Skip to content
Home » [Update] สรุป 12 tense เข้าใจง่าย จำง่าย พร้อมตัวอย่างประโยค | การเติม s es ies หลังคํากริยา – NATAVIGUIDES

[Update] สรุป 12 tense เข้าใจง่าย จำง่าย พร้อมตัวอย่างประโยค | การเติม s es ies หลังคํากริยา – NATAVIGUIDES

การเติม s es ies หลังคํากริยา: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Tense คือ อะไร

เมื่อพูดถึงเรื่องของ Tense ในภาษาอังกฤษ หลายๆ คน คงไม่อยากจะฟังมัน แต่ด้วยความสำคัญของมันนี่ล่ะ ทำให้คนที่ต้องการพูดภาษาอังกฤษ ปฏิเสธไม่ได้ ที่จะต้องเรียนรู้เรื่อง Tense เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียน การสอบต่างๆ เรามาลองทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันนะครับ บทเรียนนี้สรุปหลักการใช้ โครงสร้าง ตัวอย่างประโยค เทนส์ต่างๆ ค่อยๆ อ่าน เข้ามาอ่านบ่อยๆ อ่านทำความเข้าใจวันละ 1-2 หัวข้อ อย่าเครียดนะครับ ทุกคนทำได้ สู้ๆ .. ถ้าอ่านอย่างตั้งใจจนจบ จะรู้ว่า เรื่อง Tense จริงๆ แล้ว ไม่ยากเลยครับ

12 tense มีอะไรบ้าง

เทนส์ในภาษาอังกฤษ โดยหลักไวยากรณ์ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 12 tenses คือ เทนส์บอกอดีต 3 เทนส์, เทนส์บอกปัจจุบัน 3 เทนส์ และเทนส์ที่พูดถึงอนาคตอีก 3 เทนส์ ดังนี้

Present Simple Tense

โครงสร้าง present simple tense (ปัจจุบันกาล)

ประธาน + กริยาช่องที่ 1
ถ้าประธานเป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์ + กริยาช่องที่ 1 เติม s หรือ es
อ่านบทเรียน คลิก >> การเติม s, es

เช่น I go… / You go… / He goes… / They go…

ตัวอย่างประโยค

She sings a song. แปลว่า หล่อนร้องเพลง
He plays football. แปลว่า เขาเล่นฟุตบอล
She is not here. หรือ She isn’t here. แปลว่า หล่อนไม่อยู่ที่นี่
We are not drivers. หรือ We aren’t drivers. แปลว่า พวกเราไม่ใช่คนขับรถ

ประโยคปฏิเสธและคำถามเราจะใช้ Verb to do มาช่วย เช่น

You do not like apple. หรือ You don’t like apple.
She does not eat meat. หรือ She doesn’t eat meat.
Do you like it?
Does he like it?

หลักการเติม ‘s’ ที่คำกริยา (โครงสร้าง present simple tense)

1. เติม s หลังคำกริยานั้นๆ เช่น
He eats / She sings / A tiger runs.

2. ถ้ากริยาลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, o, z, ss ให้เติม es เช่น
He teaches English.
She goes away.
She brushes her teeth.

3. ถ้ากริยาลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น
He tries to study.
She studies English.

หมายเหตุ ถ้าหน้า y เป็นสระ ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น i ให้เติม s ได้เลย เช่น
play – plays = เล่น
pay – pay = จ่าย
destroy – destroys = ทำลาย

สรุป หลักการใช้ Present Simple Tense

1. แสดงลักษณะความจริงอยู่เสมอ ไม่ว่าเหตุการณ์จะผ่านไปเท่าใดก็ตาม เช่น

The earth moves around the sun.
โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์

The sun rises in the east and sets in the west.
ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก

The earth is round.
โลกกลม

Water freezes at 0 C.
น้ำมีจุดเยือกแข็งที่ 0 องศาเซลเซียส

2. การกระทำที่เกิดขึ้นเสมอๆ เกิดขึ้นจนเป็นนิสัย หรือ ประเพณีนิยม มักจะมี adverb of frequency ประกอบในประโยค เช่น

every day, usually, sometimes, frequently, always, naturally, generally, rarely, seldom, never etc.

She gets up at six o’clock.
หล่อนตื่นนอน 6 โมงเช้า (ตื่นเวลานี้จนเป็นนิสัย)

He runs every morning.
เขาวิ่งทุกๆ เช้า

John often drinks beer.
จอห์นมักจะดื่มเบียร์

She never sits in front of the church.
หล่อนไม่เคยนั่งข้างหน้าของโบสถ์เลย

3. แสดงเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ ที่รู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น

I go to Chiangmai in the afternoon.
ฉันจะไปเชียงใหม่ในตอนบ่าย

He starts to study in five minutes.
เขาจะเริ่มเรียนภายใน 5 นาที

The concert begins at 1.30.
คอนเสิร์ตเริ่มเวลา 1.30 นาฬิกา

4. ใช้กับสุภาษิต คำพังเพย เช่น

New brooms sweep clean.
ไม้กวาดใหม่ย่อมกวาดสะอาดกว่า

Money makes friend.
เงินทองอาจทำให้ท่านมีเพื่อนฝูงมาก

Health is wealth.
ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ

Present Continuous Tense

โครงสร้าง present continuous tense (ปัจจุบัน กำลังกระทำ)

I + am + กริยาช่องที่ 1 เติม ing
ประธานเอกพจน์ + is + กริยาช่องที่ 1 เติม ing
ประธานพหูพจน์ + are + กริยาช่องที่ 1 เติม ing

ตัวอย่างประโยค

She is running.
Is he playing football now?
I am not sleeping.
They are walking.

หลักการเติม ing ที่คำกริยา (โครงสร้าง continuous tense)

1. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e ให้ตัด e ทิ้งก่อน แล้วเติม ing เช่น
bite > biting
come > coming
arise > arising
write > writing
take > taking

2. กริยาที่ลงท้ายด้วย ee ให้เติม ing ได้เลย เช่น
free > freeing
see > seeing
flee > fleeing
agree > agreeing

3. กริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วเติม ing เช่น
lie > lying
die > dying
tie > tying

4. คำกริยาพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว และมีตัวสะกดเป็นพยัญชนะตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดอีก 1 ตัวก่อน แล้วเติม ing เช่น
run > running
sit > sitting
hit > hitting
get > getting
dig > digging
rob > robbing

5. กริยาหลายพยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ 1 ตัว ถ้าหน้าพยัญชนะมีสระหนึ่งตัว ให้เพิ่มพยัญชนะเข้าไปอีก 1 ตัวก่อน แล้วเติม ing เช่น
forget > forgetting
admit > admitting

6. คำกริยามี 2 พยางค์ ซึ่งออกเสียงหนักที่พยางค์หลัง มีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มตัวสะกดเข้ามาอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วเติม ing เช่น
offer > offerring
refer > referring
occur > occurring
begin > beginning

7. คำต่อไปนี้ ใช้ได้ 2 แบบ คือ travel, quarrel ดังนี้
travel > traveling (แบบอเมริกัน)
travel > travelling (แบบอังกฤษ)
quarrel > quarreling (แบบอเมริกัน)
quarrel > quarrelling (แบบอังกฤษ)

8. กริยาตัวอื่นๆ เติม ing ได้เลย เช่น
hear > hearing
burn > burning
bend > bending
read > reading

สรุป หลักการใช้ Present Continuous Tense

1. แสดงการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะพูด และคาดว่าจะสิ้นสุดลงในไม่ช้า มักมีคำเหล่านี้ คือ now, at the present time, at this moment etc. เช่น

She is eating.
Tom is running now.
We are walking.

2. แสดงการกระทำที่เริ่มก่อนพูดเป็นเวลานาน ขณะที่พูดนี้เหตุการณ์อาจไม่ได้กำลังเกิดขึ้นจริงๆ มักมีคำว่า this week, this month etc. เช่น

I am working with my teacher this summer.
ฉันกำลังทำงานกับครูของฉันในฤดูร้อนนี้
(ขณะที่พูดอาจทำ หรือไม่ทำอาการนี้ก็ได้)

Tom is working for an examination.
ทอม กำลังดูหนังสือสำหรับการสอบในครั้งนี้
(ขณะพูดอาจจะไม่ได้ดูหนังสือก็ได้)

3. ใช้แทนอนาคตที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า หรืออนาคตอันใกล้ มักมี adverb of time (tomorrow, next week, next month etc.) เช่น

I am asking him tomorrow (= I will ask him tomorrow.)
ฉันจะถามเขาพรุ่งนี้

He is leaving on Sunday (= He’ll leave on Sunday.)
เขาจะออกเดินทางในวันอาทิตย์

4. กริยาที่ไม่นิยมใช้รูป Present Continuous Tense คือ

4.1 กริยาแสดงความรู้สึกทางประสาททั้ง 5 เช่น
see = เห็น / notice = สังเกต / smell = ดมกลิ่น / taste = ชิม / hear = ได้ยิน / recognize = จำได้ / etc.

4.2 กริยาที่แสดงความรู้สึกทางอารมณ์ เช่น
love = รัก / like = ชอบ / dislike = ไม่ชอบ / adore = รักยิ่ง, บูชา / forgive = อภัย / wish = ปรารถนา, ต้องการ / care = เอาใจใส่ / desire = ปรารถนา / hate = เกลียด / want = ต้องการ / refuse = ปฏิเสธ

4.3 กริยาแสดงความคิด เช่น
think = คิด / know = รู้ / realize = ตระหนัก / recollect = จำได้ / suppose = คิด / recall = นึกได้ / expect = คาดหวัง / suppose = คิด / understand = เข้าใจ / mean = ตั้งใจ, หมายความว่า / believe = เชื่อ / forget = ลืม / trust = เชื่อ / remember = จำได้

4.4 กริยาอื่นๆ เช่น
seem = ดูราวกับว่า / appear (=seem) / hold = บรรจุ / belong = เป็นของ / own = เป็นเจ้าของ / contain = บรรจุ / possess = เป็นเจ้าของ / consist = ประกอบด้วย

Present Perfect Tense

โครงสร้าง present perfect tense (ปัจจุบันกาลสมบูรณ์)

ประธาน + have, has + Past Participle (คำกริยาช่อง 3)

ตัวอย่างประโยค

We have eaten American foods.
She has not (ย่อเป็น hasn’t) eaten Thai foods.
Has he smoked cigarettes?

สรุป หลักการใช้ Present Perfect Tense

1.แสดงถึงการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต แล้วเหตุการณ์ยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน(ขณะที่พูด) และมีแนวโน้มว่าจะเนินต่อไปในอนาคตมักจะมีคำว่า since, for

ตัวอย่างประโยค

Dr.Helen has lived in Bangkok since 1958.
ดร.เฮเลน อยู่ที่กรุงเทพตั้งแต่ ค.ศ.1958

I have studied in America for four years.
ฉันเคยเรียนที่อเมริกามาเป็นเวลา 4 ปี

2. แสดงการกระทำซึ่งเกิดขึ้นในอดีต และเพิ่งเสร็จสมบูรณ์ไปไม่นาน มักมี adverb เช่น just, yet etc. ประกอบด้วย

ตัวอย่างประโยค

I have just passed my friend’s house.
ฉันพึ่งผ่านบ้านเพื่อนของฉันมา

They have already finished housework.
พวกเขาทำงานบ้านเสร็จแล้ว

3. แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ผลของการกระทำนั้นยังคงมาถึงปัจจุบันขณะที่พูด

ตัวอย่างประโยค

I have read this book before.
ฉันเคยอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว

He has opened the door.
เขาได้เปิดประตูแล้ว (ผลของการกระทำยังอยู่ คือประตูเปิดอยู่)

4. เหตุการณ์ที่เคยทำซ้ำๆ กันหลายครั้งแล้วในอดีต อาจจะทำต่อไปในอนาคต แต่ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเมื่อไรแน่ อาจไม่ได้บอกเวลาไว้ มักมี adverb of time เช่น many times, several times ในประโยคด้วย

ตัวอย่างประโยค

I have been to America many times.
ฉันได้ไปอเมริกาหลายครั้งแล้ว

She has read this book three times.
หล่อนเคยอ่านหนังสือเล่มนี้ 3 ครั้งแล้ว

He has eaten Thai food several times.
เขาเคยกินอาหารไทยหลายครั้งแล้ว

Present Perfect Continuous Tense

โครงสร้าง present perfect continuous tense (ปัจจุบันกาลสมบูรณ์กำลังกระทำ)

ประธาน + has, have + been + กริยาเติม ing

ตัวอย่างประโยค

I have been thinking.
ฉันกำลังคิด

They have been talking.
พวกเขากำลังพูดกัน

She has been living here for 2 weeks.
หล่อนอาศัยอยู่ที่นี่มา 2 สัปดาห์แล้ว

He has been studying hard all year.
เขาเรียนหนังสือหนักมาตลอดปี

สรุป หลักการใช้ Present Perfect Continuous Tense

1. ใช้แสดงการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต และดำเนินมาโดยไม่ขาดตอน

ตัวอย่างประโยค

John has been living in America since 1984.
จอห์นได้มาอยู่อเมริกาตั้งแต่ปี 1984

หมายเหตุ Present Perfect Continuous Tense นี้ ใช้เหมือน Present Perfect ต่างกันที่ว่า Present Perfect Continuous Tense ใช้เพื่อต้องการเน้นย้ำว่าการกระทำนั้นติดต่อกันมาตลอด และกริยาที่ใช้มักเป็นกริยาที่มีลักษณะต่อเนื่องได้ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้เท่าไร

Past Simple Tense

โครงสร้าง past simple tense (อดีตกาล ธรรมดา)

ประธาน + กริยาช่อง 2

ตัวอย่างประโยค

She went home.
เธอกลับบ้าน

I came here last night.
ฉันมาที่นี่เมื่อคืน

สรุป หลักการใช้ Past Simple Tense

1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และจบสิ้นลงไปแล้วในอดีตเช่นกัน มักมีคำว่า once, ago, last night, last week, last year etc.

ตัวอย่างประโยค

I got sick yesterday.
ฉันป่วยเมื่อวานนี้

I lived in Phuket 3 years ago.
ฉันอยู่ที่ภูเก็ตเมื่อ 3 ปีที่แล้ว

She went to the university last week.
หล่อนไปมหาวิทยาลัยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

2. แสดงเหตุการณ์ที่เป็นนิสัย ที่ทำเป็นประจำในอดีต (ปัจจุบันไม่ได้กระทำแล้ว) มักมี adverb ความถี่อยู่ในประโยคด้วย เช่น always, every, frequently etc.

ตัวอย่างประโยค

Mario walked every morning.
มาริโอ้เดินทุกๆ เช้า (เป็นนิสัยในอดีต ปัจจุบันไม่ได้ทำสิ่งนั้นแล้ว)

He always woke up late last year.
เขาตื่นนอนสายเสมอๆ เมื่อปีที่แล้ว

When I was young. I listened to the radio every night.
เมื่อฉันเป็นเด็ก ฉันฟังวิทยุทุกคืน

3. แสดงถึงการกระทำทั้งสองอย่างที่เกิดในเวลาเดียวกัน มักมีคำว่า as, while อยู่ด้วย

ตัวอย่างประโยค

While she sang, I danced.
ขณะที่หล่อนร้องเพลง ฉันเต้นรำ

As she cooked, her son played football.
ขณะที่หล่อนทำอาหาร ลูกชายของหล่อนก็เล่นฟุตบอล

Past Continuous Tense

โครงสร้าง past continuous tense (อดีตกาล กำลังกระทำ)

ประธาน + was, were + กริยาเติม ing

ตัวอย่างประโยค

I was drinking a glass of water.
ฉันกำลังดื่มน้ำ 1 แก้ว

They were playing football in the field.
เขากำลังเล่นฟุตบอลอยู่ในสนาม

สรุป หลักการใช้ Past Continuous Tense

1. ใช้เมื่อเหตุการณ์ 2 อย่าง เกิดขึ้นในอดีต โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและดำเนินอยู่ก่อนแล้วเราจะใช้ Past Continuous และมีเหตุการณ์ที่สองเกิดขึ้น จะใช้ Past Simple

ตัวอย่างประโยค

While I was cooking, the telephone rang.
ขณะฉันทำอาหารโทรศัพท์ก็ดังขึ้น

We are walking along the street, it began to rain.
พวกเรากำลังเดินไปตามถนนฝนก็เริ่มตก

2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอดีต

ตัวอย่างประโยค

He was sleeping in the class.
ฉันกำลังหลับในห้องเรียน

He was running in the morning
เขากำลังวิ่งในตอนเช้า

3. แสดงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในเวลาเดียวกัน มักมีคำว่า while ในประโยค

ตัวอย่างประโยค

While I was watching T.V, my brother was reading a book.
ขณะที่ฉันดูทีวี น้องชายของฉันอ่านหนังสือ

She was sleeping while he was talking with his friends.
หล่อนกำลังนอนหลับ ขณะที่เขากำลังพูดคุยกับเพื่อนของหล่อน

Past Perfect Tense

โครงสร้าง past perfect tense (อดีตกาลสมบูรณ์)

ประธาน + had + Past Participle (กริยาช่อง 3)

ตัวอย่างประโยค

She had slept.
หล่อนได้นอนหลับแล้ว

He had not worked.
เขาไม่ได้ทำงาน

I had eaten foods before you came.
ฉันได้รับประทานอาหารก่อนที่คุณจะมา

สรุป หลักการใช้ Past Perfect Tense

1. แสดงเหตุการณ์ 2 อย่าง ที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต โดยเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อน เราจะใช้ Past Perfect Tense และอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดทีหลัง เราจะใช้ Past Simple Tense

ตัวอย่างประโยค

When I had finished my housework, I played T.V games.
เมื่อฉันทำงานบ้านเสร็จฉันก็เล่น T.V เกมส์ (ทำงานบ้านเสร็จก่อนแล้วจึงเล่น)

2. ใช้เปลี่ยน Past Simple หรือ Present Perfect ให้เป็น Indirect Speech เช่น

Direct Speech : “I have stayed in America for 2 years.” She said
หล่อนพูดว่า “ฉันเคยอยู่อเมริการมา 2 ปีแล้ว”

Indirect Speech : She said that she had stayed in America for 2 years.
หล่อนพูดว่าหล่อนเคยอยู่อเมริกามา 2 ปีแล้ว

Direct Speech : He said “I worked in Bangkok many years.”
เขาพูดว่า”ฉันเคยทำงานในกรุงเทพหลายปี”

Indirect Speech : He said that he had worked in Bangkok many years.
เขาพูดว่าเขาเคยทำงานในกรุงเทพหลายปี

Past Perfect Continuous Tense

โครงสร้าง past perfect continuous tense (อดีตกาลสมบูรณ์ กำลังกระทำ)

ประธาน + had been + กริยาเติม ing + กรรม หรือส่วนขยาย

ตัวอย่างประโยค

I had been sleeping.
ฉันกำลังนอนหลับ

She had been waiting for two hours.
หล่อนคอย 2 ช.ม. แล้ว

He had not (hadn’t) been walking before you came.
เขาไม่ได้กำลังเดินก่อนคุณมา

สรุป หลักการใช้ Past Perfect Continuous Tense

1. ใช้คล้ายๆ กับ Past Perfect ซึ่งเราใช้ก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ 2 อย่าง เกิดขึ้นในอดีต โดยต้องการเน้นว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดตอน เราใช้ Past Perfect Continuous Tense แล้วจากนั้นเกิดอีกเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมา เราใช้ Past Simple Tense

ตัวอย่างประโยค

She had been living in America before she moved to Bangkok.
หล่อนอยู่อเมริการก่อนที่ย้านมาอยู่ที่กรุงเทพฯ

I had been waiting two hour before He arrived.
ฉันคอยเป็นเวลา 2 ชั่วโมงก่อนที่เขามาถึง

She had been reading for several hours when I saw her.
หล่อนกำลังอ่านหนังสือหลายชั่วโมง เมื่อฉันเห็นหล่อน

Future Simple Tense

โครงสร้าง future simple tense (อนาคต)

ประธาน + will + คำกริยาไม่ผัน

ตัวอย่างประโยค

I will go to see you tomorrow.
ฉันจะไปพบคุณพรุ่งนี้

They will eat.
พวกเขาจะกิน

Mary will run.
แมรี่จะวิ่ง

สรุป หลักการใช้ Future Simple Tense

1. ใช้แสดงเหตุการณ์หรือการกระทำในอนาคต มักมี adverb of time อยู่ด้วย เช่น tonight, tomorrow, next week, next month etc.

ตัวอย่างประโยค

I will meet him tomorrow.
ฉันจะไปพบเขาพรุ่งนี้

She is going to see the doctor next week.
หล่อนจะไปหาหมอสัปดาห์หน้า

The plane will arrive at the airport in a few minutes.
เครื่องบินจะมาถึงสนามบินในอีก 2-3 นาที

การใช้ be going to แทน will

1. ใช้ be going to + กริยาช่อง 1 (ไม่ผัน) เพื่อแสดงถึงความตั้งใจที่ได้คิดไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือเชื่อว่าเป็นจริง อย่างนั้นโดยไม่สงสัย

ตัวอย่างประโยค

I am studying hard: I am going to try for scholarship.
ฉันกำลังเรียนหนังสืออย่างหนัก ฉันพยายามเพื่อสอบชิงทุนการศึกษา

She is going to write to her parents.
หล่อนตั้งใจว่าจะเขียนจดหมายถึงพ่อแม่ของเธอ

She has bought flour: She is going to make cake.
หล่อนซื้อแป้งมา หล่อนจะทำเค้ก

2. ใช้ be going to + กริยาช่อง 1 เพื่อแสดงการคาดคะเน

ตัวอย่างประโยค

I think it is going to rain.
ฉันคิดว่าฝนจะตก (อย่างแน่นอน)

Future Continuous Tense

โครงสร้าง future continuous tense (อนาคต กำลังกระทำ)

ประธาน + will + be + กริยาเติม ing + กรรม หรือส่วนขยาย

ตัวอย่างประโยค

I will be running.
ฉันจะกำลังวิ่ง

I will be working tomorrow.
ฉันจะกำลังทำงานพรุ่งนี้

We will be drinking.
เราจะกำลังดื่ม

สรุป หลักการใช้ Future Continuous Tense

1. แสดงเหตุการณ์หรือการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเหตุการณ์นั้นจะกำลังดำเนินอยู่

ตัวอย่างประโยค

At ten o’clock tomorrow morning. I will be waiting my friend.
เวลา 10 โมงเช้าพรุ่งนี้ ฉันจะกำลังรอเพื่อน

I will be cooking at 5 o’clock tomorrow evening.
ฉันจะทำอาหารตอน 5 โมงเย็นพรุ่งนี้

He will be sleeping at 4 o’clock tomorrow morning.
เขากำลังหลับตอน 4 โมงเช้าพรุ่งนี้

2. ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้น โดยเหตุการณ์ที่เกิดก่อนใช้ Future Continuous Tense ส่วนเหตุการณ์หลังใช้ Present Simple Tense

ตัวอย่างประโยค

They will be playing football when you arrive at their house.
เขาจะกำลังเล่นฟุตบอลอยู่ เมื่อคุณมาถึงบ้านของเขา (เล่นก่อนที่คุณจะถึงบ้าน)

When he calls to you, she will be going to the market.
เมื่อเขาโทรมาหาคุณ หล่อนกำลังไปตลาด

Future Perfect Tense

โครงสร้าง future perfect tense (อนาคตกาลสมบูรณ์)

ประธาน + will + have + กริยาช่อง 3

ตัวอย่างประโยค

I will have eaten.
ฉันจะกินอยู่แล้ว

Siri will have gone.
สิริไปแล้ว

He will have finished his work.
เขาจะเสร็จงานของเขาแล้ว

สรุป หลักการใช้ Future Perfect Tense

1. ใช้เมื่อคิดว่า ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เหตุการณ์หรือการกระทำจะสิ้นสุดลง โดยมักมีคำเหล่านี้ เช่น by that time, by then, by tomorrow, by next year, by next week, by at ten o’clock in two hours etc.

ตัวอย่างประโยค

I will have slept in three hours.
ฉันจะนอนเสร็จใน 3 ชั่วโมง

They will have finished the new road by next week.
พวกเขาจะทำถนนใหม่เสร็จในสัปดาห์หน้า

2. ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน โดยคาดว่าเมื่อถึงเวลานั้นเหตุการณ์หนึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ เราจะใช้ Future Perfect Tense กับเหตุการณ์นั้น และจะเกิดเหตุการณ์ที่ 2 ตามมา เราจะใช้ Present Simple Tense

ตัวอย่างประโยค

By the time you arrive, I will have finished homework.
เมื่อเวลาที่คุณมา ฉันก็ทำการบ้านเสร็จพอดี

She will have eaten foods before you came.
หล่อนรับประทานอาหารเสร็จก่อนที่คุณจะมา

The movie will have started before we reach the theater.
ภาพยนตร์เริ่มฉายก่อนที่พวกเราจะมาถึงโรงภาพยนตร์

Future Perfect Continuous Tense

โครงสร้าง future perfect continuous tense (อนาคตกาลสมบูรณ์ กำลังกระทำ)

ประธาน + will + have + been + กริยาเติม ing + กรรม หรือส่วนขยาย

ตัวอย่างประโยค

I will have been working.
เราคงจะทำงาน (ติดต่อกัน)

He will have been running.
เขาคงจะวิ่ง (ติดต่อกัน)

สรุป หลักการใช้ Future Perfect Continuous Tense

หลักการใช้ Tense นี้ เน้นให้เห็นถึงการต่อเนื่องของการกระทำว่าถึงเวลานั้นในอนาคต การกระทำนั้นยังคงดำเนินอยู่ และจะดำเนินต่อไปอีก (ยังไม่หยุด)

ตัวอย่างประโยค

By ten o’clock I will have been working without a rest.
ถึงตอน 10 โมง ฉันได้ทำงาน (ติดต่อกันมา) โดยไม่พัก

When you arrive, she will have waiting for three hours.
เมื่อคุณถึง หล่อนคงจะรอคุณ (โดยไม่หยุดรอ) เป็นเวลา 3 ชั่วโมง

สรุป 12 tense สั้นๆ ง่ายๆ

สรุป Present Simple Tense

Present Simple ใช้เมื่อเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งที่ทำเป็นประจำ หรือ สิ่งที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นปกติ หรือเป็นความจริง

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

Somchai usually plays tennis on Sunday.
Sue reads the newspaper every day.
Earth revolves around the sun.

สรุป Present Continuous Tense

Present Continuous ใช้เมื่อกล่าวถึงการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะปัจจุบัน ในขณะที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่ และกำลังดำเนินต่อไปในอนาคต

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

Sue is reading the newspaper now.
Jame is playing tennis with Jack right now.

สรุป Present Perfect Tense

Present Perfect ใช้เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ คือ

1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เพิ่งจบลงไป

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
Jame has just finished his homework.

2. ใช้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้งในอดีตโดยไม่ระบุระยะเวลาที่แน่นอน

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
Jame has eaten at this restaurant many times.

3. ใช้กับ since หรือ for ประโยคจะกล่าวถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและดำเนินจนถึงปัจจุบัน

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
Jame has lived in Bangkok since 1985.
Sue has known Anny for five years.

หมายเหตุ คำเหล่านี้มักใช้ใน Perfect Tense
just , often , never , over , yet , since , already , for , etc.

สรุป Present Perfect Continuous Tense

Present Perfect Continuous ใช้เมื่อต้องการแสดงถึงเหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีตและดำเนินอยู่ในปัจจุบัน และจะดำเนินต่อไป

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
Sue has been talking to John on the phone for fifty minutes.

สรุป Past Simple Tense

Past Simple ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบไปแล้วในอดีต สังเกตจากประโยคนั้นจะเป็นประโยคที่แสดงความเป็นอดีต เช่น เมื่อวานนี้ ปีที่แล้ว หรือ ปี พ.ศ. ที่ผ่านมาแล้ว

ตัวอย่างประโยค
Sue played tennis with Jame yesterday.
Mary saw Jame at the post office last week.

สรุป Past Continuous

Past Continuous ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่แน่นอนในอดีต หรือขณะที่เหตุการณ์หนึ่งดำเนินอยู่

ตัวอย่างประโยค
Sue was playing tennis with Jame when I came.
While Jame was talking a shower , the phone rang.

สรุป Past Perfect Tense

Past Perfect จะใช้ในเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

1. ใช้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอดีตและสิ้นสุดในอดีตไปแล้ว

ตัวอย่างประโยค
Jame had seen Anny five years before.

2. ใช้ในเหตุการณ์ที่เกิด 2 เหตุการณ์ในอดีต และต้องการแสดงลำดับเหตุการณ์ว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อน

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
Jame had finished my homework before Anny arrived.

สรุป Past Perfect Continuous Tense

Past perfect Continuous ใช้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และดำเนินมาถึงจุดจุดหนึ่งในอดีต

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
At that time, Jame had been writing a novel for 3 months.

When Sue came to this university in 1985, Prof. Johnson had already been teaching here for 4 years.

สรุป Future Simple Tense

Future Simple ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต สามารถใช้ will (shall ใช้กับ I หรือ We แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ will แทน shall) ซึ่งมีความหมายเดียวกันเมื่อใช้เกี่ยวกับเรื่องอนาคต

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
Jame will leave tomorrow.
We shall leave tomorrow.

สรุป Future Continuous Tense

Future Continuous ใช้กับเหตุการณ์ดังนี้คือ

1. ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นอยู่ในอนาคต
When I get home, my son will be watching TV.

2. ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ถูกกำหนดไว้แล้ว
Sue will be staying here till Monday.

สรุป Future Perfect Tense

Future Perfect ใช้กับเหตุการณ์ที่จะจบสมบูรณ์ในอนาคต

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
Before you go to see him, he will have left that place.

สรุป Future Perfect Continuous Tense

Future Perfect Continuous ใช้กับเหตุการณ์ที่ดำเนินไปช่วงหนึ่งและจะจบลงในอนาคต

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
When Jame gets his degree, he will have been studying at Harvard University for four years.

[Update] การใช้ Pronoun และ Noun ประธาน กริยา และกรรม 4. รูปกรรมของบุพบท ( objects of prepositions ) ภาษาอังกฤษ | การเติม s es ies หลังคํากริยา – NATAVIGUIDES

คำนาม 

คือ ชื่อเรียกคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และสิ่งที่เป็นนามธรรม

                 เวลาพูดถึงคำนาม ให้เรานึกถึง ตัวเองก่อนอันดับแรกว่า ตัวเราเป็นอะไร ตัวเราเป็นคน แล้วให้สมมติ(หรือไม่สมมติก็ได้) ว่าเรามีสัตว์เลี้ยงตัวโปรดอยู่ สัตว์เลี้ยงนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ แล้วก็มีสิ่งของ มีสถานที่ที่เราชอบ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้นึกถึงทั้งหมดนี้ คือคำนามในภาพรวม ตัวเรา(ซึ่งเป็นคน) เลี้ยงสัตว์ มีสิ่งของ มีสถานที่ และมีความชอบในสิ่งของหรือสถานที่นั้น(นามธรรม) ก็จะสามารถช่วยให้เราเข้าใจคำนามได้ในมุมกว้างๆ 

                 พอจะเจาะลึกเข้าไปอีก เป็นคำนามทั่วไป กับคำนามเฉพาะ ก็ให้เราเอาตัวเองเป็นหลักก่อนว่า ตอนแรกคิดว่าเราเป็นคน ซึ่งเป็นแค่คนทั่วๆไป แต่พอเรามาดูอีกที เรามีชื่อเฉพาะของเรา การมีชื่อขึ้นมาเจาะจงว่าเป็นตัวเราเนี่ยแหละ ก็เลยกลายให้คนธรรมดา กลายเป็นคนที่มีชื่อเรียกเฉพาะเจาะจง มีคนเดียวในโลกที่ชื่อแบบนี้ หน้าตาแบบนี้ แล้วเวลาเขียนชื่อเราทุกครั้ง ก็ต้องเขียนเป็นตัวอักษรใหญ่ ไม่ว่าจะชื่อเล่นหรือชื่อจริง พอคิดได้แบบนี้แล้ว เข้าใจแล้ว มันก็จะนำไปสู่การเข้าใจในเรื่องของความแตกต่างระหว่างคำนามทั่วไป กับ คำนามเฉพาะ 

               นอกจากนี้แล้ว เมื่อนึกถึงจำนวนของคำนามที่ยังไม่นับ ก็ให้นึกถึงอยู่สองพวกคือ มีเพียงหนึ่ง (เอกพจน์) และ มากกว่าหนึ่ง หรือสองขึ้นไป (พหูพจน์) ซึ่งก็จะมีกฏการทำคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ตามด้านล่างนี้แล้ว  แต่ถ้านึกถึงจำนวนของคำนามในเรื่องของจำนวนนับให้นึกถึง นับได้ (countable) กับ นับไม่ได้ (uncountable)  ซึ่งมีรายละเอียดตามข้างล่างนี้ (ก่อนที่จะอ่านเนื้อหาข้างล่าง ขอให้เข้าใจภาพรวมของคำนามที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นนี้ก่อน) 

ชนิดของคำนาม (

Types of Noun)

1. 

คำนามทั่วไป (Common Nouns)

 – 

กล่าวถึงคำนามที่เป็นคน สัตว์ สิ่งของ และสิ่งที่เป็นนามธรรมโดยไม่เฉพาะเจาะจง

          

คำนามทั่วไป เป็นได้ทั้งคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้

                   

 คือ คำนามที่สามารถนับเป็นจำนวนนับได้ เป็นได้ทั้งคำนามเอกพจน์และคำนามพหูพจน์

          

กฎในการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ มีดังนี้

                1. 

เติม 

–s 

ได้เลย

                2. 

เติม

 – es 

หลังคำนามที่ลงท้ายด้วย

 s, z, x, sh, and ch

                3. 

คำนามที่ลงท้ายด้วย 

y

                   3.1 

เปลี่ยน 

เป็น 

ies 

ในกรณีที่หน้า 

เป็นพยัญชนะ

                   3.2 

เติม 

–s 

ได้เลย ในกรณีที่หน้า 

เป็นสระ

                4. 

คำนามที่ลงท้ายด้วย

 o

                   4.1 

เติม

 – es 

หลังคำนาม ในกรณีที่หน้า 

เป็นพยัญชนะ

                   4.2 

เติม

 – s 

ได้เลย ในกรณีที่หน้า 

เป็นสระ

                5. 

เปลี่ยน

 f 

หรือ

 fe 

เป็น

 

 ves 

หลังคำนามที่ลงท้ายด้วย

 f or fe

                   *

 

 

คำนามที่ลงท้ายด้วย

 f 

หรือ

 fe 

บางคำที่สามารถเติม

 

– s 

ได้เลย

                6. 

เปลี่ยนรูปเมื่อเป็นพหูพจน์

                   

 

คือ คำนามที่ไม่สามารถนับได้ โดยปกติจะเป็นสสารหรือความคิด

 

พจน์ของคำนามเป็นเอกพจน์ได้เท่านั้น

2. 

คำนามเฉพาะ (Proper Nouns)

 – 

ชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ

หน้าที่ของคำนาม (

Functions of Noun)

1. 

ประธานของประโยค

 

2. 

กรรมของประโยค

 

3. กรรมของคำบุพบท

คำสรรพนาม (Pronoun)

          

คำสรรพนาม

 คือ คำที่ใช้แทนคำนาม ส่วนเรื่องคำสรรพนามที่ไม่มีอะไรมาก เห็นคำนี้เมื่อไหร่ ให้นึกทันที ว่าเค้าทำหน้าที่แทนคำนาม ก็จะมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็ทำงานตามหน้าที่ตามชื่อ ไม่ยาก แต่อาศัยท่องจำในตอนแรกบวกกับ ความเข้าใจในเรื่องของตำแหน่งประเภทของคำที่เราต้องทราบ ซึ่งจะได้อธิบายไว้ในการใช้ของแต่ละข้อ 

ชนิดของคำสรรพนาม 

(

Types of Pronoun)

1. 

บุรุษสรรพนาม (

Personal Pronoun)

    

 

คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคน สถานที่ สิ่งของ และความคิด

    1.1 

คำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน

 (Subject Pronouns) ให้สังเกตคำนามที่อยู่หน้ากริยา แล้วเลือกใช้คำสรรพนามแทนให้เหมาะสมตามความหมายของคำนามนั้น ว่าแปลแล้ว เป็นคนที่เป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือสัตว์ หรือสิ่งของ หรือเป็นคนที่มีหลายคน ซึ่งต้องพิจารณาอีกว่า คนที่มีหลายคนจะใช้คำว่าอะไร (ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแปลคำนามนั้นๆ)

          – I, You, We, They, He, She, It

    1.2 

คำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรม

 (Object Pronouns) คำอธิบายเกือบจะเหมือนข้อ 1.1 แต่ต่างกันตรงที่ให้สังเกตคำนามที่อยู่ หลัง กริยา

          – me, you, us, them, him, her, it

2. 

สรรพนามเจ้าของ

 (

Possessive Pronouns)

      คือ คำสรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ

    2.1 

คําคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อบอกความเป็นเจ้าของของนา

ม (

Possessive Adjective Pronouns) คำสรรพนามชนิดนี้ ต่างจาก 2.2 โดยต้องมีคำนามตามหลัง (อยู่หน้าคำนาม) เนื่องจาก ชื่อของมันคือ Possessive Adjective
ถ้าใครทราบว่า Adjective แปลว่า คำคุณศัพท์ ทำหน้าที่ขยายคำนาม ตำแหน่งของเค้าอยู่หน้าคำนาม ก็จะเป็นหน้าที่ของคำสรรพนามชนิดนี้ทั้งหมด ทั้งเรื่องการขยายคำนาม และตำแหน่งที่เค้าอยู่

– my, your, our, their, his, her, its

    2.2 

คำสรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ (

Possessive Pronouns) คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของชนิดนี้ ชื่อก็บอกยี่ห้ออยู่แล้วว่า Possessive Pronoun แสดงความเป็นเจ้าของ แต่เป็นเจ้าของแบบแทนคำนามเลย

          – mine, yours, ours, theirs, his, hers, its

3.  

สรรพนามตนเอง (

Reflexive Pronouns)

         คือ

 สรรพนามที่แสดงตนเอง แสดงการเน้น ย้ำให้เห็นชัดเจน เป็นการเน้นย้ำว่า “ประธานกระทำกริยานั้นด้วยตนเอง” จะใช้ยังไง ให้ดูที่ประธานของประโยคเป็นหลัก ซึ่งประธานของประโยค สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำสรรพนาม ต้องแปลและสังเกตได้เอง

           – myself, yourself/yourselves, ourselves, themselves, himself, herself, itself

ประธาน กริยา และกรรม 4. รูปกรรมของบุพบท ( objects of prepositions )

รูปกรรมของบุพบท  objects of prepositions   Gerunds (เจอรันสฺ) เป็นกริยารูปหนึ่งที่ลงท้ายด้วย ing และทำหน้าที่เป็น คำนาม (noun) ฉะนั้นตำแหน่งของคำกริยาประเภทนี้ในประโยคคือ ประธาน (subject) กรรมตรง (direct object) ประธานเสริม (subject complement) และกรรมของบุพบท (object of preposition)
ตำแหน่งของ Gerunds

Gerunds (เจอรันสฺ) เป็นกริยารูปหนึ่งที่ลงท้ายด้วย ing และทำหน้าที่เป็น คำนาม (noun) ฉะนั้นตำแหน่งของคำกริยาประเภทนี้ในประโยคคือ ประธาน (subject) กรรมตรง (direct object) ประธานเสริม (subject complement) และกรรมของบุพบท (object of preposition)
ตำแหน่งของ Gerunds
1. ประธาน (subject)
ตัวอย่าง
Traveling might satisfy your desire for new experiences.
การเดินทางอาจจะสนองตอบความปรารถนาด้วยประสบการณ์ใหม่ๆ ของคุณ
หมายเหตุ กรณีนี้รูปกริยา Traveling เป็นประธาน ก็เพราะวางอยู่หน้ากริยาหลักของประโยค นั่นคือ might satisfy
2. กรรมตรง (direct object)
ตัวอย่าง
I hope that you appreciate my offering you this opportunity.
ผมหวังว่าคุณจะชื่นชอบการที่ผมให้โอกาสคุณครั้งนี้
หมายเหตุ กรณีนี้ my offering you this opportunity เป็นกรรมตรง ก็ เพราะเป็นการตอบคำถามว่า ชื่นชอบ <appreciate> “อะไร’’
3. ประธานเสริม (subject complement)
ตัวอย่าง
His favorite activity is playing golf.
กิจกรรมที่ชื่นชอบของเขาคือการเล่นกอล์ฟ
= Playing golf is his favorite activity.
หมายเหตุ กรณีนี้ playing golf เป็นเสมือนประธานเสริม อยู่หลัง verb to be “is” ส่วน Playing golf ที่วางอยู่หน้าประโยค ทำหน้าที่ประธาน
4. กรรมของบุพบท (object of preposition)
ตัวอย่าง
She suffered for years without complaining.
เธอทนทุกข์มาหลายปีโดยไม่ปริปากบ่น
หมายเหตุ กรณีนี้รูปกริยา complaining วางอยู่หลังบุพบท <preposition> คือ “without” จึงถือว่าเป็นกรรมของบุพบท
ประเภทของ Gerunds
จากตัวอย่างข้างบน อาจจะกล่าวคร่าวๆ ได้ว่า gerunds อาจจะเป็นกริยารูป ing ที่ทำหน้าที่นามที่เป็นคำเดี่ยว เรียกว่า single-word gerunds และที่เป็นวลี คือมีถ้อยคำอื่นตามหลังกริยารูป ing ที่ทำหน้าที่นาม เรียกว่า gerund phrase เช่น
single-word gerunds         gerund phrases
traveling                                           traveling to the countryside
waiting                                              waiting for a bus
การใช้     
สิ่งที่ท่านผู้อ่านจะได้ศึกษาและเรียนรู้ต่อไปนี้ นับว่ามีความสำคัญและต้องจดจำ หรือฝึกใช้ให้บ่อย โดยผู้เขียนจะขอกล่าวเป็นกรณีไปดังนี้
1. gerunds after verbs
2. gerunds after prepositions
3. gerunds after adjectives with prepositions
4. gerunds after verbs with prepositions
5. gerunds after verbs and objects
6. gerunds after “go”
7. gerunds with passive meaning
8. gerunds after some expressions
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. gerunds after verbs
เราใช้ gerunds เมื่อวางอยู่หลังคำกริยา (verbs) ต่อไปนี้ ได้แก่
admit                 advise             appreciate          avoid
complete         consider         delay                    deny
detest                dislike             enjoy                    escape
excuse               finish               like (=enjoy)    postpone
practise             mind               miss                      begin
continue           hate                 prefer                  risk
suggest              involve           justify                 spend (time)
resist                  resume           waste(time)      quit
delay                  fancy               forgive               put off
can’t help         can’t stand     can’t resist
ตัวอย่าง
I appreciate his playing that music.
ผมชื่นชอบการเล่นบทเพลงนั้นของเขา
We prefer his writing to speaking about important matters.
เราชอบการเขียนมากกว่าการพูดของเขาเกี่ยวกับเรื่องสำคัญๆ
Do you mind opening the window?
คุณจะรังเกียจไหมครับที่จะเปิดหน้าต่างให้หน่อย
Mother doesn’t like me wearing this suit.
แม่ไม่ชอบให้ดิฉันสวมใส่ชุดนี้
หมายเหตุ มีบ่อยที่หน้า gerund มี object pronouns เช่น me, him, her, them, us, you, it หรือ possessive adjectives เข่น my, his, her, their, our, your, its เมื่อวางอยู่หลังคำกริยาดังกล่าวมา
โปรดดูตัวอย่างเพิ่มเติมจากหมายเหตุในหัวข้อนี้
(1) ใช้รูป possessive adjective + gerund
When she hears her husband’s (whistle) she accompanies it with (sing).
→When she hears his whistling she accompanies it with singing.
(2) ใช้รูป object pronoun + gerund
I remember George (take) out his cheque book but I didn’t notice him (write) it.
→I remember him taking out his cheque book but I didn’t notice him writing it.
2. gerunds after prepositions
เราใช้ gerunds เมื่อวางอยู่หลังคำบุพบท ได้แก่ for, of, on, after, before, with, without, by, from, about, at
ตัวอย่าง
Instead of celebrating at home, they went out to dinner.
แทนที่จะฉลองกันอยู่ที่บ้าน พวกเขากลับออกไปทานอาหารเย็นนอกบ้านShe made a wish before blowing out the candles.
เธออธิษฐานก่อนจะเป่าเทียนให้ดับ
He was fined for driving without lights.
เขาถูกปรับฐานขับรถโดยไม่เปิดไฟ
3. gerunds after adjectives with prepositions
เราใช้ gerunds เมื่อวางอยู่หลังคำคุณศัพท์ (adjectives) ที่มีบุพบท (prepositions) ตามหลัง ได้แก่
afraid of             good at                committed to      happy about
content with     interested in     amazed at/by      mad at/about
ashamed of       aware of              bored with/by    capable of
tired of               excited about    worried about    disappointed                                                                                                                                 in/with
fond of               glad about           guilty of                different from
opposed to       proud of              reponsible for     satisfied with
sick of                sorry about        sorry for               sure of
surprised at     upset about       be/get used to     famous for
ตัวอย่าง
Children are always happy about celebrating birthdays.
เด็กๆ มีความสุขในการฉลองวันเกิด
I am fond of swimming.
ฉันชอบว่ายน้ำ
I am tired of listening to you.
ผมเบื่อฟังคุณ
4. gerunds after verbs with prepositions.
เราใช้ gerunds กับคำกริยา (verbs) ที่มีบุพบท (prepositions) ตามหลัง ได้แก่
admit to                  believe in         count on         dream of/about
give up                    object to           thank… for     think of
adjust to                 agree with        approve of      blame…for
care about             consist of         decide on         depend on/upon
feel like                   hear about      insist on             look for
prevent…from    rely on/upon     succeed in     suspect…of
warn…about        talk about           take care of    forget about
hear of                   plan on                 forget about    look forward to
argue about         refrain from       concentrate on      discourage from
ตัวอย่าง
She thanked the man for helping her.
เธอชอบคุณผู้ชายที่ช่วยเหลือเธอ
I look forward to receiving your reply.
ผมรอคอยที่จะได้รับคำตอบของคุณ
Have you ever thought about sending flowers to her?
คุณเคยคิดว่าจะส่งดอกไม้ไปให้เธอบ้างไหม
5. gerunds after verbs and objects
เราใช้ gerunds หลังคำกริยา (verbs) ที่มักมีกรรม (objects) รองรับ ดังโครงสร้าง verb + object + gerund ได้แก่
find         hear         notice    see
watch     feel         observe     smell
ตัวอย่าง
The waiter heard a man yawning.
พนักงานเสิร์ฟได้ยินชายคนหนึ่งหาว
Did you notice them waving?
คุณสังเกตเห็นพวกเขาโบกมือหรือเปล่า
หมายเหตุ คำกริยาดังกล่าวในข้อนี้ เป็นกริยาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สึก (verbs of sensation/perception) ซึ่งสามารถตามด้วยรูป bare infinitive (หรือกริยช่อง 1 ที่ไม่มี to (ข้างหน้า) ความแตกต่างอยู่ที่ action กล่าวคือ หากหลังกริยาเหล่านี้ ใช้รูป gerund จะแสดงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น แต่ถ้าใช้ bare infinitive จะไม่เน้นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ดังนั้น ในตัวอย่างดังกล่าวข้างบน อาจจะใช้ bare infinitive ก็ได้ ดังนี้
The waiter heard a man yawn.
Did you notice them wave?
6. gerunds after “go”
เราใช้ gerund หลังกริยา go (รวม went และ gone) เมื่อตามด้วย คำกริยา (verbs) ที่แสดงความหมายเชิงกิจกรรมสันทนาการ (recreational activities) ได้แก่
boat            fish        sail         ski
bowl            hike        shop     swim
camp        hunt        sightsee     windsurf
dance         jog        skate     canoe
ตัวอย่าง
I went shopping with my husband yesterday.
ดิฉันได้ไปจับจ่ายซื้อของกับสามีของดิฉันเมื่อวานนี้
Would you like to go boating with me?
คุณอยากไปพายเรือเล่นกับผมไหม
We went sightseeing around Bangkok two days ago.
เราไปเที่ยวชมรอบกรุงเททฯ เมื่อสองวันที่ผ่านมา
7. gerunds with passive meaning
หลังคำกริยาบางคำ ตามด้วยรูป gerunds ซึ่งให้ความหมายเชิงถูกกระทำ (passive meaning) คำกริยาเหล่านี้ ได้แก่
need     want     merit     deserve
ตัวอย่าง
Your hair needs cutting.
= Your hair needs to be cut.
ผมของคุณสมควรจะได้รับการตัดได้แล้ว
My shoes want mending.
= My shoes want to be mended.
รองเท้าของผมควรจะได้รับการซ่อมได้แล้ว
His brave action deserves rewarding.
= His brave action deserves to be rewarded.
การกระทำที่กล้าหาญของเขาสมควรที่จะได้รับรางวัล
8. gerunds after some expressions
เราใช้ gerunds หลังข้อความบางอย่าง ได้แก่
It’s a waste of time/money/…
It’s no use …
It’s (not) worth …
There’s no point (in) …
have fun/a good time/trouble/difficulty/…
spend/ waste time
What about …? (ใช้เพี่อการเสนอแนะ)
How about…? (ใช้เพื่อการเสนอแนะ)
ตัวอย่าง
We had a good time watching the ice skating competition.
เราได้รับความสนุกสนานที่ได้ชมการแข่งสเก็ตน้ำแข็ง
It’s not worth reparing the machine.
มัน ไม่คุ้มค่าที่จะซ่อมเครื่องจักรดังกล่าว
It’s a waste of time watching that movie.
เสียเวลาเปล่าที่จะชมภาพยนตร์เรื่องนั้น
ต่างความหมาย
คำกริยาบางคำ เมื่อตามด้วยรูป gerunds และ infinitives จะให้ความหมายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้การจะเลือกใช้รูป gerunds หรือ infinitives ต้องอาศัยการตีความหมายเป็นสำคัญ ได้แก่
1. remember + gerunds vs remember + to-infinitives
ตัวอย่าง
I remember posting the letter.
ฉันจำได้ว่าได้ส่งจดหมายไปแล้ว
I must remember to post the letter.
ฉันจะต้องจำให้ได้ว่าจะต้องส่งจดหมาย
หมายเหตุ จากตัวอย่างที่ใช้รูป remember + gerund หมายถึง “จำได้ในสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว’’ ส่วนรูป remember + to-infinitive หมายถึง “จำไว้ว่าจะทำสิ่งนั้นๆ” แสดงว่ายัง ไม่ได้กระทำสิ่งนั้น
2. forget + gerunds VS forget + to-infinitives
ตัวอย่าง
I forgot taking the exam.
ผมลืมไปว่าได้เข้าสอบแล้ว
I forgot to take the exam yesterday.
ผมลืมเข้าสอบเมื่อวานนี้
หมายเหตุ จากตัวอย่างที่ใช้รูป forget + gerund หมายถึง “ลืมในสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว” ส่วนรูป forget + to-infmitive หมายถึง “ลืมที่จะกระทำสิ่งนั้น’’
3. regret + gerunds vs regret + to-infinitives
ตัวอย่าง
I regret saying what I said.
ผมเสียใจที่พูดในสิ่งที่พูดออกไป
I regret to say I feel ill.
ผมเสียใจที่จะกล่าวว่าผมป่วย
หมายเหตุ จากตัวอย่างที่ใช้รูป regret + gerund หมายถึง “เสียใจในสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว’’ ส่วนรูป regret + to-infinitive หมายถึง” เสียใจในสิ่งที่จะกระทำ’’ แสดงว่าไม่ได้ทำมาในอดีต
สรุป จากกรณีการใช้ที่นำมาเปรียบเทียบกันทั้งในรูปของการตามด้วย gerunds และ to-infinitives พอจะสรุปรวบยอดเพื่อให้เป็นแนวคิดในการตัดสินใจใช้คำกริยาทั้ง 3 คำ ระหว่างตามด้วย gerunds และ infinitives ได้ดังนี้
ก. ตามด้วย gerunds หมายถึง อดีต (past) คือ ได้เกิดขึ้นไปแล้ว
ข. ตามด้วย to-infinitives หมายถึง ปัจจุบัน (present) หรือ อนาคต (future) คือ ยังไม่เกิด หรือยังไม่ได้กระทำ
4. try + gerunds VS try + to-infinitives
ตัวอย่าง
I try holding my breath.
ผมทดลองกลั้นลมหายใจ
I try to hold my breath.
ผมพยายามกลั้นลมหายใจ
หมายเหตุ เมื่อใช้ try + gerund จะหมายถึง “ทดลอง’’ (experiment) เหมือนกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์แต่ถ้าใช้ try + to-infinitive จะหมายถึง “พยายาม’’ คือ พยายามที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง
5. stop + gerunds vs stop + to-infinitives
ตัวอย่าง
You must stop smoking.
คุณจะต้องหยุด (เลิก) สูบบุหรี่
He stopped his car to smoke.
เขาจอดรถเพื่อจะสูบบุหรี่
หมายเหตุ เมื่อใช้ Stop + gerund จะหมายถึง “หยุดทำในสิ่งที่กำลังทำอยู่” แต่ถ้าใช้ stop + to-infinitive จะหมายถึง “หยุด (สิ่งหนึ่ง) เพื่อจะทำอีกสิ่งหนึ่ง”
6. go on + gerunds vs go on + to-infinitives
ตัวอย่าง
Go on talking.
พูตต่อไป
We went on to discuss finance.
เราได้หันไปพูดถึงเรื่องการเงิน
หมายเหตุ เมื่อใช้ go on + gerund จะหมายถึง “ดำเนินต่อไปในสิ่งที่กำลังทำอยู่’’ แต่ถ้าใช้ go on + to-infinitive จะหมายถึง “เปลี่ยนไปทำอีกสิ่งที่ต่างไปจากสิ่งเดิม”
7. mean + gerunds vs mean + to-infinitives
ตัวอย่าง
Having a party tonight will mean working extra hours tomorrow.
การจัดงานเลี้ยงคืนนี้จะหมายถึงการทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นพรุ่งนี้
I mean to work harder next year.
ผมตั้งใจจะทำงานหนักขึ้นปีหน้า
หมายเหตุ เมื่อใช้ mean + gerund คำว่า mean = signify แปลว่า “หมายถึง” ส่วนเมื่อใช้ mean – to-infinitive คำว่า mean = intend แปลว่า “ตั้งใจ”
ที่มา:รองศาสตราจารย์ทณุ  เตียวรัตนกุล


Easy English – Lesson 17.1 การทำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ การเติม s,es,ies ตอน 1


รายการ Easy English เรียนภาษาอังกฤษ สนุก ง่าย กว่าที่คิด
playlist :
https://www.youtube.com/playlist?list…

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Easy English - Lesson 17.1  การทำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์  การเติม s,es,ies  ตอน 1

Singular Nouns and Plural Nouns


Howdy! 🙂
This is a lesson about Singular Nouns and Plural Nouns. I use this in my teaching. I am sharing my educational resources like lesson videos and worksheets to everyone.
Thank you for watching!
Please LIKE, SHARE and SUBSCRIBE to inspire me to create more content.
Visit https://www.teachandprint.com/ to get your FREE WORKSHEETS.

Singular Nouns and Plural Nouns

เติม s หรือ es ท้ายกริยา ใน Present Simple Tense ง่ายจัง


📌แก้ไข⚠️
คำว่า quiz เมื่อเติม es
จะกลายเป็น ⏩ quizzes
◀️ในคลิปพิมพ์ตกตัว z ค่ะ▶️
หลักการเติม s หรือ es ท้ายกริยา ใน Present Simple Tense
คลิปนี้แยกออกมาจาก คลิป หลักการใช้ Present Simple Tense เพื่อให้สะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเฉพาะหลักการเติม s และ es ท้ายคำกริยา โดยไม่ต้องดูคลิปเต็มยาวๆค่ะ

เติม s หรือ es ท้ายกริยา ใน Present Simple Tense ง่ายจัง

วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ป.5 เรื่อง การเติม s, es ที่คำกริยาในประโยคที่ใช้ในปัจจุบัน


สำหรับนักเรียนชั้น ป.5 ม.6 ทุกคนที่ต้องการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์
นักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบได้จาก เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของเรา
Web: https://nockacademy.com/learn/
iOS: https://apple.co/2SKdksn
Android: http://bit.ly/2REzb7w
●สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่สนใจ●
http://nockacademy.com
●สำหรับโรงเรียนใดที่สนใจ●
https://nockacademy.com/forschool/

วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ป.5 เรื่อง การเติม s, es ที่คำกริยาในประโยคที่ใช้ในปัจจุบัน

วิธีเติม s, es สำหรับคำนามและคำกริยา


Vanilla English EP.233 วิธีเติม s, es สำหรับคำนามและคำกริยา
ชอบกดไลค์ ใช่กดแชร์ และอย่าลืม subscribe กดกระดิ่งเป็นกำลังใจให้กี๋ด้วยนะค้าาาา แล้วเจอกันคลิปต่อๆไป เย้ๆ เจอกันค่าาาาา
LINE: https://lin.ee/A5RQK7z
Apple Podcast: Vanillaenglishchannel
SoundCloud: https://soundcloud.com/vanillaenglish357145867
Facebook: https://www.facebook.com/vanillaenglishchannel
Instagram: https://www.instagram.com/vanillaenglishchannel
Twitter: https://twitter.com/ChannelVanilla
Vanilla English Channel มาพร้อมกับสาระน่ารู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ เรียนอังกฤษแบบชิลๆหนุกๆ กลมกล่อมหอมหวานเหมือนวานิลลาไปกับกี๋ ผู้ใช้ภาษาอังกฤษ รับความรู้ภาษาอังกฤษ และถ่ายทอดภาษาอังกฤษมานานกว่า 20 ปี
CAMERA: PANASONIC LUMIX GH5
LENS: PANASONIC LUMIX G 1235 f2.8
EDITING PROGRAMME: Davinci Resolve \u0026 Final Cut Pro X

วิธีเติม s, es สำหรับคำนามและคำกริยา

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การเติม s es ies หลังคํากริยา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *