Skip to content
Home » [Update] | หลัก ไวยากรณ์ – NATAVIGUIDES

[Update] | หลัก ไวยากรณ์ – NATAVIGUIDES

หลัก ไวยากรณ์: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

               ภาษาบาลีมีหลักไวยากรณ์เฉพาะไม่เหมือนภาษาใดในโลก เพราะเป็นภาษาที่มีเพศครบสามเพศคือเพศชาย เพศหญิง และไม่ระบุเพศ คำแต่ละจึงบ่งบอกถึงเพศ บางอย่างได้มาจากธรรมชาติเช่นผู้ชายก็เป็นเพศชาย ผู้หญิงก็เป็นเพศหญิง บางอย่างไม่อาจระบุเศได้ว่าเป็นหญิงหรือชายจึงมีเพศหนึ่งเพื่อจำแนกให้ชัดเจน ในบทนี้จะเริ่มต้นด้วยหลักไวยากรณ์เบื้องต้น ว่าด้วยตัวอักษรและสระ พร้อมทั้งวิธีการเขียนโดยใช้อักษรไทยและโรมัน ผู้สนใจศึกษาสามารถอ่านและเข้าใจได้โดยง่าย

 

บทที่ 2 
ไวยากรณ์ภาษาบาลี

               ในเอกสารนี้ใช้คำสองคำคือภาษามคธและภาษาบาลี แต่ต่อจากนี้ไปขอใช้คำว่าภาษาบาลีเพื่อจะได้ตรงกับรายวิชา  ไวยากรณ์ภาษาบาลีมีกฏเกณฑ์ที่แน่นอน ผู้เริ่มต้นศึกษาต้องรู้จักกับพยัญชนะและสระของภาษาบาลีก่อนจากนั้นจึงค่อยๆถ่ายเสียงภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน บาลีไวยากรณ์นั้นเขียนเป็นภาษาบาลีว่า “ปาลีเวยฺยากรณํ”  แปลว่าปกรณ์เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งบาลีมีบทวิเคราะห์ว่า ปาลึ วฺยากรโรติ เตนาติ ปาลิกรณํ แปลตามบทวิเคราะห์ว่า อาจารย์ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งบาลีด้วยปกรณ์นั้น เพราะเหตุนั้น ปกรณ์นั้นชื่อว่า ปาลิเวยฺยากรณํ   นักศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทยได้นำคำว่า “บาลี” มาใช้ในความหมายว่า “ภาษาที่รักษาพุทธพจน์”  แต่คำว่า “บาลี” ไม่ใช่ภาษาแต่หมายถึงตำราหลักหรือคัมภีร์ชั้นต้นของพระพุทธศาสนาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้  ดังนั้นก่อนที่จะศึกษาวิชาบาลีเพื่อการศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนา จึงจำเป็นต้องรู้จักไวยากรณ์ภาษาบาลีโดยสังเขป

บาลีไวยากรณ์ 4 ภาค

               บาลีไวยากรณ์แบ่งออกเป็น 4 ภาคคือ อักขรวิธี  วจีวิภาค  วากยสัมพันธ์  และฉันทลักษณะ(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,บาลีไวยากรณ์(สมัญญาภิธาน), พิมพ์ครั้งที่ 36,(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2536), หน้า 5.
               1. อักขรวิธี ว่าด้วยอักษร จัดเป็น 2 คือ(1)สมัญญาภิธานแสดงชื่ออักษร ที่เป็นสระ และพยัญชนะ พร้อมทั้งฐานกรณ์  (2)สนธิ ต่ออักษรที่อยู่ในคำอื่น ให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน
               2. วจีวิภาค แบ่งคำพูดออกเป็น 6 ส่วน คือ นาม  อัพยยศัพท์  สมาส  ตัทธิต  อาขยาต  กิตต์ 
                3. วากยสัมพันธ์ ว่าด้วยการก และประพันธ์ผูกคำพูดที่แบ่งไว้ในวจีวิภาค ให้เข้าเป็นประโยคอันเดียวกัน
               4. ฉันทลักษณะ แสดงวิธีแต่งฉันท์ คือคาถาที่เป็นวรรณพฤทธิ์และมาตราพฤทธิ์   
               ในชั้นนี้จะศึกษาเพียง 2 ภาคเท่านั้นคืออักขรวิธี  วจีวิภาค  ส่วนวากยสัมพันธ์  และฉันทลักษณะจะได้ศึกษาในชั้นสูงต่อไปอักษรภาษาบาลี(อักขรวิธี)  
               อักษรภาษาบาลีนั้นเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้ เพราะได้สาบสูญไปนานมากแล้ว ในภายหลังเมื่อชนชาติใดจะนำภาษาบาลีไปใช้ ก็เพียงแต่นำเสียงหรือคำพูดไปใช้เท่านั้น วิธีการเขียนหรือสะกดก็จะเป็นเรื่องของชนชาตินั้นนำอักษรของตนไปใช้เอง ในที่นี้ขอแสดงการเขียนคำในภาษาบาลีด้วยอักษรภาษาไทยและอักษรภาษาอังกฤษ (โรมัน)

ความหมายของอักษร 

คำว่า “อักษร” มีความหมาย 2 อย่าง คือ

1. มีความหมายว่า สภาพที่ไม่เสื่อมสิ้นไป ใช้เป็นชื่อเรียก พระนิพพาน
           มีวิเคราะห์ว่า ขรนฺติ วินสฺสนฺตีติ ขรา, สงฺขตา เต ยตฺถ น สนฺติ, ตํ อกฺขรํ, ขรสงขาตานํ วา สงฺขตานํ ปฏิปกฺขตฺตา อกฺขรํ         ธรรมที่ชื่อว่า ขระ เพราะ อรรถว่า ย่อมสิ้นไป เสื่อมไป,ได้แก่ สังขตธรรม, สังขตะธรรม เหล่านั้น ไม่มีในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่าอักขระ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อักขระ เพราะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสังขตธรรม
  ในคัมภีร์อภิธานวรรณนา แปลว่า นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีความเสื่อมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อักขระ, นิพพานชื่อว่า อักขระ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสังขตธรรม คือสิ่งที่เสื่อม คำว่า อักขระ จัดเป็นชื่อเรียกพระนิพพานอย่างหนึ่งในบรรดาชื่อพระนิพพานทั้งหมด 46 ชื่อ
2. หมายถึงตัวหนังสือ 
               ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา แสดงความหมายไว้ว่า อกฺขรํ อการาทิ อักษร มี อ อักษรเป็นต้นฯ คัมภีร์อภิธานวรรณนา แสดงความหมายของวัณณะ และอักษร ไว้ดังนี้  อตฺโถ วณฺณียติ ปกาสียติ เอเตนาติ วณฺโณ อักษรสำหรับใช้เขียนบอกเนื้อความชื่อว่า วัณณะ  น ขรนฺตีติ อกฺขโร วัณณะที่ใช้เขียนบอกเนื้อความนั้นเป็นสิ่งไม่สิ้นไป จึงได้ชื่อว่า อักขระ 
               อักขระในภาษาบาลี มี 41 ตัว แบ่งเป็นสระ 8 ตัว พยัญชนะ 33 ตัว  เสียงพยัญชนะในภาษาบาลีมีอยู่ 33 ตัว และสระ 8 ตัว

สระ (Vowels)
               (1.) อักขระเบื้องต้น ตั้งแต่ อ จนถึง โอ ชื่อว่า สระ ออกเสียงได้ตามลำพังตนเอง และทำให้พยัญชนะออกเสียงได้ด้วย  
               (2.) สระ 8 ตัวนี้ เรียกว่า นิสสัย เพราะเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ บรรดาพยัญชนะ ทั้ง 33 ตัว ต้องอาศัยสระจึงออกเสียงได้  
               (3.) รัสสะ คือสระเสียงสั้น เพราะออกเสียงเร็ว/สั้น ได้แก่ อ อิ อุ เช่น อติ ครุ เป็นต้น 
               (4.) ทีฆะ คือสระเสียงยาว เพราะออกเสียงช้า/ยาว ได้แก่ อา อี อู เอ โอ เช่น ภาคี วธู เสโข เป็นต้น 
               (5.) สังยุตตสระ คือสระผสม ได้แก่ เอ โอ ถ้ามีพยัญชนะสังโยคอยู่หลัง เช่น เสยฺโย,โสตฺถิ เป็นต้น ท่านกล่าวว่า เอ โอ นั้นออกเสียงเหมือนเป็นรัสสะ

พยัญชนะ (Consonants)
               (1.) อักขระอันเหลือจากสระ มี 33 ตัวมี ก เป็นต้น มี อํ (นิคคหิต) เป็นที่สุด ชื่อว่า พยัญชนะ 
               (2.) พยัญชนะแปลว่า ทำเนื้อความให้ปรากฎ เช่น โอ เมื่อผสมกับ กฺ เป็น โก มีความหมายว่า ใคร,อะไร 
               (3.) พยัญชนะมีชื่อว่า นิสสิต เพราะพยัญชนะออกเสียงตามลำพังเหมือนสระไม่ได้ ต้องอาศัยสระจึงออกเสียงได้ 
               (4.) การเขียนพยัญชนะแบบไม่มีสระเป็นที่อาศัย จึงมี . (จุด) อยู่ข้างล่าง เช่น กฺ ขฺ คฺ ฆฺ งฺ ฯลฯ 
               (5.) การเขียนพยัญชนะที่มีสระเป็นที่อาศัย จะไม่เห็น . (จุด) อยู่ข้างล่าง เช่น ก กา กิ กี กุ กู เก โก ฯลฯ
               (6.) พยัญชนะจัดเป็น 2 พวก คือ วรรค 1 , อวรรค 1 
               (7.) พยัญชนะวรรคจัดเป็น 5 วรรคๆ ละ 5 ตัว จึงมี 25 ตัว คือพยัญชนะวรรคจัดเป็น 5 วรรคๆ ละ 5 ตัว จึงมี 25 ตัว

เทียบอักษรโรมันที่ใช้เขียนบาลี
               การเทียบอักษรบาลีกับอักษรโรมันมีแตกต่างกันแล้วแต่ตำราที่สมมุติขึ้นมา บางเล่มไม่เคยเห็นแต่สมมุติกันเอง เมื่อสืบค้นดูจากตำราหลายเล่มแล้วจึงได้กำหนดตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของพระพรหมคุณาภรณ์ ซึ่งตรงกับ Introduction to Pali ของ  (A.K. Warder, Introduction to Pali,Third Edition,(Oxford: The pali Text Society),2001, P.2.

สระภาษาบาลี  8 ตัว 
               รัสสระ -ะ (-a) -อิ (-i) -อุ (-u)  
               ทีฆสระ -า (-ā ) -อี (-  ī   ) -อู (-ū ) เ- (-e) โ- (-o)

พยัญชนะ 33 ตัว

พยัญชนะวรรค โฆสะ อโฆสะ นาสิก สิถิล ธนิต สิถิล ธนิต 
               กัณฐชะ (วรรค กะ )  ก (k)     ข (kh)      ค (g)      ฆ (gh)      ง (ṅ )
               ตาลุชะ (วรรค จะ )   จ (c)     ฉ (ch)      ช (j)       ฌ (jh)        (ñ)
               มุทธชะ (วรรค ฏะ )  ฏ ( tฺ )      ( tฺh )    ฑ  (dฺ )   ฒ  (dฺh )   ณ  (nฺ )
               ทันตชะ (วรรค ตะ )  ต (t)     ถ (th)        ท (d)     ธ (dh)       น (n)
               อฏฐชะ (วรรค ปะ )  ป (p)    ผ (ph)       พ (b)     ภ (bh)      ม (m)

พยัญชนะอวรรคประกอบด้วย  ย  ร  ล  ว  ส  ห  ฬ  อํ    y  r  l  v  s  h  l   m ṃ หรือ  n   วิธีเขียนภาษาบาลีนี้ใช้ตามแบบพจนานุกรมพุทธศาสตร์   ซึ่งใช้ m m n แทนนิคคหิต  

การเขียนอักษรบางตัว
                  1. เวลาเขียนเป็นอักษรไทย ตัว “” และ “”  จะต้องไม่มีเชิง  
                  2.  ตัวอักษรโรมันที่ใช้แทน “ง” ในภาษาบาลีนิยมใช้  ṅ    
                  3.  mฺ เมื่อเขียนด้วยอักษรเทวนาครี จะแทนด้วยรูป o  เรียกว่า  “นิคหิตหรือ อนุสาร”   จัดเป็นรูปพยัญชนะ เช่นในคำว่า  buddhamฺ ‘ซึ่งพระพุทธ’  เสียงนี้นักไวยากรณ์ดั้งเดิมถือว่า เป็นเสียงนาสิกบริสุทธิ์ (pure nasal) ไม่ขึ้นกับวรรคใด แต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามหลักการกลมกลืนเสียง (หลักสนธิ) ถ้าไปสนธิกับพยัญชนะวรรค นั่นคือ จะเปลี่ยนเป็นเสียงนาสิกประจำวรรคนั้นๆ  เช่น samฺgama อ่านว่า  [sangama / sangama] ‘การมาร่วมกัน’, samฺcara อ่านว่า [sañcara] ‘การเที่ยวไป’, samฺdhi อ่านว่า [sandhi] ‘การเชื่อมต่อ’ เป็นต้น  โดยปกติถ้าเสียงนี้อยู่ท้ายคำจะออกเสียงเป็นเสียง  [m]  เพราะคนทั่วไปไม่สามารถออกเสียงนาสิกย์บริสุทธิ์ ที่ไม่ขึ้นกับวรรคหนึ่งวรรคใดได้  เสียงพยัญชนะนี้จะปรากฏท้ายพยางค์เสมอ โดยออกเสียงตามหลังสระ จะเป็นสระสั้นหรือยาวก็ได้
               ในเนื้อหาข้างบนนี้คือหน่วยเสียง ได้แก่เสียงพยัญชนะที่ยังไม่ประสมกับสระใดๆ  แต่ตามปกติ พยัญชนะเวลาเขียนโดดๆ เป็นอักษรเทวนาครี, อักษรชนิดอื่นในอินเดีย และอักษรไทย จะอ่านเหมือนมีสระ a ประสมอยู่ด้วย เช่น ka, kha, ga, gha, na (ṅa) เป็นต้น  ดังนั้น เวลาถ่ายถอดเสียงจากอักษรไทยเป็นอักษรโรมันจึงต้องเขียนสระ a ประสมอยู่ด้วยเสมอ        
               เสียงอโฆษะ (ตำราไวยากรณ์บาลีที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษส่วนใหญ่เรียกว่า surd) คือ เสียงที่ตำราภาษาศาสตร์ไทยส่วนใหญ่เรียกว่า เสียงไม่ก้อง (voiceless) ได้แก่ เสียงที่ไม่มีการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง ขณะออกเสียง 
               เสียงโฆษะ (ตำราไวยากรณ์บาลี ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษส่วนใหญ่เรียกว่า sonant)  คือ เสียงที่ตำราภาษาศาสตร์ไทยส่วนใหญ่เรียกว่า เสียงก้อง (voiced) ได้แก่ เสียงที่มีการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง ขณะออกเสียง 
               เสียงสิถิล (unaspirate) คือ เสียงที่ตำราภาษาศาสตร์ไทยเรียกกันว่า เสียงเบา หรือ เสียงไม่มีลม ได้แก่เสียงที่ออกมาแล้วไม่มีเสียงลมหายใจ (aspiration) ออกมาด้วย 
               เสียงธนิต (aspirate) คือ เสียงที่ตำราภาษาศาสตร์ไทยเรียกกันว่า เสียงหนัก หรือ เสียงมีลม คือเสียงที่ออกมาพร้อมกับเสียงลมหายใจแรงๆ (aspiration)
               เสียงนาสิก (nasal) คือเสียงที่เกิดจากการปล่อยลมออกพร้อมกัน ทั้งทางช่องปากและช่องจมูก  ตามธรรมชาติเสียงนี้เป็นเสียงโฆษะ แต่นักไวยากรณ์ดั้งเดิมหลายคน ไม่ว่าจะเป็นนักไวยากรณ์สันสกฤตหรือบาลี จัดให้เสียงนี้เป็นโฆษาโฆษวิมุติ แปลว่า พ้นจากความเป็นโฆษะและอโฆษะ  ที่เป็นเช่นนี้ เพราะในการแบ่งพยัญชนะวรรคในภาษาทั้งสองนี้ เสียงพยัญชนะ 4 เสียงแรกในวรรคหนึ่งๆ ไม่ว่าจะเป็นโฆษะหรืออโฆษะ ล้วนมีเสียง สิถิล-ธนิต เป็นคู่กัน  ส่วนเสียงนาสิกนั้น เป็นเสียงสิถิลที่ไม่มีเสียงธนิตมาเป็นคู่ด้วย นักไวยากรณ์จึงถือว่า เสียงนาสิกไม่เป็นทั้งโฆษะและอโฆษะ  เสียงนี้ในตำราภาษาศาสตร์ภาษาไทยส่วนใหญ่เรียกว่า เสียงนาสิก  แต่ในที่นี้สะกดว่านาสิก โดยสะกดตามชื่อภาษาสันสกฤต ซึ่งสะกดว่า nāsikya

การเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน
               การถ่ายเสียง หรือถ่ายถอดเสียง ภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน หรือเรียกง่ายๆ ว่า การเขียนภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน (คืออักษรแบบเดียวกับที่ใช้เขียนภาษาอังกฤษ) นี้ เป็นการถ่ายถอดเสียงเป็นสัททอักษรในระบบหนึ่ง  เพราะสัญลักษณ์ 1 ตัวแทนเสียง 1 เสียง ทั้งถูกต้องตามที่เกิดและประเภทของเสียง ตรงกับหลักภาษาศาสตร์  และคำภาษาบาลีที่เขียนเป็นอักษรโรมันนี้  เราสามารถจะนำไปแปลงเป็นสัททอักษรสากลที่ใช้กันทุกวันนี้ได้อย่างสมบูรณ์  แต่ในปัจจุบัน การออกเสียงในหมู่ผู้ศึกษาเพี้ยนไปจากระบบเดิม เขียนอย่างหนึ่งอ่านอีกอย่างหนึ่ง จึงมีผู้เปลี่ยนไปเรียกว่า การถ่ายตัวอักษร (transliteration) ไม่ใช่ถ่ายเสียง (transcription)
             นักเรียนไทยทั่วไป จะคุ้นกับการเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทยมาแต่เดิม  ดังนั้นเราจึงมักตั้งต้นด้วยการเขียนเป็นอักษรไทย แล้วถ่ายเสียง หรือถ่ายตัวอักษร ออกมาเป็นอักษรโรมันอีกที  นักเรียนประเทศอื่น เช่นนักเรียนอินเดีย ก็มักเริ่มต้นด้วยการเขียนเป็นตัวอักษรของตนเอง  แต่นักเรียนในประเทศที่ใช้อักษรโรมันอยู่แล้ว เช่น นักเรียนอังกฤษ  นักเรียนเยอรมัน จะเขียนภาษาเหล่านี้ออกมาเป็นอักษรโรมันเลย
              การถ่ายเสียงภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน จะเขียนสระตามหลังพยัญชนะ เหมือนกับภาษาต่างๆ ทางยุโรป เช่นภาษาอังกฤษ  ซึ่งทำให้ดูง่ายกว่าเขียนสระข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน ข้างล่าง อย่างที่เขียนเป็นอักษรไทย เพราะสามารถเห็นได้ชัดว่า สระตัวนั้นประสมอยู่กับพยัญชนะตัวใด หรือพยัญชนะควบกล้ำกลุ่มใด

หลักในการถ่ายเสียงภาษาบาลี จากอักษรไทยเป็นอักษรโรมันคือ 

               1.  หน่วยเสียงพยัญชนะใด เมื่อเขียนเป็นอักษรไทย ไม่มีสระกำกับอยู่ และไม่มีจุดพินทุ ( ฺ) อยู่ใต้ตัวอักษรด้วย เมื่อเขียนเป็นอักษรโรมัน จะต้องเขียนสระ a กำกับตลอดเวลา เช่น  ชวน javana, วชฺช vajja, ภมร bhamara เป็นต้น
               2.  หน่วยเสียงพยัญชนะใด เมื่อเขียนเป็นอักษรไทยมีจุดพินทุ ( ฺ) อยู่ใต้ตัวอักษรแสดงว่าเป็นตัวควบกล้ำ หรือเป็นตัวสะกด เมื่อเขียนเป็นอักษรโรมันไม่ต้องเขียนสระใดๆ กำกับ เช่น ปฺมาท pamāda, วฺยคฺฆ vyaggha, พินธุ bindhu
              3.  เสียง ฤ, ฤๅ, ฦ เป็นสระ ดังนั้นเมื่อเขียนเป็นอักษรไทยโดยปกติ จึงไม่ใส่จุดพินทุใต้พยัญชนะต้น แต่มิได้หมายความว่า เวลาเขียนเป็นอักษรโรมันจะต้องใส่สระ a กำกับพยัญชนะต้นนั้นด้วย  จะเขียนสระ rฺ ประสมกับพยัญชนะต้นลงไปได้เลย เช่น กฤษฺณ krฺsฺnฺa,นฤปติ nrฺpati
              4.  ในภาษาบาลีไม่มีรูปพยัญชนะ อ  เหมือนในภาษาไทย  ถ้าคำใดเขียนเป็นอักษรไทยขึ้นต้นด้วย  อ  เวลาเขียนเป็นอักษรโรมัน จะขึ้นต้นด้วยสระเลย เช่น อมร amara, อินฺทฺ inda, อุทุมฺพร udumbara  เป็นต้น
               5.  ควรสังเกตสระที่อยู่ข้างหน้า หรืออยู่ทั้งข้างหน้าข้างหลังพยัญชนะ เมื่อเขียนเป็นอักษรไทย (ได้แก่สระ เอ ไอ โอ เอา) ว่าประสมอยู่กับพยัญชนะตัวใด หรือพยัญชนะควบกล้ำกลุ่มใด เพราะเมื่อเขียนเป็นอักษรโรมัน สระเหล่านี้จะย้ายไปอยู่ข้างหลังพยัญชนะตัวนั้น หรือกลุ่มนั้น เช่น เทฺราปที drāupadī, ตุเมฺห tumhe  เป็นต้น

ตัวอย่างการถ่ายเสียงภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน 

               นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมสมฺพุทฺธสฺส         Namo tassa Bhagavato Arhato Sammāsambuddhassa
               อชฺฌตฺติก                   Ajjhattika                                   อนฺตฺรธาน                  antaradhāna
               อุปทฺทวเหตุ                Upaddavahetu                         ชมฺพูนท                      jambūnada
               ขณฺฑสกฺขรา               khanฺdฺasakkharā                     ทุพฺภิกฺขภย                 dubbhikkhabhaya 
               ทุกฺกรกิริยา                  dukkarakiriyā                          ปจฺจตฺถรณ                  paccattharanฺa 
               ปพฺพาชนียกมฺม           pabbājanīyakamma               ปทวลญฺช                    padavalañja 
               ปุญฺญาภินิหาร             puññābhinihāra                       ราชปลฺลงฺก                 rājapallanka 

วิธีเขียนและอ่านออกเสียงในภาษาไทย 

               การใช้ตัวอักษรไทยเขียนภาษาบาลีนั้นยังเขียนได้สองแบบ หนึ่งคือเขียนตัวอักษรตามเสียงพยัญชนะ (เช่น พุทฺธ, ธมฺม, พฺรหฺม) สองคือเขียนตามคำอ่านในภาษาไทย (เช่น พุทธะ, ธัมมะ, พ๎รัห๎มะ)  สำหรับการอ่านออกเสียงนั้น เนื่องจากเราใช้ตัวอักษรไทย เราก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าแต่ละตัวจะต้องอ่านออกเสียงว่าอย่างไร ส่วนตัวนิคคหิตนั้น จะเป็นตัวเสียงนาสิก ออกเสียงคล้าย /อัง/ เช่น เขียนว่า พุทฺธํ อ่านว่า /พุทธัง/  ธมฺมํ    อ่านว่า  ธัมมัง  สงฺฆํ    อ่านว่า  สังฆัง เป็นต้น

การอ่านออกเสียงคำบาลีเขียนด้วยอักษรไทย

               พยัญชนะทุกตัวถ้าไม่มีสระอื่นประกอบ พึงออกเสียงสระอะ เช่น ก ข ค ฆ ง อ่านออกเสียงเป็น กะ ขะ คะ ฆะ งะ  ถ้า อ อยู่หน้าคำออกเสียงตามเสียงสระ เช่น 
               อสโม อ่านว่า อะสะโม  อาม อ่านว่า อามะ      อิงฺฆ อ่านว่า อิงฆะ     อุกาส  อ่านว่า อุกาสะ     โอทาต อ่านว่า โอทาตะ   โอฏฺ  อ่านว่า    โอดถะ
               _ เรียกว่า นฤคหิต ถ้าปรากฎอยู่บนพยัญชนะ หรือสระใด พึงออกเสียงเท่ากับ ง สะกด เช่น
               มยํ อ่านว่า มะยัง                    กุหึ  อ่านว่า กุหิง
               กาตุ อ่านว่า กาตุง                  สํสาโร  อ่านว่า สังสาโร
ตัวสะกดต้องมีจุด . อยู่ใต้พยัญชนะพึงอ่านพยัญชนะนั้นๆ เท่ากับมีเสียงสระ อะ เช่น
               สมฺมาสมฺพุทฺโธอ่านว่า สัมมาสัมพุดโท   อุปฺปชฺชติ อ่านว่า อุปปัดชะติ
               พยัญชนะ พ ม ว ร ห ฬ บางทีใช้กล้ำกับพยัญชนะอื่น โดยมีจุด . อยู่ใต้เช่น พฺยฺากตํ   อ่านว่า  พยากะตัง    
               พรหฺมา  อ่านว่า  พรัหมมา  วฺยากรณํ  อ่านว่า  วยากะระณัง    พฺยชนํ  อ่านว่า พยัญชนัง   อมฺห  อ่านว่า  อำห     ตุเมฺห  อ่านว่า ตุมเห
               สมฺปมูเฬหตฺถ อ่านว่า สัมปะมูฬเหตถะ  กลฺยาณธมฺโม   อ่านว่า กัลยานะธัมโม
พยัญชนะ ต ท ส ที่มีจุดอยู่เบื้องล่าง และนำหน้า ว ม อ่านกึ่งเสียงและกล้ำด้วยพยัญชนะ อื่นเช่น
               ตฺวํ อ่านว่า ตวัง   เสฺว อ่านว่า สเหว
               ตสฺมา  อ่านว่า ตัดสมา   เทฺว อ่านว่า ทเว
               สุตฺวา อ่านว่า สุดตะวา   ทิสฺวาน อ่านว่า ทิสวานะ

ฐานกรณ์ของอักขระ
               ฐานกรณ์เป็นต้นของอักขระ นักปราชญ์ท่านแสดงในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ ย่อบ้าง พิสดารบ้าง

ฐานที่ตั้งที่เกิดของอักขระมี 6 ฐานคือ
               1. กณฺชะ เกิดที่คอ ได้แก่  อ,  อา,  ก,  ข,  ค,  ฆ,  ง,  ห
               2.ตาลุชะ  เกิดที่เพดาน ได้แก่  อิ,  อี,  จ,  ฉ,  ช,  ฌ,  , ย
               3.มุทฺธชะ เกิดที่ศีรษะหรือปุ่มเหงือก ได้แก่ ฏ, , ฑ, ฒ, ณ, ร, ฬ
               4.ทนฺตชะ เกิดที่ฟันได้แก่  ต, ถ, ท, ธ, น, ล, ส
               5.โอฏฺชะ  เกิดที่ริมฝีปาก ได้แก่  อุ, อู, ป, ผ, พ, ภ, ม
               6. นาสิกฏฺนชะ เกิดที่จมูก ได้แก่  อํ (นิคหิต)
อักขระบางเหล่าเกิดในฐานเดียว บางเหล่าเกิดใน 2 ฐาน อักขระเหล่านี้ ยกเสียแต่พยัญชนะที่สุดวรรค 5 ตัว คือ ง, , ณ, น, ม เกิดในฐานอันเดียว
อักขระที่เกิดใน 2 ฐานคือ
                 1.กณฺตาลุโชล เกิดใน 2 ฐานคือ คอและเพดานได้แก่  เอ
                 2.คณฺโฏฺโช เกิดใน 2 ฐาน คือ คอและริมฝีปากได้แก่  โอ
                 3.สกฏฺานนาสิกฏฺานชา เกิดใน 2 ฐาน คือ ตามฐานของตน ๆ และจมูก ได้แก่พยัญชนะที่สุดวรรค 5 ตัวคือ ง, , ณ, น, ม
                 4.ทนฺโตฏฺโช เกิดใน 2 ฐาน คือ ฟันและริมฝีปากได้แก่   ว
พยัญชนะที่ประกอบด้วยพยัญชนะ 8 ตัว คือ , ณ, น, ม, ย, ล, ว, ฬ  ท่านกล่าวว่าเกิดแต่อก ที่ไม่ได้ประกอบ เกิดในคอตามฐานเดิมของตน

กรณ์  

          กรณ์คือที่ทำอักขระได้แก่อวัยวะที่ทำให้ขึ้นเกิดเสียงโดยให้กระทบกัฐฐานมี 4 อย่างคือ
                 1.ชิวฺหามชฺฌ ท่ามกลางลิ้น คือกรณ์ที่กระทบกับ ตาลุชะ ทำให้เสียงเกิดเสียงขึ้น
                 2. ชิวฺโหปคฺค ถัดปลายลิ้นเข้ามาคือกรณ์ที่กระทบกับมุทธชะ ทำให้เสียงเกิดเสียงขึ้น
                 3. ชิวฺหคฺค ปลายลิ้น คือกรณ์ที่กระทบกับ ทันตชะ ทำให้เสียงเกิดเสียงขึ้น
                 4.สกฏฺาน ฐานของตน  เป็นกรณ์ของอักษรที่เหลือ คือนอกจากลิ้นแล้วก็เอาฐานเกิดของอักษรนั้น เป็นกรณ์ เช่น ก  ข  ค ฆ ง เกิดจากคอก็เอาคอเป็นทั้งฐานและกรณ์

การออกเสียงอักขระ

               1. สระรัสสะ คือ อ อิ อุ มี 1 มาตรา คือ อ่านออกเสียง เท่ากับ ระยะการกระพริบตา 1 ครั้ง
               2. สระทีฆะ คือ อา,  อี,  อู,  เอ, โอ มี 2 มาตรา คือ อ่านออกเสียง เท่ากับ ระยะกระพริบตาติดต่อกัน 2 ครั้ง
               3. พยัญชนะทั้งปวงที่ไม่มีสระ เช่น กฺ,  ขฺ,  คฺ ฯลฯ มีครึ่งมาตรา คือ อ่านออกเสียงเท่ากับระยะครึ่งของการกระพริบตา
               4. พยัญชนะที่ผสมกับสระรัสสะ เช่น ก,  กิ, กุ มี 1 มาตราครึ่ง คือ อ่านออกสียงเท่ากับระยะกระพริบตา 1 ครั้ง กับอีกครึ่งหนึ่งของการกระพริบตา 
               5. พยัญชนะที่ผสมกับสระทีฆะ เช่น กา, กี, กู, เก, โก มี 2 มาตราครึ่ง คือ อ่านออกเสียงเท่ากับระยะกระพริบตาติดต่อกัน 2 ครั้งกับอีกครึ่งหนึ่งของการกระพริบตา

พยัญชนะสังโยค

               พยัญชนะสังโยค หมายถึง การเขียนพยัญชนะซ้อนกัน โดยไม่มีสระมาคั่นกลางในระหว่าง เช่น กฺก กฺข คฺค คฺฆ จะเห็นว่าไม่มีสระอยู่ในระหว่างพยัญชนะ 2 ตัวนั้น มีหลักการซ้อน ดังนี้
               1. พยัญชนะที่ 1 ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 1 และที่ 2 ในวรรคของตนได้ เช่น
                     กฺก     กฺข     จฺจ     จฺฉ     ฏฺฏ     ฏฺ     ฯลฯ. 
               2. พยัญชนะที่ 3 ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 3 และที่ 4 ในวรรคของตนได้ เช่น
                     คฺค     คฺฆ     ชฺช     ชฺฌ     ฑฺฑ     ฑฺฒ     ฯลฯ.
               3. พยัญชนะที่ 5 ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทุกตัวยกเว้น ง ไม่ซ้อนหน้าตนเองเช่น
                     งฺก     งฺข     งฺค     งฺฆ     ญฺจ     ญฺฉ     ญฺช     ฯลฯ.
               4. พยัญชนะอวรรคที่ซ้อนกันได้ คือ ย ล ส เช่น
                     ยฺย     ลฺล     สฺส

การเขียนตัวอักษรภาษาบาลี

                 การเขียนตัวอักษรในที่นี้ก็คือ การเขียนตัวอักษรให้ถูกต้องตามระเบียบของภาษาบาลีนั่นเอง เรียกสั้นๆ ว่าอักขระเขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์ของภาษาบาลี มีการสังเกตเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษรบาลีดังนี้

การเขียนสระ

               การเขียนสระในภาษาบาลี ส่วนมากจะมีการลดรูปไม่ค่อยมีรูปสระให้เห็น โดยเฉพาะรูปวิสรรชนีย์ ในภาษาบาลี แต่เวลาอ่านก็ให้ออกเสียงสระนั้นด้วย  เช่น  จ  ป  กตฺ  ภตฺ  ตตฺ อ่านว่า  จะ  ปะ  กัต  ภัต  ตัต เป็นต้น  ส่วนสระรูปอื่นมี  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ  นั้นยังคงรูปให้เห็นอยู่ เช่น  สี  กิ  ลุ  รู  เฉ  โส  เป็นต้น

หลักการใช้สระบางตัวของภาษาบาลี

               เราได้รู้มาแล้วว่าสระในภาษาบาลีมี  ทั้งหมด  8  ตัว  จัดเป็นคู่ได้  3  คู่  คือ  อ อา  เรียกว่า  อ  วัณโณ  อิ อี  เรียก  อิ  วัณโณ  อุ  อู  เรียก  อุ  วัณโณ  เอ  โอ  เรียกว่า  อัฑฒสระ เพราะประกอบด้วยเสียงสระ  2  เสียงเป็นเสียงเดียวกัน ในสระทั้ง  8  ตัวนั้นมีบางตัวที่มีลักษณะการใช้ผสมพยัญชนะแล้วจะไม่มีรูปให้เห็น เช่น  สระ  ะ  และ  –ั   ซึ่งมีลักษณะให้สังเกตดังนี้
               สระ  อะ  ถ้าใช้นำหน้าพยัญชนะจะมีรูปตัว  อ  ให้เห็น เช่น  อกริตฺวา  อโหสิ  อกาสิ  อหํ  เป็นต้น
               สระ  อะ  ถ้าอยู่ข้างหลังของพยัญชนะจะไม่มีรูปให้เห็น เช่น  นร  สีห  กุมาร  อาจริย  เป็นต้น
                ∙  พินทุ ใช้เป็นตัวสะกดในภาษาบาลี เช่น  จินฺเตตฺวา  อินฺทฺรีย  สินฺนา  พฺราหฺมณ  เป็นต้น
               ∙  พินทุใช้แทนไม้หันอากาศในภาษาบาลี  เช่น สกฺกตฺวา  คจฺฉนฺติ  อคฺคมาสิ  วตฺต  วฏฺฏ  เป็นต้น
               สระ  อิ  อี  ถ้าอยู่โดดๆ ในภาษาบาลีจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปเป็น  เอ  อย    สี  เป็น เส  สย  เช่น  เสติ  สยติ,  จิ  เป็น  เจ  จย,   กี  เป็น  เก  กย,  นี  เป็น  เน  นย  เป็นต้น
              อิ  อี  ถ้ามีตัวสะกดในภาษาบาลีจะคงรูป  เช่น  จินฺต  สินฺธุ วิทฺธา  อิจฺจ  เป็นต้น
              อิ  อี  ถ้าตามหลังสระหรือพยัญชนะจะคงรูป เช่น  เสฏฺฐี  มุนิ  อคฺคิ  ปฐพี  อธิ  ปฏิ  เป็นต้น
              อิ  อี  บางครั้งก็คงรูปอยู่อย่างเดิม  เช่น  วิ  สิ  นิ  ปิ  ทิวา  เป็นต้น
              สระ  อุ  อู  ถ้าอยู่โดดๆ  ในภาษาบาลีจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปเป็น  โอ  อว  เช่น  ภุช  เป็น  โภช,  ภู  เป็น  ภว,  มุห  เป็น  โมห,  หุ  เป็น  โห  เป็นต้น
              อุ  อู  ถ้ามีตัวสะกดในภาษาบาลีจะคงรูป  เช่น  อุคฺคจฺฉิ  อุปฺปถ  สุนฺทร  เป็นต้น
              อุ  อู  ถ้าตามหลังสระหรือพยัญชนะจะคงรูป  เช่น  อนุ  อภิภู สยมฺภู  ครุ  วิญฺญู  เป็นต้น
              อุ  อู   บางครั้งก็คงรูปอยู่อย่างเดิม  เช่น  มุนิ  สุกรํ  ทุจริตํ  ภูโต  เป็นต้น
             เอ  โอ  ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย คงรูปอยู่อย่างเดิม
                ํ   นิคคหิต ถ้าอยู่หลังพยัญชนะจะออกเสียง     และ ง ตามหลัง  อหํ – อะ-หัง, อกาสึ–อะ-กา-สิง เป็นต้น บางครั้งท่านก็ให้แปลง   ํ นิคคหิต เป็นพยัญชนะวรรคทั้งห้า  คือ  ง  ญ  ณ  น  ม  เช่น  สํฆ  เป็น  สงฺฆ, สํจร  เป็น  สญฺจร,  กึนุ เป็น  กินฺนุ,  จิรํปวาสึ  เป็น  จิรมฺปวาสึ,  สํฐิติ  เป็น  สณฺฐิติ  เป็นต้น บางครั้งก็ยังคงรูปอยู่เหมือนเดิม  เอวํส,  อวํสิโร  เป็นต้น
จากตัวอย่างที่ยกมานี้เพื่อให้ผู้ใคร่ศึกษาภาษาบาลีได้เข้าใจเกี่ยวกับสระบางตัวเท่านั้น เพื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่ท่านเมื่อไปพบกับรูปศัพท์ของภาษาบาลีบางตัว และความหมายของมัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสระในภาษาบาลีทุกตัวจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนจึงจะนำไปใช้ได้  ฉะนั้น เมื่อเราพิจารณาดูจะรู้ว่าสระ คือ  เอ  โอ  จะเกิดได้  2  เสียง คือ  อ กับ อิ  เป็น  เอ,  อ กับ อุ  เป็น  โอ  ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น

การเขียนตัวสะกดหรือพยัญชนะสังโยค

               การเขียนตัวสะกดในภาษาบาลีกับภาษาไทยนี้ไม่เหมือนกัน เพราะการเขียนตัวสะกดในภาษาบาลีจะต้องเขียนได้เฉพาะพยัญชนะที่อยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้น จะเอาพยัญชนะในวรรคอื่นมาเขียนเป็นตัวสะกดเหมือนภาษาไทยไม่ได้ เนื่องจากว่าภาษาบาลีนั้นท่านจัดพยัญชนะไว้เป็นหมวดเป็นหมู่ ไม่เหมือนภาษาไทย ฉะนั้นแล้วผู้ศึกษาพึงกำหนดรู้ให้แม่นยำเสียก่อนว่าพยัญชนะแต่ละตัวอยู่ในวรรคใด เพื่อให้ง่ายแก่การเขียนตัวสะกดในภาษาบาลีได้อย่างถูก ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป
               การกำหนดตัวอักษรในการเขียนตัวสะกดในภาษาบาลีนั้นต้องกำหนดที่ตัวหลังเท่านั้น ไม่ใช้ไปกำหนดที่ตัวหน้า เพราะตัวหน้าเป็นอักษรนำ ซึ่งกล่าวขึ้นก่อน ส่วนตัวหลังนั้นคือตัวที่ทำหน้าที่ในการสะกดของตัวหน้า หรือตัวที่สองของพยัญชนะ ซึ่งทำหน้าที่ในการออกเสียงให้เป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้ แล้วแต่ว่าพยัญชนะนั้นจะมีเสียงสูง หรือเสียงต่ำเท่านั้น ดังนั้นการเขียนตัวสะกดในภาษาบาลีมีลักษณะดังนี้
               พยัญชนะที่ 1  ซ้อนหน้าพยัชนะที่ 1 และที่ 2 ในวรรคของตนได้ เช่น ปกฺก  ภิกฺขุ  ปจฺจ  คจฺฉ วฏฺฏ  ติฏฺฐ  วตฺต  อตฺถ  อปฺป  ปุปฺผ 
               พยัญชนะที่ 3 ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 3 และที่ 4 ในวรรคของตนได้ เช่น  ภคฺค  ยคฺฆ  ชคฺฆ  วชฺช  มชฺฌ อฑฺฒ  ฉฑฺฑ  ขุทฺทก  พุทฺธ  ตพฺพ  อารพฺภ  ฯลฯ
               พยัญชนะที่ 5 ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 5 และทุกตัวในวรรคของตนได้ เช่น สงฺข  จงฺก  องฺค  สงฺฆ  สิญฺจ  ปุญฺฉ  วลญฺช  กญฺญา  อุชฺฌ  รุณฺฏ  คณฺฐ  ปณฺฑิต  ปุณฺณ  ทนฺต  ปนฺถ  นนฺท  รุนฺธ  ปนฺน ธมฺม  ขิมฺป  สมฺผ  อพฺพ  ฉมฺภ  ฯลฯ
               ย  คือ  เอยฺย  เทยฺย  วิญฺเญยฺย  เสยฺย      ล  คือ  ปุลฺลิงค์  สลฺลกฺขณา  กลฺล  ปลฺล
               ส  คือ  อสฺส  ตสฺส  คมสฺส                   ฬ  คือ  รุฬฺห
               จะเห็นได้ว่าการเขียนพยัญชนะตัวสะกดของภาษาบาลีก็จะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้น จะอยู่นอกวรรคของตนนั้นจไม่มีเลย เช่นคำว่า   สัตถา  ต้องเขียนตัวสะกดในวรรคเดียวกันคือ คำว่า  ถ  เป็นคำที่ทำหน้าที่ตามหลังพยัญชนะ คือ ส และเป็นพยัญชนะที่ 2 ใน  ต  วรรคด้วย ฉะนั้นแล้วพยัญชนะที่จะทำหน้าที่ในการสะกดคำว่า  ถา  ก็คือ  ต  ซึ่งอยู่ในวรรคเดียวกันและเป็นตัวพยัญชนะที่ 1 ตามหลักการเขียนตัวสะกดในไวยากรณ์ของภาษาบาลีดังนี้ชื่อว่าเขียนถูก
               ถ้าเขียนว่า  สัทถา  อย่างนี้ถือว่าผิด เพราะเขียนซ้อนพยัญชนะผิดตัวกัน ถึงจะเป็นพยัญชนะในวรรคเดียวกันก็จริงอยู่ แต่หลักการเขียนตัวสะกดของภาษาบาลีท่านไม่ได้กล่าวไว้ว่า พยัญชนะที่ 3 คือ ท ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 2 คือ ถ ในวรรคของตนได้ ซ้อนได้เฉพาะตนเอง และ ธ เท่านั้น จะซ้อนตัวอื่นนอกจากนี้ไม่ได้เลย เพราะเป็นหลักตายตัวของไวยากรณ์ของบาลี ส่วนพยัญชนะทำหน้าที่ออกเสียงก่อนนั้นจะอยู่ในวรรคใดก็ได้ เหมือนภาษาไทย
สรุปท้ายบท
              เนื่องจากพยัญชนะและสระในภาษาบาลีนั้นมีแต่เสียงไม่มีตัวอักษร ในชั้นนี้จึงกำหนดให้ใช้อักษรไทยและอักษรโรมันในการเขียน เพื่อให้นักศึกษาคุ้ยเคยกับการอ่านและการเขียนจึงได้ยกตัวอย่างการเขียน การอ่านภาษาบาลี พร้อมทั้งให้นักศึกษาสามารถเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรโรมันได้   นอกจากนั้นยังนำเสนอหลักการอ่านคำบางคำที่นักศึกษาผู้ไม่คุ้นเคยกับภาษาบาลี จะได้อ่านและเขียนภาษาบาลีได้โดยใช้ทั้งอักษรไทยและอักษรโรมัน

คำถามทบทวน

  1. อักษรในภาษาบาลีมีเท่าไร แบ่งเป็นสระเท่าไร เป็นพยัญชนะเท่าไร จงแสดงมาดู
  2. พยัญชนะแบ่งเป็นกี่วรรค  อะไรบ้าง 
  3. พยัญชนะอวรรคมีเท่าไร  อะไรบ้าง 
  4. ฐานคืออะไร  สระและพยัญชนะตัวใด เกิดจากฐานใดบ้าง
  5. พยัญชนะสังโยคคืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร
  6. จงอธิบายคำว่า โฆสะ อโฆสะ สถิล ธนิต พอเข้าใจ
 7. จงเขียนสะกดคำต่อไปนี้ตามแบบภาษาไทย
                      อถโข    พฺรหฺมา    สหมฺปติ    กตาวกาโส    โขมฺหิ   ภควตา   ธมฺมเทสนายาติ      ภควนฺตํ     อภิวาเทตฺวา     ปทกฺขิณํ     กตฺวา   ตตฺเถวนฺตรธายิ ฯ   จตฺตาโรเม  ภิกฺขเว  ปุคฺคลา  สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ    กตเม     จตฺตาโร    อุคฺฆฏิตญู    วิปจิตญู    เนยฺโย    ปทปรโม    อิเม โข  ภิกฺขเว จตฺตาโร ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมินฺติ ฯ  

8. จงเขียนสะกดแบบบาลี
              อุคฺฆะฏิตัญูสุตตะวัณณะนา  ตะติเย  ฯ  จตุนนัมปิ  ปุคคะลานัง  อิมินา  สุตเตน  วิเสโส  เวทิตัพโพ  กะตะโม  จะ  ปุคคะโล  อุคฆะฏิตัญฺญู ยัสสะ  ปุคคะลัสสะ  สะหะ  อุทาหะฏะเวลายะ  ธัมมาภิสะมะโย  โหติ  อะยัง  วุจจะติ  ปุคคะโล  อุคฆะฏิตัญู  ฯ

9.จงเขียนเป็นอักษรโรมัน
              9.1.นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ มหาขนฺธกํ   เตน   สมเยน  พุทฺโธ  ภควา  อุรุเวลายํ  วิหรติ  นชฺชา   เนรญฺชราย   ตีเร   โพธิรุกฺขมูเล   ปมาภิสมฺพุทฺโธ  ฯ  อถโข  ภควา  โพธิรุกฺขมูเล   สตฺตาหํ   เอกปลฺลงฺเกน   นิสีทิ   วิมุตฺติสุขปฏิสํเวที   ฯ  อถโข   ภควา   รตฺติยา   ปมํ   ยามํ  ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ  อนุโลมปฏิโลมํ  มนสากาสิ     อวิชฺชาปจฺจยา    สงฺขารา    สงฺขารปจฺจยา    วิญฺาณํ   วิญฺาณปจฺจยา    นามรูปํ   นามรูปปจฺจยา   สฬายตนํ   สฬายตนปจฺจยา  ผสฺโส      ผสฺสปจฺจยา      เวทนา      เวทนาปจฺจยา      ตณฺหา  ตณฺหาปจฺจยา     อุปาทานํ     อุปาทานปจฺจยา     ภโว    ภวปจฺจยา  ชาติ     ชาติปจฺจยา     ชรามรณํ     โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา  สมฺภวนฺติ    เอวเมตสฺส    เกวลสฺส    ทุกฺขกฺขนฺธสฺส   สมุทโย   โหติ  อวิชฺชาย   เตฺวว   อเสสวิราคนิโรธา   สงฺขารนิโรโธ   สงฺขารนิโรธา  วิญฺาณนิโรโธ     วิญฺาณนิโรธา     นามรูปนิโรโธ     นามรูปนิโรธา   สฬายตนนิโรโธ      สฬายตนนิโรธา      ผสฺสนิโรโธ     ผสฺสนิโรธา   เวทนานิโรโธ      เวทนานิโรธา      ตณฺหานิโรโธ     ตณฺหานิโรธา  อุปาทานนิโรโธ   อุปาทานนิโรธา   ภวนิโรโธ   ภวนิโรธา  ชาตินิโรโธ   ชาตินิโรธา  ชรามรณํ   โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา   นิรุชฺฌนฺติ   เอวเมตสฺส   เกวลสฺส   ทุกฺขกฺขนฺธสฺส   นิโรโธ  โหตีติ  ฯ 
              9.2.นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ เทวตาสํยุตฺตํ นฬวคฺโค ปโม ปมํ โอฆตรณสุตฺตํ ฯ เอวมฺเม   สุตํ   เอกํ   สมยํ   ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ  เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ  อถ  โข  อญฺญตรา  เทวตา อภิกฺกนฺตาย   รตฺติยา  อภิกฺกนฺตวณฺณา  เกวลกปฺปํ  เชตวนํ  โอภาเสตฺวา  เยน    ภควา    เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ   อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ อฏฺาสิ ฯ   เอกมนฺตํ   ฐิตา   โข   สา  เทวตา  ภควนฺตํ  เอตทโวจ  กถํ   นุ   ตฺวํ   มาริส   โอฆมตรีติ   ฯ   อปฺปติฏฺฐํ   ขฺวาหํ  อาวุโส  อนายูหํ    โอฆมตรินฺติ   ฯ   ยถากถํ   ปน   ตฺวํ   มาริส   อปฺปติฏฺฐํ  สํสีทามิ  ยทา  สฺวาหํ  อายูหามิ  ตทาสฺสุ  นิวุยฺหามิ  เอวํ ขฺวาหํ  อาวุโส อปฺปติฏฺฐํ อนายูหํ โอฆมตรินฺติ ฯ 
                     จิรสฺสํ วต ปสฺสามิ       พฺราหฺมณํ ปรินิพฺพุตํ 
                     อปฺปติฏฺฐํ อนายูหํ        ติณฺณํ โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ 
               อิทมโวจ   สา   เทวตา   สมนุญฺโญ   สตฺถา  อโหสิ  ฯ   อถ  โข  สา  เทวตา  สมนุญฺโ เม สตฺถาติ ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา  ปทกฺขิณํ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ 

10.จงเขียนเป็นบาลี (อักษรไทย)
              I. Seyyathidanti taṃ katamaṃ, taṃ kathanti vā attho. Aniyamaniddesavacananti natthi etassa niyamoti aniyamo, niddisīyati attho etenāti niddeso, vuccati etenāti vacanaṃ, niddesoyeva vacanaṃ niddesavacanaṃ, aniyamassa niddesavacanaṃ aniyamaniddesavacanaṃ, paṭhamaṃ aniyamitassa samayassa niddesavacananti attho. ‘‘Yenāti avatvā tenāti vuttattā aniyamaṃ katvā niddiṭṭhavacanaṃ aniyamaniddesavacana’’ntipi vadanti. Yaṃtaṃsaddānaṃ niccasambandhabhāvato āha ‘‘tassa sarūpena avuttenapī’’tiādi. Tattha tassāti ‘‘tenā’’ti etassa. Sarūpena avuttenapīti ‘‘yenā’’ti evaṃ sarūpato pāḷiyaṃ avuttenapi. Atthato siddhenāti parabhāge sāriputtattherassa uppajjanakaparivitakkasaṅkhātaatthato siddhena. Parivitakke hi siddhe yena samayena parivitakko udapādīti idaṃ atthato siddhameva hoti. Tenevāha ‘‘aparabhāge hi vinayapaññattiyācanahetubhūto āyasmato sāriputtassa parivitakko siddho’’tiādi. ‘‘Tenā’’ti vatvā tato tadatthameva ‘‘yenā’’ti atthato vuccamānattā ‘‘yenā’’ti ayaṃ ‘‘tenā’’ti etassa paṭiniddeso nāma jāto. Paṭiniddesoti ca vitthāraniddesoti attho.
              II. Aparabhāge hīti ettha hi-saddo hetumhi, yasmāti attho. Vinayapaññattiyācanahetubhūtoti ‘‘etassa bhagavā kālo, etassa sugata kālo, yaṃ bhagavā sāvakānaṃ sikkhāpadaṃ paññapeyya, uddiseyya pātimokkhaṃ. Yathayidaṃ brahmacariyaṃ addhaniyaṃ assa ciraṭṭhitika’’nti evaṃ pavattassa vinayapaññattiyācanassa kāraṇabhūtoti attho. Parivitakkoti ‘‘katamesānaṃ kho buddhānaṃ bhagavantānaṃ brahmacariyaṃ na ciraṭṭhitikaṃ ahosi, katamesānaṃ buddhānaṃ bhagavantānaṃ brahmacariyaṃ ciraṭṭhitikaṃ ahosī’’ti evaṃ pavatto parivitakko. Yaṃtaṃsaddānaṃ niccasambandhoti āha ‘‘tasmā yena samayenā’’tiādi. Pubbe vā pacchā vā atthato siddhenāti pubbe vā pacchā vā uppannaatthato siddhena. Paṭiniddeso kattabboti etassa ‘‘yadida’’nti iminā sambandho. ‘‘Paṭiniddeso kattabbo’’ti yadidaṃ yaṃ idaṃ vidhānaṃ, ayaṃ sabbasmiṃ vinaye yuttīti attho. Atha vā ‘‘paṭiniddeso kattabbo’’ti yadidaṃ yā ayaṃ yutti, ayaṃ sabbasmiṃ vinaye yuttīti attho.
              III.Devatāsaṃyuttaṃ Naḷavaggo  Oghataraṇasuttavaṇṇanā Vibhāgavantānaṃ sabhāvavibhāvanaṃ vibhāgadassanavaseneva hotīti paṭhamaṃ tāva saṃyuttavaggasuttādivasena saṃyuttāgamassa vibhāgaṃ dassetuṃ ‘‘tattha saṃyuttāgamo nāmā’’tiādimāha. Tattha tatthāti yaṃ vuttaṃ – ‘‘saṃyuttāgamavarassa atthaṃ pakāsayissāmī’’ti, tasmiṃ vacane. Tatthāti vā ‘‘etāya aṭṭhakathāya vijānātha saṃyuttanissitaṃ attha’’nti ettha yaṃ saṃyuttaggahaṇaṃ kataṃ, tattha. Pañca vaggā etassāti pañcavaggo. Avayavena viggaho, samudāyo samāsattho. Idāni taṃ ādito paṭṭhāya saṃvaṇṇetukāmo attano saṃvaṇṇanāya tassa paṭhamamahāsaṅgītiyaṃ nikkhittānukkameneva pavattabhāvaṃ dassetuṃ, ‘‘tassa vaggesu sagāthāvaggo ādī’’tiādi vuttaṃ. Tattha yathāpaccayaṃ tattha tattha desitattā paññattattā ca vippakiṇṇānaṃ dhammavinayānaṃ saṅgahetvā gāyanaṃ kathanaṃ saṅgīti, mahāvisayattā pūjaniyattā ca mahatī saṅgīti mahāsaṅgīti. Paṭhamā mahāsaṅgīti paṭhamamahāsaṅgīti, tassā pavattitakālo paṭhamamahāsaṅgītikālo, tasmiṃ paṭhamamahāsaṅgītikāle.

เอกสารอ้างอิงท้ายบทที่ 2

พระพรหมคุณาภรณ์.พจนานุกรมพุทธศาสตร์.กรุงเทพฯ:เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์,2545.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.บาลีไวยากรณ์(สมัญญาภิธาน). พิมพ์ครั้งที่ 36,กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2536.
A.K. Warder, Introduction to Pali,Third Edition.Oxford: The pali Text Society,2001.

 

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
17/06/53

[Update] | หลัก ไวยากรณ์ – NATAVIGUIDES

               ภาษาบาลีมีหลักไวยากรณ์เฉพาะไม่เหมือนภาษาใดในโลก เพราะเป็นภาษาที่มีเพศครบสามเพศคือเพศชาย เพศหญิง และไม่ระบุเพศ คำแต่ละจึงบ่งบอกถึงเพศ บางอย่างได้มาจากธรรมชาติเช่นผู้ชายก็เป็นเพศชาย ผู้หญิงก็เป็นเพศหญิง บางอย่างไม่อาจระบุเศได้ว่าเป็นหญิงหรือชายจึงมีเพศหนึ่งเพื่อจำแนกให้ชัดเจน ในบทนี้จะเริ่มต้นด้วยหลักไวยากรณ์เบื้องต้น ว่าด้วยตัวอักษรและสระ พร้อมทั้งวิธีการเขียนโดยใช้อักษรไทยและโรมัน ผู้สนใจศึกษาสามารถอ่านและเข้าใจได้โดยง่าย

 

บทที่ 2 
ไวยากรณ์ภาษาบาลี

               ในเอกสารนี้ใช้คำสองคำคือภาษามคธและภาษาบาลี แต่ต่อจากนี้ไปขอใช้คำว่าภาษาบาลีเพื่อจะได้ตรงกับรายวิชา  ไวยากรณ์ภาษาบาลีมีกฏเกณฑ์ที่แน่นอน ผู้เริ่มต้นศึกษาต้องรู้จักกับพยัญชนะและสระของภาษาบาลีก่อนจากนั้นจึงค่อยๆถ่ายเสียงภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน บาลีไวยากรณ์นั้นเขียนเป็นภาษาบาลีว่า “ปาลีเวยฺยากรณํ”  แปลว่าปกรณ์เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งบาลีมีบทวิเคราะห์ว่า ปาลึ วฺยากรโรติ เตนาติ ปาลิกรณํ แปลตามบทวิเคราะห์ว่า อาจารย์ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งบาลีด้วยปกรณ์นั้น เพราะเหตุนั้น ปกรณ์นั้นชื่อว่า ปาลิเวยฺยากรณํ   นักศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทยได้นำคำว่า “บาลี” มาใช้ในความหมายว่า “ภาษาที่รักษาพุทธพจน์”  แต่คำว่า “บาลี” ไม่ใช่ภาษาแต่หมายถึงตำราหลักหรือคัมภีร์ชั้นต้นของพระพุทธศาสนาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้  ดังนั้นก่อนที่จะศึกษาวิชาบาลีเพื่อการศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนา จึงจำเป็นต้องรู้จักไวยากรณ์ภาษาบาลีโดยสังเขป

บาลีไวยากรณ์ 4 ภาค

               บาลีไวยากรณ์แบ่งออกเป็น 4 ภาคคือ อักขรวิธี  วจีวิภาค  วากยสัมพันธ์  และฉันทลักษณะ(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,บาลีไวยากรณ์(สมัญญาภิธาน), พิมพ์ครั้งที่ 36,(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2536), หน้า 5.
               1. อักขรวิธี ว่าด้วยอักษร จัดเป็น 2 คือ(1)สมัญญาภิธานแสดงชื่ออักษร ที่เป็นสระ และพยัญชนะ พร้อมทั้งฐานกรณ์  (2)สนธิ ต่ออักษรที่อยู่ในคำอื่น ให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน
               2. วจีวิภาค แบ่งคำพูดออกเป็น 6 ส่วน คือ นาม  อัพยยศัพท์  สมาส  ตัทธิต  อาขยาต  กิตต์ 
                3. วากยสัมพันธ์ ว่าด้วยการก และประพันธ์ผูกคำพูดที่แบ่งไว้ในวจีวิภาค ให้เข้าเป็นประโยคอันเดียวกัน
               4. ฉันทลักษณะ แสดงวิธีแต่งฉันท์ คือคาถาที่เป็นวรรณพฤทธิ์และมาตราพฤทธิ์   
               ในชั้นนี้จะศึกษาเพียง 2 ภาคเท่านั้นคืออักขรวิธี  วจีวิภาค  ส่วนวากยสัมพันธ์  และฉันทลักษณะจะได้ศึกษาในชั้นสูงต่อไปอักษรภาษาบาลี(อักขรวิธี)  
               อักษรภาษาบาลีนั้นเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้ เพราะได้สาบสูญไปนานมากแล้ว ในภายหลังเมื่อชนชาติใดจะนำภาษาบาลีไปใช้ ก็เพียงแต่นำเสียงหรือคำพูดไปใช้เท่านั้น วิธีการเขียนหรือสะกดก็จะเป็นเรื่องของชนชาตินั้นนำอักษรของตนไปใช้เอง ในที่นี้ขอแสดงการเขียนคำในภาษาบาลีด้วยอักษรภาษาไทยและอักษรภาษาอังกฤษ (โรมัน)

ความหมายของอักษร 

คำว่า “อักษร” มีความหมาย 2 อย่าง คือ

1. มีความหมายว่า สภาพที่ไม่เสื่อมสิ้นไป ใช้เป็นชื่อเรียก พระนิพพาน
           มีวิเคราะห์ว่า ขรนฺติ วินสฺสนฺตีติ ขรา, สงฺขตา เต ยตฺถ น สนฺติ, ตํ อกฺขรํ, ขรสงขาตานํ วา สงฺขตานํ ปฏิปกฺขตฺตา อกฺขรํ         ธรรมที่ชื่อว่า ขระ เพราะ อรรถว่า ย่อมสิ้นไป เสื่อมไป,ได้แก่ สังขตธรรม, สังขตะธรรม เหล่านั้น ไม่มีในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่าอักขระ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อักขระ เพราะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสังขตธรรม
  ในคัมภีร์อภิธานวรรณนา แปลว่า นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีความเสื่อมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อักขระ, นิพพานชื่อว่า อักขระ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสังขตธรรม คือสิ่งที่เสื่อม คำว่า อักขระ จัดเป็นชื่อเรียกพระนิพพานอย่างหนึ่งในบรรดาชื่อพระนิพพานทั้งหมด 46 ชื่อ
2. หมายถึงตัวหนังสือ 
               ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา แสดงความหมายไว้ว่า อกฺขรํ อการาทิ อักษร มี อ อักษรเป็นต้นฯ คัมภีร์อภิธานวรรณนา แสดงความหมายของวัณณะ และอักษร ไว้ดังนี้  อตฺโถ วณฺณียติ ปกาสียติ เอเตนาติ วณฺโณ อักษรสำหรับใช้เขียนบอกเนื้อความชื่อว่า วัณณะ  น ขรนฺตีติ อกฺขโร วัณณะที่ใช้เขียนบอกเนื้อความนั้นเป็นสิ่งไม่สิ้นไป จึงได้ชื่อว่า อักขระ 
               อักขระในภาษาบาลี มี 41 ตัว แบ่งเป็นสระ 8 ตัว พยัญชนะ 33 ตัว  เสียงพยัญชนะในภาษาบาลีมีอยู่ 33 ตัว และสระ 8 ตัว

สระ (Vowels)
               (1.) อักขระเบื้องต้น ตั้งแต่ อ จนถึง โอ ชื่อว่า สระ ออกเสียงได้ตามลำพังตนเอง และทำให้พยัญชนะออกเสียงได้ด้วย  
               (2.) สระ 8 ตัวนี้ เรียกว่า นิสสัย เพราะเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ บรรดาพยัญชนะ ทั้ง 33 ตัว ต้องอาศัยสระจึงออกเสียงได้  
               (3.) รัสสะ คือสระเสียงสั้น เพราะออกเสียงเร็ว/สั้น ได้แก่ อ อิ อุ เช่น อติ ครุ เป็นต้น 
               (4.) ทีฆะ คือสระเสียงยาว เพราะออกเสียงช้า/ยาว ได้แก่ อา อี อู เอ โอ เช่น ภาคี วธู เสโข เป็นต้น 
               (5.) สังยุตตสระ คือสระผสม ได้แก่ เอ โอ ถ้ามีพยัญชนะสังโยคอยู่หลัง เช่น เสยฺโย,โสตฺถิ เป็นต้น ท่านกล่าวว่า เอ โอ นั้นออกเสียงเหมือนเป็นรัสสะ

พยัญชนะ (Consonants)
               (1.) อักขระอันเหลือจากสระ มี 33 ตัวมี ก เป็นต้น มี อํ (นิคคหิต) เป็นที่สุด ชื่อว่า พยัญชนะ 
               (2.) พยัญชนะแปลว่า ทำเนื้อความให้ปรากฎ เช่น โอ เมื่อผสมกับ กฺ เป็น โก มีความหมายว่า ใคร,อะไร 
               (3.) พยัญชนะมีชื่อว่า นิสสิต เพราะพยัญชนะออกเสียงตามลำพังเหมือนสระไม่ได้ ต้องอาศัยสระจึงออกเสียงได้ 
               (4.) การเขียนพยัญชนะแบบไม่มีสระเป็นที่อาศัย จึงมี . (จุด) อยู่ข้างล่าง เช่น กฺ ขฺ คฺ ฆฺ งฺ ฯลฯ 
               (5.) การเขียนพยัญชนะที่มีสระเป็นที่อาศัย จะไม่เห็น . (จุด) อยู่ข้างล่าง เช่น ก กา กิ กี กุ กู เก โก ฯลฯ
               (6.) พยัญชนะจัดเป็น 2 พวก คือ วรรค 1 , อวรรค 1 
               (7.) พยัญชนะวรรคจัดเป็น 5 วรรคๆ ละ 5 ตัว จึงมี 25 ตัว คือพยัญชนะวรรคจัดเป็น 5 วรรคๆ ละ 5 ตัว จึงมี 25 ตัว

เทียบอักษรโรมันที่ใช้เขียนบาลี
               การเทียบอักษรบาลีกับอักษรโรมันมีแตกต่างกันแล้วแต่ตำราที่สมมุติขึ้นมา บางเล่มไม่เคยเห็นแต่สมมุติกันเอง เมื่อสืบค้นดูจากตำราหลายเล่มแล้วจึงได้กำหนดตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของพระพรหมคุณาภรณ์ ซึ่งตรงกับ Introduction to Pali ของ  (A.K. Warder, Introduction to Pali,Third Edition,(Oxford: The pali Text Society),2001, P.2.

สระภาษาบาลี  8 ตัว 
               รัสสระ -ะ (-a) -อิ (-i) -อุ (-u)  
               ทีฆสระ -า (-ā ) -อี (-  ī   ) -อู (-ū ) เ- (-e) โ- (-o)

พยัญชนะ 33 ตัว

พยัญชนะวรรค โฆสะ อโฆสะ นาสิก สิถิล ธนิต สิถิล ธนิต 
               กัณฐชะ (วรรค กะ )  ก (k)     ข (kh)      ค (g)      ฆ (gh)      ง (ṅ )
               ตาลุชะ (วรรค จะ )   จ (c)     ฉ (ch)      ช (j)       ฌ (jh)        (ñ)
               มุทธชะ (วรรค ฏะ )  ฏ ( tฺ )      ( tฺh )    ฑ  (dฺ )   ฒ  (dฺh )   ณ  (nฺ )
               ทันตชะ (วรรค ตะ )  ต (t)     ถ (th)        ท (d)     ธ (dh)       น (n)
               อฏฐชะ (วรรค ปะ )  ป (p)    ผ (ph)       พ (b)     ภ (bh)      ม (m)

พยัญชนะอวรรคประกอบด้วย  ย  ร  ล  ว  ส  ห  ฬ  อํ    y  r  l  v  s  h  l   m ṃ หรือ  n   วิธีเขียนภาษาบาลีนี้ใช้ตามแบบพจนานุกรมพุทธศาสตร์   ซึ่งใช้ m m n แทนนิคคหิต  

การเขียนอักษรบางตัว
                  1. เวลาเขียนเป็นอักษรไทย ตัว “” และ “”  จะต้องไม่มีเชิง  
                  2.  ตัวอักษรโรมันที่ใช้แทน “ง” ในภาษาบาลีนิยมใช้  ṅ    
                  3.  mฺ เมื่อเขียนด้วยอักษรเทวนาครี จะแทนด้วยรูป o  เรียกว่า  “นิคหิตหรือ อนุสาร”   จัดเป็นรูปพยัญชนะ เช่นในคำว่า  buddhamฺ ‘ซึ่งพระพุทธ’  เสียงนี้นักไวยากรณ์ดั้งเดิมถือว่า เป็นเสียงนาสิกบริสุทธิ์ (pure nasal) ไม่ขึ้นกับวรรคใด แต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามหลักการกลมกลืนเสียง (หลักสนธิ) ถ้าไปสนธิกับพยัญชนะวรรค นั่นคือ จะเปลี่ยนเป็นเสียงนาสิกประจำวรรคนั้นๆ  เช่น samฺgama อ่านว่า  [sangama / sangama] ‘การมาร่วมกัน’, samฺcara อ่านว่า [sañcara] ‘การเที่ยวไป’, samฺdhi อ่านว่า [sandhi] ‘การเชื่อมต่อ’ เป็นต้น  โดยปกติถ้าเสียงนี้อยู่ท้ายคำจะออกเสียงเป็นเสียง  [m]  เพราะคนทั่วไปไม่สามารถออกเสียงนาสิกย์บริสุทธิ์ ที่ไม่ขึ้นกับวรรคหนึ่งวรรคใดได้  เสียงพยัญชนะนี้จะปรากฏท้ายพยางค์เสมอ โดยออกเสียงตามหลังสระ จะเป็นสระสั้นหรือยาวก็ได้
               ในเนื้อหาข้างบนนี้คือหน่วยเสียง ได้แก่เสียงพยัญชนะที่ยังไม่ประสมกับสระใดๆ  แต่ตามปกติ พยัญชนะเวลาเขียนโดดๆ เป็นอักษรเทวนาครี, อักษรชนิดอื่นในอินเดีย และอักษรไทย จะอ่านเหมือนมีสระ a ประสมอยู่ด้วย เช่น ka, kha, ga, gha, na (ṅa) เป็นต้น  ดังนั้น เวลาถ่ายถอดเสียงจากอักษรไทยเป็นอักษรโรมันจึงต้องเขียนสระ a ประสมอยู่ด้วยเสมอ        
               เสียงอโฆษะ (ตำราไวยากรณ์บาลีที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษส่วนใหญ่เรียกว่า surd) คือ เสียงที่ตำราภาษาศาสตร์ไทยส่วนใหญ่เรียกว่า เสียงไม่ก้อง (voiceless) ได้แก่ เสียงที่ไม่มีการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง ขณะออกเสียง 
               เสียงโฆษะ (ตำราไวยากรณ์บาลี ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษส่วนใหญ่เรียกว่า sonant)  คือ เสียงที่ตำราภาษาศาสตร์ไทยส่วนใหญ่เรียกว่า เสียงก้อง (voiced) ได้แก่ เสียงที่มีการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง ขณะออกเสียง 
               เสียงสิถิล (unaspirate) คือ เสียงที่ตำราภาษาศาสตร์ไทยเรียกกันว่า เสียงเบา หรือ เสียงไม่มีลม ได้แก่เสียงที่ออกมาแล้วไม่มีเสียงลมหายใจ (aspiration) ออกมาด้วย 
               เสียงธนิต (aspirate) คือ เสียงที่ตำราภาษาศาสตร์ไทยเรียกกันว่า เสียงหนัก หรือ เสียงมีลม คือเสียงที่ออกมาพร้อมกับเสียงลมหายใจแรงๆ (aspiration)
               เสียงนาสิก (nasal) คือเสียงที่เกิดจากการปล่อยลมออกพร้อมกัน ทั้งทางช่องปากและช่องจมูก  ตามธรรมชาติเสียงนี้เป็นเสียงโฆษะ แต่นักไวยากรณ์ดั้งเดิมหลายคน ไม่ว่าจะเป็นนักไวยากรณ์สันสกฤตหรือบาลี จัดให้เสียงนี้เป็นโฆษาโฆษวิมุติ แปลว่า พ้นจากความเป็นโฆษะและอโฆษะ  ที่เป็นเช่นนี้ เพราะในการแบ่งพยัญชนะวรรคในภาษาทั้งสองนี้ เสียงพยัญชนะ 4 เสียงแรกในวรรคหนึ่งๆ ไม่ว่าจะเป็นโฆษะหรืออโฆษะ ล้วนมีเสียง สิถิล-ธนิต เป็นคู่กัน  ส่วนเสียงนาสิกนั้น เป็นเสียงสิถิลที่ไม่มีเสียงธนิตมาเป็นคู่ด้วย นักไวยากรณ์จึงถือว่า เสียงนาสิกไม่เป็นทั้งโฆษะและอโฆษะ  เสียงนี้ในตำราภาษาศาสตร์ภาษาไทยส่วนใหญ่เรียกว่า เสียงนาสิก  แต่ในที่นี้สะกดว่านาสิก โดยสะกดตามชื่อภาษาสันสกฤต ซึ่งสะกดว่า nāsikya

การเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน
               การถ่ายเสียง หรือถ่ายถอดเสียง ภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน หรือเรียกง่ายๆ ว่า การเขียนภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน (คืออักษรแบบเดียวกับที่ใช้เขียนภาษาอังกฤษ) นี้ เป็นการถ่ายถอดเสียงเป็นสัททอักษรในระบบหนึ่ง  เพราะสัญลักษณ์ 1 ตัวแทนเสียง 1 เสียง ทั้งถูกต้องตามที่เกิดและประเภทของเสียง ตรงกับหลักภาษาศาสตร์  และคำภาษาบาลีที่เขียนเป็นอักษรโรมันนี้  เราสามารถจะนำไปแปลงเป็นสัททอักษรสากลที่ใช้กันทุกวันนี้ได้อย่างสมบูรณ์  แต่ในปัจจุบัน การออกเสียงในหมู่ผู้ศึกษาเพี้ยนไปจากระบบเดิม เขียนอย่างหนึ่งอ่านอีกอย่างหนึ่ง จึงมีผู้เปลี่ยนไปเรียกว่า การถ่ายตัวอักษร (transliteration) ไม่ใช่ถ่ายเสียง (transcription)
             นักเรียนไทยทั่วไป จะคุ้นกับการเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทยมาแต่เดิม  ดังนั้นเราจึงมักตั้งต้นด้วยการเขียนเป็นอักษรไทย แล้วถ่ายเสียง หรือถ่ายตัวอักษร ออกมาเป็นอักษรโรมันอีกที  นักเรียนประเทศอื่น เช่นนักเรียนอินเดีย ก็มักเริ่มต้นด้วยการเขียนเป็นตัวอักษรของตนเอง  แต่นักเรียนในประเทศที่ใช้อักษรโรมันอยู่แล้ว เช่น นักเรียนอังกฤษ  นักเรียนเยอรมัน จะเขียนภาษาเหล่านี้ออกมาเป็นอักษรโรมันเลย
              การถ่ายเสียงภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน จะเขียนสระตามหลังพยัญชนะ เหมือนกับภาษาต่างๆ ทางยุโรป เช่นภาษาอังกฤษ  ซึ่งทำให้ดูง่ายกว่าเขียนสระข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน ข้างล่าง อย่างที่เขียนเป็นอักษรไทย เพราะสามารถเห็นได้ชัดว่า สระตัวนั้นประสมอยู่กับพยัญชนะตัวใด หรือพยัญชนะควบกล้ำกลุ่มใด

หลักในการถ่ายเสียงภาษาบาลี จากอักษรไทยเป็นอักษรโรมันคือ 

               1.  หน่วยเสียงพยัญชนะใด เมื่อเขียนเป็นอักษรไทย ไม่มีสระกำกับอยู่ และไม่มีจุดพินทุ ( ฺ) อยู่ใต้ตัวอักษรด้วย เมื่อเขียนเป็นอักษรโรมัน จะต้องเขียนสระ a กำกับตลอดเวลา เช่น  ชวน javana, วชฺช vajja, ภมร bhamara เป็นต้น
               2.  หน่วยเสียงพยัญชนะใด เมื่อเขียนเป็นอักษรไทยมีจุดพินทุ ( ฺ) อยู่ใต้ตัวอักษรแสดงว่าเป็นตัวควบกล้ำ หรือเป็นตัวสะกด เมื่อเขียนเป็นอักษรโรมันไม่ต้องเขียนสระใดๆ กำกับ เช่น ปฺมาท pamāda, วฺยคฺฆ vyaggha, พินธุ bindhu
              3.  เสียง ฤ, ฤๅ, ฦ เป็นสระ ดังนั้นเมื่อเขียนเป็นอักษรไทยโดยปกติ จึงไม่ใส่จุดพินทุใต้พยัญชนะต้น แต่มิได้หมายความว่า เวลาเขียนเป็นอักษรโรมันจะต้องใส่สระ a กำกับพยัญชนะต้นนั้นด้วย  จะเขียนสระ rฺ ประสมกับพยัญชนะต้นลงไปได้เลย เช่น กฤษฺณ krฺsฺnฺa,นฤปติ nrฺpati
              4.  ในภาษาบาลีไม่มีรูปพยัญชนะ อ  เหมือนในภาษาไทย  ถ้าคำใดเขียนเป็นอักษรไทยขึ้นต้นด้วย  อ  เวลาเขียนเป็นอักษรโรมัน จะขึ้นต้นด้วยสระเลย เช่น อมร amara, อินฺทฺ inda, อุทุมฺพร udumbara  เป็นต้น
               5.  ควรสังเกตสระที่อยู่ข้างหน้า หรืออยู่ทั้งข้างหน้าข้างหลังพยัญชนะ เมื่อเขียนเป็นอักษรไทย (ได้แก่สระ เอ ไอ โอ เอา) ว่าประสมอยู่กับพยัญชนะตัวใด หรือพยัญชนะควบกล้ำกลุ่มใด เพราะเมื่อเขียนเป็นอักษรโรมัน สระเหล่านี้จะย้ายไปอยู่ข้างหลังพยัญชนะตัวนั้น หรือกลุ่มนั้น เช่น เทฺราปที drāupadī, ตุเมฺห tumhe  เป็นต้น

ตัวอย่างการถ่ายเสียงภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน 

               นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมสมฺพุทฺธสฺส         Namo tassa Bhagavato Arhato Sammāsambuddhassa
               อชฺฌตฺติก                   Ajjhattika                                   อนฺตฺรธาน                  antaradhāna
               อุปทฺทวเหตุ                Upaddavahetu                         ชมฺพูนท                      jambūnada
               ขณฺฑสกฺขรา               khanฺdฺasakkharā                     ทุพฺภิกฺขภย                 dubbhikkhabhaya 
               ทุกฺกรกิริยา                  dukkarakiriyā                          ปจฺจตฺถรณ                  paccattharanฺa 
               ปพฺพาชนียกมฺม           pabbājanīyakamma               ปทวลญฺช                    padavalañja 
               ปุญฺญาภินิหาร             puññābhinihāra                       ราชปลฺลงฺก                 rājapallanka 

วิธีเขียนและอ่านออกเสียงในภาษาไทย 

               การใช้ตัวอักษรไทยเขียนภาษาบาลีนั้นยังเขียนได้สองแบบ หนึ่งคือเขียนตัวอักษรตามเสียงพยัญชนะ (เช่น พุทฺธ, ธมฺม, พฺรหฺม) สองคือเขียนตามคำอ่านในภาษาไทย (เช่น พุทธะ, ธัมมะ, พ๎รัห๎มะ)  สำหรับการอ่านออกเสียงนั้น เนื่องจากเราใช้ตัวอักษรไทย เราก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าแต่ละตัวจะต้องอ่านออกเสียงว่าอย่างไร ส่วนตัวนิคคหิตนั้น จะเป็นตัวเสียงนาสิก ออกเสียงคล้าย /อัง/ เช่น เขียนว่า พุทฺธํ อ่านว่า /พุทธัง/  ธมฺมํ    อ่านว่า  ธัมมัง  สงฺฆํ    อ่านว่า  สังฆัง เป็นต้น

การอ่านออกเสียงคำบาลีเขียนด้วยอักษรไทย

               พยัญชนะทุกตัวถ้าไม่มีสระอื่นประกอบ พึงออกเสียงสระอะ เช่น ก ข ค ฆ ง อ่านออกเสียงเป็น กะ ขะ คะ ฆะ งะ  ถ้า อ อยู่หน้าคำออกเสียงตามเสียงสระ เช่น 
               อสโม อ่านว่า อะสะโม  อาม อ่านว่า อามะ      อิงฺฆ อ่านว่า อิงฆะ     อุกาส  อ่านว่า อุกาสะ     โอทาต อ่านว่า โอทาตะ   โอฏฺ  อ่านว่า    โอดถะ
               _ เรียกว่า นฤคหิต ถ้าปรากฎอยู่บนพยัญชนะ หรือสระใด พึงออกเสียงเท่ากับ ง สะกด เช่น
               มยํ อ่านว่า มะยัง                    กุหึ  อ่านว่า กุหิง
               กาตุ อ่านว่า กาตุง                  สํสาโร  อ่านว่า สังสาโร
ตัวสะกดต้องมีจุด . อยู่ใต้พยัญชนะพึงอ่านพยัญชนะนั้นๆ เท่ากับมีเสียงสระ อะ เช่น
               สมฺมาสมฺพุทฺโธอ่านว่า สัมมาสัมพุดโท   อุปฺปชฺชติ อ่านว่า อุปปัดชะติ
               พยัญชนะ พ ม ว ร ห ฬ บางทีใช้กล้ำกับพยัญชนะอื่น โดยมีจุด . อยู่ใต้เช่น พฺยฺากตํ   อ่านว่า  พยากะตัง    
               พรหฺมา  อ่านว่า  พรัหมมา  วฺยากรณํ  อ่านว่า  วยากะระณัง    พฺยชนํ  อ่านว่า พยัญชนัง   อมฺห  อ่านว่า  อำห     ตุเมฺห  อ่านว่า ตุมเห
               สมฺปมูเฬหตฺถ อ่านว่า สัมปะมูฬเหตถะ  กลฺยาณธมฺโม   อ่านว่า กัลยานะธัมโม
พยัญชนะ ต ท ส ที่มีจุดอยู่เบื้องล่าง และนำหน้า ว ม อ่านกึ่งเสียงและกล้ำด้วยพยัญชนะ อื่นเช่น
               ตฺวํ อ่านว่า ตวัง   เสฺว อ่านว่า สเหว
               ตสฺมา  อ่านว่า ตัดสมา   เทฺว อ่านว่า ทเว
               สุตฺวา อ่านว่า สุดตะวา   ทิสฺวาน อ่านว่า ทิสวานะ

ฐานกรณ์ของอักขระ
               ฐานกรณ์เป็นต้นของอักขระ นักปราชญ์ท่านแสดงในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ ย่อบ้าง พิสดารบ้าง

ฐานที่ตั้งที่เกิดของอักขระมี 6 ฐานคือ
               1. กณฺชะ เกิดที่คอ ได้แก่  อ,  อา,  ก,  ข,  ค,  ฆ,  ง,  ห
               2.ตาลุชะ  เกิดที่เพดาน ได้แก่  อิ,  อี,  จ,  ฉ,  ช,  ฌ,  , ย
               3.มุทฺธชะ เกิดที่ศีรษะหรือปุ่มเหงือก ได้แก่ ฏ, , ฑ, ฒ, ณ, ร, ฬ
               4.ทนฺตชะ เกิดที่ฟันได้แก่  ต, ถ, ท, ธ, น, ล, ส
               5.โอฏฺชะ  เกิดที่ริมฝีปาก ได้แก่  อุ, อู, ป, ผ, พ, ภ, ม
               6. นาสิกฏฺนชะ เกิดที่จมูก ได้แก่  อํ (นิคหิต)
อักขระบางเหล่าเกิดในฐานเดียว บางเหล่าเกิดใน 2 ฐาน อักขระเหล่านี้ ยกเสียแต่พยัญชนะที่สุดวรรค 5 ตัว คือ ง, , ณ, น, ม เกิดในฐานอันเดียว
อักขระที่เกิดใน 2 ฐานคือ
                 1.กณฺตาลุโชล เกิดใน 2 ฐานคือ คอและเพดานได้แก่  เอ
                 2.คณฺโฏฺโช เกิดใน 2 ฐาน คือ คอและริมฝีปากได้แก่  โอ
                 3.สกฏฺานนาสิกฏฺานชา เกิดใน 2 ฐาน คือ ตามฐานของตน ๆ และจมูก ได้แก่พยัญชนะที่สุดวรรค 5 ตัวคือ ง, , ณ, น, ม
                 4.ทนฺโตฏฺโช เกิดใน 2 ฐาน คือ ฟันและริมฝีปากได้แก่   ว
พยัญชนะที่ประกอบด้วยพยัญชนะ 8 ตัว คือ , ณ, น, ม, ย, ล, ว, ฬ  ท่านกล่าวว่าเกิดแต่อก ที่ไม่ได้ประกอบ เกิดในคอตามฐานเดิมของตน

กรณ์  

          กรณ์คือที่ทำอักขระได้แก่อวัยวะที่ทำให้ขึ้นเกิดเสียงโดยให้กระทบกัฐฐานมี 4 อย่างคือ
                 1.ชิวฺหามชฺฌ ท่ามกลางลิ้น คือกรณ์ที่กระทบกับ ตาลุชะ ทำให้เสียงเกิดเสียงขึ้น
                 2. ชิวฺโหปคฺค ถัดปลายลิ้นเข้ามาคือกรณ์ที่กระทบกับมุทธชะ ทำให้เสียงเกิดเสียงขึ้น
                 3. ชิวฺหคฺค ปลายลิ้น คือกรณ์ที่กระทบกับ ทันตชะ ทำให้เสียงเกิดเสียงขึ้น
                 4.สกฏฺาน ฐานของตน  เป็นกรณ์ของอักษรที่เหลือ คือนอกจากลิ้นแล้วก็เอาฐานเกิดของอักษรนั้น เป็นกรณ์ เช่น ก  ข  ค ฆ ง เกิดจากคอก็เอาคอเป็นทั้งฐานและกรณ์

การออกเสียงอักขระ

               1. สระรัสสะ คือ อ อิ อุ มี 1 มาตรา คือ อ่านออกเสียง เท่ากับ ระยะการกระพริบตา 1 ครั้ง
               2. สระทีฆะ คือ อา,  อี,  อู,  เอ, โอ มี 2 มาตรา คือ อ่านออกเสียง เท่ากับ ระยะกระพริบตาติดต่อกัน 2 ครั้ง
               3. พยัญชนะทั้งปวงที่ไม่มีสระ เช่น กฺ,  ขฺ,  คฺ ฯลฯ มีครึ่งมาตรา คือ อ่านออกเสียงเท่ากับระยะครึ่งของการกระพริบตา
               4. พยัญชนะที่ผสมกับสระรัสสะ เช่น ก,  กิ, กุ มี 1 มาตราครึ่ง คือ อ่านออกสียงเท่ากับระยะกระพริบตา 1 ครั้ง กับอีกครึ่งหนึ่งของการกระพริบตา 
               5. พยัญชนะที่ผสมกับสระทีฆะ เช่น กา, กี, กู, เก, โก มี 2 มาตราครึ่ง คือ อ่านออกเสียงเท่ากับระยะกระพริบตาติดต่อกัน 2 ครั้งกับอีกครึ่งหนึ่งของการกระพริบตา

พยัญชนะสังโยค

               พยัญชนะสังโยค หมายถึง การเขียนพยัญชนะซ้อนกัน โดยไม่มีสระมาคั่นกลางในระหว่าง เช่น กฺก กฺข คฺค คฺฆ จะเห็นว่าไม่มีสระอยู่ในระหว่างพยัญชนะ 2 ตัวนั้น มีหลักการซ้อน ดังนี้
               1. พยัญชนะที่ 1 ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 1 และที่ 2 ในวรรคของตนได้ เช่น
                     กฺก     กฺข     จฺจ     จฺฉ     ฏฺฏ     ฏฺ     ฯลฯ. 
               2. พยัญชนะที่ 3 ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 3 และที่ 4 ในวรรคของตนได้ เช่น
                     คฺค     คฺฆ     ชฺช     ชฺฌ     ฑฺฑ     ฑฺฒ     ฯลฯ.
               3. พยัญชนะที่ 5 ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทุกตัวยกเว้น ง ไม่ซ้อนหน้าตนเองเช่น
                     งฺก     งฺข     งฺค     งฺฆ     ญฺจ     ญฺฉ     ญฺช     ฯลฯ.
               4. พยัญชนะอวรรคที่ซ้อนกันได้ คือ ย ล ส เช่น
                     ยฺย     ลฺล     สฺส

การเขียนตัวอักษรภาษาบาลี

                 การเขียนตัวอักษรในที่นี้ก็คือ การเขียนตัวอักษรให้ถูกต้องตามระเบียบของภาษาบาลีนั่นเอง เรียกสั้นๆ ว่าอักขระเขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์ของภาษาบาลี มีการสังเกตเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษรบาลีดังนี้

การเขียนสระ

               การเขียนสระในภาษาบาลี ส่วนมากจะมีการลดรูปไม่ค่อยมีรูปสระให้เห็น โดยเฉพาะรูปวิสรรชนีย์ ในภาษาบาลี แต่เวลาอ่านก็ให้ออกเสียงสระนั้นด้วย  เช่น  จ  ป  กตฺ  ภตฺ  ตตฺ อ่านว่า  จะ  ปะ  กัต  ภัต  ตัต เป็นต้น  ส่วนสระรูปอื่นมี  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ  นั้นยังคงรูปให้เห็นอยู่ เช่น  สี  กิ  ลุ  รู  เฉ  โส  เป็นต้น

หลักการใช้สระบางตัวของภาษาบาลี

               เราได้รู้มาแล้วว่าสระในภาษาบาลีมี  ทั้งหมด  8  ตัว  จัดเป็นคู่ได้  3  คู่  คือ  อ อา  เรียกว่า  อ  วัณโณ  อิ อี  เรียก  อิ  วัณโณ  อุ  อู  เรียก  อุ  วัณโณ  เอ  โอ  เรียกว่า  อัฑฒสระ เพราะประกอบด้วยเสียงสระ  2  เสียงเป็นเสียงเดียวกัน ในสระทั้ง  8  ตัวนั้นมีบางตัวที่มีลักษณะการใช้ผสมพยัญชนะแล้วจะไม่มีรูปให้เห็น เช่น  สระ  ะ  และ  –ั   ซึ่งมีลักษณะให้สังเกตดังนี้
               สระ  อะ  ถ้าใช้นำหน้าพยัญชนะจะมีรูปตัว  อ  ให้เห็น เช่น  อกริตฺวา  อโหสิ  อกาสิ  อหํ  เป็นต้น
               สระ  อะ  ถ้าอยู่ข้างหลังของพยัญชนะจะไม่มีรูปให้เห็น เช่น  นร  สีห  กุมาร  อาจริย  เป็นต้น
                ∙  พินทุ ใช้เป็นตัวสะกดในภาษาบาลี เช่น  จินฺเตตฺวา  อินฺทฺรีย  สินฺนา  พฺราหฺมณ  เป็นต้น
               ∙  พินทุใช้แทนไม้หันอากาศในภาษาบาลี  เช่น สกฺกตฺวา  คจฺฉนฺติ  อคฺคมาสิ  วตฺต  วฏฺฏ  เป็นต้น
               สระ  อิ  อี  ถ้าอยู่โดดๆ ในภาษาบาลีจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปเป็น  เอ  อย    สี  เป็น เส  สย  เช่น  เสติ  สยติ,  จิ  เป็น  เจ  จย,   กี  เป็น  เก  กย,  นี  เป็น  เน  นย  เป็นต้น
              อิ  อี  ถ้ามีตัวสะกดในภาษาบาลีจะคงรูป  เช่น  จินฺต  สินฺธุ วิทฺธา  อิจฺจ  เป็นต้น
              อิ  อี  ถ้าตามหลังสระหรือพยัญชนะจะคงรูป เช่น  เสฏฺฐี  มุนิ  อคฺคิ  ปฐพี  อธิ  ปฏิ  เป็นต้น
              อิ  อี  บางครั้งก็คงรูปอยู่อย่างเดิม  เช่น  วิ  สิ  นิ  ปิ  ทิวา  เป็นต้น
              สระ  อุ  อู  ถ้าอยู่โดดๆ  ในภาษาบาลีจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปเป็น  โอ  อว  เช่น  ภุช  เป็น  โภช,  ภู  เป็น  ภว,  มุห  เป็น  โมห,  หุ  เป็น  โห  เป็นต้น
              อุ  อู  ถ้ามีตัวสะกดในภาษาบาลีจะคงรูป  เช่น  อุคฺคจฺฉิ  อุปฺปถ  สุนฺทร  เป็นต้น
              อุ  อู  ถ้าตามหลังสระหรือพยัญชนะจะคงรูป  เช่น  อนุ  อภิภู สยมฺภู  ครุ  วิญฺญู  เป็นต้น
              อุ  อู   บางครั้งก็คงรูปอยู่อย่างเดิม  เช่น  มุนิ  สุกรํ  ทุจริตํ  ภูโต  เป็นต้น
             เอ  โอ  ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย คงรูปอยู่อย่างเดิม
                ํ   นิคคหิต ถ้าอยู่หลังพยัญชนะจะออกเสียง     และ ง ตามหลัง  อหํ – อะ-หัง, อกาสึ–อะ-กา-สิง เป็นต้น บางครั้งท่านก็ให้แปลง   ํ นิคคหิต เป็นพยัญชนะวรรคทั้งห้า  คือ  ง  ญ  ณ  น  ม  เช่น  สํฆ  เป็น  สงฺฆ, สํจร  เป็น  สญฺจร,  กึนุ เป็น  กินฺนุ,  จิรํปวาสึ  เป็น  จิรมฺปวาสึ,  สํฐิติ  เป็น  สณฺฐิติ  เป็นต้น บางครั้งก็ยังคงรูปอยู่เหมือนเดิม  เอวํส,  อวํสิโร  เป็นต้น
จากตัวอย่างที่ยกมานี้เพื่อให้ผู้ใคร่ศึกษาภาษาบาลีได้เข้าใจเกี่ยวกับสระบางตัวเท่านั้น เพื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่ท่านเมื่อไปพบกับรูปศัพท์ของภาษาบาลีบางตัว และความหมายของมัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสระในภาษาบาลีทุกตัวจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนจึงจะนำไปใช้ได้  ฉะนั้น เมื่อเราพิจารณาดูจะรู้ว่าสระ คือ  เอ  โอ  จะเกิดได้  2  เสียง คือ  อ กับ อิ  เป็น  เอ,  อ กับ อุ  เป็น  โอ  ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น

การเขียนตัวสะกดหรือพยัญชนะสังโยค

               การเขียนตัวสะกดในภาษาบาลีกับภาษาไทยนี้ไม่เหมือนกัน เพราะการเขียนตัวสะกดในภาษาบาลีจะต้องเขียนได้เฉพาะพยัญชนะที่อยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้น จะเอาพยัญชนะในวรรคอื่นมาเขียนเป็นตัวสะกดเหมือนภาษาไทยไม่ได้ เนื่องจากว่าภาษาบาลีนั้นท่านจัดพยัญชนะไว้เป็นหมวดเป็นหมู่ ไม่เหมือนภาษาไทย ฉะนั้นแล้วผู้ศึกษาพึงกำหนดรู้ให้แม่นยำเสียก่อนว่าพยัญชนะแต่ละตัวอยู่ในวรรคใด เพื่อให้ง่ายแก่การเขียนตัวสะกดในภาษาบาลีได้อย่างถูก ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป
               การกำหนดตัวอักษรในการเขียนตัวสะกดในภาษาบาลีนั้นต้องกำหนดที่ตัวหลังเท่านั้น ไม่ใช้ไปกำหนดที่ตัวหน้า เพราะตัวหน้าเป็นอักษรนำ ซึ่งกล่าวขึ้นก่อน ส่วนตัวหลังนั้นคือตัวที่ทำหน้าที่ในการสะกดของตัวหน้า หรือตัวที่สองของพยัญชนะ ซึ่งทำหน้าที่ในการออกเสียงให้เป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้ แล้วแต่ว่าพยัญชนะนั้นจะมีเสียงสูง หรือเสียงต่ำเท่านั้น ดังนั้นการเขียนตัวสะกดในภาษาบาลีมีลักษณะดังนี้
               พยัญชนะที่ 1  ซ้อนหน้าพยัชนะที่ 1 และที่ 2 ในวรรคของตนได้ เช่น ปกฺก  ภิกฺขุ  ปจฺจ  คจฺฉ วฏฺฏ  ติฏฺฐ  วตฺต  อตฺถ  อปฺป  ปุปฺผ 
               พยัญชนะที่ 3 ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 3 และที่ 4 ในวรรคของตนได้ เช่น  ภคฺค  ยคฺฆ  ชคฺฆ  วชฺช  มชฺฌ อฑฺฒ  ฉฑฺฑ  ขุทฺทก  พุทฺธ  ตพฺพ  อารพฺภ  ฯลฯ
               พยัญชนะที่ 5 ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 5 และทุกตัวในวรรคของตนได้ เช่น สงฺข  จงฺก  องฺค  สงฺฆ  สิญฺจ  ปุญฺฉ  วลญฺช  กญฺญา  อุชฺฌ  รุณฺฏ  คณฺฐ  ปณฺฑิต  ปุณฺณ  ทนฺต  ปนฺถ  นนฺท  รุนฺธ  ปนฺน ธมฺม  ขิมฺป  สมฺผ  อพฺพ  ฉมฺภ  ฯลฯ
               ย  คือ  เอยฺย  เทยฺย  วิญฺเญยฺย  เสยฺย      ล  คือ  ปุลฺลิงค์  สลฺลกฺขณา  กลฺล  ปลฺล
               ส  คือ  อสฺส  ตสฺส  คมสฺส                   ฬ  คือ  รุฬฺห
               จะเห็นได้ว่าการเขียนพยัญชนะตัวสะกดของภาษาบาลีก็จะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้น จะอยู่นอกวรรคของตนนั้นจไม่มีเลย เช่นคำว่า   สัตถา  ต้องเขียนตัวสะกดในวรรคเดียวกันคือ คำว่า  ถ  เป็นคำที่ทำหน้าที่ตามหลังพยัญชนะ คือ ส และเป็นพยัญชนะที่ 2 ใน  ต  วรรคด้วย ฉะนั้นแล้วพยัญชนะที่จะทำหน้าที่ในการสะกดคำว่า  ถา  ก็คือ  ต  ซึ่งอยู่ในวรรคเดียวกันและเป็นตัวพยัญชนะที่ 1 ตามหลักการเขียนตัวสะกดในไวยากรณ์ของภาษาบาลีดังนี้ชื่อว่าเขียนถูก
               ถ้าเขียนว่า  สัทถา  อย่างนี้ถือว่าผิด เพราะเขียนซ้อนพยัญชนะผิดตัวกัน ถึงจะเป็นพยัญชนะในวรรคเดียวกันก็จริงอยู่ แต่หลักการเขียนตัวสะกดของภาษาบาลีท่านไม่ได้กล่าวไว้ว่า พยัญชนะที่ 3 คือ ท ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 2 คือ ถ ในวรรคของตนได้ ซ้อนได้เฉพาะตนเอง และ ธ เท่านั้น จะซ้อนตัวอื่นนอกจากนี้ไม่ได้เลย เพราะเป็นหลักตายตัวของไวยากรณ์ของบาลี ส่วนพยัญชนะทำหน้าที่ออกเสียงก่อนนั้นจะอยู่ในวรรคใดก็ได้ เหมือนภาษาไทย
สรุปท้ายบท
              เนื่องจากพยัญชนะและสระในภาษาบาลีนั้นมีแต่เสียงไม่มีตัวอักษร ในชั้นนี้จึงกำหนดให้ใช้อักษรไทยและอักษรโรมันในการเขียน เพื่อให้นักศึกษาคุ้ยเคยกับการอ่านและการเขียนจึงได้ยกตัวอย่างการเขียน การอ่านภาษาบาลี พร้อมทั้งให้นักศึกษาสามารถเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรโรมันได้   นอกจากนั้นยังนำเสนอหลักการอ่านคำบางคำที่นักศึกษาผู้ไม่คุ้นเคยกับภาษาบาลี จะได้อ่านและเขียนภาษาบาลีได้โดยใช้ทั้งอักษรไทยและอักษรโรมัน

คำถามทบทวน

  1. อักษรในภาษาบาลีมีเท่าไร แบ่งเป็นสระเท่าไร เป็นพยัญชนะเท่าไร จงแสดงมาดู
  2. พยัญชนะแบ่งเป็นกี่วรรค  อะไรบ้าง 
  3. พยัญชนะอวรรคมีเท่าไร  อะไรบ้าง 
  4. ฐานคืออะไร  สระและพยัญชนะตัวใด เกิดจากฐานใดบ้าง
  5. พยัญชนะสังโยคคืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร
  6. จงอธิบายคำว่า โฆสะ อโฆสะ สถิล ธนิต พอเข้าใจ
 7. จงเขียนสะกดคำต่อไปนี้ตามแบบภาษาไทย
                      อถโข    พฺรหฺมา    สหมฺปติ    กตาวกาโส    โขมฺหิ   ภควตา   ธมฺมเทสนายาติ      ภควนฺตํ     อภิวาเทตฺวา     ปทกฺขิณํ     กตฺวา   ตตฺเถวนฺตรธายิ ฯ   จตฺตาโรเม  ภิกฺขเว  ปุคฺคลา  สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ    กตเม     จตฺตาโร    อุคฺฆฏิตญู    วิปจิตญู    เนยฺโย    ปทปรโม    อิเม โข  ภิกฺขเว จตฺตาโร ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมินฺติ ฯ  

8. จงเขียนสะกดแบบบาลี
              อุคฺฆะฏิตัญูสุตตะวัณณะนา  ตะติเย  ฯ  จตุนนัมปิ  ปุคคะลานัง  อิมินา  สุตเตน  วิเสโส  เวทิตัพโพ  กะตะโม  จะ  ปุคคะโล  อุคฆะฏิตัญฺญู ยัสสะ  ปุคคะลัสสะ  สะหะ  อุทาหะฏะเวลายะ  ธัมมาภิสะมะโย  โหติ  อะยัง  วุจจะติ  ปุคคะโล  อุคฆะฏิตัญู  ฯ

9.จงเขียนเป็นอักษรโรมัน
              9.1.นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ มหาขนฺธกํ   เตน   สมเยน  พุทฺโธ  ภควา  อุรุเวลายํ  วิหรติ  นชฺชา   เนรญฺชราย   ตีเร   โพธิรุกฺขมูเล   ปมาภิสมฺพุทฺโธ  ฯ  อถโข  ภควา  โพธิรุกฺขมูเล   สตฺตาหํ   เอกปลฺลงฺเกน   นิสีทิ   วิมุตฺติสุขปฏิสํเวที   ฯ  อถโข   ภควา   รตฺติยา   ปมํ   ยามํ  ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ  อนุโลมปฏิโลมํ  มนสากาสิ     อวิชฺชาปจฺจยา    สงฺขารา    สงฺขารปจฺจยา    วิญฺาณํ   วิญฺาณปจฺจยา    นามรูปํ   นามรูปปจฺจยา   สฬายตนํ   สฬายตนปจฺจยา  ผสฺโส      ผสฺสปจฺจยา      เวทนา      เวทนาปจฺจยา      ตณฺหา  ตณฺหาปจฺจยา     อุปาทานํ     อุปาทานปจฺจยา     ภโว    ภวปจฺจยา  ชาติ     ชาติปจฺจยา     ชรามรณํ     โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา  สมฺภวนฺติ    เอวเมตสฺส    เกวลสฺส    ทุกฺขกฺขนฺธสฺส   สมุทโย   โหติ  อวิชฺชาย   เตฺวว   อเสสวิราคนิโรธา   สงฺขารนิโรโธ   สงฺขารนิโรธา  วิญฺาณนิโรโธ     วิญฺาณนิโรธา     นามรูปนิโรโธ     นามรูปนิโรธา   สฬายตนนิโรโธ      สฬายตนนิโรธา      ผสฺสนิโรโธ     ผสฺสนิโรธา   เวทนานิโรโธ      เวทนานิโรธา      ตณฺหานิโรโธ     ตณฺหานิโรธา  อุปาทานนิโรโธ   อุปาทานนิโรธา   ภวนิโรโธ   ภวนิโรธา  ชาตินิโรโธ   ชาตินิโรธา  ชรามรณํ   โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา   นิรุชฺฌนฺติ   เอวเมตสฺส   เกวลสฺส   ทุกฺขกฺขนฺธสฺส   นิโรโธ  โหตีติ  ฯ 
              9.2.นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ เทวตาสํยุตฺตํ นฬวคฺโค ปโม ปมํ โอฆตรณสุตฺตํ ฯ เอวมฺเม   สุตํ   เอกํ   สมยํ   ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ  เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ  อถ  โข  อญฺญตรา  เทวตา อภิกฺกนฺตาย   รตฺติยา  อภิกฺกนฺตวณฺณา  เกวลกปฺปํ  เชตวนํ  โอภาเสตฺวา  เยน    ภควา    เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ   อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ อฏฺาสิ ฯ   เอกมนฺตํ   ฐิตา   โข   สา  เทวตา  ภควนฺตํ  เอตทโวจ  กถํ   นุ   ตฺวํ   มาริส   โอฆมตรีติ   ฯ   อปฺปติฏฺฐํ   ขฺวาหํ  อาวุโส  อนายูหํ    โอฆมตรินฺติ   ฯ   ยถากถํ   ปน   ตฺวํ   มาริส   อปฺปติฏฺฐํ  สํสีทามิ  ยทา  สฺวาหํ  อายูหามิ  ตทาสฺสุ  นิวุยฺหามิ  เอวํ ขฺวาหํ  อาวุโส อปฺปติฏฺฐํ อนายูหํ โอฆมตรินฺติ ฯ 
                     จิรสฺสํ วต ปสฺสามิ       พฺราหฺมณํ ปรินิพฺพุตํ 
                     อปฺปติฏฺฐํ อนายูหํ        ติณฺณํ โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ 
               อิทมโวจ   สา   เทวตา   สมนุญฺโญ   สตฺถา  อโหสิ  ฯ   อถ  โข  สา  เทวตา  สมนุญฺโ เม สตฺถาติ ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา  ปทกฺขิณํ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ 

10.จงเขียนเป็นบาลี (อักษรไทย)
              I. Seyyathidanti taṃ katamaṃ, taṃ kathanti vā attho. Aniyamaniddesavacananti natthi etassa niyamoti aniyamo, niddisīyati attho etenāti niddeso, vuccati etenāti vacanaṃ, niddesoyeva vacanaṃ niddesavacanaṃ, aniyamassa niddesavacanaṃ aniyamaniddesavacanaṃ, paṭhamaṃ aniyamitassa samayassa niddesavacananti attho. ‘‘Yenāti avatvā tenāti vuttattā aniyamaṃ katvā niddiṭṭhavacanaṃ aniyamaniddesavacana’’ntipi vadanti. Yaṃtaṃsaddānaṃ niccasambandhabhāvato āha ‘‘tassa sarūpena avuttenapī’’tiādi. Tattha tassāti ‘‘tenā’’ti etassa. Sarūpena avuttenapīti ‘‘yenā’’ti evaṃ sarūpato pāḷiyaṃ avuttenapi. Atthato siddhenāti parabhāge sāriputtattherassa uppajjanakaparivitakkasaṅkhātaatthato siddhena. Parivitakke hi siddhe yena samayena parivitakko udapādīti idaṃ atthato siddhameva hoti. Tenevāha ‘‘aparabhāge hi vinayapaññattiyācanahetubhūto āyasmato sāriputtassa parivitakko siddho’’tiādi. ‘‘Tenā’’ti vatvā tato tadatthameva ‘‘yenā’’ti atthato vuccamānattā ‘‘yenā’’ti ayaṃ ‘‘tenā’’ti etassa paṭiniddeso nāma jāto. Paṭiniddesoti ca vitthāraniddesoti attho.
              II. Aparabhāge hīti ettha hi-saddo hetumhi, yasmāti attho. Vinayapaññattiyācanahetubhūtoti ‘‘etassa bhagavā kālo, etassa sugata kālo, yaṃ bhagavā sāvakānaṃ sikkhāpadaṃ paññapeyya, uddiseyya pātimokkhaṃ. Yathayidaṃ brahmacariyaṃ addhaniyaṃ assa ciraṭṭhitika’’nti evaṃ pavattassa vinayapaññattiyācanassa kāraṇabhūtoti attho. Parivitakkoti ‘‘katamesānaṃ kho buddhānaṃ bhagavantānaṃ brahmacariyaṃ na ciraṭṭhitikaṃ ahosi, katamesānaṃ buddhānaṃ bhagavantānaṃ brahmacariyaṃ ciraṭṭhitikaṃ ahosī’’ti evaṃ pavatto parivitakko. Yaṃtaṃsaddānaṃ niccasambandhoti āha ‘‘tasmā yena samayenā’’tiādi. Pubbe vā pacchā vā atthato siddhenāti pubbe vā pacchā vā uppannaatthato siddhena. Paṭiniddeso kattabboti etassa ‘‘yadida’’nti iminā sambandho. ‘‘Paṭiniddeso kattabbo’’ti yadidaṃ yaṃ idaṃ vidhānaṃ, ayaṃ sabbasmiṃ vinaye yuttīti attho. Atha vā ‘‘paṭiniddeso kattabbo’’ti yadidaṃ yā ayaṃ yutti, ayaṃ sabbasmiṃ vinaye yuttīti attho.
              III.Devatāsaṃyuttaṃ Naḷavaggo  Oghataraṇasuttavaṇṇanā Vibhāgavantānaṃ sabhāvavibhāvanaṃ vibhāgadassanavaseneva hotīti paṭhamaṃ tāva saṃyuttavaggasuttādivasena saṃyuttāgamassa vibhāgaṃ dassetuṃ ‘‘tattha saṃyuttāgamo nāmā’’tiādimāha. Tattha tatthāti yaṃ vuttaṃ – ‘‘saṃyuttāgamavarassa atthaṃ pakāsayissāmī’’ti, tasmiṃ vacane. Tatthāti vā ‘‘etāya aṭṭhakathāya vijānātha saṃyuttanissitaṃ attha’’nti ettha yaṃ saṃyuttaggahaṇaṃ kataṃ, tattha. Pañca vaggā etassāti pañcavaggo. Avayavena viggaho, samudāyo samāsattho. Idāni taṃ ādito paṭṭhāya saṃvaṇṇetukāmo attano saṃvaṇṇanāya tassa paṭhamamahāsaṅgītiyaṃ nikkhittānukkameneva pavattabhāvaṃ dassetuṃ, ‘‘tassa vaggesu sagāthāvaggo ādī’’tiādi vuttaṃ. Tattha yathāpaccayaṃ tattha tattha desitattā paññattattā ca vippakiṇṇānaṃ dhammavinayānaṃ saṅgahetvā gāyanaṃ kathanaṃ saṅgīti, mahāvisayattā pūjaniyattā ca mahatī saṅgīti mahāsaṅgīti. Paṭhamā mahāsaṅgīti paṭhamamahāsaṅgīti, tassā pavattitakālo paṭhamamahāsaṅgītikālo, tasmiṃ paṭhamamahāsaṅgītikāle.

เอกสารอ้างอิงท้ายบทที่ 2

พระพรหมคุณาภรณ์.พจนานุกรมพุทธศาสตร์.กรุงเทพฯ:เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์,2545.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.บาลีไวยากรณ์(สมัญญาภิธาน). พิมพ์ครั้งที่ 36,กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2536.
A.K. Warder, Introduction to Pali,Third Edition.Oxford: The pali Text Society,2001.

 

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
17/06/53


วิทยาศาสตร์ ป.6 ระบบต่างๆในร่างกายคนdigestive respiratory systems(EP44) ร่างกายมนุษย์มหัศจรรย์จริงๆ


หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ปี 2551
ตัวชี้วัด วิทยาศาสตร์ ว 1.1 ป6/2 อธิบายการทํางานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์
หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ปี ฉบับปรับปรุง ปี 2560
ตัวชี้วัด สาระวิทยาศาสตร์ ว 1.2 ป6/4 สร้างแบบจำลองระบบย่อยอาหาร และบรรยายหน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร รวมทั้งอธิบายการย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหาร
ตัวชี้วัด สาระวิทยาศาสตร์ ว 1.2 ป6/5 ตระหนักถึงความสำคัญของระบบย่อยอาหาร โดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบย่อยอาหารให้ทำงานเป็นปกติ
เรียนผู้ชมทุกท่าน จุดประสงค์ของผู้ผลิตเพื่อใช้เป็นการ์ตูนเพื่อให้ความรู้และความสนุกสนานเพื่อให้เด็กๆอยากเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัว ขอบคุณสำหรับการรับชม หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมานะที่นี้ด้วย ทางผู้ผลิต พร้อมรับข้อผิดพลาดเพื่อปรับปรุงและแก้ไขต่อไป ขอบคุณครับ
ทีมงานผู้ผลิตการ์ตูน Lipda Pola
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม/สั่งซื้อหนังสือแบบเรียน/สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์/Day camp/จัดห้องเรียน/เทรนนิ่ง/สั่งซื้อหุ่นยนต์ mBot
Facebook : Imagineering
https://www.facebook.com/Imagineering…
Makeblock Imagineering
https://www.facebook.com/Makeblockim…
Website : www.imagineering.co.th
https://imagineering.co.th/
Email : [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : 02331272930/0864151759 ครูเหน่ง/0933646914 ครูติ๊ก

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

วิทยาศาสตร์ ป.6  ระบบต่างๆในร่างกายคนdigestive respiratory systems(EP44) ร่างกายมนุษย์มหัศจรรย์จริงๆ

ไวยากรณ์อาหรับ – นะฮู ตอนที่ 47 (العالم ممنوع من الصرف)


เรียนไวยากรณ์อาหรับอย่างง่าย กับ อ.มูฮัมมัดอาลี มูซานัดวี

ไวยากรณ์อาหรับ - นะฮู ตอนที่ 47 (العالم ممنوع من الصرف)

สรุปไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน บทที่ 1


น้องๆ คนไหนกำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐาน
มาทบทวนไวยากรณ์ด้วยกันได้เลยนะคะ
สรุปแบบย่อยง่าย ไม่น่าเบื่อ
อ้างอิงเนื้อหาจาก มินนะ โนะ นิฮงโกะ
ถ้าสนใจคอร์สเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ ตามไปที่นี่เลยค่ะ
1. คอร์สญี่ปุ่นย่อยง่าย 14
2. คอร์สตะลุย N5
3. คอร์สนั่งชิลติวN4
4. คอร์สตะลุย N3
https://www.facebook.com/japaneseiseasy/
หรือเรียนผ่าน Skill Lane ตามลิ้งก์นี้ไปจ้า
1. ญี่ปุ่นออนไลน์ JP01
https://www.skilllane.com/courses/japaneseJP01
2. ญี่ปุ่นออนไลน์ JP02
https://www.skilllane.com/courses/japaneseJP02
3. ญี่ปุ่นออนไลน์ JP03
https://www.skilllane.com/courses/onlineJP3
4. ญี่ปุ่นออนไลน์ JP04
https://www.skilllane.com/courses/japaneseJP4
5. ญี่ปุ่นออนไลน์ JP05
https://www.skilllane.com/courses/japaneseJP5
6. ญี่ปุ่นออนไลน์ JP06
https://www.skilllane.com/courses/japaneseJP6
7. ญี่ปุ่นออนไลน์ รู้ใจไวยากรณ์ N4
https://www.skilllane.com/courses/japanesegrammarn4
มาเรียนด้วยกันเยอะๆ นะคะ

สรุปไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน บทที่ 1

สรุป Tense แบบกระจ่าง เข้าใจใน 30 นาที!! โดย ครูพี่แอน


ถ้าไม่อยากพลาดคลิปการสอนเจ๋งๆจากครูพี่แอน อย่าลืม กดsubscribe และดกดกระดิ่งแจ้งเตือนช่อง YOUTUBE ของครูพี่แอนไว้ด้วยน้า (จะเป็นกำลังใจให้ครูพี่แอนได้มากที่สุดในโลกเลยยยย)
สนใจคอร์สเรียน Perfect English ของครูพี่แอน รีบแอดไลน์มารับโปรส่วนลด พร้อมเรียนทวนฟรีได้ตลอดชีพ!
สามารถติดต่อได้ที่ Line : @chula_tutor (มี @ ด้วยนะน้า) หรือคลิกที่ http://line.me/ti/p/@chula_tutor เพื่อติดต่อทางไลน์โดยตรงได้เลยค่ะ

เชื่อว่านักเรียนทุกคนเคยเรียน Tense กันมาตั้งแต่เด็กๆ
เรียนกันมานานหลายปี แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่เข้าใจจริงๆว่ามันคืออะไร
ใช้ยังไง แบบไหนเรียกว่าอะไร
ครูพี่แอนจะมาแจกสูตรลับเรื่องของ Tense ให้เข้าใจอย่างกระจ่าง!!
เปลี่ยนการเรียน Tense แบบเดิมๆ ที่เคยเรียนมา
หลักสูตรการสอนแบบ Speed up โดย ครูพี่แอน
ที่จะทำให้นักเรียนเข้าใจเรื่อง Tense ใน 30 นาที!!!

ติดตามครูพี่แอนได้ที่ช่องทาง
Perfect English : https://www.facebook.com/englishforfunbyann
IG : https://www.instagram.com/krupann.english/
twitter : https://twitter.com/englishbykruann
Tiktok : https://www.tiktok.com/@krupann.english
ครูพี่แอน KruPAnn ภาษาอังกฤษ OnlineEnglish คอร์สเรียนออนไลน์ เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์

สรุป Tense แบบกระจ่าง เข้าใจใน 30 นาที!! โดย ครูพี่แอน

เก่ง Grammar แกรมม่าภาษาอังกฤษในเพียง 150 นาที!!!


สมัครเป็นสมาชิกช่องนี้!!
กดปุ่ม \”สมัคร\” ข้างล่างวีดีโอใน Youtube หรือกดลิงค์นี้ได้เลยนะครับ https://www.youtube.com/channel/UC93A91EZTtZW55WEKCz_jYA/join
สั่งซื้อหนังสือได้จากแอดมิน
@LINE ID = @EnglishbyChris
รับสอนตัวต่อตัว ติดต่อผมได้ที่
@LINE ID = @TeacherChris
http://www.EnglishbyChris.com/ร้านค้า
WEBSITE
http://www.EnglishbyChris.com
Facebook
ค้นหา = EnglishbyChris
00:00:10 Articles คำนำหน้านาม
00:23:09 Pronouns สรรพนาม
00:37:05 Conjunctions คำเชื่อม
00:58:57 Modal verbs กริยาช่วย
01:17:21 Spelling rules กฎไวยากรณ์
01:37:06 Prefix and Suffix คำเติมหน้า/หลัง
01:45:56 Tenses โครงสร้างเวลา
02:29:01 Do / Are ใช้อย่างไร
02:32:50 Relative Pronouns ประพันธสรรพนาม

เก่ง Grammar แกรมม่าภาษาอังกฤษในเพียง 150 นาที!!!

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ หลัก ไวยากรณ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *