Skip to content
Home » [Update] หลักการใช้คอมม่า (Comma) ในภาษาอังกฤษ | เครื่องหมาย – เรียกว่า – NATAVIGUIDES

[Update] หลักการใช้คอมม่า (Comma) ในภาษาอังกฤษ | เครื่องหมาย – เรียกว่า – NATAVIGUIDES

เครื่องหมาย – เรียกว่า: คุณกำลังดูกระทู้

คอมม่า (,) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้บ่อยในภาษาอังกฤษ แต่ถึงแม้จะถูกใช้บ่อย หลายๆคนก็ยังคงสับสนอยู่ดี ว่าเราควรใช้คอมม่าตอนไหนและต้องใช้อย่างไรบ้าง

สำหรับคนที่สงสัย ในบทความนี้ ชิววี่ก็ได้เรียบเรียงเนื้อหาการใช้คอมม่าในภาษาอังกฤษ มาให้เพื่อนๆได้เรียนรู้กันได้อย่างง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

Table of Contents

คอมม่าคืออะไร

คอมม่า (comma) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษ ทำหน้าที่แยกคำ วลี หรือประโยค เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านจับใจความได้ง่ายและถูกต้องมากขึ้น

ถ้าเปรียบเทียบคอมม่ากับเครื่องหมายจุด (.) ที่ใช้ปิดท้ายประโยค หรือที่เรียกว่า period เครื่องหมายทั้ง 2 ตัวนี้จะเป็นตัวบอกการเว้นจังหวะในการอ่านและพูดเหมือนกัน แต่เครื่องหมายคอมม่าจะเป็นตัวบอกจังหวะการเว้นที่สั้นกว่า

หลักการใช้คอมม่า

ใครที่มีข้อสงสัยว่าเราต้องใช้คอมม่าในกรณีไหนและต้องใช้ยังไงบ้าง ก็ไปดูหลักการใช้คอมม่าทั้ง 11 ข้อกันเลย

1. ใช้คอมม่าหน้าคำเชื่อมที่เชื่อม independent clause

Independent clause (ประโยคใจความสมบูรณ์) คือประโยคที่มีทั้งประธานและคำกริยา ตัวประโยคจะมีใจความสมบูรณ์ในตัวมันเอง เช่น

I am a student. (ฉันเป็นนักเรียน) – ถือเป็น independent clause เพราะมีทั้งประธานและคำกริยา
Feel good (รู้สึกดี) – ไม่ใช่ independent clause เพราะไม่มีประธาน
Big black cat (แมวสีดำตัวใหญ่) – ไม่ใช่ independent clause เพราะไม่มีคำกริยา

ส่วนคำเชื่อมในที่นี้จะต้องเป็น coordinating conjunction ซึ่งก็คือคำเชื่อมที่ให้น้ำหนักกับ 2 สิ่งที่ถูกเชื่อมเท่าๆกัน โดยอาจใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยคก็ได้ coordinating conjunction มีทั้งหมด 7 ตัวคือ for, and, nor, but, or, yet, so (เมื่อนำอักษรแรกมาต่อกันจะได้เป็น FANBOYS ใช้ช่วยให้ท่องจำได้ง่ายขึ้น)

หากเราเชื่อม independent clause 2 ประโยคด้วย coordinating conjunction เราจะต้องใช้คอมม่าหน้า coordinating conjunction

โครงสร้างการใช้

independent clause + , + coordinating conjunction + independent clause

ตัวอย่างประโยค

He didn’t speak to anyone, and nobody spoke to him.
เขาไม่ได้พูดกับใคร และก็ไม่มีใครพูดกับเขา

I wanted to stay home, but my wife wanted to go shopping.
ฉันอยากอยู่บ้าน แต่ภรรยาของฉันอยากไปช้อปปิ้ง

เราจะไม่ใช้คอมม่า ถ้าข้างหน้าหรือข้างหลัง coordinating conjunction ไม่ใช่ independent clause

She brushed her teeth and washed her face.
เธอแปรงฟันและล้างหน้า
(washed her face ไม่ใช่ independent clause)

I am not a writer but an editor.
ฉันไม่ใช่นักเขียน แต่เป็นบรรณาธิการ
(an editor ไม่ใช่ independent clause)

2. ใช้คอมม่าเมื่อขึ้นต้นประโยคด้วย dependent clause

Dependent clause คือประโยคที่มีใจความไม่สมบูรณ์ เวลาใช้จะต้องใช้ร่วมกับประโยคอื่น ในที่นี้เราจะแบ่งออกเป็น 3 กรณี

1. Participial phrase

เมื่อประโยคขึ้นต้นด้วยวลีจำพวก participial phrase ซึ่งก็คือวลีที่ขึ้นต้นด้วย v. + ing หรือ v. ช่อง 3 เราจะต้องใช้คอมม่าคั่นหลังวลีนั้น

โครงสร้างการใช้

participial phrase + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Being the only son in the family, his family have high hopes for him.
ด้วยการที่เขาเป็นลูกชายคนเดียวในครอบครัว ครอบครัวของเขาจึงตั้งความหวังกับเขาไว้สูง

Bitten by my own dog, I was very disappointed.
การโดนกัดโดยหมาของตัวเองทำให้ฉันรู้สึกผิดหวังมาก

2. Adverbial phrase

แต่ถ้าประโยคขึ้นต้นด้วย adverbial phrase ซึ่งก็คือวลีที่ทำหน้าที่เป็น adverb เราอาจใช้คอมม่าหรือไม่ใช้ก็ได้ (ถ้า adverbial phrase ยาว หรือเราต้องการเน้น adverbial phrase นั้น เราจะนิยมใช้คอมม่า)

ตัวอย่าง adverbial phrase เช่น
At 6 o’clock
After the show
In the middle of Bangkok

โครงสร้างการใช้

adverbial phrase + (,) + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

In 2020 there is a pandemic affecting the world.
ในปี 2020 มีโรคระบาดที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก

When I was six, I lived in Chiang Mai with my mom.
ตอนฉันอายุหกขวบ ฉันอาศัยอยู่ที่เชียงใหม่กับแม่ของฉัน

3. Sentence adverb

ถ้าประโยคขึ้นต้นด้วย sentence adverb ซึ่งก็คือคำจำพวก adverb ที่ทำหน้าที่ขยายทั้งประโยค เราจะใช้คอมม่าคั่นหลัง sentence adverb นั้น

โครงสร้างการใช้

sentence adverb + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Honestly, I am not angry.
ตรงๆเลยนะ ฉันไม่ได้โกรธ

Clearly, this plan isn’t working.
เห็นได้ชัดว่าแผนนี้ใช้ไม่ได้ผล

3. ใช้คอมม่าคั่นวลีหรือคำกลางประโยคที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

เราจะใช้คอมม่าคั่นวลีหรือคำที่อยู่กลางประโยค ถ้าวลีหรือคำนั้นทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่ไม่ได้จำเป็นสำหรับประโยค (แม้ตัดออกไป ใจความหลักของประโยคก็ยังเหมือนเดิม)

โครงสร้างการใช้

ประโยคส่วนที่ 1 + , + วลี/คำที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม + , + ประโยคส่วนที่ 2

ตัวอย่างประโยค

Tim, unlike Joe, is very polite.
ทิมเป็นคนสุภาพมาก ไม่เหมือนกับโจ

King Crab restaurant, which Anne recommended, is fantastic.
ร้านอาหารคิงแครบที่แอนแนะนำนั้นดีมาก

แต่ถ้าวลีหรือคำนั้นจำเป็นสำหรับประโยค ถ้าตัดออกแล้วใจความเปลี่ยน เราก็จะไม่ใช้คอมม่า

People who exercise regularly tend to be more happy.
คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอมักจะมีความสุขมากกว่า
(ถ้าตัด who exercise regularly ทิ้ง ความหมายจะเปลี่ยนเป็น “คนจะมีความสุขมากกว่า” ซึ่งมีใจความผิดไปจากเดิม)

The restaurant that Anne recommended is fantastic.
ร้านอาหารที่แอนแนะนำนั้นดีมาก
(ถ้าตัด that Anne recommended ทิ้ง ความหมายจะเปลี่ยนเป็น “ร้านอาหารดีมาก” ซึ่งมีใจความผิดไปจากเดิม คือเราจะไม่รู้ว่าหมายถึงร้านไหน)

วลีที่ขึ้นต้นด้วย that มักจะจำเป็นสำหรับประโยค เรามักจะไม่ใช้คอมม่าครอบส่วนนั้น

4. ใช้คอมม่าแยกรายการคำตั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป

ถ้าเรามีรายการคำตั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป เราจะต้องคั่นแต่ละรายการด้วยคอมม่า ยกเว้นรายการสุดท้าย เราจะคั่นด้วยคอมม่าหรือไม่ก็ได้

โครงสร้างการใช้

รายการหนึ่ง, รายการสอง(,) and รายการสุดท้าย

ตัวอย่างประโยค

He is tall, dark, and handsome.
หรือ He is tall, dark and handsome.
เขาทั้งสูง เข้ม และหล่อ

She needs salt, pepper, and other seasonings at the grocery store.
หรือ She needs salt, pepper and other seasonings at the grocery store.
เธอต้องการเกลือ พริกไทย และเครื่องปรุงอย่างอื่นที่ร้านขายของ

5. ใช้คอมม่าคั่นระหว่าง coordinate adjectives

Coordinate adjectives คือคำคุณศัพท์ที่ขยายคำนามคำเดียวกันและมีความสำคัญเท่าๆกัน สามารถสลับที่กันได้ ตัวอย่างเช่น

เราสามารถใช้ได้ทั้ง long, narrow path
และ narrow, long path
คำว่า long และ narrow ในที่นี้จะถือเป็น coordinate adjectives

เราสามารถใช้ big black bear
แต่ไม่สามารถใช้ black big bear
คำว่า big และ black ไม่ถือเป็น coordinate adjectives (การใช้ adjective ขนาดจะต้องมาก่อนสี)

โครงสร้างการใช้

coordinate adjective 1 + , + coordinate adjective 2 + คำนาม

ตัวอย่างประโยค

The happy, lively cat is playing with the ball.
แมวที่มีความสุขสดใสกำลังเล่นกับลูกบอล

My roommate is a cheerful, kind girl.
รูมเมทของฉันเป็นเด็กผู้หญิงที่ร่าเริงและใจดี

ทั้งนี้ เราสามารถใช้ and เชื่อมระหว่าง coordinate adjectives แทนคอมม่าก็ได้เช่นกัน อย่างเช่น My roommate is a cheerful and kind girl.

6. ใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำพูดกับวลีที่กำกับ

ในภาษาอังกฤษ เวลาเราเขียนประโยคที่เป็นคำพูด เราจะใช้เครื่องหมาย “-” ครอบประโยคคำพูดนั้น อย่างเช่น Anne said, “I feel sick.” ซึ่งแปลว่า แอนพูดว่า “ฉันรู้สึกป่วย”

สังเกตว่า เราจะใช้คอมม่าคั่นระหว่างวลีที่เข้ามากำกับ ซึ่งก็คือ Anne said และประโยคที่เป็นคำพูด ซึ่งก็คือ “I feel sick.”

ทั้งนี้ วลีที่กำกับนั้นอาจจะอยู่หน้า อยู่กึ่งกลาง หรืออยู่หลังประโยคที่เป็นคำพูดก็ได้

โครงสร้างการใช้

  • วลีกำกับ, “ประโยคคำพูด”
  • “ประโยคคำพูด,” วลีกำกับ, “ประโยคคำพูด”
  • “ประโยคคำพูด,” วลีกำกับ

ตัวอย่างประโยค

He answered, “She is not here.”
เขาตอบ “เธอไม่ได้อยู่ที่นี่”

“I think,” she said, “Joe can help.”
“ฉันคิดว่า” เธอพูด “โจสามารถช่วยได้”

“It is raining,” Tim said.
“ฝนกำลังตก” ทิมพูด

ในกรณีที่วลีกำกับอยู่ข้างหลังประโยคคำพูด ถ้าประโยคคำพูดลงท้ายด้วยเครื่องหมายตกใจ (!) หรือเครื่องหมายคำถาม (?) เราจะไม่ต้องใช้คอมม่า

“Stop playing video game!” mom yelled.
“หยุดเล่นเกมได้แล้ว” แม่ตวาด

“Are you alright?” Ben asked.
“คุณโอเคมั้ย” เบ็นถาม

บางคนอาจสงสัยว่า เราต้องใส่คอมม่าไว้ในหรือนอกเครื่องหมาย “-” ทำไมบางทีเห็นแต่ละที่ใช้ไม่เหมือนกัน

คำตอบก็คือถ้าเป็น American English จะนิยมเอาไว้ข้างใน เช่น “It is raining,” Tim said. แต่ถ้าเป็น British English จะนิยมเอาไว้ข้างนอก เช่น “It is raining”, Tim said.

7. ใช้คอมม่าในการแยกวันที่และสถานที่

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างวันและปีเมื่อเราเขียนวันที่ในรูปแบบ เดือน-วันที่-ปี แต่ถ้าเราเขียนในรูปแบบ วันที่-เดือน-ปี เราจะไม่ต้องใช้คอมม่า

โครงสร้างการใช้

เดือน วันที่, ปี

ตัวอย่างประโยค

She was born on December 10, 1995.
เธอเกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1995

She was born on 10 December 1995.
เธอเกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1995

และใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำบอกสถานที่ที่ต่างกัน เช่น เมือง จังหวัด รัฐ ประเทศ

โครงสร้างการใช้

  • ชื่อตำบล, ชื่อเขต, ชื่อจังหวัด, ชื่อประเทศ
  • ชื่อเมือง, ชื่อรัฐ, ชื่อประเทศ

ตัวอย่างประโยค

I live in Bangkok, Thailand.
ฉันอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย

He came from Chicago, Illinois.
เขามาจากเมืองชิคาโก้ รัฐอิลลินอยส์

8. ใช้คอมม่าหน้า question tag

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างประโยคหลักกับ question tag

โครงสร้างการใช้

ประโยคหลัก + , + question tag

ตัวอย่างประโยค

These flowers are beautiful, aren’t they?
ดอกไม้เหล่านี้สวยมาก ว่ามั้ย

You didn’t forget the key, did you?
คุณไม่ได้ลืมกุญแจใช่มั้ย

9. ใช้คอมม่าเมื่อเรียกบุคคลโดยตรง

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำเรียกบุคคลอื่นกับส่วนอื่นของประโยค เมื่อเราเรียกบุคคลนั้นโดยตรง

โครงสร้างการใช้

  • ประโยคหลัก + , + คำเรียกบุคคล
  • คำเรียกบุคคล + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Dad, where are you?
พ่ออยู่ไหน

See you later, John.
ไว้เจอกันใหม่นะจอห์น

10. ใช้คอมม่าหลังคำขึ้นต้นประโยค

ใช้คอมม่าคั่นระหว่างคำขึ้นต้นประโยคกับประโยคหลัก อย่างเช่น คำทักทาย yes/no

โครงสร้างการใช้

  • คำทักทาย + , + ประโยคหลัก
  • yes/no + , + ประโยคหลัก

ตัวอย่างประโยค

Hello, how is it going?
สวัสดี เป็นยังไงบ้าง

Yes, I live by myself.
ใช่ ฉันอยู่คนเดียว

11. ใช้คอมม่าเพื่อป้องกันการสับสน

เราจะใช้คอมม่าในประโยคที่อาจก่อให้เกิดความสับสนหรือความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่าน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ถูกต้องมากขึ้น

ตัวอย่างประโยค

I waved at my friend who entered the canteen, and smiled.
ฉันโบกมือให้เพื่อนที่เข้ามาในโรงอาหาร และยิ้มให้เค้า
(คอมม่าทำให้เรารู้ว่าฉันเป็นคนยิ้ม ไม่ใช่เพื่อนยิ้ม)

เป็นยังไงบ้างครับกับหลักการใช้เครื่องหมายคอมม่า (comma) ในภาษาอังกฤษ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time

[NEW] เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล | เครื่องหมาย – เรียกว่า – NATAVIGUIDES

 เส้นน้อย 

 2. ลักษณะตัวโน้ต และตัวหยุด

1) ตัวโน้ต

แผนภูมิกระจายตัวโน้ต

  การเขียนโน้ตตัวเขบ็ต  ในกรณีที่เขียนตัวโน้ตเรียงต่อกัน  นิยมเขียนในลักษณะ ดังนี้

2) ตัวหยุด

หรือเครื่องหมายพักเสียง    คือ เครื่องหมายที่ทำให้เสียงเงียบ หรือหยุดชั่วคราว  แต่จังหวะยังคงดำเนินต่อเนื่องไป  จะหยุดนานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวหยุด ลักษณะ และอัตราความยาวของตัวหยุดมีดังนี้
             

         

 3. เครื่องหมายกำกับบรรทัด

               เครื่องหมายกำกับบรรทัด  โน้ตสากลที่บันทึกลงในบรรทัด 5 เส้น  ที่อยู่ในตำแหน่งหรือในระดับต่างกัน  จะมีชื่อเรียกหรืออ่านออกเสียงต่างกัน  การอ่านออกเสียงตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น อ่านออกเสียงเป็น  C (Do)   D (Re)  M (Mi)     F(Fa)    G(Sol)    A(La)     B(Ti) ตำแหน่งของของตัวโน้ตที่อ่านออกเสียงต่างกันนี้  ถูกกำหนดโดยเครื่องหมายกำกับบรรทัดซึ่งเรียกว่า   กุญแจ  (Clef) 

            กุญแจที่ผู้เรียนควรทราบในระดับชั้นเรียนนี้คือ กุญแจซอล (G Clef) และ กุญแจฟา (F Clef)

           

1) กุญแจซอล

  คือ เครื่องหมายที่กำหนดเสียงของตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ให้อ่านออกเสียงเป็น  C  D  M  F  G  A  B  C  มีตำแหน่งเสียงคงที่ โดยยึดเสียง  ซอล  เป็นหลัก

              ลักษณะของกุญแจซอลเป็นดังนี้

               กุญแจซอล จะบันทึกหัวกุญแจ คาบเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น  ตัวโน้ตทุกลักษณะที่บันทึกคาบเส้นที่ 2 อ่านออกเสียง   ซอล   ทั้งหมด เสียงอื่นๆ ก็ลำดับต่อเนื่องกันไปทั้งทางสูงและทางต่ำ ดังนี้

           

2) กุญแจฟา

  คือเครื่องหมายที่กำหนดเสียงของตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ให้อ่านออกเสียง  C  D   M  F   G  A  B  C มีตำแหน่งเสียงคงที่ โดยยึดเสียง  ฟา  เป็นหลัก
           ลักษณะของกุญแจฟาเป็นดังนี้
           กุญแจฟา บันทึกหัวกุญแจฟาคาบเส้นที่ 4 ของบรรทัด  5 เส้น  ตัวโน้ตทุกลักษณะที่บันทึกเส้นที่ 4 อ่านออกเสียง  ฟา  ทั้งมหด  เสียงอื่นๆ ก็ลำดับต่อเนื่องกันไปทั้งทางสูงและทางต่ำ ดังนี้

          ความสัมพันธ์ระหว่างบรรทัด 5 เส้น กุญแจซอล และกุญแจฟา  อาจเขียนเป็นบรรทัดรวมใหญ่ (Great  Staff)  ได้ดังนี้
 โดกลาง หรือ  M.C. (Middle C)  


     

4. เครื่องหมายแปลงเสียง


          เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เสียงของตัวโน้ตสูงขึ้น หรือต่ำลงครึ่งเสียง ตามปกติใช้เขียนหน้าตัวโน้ตที่ต้องการแปลงเสียง มีดังนี้
         

1) เครื่องหมายชาร์ป (Sharp)

เป็นเครื่องหมายแปลงเสียงที่ทำให้เสียงที่ทำให้ตัวโน้ตมีระดับเสียงสูงขึ้นกว่าปกติครึ่งเสียง

       

2) เครื่องหมายแฟลต (Flat)

เป็นเครื่องหมายแปลงเสียงที่ทำให้ตัวโน้ตมีระดับเสียงต่ำลงกว่าปกติครึ่งเสียง

หรือเครื่องหมายพักเสียง คือ เครื่องหมายที่ทำให้เสียงเงียบ หรือหยุดชั่วคราว แต่จังหวะยังคงดำเนินต่อเนื่องไป จะหยุดนานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวหยุด ลักษณะ และอัตราความยาวของตัวหยุดมีดังนี้คือเครื่องหมายที่กำหนดเสียงของตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ให้อ่านออกเสียง C D M F G A B C มีตำแหน่งเสียงคงที่ โดยยึดเสียงเป็นหลักลักษณะของกุญแจฟาเป็นดังนี้กุญแจฟา บันทึกหัวกุญแจฟาคาบเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5 เส้น ตัวโน้ตทุกลักษณะที่บันทึกเส้นที่ 4 อ่านออกเสียงทั้งมหด เสียงอื่นๆ ก็ลำดับต่อเนื่องกันไปทั้งทางสูงและทางต่ำ ดังนี้ความสัมพันธ์ระหว่างบรรทัด 5 เส้น กุญแจซอล และกุญแจฟา อาจเขียนเป็นบรรทัดรวมใหญ่ (Great Staff) ได้ดังนี้เสียง C ที่คาบเส้นกลางของบรรทัดรวมใหญ่ มีชื่อเรียกว่าเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เสียงของตัวโน้ตสูงขึ้น หรือต่ำลงครึ่งเสียง ตามปกติใช้เขียนหน้าตัวโน้ตที่ต้องการแปลงเสียง มีดังนี้


Live!! วาดภาพด้วยควันไฟ โดย อ.ไม้ร่ม | ไม้ร่ม-รุ้ง ตอบทุกคำถาม | 7พ.ย.64


รายการสด \”ไม้ร่มรุ้ง ตอบทุกคำถาม\” ประจำวันที่7พ.ย.64
ณ เรือนไฟฌาน หมู่บ้านราชธานีอโศก จ.อุบลราชธานี

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

Live!! วาดภาพด้วยควันไฟ โดย อ.ไม้ร่ม | ไม้ร่ม-รุ้ง ตอบทุกคำถาม | 7พ.ย.64

วิธีการใช้ เครื่องหมายวรรคตอน ในภาษาอังกฤษ | Punctuation


จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ การเทียบเสียงสระ ภาษาอังกฤษ ไทย
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀

วิธีการใช้ เครื่องหมายวรรคตอน ในภาษาอังกฤษ | Punctuation

เครื่องหมายวรรคตอน


เรื่อง \”เครื่องหมายวรรคตอน\”
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
ครูผู้สอน ครูสุณิสา ถาปันแก้ว (ครูแจน)

เครื่องหมายวรรคตอน

เครื่องหมายต่อท้ายหุ้น XD, XA, CA, T1, T2, C, NP บนstreaming | #หุ้น5นาที EP.7


คลิปนี้จะอธิบายความหมายของพวกเครื่องหมายต่อท้ายหุ้นว่ามันหมายความว่ายังไง ขึ้นXDแล้วจะได้ปันผลไหม ต้องซื้อหุ้นเมื่อไหร่ถึงจะได้ปันผล ถ้าหุ้นติดC(cash balance)ต้องทำยังไง ก็ดูตามนี้ได้เลยครับ
1.เครื่องหมาย“ตระกูล X” = ผู้ที่ซื้อหุ้นในวันขึ้นเครื่องหมายจะไม่ได้รับสิทธิ์เรื่องนั้นๆ
XD, XR, XW, XS, XT, XI, XP, XA, XE, XM, XN, XB
2.เครื่องหมาย“ตระกูล T” = บอกระดับการติดcash balanceของหุ้นที่มีการซื้อขายผิดปกติ
T1, T2, T3
3.เครื่องหมาย“ห้ามหรือเตือน”= ให้นักลงทุนระมัดระวัง ในประเด็นต่างๆ
H, S, NP, NR, NC, ST, C, CA
\”ค่าคอมฯ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม!
ยิ่งถูก ยิ่งเพิ่มโอกาสในการสร้างกำไร
รับค่าคอมฯ ถูกสุดๆ เพียง 0.065% ตั้งแต่บาทแรก\”
\”เปิดพอร์ตออนไลน์ คลิก : https://bit.ly/3CflSPf
แอดไลน์ บล. Zcom : http://bit.ly/2TJtaIC \”

กลุ่มคุยหุ้นFB \”เศรษฐีหุ้นnewgen\”: https://www.facebook.com/groups/306733624287404
เพจFacebookของผมเอง:
https://www.facebook.com/Themoneygamebytaninkunkamedee
กดติดตามช่องYoutubeตรงนี้ได้เลย:
https://www.youtube.com/channel/UC5bssz7xbjyIENHKIoJQZsA

ติดต่องานได้ที่ผ่านinbox page FB: https://www.facebook.com/Themoneygamebytaninkunkamedee
หรืออีเมล: [email protected]
contact email: [email protected]

เครื่องหมายต่อท้ายหุ้น XD, XA, CA, T1, T2, C, NP  บนstreaming | #หุ้น5นาที EP.7

เครื่องหมายท้ายชื่อหุ้นหมายถึงอะไร #เครื่องหมายหุ้น #XD #ลงทุนหุ้น


เครื่องหมายท้ายชื่อหุ้นหมายถึงอะไร เครื่องหมายหุ้น XD ลงทุนหุ้น

เครื่องหมายท้ายชื่อหุ้นหมายถึงอะไร #เครื่องหมายหุ้น #XD #ลงทุนหุ้น

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ เครื่องหมาย – เรียกว่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *