Skip to content
Home » [Update] แนะนำ ผู้สอบบัญชี เงินเดือนเท่าไหร่, www.amtaudit.com | ผู้สอบบัญชี เซ็นงบ – NATAVIGUIDES

[Update] แนะนำ ผู้สอบบัญชี เงินเดือนเท่าไหร่, www.amtaudit.com | ผู้สอบบัญชี เซ็นงบ – NATAVIGUIDES

ผู้สอบบัญชี เซ็นงบ: คุณกำลังดูกระทู้

 

 

แนะนำ ผู้สอบบัญชี เงินเดือนเท่าไหร่

สายงานบัญชีเป็นสายอาชีพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นได้จากการเป็นสาขาวิชายอดนิยมที่นักเรียนนักศึกษาต้องการที่จะสอบเข้าเรียน และเป็นสายอาชีพยอดนิยมในการสมัครงานอีกด้วย โดยข้อมูลในปี 2017 จาก JobThai พบว่า งานในสายอาชีพบัญชีและการเงินเป็นงานที่นักศึกษาจบใหม่ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับอาชีวศึกษาให้ความสนใจสมัครเป็นอันดับต้น ๆ
 

แม้จะเป็นที่นิยมในการสมัครงานมากขนาดไหนแต่พอพูดถึงสายงานบัญชีเมื่อไหร่แล้ว หลายคนมักนึกถึงภาพการทำงานนั่งโต๊ะที่เคร่งเครียดและอยู่กับตัวเลขเต็มไปหมด แต่ถ้าเราได้ลองไปสัมผัสกับคนที่ทำงานในสายบัญชีจริง ๆ แล้วจะพบว่าในอาชีพนี้มีงานหลายด้านที่มีความน่าสนใจและท้าทายความสามารถมาก ไม่ได้เคร่งเครียดวนเวียนแต่เรื่องตัวเลขอย่างที่คิดกัน เราจึงมีบทสัมภาษณ์ที่เกี่ยวกับอาชีพผู้สอบบัญชี หนึ่งในอาชีพยอดนิยมจากคนที่เรียนจบในสาขาบัญชี มาแนะนำให้กับคนที่สนใจได้เห็นภาพการทำงานในอาชีพนี้กันมากขึ้น โดยผู้ที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราวสายอาชีพนี้คือ คุณบุญเลิศ กมลชนกกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จากสำนักงานตรวจสอบบัญชีระดับโลก PricewaterhouseCoopers (PwC) ประเทศไทย ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการผู้สอบบัญชีมากว่า 25 ปี

  • การเรียนจบในสายบัญชี สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ไม่ใช่แค่นักบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชี

  • คนที่ต้องการจะประกอบอาชีพผู้สอบบัญชีต้องผ่านการสอบ

    Certified Public Accountant (CPA)

    และต้องมีประสบการณ์

    3

    ปีขึ้นไป จึงจะสามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีได้

  • นักศึกษาจบใหม่เมื่อเข้าไปทำงานในสายอาชีพผู้สอบบัญชีจะได้เริ่มทำงานในตำแหน่ง

    Audit Assistant

    และเมื่อทำงานไปเรื่อย ๆ มีโอกาสเติบโตจนถึงขั้นเป็น

    Partner

    ของสำนักงาน

     

    ขึ้นอยู่กับผลงานและความสามารถ

Table of Contents

อยากให้คุณบุญเลิศเล่าประวัติการศึกษาและหน้าที่ในปัจจุบันให้ผู้อ่านได้ทราบ

ผมเรียนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย แล้วก็ไปเรียนต่ออนุปริญญา (Diploma) ทางด้านบัญชีที่สิงคโปร์ หลังจากนั้นก็ไปเรียนต่อที่ Leicester Polytechnic (ปัจจุบันคือ De Montfort University) ที่ประเทศอังกฤษ 2 ปี ก็จบปริญญาตรีด้านบัญชีและการเงิน (Accounting and Finance) และเริ่มต้นทำงานที่ PwC เป็นที่แรก
 

ปัจจุบันผมมีตำแหน่งเป็นหุ้นส่วนของสายงานตรวจสอบบัญชี และเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารของ PwC ประเทศไทย ได้รับมอบหมายให้ดูในแง่ของการบริหารความเสี่ยงและคุณภาพงาน อีกมุมหนึ่งก็ได้รับมอบหมายให้ดูสายธุรกิจทางการเงิน ก็เป็นหัวหน้าสายธุรกิจทางการเงินในเมืองไทยครับ

คนที่เรียนจบในสายบัญชีมาจะประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง นอกจากการเป็นผู้สอบบัญชี

คนที่จบบัญชีไม่ได้เป็นผู้สอบบัญชีเท่านั้นเราทำได้หลายอย่าง แน่นอนว่าจบบัญชี พื้นฐานก็สามารถเป็นสมุห์บัญชี เป็นนักบัญชีได้ นอกจากนั้นก็เป็นผู้สอบบัญชีได้ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภท อย่าง PwC เรียกว่าเป็นผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor) แล้วก็ยังมีผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor) นอกจากนี้ยังสามารถเป็นนักบัญชีภาษี (Tax Accountant) เป็นนักบัญชีบริหาร (Management Accountant) หรือจะเป็นนักบัญชีต้นทุน (Cost Accountant) หรือแม้กระทั่งเป็นนักการเงิน (Financial Analyst) ก็ต้องใช้พื้นฐานบัญชีและการเงินทั้งนั้น

การที่เรามีพื้นฐานบัญชีหรือการเงิน มันช่วยให้เราสามารถทำได้หลาย ๆ วิชาชีพ บางคนทำงานสักพักอยากจะเป็นอาจารย์สอนวิชาบัญชีก็สามารถเป็นได้ วิชาการเงินก็ได้ เพราะฉะนั้นมันมีโอกาสให้เราได้พัฒนาไปในหลาย ๆ สาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิชาบัญชี

 

แล้วอาชีพผู้สอบบัญชีทำงานเกี่ยวกับอะไร

การดำเนินธุรกิจทุกบริษัทจะต้องมีนักบัญชีจัดทำข้อมูลการเงินและงบการเงินขึ้นมา ซึ่งจะมีผู้สนใจที่จะเข้ามาใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร หรือแม้กระทั่งกรมสรรพากร คนเหล่านี้เขาต้องการทราบว่างบการเงินที่นักบัญชีทำขึ้นมามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน นั่นเป็นบทบาทที่ผู้สอบบัญชีจะต้องเข้ามาตรวจสอบ เพื่อให้คำรับรองหรือให้ความเชื่อมั่นว่าทำมาอย่างถูกต้อง ผู้ใช้งบการเงินจะได้สบายใจว่าข้อมูลในนั้นใช้ได้ พอตรวจสอบเสร็จก็จะมีรายงานเป็นใบปะหน้าใบแรกที่เราจะเห็นอยู่หน้างบการเงินก็คือรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเซ็นให้คำรับรอง เพราะฉะนั้นถ้าถามถึงวัตถุประสงค์หลัก ๆ คือ เข้ามาตรวจสอบเพื่อให้ความเชื่อมั่นงบการเงินแก่ผู้ใช้งบการเงิน

 

การจะเป็นผู้สอบบัญชีได้ ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง

สำหรับคนที่อยากจะเป็นผู้สอบบัญชี หรือที่เรียกว่า Certified Public Accountant (CPA) เราต้องผ่านการสอบ การสอบในปัจจุบันก็จะกำหนดให้สอบทั้งหมด 6 วิชา คือ วิชาบัญชี 1, วิชาบัญชี 2, วิชาสอบบัญชี 1, วิชาสอบบัญชี 2, วิชากฎหมาย และวิชาภาษี เมื่อสอบผ่านทั้ง  6 วิชาแล้ว จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงาน 3 ปี จึงจะสามารถขอขึ้นทะเบียนเป็น CPA ได้
 

การสอบเป็น CPA จะเปิดให้สอบปีละ 3 ครั้ง ทั้ง 6 วิชานี้ทยอยสอบได้ ดังนั้นถ้าเราพร้อมมากเราก็สมัครสอบเยอะหน่อย แต่ถ้าช่วงนั้นเรางานเยอะ ก็อาจจะสอบน้อยหน่อย ค่อย ๆ เก็บไป เขาจะมีกำหนดไว้ว่าจะต้องเก็บให้ได้ภายในกี่ปี ถ้าสอบเก็บไว้แต่ยังไม่ผ่านหมดทั้ง 6 วิชา ก็ต้องไปเริ่มต้นทั้งหมดใหม่อีกครั้ง ซึ่งเนื้อหาก็จะเปลี่ยนไป เพราะข้อมูลความรู้เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
 คนที่เรียนมาในสาขานี้ส่วนใหญ่ก็จะอยากเป็นผู้สอบบัญชี เหมือนกับคนที่เรียนจบวิศวะฯ มาก็อยากที่จะไปสอบให้ได้ใบประกอบวิชาชีพ บางคนที่สอบ CPA ได้แล้ว เขาอาจจะไม่ได้มีเป้าหมายเป็นผู้สอบบัญชี เขาอาจจะอยากเป็นนักบัญชีมากกว่า แต่การสอบ CPA มันเป็นการสร้างเครดิตให้กับตัวเอง เพราะว่า CPA คือคนที่ได้รับการยอมรับว่าผ่านการทดสอบ เป็นคนที่มีคุณสมบัติ และมีประสบการณ์

 

ในโลกออนไลน์ร่ำลือกันว่าการสอบ

CPA

นั้นยากมาก คุณบุณเลิศมีคำแนะนำอะไรให้กับคนที่สนใจไปสอบไหม

ก็ต้องยอมรับว่ามันก็ยากในระดับหนึ่ง ผมว่ามันอยู่ที่การเตรียมตัว สำหรับคนที่เพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ พยายามหาสำนักงานบัญชีให้ตัวเองเข้าไปทำงานให้ได้ ถ้าเราเข้าทำงานในสำนักงานบัญชีใหญ่ ๆ ได้ จะค่อนข้างได้เปรียบตรงที่เราจะได้รับการอบรม ได้รับการฝึกงานจากพี่ ๆ ที่เขามีประสบการณ์ เพราะข้อสอบบางทีมันไม่ได้อยู่ที่ทฤษฎีมันอยู่ที่ประสบการณ์ด้วย ยากหรือง่ายมันอยู่ที่ตัวเราว่าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน และตัวเราเองเตรียมความพร้อมมากน้อยแค่ไหน
 

และด้วยความที่มาตรฐานบัญชี มาตรฐานสอบบัญชี  เรื่องของภาษี หรือแม้กระทั่งเรื่องของกฎหมายมันเปลี่ยนแปลงตลอด เราก็ต้องอัปเดตตัวเราเองเหมือนกัน น้องบางคนเรียนจบมหาวิทยาลัยมา แล้วสอบไม่ผ่านในระยะเวลา 1-2 ปี มาตรฐานเหล่านั้นก็อาจจะเปลี่ยนไปแล้ว ก็ต้องไปเริ่มเรียนใหม่อีก ดังนั้นยิ่งสอบเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

Career Path

ของสายอาชีพผู้สอบบัญชีจะเติบโตได้อย่างไรบ้าง

สำหรับเด็กจบใหม่ พอเข้ามาในสำนักงานบัญชีจะมีตำแหน่งเป็น Audit Assistant ซึ่งหน้าที่ของเราก็คือการไปกับทีม พี่ในทีมเขาจะมอบหมายให้เราตรวจสอบในส่วนที่ไม่ยากมากนักหรือไม่มีความเสี่ยงมาก เพราะว่าในส่วนที่ยากและมีความเสี่ยงมากจะต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการตรวจ
 

หลังจากเป็น Audit Assistant ประมาณ 2-3 ปี เราจะสามารถโตไปเป็น Senior Auditor ซึ่งจะมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าทีมแล้ว Senior Auditor จะมีลูกทีมเล็ก ๆ 2-3 คน ซึ่งก็จะมีหน้าที่นำทีมเข้าไปตรวจสอบที่ไซต์งานที่ได้รับมอบหมาย
 

ตำแหน่งถัดไปเราเรียกว่าเป็น Manager ซึ่งมีหน้าที่ดูแลทีมเล็ก ๆ หลายทีม โดย Manager จะได้รับมอบหมายให้ดูแลลูกค้าหลายราย อาจจะ 20 ราย ขึ้นอยู่กับขนาด หมายความว่าคุณจะมีลูกทีมที่คุณจะต้องดูแล 20 ทีม นอกจากนี้ Manager ก็จะเริ่มมีบทบาทที่สำคัญขึ้น ทั้งเรื่องการวางแผน และการติดต่อลูกค้า คุณจำเป็นต้องมีทักษะในการบริหารจัดการ เพราะคุณต้องจัดการเรื่องของเวลา จัดการเรื่องของคน จัดการเรื่องของทีม
 

หลังจากเป็น Manager ประมาณ 3 ปี คุณจะมีโอกาสเติบโตเป็น Senior Manager  ซึ่งจะได้รับมอบหมายให้ดูแลลูกค้าจำนวนเพิ่มขึ้นหรือเป็นลูกค้าที่ยากหรือท้าทายมากขึ้น เช่น บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
 

จากตำแหน่ง Senior Manager ก็จะเป็นตำแหน่ง Director ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไปเลย ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่ Director ได้รับมอบหมายให้ดูแลก็จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้ยากมากนัก ตำแหน่ง Director จะยังไม่ได้ทำหน้าที่เซ็นรายงานรับรองการตรวจสอบ แต่จะมี Partner เป็นผู้รับผิดชอบเซ็นแทน
 

สุดท้ายเราอาจจะมีโอกาสขึ้นเป็น Partner ของสำนักงานได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับผลงานและขึ้นอยู่กับ Partnership ขององค์กรว่าเขาพร้อมที่จะยอมรับเราขึ้นมาเป็นหุ้นส่วนหรือไม่ด้วย ถ้าลองนับระยะเวลาทั้งหมด การที่จะขึ้นมาเป็น Partner ได้ อาจจะต้องใช้เวลาถึง 14-15 ปี แต่ช่วงเวลาทั้งหมดที่พูดมามันก็ไม่ได้ตายตัวเสมอไปมันก็อยู่ที่ตัวเราด้วย

 

Career Path

ชัดเจนและน่าสนใจขนาดนี้ ค่าตอบแทนเป็นอย่างไรบ้าง

ผมว่ารายได้ค่อนข้างดีนะ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้มาทำงานใน Field นี้ การได้ CPA มันเพิ่ม Value ให้กับตัวเราเอง ฉะนั้นคนที่จบมาแล้วได้ CPA กับคนที่จบมาแล้วไม่ได้ CPA ในตลาดงานก็จะ Offer ค่าตอบแทนให้กับคนที่ได้ CPA ดีกว่าแน่นอน
 

สำหรับน้องจบใหม่เราก็ไม่ได้ให้เงินเดือนที่ต่ำกว่าตลาด จริง ๆ แล้วเราให้ใกล้เคียงหรือสูงกว่าตลาดด้วยซ้ำ เราต้องการคนเก่งเราต้องการคนดีเข้ามา มหาวิทยาลัยหลายแห่งที่เขาผลิตเด็กที่เรียนทางด้านบัญชีก็ผลิตได้เท่าเดิม ในขณะที่ความต้องการของตลาดมากขึ้นทุกปี เพราะฉะนั้น Big 4 เองก็แย่งกัน ก็ต้องให้เงินเดือนที่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าตลาด เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็นเหตุผลที่เรายังสามารถหาคนเข้ามาร่วมงานกับเราได้
 

ผมแชร์ในมุมมองส่วนตัวอย่างนี้ว่า คนที่ทำงานในสายบัญชีเงินเดือนเขาจะเพิ่มขึ้นได้เท่าไหร่ ผมเดาว่าประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน แต่คนที่มาทางสายสำนักงานสอบบัญชี เข้ามา 2 ปีแรก เงินเดือนอาจจะไม่ได้เยอะมาก  เพราะว่าคนที่เข้ามาก็เข้ามาเรียนรู้ อย่างที่ PwC ชั่วโมงของการฝึกอบรมไม่ต่ำกว่า 80 ชั่วโมงต่อปี อาทิตย์หนึ่งเราทำงาน 40 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าอย่างน้อย 2 อาทิตย์ คือ เวลาที่เราอยู่ในห้องเรียน เพราะฉะนั้นเราถือว่าส่วนหนึ่งคุณได้จากสำนักงานด้วย คุณจะได้ประสบการณ์ ได้ความรู้ แต่อย่างที่บอกว่าเงินเดือนคุณอาจจะไม่ได้ดูน่าตื่นเต้นมากนัก
 

แต่หลังจากคุณเป็น Senior Auditor แล้ว เงินเดือนคุณจะปรับขึ้นไปประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์จากฐานเดิม ถ้าคุณได้ CPA อีกก็จะมีรางวัลเพิ่มให้อีก มันจะเห็นความแตกต่างของการก้าวกระโดด ตอนที่คุณจะไต่ขึ้นไปในแต่ละช่วง ช่วงของเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นมันเพิ่มขึ้นเยอะกว่าภาคธุรกิจทั่ว ๆ ไป
 

คนเราชอบเปรียบเทียบอะไรในระยะสั้น เห็นเพื่อนทำงานได้เงินเดือนดี เงินเดือนสูงกว่าเรา ก็จะสงสัยว่าทำไมเราได้น้อย แต่อีก 2-3 ปีคุณจะแซงหน้าเขาไปเยอะเลย ต่อให้เพื่อนคุณทำงานไปเรื่อย ๆ ในตำแหน่งนั้นจนเป็น Manager  

[NEW] คุณรู้หรือไม่ ความแตกต่างของผู้สอบบัญชีทั้ง 3 ประเภท | ผู้สอบบัญชี เซ็นงบ – NATAVIGUIDES

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ผู้สอบบัญชีตลาดทุน  ทั้ง 3 ประเภทของผู้สอบบัญชีนี้เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ 

หลายคนอาจจะเคยสงสัยหรือสับสนว่า จะเลือกผู้สอบบัญชีเพื่อรับรองงบการเงินประจำปีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประเภทไหนดี? เพราะผู้สอบบัญชีที่สามารถรับรองงบการเงินบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มีหลายแบบ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักประเภทของผู้สอบบัญชีที่สามารถให้บริการได้ มีดังนี้

1.ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA : Tax auditor)

เป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544

การรองรับงบการเงิน  :  สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กที่มีทุนจดทะเบียนหรือทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวม และรายได้รวมในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท

 

2.ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทั่วไป (CPA : Certified Public Accountant)

เป็นบุคคลที่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ พ.ศ.2547

การรองรับงบการเงิน  : สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร  หรือเข้าใจง่ายๆ คือ สามารถรับรองได้ทุกประเภทนิติบุคคล ยกเว้นงบการเงินที่ต้องใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. รับรองงบการเงินเท่านั้น

 

3.ผู้สอบบัญชีตลาดทุน (List of Auditors Approved by the office of SEC)

หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือที่เราคุ้นหูกันคือ ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. (List of Auditors Approved by the office of SEC)

การรองรับงบการเงิน  :  สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรคือรับรองได้ทุกประเภทนิติบุคคล รวมถึงงบการเงินดังต่อไปนี้ที่ต้องใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. รับรองงบการเงินเท่านั้น

  • บริษัทที่อยู่ในตลาดทุน หรือบริษัทที่ขอยื่นเข้าจดทะเบียนในตลาดทุน (IPO) โดยตลาดทุนคือศูนย์กลาง หรือแหล่งพบปะของผู้มีเงินออมหรือผู้ที่ต้องการลงทุน กับผู้ที่ต้องการเงินทุน เช่น เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบการที่มองหาเงินทุนระยะยาวเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจหรือต่อยอดธุรกิจ โดยมีการออกสินค้าเป็นหลักทรัพย์ขายให้แก่ประชาชนเพื่อถือครองไว้และถือว่าเป็นพันธสัญญาต่อกัน โดยสินค้าเหล่านั้นก็มีทั้งหุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตร และกองทุนรวมต่าง ๆ เป็นต้น
  • งบการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ยกเว้นกองทุนที่มีสมาชิกไม่เกิน 100 คน และมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยพิจารณา ณ วันสิ้นเดือนก่อนวันที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และผู้สอบบัญชีนั้น (CPA) ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกให้ใช้ผู้สอบบัญชีทั่วไปได้)
  • งบการเงินของกองทุนรวม ที่จัดการโดยผู้จัดการกองทุน
  • บริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควรเลือกผู้สอบบัญชีให้เหมาะสมเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และที่สำคัญต้องเลือกผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติในการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี และสามารถให้คำแนะนำกระบวนการในการจัดทำบัญชีที่ถูกต้องให้แก่กิจการได้ และมีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสี่ยงจากการจัดทำบัญชีที่ไม่ถูกต้อง และลดข้อผิดพลาดในการจัดทำงบการเงินของบริษัทได้ครับ

 

ผู้เขียน :  พรรณทิพา  เป๋าอยู่สุข  ผู้จัดการ บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด 


E-Learning : การตรวจสอบบัญชีอย่างมืออาชีพ ตอน งบการเงินเปรียบเทียบและตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชี


ผู้สอบบัญชีอบรมเก็บชั่วโมง CPD ปี 2563
แบบศึกษาด้วยตัวเอง 50 ชั่วโมง โดยไม่ต้องสอบ
ดูประกาศจากสภาวิชาชีพบัญชี http://www.tfac.or.th/Article/Detail/122945
สั่งซื้อได้ที่ http://www.thaicpdonline.com
หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่
คุณคิว 028184533 ต่อ 11 หรือ 0867772361​
ID LINE : thaicpd หรือ http://line.me/ti/p/~thaicpd
Email: [email protected]

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

E-Learning : การตรวจสอบบัญชีอย่างมืออาชีพ ตอน งบการเงินเปรียบเทียบและตัวอย่างรายงานผู้สอบบัญชี

บุญรวี ยมจินดา บอก I HERE TOO มาแรงแซงแลนด์สไลด์ ก้าวไกล เพื่อไทย ทำไงดี?


555 เรื่องขำขันเฮฮาทางการเกิดขึ้นอีกแล้ว มาๆๆดาหน้ากันมาฟัง คนดี พูดเรื่องคน here ให้ฟัง มันสนุกมาก ขอบอก เพราะเวลานี้ ใครๆก็พร้อมเท
สมัครเป็นสมาชิกช่อง เพื่อรับสิทธิประโยชน์อีกมากมาย และสร้างโอกาสในการพัฒนาช่อง
คลิกเลย
https://www.youtube.com/channel/UC7x6achdgULt0iooUC9wZw/join
ติมตามบุญรวี ยมจินดาทาง facebook ตามไปกดคลิกถูกใจไว้เลยครับ
https://www.facebook.com/BTALUMIC

บุญรวี ยมจินดา บอก I HERE TOO มาแรงแซงแลนด์สไลด์  ก้าวไกล เพื่อไทย ทำไงดี?

ACT 491 สัมภาษณ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(CPA)


สัมภาษณ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุวดี เครือรัฐติกาล
ผู้สัมภาษณ์ : นางสาวกุลจิตรา กลิ่นเกษร และ นางสาวกนกวรรณ โพธิ์ทอง

ACT 491 สัมภาษณ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(CPA)

หน้ารายงานผู้สอบบัญชี


หน้ารายงานผู้สอบบัญชี

หน้ารายงานผู้สอบบัญชี

EP18. ความเห็นของผู้สอบบัญชี


นักลงทุนวีไอ SETIndex เล่นหุ้น VI หุ้นมือใหม่
EP18. ความเห็นของผู้สอบบัญชี
สำคัญ! งบการเงิน เชื่อถือได้ 100% ไหม?
ทำหลอกๆ ได้ไหม?
ต่อให้เราอ่านงบการเงินได้อย่างคล่องแคล่ว…
แต่คำถามสำคัญที่อาจจะมีอยู่ในใจหลายๆคน คือ \”งบการเงิน เชื่อถือได้ 100% ไหม?\”
ในระบบนิเวศน์ของวงการลงทุน มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประโยชน์มากมาย
ดังนั้น จึงมีอาชีพที่เรียกว่า ผู้สอบบัญชี ที่มีความรู้ ประสบการณ์ มีใบอนุญาติ และมีกฎหมายกำกับควบคุม
ซึ่งผู้สอบบัญชีนี้เอง จะทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทแทนเรา สิ่งที่เราจำเป็นต้องอ่านก่อนดูงบการเงินทุกครั้งคือ ไฟล์ที่ชื่อว่า \”Auditor report\” ซึ่งวิธีอ่าน ง่ายมากๆเลยครับ
ผู้สอบบัญชีจะมีความเห็นทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
1) ความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข
2) ความเห็นแบบมีเงื่อนไข
3) ไม่ถูกต้อง
4) ไม่แสดงความคิดเห็น
ติดตามพวกเราได้ที่
Youtube : https://bit.ly/bananas_YT
Facebook : https://www.facebook.com/bananasinvestments
LINE : https://bit.ly/LINE_BN
❤️ หากเป็นประโยชน์ ฝากกดไลค์ กดแชร์ด้วยนะคร๊าบ

EP18. ความเห็นของผู้สอบบัญชี

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ผู้สอบบัญชี เซ็นงบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *