Skip to content
Home » [Update] | สรุปอาณาจักรฟังไจ – NATAVIGUIDES

[Update] | สรุปอาณาจักรฟังไจ – NATAVIGUIDES

สรุปอาณาจักรฟังไจ: คุณกำลังดูกระทู้

2. แผ่นกั้นตามขวาง มีรูอยู่ตรงกลาง ( simple plate with a hole in center) พบในรา พวก Ascomycetes เกิดโดยมีสารที่ต้องใช้ในการสร้างมาสะสม รอบเส้นใยนั้นแล้วค่อย ๆ แผ่เข้าจนเหลือรูตรงกลาง

เชื้อรากับสิ่งมีชีวิต

         เชื้อราไม่มีคลอโรฟิลจึงต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่น หรือซากสิ่งมีชีวิต ในการดำรงชีพ จึงจัดแบ่งการดำรงชีวิตได้หลายแบบ เช่น

         – พวกที่อาศัยซากสิ่งมีชีวิตเรียกว่า saprobe 

         – พวกที่อาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นเรียกว่าเป็น ปาราสิต (parasite)

         – พวกที่อาศัยได้ทั้งในสิ่งมีชีวิตและซากสิ่งมีชีวิตเรียกว่า facultative parasite 

         – พวกที่เจริญได้เฉพาะบนซากพืชซากสัตว์เรียกว่า obligate saprobe 

         – พวกที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการเป็นปาราสิตของพืชและสัตว์ เรียกว่า pbligate parasite

        เชื้อราต่างจากพืชชั้นสูงทั่วไป ตรงที่ต้องการอาหารที่นำไปใช้ได้ทันที เพราะสังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ราส่วนใหญ่ สร้างโปรตีนจากสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ของไนโตรเจนใช้กลูโคสเป็นแหล่งของคาร์บอนที่ดีที่สุด ส่วนแหล่งของไนโตรเจนที่ดีที่สุดได้แก่สารประกอบอินทรีย์ของไนโตรเจนแอมโมเนียไนเตรด และสร้างวิตามินสำหรับใช้ในการเจริญ   และสืบพันธุ์ด้วย อาหารสะสมจะเก็บไว้ในรูปของ  glycogen และ oil

        ราแต่ละชนิดต้องการอาหารไม่เหมือนกัน ราเขียว (Penicillium)และราดำ (Aspergillus) ใช้อาหารได้หลายชนิด แต่ราบางชนิดต้องการอาหารที่จำเพาะมาก เช่น พวก obligate parastite นอกจากต้องการสารอาหารจาก เซลล์ที่มีชีวิตแล้ว ยังเลือกสปีซี่ของ host ที่มันอาศัยด้วย

        เชื้อราส่วนใหญ่มีชีวิตได้ตั้งแต่ 0 องศา จนถึง 35 C แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญ (optimum temperature) คือ 20 -30? C
          – อุณหภูมิ 50? C เชื้อราจะเจริญน้อยลง
          – อุณหภูมิ 60? C ราทุกชนิดถูกฆ่าตายหมด
            (ใช้วิธีนี้ในการหยุดการ fermentation ของเชื้อรา)
          – อุณหภูมิ 100 ? C สปอร์ต่าง ๆ และสเคอโรเดียมถูกฆ่าตายหมด  

        การเจริญของเส้นใยของเชื้อราเจริญมาจากส่วนปลาย  (hyphal tip) ซึ่งเป็นส่วนที่ active ที่สุดของเส้นใย บริเวณที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต เรียก apical growth region มีขอบเขตประมาณ 100 ไมครอน จากส่วนปลายเข้าไป
         ในบริเวณนี้ ไม่มีแวคคูโอล ไซโตปลาสซึมส่วนใหญ่เป็น RNA  และโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอมิโน พวกอาร์จีนินไทโรซีนและฮิสติตัน ไม่พบอาหารสะสมพวกไกลโคเจน หรือพบเล็กน้อยเท่านั้น

        ในปี ค.ศ. 1968 Mc. Clure และคณะ ได้ศึกษา somatic hypha ของเชื้อราที่มี ผนังกั้นโดยศึกษาทาง cytology  และสรุปได้ว่า apical growth region มีไมโตคอนเดรียอยู่เป็นจำนวนมากตรงบริเวณ 3.0 – 7.5 ไมครอน จากส่วนปลายเข้าไป และบริเวณนี้ไม่พบนิวเคลียส แต่จะพบต่ำลงมาประมาณ 400 ไมครอน

         นอกจากนี้  ยังพบ vesicle ด้วยให้ชื่อว่า spitzenkorper  จากการศึกษาต่อมาพบว่า vesicle เกี่ยวข้องกับการสร้าง เซลเมมเบรนและผนังเซลล์ของเชื้อรา vesicle จะไปรวมตัวกับ เซลเมมเบรน บริเวณปลายของมัยซีเลียมสำหรับต้นกำเนิดของ vesicle ยังไม่ทราบชัด แต่สันนิษฐานว่ามีกำเนิดโดยการ budding มาจาก golgi apparatus ในเซลล์

       เชื้อรามีรูปร่างได้หลายแบบ มีทั้งเป็น แบบเซลเดียว (unicellular) หลายเซล (multicellular)  พวกเซลเดียว คือ พวกยีสต์ สืบพันธุ์โดยการ แตกหน่อ (budding) ส่วนพวกหลายเซลล์ คือ พวกรา รูปร่างเป็น filamentous  มีทั้งแบบเส้นใย หรือไม่มีผนังกั้น  ราบางชนิดมีรูปร่างได้ 2 แบบ เรียกว่า dimorphic fungi ถ้าเจริญเติบโต ตามพื้นดินมีรูปร่างเป็นแบบ  filamentous fungi แต่ถ้าไปเจริญเป็นปาราสิตของคนหรือสัตว์ จะเปลี่ยนรูปร่างเป็นแบบยีสต์  เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดกลาก เกลื้อน เชื้อโรคผิวหนังหลายชนิด

        การจัดหมวดหมู่ของราในปัจจุบัน นักไมคอลโลยีแต่ละคนได้จัดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่จะใช้ศึกษา เช่น  Bessey ได้ศึกษาเกี่ยวกับสัณฐานวิทยาของราจึงแบ่งเชื้อราออกเป็น 3 class คือ Phycomycetes, Ascomycetes, Basidiomycetes และ  form-class Imperfect fungi

เชื้อราที่พบในปลา

       เชื้อราที่มักพบในปลาน้ำจืดได้แก่ Saprolegnia spp., Aphanomyces spp. และ Achlya spp. เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเกิดเฉพาะบริเวณผิวด้านนอก ยกเว้นตัว Aphanomyces สามารถแทรกเส้นใยเชื้อราเข้าไปในกล้ามเนื้อ และก่อให้เกิดความรุนแรงได้จะพบเป็นแผลหลุมมักเกิดร่วมกับเชื้อแบคทีเรียและสามารถติดเชื้อราได้ง่าย ทั้งจากเส้นใยของมัน และสปอร์ที่ลอยในน้ำ มันจะลอยหาแหล่งอาหาร นั่นก็คือบาดแผลของปลา อันตรายขึ้นอยู่กับปริมาณการติดเชื้อหากเป็นบริเวณกว้างจะทำปลาเสียอิเลกโตรไลต์ และตายได้

การรักษา

      การรักษาเชื้อรานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หากปล่อยให้ลุกลามไปมากแล้ว ยาที่ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจคือ มาลาไคท์กรีน แต่ห้ามใช้ในปลาที่ใช้เป็นอาหาร เพราะเป็นสารก่อมะเร็งในคน หากจะใช้เกลือก็ได้ แต่ความเข้มข้นจะสูงมากกว่าการรักษาแบคทีเรีย มักใช้รักษาในบ่อปลา แต่ก็เพียงแค่ยับยั้งเชื้อราได้ ฟอร์มาลีนก็ใช้ได้ แต่จะไม่ค่อยได้ผลกับเชื้อราบางชนิด ซึ่งนิยมใช้ในบ่อเช่นกัน

    ปัจจุบันก็มียาตัวใหม่ออกมาเพื่อใช้กับกลุ่มนี้โดยเฉพาะ เช่น Bronopol ยูจีนอล และไทโมควิโนน เป็นต้น

  ขนาดที่ใช้

          มาลาไคท์กรีน เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด มีหลายขนาดให้เลือก แต่ที่แนะนำคือความเข้มข้นต่ำ ขนาด 0.1 ml/L แช่ทั้งวัน ทำทุก 3 วัน ทั้งหมด 3 ครั้ง (ใช้สำหรับแช่ไข่ปลาที่ติดเชื้อราได้ เปลี่ยนความเข้มข้นเป็น 1 ml/L ชานานหนึ่งชั่วโมง) จะเป็นพิษได้ในน้ำอ่อนและอุณหภูมิสูง เป็นพิษต่อพืชน้ำ หากบาดแผลไม่ใหญ่สามารถป้ายโดยตรงที่รอยแผลนั้นเลย จะดีที่สุด เตรียมยาในขนาด 100 ml/L โดยใช้ก้านสำลีชุบยาและป้ายลงที่แผล ทำทุกวัน อย่างน้อย 5 วันก็จะเริ่มเห็นผล

          เกลือ ต้องใช้มากกว่า 3 ml/L แช่ตลอดวัน เปลี่ยนน้ำบางส่วน แล้วลงเกลือใหม่ทุกวัน จนแผลเริ่มดี

          ฟอร์มาลีน ส่วนใหญ่ใช่สำหรับแช่ไข่ปลาที่ติดเชื้อ เมื่อฟักเป็นตัวแล้ว จะทำให้ลูกปลาตายได้ จะเป็นพิษเมื่อผสมกับน้ำอ่อน หรืออุณหภูมิน้ำสูง ปลาที่ไวต่อการเกิดพิษ จะผิวเริ่มซีด และอัตราหายใจผิดปกติ หากจะใช้ใช้ได้ในขนาด 1 ml/38 L แช่ 12-24 ชั่วโมง และต้องเปลี่ยนน้ำออก 30-70% แล้วเตรียมยาลงใหม่อีกครั้ง ทุกวัน จนอาการดีขึ้น

          โบรโนพอล ขนาด 15-50 ml/L แช่นาน 30-60 นาที หากแช่ไข่ปลาต้องใช้ความเข้มข้นสูง

 การรักษาเชื้อรา ต้องทำร่วมกับการรักษาโรคจากแบคทีเรีย หรือไวรัสที่เป็นสาเหตุเริ่มต้น

      การป้องกันดีกว่ารักษา เมื่อพบว่าปลามีบาดแผล ให้ผสมเกลือลงในน้ำ (อ่านเรื่องเกลือ) นอกจากจะช่วยป้องกันเรื่องอิเลกโตรไลต์ ลดความเครียดได้แล้ว ยังป้องกันเชื้อราได้ และหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำให้สะอาด ก็จะไม่ค่อยพบปัญหาเชื้อรา

 แหล่งที่มา

อนุสรณ์ ใจมุข และ เอกรินทร์ พรหมพฤกษ์.  สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่า เชื้อรา.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561. จาก https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlns132/index.html

หมอแก้ว (ผศ.น.สพ. สมโภชน์ วีระกุล). โรคเชื้อราในปลาสวยงาม. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561. จาก www.kwuncumpet.com/โรคเชื้อราในปลาสวยงาม/

ชนกันต์ จิตมนัส. คู่มือปฏิบัติการวิชาโรคปลา (Fish disease laboratory manual). มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ชนกันต์ จิตมนัส. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ชป 352 โรคปลา FB352 (Fish Diseases).  พิมพ์ครั้งที่ 3.  2553.

 


Return to contents

[Update] เรียนชีววิทยา กับครูกศนต์ ภารยาท | สรุปอาณาจักรฟังไจ – NATAVIGUIDES

What is Photosynthesis? Photosynthesis is the process by which plants, some bacteria, and some protistans use the energy from sunligh…


สรุปอาณาจักรพืช (คำอธิบายประกอบการใช้สรุป) #dek64 #dek65 สรุปอาณาจักรพืชในหน้าเดียว : bibookstory


คำอธิบายประกอบการใช้สรุป เพื่อให้เข้าใจกับการเรียบเรียง
คำเตือน ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนแบบละเอียด เพราะคลิปนี้เป็นเพียงคำอธิบายประกอบสรุปเท่านั้น
สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่
FB page : biobookstory
IG : biobookstory
อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์ ติดตามกันนะครับ
สามารถคอมเมนต์มาได้ว่าอยากเรียนหรืออยากได้สรุปเรื่องอะไร
หากผิดพลาดก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ
ิbiobookstory

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

สรุปอาณาจักรพืช (คำอธิบายประกอบการใช้สรุป)  #dek64 #dek65 สรุปอาณาจักรพืชในหน้าเดียว : bibookstory

ความหลากหลายของอาณาจักรพืช TAPE1


ดาวน์โหลดเอกสาร
https://drive.google.com/file/d/1vcrUlTQwvMj0pVmMZWiPx4Wo5cUvi5N/view?usp=sharing

ความหลากหลายของอาณาจักรพืช TAPE1

อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)


วิดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานคอมพิวเตอร์ ประเภท พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โดยกลุ่มนักเรียนโรงเรียนศรีสุขวิทยา
หากท่านสนใจที่จะศึกษาสามารถเข้าไปได้ที่ https://sites.google.com/site/kingdombio1/home

อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)

วิชาชีววิทยา -อาณาจักรฟังไจ แก้ไข


วิชาชีววิทยา อาณาจักรฟังไจ แก้ไข

สื่อการสอนภายในโครงการจัดทำสื่อการสอน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โดย ความร่วมมือระว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สื่อการสอนชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาของประเทศ ห้ามมิให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยเด็ดขาด หากผู้ใดฝ่าฝืนจะดำเนินการทางกฎหมายโดยทันที

ติดตามได้ที่
website http://www.scicoursewarechula.com/
facebook https://www.facebook.com/pages/SciCoursewareThai/179595712245778?fref=ts

วิชาชีววิทยา -อาณาจักรฟังไจ แก้ไข

Kingdom Fungi อาณาจักรฟังไจ


เนื้อหาบรรยายประกอบ Slide เรื่อง Kingdom fungi สำหรับทบทวน (ไม่ใช่สรุปเนื้อหานะครับ)

Kingdom Fungi อาณาจักรฟังไจ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ สรุปอาณาจักรฟังไจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *