วย

Q: แนะนำช่องทางฝึกภาษาเยอรมนี

ถ้าใครจะมาเที่ยวหรือแลกเปลี่ยนที่เยอรมัน แค่ภาษาอังกฤษระดับสื่อสารก็พออยู่ได้ แต่ถ้าต้องใช้เรียนหรือทำงานเอกสารควรได้อย่างน้อย B2

แหล่งฝึกภาษาเราแนะนำให้ฟัง Podcast เป็นประจำ หรือลองไปดูเว็บเกอเธ่ เค้าจะมีบทเรียนเรื่องการออกเสียงฟรีๆ (https://www.goethe.de/ins/th/th/spr/ueb.html) หากมีเวลาก็อยากให้ลองร่วมอีเวนต์ที่ทางสถานทูตเยอรมนีในประเทศไทยจัด มีหลายอีเวนท์ฟรีจาก EU ที่ดีมาก ๆ ที่เปิดให้นักเรียนนักศึกษาเข้าร่วม ไปพบปะพูดคุยเป็นภาษานั้น ๆ หรือหากมีทุนพอก็อยากให้หาโอกาสไปแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานที่นั่นโดยตรง จะช่วยพัฒนาทักษะการพูดได้เยอะมาก คนเยอรมันใจดีนะ 🙂

………

รัวมือ!! ต้องขอแสดงความยินดีกับนักเรียนไทยที่จะได้ไปสัมผัสระบบการศึกษาที่ยอดเยี่ยมในยุโรปเร็วๆ นี้นะคะ เราเชื่อเลยว่าเรื่องราวของพี่กี้จะทำให้ผู้อ่านยิ่งอยากพัฒนาภาษาขึ้นเรื่อยๆ // สำหรับใครที่อยากเรียนภาษาเยอรมัน นอกจากช่องทางที่พี่กี้แนะนำไปแล้ว เราก็ขอมาชี้เป้าคอร์สฟรีที่น่าสนใจ ที่โพสต์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ 🙂

[Update] | ไม่ อยาก เรียน มหา ลัย – NATAVIGUIDES

ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับ Admission 54 หลังจากทราบผลน้องๆหลายคนคงสุขสมหวังได้เข้าไปศึกษาในคณะและมหาวิทยาลัยที่ตนเองต้องการ แต่น้องๆ คนไหนที่ผิดหวังไม่ต้องเสียใจ เพราะทางเลือกในการศึกษายังมีอีกมากมาย วันนี้ทีมงาน SANOOK!CAMPUS รวบรวม ข้อมูลของมหาวิทยาลัยเอกชน ไว้ให้น้องๆสนใจที่ไหนลองคลิกไปที่เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัย นั้นได้เลย….

 


1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Bangkok University
http://www.bu.ac.th

2. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต Kasem Bundit University
http://www.kbu.ac.th

3. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ Dhurakijpundit University
http://www.dpu.ac.th

4. มหาวิทยาลัยเกริก Kirk University
http://www.krirk.ac.th

5.มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น Saint John’s University
http://www.stjohn.ac.th

6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร Mahanakorn University of Technology
http://www.mut.ac.th

7. มหาวิทยาลัยศรีปทุม Sripatum University
http://www.spu.ac.th

8. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย The University of the Thai Chamber of Commerce
http://www.utcc.ac.th

9. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ Assumption University
http://www.au.edu

10. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ South-East Asia University
http://www.sau.ac.th

11. มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต Rattana Bundit University
http://www.rbac.ac.th

12. มหาวิทยาลัยสยาม Saim University
http://www.siam.edu

13. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
http://www.eau.ac.th

14. มหาวิทยาลัยปทุมธานี Pathumthani University
http://www.ptu.ac.th

15. มหาวิทยาลัยชินวัตร Shinawatra University
http://www.shinawatra.ac.th

16. มหาวิทยาลัยรังสิต Rangsit University
http://www.rsu.ac.th

17. มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย) Webster University (Thailand)
http://www.webster.ac.th

18. มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด Stamford International University
http://www.stamford.edu

19. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Hua Chiew Chalermprakiet University
http://www.hcu.ac.th

20. มหาวิทยาลัยคริสเตียน Christian University
http://www.christian.ac.th

21. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น Western University
http://www.western.ac.th/

22. มหาวิทยาลัยภาคกลาง Phakklang University
http://www.tuct.ac.th

23. มหาวิทยาลัยพายัพ Payap University
http://www.payap.ac.th

24. มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา Chaopraya University
http://www.cpu.ac.th

25. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ North-Chiang Mai University
http://www.northcm.ac.th

26. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ North-Eastern University
http://www.neu.ac.th

27.มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล Vongchavalikut University

http://www.vu.ac.th

28.มหาวิทยาลัยราชธานี Ratchatani College of Technology
http://www.rtu.ac.th

29. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ Hatyai University
http://www.hu.ac.th

30 มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Asian University of Science and Technology
http://www.asianust.ac.th

31. วิทยาลัยดุสิตธานี Dusitthani College
http://www.dtc.ac.th

32. วิทยาลัยทองสุข Thongsuk College
http://www.thongsook.ac.th/

33. วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ Saint Louis College
http://www.saintlouis.or.th

34. วิทยาลัยมิชชั่น Mission College
http://www.missioncollege.edu

35. วิทยาลัยรัชต์ภาคย์ Rajapark College
http://www.rajapark.ac.th/

36. วิทยาลัยราชพฤกษ์
http://www.rc.ac.th/

37. วิทยาลัยแสงธรรม Saengtham College
http://www.saengtham.ac.th

38. วิทยาลัยเทคโนโลยีธนบุรี
http://www.tct.ac.th/

39. วิทยาลัยเซาธ์อีสบางกอก South-East Bangkok College
http://www.sbc.th.edu

40. วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ North Bangkok Collage
http://www.northbkk.ac.th

41. วิทยาลัยเซนต์เทเรซา – อินติ
http://www.stic.ac.th

42. วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
http://www.bkkthon.ac.th

43. วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานีอุดร Rachathani Udon College of Technology
http://www.mua.go.th/~bphe/u_data/RUTC.htm

44. วิทยาลัยสันตพล Suntapol College
http://www.santapol.ac.th

45. วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ North-Eastern Polytechnic College
http://www.polytechnic.ac.th

46. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย College of Bhandit Asia C.B.A.
http://www.cas.ac.th

47. วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ Bundit Borihanturakit College
http://www.bbc.ac.th/

48. วิทยาลัยนครราชสีมา Nakhonratchasima College
http://www.nmc.ac.th/

49. วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา Chalermkarnchana College
http://www.ckc.ac.th

50. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ Southern College of Technology
http://www.sct.ac.th

51. วิทยาลัยศรีโสภณ Srisophon College
http://www.ssc.ac.th

52. วิทยาลัยตาปี Tapee College
http://www.tapee.ac.th/

53. มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา Yala Islamic University
http://www.yiu.ac.th/

54. วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ International Buddhist College
http://www.ibc.ac.th

55. มหาวิทยาลัยเนชั่น Nation University
http://www.nation.ac.th

56. วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง Lumnamping College
http://www.lpc.th.edu

57. วิทยาลัยพิษณุโลก
http://www.plc.ac.th/

58. วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น Far Eastern College
http://www.fareastern.ac.th

59 วิทยาลัยเชียงราย
http://www.crc.ac.th/

60. วิทยาลัยอินเตอร์เทค-ลำปาง Lampang Inter-Tech College
http://www.lit.ac.th/

61. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
http://www.siamtech.ac.th/



ย้ายประเทศ เรียนต่อที่อเมริกาทำยังไง?🇺🇸 ไม่ขอทุนรัฐบาลไทย ไม่ต้องกลับมาใช้ทุน! | mow!


สวัสดีค่าา วันนี้มาแชร์ประสบการณ์การย้ายประเทศไปเรียนต่อป.ตรีที่มหาวิทยาลัยในอเมริกาค่ะ โดยข้อมูลทั้งหมดนี้เรากับเพื่อนต่างชาติที่ยื่นมาเรียนที่มหาลัยเดียวกันช่วยกันรวบรวมกันมา ก็จะเป็นความเห็นและประสบการณ์จากหลายๆคน ที่เรารวมมาเป็นคนพูด ถ้ามีอะไรผิดพลาดขอโทษมา ณ​ ที่นี้ด้วยนะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับใครที่สนใจจะไปเรียนเหมือนกันค่า 🇺🇸

⚠️สำหรับใครที่สงสัยว่า ยื่นที่ไหนดี มหาลัยไหนให้ทุนเด็กต่างชาติบ้าง มหาลัยไหนไม่ให้ มหาลัยในเมกามีแบบไหนบ้าง วิธีเลือกมหาลัย พาร์ทสองมาแล้วนะคะ ไปดูกันได้เลยค่า 👉🏻 https://www.youtube.com/watch?v=dGR9XsnZTFE\u0026t=738s

⏰Timestamp:
ระบบการยื่นมหาวิทยาลัยในอเมริกา: 1:19

Timeline การยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในอเมริกา + ศัพท์เกี่ยวกับการยื่นเข้าที่ควรรู้ : 3:10
Platformที่ใช้ในการยื่น: 5:04
ของทุกอย่างที่ใช้ในการยื่น: 5:34
👉🏻เกรด: 5:39
👉🏻SAT+ACT: 6:34
👉🏻TOEFL / IELTS: 8:52
👉🏻Extracurricular: 9:36
👉🏻Essays เรียงความ: 10:50
👉🏻Letter of Recommendation: 11:51
👉🏻Portfolio: 12:42
คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจขอทุนตรงจากมหาลัยในอเมริกา: 13:27

สิ่งที่เราพูดถึงในคลิป
เว็บไซต์​ Common Application: https://www.commonapp.org/

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

#อย่าหาว่าน้าสอน ฟังพี่ เหตุผลที่เราต้อง \”เรียนให้จบ\”


จำพี่ไว้นะน้อง !!! \”การศึกษา\” สำคัญมาก !!!
เชื่อพี่เถอะ ถ้ามีใบปริญญา เราจะไปได้ไกลกว่า และง่ายกว่า !!!
อย่างน้อยที่สุด มันก็คือความรู้และความสามารถที่จะติดตัวเราไปชั่วชีวิตนะน้อง !!!
ชม อย่าหาว่าน้าสอน EP.12 Part 1 ได้ที่ https://youtu.be/Vzg8zWGkPyk
และ Part 2 ได้ที่ https://youtu.be/srd0sFTntLw

#อย่าหาว่าน้าสอน ฟังพี่ เหตุผลที่เราต้อง \

Highlight | โมเมนต์ลุ้นผลสอบเข้ามหาลัยคือที่สุด O-Negative


หลังผลสอบถูกประกาศ ปริม ฝุ่น ชมพู่ ปืน อาท ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวของพวกเขา เพื่อนกลุ่ม O
รีรันทุกวัน เสาร์อาทิตย์ เวลา 16.4018.00 ทางช่อง GMM25
ติดตามทุกความเคลื่อนไหวของช่อง GMM25 ได้ที่
FB | https://www.facebook.com/GMM25Thailand
IG | https://instagram.com/GMM25Thailand
Twitter | https://twitter.com/GMM25Thailand

Highlight | โมเมนต์ลุ้นผลสอบเข้ามหาลัยคือที่สุด  O-Negative

มหาลัยวัวชน-วงพัทลุง [Official MV]


ชม MV เพลงอื่นๆ และ กด Subscribe ช่อง spacebarstudio คลิ๊กที่นี่
https://www.youtube.com/channel/UCpZZAkg0CnbVNhQiPZpxw9g
ดาวน์โหลดเพลงและเสียงรอสายจากศิลปินนี้ 496849 รหัสศิลปิน 749
ติดต่องานแสดง : 0841853266
Music Video by Spacebar Studio
ติดต่อถ่ายทำ : 0897272711 \\ 0880800480
เพลง มหาลัยวัวชน
ศิลปิน วงพัทลุง
คำร้อง/ทำนอง โอ พารา

มหาลัยวัวชน-วงพัทลุง [Official MV]

เมื่อการศึกษา ทำร้ายชีวิตคุณ | Startyourway


คุณคิดว่า 16 ปีที่ใช้ชีวิตในระบบการศึกษา คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในชีวิตครับ ผมเป็นคนเรียนโง่ ได้เกรดเฉลี่ยต่ำมาตลอด และผมเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกล้มเหลวกับการเรียนอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นคลิปนี้จึงออกมาในรูปแบบที่ผมคิดและมองในมุมของผมเท่านั้นครับ
เว็บไซต์ของเรา อย่าลืมเข้าไปเยี่ยมชมนะครับ http://www.startyourway.com
ไม่อยากพลาดข่าวสารเรื่องนายตัวเอง กดติดตาม Facebook ได้เลยครับ
http://www.facebook.com/startyourwaybyvit
กลุ่มนายตัวเองที่มีนายตัวเองครบทุกสาขาอาชีพ คุณอยากถามอะไร เข้ามาในกลุ่มนี้ได้เลยครับ
http://www.facebook.com/groups/startyourwaycommunity
Breaktime Silent Film Light by Kevin MacLeod is licensed under a Creative Commons Attribution licence (https://creativecommons.org/licenses/by/4.0/)
Source: http://incompetech.com/music/royaltyfree/index.html?isrc=USUAN1100302
Artist: http://incompetech.com/
The Life and Death of a Certain K. Zabriskie, Patriarch by Chris Zabriskie is licensed under a Creative Commons Attribution licence (https://creativecommons.org/licenses/by/4.0/)
Source: http://chriszabriskie.com/vendaface/
Artist: http://chriszabriskie.com/

เมื่อการศึกษา ทำร้ายชีวิตคุณ | Startyourway

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ไม่ อยาก เรียน มหา ลัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *