Skip to content
Home » [Update] สรุป subject-verb agreement แบบง่ายๆ | กริยา verb – NATAVIGUIDES

[Update] สรุป subject-verb agreement แบบง่ายๆ | กริยา verb – NATAVIGUIDES

กริยา verb: คุณกำลังดูกระทู้

Subject-verb agreement เป็นอีกหนึ่งหัวข้อแกรมม่าภาษาอังกฤษที่สำคัญ ที่ถึงแม้จะไม่ยาก แต่ก็มีรายละเอียดเยอะ

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า subject-verb agreement คืออะไร หรือยังไม่ค่อยชำนาญกับการใช้ ในบทความนี้ ชิววี่ก็ได้ทำสรุปพร้อมกฏการใช้ 12 ข้อ มาให้ได้เรียนรู้กันแบบง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

Table of Contents

Subject-verb agreement คืออะไร

Subject-verb agreement คือการใช้ประธานและคำกริยาให้สอดคล้องกันตามหลักแกรมม่า ซึ่งก็คือ

  • ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ (มีจำนวนหนึ่งหน่วย) เราจะต้องใช้คำกริยารูปเอกพจน์ (เช่น is, does, has, คำกริยารูปที่เติม s/es)
  • ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ (มีจำนวนตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป) เราจะต้องใช้คำกริยารูปพหูพจน์ (เช่น are, do, have, คำกริยารูปที่ไม่ได้เติม s/es)

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น

My cat is cute.
แมวของฉันนั้นน่ารัก
(คำว่า my cat เป็นเอกพจน์ หมายถึงแมวตัวเดียว เราจึงต้องใช้คำกริยารูปเอกพจน์ ซึ่งในที่นี้ก็คือ is)

My cats are cute.
บรรดาแมวของฉันนั้นน่ารัก
(คำว่า my cats เป็นพหูพจน์ หมายถึงแมวหลายตัว เราจึงต้องใช้คำกริยารูปพหูพจน์ ซึ่งในที่นี้ก็คือ are)

(คำว่า subject แปลว่า “ประธาน” คำว่า verb แปลว่า “คำกริยา” ส่วนคำว่า agreement นั้นแปลว่า “ข้อตกลง” พอใช้รวมกัน คำว่า subject-verb agreement จึงแปลว่า “ข้อตกลงระหว่างประธานและคำกริยา” ซึ่งก็หมายถึงความสอดคล้องกันในทางแกรมม่าระหว่างประธานและคำกริยานั่นเอง)

ต้องใช้ตอนไหนบ้าง

หลักๆแล้ว subject-verb agreement จะถูกใช้ใน present tense ที่ไม่มี modal verb (ตัวอย่าง modal verb ก็อย่างเช่น can, could, will, would, may, might)

ยกตัวอย่างประโยคที่เป็น present tense และไม่มี modal verb ก็อย่างเช่น

She drinks coffee every day.
เธอดื่มกาแฟทุกวัน

They drink coffee every day.
พวกเขาดื่มกาแฟทุกวัน

นอกจาก present tense แล้ว เราจะต้องคำนึงถึง subject-verb agreement ด้วยเช่นกัน เมื่อเราใช้ tense ที่ใช้ was/were

อย่างเช่น past continuous tense

She was doing her homework when I called her.
เธอกำลังทำการบ้านอยู่ ตอนที่ฉันโทรหาเธอ

They were reading books when I arrived.
พวกเขากำลังอ่านหนังสืออยู่ ตอนที่ฉันมาถึง

หรือ past simple tense ที่มี verb to be (ซึ่งก็คือ was, were) เป็นคำกริยาหลัก

She was very happy when she received the present.
เธอมีความสุขมากตอนที่เธอได้รับของขวัญ

They were my classmates in college.
พวกเขาเป็นเพื่อนร่วมคลาสของฉันตอนเรียนมหาวิทยาลัย

ตัวอย่างกรณีที่ไม่ต้องใช้ subject-verb agreement ก็อย่างเช่น

เมื่อเราใช้ modal verb ในประโยค (เช่น can, could, will, would, may, might) เราจะต้องใช้คำกริยาหลักเป็นรูปพหูพจน์เสมอ

He can swim.
เขาสามารถว่ายน้ำได้
(เราจะไม่ใช้ He can swims.)

หรือเมื่อเราใช้ tense ที่มีการเปลี่ยนรูปคำกริยา เช่น past tense เราก็ต้องใช้รูปคำกริยาตามที่ tense นั้นกำหนดแทน

He called me yesterday.
เขาโทรหาฉันเมื่อวาน
(เราจะไม่ใช้ He calls me yesterday.)

กฏการใช้ subject-verb agreement 12 ข้อ

จริงอยู่ที่หัวใจหลักของ subject-verb agreement ก็คือการใช้คำกริยารูปเอกพจน์กับประธานที่เป็นเอกพจน์ และใช้คำกริยารูปพหูพจน์กับประธานที่เป็นพหูพจน์

แต่ในการนำไปใช้จริง หลายๆครั้งเราก็จะสับสนว่าประธานในประโยคนั้นถือเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์กันแน่ หรือในบางกรณีก็อาจมีข้อยกเว้น ทำให้เราต้องเปลี่ยนไปใช้คำกริยาอีกรูปหนึ่งแทน

เพื่อให้กระจ่าง เรามาดูสรุปกฏการใช้ subject-verb agreement แบบง่ายๆทั้ง 12 ข้อกันเลย

1. คำสรรพนาม I และ you ต้องใช้กับคำกริยารูปพหูพจน์

คำสรรพนาม I และ you แม้ว่าจะเป็นเอกพจน์ แต่ต้องใช้กับคำกริยารูปพหูพจน์

I want to be a teacher.
ฉันอยากเป็นครู

You inspire me.
คุณสร้างแรงบันดาลใจให้ฉัน

แต่จะมีข้อยกเว้นสำหรับคำสรรพนาม I ซึ่งก็คือเมื่อใช้กับ verb to be รูป present tense (ได้แก่ is, am, are) เราจะต้องใช้ am

I am 20 years old.
ฉันอายุ 20 ปี

แต่ถ้าเป็น verb to be รูป past tense (ได้แก่ was, were) ปกติแล้วเราจะใช้ was

I was ill yesterday.
เมื่อวานนี้ฉันป่วย

2. ประธานหลายตัวเชื่อมกันด้วย and ต้องใช้คำกริยารูปพหูพจน์

เมื่อมีประธานตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปเชื่อมกันด้วย and เราจะถือว่าประธานในประโยคนั้นเป็นพหูพจน์ ต้องใช้กับคำกริยารูปพหูพจน์

Tim and John are close.
ทิมกับจอห์นนั้นสนิทกัน

The black and the white dog are my dogs.
สุนัขตัวสีดำและสุนัขตัวสีขาวนั้นเป็นสุนัขของฉัน
(ฉันมีสุนัขสีดำหนึ่งตัว และสุนัขสีขาวอีกหนึ่งตัว คำว่า the หน้า white จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงประธานตัวที่ 2)

แต่ให้เราระวัง เพราะบางทีคำว่า and ไม่ได้เชื่อมประธาน แต่เชื่อมคำคุณศัพท์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของคำนาม ซึ่งถ้าเป็นกรณีนี้ เราจะอิงความเป็นเอกพจน์/พหูพจน์ตามประธานในประโยค

กรณีที่ and ทำหน้าที่เชื่อมคำคุณศัพท์

The black and white dog is very friendly.
สุนัขตัวสีขาวดำนิสัยเป็นมิตรมาก
(คำว่า and เชื่อมคำว่า black และ white ซึ่งหมายถึงสุนัขที่มีทั้งสีดำและสีขาวอยู่ในตัว ประโยคนี้มีประธานแค่ตัวเดียวคือ dog ซึ่งเป็นเอกพจน์)

The black and white dogs are very friendly.
สุนัขสีขาวดำเหล่านั้นนิสัยเป็นมิตรมาก
(คำว่า and เชื่อมคำว่า black และ white ซึ่งหมายถึงสุนัขที่มีทั้งสีดำและสีขาวอยู่ในตัว ประโยคนี้มีประธานแค่ตัวเดียวคือ dogs ซึ่งเป็นพหูพจน์)

กรณีที่ and เป็นส่วนหนึ่งของคำนาม

Beauty and the Beast is a popular fairy tale.
เรื่องโฉมงานกับเจ้าชายอสูรเป็นเทพนิยายที่ได้รับความนิยม
(คำว่า Beauty and the Beast เป็นชื่อของเทพนิยาย ซึ่งถือเป็นเอกพจน์ เพราะเป็นการพูดถึงเทพนิยายแค่เรื่องเดียว คำว่า and ในที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อ จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของคำนาม)

3. ประธานหลายตัวเชื่อมกันด้วย or, either…or หรือ neither…nor จะต้องใช้คำกริยารูปเดียวกับประธานตัวหลังสุด

เมื่อมีประธานตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปเชื่อมกันด้วย or, either…or หรือ neither…nor เราจะอิงความเป็นเอกพจน์/พหูพจน์ตามประธานตัวหลังสุด

ถ้าประธานตัวหลังสุดเป็นเอกพจน์ เราจะใช้คำกริยารูปเอกพจน์

Tim or his friend feeds the cat every morning.
ทิมหรือเพื่อนของเขาให้อาหารแมวทุกเช้า
(ประธานตัวหลังสุดคือ his friend เป็นเอกพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปเอกพจน์ ซึ่งก็คือ feeds)

Normally, either mom or dad does the dishes.
ปกติแล้ว ไม่แม่ก็พ่อจะเป็นคนล้างจาน
(ประธานตัวหลังสุดคือ dad เป็นเอกพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปเอกพจน์ ซึ่งก็คือ does)

Neither the blue nor the red shirt has my size.
ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเชิ้ตสีฟ้าหรือสีแดงก็ไม่มีไซส์ฉัน
(ประธานตัวหลังสุดคือ the red shirt เป็นเอกพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปเอกพจน์ ซึ่งก็คือ has)

แต่ถ้าประธานตัวหลังสุดเป็นพหูพจน์ เราก็จะใช้คำกริยารูปพหูพจน์

Tim or his friends feed the cat every morning.
ทิมหรือเพื่อนๆของเขาให้อาหารแมวทุกเช้า
(ประธานตัวหลังสุดคือ his friends เป็นพหูพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปพหูพจน์ ซึ่งก็คือ feed)

Normally, either mom or aunts do the dishes.
ปกติแล้ว ไม่แม่ก็ป้าๆจะเป็นคนล้างจาน
(ประธานตัวหลังสุดคือ aunts เป็นพหูพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปพหูพจน์ ซึ่งก็คือ do)

Neither the blue shirt nor the green shoes have my size.
ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเชิ้ตสีฟ้าหรือรองเท้าสีเขียวก็ไม่มีไซส์ฉัน
(ประธานตัวหลังสุดคือ the green shoes เป็นพหูพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปพหูพจน์ ซึ่งก็คือ have)

4. ถ้ามี of ในประธาน เราจะดูวลีคำนามหน้า of เป็นหลัก

ถ้ามีการใช้ of ในประธาน เราจะยึดความเป็นเอกพจน์/พหูพจน์ตามวลีคำนามหน้า of ตัวอย่างเช่น

  • A pair of shoes (รองเท้าหนึ่งคู่) – เป็นเอกพจน์
  • Three pairs of shoes (รองเท้าสามคู่) – เป็นพหูพจน์

การเลือกใช้คำกริยาก็ต้องใช้ตามวลีคำนามหน้า of นั้น

A pile of books is on my desk.
หนังสือกองหนึ่งอยู่บนโต๊ะของฉัน
(วลีคำนามหน้า of ในประธานคือ a pile เป็นเอกพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปเอกพจน์ ซึ่งก็คือ is)

Two pieces of bread are not enough for me.
ขนมปังสองชิ้นไม่พอสำหรับฉัน
(วลีคำนามหน้า of ในประธานคือ two pieces เป็นพหูพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปพหูพจน์ ซึ่งก็คือ are)

อย่างไรก็ตาม ถ้าหน้า of ในประธานไม่ใช่วลีคำนาม แต่เป็นคำบอกปริมาณ ให้เรายึดความเป็นเอกพจน์/พหูพจน์ตามความหมายโดยรวมของประธานแทน อย่างเช่น

  • One of my friends (เพื่อนคนนึงของฉัน) – หนึ่งคน, เป็นเอกพจน์
  • Most of my friends (เพื่อนส่วนใหญ่ของฉัน) – มากกว่าหนึ่งคน, เป็นพหูพจน์
  • A few of my friends (เพื่อนบางส่วนของฉัน) – มากกว่าหนึ่งคน, เป็นพหูพจน์

ทั้งนี้ การเลือกใช้คำนามหลัง of เป็นรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์ ก็มีผลต่อความหมายและความเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ของประธานด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น

  • All of the pie (พายทั้งอัน) – หนึ่งชิ้น, เป็นเอกพจน์
  • All of the pies (พายทุกชิ้น) – มากกว่าหนึ่งชิ้น, เป็นพหูพจน์

ตัวอย่าง subject-verb agreement เมื่อหน้า of เป็นคำบอกปริมาณ

One of the students is from Japan.
มีนักเรียนคนหนึ่งมาจากประเทศญี่ปุ่น
(One เป็นคำบอกปริมาณ มีความหมายว่าหนึ่งหน่วย ถือเป็นเอกพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปเอกพจน์ ซึ่งก็คือ is)

In this library, all of the books are in English.
ในห้องสมุดนี้ หนังสือทุกเล่มเป็นภาษาอังกฤษ
(All เป็นคำบอกปริมาณ มีความหมายว่าทั้งหมด all of the books แปลว่า หนังสือทุกเล่ม ถือเป็นพหูพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปพหูพจน์ ซึ่งก็คือ are)

5. ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย here หรือ there ประธานจะอยู่หลังคำกริยา

ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย here หรือ there ตำแหน่งของประธานจะอยู่หลังคำกริยา

ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ เราจะใช้คำกริยารูปเอกพจน์

Here is the pen.
นี่คือปากกา
(ประธานคือ the pen เป็นเอกพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปเอกพจน์ ซึ่งก็คือ is)

There is a cat in the garden.
มีแมวหนึ่งตัวอยู่ในสวน
(ประธานคือ a cat เป็นเอกพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปเอกพจน์ ซึ่งก็คือ is)

แต่ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ เราก็จะใช้คำกริยารูปพหูพจน์

Here are the pens.
นี่คือปากกา
(ประธานคือ the pens เป็นพหูพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปพหูพจน์ ซึ่งก็คือ are)

There are cats in the garden.
มีแมวหลายตัวอยู่ในสวน
(ประธานคือ cats เป็นพหูพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปพหูพจน์ ซึ่งก็คือ are)

6. เมื่อมี relative pronoun เราต้องมองประธานและคำกริยาให้ออก

Relative pronoun คือคำจำพวก who, whom, whose, which, that ที่ใช้ขยายคำนาม อย่างเช่นในประโยค

The person who I called yesterday lives in the same apartment with me.
คนที่ฉันโทรหาเมื่อวานอยู่ในอพาร์ทเมนต์เดียวกันกับฉัน

หลายคนมักจะสับสนเวลาเจอประโยคที่มี relative pronoun ว่าคำไหนคือประธาน คำไหนคือกริยา

วิธีดูง่ายๆคือให้เรามองวลีของ relative pronoun (หรือที่เรียกว่า relative clause) ให้ออก ประธานหลักของประโยคจะอยู่หน้าวลี ส่วนคำกริยาจะอยู่หลัง ซึ่งเราต้องใช้รูปเอกพจน์/พหูพจน์ของคำกริยาตามประธานของประโยค

The person [who I called yesterday] lives in the same apartment with me.
(ประธานในประโยคคือ the person เป็นเอกพจน์ เราจึงต้องใช้คำกริยาเป็นรูปเอกพจน์ ซึ่งก็คือ lives)

แต่บางประโยคก็อาจมีการละ relative pronoun ซึ่งเราจะต้องพยายามมองให้ออก

The person [I called yesterday] lives in the same apartment with me.
(ประโยคนี้ละคำว่า who เราสามารถละ relative pronoun ได้ ถ้ามันทำหน้าที่เป็นกรรม)

นอกจากประโยคหลักแล้ว ตัว relative clause ก็ต้องเป็นไปตามหลัก subject-verb agreement เช่นกัน

I want to buy a book [which is only available in the U.K.]
ฉันต้องการซื้อหนังสือเล่มหนึ่งที่มีขายเฉพาะในประเทศอังกฤษ
(คำว่า which เป็น relative pronoun แทนคำว่า a book ซึ่งเป็นเอกพจน์ เราจึงใช้คำกริยาใน relative clause เป็นรูปเอกพจน์ ซึ่งก็คือ is)

I have the same book [that you have].
ฉันมีหนังสือเล่มเดียวกันกับที่คุณมีเลย
(คำว่า that เป็น relative pronoun แทนคำว่า the same book แต่ใน relative clause นี้ คำว่า that จะทำหน้าที่เป็นกรรม ส่วนประธานจะเป็น you เราจึงใช้คำกริยารูปพหูพจน์ ซึ่งก็คือ have)

7. ไม่ต้องสนใจคำหรือวลีที่คั่นระหว่างประธานและคำกริยา

บางครั้ง ในประโยคจะมีคำหรือวลีที่คั่นระหว่างประธานและคำกริยา ถ้าเป็นกรณีนี้ ให้เราเลือกใช้รูปเอกพจน์/พหูพจน์ของคำกริยาตามประธาน โดยที่ไม่ต้องสนใจคำหรือวลีที่เข้ามาคั่น

คำหรือวลีที่คั่นระหว่างประธานและคำกริยา มักจะมีคอมม่าคั่นทั้งหน้าและหลัง ตัวอย่างเช่น

Anne, as well as her boyfriend, is very impressed with the service.
แอน รวมถึงแฟนของเธอ ต่างก็รู้สึกประทับใจกับการบริการมาก

All of the students, including Joe, are extremely disappointed.
นักเรียนทุกคน รวมถึงโจ ต่างก็รู้สึกผิดหวังมาก

8. คำสรรพนามจำพวก every…, some…, any…, no…, either และ neither ถือเป็นเอกพจน์

คำสรรพนามหลายๆคำ แม้ตามความหมายแล้วจะเหมือนเป็นพหูพจน์ หรือมีความก้ำกึ่งอยู่ แต่เราจะถือว่าเป็นเอกพจน์ อย่างเช่น

  • Everyone – ทุกคน
  • Everybody – ทุกคน
  • Someone – บางคน
  • Somebody – บางคน
  • Anyone – คนหนึ่งคนใด
  • Anybody – คนหนึ่งคนใด
  • No one – ไม่มีใคร
  • Nobody – ไม่มีใคร
  • Either – ทั้งคู่
  • Neither – ไม่ใช่ทั้งคู่

การใช้คำสรรพนามเหล่านี้เป็นประธาน เราจะต้องใช้คำกริยารูปเอกพจน์

Everyone has access to the internet these days.
ทุกวันนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้

No one want to be my friend anymore.
ไม่มีใครอยากเป็นเพื่อนกับฉันอีกแล้ว

Either of you is welcome any day.
ยินดีต้อนรับคุณทั้งคู่เสมอ

9. ใช้คำกริยารูปเอกพจน์กับประธานที่เป็นค่าปริมาณต่างๆ

ให้เราใช้คำกริยารูปเอกพจน์ เมื่อประธานเป็นค่าปริมาณต่างๆ เช่น ระยะเวลา จำนวนเงิน ระยะทาง

Ten thousand Baht is too expensive for this bag.
หนึ่งหมื่นบาทนั้นแพงไปสำหรับกระเป๋าไปนี้

Two hours is not enough, I need more time to complete the work.
สองชั่วโมงนั้นไม่พอหรอก ฉันต้องการเวลามากกว่านี้ในการทำงานให้เสร็จ

10. คำนามที่เติม s/es ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นพหูพจน์เสมอไป

จริงอยู่ที่เวลาเปลี่ยนคำนามจากเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ เรามักจะเติม s/es หลังคำนาม

แต่ก็มีคำนามบางคำที่แม้จะลงท้ายด้วย s/es แต่ก็ถือว่าเป็นเอกพจน์ เช่น

  • News – ข่าว (ถ้าเป็น new จะแปลว่า “ใหม่”)
  • Darts – กีฬาปาเป้า (ถ้าเป็น dart จะแปลว่า “ลูกดอก”)
  • Billiards – กีฬาบิลเลียด (ถ้าเป็น billiard จะใช้เป็นคำขยาย เช่น billiard table จะแปลว่า “โต๊ะบิลเลียด”)

การใช้คำนามเหล่านี้เป็นประธาน เราจะต้องใช้กับคำกริยารูปเอกพจน์

News is information about current events.
ข่าวคือข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน

Darts is popular only in some countries.
กีฬาปาเป้าเป็นที่นิยมแค่ในบางประเทศ

ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีคำนามบางคำที่ลงท้ายด้วย s/es แต่สามารถใช้เป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบทที่ใช้ อย่างเช่น

  • Statistics – วิชาสถิติ, สถิติ
  • Mathematics – วิชาคณิตศาสตร์
  • Measles – โรคหัด

การเลือกใช้รูปคำกริยากับคำนามเหล่านี้ เราจะต้องดูความหมายและบริบทประกอบ

Statistics is my favorite subject.
วิชาสถิติเป็นวิชาโปรดของฉัน

These statistics are not accurate.
สถิติเหล่านี้ขาดความแม่นยำถูกต้อง

นอกจากนี้ ยังมีคำนามที่ลงท้ายด้วย s/es อีกกลุ่มหนึ่ง ที่จะถือว่าเป็นพหูพจน์เสมอ

คำนามเหล่านี้มักจะเป็นสิ่งที่มีสองข้าง และทั้งสองข้างนั้นสมมาตรกัน ตัวอย่างเช่น

  • Pants – กางเกงขายาว (แต่ถ้าเป็น British English จะแปลว่า “กางเกงใน”)
  • Glasses – แว่นตา (ถ้าเป็น glass จะแปลว่า “แก้วน้ำ”)
  • Scissors – กรรไกร

การใช้คำนามเหล่านี้ เราจะต้องใช้กับคำกริยารูปพหูพจน์

These glasses are cool.
แว่นตาพวกนี้เท่ดี

Scissors are dangerous for small children.
กรรไกรเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก

แต่ถ้าเราต้องการใช้คำนามเหล่านี้เป็นเอกพจน์ เราจะต้องใช้ a pair of ไว้ข้างหน้า เช่น a pair of pants, a pair of glasses, a pair of scissors

This pair of glasses is cool.
แว่นตาอันนี้เท่ดี

A pair of scissors consists of a pair of metal blades.
กรรไกรหนึ่งด้ามจะประกอบด้วยใบมีดเหล็กสองอัน

11. Collective noun สามารถใช้เป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้

Collective noun คือคำนามที่ใช้แทนกลุ่มคน สัตว์ หรือสิ่งของ ตัวอย่างเช่น

  • Family – ครอบครัว
  • Group – กลุ่ม
  • Team – ทีม
  • Flock – ฝูงสัตว์
  • Bunch – ช่อ, พวง

หลายคนมักจะพลาด คิดว่าคำเหล่านี้เป็นพหูพจน์ แต่จริงๆแล้ว คำเหล่านี้จะใช้เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ต้องการสื่อความหมายยังไง

ถ้าใช้กล่าวถึงกลุ่มโดยรวม เราจะถือว่าเป็นเอกพจน์

My family lives in France.
ครอบครัวของฉันอยู่ในประเทศฝรั่งเศส

Our group is very competent.
กลุ่มของเรามีความสามารถมาก

แต่ถ้าเน้นถึงทุกๆคน/ทุกๆสิ่งในกลุ่ม เราจะถือว่าเป็นพหูพจน์

His family were abducted one by one.
ครอบครัวของเขาถูกลักพาตัวไปทีละคนสองคน

Our group are all wearing green shirts.
ทุกๆคนในกลุ่มของเราใส่เสื้อสีเขียว

ถ้าเทียบกันแล้ว เรามักจะใช้ collective noun เป็นเอกพจน์มากกว่าพหูพจน์ ดังนั้น เวลานำไปใช้ ถ้าเราไม่มีเหตุผลชัดเจนว่าทำไมถึงใช้เป็นพหูพจน์ ก็ให้เลือกใช้เป็นเอกพจน์ไว้ก่อนจะปลอดภัยกว่า

12. ใช้ were แทน was เมื่อแสดงความปรารถนา หรือเมื่อใช้กับสิ่งที่ไม่เป็นจริง

ปกติแล้ว ถ้าประโยคเป็น past tense และประธานเป็นเอกพจน์ การใช้ verb to be เราจะใช้ was แต่มีกรณียกเว้นคือ เมื่อเรากล่าวถึงสิ่งที่ไม่เป็นจริง เรื่องจินตนาการ หรือสิ่งที่เป็นความปรารถนา เราจะใช้ were แทน

ตัวอย่างประโยคเช่น

I wish Tim were here.
ฉันอยากให้ทิมอยู่ที่นี่

If I were a bird, I would fly freely and travel the world.
ถ้าฉันเป็นนก ฉันจะบินอย่างอิสระ และเดินทางไปรอบโลก
(ในกรณีทั่วไป เราจะใช้ I กับ was)

จบแล้วนะครับกับสรุป subject-verb agreement แบบง่ายๆ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจ และสามารถเลือกใช้คำกริยารูปเอกพจน์/พหูพจน์ได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time

[NEW] Modal Verb (กริยาช่วย) ฉบับที่สมบูรณ์แบบครบเครื่องทุกเรื่องที่ต้องรู้ | กริยา verb – NATAVIGUIDES

เชื่อว่าเพื่อนๆ ส่วนใหญ่มักจัมองผ่านความสำคัญของ Modal verb หรือกริยาช่วย ดังนั้นวันนี้ Eng Breaking จะแนะนำให้คุณความรู้เรื่องของ Modal verb อย่างรายละเอียดตั้งแต่ A-Z พร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

Modal Verb คืออะไร? พร้อมตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน

ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบเรียน ภาษาอังกฤ คงเคยได้ยินหรือได้ใช้กลุ่มคำกริยาหลักๆ เช่น (Main Verbs) กริยาช่วย (Auxiliary Verbs) ความรู้เกี่ยวกับกริยาคงเยอะไปนิดหน่อยแต่มันเป็นเรื่องกริยาที่ไม่ค่อยซับซ้อน เข้าใจง่ายและได้แบ่งประเภคมาช้ดเจนอยู่แล้ว

วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันเกี่ยวกับกริยาที่แตกกับกริยาหลักทั่วไป นั้นก็คือ Modal Verbs หรือในภาษาไทยเรียกได้ว่า กริยาช่วยนั้นเอง Modal Verbs บทความนี้เป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดเกี่ยวกับเรื่องของ Modal Verbs ที่มีครบเครื่องทุกเรื่องที่ต้องรู้

ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของกริยาช่วยแน่นอนเลยค่ะ 

Modal Verbs คือ กริยาช่วย กลุ่มของ Modal verbs ที่ควรรู้จักคือ shall, should, will, would, can, could, may, might และ must Modal Verbs มีความพิเศษตรงนี้มีความหมายในตัวมันเอง เพราะโดยปกติแล้วกริยาช่วยจะมีหน้าที่แค่ทำให้ประโยคนั้นสมบูรณ์ด้านไวยากรณ์แต่จะไม่มีความหมาย

หลักการใช้ Modal Verb ที่ต้องจดจำไว้

หลักการใช้ Modal Verb หรือกริยาช่วยที่ Eng Breaking สรูปมาให้เข้าใจง่ายๆ มีสามหลักการดังนี้:

1 – หลัง Modal verb ทุกตัวต้องตาม Verb infinitive ซึ่งก็คือ Verb ที่เป็นรูปธรรมดา ไม่ผัน ไม่เติม (ไม่เติม –ing, -ed, ไม่เติม to, หรือ ไม่เติม s/es)

เช่นเมื่ออยากจะบอกว่า เขาสามารถขับรถได้เราจะพูดว่า
– He can drive a car ประโยคนี้ถูกต้องแล้วนะคะ
– แต่ถ้าใครใช้ประโยคว่า He can to drive a car. คือมัน ผิดแน่นอนแล้วค่ะ เพราะในกรณีนี้ไม่จำเป็นที่ต้องใช้คำว่า “to”.

2 – ไม่ว่าจะเป็นประธานตัวไหน เอกพจน์หรือพหูพจน์ คนเดียวหรือสองคน ก็ใช้กับ modal verb ได้เลยโดยไม่ต้องเติม s / es ให้ยุ่งยาก (ง่ายซะยิ่งกว่าง่ายอีกค่ะ)

เช่นเมื่อคุณอยากพูดประโยคหนึ่งที่มีความหมายว่า มีนาควรหยุดสูบบุหรี่
– ประโยคที่ถูกต้องจะเป็น Mina should stop smoking.
– ประโยคที่ใช้ผิดจะเป็น Mina shoulds stop smoking.

ดังนั้นอย่าใช้ผิดนะคะ ถ้าใช้ผิดส่วนนี้คะแนนสอบภาษาอังกฤษของคุณจะไม่ได้สูงแน่นอน และนี่เป็นรูปแบบของข้อสอบที่มักจะเจอบ่อยมากด้วย อย่าพลาดนะคะ

3 – Modal verb ในกลุ่มนี้สามารถทำเป็นประโยคปฏิเสธหรือคำถามได้เลย

โดยไม่ต้องใช้กริยาช่วยตัวอื่น เช่น do หรือ does เข้ามาช่วยอีกแล้ว เช่น
– ถูก She mustn’t enter here.
– ผิด She doesn’t must enter here.

นอกจากนั้นแล้ว คำกริยาช่วยนั้นประกอบไปด้วย Can, Could, May, Might, Must, Mustn’t, Should, Ought to, Shall และ Will คำกริยาช่วยเหล่านี้มีคุณลักษณะอื่นๆ เช่น ไม่มีรูปแบบ past tense และในรูปแบบ negative หรือปฏิเสธนั้นสามารถทำได้ด้วยการใส่ NOT เท่านั้น และในรูปแบบประโยคคำถามสามารถทำได้ด้วยการใช้ขึ้นต้นประโยค

Modal Verb ต่างจาก verb ปกติอย่างไร?

คุณเคยสงสัยไหมคะว่า Modal Verb ต่างจาก verb ปกติอย่างไร? สรูปสั้นๆ ดังต่อไปนี้คงจะช่วยคุณเข้าใจและแยกอกความแตกต่างระหว่าง Modal Verbs กับ verb ปกติอ เพื่อการใช้งานได้ถูกต้องต่อไปนี้

  1. Modal Verb ไม่ต้องเติม s ไม่ว่าประธานจะเป็นตัวไหน
  2. สามารถทำเป็นประโยคปฏิเสธหรือประโยคคำถามได้เลยโดยไม่ต้องใช้กริยาช่วยตัวอื่น เช่น do, does
  3. หลัง Modal Verbs ต้องตามด้วย infinitive verbs (verb รูปธรรมดาที่ไม่เติม -ing, -ed, to, s หรือ es)

Modal Verbs ที่ต้องไม่พลาด 

กริยาช่วยเป็นส่วนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่ผู้เรียนทุกคนต้องไม่พลาด เพราะมันใช้บ่อยในทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น

  • มักจะใช้ Modal Verb ในกรณีอยากบอกความเป็นไปได้ 
  • มักจะใช้ Modal Verb ในกรณีอยากแสดงความสุภาพ 

1 – Can/Could ที่แปลว่า สามารถ

รูปปฏิเสธของ Can คือ Can not (Can’t)
รูปปฏิเสธของ Could คือ Could not (Couldn’t)

โครงสร้างในประโยค: Can/Could + V.infinitive

เงื่อนไข: เราจะใช้ modal verb Can/Could เพื่ออธิบายถึงความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ต่างๆ หรือการขอร้อง / ขออนุญาต

2 – Will/Would ที่แปลว่า จะ

รูปปฏิเสธของ Will คือ Will not (Won’t)
รูปปฏิเสธของ Would คือ Would not (Wouldn’t)

ครงสร้างในประโยค: Will / Would + V.infinitive

เงื่อนไข: เราจะใช้  modal verbs Will/Would ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ตั้งใจไว้ รวมถึงบอกความเป็นไปได้

3 – Shall/Should ที่แปลว่า ควรจะ

รูปปฏิเสธของ Shall คือ Shall not (Shan’t)
รูปปฏิเสธของ Should คือ Should not (Shouldn’t)

โครงสร้างในประโยค: Shall / Should + V.infinitive

เงื่อนไข: ใช้ modal verbs Shall/Should เมื่อต้องการให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ หรือบอกถึงเหตุการณ์ในอนาคตว่าน่าจะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอน

4 – May/Might ที่แปลว่า อาจจะ

รูปปฏิเสธของ May คือ May not
รูปปฏิเสธของ Might คือ Might not (Mightn’t)

โครงสร้างในประโยค: May / Might + V.infinitive

เงื่อนไข: ใช้  modal verbs May/Might บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ (ซึ่ง may จะแสดงความเป็นไปได้ที่มากกว่า might)

5 – Must ที่แปลว่า ต้อง 

โครงสร้างในประโยค: Must + V.infinitive

เงื่อนไข: ใช้มันในประโยคบอกเล่าเพื่ออธิบายถึงข้อบังคับ และในรูปประโยคปฏิเสธเพื่อบอกว่าไม่ควรทำบางสิ่งบางอย่าง 

6 – Ought to ที่แปลว่า ควรจะ

โครงสร้างในประโยค: Ought to + V.infinitive

เงื่อนไข: ใช้กับคำแนะนำ หรือใช้กับสิ่งที่ยังไม่มั่นใจแน่ชัด เป็นคำที่คนสมัยก่อนใช้กัน ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยใช้กันแล้ว จะใช้ Should มากกว่า

การสร้างประโยคโดยการใช้ Modal verb

ข้อดีของ Modal verbs คือ พวกมันมีกฎการใช้ง่ายๆ 3 แบบ

  • ประโยคบอกเล่า (affirmative sentence)  สำหรับประโยคบอกเล่าเราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน Modal verb หรือก็คือ เราไม่จำเป็นต้องเติม –s แม้ว่าประธานจะเป็นเอกพจน์บุคคลที่สาม (third person singular)

I
You
He/ She/ It
We
TheyWill
Would
Shall
Must
Should
Ought to
Can
Could
May
MightGo
Study
Wait

Leave


Listen
Read

  • ประโยคปฏิเสธ (negative sentence) เวลาทำเป็นประโยคปฏิเสธ เราจะเติม  ‘not’

I
You
He/ She/ It
We
You
TheyWill not/ won’t
Would not/ wouldn’t
Shall not/ shan’t
Must not/ mustn’t
Should not/ shouldn’t
Ought not/ oughtn’t
Cannot/ can’t
May not (Might not)/ mightn’tGo
Study
Wait
Leave
Listen
Read

  • ประโยคคำถาม (interrogative sentence) 

Will
Would
Shall
Must
Should
Ought to
Can
Could
May
MightI
You
He/ She/ It
We
You
TheyGo?
Study?
Wait?
Leave?
Listen?
Read?

โครงสร้างประโยคของ Modal verb (กริยาช่วย)

1 – บอกเล่า ของ Modal verbs (กริยาช่วย) กริยาช่วย + กริยาแท้ 

โครงสร้างในประโยค: S + Modal Verl + V_infinity

ตัวอย่างเช่น

  • I can help you ฉันจะช่วยคุณได้นะ
  • He should go home  เขาควรกลับบ้าน

2 – โครงสร้างประโยคปฏิเสธ ของ Modal verb (กริยาช่วย) กริยาช่วย + not + กริยาแท้

โครงสร้างในประโยค: S + Modal Verl + not + V_infinity

ตัวอย่างเช่น

  • I cannot  help you ฉันช่วยคุณไม่ได้นะ
  • He should not go home  เขาไม่ควรกลับบ้าน

3 – โครงสร้างประโยคคำถาม ของ Modal verbs (กริยาช่วย) กริยาช่วย + ประธาน + กริยาแท้

โครงสร้างในประโยค: Modal Verl + S + V_infinity

ตัวอย่างเช่น

  • Can you help me ? คุณช่วยฉันหน่อยได้ไหม
  • Should I go home ? ฉันควรกลับบ้านไหม

วิธีใช้กริยาช่วย Modal Verb ที่ต้องรู้

เพื่อเข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายขึ้นเราจะสรูปวิธีใช้กริยาช่วย Modal Verb ที่มักจะเจอบ่อยๆ ในตารางดังต้อไปนี้

Can/Could> Can บอกความสามารถในปัจจุบัน 
> Could บอกความสามารถในอดีต
– ใช้ถามเพื่อขออนุญาต, ให้การอนุญาตหรือไม่อนุญาต, ร้องขอบางสิ่งบางอย่าง, เสนอการช่วยเหลือ โดย Could มีความสุภาพมากกว่า Can
– ช้บอกสิ่งที่เป็นไปได้หรือเกิดขึ้น โดย Could บอกสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต มีโครงสร้าง Could + have + past participle (V.3)Will/Would> Will ใช้บอกสิ่งที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต, บอกความตั้งใจ
> Would ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอดีต, ใช้ขอร้องอย่างสุภาพ, บอกความต้องการ และใช้ในประโยคเงื่อนไข Shall/Should> Shall ใช้ในการเสนอแนะ ชี้แนะ เสนอความช่วยเหลือ 
> Should แปลว่า ควรจะ… ใช้ในการแนะนำMay/Might> ใช้บอกความเป็นไปได้ หรือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น
> ใช้ในการให้อนุญาต, ขออนุญาตMust> ใช้พูดถึงสิ่งที่ต้องทำ สิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้

ตัวอย่างเช่น

1 – Can

I can swim. ฉันอ่านหนังสือได้ (บ่งบอกความสามารถ)
He can fix computers. เขาสามารถซ่อมคอมพิวเตอร์ได้
Can I have a cup of coffee please? ขอกาแฟแก้วหนึ่งได้ไหม (ขอร้องแบบทั่วๆ ไป)
Can I use this restroom please? ฉันสามารถใช้ห้องน้ำนี้ได้ไหม?

2 – Could

Could I have a cup of coffee please? ขอกาแฟแก้วหนึ่งได้ไหมคะ/ครับ (ขอร้องแบบสุภาพ)
Could you fill in these blanks please? รบกวนช่วยกรอกข้อมูลตรงช่องว่างนี้ได้ไหมคะ?
I could have done it by myself. ฉันสามารถทำมันได้ด้วยตัวฉันเอง
I could swim when I was young. ตอนสาวๆ ฉันเคยว่ายน้ำได้นะ

3 – Will

I will not go to school tomorrow. ฉันจะไม่ไปโรงเรียนพรุ่งนี้ (บอกเหตุการณ์ในอนาคตที่ตั้งใจไว้)
I will visit Japan next year. ฉันจะไปญี่ปุ่นปีหน้า
We will give you this book. พวกเราจะให้หนังสือเล่มนี้แก่คุณ

4 – Would

If she didn’t do that, she would be happy. ถ้าเธอไม่ทำแบบนั้นลงไป เธอคงจะมีความสุข (บอกความเป็นไปได้ว่า “คงจะ” มีความสุข)
I knew that Nid would be successful. ฉันรู้ว่านิดจะประสบความสำเร็จ
Would you like some milk? คุณต้องการนมไหม?
Would you like to have some coffee?  ต้องการจะรับกาแฟไหมคะ/ครับ

5 – May

I may join the party tonight ฉันอาจจะไปร่วมปาร์ตี้คืนนี้
May I come in? ฉันขออนุญาตเข้าไปข้างในได้ไหมคะ?
May I borrow your phone? ฉันขอยืมโทรศัพท์คุณได้ไหม?
She may be in danger. เธออาจจะตกอยู่ในอันตราย

6 – Might

He might have finished it. เขาอาจจะทำมันเสร็จ
I might go see a doctor. ฉันอาจไปพบแพทย์
The store might have been closed today. ร้านค้าอาจจะปิดวันนี้ (have been closed เป็น passive หมายถึงถูกปิด)

7 – Shall

Shall we go to the movie tonight? เราไปดูหนังกันคืนนี้ดีไหม? (ข้อเสนอ)
We shall pass the exam. พวกเราจะต้องสอบผ่านแน่ๆ (พูดถึงความน่าจะเป็นในอนาคต ซึ่งค่อนข้างมั่นใจว่าจะเกิดขึ้นแน่ๆ)
Shall I carry your bags for you? ฉันถือกระเป๋าให้คุณไหม?

8 – Should

Should we take a taxi? พวกเราควรจะขึ้นแท็กซี่นะ?
I think you should stop smoking. ฉันคิดว่าคุณควรเลิกสูบบุหรี่นะ
You should try that new restaurant.คุณควรลองร้านอาหารใหม่นั้น

9 – Must

I must finish my work. ฉันต้องทำงานให้เสร็จ
The show must go on. ชีวิตต้องดำเนินต่อไป
She must be very intelligent. เธอจะต้องฉลาดมากแน่ๆ

10 – Ought to

We ought to help the poor. = We should help the poor. เราควรจะช่วยเหลือคนจน
You ought to try this soup – it’s delicious! คุณควรลองซุปนี้ – อร่อยมาก!
She ought to make a decision about that house before someone else buys it. – เธอควรตัดสินใจเกี่ยวกับบ้านหลังนั้นก่อนที่คนอื่นจะซื้อ
We ought to start the meeting, it’s getting late. เราควรจะเริ่มการประชุมมันช้าไปแล้ว

เพิ่มเติม : นอกจาก modal verb ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมี modal verbs ตัวอื่นที่เราจะเจออีก เช่น

  •         Ought to + have + V3 แสดงสิ่งที่ควรทำในอดีต แต่ไม่ได้ทำ
  •         Would rather + have + V3 อยากทำแต่ความจริงไม่ได้กระทำ (อดีต)
  •         needn’t + have + V3 แสดงสิ่งที่ทำไปแล้วทั้งที่ไม่จำเป็นต้องทำ (อดีต)
  •         didn’t have to = didn’t need to ไม่จำเป็นต้องกระทำ และก็ไม่ได้กระทำ(ในอดีต)
  •         needn’t have done ไม่จำเป็นต้องกระทำ แต่ก็ทำไปแล้ว (ในอดีต)

ฟังก์ชั่นที่พบบ่อยที่สุดของกริยาช่วย

ต่อไปนี้เป็นฟังก์ชั่นที่พบบ่อยที่สุดของกริยาช่วย

1 – กริยาช่วยที่แสดงความหมายว่า เป็นไปได้

เราใช้คำกริยา can, must, may เพื่อทำนายความเป็นไปได้ของสิ่งที่เกิดขึ้น 

ความแน่นอนจากมากไปน้อย: ต้องทำได้อาจอาจ 

ตัวอย่างเช่น

Learning English can be hard to some. การเรียนภาษาอังกฤษอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน

It’s snowing outside. It must be cold. ข้างนอกมีหิมะตก มันต้องหนาวแน่ ๆ

2 – กริยาช่วยที่แสดง ความสามารถความสามารถทักษะ

เราใช้คำกริยา can and could เพื่อพูดถึงความสามารถ

Can ใช้เมื่อพูดถึงความเป็นไปได้ในปัจจุบันและสามารถใช้เมื่อพูดถึงความเป็นไปได้ในอดีต

ตัวอย่างเช่น

He can’t speak Korean. เขาพูดภาษาเกาหลีไม่ได้

My grandfather could swim fast when he was a young boy. ปู่ของฉันสามารถว่ายน้ำได้เร็วเมื่อเขายังเป็นวัยรุ่น

3 – กริยาช่วยที่แสดง ภาระหน้าที่คำแนะนำ

เราใช้คำกริยา must, should to, should เพื่อแสดงความคิดว่าสิ่งที่ควรทำหรือควรทำ

ความจำเป็นจากมากไปน้อย: ต้องควรจะควร

ตัวอย่างเช่น

  • Students must do their homework. นักเรียนต้องทำการบ้าน
  • You should visit your parents often. คุณควรไปเยี่ยมพ่อแม่บ่อยๆ

4 – กริยาช่วยที่แสดงความอนุญาตและขออนุญาต

เราใช้คำกริยาอาจจะสามารถแสดงการอนุญาตให้ทำบางสิ่งได้

ตัวอย่างเช่น

  • You may not eat or drink in the library. ห้ามรับประทานอาหารหรือดื่มในห้องสมุด
  • Could I go home early today? วันนี้ฉันกลับบ้านเร็วได้ไหม

5 – กริยาช่วยที่แสดงความหมายว่า คำขอคำเชิญที่สุภาพ

เราใช้คำกริยา can, could, would, would ในการร้องขอหรือคำเชิญที่สุภาพ

  • Could you help me with this? คุณช่วยฉันเรื่องนี้ได้ไหม
  • Would you like some coffee? คุณต้องการกาแฟไหม?

6 – กริยาช่วยที่แสดงความหมายว่า สัญญา

เราใช้คำกริยาแสดงความตั้งใจที่จะทำบางสิ่งหรือสัญญาว่าจะทำบางสิ่ง

ตัวอย่างเช่น

  • I will stay here with you. ฉันจะอยู่ที่นี่กับคุณ

7 – กริยาช่วยที่แสดง นิสัย

เราใช้คำกริยา will และจะพูดถึงนิสัยในปัจจุบัน (will) หรืออดีต (would).

ตัวอย่างเช่น

  • When I was little, I would play outside all day. ตอนเด็ก ๆ ฉันจะเล่นข้างนอกทั้งวัน
  • Tim will always be late! ทิมจะมาสายเสมอ!

อย่างที่เห็น Modal verbs เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในภาษาอังกฤษ ตอนนี้คุณคงจะเห็นแล้วว่ามันสามารถใช้ได้อย่างไรบ้าง ลองฝึกเอามาใช้ดูเวลาที่ต้องพูดหรือว่าเขียนการใช้ Modal verbs นั้น อาจจะแบ่งลักษณะการใช้ออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

สรูปให้เข้าใจง่ายดายคือ Modal verbs ใช้แสดงความเป็นไปได้ และแนวโน้มของความเป็นไปได้ ว่าสิ่งที่กล่าวนั้นเป็นไปได้หรือมีความสามารถแค่ไหน เช่น may, might, can, could

และยังใช้ในการให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ เช่น should และ ใช้แสดงความจำเป็น กฎข้อบังค้บ เช่น must และใช้แสดงความสุภาพ มารยาททางสังคมต่างๆ เช่น การร้องขอ การขออนุญาต เช่น can, could, may, might, shall, will, would นั้นเอง เป็นคำกริยาที่มักจะเจอบ่อยใช่ไหมคะ ดังนั้นเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและคล่องในทุกกรณีคุณจำควรเห็นความสำคัญของกริยาช่วยนะคะ

ว่ายังไงบ้างคะสำคัญบทความ Modal Verbs (กริยาช่วย) ฉบับที่สมบูรณ์แบบครบเครื่องทุกเรื่องที่ต้องรู้วันนี้ที่ Eng Breaking แนะนำมาให้ค่ะ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต้อคุณ และอย่าลืมเคล็คลับเพื่อช่วยคุณพิชิตเรื่องเรียนภาษาอังกฤษได้คือต้องมีวิธีการเรียนอย่างถูกต้อง เรียบง่าย หาเอกสารเพื่อเรียนเพิ่มเติม แต่ต้องหาที่แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

เราเชื่อว่าคุณจะเป็นผู้เรียนต่อไปที่สำเร็จแน่นอน อย่าลืมติดตามเราเพื่ออัพเดทเนื้อหาใหม่ๆ เกี่ยวกับไวยากณ์ภาษาอังกฤษแชรันความรู้และประสบการณ์ของคุณด้วยนะคะ


กริยา 100 คำ ( 100 Verbs )


คำกริยา verb คืออะไร คำถามนี้ง่ายมาก คำกริยา verb คือ การกระทำ
คำอธิบายอย่างละเอียดก็คือ คำกริยาแสดงอาการของนามหรือสรรพนามเพื่อบ่งบอกว่า ทำอะไร
แต่อย่าลืมว่า verb มีหลายรูปแบบด้วย
regular verb คำกริยาปกติ
ช่อง 2/3 แค่เติม ed ท้ายคำจากช่อง 1
wait / waited / waited
I waited 1 hour for you to come. ฉันรอคุณมาเป็นเวลา 10 นาที
irregular verb คำกริยาอปกติ
ช่อง 1/2/3 มีรูปแบบเฉพาะ
กิน = eat / ate / eaten
I like to eat pizza. ผมชอบกินพิซซ่า
Yesterday, I ate pizza. เมื่อวานผมกินพิซซ่า
I have just eaten pizza. ผมเพิ่งกินพิซซ่าเสร็จพอดี
adverb คำขยายกริยา
ส่วนมาก ก็แต่เติม ly ท้าย adjective คำคุณศัพท์
เช่น slow ช้า (adj) ก็จะกลายเป็น slowly อย่างช้าๆ (adv)
Please speak slowly. กรุณาพูดช้าๆ หน่อย
modal verb กริยาช่วย (บอกเจตนาอารมณ์หรือวัตถุประสงค์ของกริยา)
เช่น want อยาก / need ต้องการ / must จำเป็นต้อง
I want to go. ผมอยากไป
I need to go. ผมต้องการไป
I must go. ผมจำเป็นต้องไป
auxiliary verb กริยาช่วย (บอกกาลเวลาของกริยา)
เช่น was / am / will (be)
I was angry yesterday. เมื่อวานผมรู้สึกโกรธ
I am sad today. วันนี้ผมรู้สึกเศร้า
I will be happy tomorrow. พรุ่งนี้ผมจะรู้สึกมีความสุข
ต่อไปนี้ ผมจะสอน 100 คำกริยาที่ใช้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวันพร้อมประโยคตัวอย่าง
ขอให้คุณตั้งใจเรียนนะครับ
สมัครเป็นสมาชิกช่องนี้!!
กดปุ่ม \”สมัคร\” ข้างล่างวีดีโอใน Youtube หรือกดลิงค์นี้ได้เลยนะครับ https://www.youtube.com/channel/UC93A91EZTtZW55WEKCz_jYA/join
สั่งซื้อหนังสือได้จากแอดมินไลน์
@LINE ID = @EnglishbyChris
รับสอนตัวต่อตัว ติดต่อผมได้ที่
@LINE ID = @TeacherChris
http://www.englishbychris.com/portfolioitems/100verbs
http://www.englishbychris.com
https://www.facebook.com/EnglishbyChris
110 = 2:39
1120 = 6:33
2130 = 10:26
3140 = 14:01
4150 = 17:50
5160 = 21:32
6170 = 25:27
7180 = 29:10
8190 = 32:57
91100 = 36:48

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

กริยา 100 คำ ( 100 Verbs )

มารู้จักคำกริยา Verbs กัน| Parts Of Speech EP.4 | ฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ฝึกเองเก่งเอง | OLEY JARUN


สวัสดีครับ ยินดีต้องรับเข้าสู่ OLEY JARUN Channel นะครับ
วันนี้เรามาฝึกภาษาอังกฤษกันในหัวข้อ Verb หรือ คำกริยาครับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Parts Of Speech
Verb คำกริยา คำที่ใช้แสดงอาการ หรือการกระทำ หรือถูกกระทำของประธานในประโยค รวมถึงบอกถึงอาการที่มีอยู่ Have หรือเป็นอยู่ Be ก็ต้องใช้คำกริยาเป็นตัวบอกเช่นกัน
คำกริยา มี 2 ประเภทหลักๆ คือ Principal Verbs กริยาแท้ Auxiliary Verbs กริยาช่วย
Principal Verbs กริยาแท้ มี 2 ประเภท
คือ 1.Action Verb คือ กริยาที่แสดงถึงการเคลื่อนไหว หรือการกระทำ เช่น
I speak English ฉันพูดภาษาอังกฤษ Speak เป็น Action Verb แปลว่า พูด
2.State of Being คือ กริยาที่ไม่ได้แสดงการกระทำหรือเคลื่อนไหว แต่แสดงสภาวะความรู้สึก การเป็นอยู่ หรือภาวะสถานการณ์
I am a student ฉันเป็นนักเรียนคนหนึ่ง am เป็น State of being Verb แปลว่า เป็น ไม่ได้แสดงอาการเคลื่อนไหวหรือการกระทำ
I am sick ฉันป่วย am เป็น State of being Verb ใช้แสดงอาการการเป็นอยู่ของประธานนั่นเอง
Auxiliary Verbs คือ กริยาที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นในประโยค ให้มีความหมายที่สมบูรณ์ขึ้น หรือมีความหมายที่แตกต่างออกไป
ดังนั้นใน 1 ประโยค ต้องมีกริยา 2 ตัว คือ กริยาช่วย และกริยาแท้ ถ้าในประโยคมีกริยาตัวเดียว แสดงว่าเป็นกริยาแท้ของประโยคนั่นเอง
กริยาช่วยมี 2 ชนิดคือ
Auxiliary Verbs หรือ Helping Verbs ประกอบไปด้วย
Verb to be is am are was were
Verb to have have has had
Verb to do do does did
I am a teacher ฉันเป็นครูคนหนึ่ง am เป็นกริยาแท้
I am running ฉันกำลังวิ่งอยู่ Run เป็นกริยาแท้ของประโยค am เป็นกริยาช่วยในประโยค
I love you ฉันรักคุณ Love เป็นกริยาแท้ ในประโยค
I do love you ฉันรักคุณ Love เป็นกริยาแท้ ในประโยค do เป็นกริยาช่วย ขยาย love ให้มีความหมายมากขึ้น
2. Modals Verbs คือกริยาช่วยที่ประกอบด้วย can could will would shall should may might must ought to need dare
I go to school today ฉันไปโรงเรียนวันนี้
I might go to school today ฉันอาจจะไปโรงเรียนวันนี้
Verb กริยา ยังใช้บอกการเวลาว่าการกระทำนั้นๆได้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือที่เราเรียกว่า Tense นั่นเอง ซึ่งประกอบได้ด้วย Present tense Past tense Future tense เช่น
I live in Perth Australia now ฉันอาศัยอยู่ที่เมืองเพิร์ท ประเทศออสเตรเลียในขณะนี้ (Present tense)
I lived in Sydney last year ฉันอาศัยอยู่ที่ซิดนีย์เมื่อปีที่แล้ว (Past tense)
I will live in England in next year ฉันจะไปอาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษในปีหน้า (Future tense)
กดติดตาม: https://goo.gl/MSt11a

มารู้จักคำกริยา Verbs กัน| Parts Of Speech EP.4 | ฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ฝึกเองเก่งเอง | OLEY JARUN

20 คำกริยาverb ภาษาอังกฤษ ที่ใช้บ่อย ตอนที่5


20 คำกริยาverb ภาษาอังกฤษ ที่ใช้บ่อย ตอนที่5
กริยาอังกฤษ คำกริยา Verb
ภาษาอังกฤษใช้บ่อย,
กริยาอังกฤษ,
คำกริยาภาษาอังกฤษใช้บ่อย,
คำกริยาอังกฤษ,
คำกริยาภาษาอังกฤษ,
กริยาอังกฤษใช้บ่อย,

20 คำกริยาverb ภาษาอังกฤษ ที่ใช้บ่อย ตอนที่5

Tên Các Con Vật Trong Tiếng Anh/Animals name in English (Natural)


Chào các bạn, mình đã có một vài video về chủ đề các con vật rồi nhưng lần này mình ra thêm 1 video này nữa sử dụng những hình ảnh tự nhiên giúp các bạn dễ hình dung các hình ảnh thực tế của các con vật ngoài đời thường.
Cảm ơn các bạn đã dành thời gian xem video, chúc các bạn học tốt và thành công.
Facebook page: https://www.facebook.com/profile.php?id=100063188352971

Tên Các Con Vật Trong Tiếng Anh/Animals name in English (Natural)

คำกริยา – สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.3


ครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน
webpage : http://www.kruao.com
fanpage : https://goo.gl/O22C3X
google+ : https://goo.gl/OBu7ia
youtube : https://goo.gl/bZlYwE
วีดีโอนี้จะสอนเกี่ยวกับ
มาเรียนรู้ ความหมาย และการใช้ คำกริยา
ตัวอย่างคำศํพท์ และประโยค ของ คำกริยา
บทเรียนอิเล็กทรอกนิกส์ วิชา ภาษาไทย ป.3 ชุดนี้
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำมาจาก
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
(OTPC : One Tablet Per Child)
จัดทำโดยสำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
http://www.otpchelp.com

คำกริยา - สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ป.3

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ กริยา verb

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *