Skip to content
Home » [Update] หน้าที่ของ Gerunds ในภาษาอังกฤษ | หลักการใช้ gerund – NATAVIGUIDES

[Update] หน้าที่ของ Gerunds ในภาษาอังกฤษ | หลักการใช้ gerund – NATAVIGUIDES

หลักการใช้ gerund: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Gerunds (เจอรันสฺ) เป็นกริยารูปหนึ่งที่ลงท้ายด้วย ing และทำหน้าที่เป็น คำนาม (noun) ฉะนั้นตำแหน่งของคำกริยาประเภทนี้ในประโยคคือ ประธาน (subject) กรรมตรง (direct object) ประธานเสริม (subject complement) และกรรมของบุพบท (object of preposition)
ตำแหน่งของ Gerunds
1. ประธาน (subject)
ตัวอย่าง
Traveling might satisfy your desire for new experiences.
การเดินทางอาจจะสนองตอบความปรารถนาด้วยประสบการณ์ใหม่ๆ ของคุณ
หมายเหตุ กรณีนี้รูปกริยา Traveling เป็นประธาน ก็เพราะวางอยู่หน้ากริยาหลักของประโยค นั่นคือ might satisfy
2. กรรมตรง (direct object)
ตัวอย่าง
I hope that you appreciate my offering you this opportunity.
ผมหวังว่าคุณจะชื่นชอบการที่ผมให้โอกาสคุณครั้งนี้
หมายเหตุ กรณีนี้ my offering you this opportunity เป็นกรรมตรง ก็ เพราะเป็นการตอบคำถามว่า ชื่นชอบ <appreciate> “อะไร’’
3. ประธานเสริม (subject complement)
ตัวอย่าง
His favorite activity is playing golf.
กิจกรรมที่ชื่นชอบของเขาคือการเล่นกอล์ฟ
= Playing golf is his favorite activity.
หมายเหตุ กรณีนี้ playing golf เป็นเสมือนประธานเสริม อยู่หลัง verb to be “is” ส่วน Playing golf ที่วางอยู่หน้าประโยค ทำหน้าที่ประธาน
4. กรรมของบุพบท (object of preposition)
ตัวอย่าง
She suffered for years without complaining.
เธอทนทุกข์มาหลายปีโดยไม่ปริปากบ่น
หมายเหตุ กรณีนี้รูปกริยา complaining วางอยู่หลังบุพบท <preposition> คือ “without” จึงถือว่าเป็นกรรมของบุพบท
ประเภทของ Gerunds
จากตัวอย่างข้างบน อาจจะกล่าวคร่าวๆ ได้ว่า gerunds อาจจะเป็นกริยารูป ing ที่ทำหน้าที่นามที่เป็นคำเดี่ยว เรียกว่า single-word gerunds และที่เป็นวลี คือมีถ้อยคำอื่นตามหลังกริยารูป ing ที่ทำหน้าที่นาม เรียกว่า gerund phrase เช่น
single-word gerunds         gerund phrases
traveling                                           traveling to the countryside
waiting                                              waiting for a bus
การใช้     
สิ่งที่ท่านผู้อ่านจะได้ศึกษาและเรียนรู้ต่อไปนี้ นับว่ามีความสำคัญและต้องจดจำ หรือฝึกใช้ให้บ่อย โดยผู้เขียนจะขอกล่าวเป็นกรณีไปดังนี้
1. gerunds after verbs
2. gerunds after prepositions
3. gerunds after adjectives with prepositions
4. gerunds after verbs with prepositions
5. gerunds after verbs and objects
6. gerunds after “go”
7. gerunds with passive meaning
8. gerunds after some expressions
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. gerunds after verbs
เราใช้ gerunds เมื่อวางอยู่หลังคำกริยา (verbs) ต่อไปนี้ ได้แก่
admit                 advise             appreciate          avoid
complete         consider         delay                    deny
detest                dislike             enjoy                    escape
excuse               finish               like (=enjoy)    postpone
practise             mind               miss                      begin
continue           hate                 prefer                  risk
suggest              involve           justify                 spend (time)
resist                  resume           waste(time)      quit
delay                  fancy               forgive               put off
can’t help         can’t stand     can’t resist
ตัวอย่าง
I appreciate his playing that music.
ผมชื่นชอบการเล่นบทเพลงนั้นของเขา
We prefer his writing to speaking about important matters.
เราชอบการเขียนมากกว่าการพูดของเขาเกี่ยวกับเรื่องสำคัญๆ
Do you mind opening the window?
คุณจะรังเกียจไหมครับที่จะเปิดหน้าต่างให้หน่อย
Mother doesn’t like me wearing this suit.
แม่ไม่ชอบให้ดิฉันสวมใส่ชุดนี้
หมายเหตุ มีบ่อยที่หน้า gerund มี object pronouns เช่น me, him, her, them, us, you, it หรือ possessive adjectives เข่น my, his, her, their, our, your, its เมื่อวางอยู่หลังคำกริยาดังกล่าวมา
โปรดดูตัวอย่างเพิ่มเติมจากหมายเหตุในหัวข้อนี้
(1) ใช้รูป possessive adjective + gerund
When she hears her husband’s (whistle) she accompanies it with (sing).
→When she hears his whistling she accompanies it with singing.
(2) ใช้รูป object pronoun + gerund
I remember George (take) out his cheque book but I didn’t notice him (write) it.
→I remember him taking out his cheque book but I didn’t notice him writing it.
2. gerunds after prepositions
เราใช้ gerunds เมื่อวางอยู่หลังคำบุพบท ได้แก่ for, of, on, after, before, with, without, by, from, about, at
ตัวอย่าง
Instead of celebrating at home, they went out to dinner.
แทนที่จะฉลองกันอยู่ที่บ้าน พวกเขากลับออกไปทานอาหารเย็นนอกบ้านShe made a wish before blowing out the candles.
เธออธิษฐานก่อนจะเป่าเทียนให้ดับ
He was fined for driving without lights.
เขาถูกปรับฐานขับรถโดยไม่เปิดไฟ
3. gerunds after adjectives with prepositions
เราใช้ gerunds เมื่อวางอยู่หลังคำคุณศัพท์ (adjectives) ที่มีบุพบท (prepositions) ตามหลัง ได้แก่
afraid of             good at                committed to      happy about
content with     interested in     amazed at/by      mad at/about
ashamed of       aware of              bored with/by    capable of
tired of               excited about    worried about    disappointed                                                                                                                                 in/with
fond of               glad about           guilty of                different from
opposed to       proud of              reponsible for     satisfied with
sick of                sorry about        sorry for               sure of
surprised at     upset about       be/get used to     famous for
ตัวอย่าง
Children are always happy about celebrating birthdays.
เด็กๆ มีความสุขในการฉลองวันเกิด
I am fond of swimming.
ฉันชอบว่ายน้ำ
I am tired of listening to you.
ผมเบื่อฟังคุณ
4. gerunds after verbs with prepositions.
เราใช้ gerunds กับคำกริยา (verbs) ที่มีบุพบท (prepositions) ตามหลัง ได้แก่
admit to                  believe in         count on         dream of/about
give up                    object to           thank… for     think of
adjust to                 agree with        approve of      blame…for
care about             consist of         decide on         depend on/upon
feel like                   hear about      insist on             look for
prevent…from    rely on/upon     succeed in     suspect…of
warn…about        talk about           take care of    forget about
hear of                   plan on                 forget about    look forward to
argue about         refrain from       concentrate on      discourage from
ตัวอย่าง
She thanked the man for helping her.
เธอชอบคุณผู้ชายที่ช่วยเหลือเธอ
I look forward to receiving your reply.
ผมรอคอยที่จะได้รับคำตอบของคุณ
Have you ever thought about sending flowers to her?
คุณเคยคิดว่าจะส่งดอกไม้ไปให้เธอบ้างไหม
5. gerunds after verbs and objects
เราใช้ gerunds หลังคำกริยา (verbs) ที่มักมีกรรม (objects) รองรับ ดังโครงสร้าง verb + object + gerund ได้แก่
find         hear         notice    see
watch     feel         observe     smell
ตัวอย่าง
The waiter heard a man yawning.
พนักงานเสิร์ฟได้ยินชายคนหนึ่งหาว
Did you notice them waving?
คุณสังเกตเห็นพวกเขาโบกมือหรือเปล่า
หมายเหตุ คำกริยาดังกล่าวในข้อนี้ เป็นกริยาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สึก (verbs of sensation/perception) ซึ่งสามารถตามด้วยรูป bare infinitive (หรือกริยช่อง 1 ที่ไม่มี to (ข้างหน้า) ความแตกต่างอยู่ที่ action กล่าวคือ หากหลังกริยาเหล่านี้ ใช้รูป gerund จะแสดงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น แต่ถ้าใช้ bare infinitive จะไม่เน้นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ดังนั้น ในตัวอย่างดังกล่าวข้างบน อาจจะใช้ bare infinitive ก็ได้ ดังนี้
The waiter heard a man yawn.
Did you notice them wave?
6. gerunds after “go”
เราใช้ gerund หลังกริยา go (รวม went และ gone) เมื่อตามด้วย คำกริยา (verbs) ที่แสดงความหมายเชิงกิจกรรมสันทนาการ (recreational activities) ได้แก่
boat            fish        sail         ski
bowl            hike        shop     swim
camp        hunt        sightsee     windsurf
dance         jog        skate     canoe
ตัวอย่าง
I went shopping with my husband yesterday.
ดิฉันได้ไปจับจ่ายซื้อของกับสามีของดิฉันเมื่อวานนี้
Would you like to go boating with me?
คุณอยากไปพายเรือเล่นกับผมไหม
We went sightseeing around Bangkok two days ago.
เราไปเที่ยวชมรอบกรุงเททฯ เมื่อสองวันที่ผ่านมา
7. gerunds with passive meaning
หลังคำกริยาบางคำ ตามด้วยรูป gerunds ซึ่งให้ความหมายเชิงถูกกระทำ (passive meaning) คำกริยาเหล่านี้ ได้แก่
need     want     merit     deserve
ตัวอย่าง
Your hair needs cutting.
= Your hair needs to be cut.
ผมของคุณสมควรจะได้รับการตัดได้แล้ว
My shoes want mending.
= My shoes want to be mended.
รองเท้าของผมควรจะได้รับการซ่อมได้แล้ว
His brave action deserves rewarding.
= His brave action deserves to be rewarded.
การกระทำที่กล้าหาญของเขาสมควรที่จะได้รับรางวัล
8. gerunds after some expressions
เราใช้ gerunds หลังข้อความบางอย่าง ได้แก่
It’s a waste of time/money/…
It’s no use …
It’s (not) worth …
There’s no point (in) …
have fun/a good time/trouble/difficulty/…
spend/ waste time
What about …? (ใช้เพี่อการเสนอแนะ)
How about…? (ใช้เพื่อการเสนอแนะ)
ตัวอย่าง
We had a good time watching the ice skating competition.
เราได้รับความสนุกสนานที่ได้ชมการแข่งสเก็ตน้ำแข็ง
It’s not worth reparing the machine.
มัน ไม่คุ้มค่าที่จะซ่อมเครื่องจักรดังกล่าว
It’s a waste of time watching that movie.
เสียเวลาเปล่าที่จะชมภาพยนตร์เรื่องนั้น
ต่างความหมาย
คำกริยาบางคำ เมื่อตามด้วยรูป gerunds และ infinitives จะให้ความหมายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้การจะเลือกใช้รูป gerunds หรือ infinitives ต้องอาศัยการตีความหมายเป็นสำคัญ ได้แก่
1. remember + gerunds vs remember + to-infinitives
ตัวอย่าง
I remember posting the letter.
ฉันจำได้ว่าได้ส่งจดหมายไปแล้ว
I must remember to post the letter.
ฉันจะต้องจำให้ได้ว่าจะต้องส่งจดหมาย
หมายเหตุ จากตัวอย่างที่ใช้รูป remember + gerund หมายถึง “จำได้ในสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว’’ ส่วนรูป remember + to-infinitive หมายถึง “จำไว้ว่าจะทำสิ่งนั้นๆ” แสดงว่ายัง ไม่ได้กระทำสิ่งนั้น
2. forget + gerunds VS forget + to-infinitives
ตัวอย่าง
I forgot taking the exam.
ผมลืมไปว่าได้เข้าสอบแล้ว
I forgot to take the exam yesterday.
ผมลืมเข้าสอบเมื่อวานนี้
หมายเหตุ จากตัวอย่างที่ใช้รูป forget + gerund หมายถึง “ลืมในสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว” ส่วนรูป forget + to-infmitive หมายถึง “ลืมที่จะกระทำสิ่งนั้น’’
3. regret + gerunds vs regret + to-infinitives
ตัวอย่าง
I regret saying what I said.
ผมเสียใจที่พูดในสิ่งที่พูดออกไป
I regret to say I feel ill.
ผมเสียใจที่จะกล่าวว่าผมป่วย
หมายเหตุ จากตัวอย่างที่ใช้รูป regret + gerund หมายถึง “เสียใจในสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว’’ ส่วนรูป regret + to-infinitive หมายถึง” เสียใจในสิ่งที่จะกระทำ’’ แสดงว่าไม่ได้ทำมาในอดีต
สรุป จากกรณีการใช้ที่นำมาเปรียบเทียบกันทั้งในรูปของการตามด้วย gerunds และ to-infinitives พอจะสรุปรวบยอดเพื่อให้เป็นแนวคิดในการตัดสินใจใช้คำกริยาทั้ง 3 คำ ระหว่างตามด้วย gerunds และ infinitives ได้ดังนี้
ก. ตามด้วย gerunds หมายถึง อดีต (past) คือ ได้เกิดขึ้นไปแล้ว
ข. ตามด้วย to-infinitives หมายถึง ปัจจุบัน (present) หรือ อนาคต (future) คือ ยังไม่เกิด หรือยังไม่ได้กระทำ
4. try + gerunds VS try + to-infinitives
ตัวอย่าง
I try holding my breath.
ผมทดลองกลั้นลมหายใจ
I try to hold my breath.
ผมพยายามกลั้นลมหายใจ
หมายเหตุ เมื่อใช้ try + gerund จะหมายถึง “ทดลอง’’ (experiment) เหมือนกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์แต่ถ้าใช้ try + to-infinitive จะหมายถึง “พยายาม’’ คือ พยายามที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง
5. stop + gerunds vs stop + to-infinitives
ตัวอย่าง
You must stop smoking.
คุณจะต้องหยุด (เลิก) สูบบุหรี่
He stopped his car to smoke.
เขาจอดรถเพื่อจะสูบบุหรี่
หมายเหตุ เมื่อใช้ Stop + gerund จะหมายถึง “หยุดทำในสิ่งที่กำลังทำอยู่” แต่ถ้าใช้ stop + to-infinitive จะหมายถึง “หยุด (สิ่งหนึ่ง) เพื่อจะทำอีกสิ่งหนึ่ง”
6. go on + gerunds vs go on + to-infinitives
ตัวอย่าง
Go on talking.
พูตต่อไป
We went on to discuss finance.
เราได้หันไปพูดถึงเรื่องการเงิน
หมายเหตุ เมื่อใช้ go on + gerund จะหมายถึง “ดำเนินต่อไปในสิ่งที่กำลังทำอยู่’’ แต่ถ้าใช้ go on + to-infinitive จะหมายถึง “เปลี่ยนไปทำอีกสิ่งที่ต่างไปจากสิ่งเดิม”
7. mean + gerunds vs mean + to-infinitives
ตัวอย่าง
Having a party tonight will mean working extra hours tomorrow.
การจัดงานเลี้ยงคืนนี้จะหมายถึงการทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นพรุ่งนี้
I mean to work harder next year.
ผมตั้งใจจะทำงานหนักขึ้นปีหน้า
หมายเหตุ เมื่อใช้ mean + gerund คำว่า mean = signify แปลว่า “หมายถึง” ส่วนเมื่อใช้ mean – to-infinitive คำว่า mean = intend แปลว่า “ตั้งใจ”
ที่มา:รองศาสตราจารย์ทณุ  เตียวรัตนกุล

(Visited 38,109 times, 1 visits today)

[Update] หลักการใช้ Gerund ภาษาอังกฤษ | หลักการใช้ gerund – NATAVIGUIDES

gerund มีรูปเช่นเดียวกับ present participle คือมีรูป “กริยา + ing” ต่างกันที่การใช้ กล่าวคือ present participle มีความหมายครึ่งกริยาครึ่งคุณศัพท์ (Verbal Adjective) ส่วน gerund นี้มีความหมายครึ่งกริยา ครึ่งนาม (Verbal Noun) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า กริยานาม เพื่อให้ใกล้เคียงกับคำภาษาอังกฤษ Verbal Noun

ภารกิจ (function) ของ gerund
1. ใช้ทำหน้าที่ได้อย่างคำนาม
(ก) เป็นประธาน (subject) ของกริยา

1. Swimming is a good exercise.
การว่ายนํ้าเป็นการออกกำลังกายที่ดี

2. Working in this condition is pleasure.
การทำงานในสภาพอย่างนี้เป็นสิ่งน่าสนุก

(ข) เป็น complement ของกริยา

1. The only thing that interests her is dancing.
สิ่งเดียวที่ทำให้เธอสนใจคือการเต้นรำ

2. Seeing is believing.
การเห็นคือการเชื่อ

(ค) เป็นกรรม (object) ของกริยา

1. I remember seeing him.
ผมจำได้ว่าเห็นเขา

2. She likes dancing.
หล่อนชอบการเต้นรำ

(ง) เป็นกรรม (object) ของ preposition

1. He began by explaining the meaning of certain words.
เขาเริ่มต้นด้วยการอธิบายความหมายของคำบางคำ

2. She is very fond of dancing.
หล่อนชอบเต้นรำมาก

3. Thank you for returning the book.
ขอบคุณที่นำหนังสือมาคืน

4. He left without saying anything.
เขาจากไปโดยไม่พูดอะไรเลย

2. gerund (กริยาเติม ing) อาจใช้คล้ายๆ กับเป็นคำกริยา คือ
(ก) สามารถมี object ได้ เช่น

1. His hobby is collecting stamps.
งานอดิเรกของเขาคือการเก็บรวบรวม (สะสม) แสตมป์

2. Meeting you has been a great pleasure.
การพบคุณทำให้ (ผม) มีความพอใจมาก

(ข) สามารถมี adverb มาประกอบได้เช่นเดียวกับคำกริยา เช่น

1. She likes driving fast.
หล่อนชอบขับรถเร็ว

2. Reading well will need a lot of practice.
การอ่านให้ได้ดีนั้นต้องใช้การฝึกฝนมากๆ

3. gerund (กริยาเติม ing) อาจใช้ประกอบคำนาม (คือทำหน้าที่คล้าย adjective) ก็ได้

a walking-stick            ไม้ (สำหรับ) ถือเดินเล่น
a swimming-pool        สระ (สำหรับ) ว่ายน้ำ
a knitting-needle        เข็ม (สำหรับ) ถัก
a reading-room           ห้อง (สำหรับ) อ่านหนังสือ
a dancing-teacher      ครู (สำหรับ) สอนเต้นรำ

ตอนนี้จะเห็นว่า gerund ทำหน้าที่คล้ายกับ present participle มาก ทั้ง gerund และ present participle ต่างก็มีรูป “กริยา + ing” ครั้นเมื่อต่างก็ทำหน้าที่ประกอบนาม จึงอาจทำให้สังเกตได้ยากว่าอันไหนเป็น present participle หรือ gerund

ข้อแตกต่างมีดังนี้ คือ
1. เมื่อเป็น gerund ประกอบนาม จะต้องใช้ hyphen เชื่อมระหว่าง gerund กับคำนาม เช่น

a walking-stick = a stick for walking
[แต่สำหรับ present participle ไม่มี hyphen เช่น the crying baby]

2. เมื่อ gerund ประกอบนาม คำนามนั้นมิใช่เป็นผู้กระทำอาการของกริยาข้างหน้า แต่เมื่อ present participle ใช้ประกอบคำนาม คำนามนั้นเป็นผู้กระทำอาการของกริยาข้างหน้า เช่น

participle : a dancing girl    เด็กหญิงซึ่งกำลังเต้นรำ (เด็กหญิงเป็นผู้กระทำอาการ dancing)
gerund : a dancing-teacher  ครูสอนเต้นรำ ไม่ใช่ครูซึ่งกำลังเต้นรำ หากแต่เป็นผู้สอนให้คนอื่นเต้น(= teacher of dancing)

participle : a sleeping child เด็กซึ่งกำลังหลับ (child เป็นผู้กระทำอาการ sleeping)
gerund : a sleeping-car    รถสำหรับนอน car มิได้เป็นผู้กระทำอาการหลับ (= a car for sleeping in)

participle : running water    น้ำซึ่งกำลังไหล (water กระทำอาการ running)
gerund : a running-track ทางสำหรับวิ่ง (track มิได้กระทำอาการวิ่ง)
( = track for running on)

4. gerund (กริยาเติม ing) อาจมีคำแสดงเจ้าของ (possessive) ประกอบข้างหน้า

1. It was no use your telling me not to worry.
ไม่มีประโยชน์ที่คุณจะบอกผมไม่ให้วิตก(=ถึงอย่างไรผมก็วิตก)

2. He was chosen because of his being a fully qualified engineer.
เขาได้รับเลือกเพราะการเป็นวิศวกรที่มีคุณสมบัติครบถ้วนของเขา

3. She was annoyed at your saying that.
หล่อนรำคาญต่อการพูดอย่างนั้นของคุณ (= รำคาญในการที่คุณพูดอย่างนั้น)

4. Please excuse my interrupting you.
โปรดอภัยต่อการขัดจังหวะของผม (=โปรดอภัยที่ผมได้ขัดจังหวะคุณ)

Note 1. การใช้คำแสดงเจ้าของประกอบข้างหน้า gerund (กริยา ing) นี้ โดยปกตินิยมใช้เมื่อเป็นประธานของประโยค เช่น

1. Your being right doesn’t necessarily mean my being wrong.
การที่คุณถูก ไม่จำเป็นจะต้องหมายความว่าผมผิด

2. I am sure Dang’s sitting up so late is bad for his health.
ผมเชื่อว่า การนั่งทำงานดึกๆ ของแดงเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเขา

Note 2. หลังคำกริยาดังต่อไปนี้ นิยมใช้กับ possessive + gerund (คำแสดงเจ้าของ+ กริยา ing) เสมอ คือ

delay (=ชักช้า, ประวิงเวลา), deny (=ปฏิเสธ)    postpone (=เลื่อนเวลา)

1. Don’t delay your sending in of the application form.
อย่าชักช้าในการส่งใบสมัครของคุณ

2. He doesn’t deny his breaking of the agreement.
เขามิได้ปฏิเสธการที่เขาทำลายข้อตกลง

3. I had to postpone my listening to his plans to a later date.
ผมจำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการฟังแผนการของเขาไปวันหลัง

อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานี้มักจะได้พบเห็นในภาษาเขียน (literary) แต่ในภาษาพูดนิยมใช้ personal pronoun มากกว่า เช่นแทนที่จะใช้ his, her, my, … นิยมใช้ he (him), she (her), I (me), … มากกว่า และใน กรณีที่เป็นคำนามเขาก็ไม่ใช้ ’s คงใช้นามตัวนั้นลอยๆ เช่น

ภาษาเขียน: He was chosen because of his being a fully qualified engineer.
ภาษาพูด: He was chosen because of him being a fully qualified engineer.
เขาได้รับเลือกเพราะว่าเขาเป็นวิศวกรที่มีคุณสมบัติครบถ้วน

ภาษาเขียน: She was annoyed at your saying that.
ภาษาพูด: She was annoyed at you saying that.
หล่อนรู้สึกรำคาญที่คุณกล่าวเช่นนั้น

ภาษาเขียน: Please excuse my interrupting you.
ภาษาพูด: Please excuse me interrupting you.
โปรดอภัยที่ผมขัดจังหวะคุณ

ภาษาเขียน: They are looking forward to Ladda’s coming.
ภาษาพูด: They are looking forward to Ladda coming.
พวกเขาตั้งตาคอยการมาของลัดดา

กริยาซึ่งตามด้วย gerund (กริยา ing)


1. I couldn’t avoid meeting him.
ผมไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบเขา

2. He enjoys listening to music.
เขาชื่นชอบในการฟังดนตรี

3. I couldn’t risk missing that train.
ผมไม่สามารถจะเสี่ยงต่อการพลาดรถไฟขบวนนั้นได้

4. Do you mind passing the bread ?
คุณจะกรุณาส่งขนมปังให้ผมหน่อยได้ไหมครับ

5. I do not remember seeing them.
ผมจำไม่ได้ว่าเคยเห็นพวกเขาหรือเปล่า

6. The wind has stopped blowing.
ลมหยุดพัดแล้ว

7. He admitted taking the key.
เขายอมรับว่าได้เอากุญแจไป

8. We would appreciate hearing from you.
เราจะยินดีมากถ้าได้ทราบข่าวจากท่าน

9. I consider buying a car.
ผมพิจารณา (ตกลงใจที่จะ) ซื้อรถสักคันหนึ่ง

10. He denied taking the key.
เขาไม่ยอมรับว่าได้เอากุญแจไป

11. He escaped being hurt in the accident.
เขารอดพ้นจากการได้รับบาดเจ็บในอุบัติเหตุ (= ไม่ได้รับบาดเจ็บ)

12. I have finished typing my paper.
ผม (เพิ่ง) พิมพ์ (กระดาษ) การบ้านของผมเสร็จแล้ว

13 She imagined winning the first prize on the lottery.

หล่อนคิดฝันว่าจะถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง

หล่อนคิดฝันว่าจะถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง

14. I’m sorry that I missed seeing you.
ผมเสียใจที่พลาดโอกาสไม่พบคุณ

กลุ่มคำซึ่งตามด้วย gerund

1. You must go on working.
คุณจะต้องทำงานต่อไป

2. He wants to give up smoking.
เขาต้องการจะเลิกสูบบุหรี่

3. She burst out crying.
หล่อนร้องไห้โฮออกมา

4. You must keep on trying.
คุณต้องพยายามต่อไป (เหมือนดังที่ได้พยายามมาแล้ว)

5. He insisted on going to London.
เขายืนกรานที่จะไปกรุงลอนดอน

6. I object to being treated like this.
ผมไม่ยอม (คัดค้าน) ที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างนี้

7. The rain prevented us from going outside.
ฝนขัดขวาง ( = เป็นอุปสรรค) มิให้เราออกไปข้างนอก

8. He succeeded in solving the problem.
เขาได้รับความสำเร็จในการแก้ปัญหา

9. I often think of going to London.
ผมคิดถึงการไปลอนดอนบ่อยๆ

10. The servant was tired of waiting.
คนรับใช้เบื่อในการรับใช้

11. The servant was tired with walking.
คนรับใช้เหนื่อยในการ(=เนื่องจาก) เดิน

12. She is used to getting up early.
หล่อนเคยชินต่อการตื่นนอนแต่เช้า

13. I am accustomed to working late at night.
ผมเคยชินกับการทำงานดึกๆ

14. We are opposed to having a meeting without him.
เราไม่เห็นด้วยที่จะประชุมโดยไม่มีเขา

15. They are looking forward to seeing you.
พวกเขารอคอยที่จะได้พบคุณ

16. He was busy preparing his lessons.
เขากำลังยุ่งอยู่กับการดูหนังสือ

17. Is today’s film worth seeing ?
ภาพยนตร์วันนี้มีค่าควรแก่การดูไหม (= น่าดูไหม)

18. It’s no good crying like a baby.
= It’s no use crying like a baby.
ไม่มีประโยชน์ที่จะร้องไห้เหมือนเด็กๆ

19. There’s no harm in visiting him now.
ไม่มีอันตรายใดๆ ในการที่จะไปเยี่ยมเขาในขณะนี้

20. I had the pleasure in meeting him.
ผมยินดีในการที่พบเขา

21. I take the pleasure in helping the poor.
ผมมีความพอใจในการช่วยเหลือพวกคนยากจน

กริยาซึ่งตามด้วย gerund หรือ infinitive ก็มีความหมายเท่ากัน

1. The woman began to laugh.
= The woman began laughing.
ผู้หญิงคนนั้นเริ่มหัวเราะ

2. The traffic continued to move slowly.
= The traffic continued moving slowly.
การจราจรเริ่มเคลื่อนต่อไปอย่างช้าๆ

3. We dislike to stay here.
= We dislike staying here.
เราเกลียดการอยู่ที่นี่ (= ไม่ชอบอยู่ที่นี่)

4. I dread to think about it.
= I dread thinking about it.
ผมรู้สึกหวาดๆ เมื่อคิดถึงเรื่องนี้

5. They intend to call her tomorrow.
= They intend calling her tomorrow.
พวกเขาตั้งใจจะโทรศัพท์ไปหาหล่อนพรุ่งนี้

6. I like to drive your car.
= I like driving your car.
ผมชอบขับรถของคุณ

7. He neglected to file his income tax return.
= He neglected filing his income tax return.
เขาทอดทิ้ง (ละเลย, ไม่ใส่ใจ) การยื่นใบประเมินเสียภาษีเงินได้

8. I plan to go to the United States next year.
= I plan going to the United States next year.
ผมมีแผนการจะไปสหรัฐฯ ในปีหน้า

9. She started to teach French first.
= She started teaching French first.
หล่อนเริ่มสอนภาษาฝรั่งเศสเป็นอันดับแรก

กริยาซึ่งตามด้วย gerund มีความหมายต่างจาก infinitive

stop + กริยา ing = หยุดกระทำการนั้น
stop + to กริยา = หยุดเพื่อจะกระทำการนั้น

He stopped talking.    เขาหยุดพูด(ไม่พูดต่อไป)
He stopped to talk.    เขาหยุดเพื่อที่จะพูด

regret + กริยา ing = เสียใจที่ได้กระทำ
regret + to กริยา = เสียใจที่จะกระทำ

I regret saying that to you.
ผมเสียใจที่พูดอย่างนั้นกับคุณ
I regret to say that he’s dead.
ผมเสียใจที่จะบอกว่าเขาตายเสียแล้ว

try + กริยา ing = ลองทำ
try + to กริยา = พยายามทำ

He tried climbing with one hand.
เขาลองปีนด้วยมือๆ เดียว
He tried to climb to the top.
เขาพยายามปีนให้ถึงยอด

mean + กริยา ing = เป็นเหตุให้, ก่อให้เกิด
mean + to กริยา = ตั้งใจ, จงใจ

Having a party tonight means working extra hard tomorrow.
ถ้าเที่ยวคืนนี้จะเป็นเหตุให้ต้องทำงานหนักเป็นพิเศษในวันพรุ่งนี้
I meant to tell you, but I forgot.
ผมตั้งใจจะบอกคุณ แต่ลืม

remember + กริยา ing = จำการกระทำนั้นๆ ได้
remember + to กริยา = ไม่ลืมที่จะ

I remember sending your letter.
ผมจำการส่งจดหมายของคุณได้ (ผมส่งไปแล้ว และยังจำการส่งได้)

Remember to meet me at the station.
อย่าลืมพบผมที่สถานี

forget + กริยา ing = ลืมการกระทำนั้น (กระทำแล้วแต่ลืมไป)
forget + to กริยา = ลืมที่จะกระทำ (ยังไม่ได้กระทำ เพราะลืม)

He forgets meeting me before.
เขาลืมไปว่าเคยพบผมมาก่อน
He forgot to meet me.
เขาลืมไปพบผม

allow + กริยา ing = อนุญาตให้กระทำการนั้นได้
allow + บุคคล + to กริยา = อนุญาตให้บุคคลกระทำการนั้นได้

The teacher doesn’t allow talking in class.
ครูไม่อนุญาตให้คุยกันในห้องเรียน
The teacher doesn’t allow us to talk in class.
ครูไม่อนุญาตให้พวกเราคุยกันในห้องเรียน

ที่มา:เลิศ  เกษรคำ


เพลง Gerund


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

เพลง Gerund

Gerunds and Infinitives (Verbs): Fun \u0026 humorous ESL video to peak your students’ engagement!


This creative \u0026 engaging animated ESL video teaches learners about gerunds and infinitives (verbs) at the upperintermediate level. Use this in class and have a blast!
If you love our videos, please support us at Patreon: https://www.patreon.com/oomongzu
WEBSITE: http://oomongzu.com
For more creative, engaging and interactive animated grammar teaching videos, please visit our website.
For the “No Music” version of this video, please go here: https://www.youtube.com/watch?v=W5OosgcMhRs
Title of English / ESL Video:
Gerunds and Infinitives (Verbs)
Target English Grammar:
Gerunds and Infinitives (Verbs):
– Gerund verbs.
– Infinitives with “to”.
– Infinitives without “to”.
Student Proficiency Level:
Upperintermediate level grammar.
Suggested Courses:
General English
Instructions:
– Play the video in class after delivering a warmup activity first.
– Pause the video whenever the narrator asks students a question to give students time to answer. For example, after elicitations and concept checking questions (CCQs).
Summary of English Grammar: Gerunds and Infinitives (Verbs)
Approximate chronological order:
Gerunds:
– Elicitation of target grammar.
Form:
– Verb + ing
Function:
– Gerunds act as nouns or pronouns.
Specific Uses:
– Likes/dislikes: I love shopping.
– General activities: I’m good at dancing.
– Abstract ideas: I’m not used to working late.
– When there is no noun to describe something: Catching the train during peak hour is really annoying.
– When speaking or writing in incomplete sentences: What are your hobbies? Watching TV and surfing the Internet.
Use Gerunds:
– As the subject of a sentence: Flying makes me nervous.
– As the object of a sentence: I find listening to music very relaxing.
– After prepositions: The police arrested her for speeding.
– After phrasal verbs: She ended up going to prison.
– After some verbs including: admit, avoid, can’t help, carry on, consider, deny, finish, give up, imagine, involve, keep on, miss, postpone, practice, risk, spend, stop, suggest.
– Example: You should avoid taking a stroll outside during a hurricane.
– After words for expressing like/dislike: can’t stand, crazy about, enjoy, fancy, hate, like/dislike, keen on, love, don’t mind, prefer.
– Example: I love skydiving.
Use Infinitives (with “to”):
– To express a reason or purpose: He ran to avoid being caught.
– After adjectives: This safe is easy to break open.
– After some verbs, including: can/can’t afford, agree, appear, be able to, can’t wait, decide, expect, forget, happen, have (got), help, hope, learn, manage, need, offer, plan, pretend, promise, refuse, remember, seem, teach, tend, threaten, try, want, would like.
– Example: He threatened to hurt the man.
Infinitives are not generally used as the subject of sentences.
Use the Infinitive (without “to”) after:
– Modal verbs: You should see a doctor.
– Auxiliary verbs: We‘ll go swimming tomorrow.
– let, make and help.
– Example 1: Let‘s go shopping.
– Example 2: Help me carry my shoes.
– Example 3: Sometimes she makes me want to scream!
Negative Forms:
Target language form the negative with “not”:
– Gerunds: I don’t like shopping.
– Infinitives (with “to”): I don’t want to go shopping.
– Infinitives (without “to”): I won’t go shopping.
These verbs can be followed with either the gerund or infinitive (with “to”) with no difference in meaning:
– begin, continue, prefer, start. For example:
– I prefer doing yoga.
– I prefer to do yoga.
These verbs can be followed with either the gerund or infinitive (with “to”), but the meaning is different:
– try, remember, forget, need.
– Example 1:
– Try not to hurt yourself again. (This means, make an effort to do something.)
– You should try going to an Italian restaurant. (This means, try something to see if you like it.)
– Example 2:
– Remember to fasten your seatbelt. (This means, don’t forget something.)
– I remember seeing you in high school. (This means, having a memory of something.)
– Example 3:
– I forgot to bring my luggage. (This means, you didn’t remember something.)
– I’ll never forget seeing the beautiful scenery. (This means, you did something and you won’t forget it. It’s more common in the negative form.)
– Example 4:
– You need to buy a new car. (This means, you must do something.)
– That car needs repairing. (This means, the subject needs something.)

Gerunds and Infinitives (Verbs): Fun \u0026 humorous ESL video to peak your students’ engagement!

หลักการใช้ gerund


หลักการใช้ gerund

✨ Grammar GO!: รีวิวหนังสือปูพื้นฐาน grammar ที่ควรมีติดบ้าน! ✨


สวัสดีคับทุกคนน ไม่เจอกันนานเลยยย
วันนี้มาต่อกันในซีรีส์รีวิวหนังสือ นั่นคือ Grammar GO!
เป็นหนังสือที่เราคิดว่าควรมีไว้เป็นเล่มแรกของการปูพื้นฐานเลยแหละ
เพราะอะไร ไปดูกันในคลิปได้เล้ย!

สั่งซื้อ
Facebook Page KruDew English: https://bit.ly/3sE6Gqm
Shopee ร้าน OpenDurian: https://bit.ly/3y8Gw08

✨ Grammar GO!: รีวิวหนังสือปูพื้นฐาน grammar ที่ควรมีติดบ้าน! ✨

หลักการใช้ชีวิต EP9999


tiktok ooong
Facebook ส่วนตัว
https://web.facebook.com/ong.walker/
Instagram: ong.dertrua

หลักการใช้ชีวิต EP9999

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ หลักการใช้ gerund

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *