Skip to content
Home » [Update] หลักการเติม s และ es หลังคำนาม พร้อมตัวอย่าง | แบบฝึกหัด การ เติม s es – NATAVIGUIDES

[Update] หลักการเติม s และ es หลังคำนาม พร้อมตัวอย่าง | แบบฝึกหัด การ เติม s es – NATAVIGUIDES

แบบฝึกหัด การ เติม s es: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ในภาษาอังกฤษ การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ เรามักจะเติม s หรือ es ต่อท้าย อย่างเช่น boy เป็น boys, cat เป็น cats, dish เป็น dishes

แต่ก็มีบางคำที่ต้องเปลี่ยนตัวอักษรก่อนแล้วค่อยเติม es อย่างเช่น candy เป็น candies, fly เป็น flies หรือบางคำก็เปลี่ยนตัวอักษรอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es อย่างเช่น foot เป็น feet, man เป็น men

จากที่เขียนมานี้ หลายๆคนก็คงสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าคำไหนต้องใช้รูปพหูพจน์แบบไหน

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ก็ขอให้วางใจได้ เพราะในบทความนี้ ชิววี่ได้เรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับกฏการเติม s และ es หลังคำนาม มาให้ได้เรียนรู้กันแบบง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

ทบทวนความรู้
คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนหนึ่งหน่วย ซึ่งก็คือคำนามรูปปกติทั่วไป เช่น friend, pen, bus, foot, ox
คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป มักจะเป็นคำนามรูปที่เติม s หรือ es ต่อท้าย เช่น friends, pens, buses แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรอื่นแทน เช่น feet, oxen

Table of Contents

หลักการเติม s และ es หลังคำนาม

การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ หลักๆแล้วจะแบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ

  1. เติม s ได้เลย เช่น cat เป็น cats, girl เป็น girls
  2. เติม es ได้เลย เช่น dish เป็น dishes, potato เป็น potatoes
  3. เปลี่ยนตัวอักษรท้ายคำแล้วค่อยเติม es เช่น wolf เป็น wolves, enemy เป็น enemies
  4. เปลี่ยนหรือเพิ่มตัวอักษรบางตัวหรือเปลี่ยนทั้งคำ เช่น tooth เป็น teeth, ox เป็น oxen, person เป็น people
  5. บางคำก็ใช้รูปพหูพจน์เหมือนเอกพจน์ เช่น deer, sheep

ซึ่งถ้าเจาะรายละเอียด จะแบ่งได้เป็นหลักการ 10 ข้อดังนี้

1. คำนามทั่วไปเติม s ต่อท้ายได้เลย

คำนามที่ไม่เข้าข่ายหลักการข้ออื่น เราสามารถเติม s ต่อท้ายตรงๆได้เลย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAntAntsมดBookBooksหนังสือGirlGirlsเด็กผู้หญิงHouseHousesบ้านTableTablesโต๊ะ, ตารางTreeTreesต้นไม้

2. คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z ให้เติม es ต่อท้าย

คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z เราจะต้องเติม es ต่อท้ายแทน s ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBusBusesรถโดยสารประจำทางLensLensesเลนส์ClassClassesชั้นเรียน, คาบเรียนDressDressesชุดเดรสBrushBrushesแปรงDishDishesจานBeachBeachesชายหาดWatchWatchesนาฬิกาBoxBoxesกล่องFoxFoxesสุนัขจิ้งจอกBlitzBlitzesการโจมตีแบบสายฟ้าแลบBuzzBuzzesความรู้สึกตื่นเต้น, เสียงหึ่ง เช่น เสียงผึ้ง

3. คำนามบางคำที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ต้องซ้ำ s หรือ z แล้วค่อยเติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ปกติแล้วจะเติม es ได้เลย แต่ก็มีบางคำที่เราจะต้องซ้ำ s หรือ z ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายGasGassesแก๊สQuizQuizzesแบบทดสอบWhizWhizzesผู้มากความสามารถในบางด้าน

4. คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ให้เปลี่ยน f หรือ fe เป็น v แล้วค่อยเติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe เราจะเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายLeafLeavesใบไม้ShelfShelvesชั้นวางของWolfWolvesหมาป่าKnifeKnivesมีดLifeLivesชีวิตWifeWivesภรรยา

แต่บางคำที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ก็จะเติม s โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v

คำพวกนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่หน้า f เป็นสระ 2 ตัวติดกัน (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น chef, safe

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBeliefBeliefsความเชื่อChefChefsเชฟทำอาหารProofProofsหลักฐานReefReefsแนวหินโสโครกใต้ทะเลRoofRoofsหลังคาSafeSafesตู้เซฟ

5. คำนามที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es ยกเว้นถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) ให้เติม s ได้เลย

คำนามที่ลงท้ายด้วย y เราจะเปลี่ยน y เป็น i แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBabyBabiesเด็กทารกCityCitiesเมืองขนาดใหญ่EnemyEnemiesศัตรูFlyFliesแมลงวันLibraryLibrariesห้องสมุดPuppyPuppiesลูกสุนัข

แต่ถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) เราจะเติม s ได้เลย

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBoyBoysเด็กผู้ชายDayDaysวันMonkeyMonkeysลิงToyToysของเล่นTrayTraysถาดWayWaysหนทาง, วิธี

6. คำนามที่ลงท้ายด้วย o ให้เติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย o เราจะเติม es ต่อท้าย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายDominoDominoesโดมิโน่EchoEchoesเสียงสะท้อนHeroHeroesฮีโร่MosquitoMosquitoesยุงPotatoPotatoesมันฝรั่งTomatoTomatoesมะเขือเทศ

แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเติม s แทน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำที่หน้า o เป็นสระ (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น piano

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAudioAudiosเสียงBambooBamboosต้นไผ่, ไม้ไผ่PianoPianosเปียโนStudioStudiosสตูดิโอVideoVideosวิดีโอZooZoosสวนสัตว์

นอกจากนี้ ยังมีบางคำที่สามารถเติมได้ทั้ง s และ es คือใช้ได้ทั้ง 2 แบบเลย อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBuffalo*Buffalos
BuffaloesควายCargoCargos
Cargoesสินค้าที่บรรทุกโดยยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น เรือ เครื่องบินMangoMangos
Mangoesมะม่วงMottoMottos
Mottoesคติพจน์TornadoTornados
Tornadoesพายุทอร์นาโดVolcanoVolcanos
Volcanoesภูเขาไฟ

*คำว่า buffalo สามารถใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ ทั้ง buffalos (แบบเติม s), buffaloes (แบบเติม es) และ buffalo (เหมือนรูปเอกพจน์)

7. คำนามที่มาจากภาษาอื่น บางคำจะมีรูปพหูพจน์เฉพาะ

คำนามที่มาจากภาษากรีกที่ลงท้ายด้วย sis เมื่อเป็นรูปพหูพจน์ เราจะเปลี่ยนให้เป็น ses ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAnalysisAnalysesการวิเคราะห์, ผลวิเคราะห์BasisBasesหลักสำคัญ, ส่วนประกอบหลักCrisisCrisesช่วงวิกฤติNeurosisNeurosesโรคประสาทOasisOasesโอเอซิส, แหล่งน้ำกลางทะเลทรายThesisThesesวิทยานิพนธ์

คำนามที่มาจากภาษาลาตินที่ลงท้ายด้วย us เราจะเปลี่ยนให้เป็น i ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAlumnusAlumniศิษย์เก่าCactusCacti (หรือ cactuses)ต้นกระบองเพชรFungusFungiเห็ด, เชื้อรา

แต่คำที่มาจากภาษาอื่นบางคำก็ใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAppendixAppendices
AppendixesภาคผนวกCactusCacti
Cactusesต้นกระบองเพชรCurriculumCurricula
CurriculumsหลักสูตรFormulaFormulae
Formulasสูตร เช่น สูตรคณิตฯStadiumStadia
Stadiumsสนามกีฬาขนาดใหญ่ThesaurusThesauri
Thesaurusesพจนานุกรมคำพ้อง

นอกจากตัวอย่างเหล่านี้แล้ว ยังมีคำต่างประเทศลักษณะอื่นอีก ที่มีรูปพหูพจน์เฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่พบเจอได้ไม่บ่อย หรือไม่ก็เป็นคำที่มักจะใช้รูปพหูพจน์เป็นปกติอยู่แล้ว (เช่น data, criteria ซึ่งเป็นรูปพหูพจน์ของ datum และ criterion ตามลำดับ)

8. คำนามบางคำใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรบางตัว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es

คำนามบางคำจะใช้การเปลี่ยนตัวอักษรที่เป็นสระ (a, e, i, o, u) เช่น เปลี่ยนจาก o เป็น e หรือเปลี่ยนจาก a เป็น e ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายFiremanFiremenพนักงานดับเพลิงFootFeetเท้าGooseGeeseห่านManMenผู้ชายToothTeethฟันWomanWomenผู้หญิง

และบางคำก็ใช้การเติมตัวอักษรอื่นที่ไม่ใช่ s หรือ es อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายChildChildrenเด็กOxOxenวัว

9. คำนามบางคำจะเปลี่ยนแทบทั้งคำ โดยที่ไม่ได้เติม s หรือ es

คำนามบางคำจะมีรูปพหูพจน์ที่แตกต่างจากเดิมมาก เหมือนเป็นคนละคำกันเลย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายMouseMiceหนูPersonPeopleคน

10. คำนามบางคำมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน

คำนามบางคำจะมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAircraftAircraftอากาศยานDeerDeerกวางDiceDiceลูกเต๋าFish*FishปลาSheepSheepแกะSpeciesSpeciesสายพันธุ์

*คำว่า fish จริงๆแล้วมีรูปพหูพจน์ 2 แบบ คือ fish และ fishes แต่ในกรณีทั่วไป เช่นการบอกว่ามีปลาหลายตัว เราจะนิยมใช้ fish มากกว่า ส่วน fishes นั้นมักจะใช้เมื่อพูดถึงปลาหลายๆสายพันธุ์

เป็นยังไงบ้างครับกับกฏการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถเปลี่ยนพจน์ของคำนามได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time

[Update] หลักการในการเติม s และ es มีหลักการอย่างไร และมีกี่แบบ มาดูกัน | แบบฝึกหัด การ เติม s es – NATAVIGUIDES

เพื่อนๆกำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหมว่าทำไมเราต้องเติม s และ es หลังกริยาด้วยวันนี้ แอดมินจากเพจ EngConvo Thailand จะมาไขข้อสงสัยกันว่าทำไมถึงต้องเติม s และ es หลังกริยา ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อนว่า

Photograph: Grammar Monster

นามทั้งหมดมี 2 ประเภทได้แก่ นามที่นับได้(countable noun) และ และนามที่นับไม่ได้(uncountable noun) เรามาดูกันว่านามทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

นามนับได้

นามนับได้ (countable noun)  คือ

คำนามที่นับได้ ก็คือเราสามารถนับได้จริงๆ นับเป็นชิ้นๆ อันๆ มองเห็นได้ชัดเจน เช่น apple นี่ก็เป็นนามนับได้ เพราะเราเห็นเป็นผลหนึ่งผลเลย pen ก็นับได้เพราะเราเห็นเป็นแท่งๆ

นามนับไม่ได้

นามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือ

คำนามที่เราไม่รู้จะนับยังไงเพราะเรามองไม่เห็นความชัดเจนจากมันเช่น water – เพราะมันเป็นของเหลว เรานับไม่ได้แน่นอน เราจะนับได้ก็ต่อเมื่อมันอยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์เช่น A bottle of water – นำ 1 ขวด นอกจากนั้นนามนับได้จะมีพวกนามธรรมที่เรามองไม่เห็นเช่น honesty (ความซื่อสัตย์) ที่เราไม่รู้ว่ามันหน้าตาเป็นยังไง

หากนักเรียนเข้าใจเรื่องคำนามนับได้ – ไม่ได้แล้ว ทีนี้เราก็จะมาแต่งประโยคกัน ในภาษาไทยนั้น ไม่ว่าประธานจะเป็นอะไร เราก็ใช้กริยาเหมือนกันหมดเช่น

  • ฉันกิน
  • เขากิน
  • หล่อนกิน

เราใช้คำว่า “กิน” หมดเลยในภาษาไทย แต่!!!! มันไม่ใช่แบบนี้กับภาษาอังกฤษ ถ้าเหตุการณ์ที่เราจะพูด มันเกิดขึ้นในปัจจุบัน หรืออะไรก็ได้ที่มันเป็นความจริง เป็นนิสัย กิจวัตรต่างๆ เราจะใช้ tense ที่เรียกว่า “Present Simple Tense” ก็คือ ใส่ประธาน + กริยาช่อง 1 ไปเลย

ความงงของคนไทยคือ แล้วทำไมบางทีกริยาต้องเติม s ด้วยหล่ะ!!
คือกฏมันมีแบบนี้ครับนักเรียน ไม่ต้องเครียดไป
ก่อนจะเริ่มกันเรามาทบทวนความรู้กันหน่อย

ทบทวนความรู้

คำกริยารูป เอกพจน์ ได้แก่ is, does, has, คำกริยารูปที่ เติม s/es
คำกริยารูป พหูพจน์ ได้แก่ are, do, have, คำกริยารูปที่ ไม่ได้เติม s/es

ใน present simple tense เราจะใช้คำกริยารูปเอกพจน์ กับคำนามเอกพจน์ เช่น

  • Tim walks to school every day.

และจะใช้คำกริยารูปพหูพจน์ กับคำนามพหูพจน์ เช่น

  • My friends walk to school every day

ถ้าประธานมี 1 คน(เรียกว่า ประธานเอกพจน์)นะครับนักเรียน (1 คน/สิ่งเท่านั้นนะครับ) เราจะต้องเอากริยามาเติม s/ es เช่น

  • Aof loves to eat Thai food. – ออฟชอบกินอาหารไทย ไม่ใช่
  • Jane love to eat Thai food. ตรงนี้ผิด เพราะ love ไม่เติม s

หรือถ้าเป็น verb to be เราก็จะใช้ is/was นะครับ
หรือถ้าเป็น verb to have เราจะใช้ has นะครับ

  • John is happy because he works out every day.
  • Jimmy has a lot of money so he goes shopping every week.
  • The baby is crying now.
  • My cat has been sick for four days.

หลักการเติม s/es ก็คือ

1. เติม s หลังคำกริยาได้ทั่วๆไปเลย

  • eat eats
  • walk walks
  • stay stays

2. ถ้าคำกริยาลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, z และ o เราต้องเติม es หลังกริยานั้นๆ

  • miss misses
  • wish wishes
  • watch watches
  • fix fixes
  • buzz buzzes
  • go goes

ประเด็นคือ ให้เราฝึกฟอร์มประโยคบ่อยๆ เพราะเวลาใช้จริงๆ จะได้ไม่ลืม!

  • Tom goes to school every day.
  • Jack cooks dinner for his wife twice a week.
  • She has to work every Sunday.

E

ng

Convo

Th

ai

land

คอร์สเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ตัวต่อตัว พูดได้ ใช้ได้จริง

รายละเอียดคอร์สเรียน

ถ้าประธานมีมากกว่า 1 คน (นามพหูพจน์) รวมถึง you ด้วยนะครับเราไม่ต้องเติม s ที่กริยานะครับ ปล่อยมันไปเลยครับ เช่น

  • Jack and Tom want to eat out tonight.
    แจ็คและทอมอยากออกไปทานข้าวข้างนอกคืนนี้
  • We have to study hard.
    พวกเราต้องเรียนให้หนักๆ

ถ้าเป็น verb to be เราก็จะใช้ are/were นะครับ
ถ้าเป็น verb to have เราจะใช้ have นะครับ

คำที่ไม่เข้าพวกหน่อยก็คือ “I” นี่แหละครับ
“I” (ฉัน) ดูเหมือนว่าจะมีคนเดียว เอ๊ะเติม s ที่กริยาป่าวนะ?
“I” ให้ใช้กริยาที่ไม่เติม s นะครับ เช่น

  • I drive my car to work every day.
  • I have a lot of friends.

ข้อควรระวัง

อย่าสับสนระหว่างพจน์ของคำนามและพจน์ของคำกริยา
คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่ไม่ได้เติม s/es อย่างเช่น student, cat, table
คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่เติม s/es อย่างเช่น students, cats, tables

สรุป

คำกริยาเอกพจน์ คือคำกริยาที่เติม s/es อย่างเช่น eats, walks, goes
คำกริยาพหูพจน์ คือคำกริยาที่ไม่ได้เติม s/es อย่างเช่น eat, walk, go

เวลาใช้ เราจะต้องใช้คำนามเอกพจน์ กับคำกริยาเอกพจน์ และใช้คำนามพหูพจน์กับคำกริยาพหูพจน์ หรือถ้าจะจำแบบง่ายๆก็คือ เราจะเติม s/es คำนามและคำกริยาสลับกัน ถ้าคำนามเติม s/es คำกริยาก็ไม่ต้องเติม แต่ถ้าคำนามไม่ได้เติม s/es คำกริยาก็จะต้องเติม แทน ยกตัวอย่างเช่น

  • My cat eats very fast. (แมวของฉันกินเร็วมาก)
  • My cats eat very fast. (บรรดาแมวๆของฉันนั้นกินเร็วมาก)

(จริงๆแล้ว คำนามพหูพจน์บางคำก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย s/es หลักการนี้ใช้เพื่อให้จำได้ง่ายเท่านั้น)

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งฝึกฝนยิ่งหัดพูด อ่าน ฟัง และ เขียนทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ไวขึ้นแอดมินหวังว่าบทความนี้จะช่วยเพื่อนๆได้ไม่มากก็น้อย แรกๆในการฝึกอาจจะไม่ชินและอาจจะลืมเติม s ได้ แต่ต้องฝึกต่อไปเรื่อยๆนะครับ ทำไปเรื่อยๆ ให้มันเป็นนิสัย สุดท้ายมันจะได้เองครับ ทางสถาบัน Engconvo Thailand ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ


วิธีโอนเงินเข้าพอร์ตหุ้น ไทยพาณิชย์ SCBS ผ่านมือถือ| เบื้องต้น | EP.4 | 2Money Share


เอ้า 0:49 สองพูดผิด ต้องเป็นเลขบัญชีหุ้นของเรานะคะ ที่ออกให้โดยโบรกเกอร์🙏
สวัสดีค่ะ วันนี้สองมาสอนโอนเงินเข้าพอร์ตหุ้นไทยพาณิชย์ หรือโบรกเกอร์SCBSนั่นเอง โดยใช้แอพ SCB EASY เพื่อนๆสามารถทำตามได้เลยนะคะ ง่ายๆเพียงแค่1นาที🤗
หมายเลข บล.ไทยพาณิชย์ 0493110642
แต่ละ โบรกเกอร์ หมายเลขจะไม่เหมือนกันนะคะ
หลายคนมีปัญหา เติมเงินเข้าพอร์ตหุ้นไม่เข้า
สาเหตุ 1.เติมเงิน วันตลาดหยุด เช่น เสาร์ อาทิตย์
2.ใส่เลขบัญชีหุ้น หรือเลขบัตรประชาชนผล
3.เติมเงินหลังตลาดปิด หรือเฉียดฉิวเกินไป เช่น 16.30น.
วิธีแก้ 1.รอตลาดเปิด (กรณีที่เติมเงินนอกเวลาทำการ)
2.ติดต่อ บลจ. กรณีกรอกข้อมูลผิด
BLS. 02645 5999
SCBS 02949 1999
Streaming SCBS ระวังผิด
—————
Facebook 📍https://www.facebook.com/2MoneyShare101200278468561/
Instagram📍https://www.instagram.com/2money.share/
Blockdit📍https://www.blockdit.com/pages/5fa566c7716a3e7ff5fa4c63

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

วิธีโอนเงินเข้าพอร์ตหุ้น ไทยพาณิชย์ SCBS ผ่านมือถือ| เบื้องต้น | EP.4 | 2Money Share

การเติม s, es, ies ที่คำกริยา


มาทบทวนการเติม s, es, ies ที่คำกริยากันครับ

การเติม s, es, ies ที่คำกริยา

การเติม s,es


หลักการเติม s , es ขับร้อง(เพี้ยนนิดๆ). โดย น้องลี่จิน

การเติม s,es

ปริมาณการกลั่นเอสเปรสโซ่1ช็อต 2ช็อต


ขอบคุณที่ติดตามรับชมนะคะ ติดต่อพูดคุยหรือสั่งซื้อสินค้าของเราได้ที่
http://todaycafe.lnwshop.com/
https://shopee.co.th/todaycafe
https://www.youtube.com/todaycafe
วีดีโอทั้งหมดในช่องของเรา https://www.youtube.com/channel/UCbRMGUrmA2N7a2soz1YJ6rQ/videos

ปริมาณการกลั่นเอสเปรสโซ่1ช็อต 2ช็อต

หลักการเติม s, es สำหรับ Present simple tense


หลักการเติม s, es สำหรับ Present simple tense

หลักการเติม s, es สำหรับ Present simple tense

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ แบบฝึกหัด การ เติม s es

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *