Skip to content
Home » [Update] วิถีชีวิตที่โดดเด่นของชาวอเมริกัน – Thai Women Living Abroad | วัฒนธรรม อเมริกัน – NATAVIGUIDES

[Update] วิถีชีวิตที่โดดเด่นของชาวอเมริกัน – Thai Women Living Abroad | วัฒนธรรม อเมริกัน – NATAVIGUIDES

วัฒนธรรม อเมริกัน: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ผมอยากจะแนะนำให้คุณรู้จักกับคุณ DiOrn Duprey อีกครั้งหนึ่งครับ ครั้งนี้คุณ DiOrn จะมาเล่าถึงประสบการณ์ของเธอเกี่ยวกับการพบเจอวัฒนธรรมที่แตกต่างระหว่างคนไทยกับคนสหรัฐอเมริกาครับ

ผมอยากจะแนะนำให้คุณรู้จักกับ คุณ DiOrn Duprey หรือ สิบตำรวจเอกหญิงวิชุอร ( แก้วฮ่องคำ ) ดูเพรย์/ Wichuorn Duprey – ชื่อเล่น ดิอร

ย้ายมาอยู่ประเทศอเมริกา เมื่อปี 2003

เมือง: เวอร์นอน – Vernon

รัฐ: คอนเน็กติกัต  – Connecticut

เฟสบุคเพจ: DiOr-n Thai Living in USA

ภาพถ่ายจาก คุณ DiOrn Duprey

ตั้งแต่ที่ คุณ DiOn ย้ายจากประเทศไทยมาอยู่ที่ประเทศอเมริกาครั้งแรก มีวัฒนธรรมหรือการปฏิบัติอย่างใดของชาวอเมริกาบ้างครับที่ คุณ DiOn รู้สึกประหลาดใจ ( cultural shock ) ช่วยบอกผมมาอย่างน้อยสัก3 ข้อ

เนื่องจากดิฉันคิดว่าอเมริกาต้องเติมไปด้วยป่าคอนกรีต มีห้างสรรพสินค้ามากมาย ประชาชนแต่งตัวสวยหรูเหมือนในหนังในนิยาย โรงแรมต้องประดับประดับประดางามเลิศ เปล่าค่ะรัฐที่ดิฉันอยู่ ตื่นเช้ามาได้ยินเสียงนกเสียงกาจนผวาในตอนเช้าของวันแรกของชีวิตในอเมริกา หน้าบ้านหลังบ้านเต็มไปด้วยป่าค่ะ มีกระรอก มีกระต่าย มีกวางป่าออกมากินหญ้าบริเวณหน้าบ้านของดิฉันด้วยในบางครั้ง ดิฉันตกใจถามสามีชาวอเมริกันของดิฉันว่า “ เธอกวางเห็นปะ ? “ สามีดิฉันบอกว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะกฎหมายคุ้มครองพวกมัน คุณจะฆ่ามันได้แค่เดือนเดียวในเวลา 1 ปี หรือที่คนอเมริกันเรียกมันว่า “ hunting season “ ซึ่งคุณต้องมีใบอนุญาตล่าสัตว์เท่านั้น และคุณฆ่าได้แค่ 1 หรือ 2 ตัวเท่านั้น รายละเอียดปลีกย่อยในการล่าอีกเพรียบ ดิฉันทึ่งในกฎหมายของเขามากๆ และในเมืองที่ดิฉันอยู่ก็ไม่ได้อยู่นอกเมืองอะไรเลย แต่เต็มไปด้วยป่าที่เขียวชอุ่มร่มรื่นกว่าบ้านเกิดเมืองนอนดิฉันเสียอีก แถมยังมีสัตว์นาๆ ชนิด เช่นกระต่าย ไก่งวง นกกานาๆ ชนิด มันอุดมสมบูรณ์เกินความคาดหมายของดิฉัน แต่หลังจากนั้นดิฉันก็เกิดความรักใคร่ในเมืองนี้ขึ้นมาทันใด มันไม่วุ่นวายมันสงบปลอดภัย ไม่ไกลศูนย์การค้าหรือยานธุรกิจที่พอเหมาะ สรุป ชอบๆ ค่ะ

ที่จอดรถ ห้องน้ำ ที่นั่งในรถโดยสาร โต๊ะอาหาร ตามโรงแรม โรงหนัง โรงพยาบาล และอื่นๆ ค่ะ ตีตราว่า “ handicaps “ หรือที่สำหรับคนพิการเท่านั้น โอ้มายบุดดา มันช่างประทับตราลงไปตรึงในดวงใจดิฉันทันที นี้และชาติที่เจริญแล้วเขามองความเป็นมนุษย์จากทุกความละเอียดอ่อนของทุกรูปแบบของความเป็นมนุษย์ เขาดูแลผู้อ่อนแอผู้ด้อยโอกาส หากเป็นคนไทย “ คนพิการจะดูเป็นคนพิการไปตลอดชีวิตของเขา “ แถมจะแยกพวกเขาออกจากสังคมโดยปริยาย แต่ในอเมริกากลับให้สิทธิ์พวกเขาก่อน ให้สิทธิ์พวกเขาทำงาน จะเห็นได้ตามชุปเปอร์มาเก็ต หรือตามร้านอาหารต่างๆ แม้แต่ในโรงพยาบาลที่ดิฉันทำอยู่ ตัวอย่าง: หมอวิสัญญีตาเข ผู้ช่วยหมอก็ตาเข แต่พวกเขาทำงานเก่งกว่าคนปรกติเป็นไหนๆ ดิฉันทึ่งและประทับใจไปจนวันตายในโอกาสที่เขามอบให้กับผู้ที่เกิดมาอาการไม่ปรกติ ซึ่งมันช่างเสมอภาคของความเป็นมนุษย์สะเหลือเกิน ดิฉันนับถือและเลื่อมใสในกฎหมายของสิทธิ์มนุษย์ชนในความเสมอภาคตัวนี้เป็นอย่างสูง ดิฉันปรารถนาที่จะเห็นมันเกิดมันในทุกๆ พื้นแผ่นดินบนโลกใบนี้ สรุป ประทับใจไปจนลมหายใจสุดท้ายเลยทีเดียว และอีกอย่างแม้แต่อายุจะเลย 62ปีไปแล้ว หากเรามีแรงที่จะทำงานเราก็ยังทำต่อไปได้ (ตามรูป)

งานปาร์ตี้ อันนี้พี่ไทยต้องผิดหวังแน่นอน เพราะทุกปาร์ตี้ที่มีในอเมริกาในเขตที่ดิฉันอยู่ จะไม่มีการเปิดเสียงเพลงดังกระหึ่มไปสามบ้านแปดบ้านอย่างที่คนไทยชอบทำกัน ไม่มีคนเมาพาลหาเรื่องชกต่อยกันแบบคนไทยชอบทำกัน ไม่มีมหอรสพมาบรรเลงเพลงในยาราตรีอย่างพี่ไทย ในงานปาร์ตี้ที่ฝรั่งชอบทำกันคือ “ cookout “ ต่างคนต่างนำอาหารที่ตนมีไปร่วมกัน หรือ อาจเรียกอีกอย่างว่า “potluck “ ส่วนเจ้าภาพอาจมีเครื่องดื่ม เช่น โซดาต่างๆ หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อ่อนๆ ผสมน้ำผลไม้ และเบอร์เกอร์ ฮอทดอกตามประเพณี หากใครอยากดื่มเบียร์ก็ต้องถือไปเอง มันน่ารักตรงนี้ค่ะ ดิฉันอยากให้ประเพณีไทยเอาอย่าง เพราะมันประหยัด มันไม่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำดี ผู้คนก็มีระเบียบในการดื่มกัน (ตามรูป)

แต่ในทางกลับกันหากคนไทยเอาปลาทั้งตัวมีหัวมีกระดูกไปเผ่าในงานปาร์ตี้ของฝรั่งเช่นนี้ มีหวังคนอเมริกันต้องร้องกรี๊ดไปตามๆ กัน เพราะเขารับไม่ได้ พี่กันกินเนื้อปลาที่ไม่มีกระดูกไม่มีหัว คนส่วนน้อยที่ชอบกินปลาว่าไปแล้ว โดยเฉพาะที่ทำงานดิฉันหากดิฉันนำปลาไปทานที่นั้น ดิฉันจะโดนเพื่อนร่วมงานพูดว่า “ oh gosh , I feel like I’m sitting next to an ocean “ พระเจ้าฉันรู้สึกว่าฉันนั่งอยู่ริมทะเล เพราะมันได้กลิ่นปลานั้นเอง คนอเมริกันบางส่วนไม่รู้แม้แต่วิธีชำแหละเนื้อปลากินเอง หรือแม้แต่ปลอกผลไม้ต่างๆ กินเองเสียด้วยซ้ำ อันนี้ก็ยอมรับในความเป็นอเมริกันของเขา

งานศพ ช่างเป็นอะไรที่สวยงามและแตกต่างจากของประเพณีไทยอย่างสิ้นเชิง ในวันเปิดศพให้ญาติดูเป็นคืนสุดท้ายหรือฝรั่งเรียกว่า a wake ก่อนเผ่าหรือฝังนั้น เขาจะตกแต่งศพให้ดูเหมือนคนนอนหลับ ประดับปะดาด้วยช่อดอกไม้ต่างๆ นาน โดยเฉพาะดอกกุหลาบหลากสีสันสวยงาม โลงศพก็ตกแต่งอย่างสวยงาม เห็นแล้วไม่น่ากลัวแบบงานศพของไทยๆ สามีภรรยาบุตรหลานก็เข้าไปกราบศพครั้งสุดท้ายก็จับต้องศพได้เป็นการบอกลา

ไม่ต้องมาเลี้ยงอาหารแขกเหรื่ออย่างเอิกเกริก 5วัน 7 วันแบบบ้านเรา ไม่มีการเปิดธรณีกรรแสงเสริมสร้างความโศกเศร้าเกินความจำเป็นเหมือนกับบ้านเรา ศพก็มีที่เก็บต่างหาก เรียกว่า funeral home แต่ก็ต้องจ่ายเงินท$6,000 ให้กับสถานที่จัดงาน แขกเหรื่อก็มีแต่ญาติสนิทมิตรสหาย แต่ก็มีการส่งช่อดอกไม้เช่นกันกับบ้านเรา

หลังทำการเผ่าศพทางญาติก็ไปรับกระดูกมาเก็บไว้ที่บ้าน เพื่อรอสามีหรือภรรยาตายตามไปแล้วนำไปฝังไว้ในที่เดียวกัน มันช่างเหมือนนิยายรักเหลือเกิน ซึ่งที่ฝังกระดูกเขาก็ไปซื้อจากป่าช้าของเมืองที่เราชอบ หรือฝรั่งเรียก cemetery หรือ สุสานนั้นเอง

และที่มากไปกว่านั้น มีสุสานในเมืองที่ล้อมรอบด้วยบ้านเรือนของผู้คนเต็มไปหมด ป่าช้าในเมืองนอกมันสงบดิฉันเลยไปจอดรถสงบสติอารมณ์ประจำ ในเทศกาลต่างๆเช่น วันทหารผ่านศึกก็จะมีคนเดินขบวนเพื่อเป็นเกียรติและละลึกถึงเหล่าทหารกล้า ตลอดมีธงชาติอเมริกันขนาเล็กๆ ปักตามหลุมฝังศพสีสันสวยงามไปหมด ดิฉันทึ่งมากจนอยากเคยจะไปสมัครเป็นทหารอเมริกันอยู่พักหนึ่ง แต่สงสารแม่ท่านบอกว่า “ ทำไมอยากสละชีพก่อนอายุไขเพื่อชาติของผู้อื่นล่ะ “ และเกิดความห่วงใยครอบครัวที่ไทยเลยกลับใจ

หากผู้ตายเคยรับราชการทหาร และผ่านการไปรบตามสงครามต่างๆ จะได้รับเกียรติจากทางรายการเป็นพิเศษ โดยมีการส่งทหารแต่งกายในเครื่องแบบ ออกมายืนเรียงแถวแล้วยิ่งปืนยาวไปในทิศทางเดียวกัน ก่อนนำเอาศพลงฝังใต้แผ่นดิน พร้อมมอบธงชาติของอเมริกันที่พับเป็น 3 เหลี่ยมอย่างพิถีพิถันให้กับภริยาไว้เป็นเกียรติต่อไป (ตามรูป) 

ประเพณีการแต่ง ในอเมริกาช่างเป็นประเพณีที่ง่าย และประหยัด กล่าวคือ
ฝ่ายชายหญิงตกลงปลงใจจะเข้าวิวาห์ ฝ่ายชายก็หาทางเซอร์ไพรส์สาวเจ้าด้วยวิธีต่างๆ แล้วแต่ใครคิดใครชอบ เหมือนในหนังในละครของชาวฮอลลีวูดนั่นแหละ แต่ที่แน่ๆ ฝ่ายชายต้องคลุกเข่าข้างหนึ่งแล้วเอ่ยขึ้นว่า “ will you marry me? “ คุณจะแต่งานกับผมไม? ฝ่ายเจ้าสาวก็ตอบ “ I will “ ค่ะฉันจะแต่งงานกับคุณ

และก็กำหนดสถานที่ตามโบสถ์เพื่อทำพิธีทางศาสนา มีเจ้าบ่าวเจ้าสาว มีเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวแล้วแต่กำลังทรัพย์ ยืนเป็นแถวโดย เจ้าสาว เพื่อเจ้าสาวที่เป็นคนถือแหวนแต่งงานจะยืนติดเจ้าสาว และคนต่อๆ ไป ฝ่ายเจ้าบ่าวก็เหมือนกัน (ตามรูป) 

ก่อนทำพิธีฝ่ายชายจะไม่เห็นชุดเจ้าสาว เพราะถือว่าไม่เป็นสิริมงคล จนกว่าเจ้าสาวกับพ่อเดินเกาะแขนกันผ่านทางเดินไปยังตรงกลางที่ใช้จัดพิธี ตามที่เราเห็นได้หนังนั้นแหละ หลังจากเสร็จพิธี ก็จะไปร่วมรับประทานอาหารที่เจ้าภาพจัดไว้ให้ บางท่านก็จัดตามร้านอาหารใหญ่ๆ ที่เขาจัดงานแต่งงานเป็นอาชีพ

ที่สำคัญส่วนใหญ่ไม่บริการเครื่องดื่ม แต่แขกจะต้องนั่งตามโต๊ะที่มีชื่อของตัวเองเท่านั้น เพราะอาหารจะถูกเตรียมไว้ตามบัตรเชิญที่เราส่งกลับไปยังเจ้าภาพ เพื่อตอบรับว่าเราจะไปร่วมงาน อาหารก็มีปลา เนื้อ สาลัด แบบง่ายๆ หากบัตรเชิญระบุแค่หนึ่งท่าน ท่านต้องไปแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น

หลังจากรับประทานอาหาร เจ้าสาวจะออกไปเต้นรำกับพ่อเป็นการเปิดฟอร์ และต่อด้วยญาติ และเจ้าบ่าวเจ้าสาวเต้นรำกัน เห็นแล้วก็มีความสุขไปกับเขา

ตอนนี้คุณอยู่ ประเทศอเมริกาสักระยะแล้ว และเมื่อคุณได้กลับไปประเทศไทยคุณรู้สึกว่ามีบางวัฒนธรรมของไทยที่ทำให้คุณรู้สึกประหลาดใจบ้างไหมครับ มีอะไรในประเทศไทยที่คุณรู้สึกว่ามันเปลี่ยนไปและมันแปลกไปกว่าที่เคย อะไรที่คุณชอบแบบที่คนอเมริกัน ทำมากว่าแบบที่คนไทยทำ ช่วยยกตัวอย่างมาสัก 3 ข้อครับ

ความมีระเบียบวินัยของคนอเมริกันมันประทับใจดิฉันมาก เพราะคำว่า “ first come first serve “ ของคนอเมริกันมันดูศักดิ์สิทธิ์ดี แม้แต่การขับรถยนต์ก็แทบจะไม่มีใครขับรถปาดหน้าใคร ( มีแต่น้อยมาก ) เวลารถติดไฟแดงแล้วเปลี่ยนเป็นไฟเขียว คันหลังก็แทบจะไม่บีบแตรไล่ แต่ก็มีแต่น้อยมาก ตรงนี้ประทับใจดิฉันมาก แต่ในเมืองใหญ่ๆ อย่างนิวยอร์กก็คล้ายๆกับบ้านเรา บีบแตรกันสนั่นเลย

โอกาสในการเลือกที่เรียนที่จะทำในอเมริกา ในอเมริกาอายุดูเหมือนจะไม่ใช่ตัวกำหนดเหมือนประเทศไทย ประเทศไทยหากใครเกิน 30 ปี ดูเหมือนปัญหาใหญ่ในการหางานทำ ในการที่จะทำในงานในวงราชการ ในอเมริกาก็มีแต่มันก็สมเหตุสมผล

การซื้อขายไม่มีการเอารัดเอาเปรียบเหมือนคนไทย อยู่ในอเมริกาสิ้นค่าราคาเดียวกันหมด ไม่ว่าลูกค้าจะเป็น ไทย อินเดีย ญี่ปุ่น หรือ ฝรั่ง ไม่มีการขึ้นราคาตามเชื้อชาติแบบคนไทยที่เห็นฝรั่ง คนไทยจะเอาเปรียบฝรั่งคิดว่าเขารวย ฉวยโอกาสได้เป็นฉวย ดิฉันรู้สึกมันไม่ยุติธรรมกับมนุษย์โลกด้วยกันค่ะ หากเราทำกับฝรั่งคนหนึ่งเขาก็จะพูดปากต่อปาก เป็นการเสื่อมเสียชื่อเสียงของคนไทยไปโดยปริยาย เพราะสมัยนี้เป็นสมัยไวไฟ WiFi ความเร็วสูงมันเข้าถึงกันทั่วโลกทันทีที่มีการโพสต์ออกไป ฉะนั้นจงปฏิบัติตนต่อทุกคนเสมอภาคกันอย่างคนอเมริกันเขาทำกัน เพราะอเมริกาเป็นศูนย์ร่วมของมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์จากทั่วมุมโลก เขายังพัฒนาประชากรที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ น่าคิดใช่ไหมค่ะ?

การซื้อขายต่างๆ มีเวลากำหนดในการส่งคืนหรือแลกเปลี่ยน ไม่ชอบส่งคืนตามเงื่อนไข แต่คนไทยในตลาดนัดเล็กๆ ยังไม่มีระบบรับคืนหรือแลกเปลี่ยน ซื้อแล้วเดินก่อนจากร้านไป เป็นอันว่าจบธุรกิจต่อกัน อันนี้แตกต่างมากมาย

การรับปริญญบัตรของการศึกษา ก็แล้วแต่สถาบันจะกำหนดตามฤดูกาล ตอนดิฉันรับปริญญาในสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในคอนเนกติกัตนี้แหละ ดิฉันไม่ต้องไปเดินซ้อมรับปริญญาอะไร แค่รับเสื้อครุยใส่ปิดเสื้อผ้าด้านในให้รู้ว่าอยู่คณะไหนเท่านั้นเอง นักเรียนบางคนก็ใส่แว่นกันแดด รองเท้าแตะ หรือรองเท้าสนสูงทุกสไตล์ตามใจฉัน ดิฉันดูสุภาพเกินไปในวันนั้นเพราะติดนิสัยของไทย ว่างานสำคัญเราต้องให้ความสำคัญ

พอไปถึงหอประชุม อาจารย์ประจำคณะก็มาอธิบายวิธีการรับปริญญบัตรให้ทราบทั่วกัน และให้หัวหน้าชั้นเรียนถือธงประจำคณะเดินออกไปยังสนามหญ้าของ สถาบัน ที่จัดเก้าอี้ไว้ให้เป็นคณะของใครของมัน โดยมีที่ปักธงประจำคณะไว้ที่ต้นแถว แล้วขั้นถึงเวลาอาจารย์จะออกไปขานชื่อนักเรียนตามอักษร A-Z แล้วนักเรียนก็ออกเดินตามพรมสีแดงที่ปูไว้บนสนามหญ้านั้นแหละ และจะมีอาจารย์แต่งชุดรับปริญญาหลากสีสันและสไตล์ ตามสถาบันของท่านที่จบมา มารอจับมือ แล้วกล่าวว่า “ congratulations “ ยินดีด้วยนะคะ แล้วเดินไปรับปริญญบัตรจากผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน ท่านก็กล่าวว่า “ congratulations “ อีกดิฉันก็ยิ้มหน้าบานกล่าวกลับไปว่า “ thank you “ แล้วจะมีรูปเท้าให้ยืนถ่ายรูปโดยมีธงชาติอเมริกันเป็นแบคกราวนด์ อันสง่างามตามรูปด้านล่างนั้น

ในขณะที่อาจารย์ประจำคณะได้ขานชื่อให้เราออกไปรับใบประกาศนียบัตรนั้น ทางครอบครัวเพื่อนฝูงที่นำเก้าอี้มานั่งข้างๆ ขอบสนามหญ้าที่นักศึกษานั่งรอรับใบประกาศนียบัตร ก็ส่งเสียงเชียร์โห่ร้องบ้าง เสียงตะโกนเรียกชื่อนักศึกษาคนนั้นดังก้องไปทั่วสนามแบบสนุกสนานปานเชียร์บอลล์โลกก็ไม่ปาน บ้างก็เป่าปากปีดๆๆ เหมือนกับงานคอนเสิร์ตก็ว่าได้ ส่วนดิฉันไม่มีใครมากมายแค่เพื่อนสนิท 2 คน สามีพ่อแม่สามี และตากล้องสามีของเพื่อนสนิทเท่านั้นเอง

ส่วนบรรยากาศรอบข้างหลังจากรับใบประกาศนียบัตรแล้วกลับไปนั่งที่เดิมแล้วนักศึกษาก็ โยนหมวกที่มากับเสื้อครุยขึ้นบนฟ้า พร้อมโห่ร้องว่า “ yes! I did it. ฉันทำได้ ฉันทำเสร็จนั้นเอง แล้วทางฝ่ายประกาศก็ประกาศการปิดพิธีโดยให้ทุกคนดึงภู่ที่อยู่บนหมวกสีเหลืองที่แสดงว่าเป็นนักเรียนเรียนดีตามที่ดิฉันใส่บนหมวกและคอนั้น สีฟ้าคือนักเรียนทั่วไปมาไว้ด้านซ้ายซึ่งหมายความว่า เราจบหลักสูตรแล้ว

หลังจากนั้นนักศึกษาก็เดินออกไปทางเดิม ซึ่งมีคณาจารย์ยืนไปแถวเพื่อสั่งลาและแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่โดยการจับมือ อาจารย์ที่สอน ESL ( English as a Second Language) หรือ อาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษสำหรับคนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 ก็แสดงความชื่นชมกับดิฉันอย่างออกหน้าออกตา ว่าดิฉันเดินทางมาไกลเกินคาด เพราะท่านรู้ว่าดิฉันได้รับเข้าทำงานในแผนกผ่าตัดหัวใจในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐ ก่อนวันเรียนจบตั้ง 2 เดือน และท่านยังเชิญดิฉันไปกล่าวให้กำลังใจสำหรับนักศึกษาใหม่จากนาๆ ประเทศอีกด้วย ซึ่งมันเป็นสิ่งใหม่ที่ประทับใจแบบกันเอง แม้จะเป็นพิธีที่สำคัญก็ตามก็ยังแซกไว้ชึ่งความอบอุ่นและสนุกสนาน ต่างกับพิธีรับประกาศนียบัตรของไทยอย่างเห็นได้ชัด

เมื่อคุณมาถึงประเทศอเมริกา ใหม่ๆคุณรู้สึกอย่างไรกับอาหารของชาวอเมริกาเมนูไหนที่คุณชอบและเมนูไหนที่คุณไม่ชอบ name รู้สึกว่าเมนูไหนแปลกอย่างที่ คุณ DiOn ไม่เคยเจอมาก่อน

ดิฉันคิดว่าอาหารอเมริกันส่วนใหญ่จะจานใหญ่มาก จึงไม่แปลกที่คนอเมริกันตัวใหญ่ ดิฉันไม่ค่อยกินอาหารอเมริกันมากนัก แต่ดิฉันจะเลือกไปทานอาหารทะเลมากกว่า โดยเฉพาะ king crab legs และ lobster แต่ที่แปลก ฝรั่งกินอาหารซีฟู้ดกับ warm butter ดิฉันต้องทำน้ำจิ้มเผ็ดๆ ไปทานเองค่ะ แต่ที่ดิฉันชอบมากๆ คือ ร้านฝรั่งมักจะมีขนมปังชนิดต่างๆ กับ cream cheese มาให้ทานก่อน appetizer อืม…ชอบมากๆๆ ค่ะ

แต่หากดิฉันไปงานเลี้ยงของเพื่อนฝรั่ง ดูเหมือนดิฉันไม่มีทางเลือกดิฉันจะเลือกทาน grill salmon salad หรือ grill salmon with steam broccoli หรือ pizza บ้าง แต่ที่ดิฉันชอบจริงๆ คือ breakfast ดิฉันชอบ egg bacon with whole wheat bread

และไข่เจียวอีกอย่างที่เจียวแตกต่างจากของไทยอย่างชิ้นเชิง เพราะของฝรั่งใช้แบบ cooking oil sprays เวลาทอดจะไม่มีน้ำมันท่วมแบบไข่เจียวของไทย แต่รสชาติก็ต่างกันด้วย เนื่องจากดิฉันเป็นคนไทยสิ่งที่ดิฉันรู้สึกขาดหายจริงๆ คือ อาหารรสชาติไทยดั้งเดิม สิ่งนี้คือสิ่งที่ไม่สามารถหาอย่างอื่นมาทดแทนกันได้ โดยเฉพาะส้มตำปูปลาร้า ย่ำรสชาติไทยๆ น้ำพริกชนิดต่างๆ ซีฟู้ดรสชาติเด็ดๆ ของไทยเรามันเรียกร้องให้ดิฉันกลับไปไทยตลอดเวลา

และที่แปลกอีกอย่างคือ salad กลับแพงกว่าเบอร์ เพราะดิฉันชอบกิน salad ตามที่ดิฉันเคยกล่าวเสมอๆ ว่า ฝรั่งก็หาเช้ากินค่ำเหมือนกับคนชาติอื่นๆ จึงไม่แปลกที่ฝรั่งบางคนตัวสูงใหญ่ หรือคนไทยเรียนว่า “ อ้วน “ นั้นเอง เพราะ salad แพงไปเลยต้องจำใจกินเบอร์จนตัวใหญ่โตกันนั้นเอง

ก่อนที่คุณจะย้ายมาอยู่ประเทศอเมริกาคุณเคยคิดฝันว่า ประเทศอเมริกา หรือดินแดนของพวกฝรั่งเป็นอย่างไร เคยคิดไหมครับว่าดินแดนของพวกฝรั่งนั้นทางเดินโรยด้วยทองคำและถ้าได้อยู่ที่นั่นจะทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม และพอคุณได้มาอยู่มาใช้ชีวิตจริงๆ สิ่งที่คุณเคยคิดฝันไว้นั้นมันเป็นอย่างที่คิดไว้ไหมครับ ช่วยยกตัวอย่างมาสัก 3 สิ่งว่าอะไรที่คุณคิดถึงมากที่สุดเกี่ยวกับประเทศไทย และช่วยยกตัวอย่างมาสัก 3 สิ่งคุณคิดว่าคุณไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้เลยถ้าขาด 3 สิ่งนี้จากทางประเทศอเมริกา

ดิฉันเคยฝันวันกลางวันไว้ล้านแปดนาๆ ประการ ว่าชีวิตใหม่ในดินแดนอันแสนจะกว้างใหญ่และไร้ขีดจำกัดแห่งเสรีภาพและโอกาสอย่างอเมริกา คงคิดเงินได้เงินคิดทองได้ทองคิดเพชรได้เพชร หัวเด็ดตีนขาดจะไม่กลับไปตายรัง

แต่พอมาอยู่จริงๆ เรียนรู้ชีวิตของคนอเมริกันจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่ฝันเอาไว้ คนอเมริกันทำงานหนักเพื่อแลกกับความเป็นอยู่ของชีวิตในแต่ละวัน ดิฉันเห็นสามีชาวอเมริกันของดิฉันทำงานหนักมาก เพียงเพื่อจะให้ภรรยาและครอบครัวของภรรยาที่ประเทศไทยได้มีอยู่มีกินอย่างอิ่มปากอิ่มท้อง แม้แต่ในเวลาที่พายุหิมะลงอย่างแสนสาหัส สามีดิฉันก็ต้องออกไปทำงาน ดิฉันทนเห็นความลำบากของสามีไม่ได้จึงออกไปทำงานเป็นเด็กล้างจานในร้านอาหารไทย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของสามีในการส่งเงินกลับไทย

สิ่งที่ดิฉันคิดถึงเมืองไทยคือ:

อากาศหนาวมากๆ หายใจเป็นควันเลย แต่ก็ต้องออกไปทำงาน อดคิดถึงเมืองไทยไม่ได้เพราะอากาศร้อนทั้งปี และมีคนเดินไปเดินมาตามท้องถนนหนทาง ช่างต่างกับอเมริกาค่ำมาเห็นแต่แสงจากโคมไฟสลัวๆ สองสามดวงในบ้าน มองๆ ไปเกิดความเศร้าใจเล็ก ๆ เพราะเมืองไทยไปไหนๆ เจอแต่รอยยิ้มและเสียงทักทายแบบกันเอง แม้ในยามค่ำคืนก็มีแสงนีออนส่องสว่างจ้าไปทั่วบ้าน ดูแล้วอบอุ่นกว่าเยอะ

อาหารการกิน เวลาทานข้าวฝรั่งเขาทานอาหารจานเดียวสะมากกว่าเขาอยู่ง่ายกินง่าย เขากินอาหารสำเร็จรูปสะมากกว่า ซึ่งหากไปตามชุปเปอร์มาเก็ตจะเห็นอาหารแช่แข็ง ( frozen ) เป็นแถบเลย อาหารสดๆ แบบบ้านเราหายาก อันนี้คิดถึงบ้านทุกทีที่ไปหาซื้ออาหาร เวลาจะนำอาหารมาทานก็ต้องใช้ไมโครเวฟอุ่นสะส่วนใหญ่ รสชาติไม่ได้เรื่องเลย เวลาไปซื้ออาหารเจออะไรสดๆ เป็นต้องคว้าไว้ก่อน กินไม่กินอีกเรื่องหนึ่ง

อาหารไทยๆ ที่มีขายตามร้านอาหารไทยต่างๆ ในอเมริกาทางเหนือในรัฐเล็กๆ อย่างที่ดิฉันอยู่ แทบจะหารสชาติแบบไทยๆ ได้ไม่ เพราะส่วนใหญ่ถูกดัดแปลงรสชาติให้ถูกปากชาวต่างชาติไปแล้ว ส่วนผสมในการทำอาหารก็แทบจะจำกันไม่ได้ว่ามันคืออะไร อย่าแปลกใจหากคุณกินผัดไทยในอเมริกาพาให้อยากเททิ้งไป แต่หากกินๆ ไปก็จะชินไปเอง

สิ่งที่ดิฉันหลงรักในอเมริกา

ความเป็นระบบระเบียบของประชาชนอเมริกัน ตรงนี้ยอมรับว่าประชาชนของเขาเคารพกฎระเบียบแบบแผนอย่างดีเยี่ยม เช่น การขับรถน้อยนักน้อยหนาจะมีคนขับรถปาดหน้า หรือบีบแตร์ใส่กัน การเข้าแถวซื้ออาหาร หรือรอรับบริการต่างๆ ล้วนเป็นระเบียบ การทิ้งขยะก็มีระเบียบเรียบร้อย การใช้สิทธิคนพิการก่อน อะไรเหล่านี้ทำให้ดิฉันลงรักอเมริกาเข้าเต็มเปา

โอกาสทางการศึกษาและการเลือกที่จะทำงาน ยอมรับว่าเขาเปิดโอกาสให้แบบไร้ขีดจำกัด ขอให้ทำตามระเบียบข้อกำหนดของเขา เราจะเป็นใครมาจากขั้วโลกไหนหรือเรียนสาขาอะไรมา ก็มาเริ่มต้นใหม่ได้ในอเมริกา ขอให้มีใจที่จะศึกษาเล่าเรียน เราจะเลือกเป็นได้แม้แต่คนล้างห้องน้ำจนถึงนักสำรวจดวงดาว ตัวอย่าง ดิฉันเคยจบสาขาทางเกษตรกรรม เคยรับราชการตำรวจในประเทศไทย พออยู่ในอเมริกา ก็ศึกษาเล่าเรียนตามขั้นตอนของวิทยาลัยใกล้บ้าน จนกลายมาเป็นผู้ช่วยหมอผ่าตัดหัวใจ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความขยันความอดทนต้องมีเป็นทุน เพราะการเรียนข้ามภาษามันไม่ได้ง่ายแน่นอน แต่หากเราพยายามดิฉันเชื่อว่าทุกคนทำได้

การใช้ชีวิตในอเมริกา ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ เพราะ:

ภาษาอังกฤษเราก็พิเศษกว่าใครๆ คือพูดไม่เหมือนใคร พูดออกไปที่ไรก็ไทยๆอังกฤษๆ ปะปนกันไป ใครๆ เขาก็อมยิ้ม และเขาก็เอนดูเราสะส่วนใหญ่ คิดบวกเข้าไว้ใจจะได้เป็นสุข คนอื่นคิดอย่างอื่นก็คงเป็นปัญหาของคนอื่นล่ะตรงนั้น

ดิฉันรู้สึกเหมือนเป็นลูกคนเล็กในสายงาน จะพูดจะทำอะไร ใครๆก็ให้ความช่วยเหลืออธิบายโน้นนี้นั้นกันอย่างใส่ใจ ดิฉันรู้สึกอบอุ่นกว่าพื้นแผ่นดินไทยหากเปรียบเทียบในด้านสายงาน

ดิฉันรู้สึกเหมือนเป็นเด็กน้อยผู้น่าเอนดูของสามี พูดผิดเขาก็หัวเราะสอนเราเอนดูเรา ไม่คอยทะเลาะเบาะแวงอะไรกันเพราะหากเราพูดอะไรผิดไปเราก็ขออภัยในภาษาอังกฤษที่ไม่ลึกซึ้ง เราเข้าใจภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน ดิฉันก็นำมาเป็นทางออกเสมอๆ จึงรู้สึกเป็นคนพิเศษจริงๆ ค่ะ

ดิฉันชอบเทศกาลคริสต์มาสค่ะ มันอบอุ่นไปด้วยการตกแต่งอาคารบ้านเรือน ห้างสรรพสินค้า ที่ทำงาน หรือถนนหนทางด้วยกิ่งสนแซมด้วยดอกไม้และไฟระยิบระยับ ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม บริษัทห้างร้านจัดงานปาร์ตี้เนื่องในวันคริสต์มาสให้กับพนักงานก่อนวันคริสต์มาสจริงๆ ฝรั่งจะแต่งตัวกันสวยงามมาก ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่สีแดง

ในวันคริสต์มาสจริงๆ ครอบครัวจะมารวมกันที่บ้านแล้วแต่จะตกลงกันว่าบ้านใคร เพื่อร่วมรับประทานอาหาร พูดคุยกันตามประสาวันครอบครัว หลังจากนั้นก็นำเอาของขวัญมาแลกกัน เพราะคริสต์มาสมันคือเทศกาลให้ หรือจ่ายเงินของคนอเมริกันครั้งใหญ่เลยที่เดียว ตามศูนย์การค้าได้นำสิ้นค้ามาลดกระหน่ำ 45%, 50% ขึ้นไป ดิฉันชอบไปซื้อเครื่องประดับแบรนด์ดังๆ ก็ในช่วงนี้ค่ะ เพราะมันลดราคาอย่างมากมาย หากช่วงใกล้คริสต์มาสรถจะติดมากๆ ในยานศูนย์การค้าต่างๆ และสามีดิฉันจะให้ทิปพนักงานเสริฟเป็นพิเศษในเวลาไปทานอาหารนอกบ้าน เพราะมันคือคริสต์มาสค่ะ

ในที่ทำงานพนักงานแต่ละคนจะนำอาหารมาร่วมรับประทานกันก่อนคริสต์มาส แล้วแต่ว่าคุณมาจากชาติไหนๆ ก็นำมาร่วมกัน พูดคุยกันก่อนแยกย้ายกันไปทำงาน ดูตามภาพที่ร่วมรับประทานอาหารของแผนกผ่าตัดหัวใจที่ดิฉันทำอยู่ค่ะ

มีเรื่องใดบ้างครับที่เป็นวัฒนธรรมต้องห้ามในประเทศอเมริกา ( สิ่งที่ห้ามทำเมื่ออยู่ในประเทศอเมริกา )

ปรกติในอเมริกาค่อนข้างจะให้อิสระสำหรับทุกศาสนา หรือวัฒนธรรม ตัวอย่าง: เวลาคนไข้ไปหาหมอเพื่อรับการผ่าตัดหัวใจในแผนกที่ดิฉันทำอยู่ หากเขาปฏิเสธการรับเลือดของผู้อื่นที่มีในคลังเลือดทั่วๆไป ในขณะที่ได้รับการผ่าตัดอยู่นั้น หากเขาต้องการเลือดเราก็จะพยายามใช้เลือดของเขาเองให้กับตัวเขาเอง เพราะมันเป็นวัฒนธรรมและความเชื่อของเขา เราก็ต้องไม่ให้เลือดคนอื่นแก่คนไข้คนนั้น แม้แต่เขาจะต้องการเลือดมากแค่ไหน แต่เราต้องปฎิบัติตามความต้องการของเขา

หรือตลอดประเพณีทางศาสนา ดิฉันก็ยังไม่เห็นอันไหนเป็นข้อห้าม เช่น ตามวัดลาวในรัฐที่ดิฉันอยู่ ก็มีการทำบุญทำทานตักบาตรฉลองตามประเพณีทุกๆปี ดิฉันก็เคยไปร่วมทำบุญบ่อยๆ ค่ะ (ตามรูป)

จากการสังเกตและจากที่คุณเรียนรู้มา คุณคิดว่างานประจำประเภทใดที่คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกานี้สามารถทำได้และได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมด้วยครับ

เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ที่มีฐานะหน่อย พอเรียนจบมาก็จะมาประกอบอาชีพเปิดร้านอาหารไทยมากกว่า อันนี้ดิฉันไม่แน่ใจว่ารายได้ดีแค่ไหน บางร้านก็น่าจะดีบางร้านก็พออยู่ได้ บางร้านก็ปิดตัวลงไปมากมายเท่าที่เห็นมา

ส่วนบุคคลทั่วๆไป พอมาถึงก็ทำงานในครัวในร้านอาหารไทย เพราะถือว่าง่ายสุดแล้ว หากภาษาอังกฤษยังไม่พัฒนาพอที่จะไปประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ หรือวุฒิการศึกษาตลอดโอกาสทางการเงินและสังคมต่างๆ ไม่อำนวย ก็อาจเป็นภาวะจำยอมเพื่อความอยู่รอดคือต้องทำไปก่อน ถามว่ารายได้เหมาะสมกับตัวงานไหม? ดิฉันยังคิดว่าไม่เหมาะสมค่ะ เพราะหลายๆอย่างที่ยังมีการกดขี่ค่าแรงของคนไทยกับคนไทยด้วยกันเองอยู่ค่ะ อันนี้ดิฉันเข้าใจทั้งสองฝ่าย หากเจ้าของร้านอยู่ไม่ได้ลูกน้องก็อยู่ไม่ได้ อันนี้ให้พิจารณากันเอาเองเพื่อความอยู่รอดในต่างแดน

งานนวดก็ถือเป็นงานที่คนไทยทำติดอันดับต้นๆ ในต่างประเทศ ดิฉันไม่มีประสบการณ์ตรงนี้แค่เคยสัมผัสจากเพื่อนที่เป็นเจ้าของกิจการเล่าให้ฟังว่า เป็นอาชีพที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำพอประมาณ ดิฉันจะไม่เอามาพิจารณาลึกๆถึงปลีกย่อย ณ ตรงนี้ ถือว่าทุกคนมีสิทธิ์เลือกที่จะทำ ปากท้องมันหิวไม่เลือกเวลา ตลอดบิดามารดาลูกหลานอยู่เบื้องหลัง พอมันมีทางเดียวให้เลือกทำจำใจก็ต้องทำดีกว่าอดตายในต่างแดน

แต่ตามประสบการณ์ตรงของดิฉัน งานในทางสายทางการแพทย์ในอเมริกาเขาเปิดกว้างมาก ให้โอกาสคนทั้งโลก เช่น หมอจากประเทศต่างๆ ก็สามารถมาทำ Residency หรือมาฝึกเป็นหมอในอเมริกาได้ หากคุณผ่านตามขั้นตอนที่เขากำหนดมา และยังสามารถทำงานประกอบอาชีพหมอต่อไปในอเมริกาก็มีมากมาย

ที่สำคัญในสายงานลักษณะนี้เป็นที่ต้องการของตลาด โอกาสเราจะตกงานมีน้อยมาก คุณค่าของงานสูงขึ้นตามลำดับของประสบการณ์ โดยเฉพาะในด้านผู้เชี่ยวชาญต่างๆ จะโดดเด่นเป็นพิเศษ

กรณีสวัสดิการ

เขาก็มีมาตรฐานที่มั่นคงดีหากเราทำงานจ่ายภาษีตามหน้าที่ของประชาชน มีเงินเกษียณจากรัฐบาลผ่านการเสียภาษีให้รัฐ มีเงินฝาก 4-o-1k และชนิดอื่นๆ ให้พนักงานสะสมตามความสามารถ ตลอดมีค่ารักษาพยาบาล อันนี้สำคัญมากในอเมริกา มีสวัสดิการด้านสุขภาพไม่อำนวย หรือการดูแลในขณะที่เราทำงานไม่ได้ ว่ากันไปตามกฎหมายว่าด้วยการทำงาน มันมีความมั่นคงในตัวของมัน

ดิฉันมีประสบการณ์ตรงในการป่วยไข้ไม่ได้ทำงานเป็นเวลา 8 เดือน ทางโรงพยาบาลที่ดิฉันทำงานให้ก็จ่ายค่าแรงตามที่บริษัททำประกันเอาไว้กับบริษัทประกันภัย หากดิฉันโดนคุณหมอสั่งให้เป็นคนพิการ ( disability) ดิฉันก็ได้รับเงินส่วนที่ดิฉันมีสิทธิ์จะได้รับจากการทำงานและภาษีที่เสียไปตลอดชีพ อันนี้คือความมั่นคงของการทำงานให้กับองค์กรต่างๆ

หากทำธุระกิจเองและหากเราเกิดล้มป่วยก็ต้องมีประกันชีวิตเองซึ่งก็แพงมาก หากเราทำงานไม่ได้ธุรกิจก็ต้องปิดตัวลงไปเราก็ขาดรายได้ไป สำหรับมุมมองของดิฉัน ชีวิตในต่างประเทศหากเรามีความมั่นคงทางด้านสวัสดิการทางสุขภาพแล้ว เราสามารถทำธุรกิจอื่นๆได้อีกมากมายเป็นธุรกิจเสริม เพราะโอกาสเขาเปิดกว้างแม้แต่ทำธุรกิจขนาดเล็ก จุดได้เปรียบเสียเปรียบมันมีอยู่ทุกที่อยู่ที่เราจะมองเห็น

ปรกติพนักงานในร้านอาหารและร้านหนวดไทย จะไม่มีสวัสดิการใดๆ มารองรับคุณภาพชีวิตของพนักงาน อย่างทำได้ก็แค่ทำงานจ่ายภาษีให้รัฐบาล รอรับเงินเกษียณหลังอายุ 62ปี ไปแล้ว

ฉะนั้นหากใครๆ จะมาใช้ชีวิตในต่างแดนในระยะยาวหรือตลอดไปอย่างคนพื้นเมือง เราต้องใส่ใจศึกษาคุณภาพชีวิตระยะยาวว่าควรทำอย่างไร ชีวิตคนเราเอาแน่นอนไม่ได้ ดิฉันถือว่าเป็นผู้มีสุขภาพจิตและร่างกายที่แข็งแรงในวัยเยาว์ พอเข้า 50 ปีโรคภัยไม่เคยมีก็เริ่มมา…เก็บไปพิจารณานะคะชีวิตตอนแก่มันสำคัญไม่แพ้กับตอนหนุ่มๆ …หากเราแก่แต่เรามีพร้อมรับมือโรคภัยใจเราก็อบอุ่นได้

คุณคิดว่าการขอวีซ่าเพื่ออาศัยอยู่ในประเทศอเมริกา อย่างถาวรนั้นยากไหมครับ และมีขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ และการขอวีซ่าท่องเที่ยประเทศอเมริกา ล่ะครับขอยากไหมครับ และคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกาสามารถเปิดบัญชีธนาคารได้อย่างสะดวกไหมครับ และสามารถเปิดบัญชีในแบบใดได้บ้างครับ และธนาคารไหนดีที่สุดในประเทศอเมริกา

ดิฉันยังไม่ได้สอบเป็นอเมริกันซิติเซนค่ะ เพราะดิฉันคิดว่ามันไม่จำเป็นเท่าไหร่ เพราะเป็นผู้อาศัยกับซิติเซนก็มีผลประโยชน์พอๆกัน ยกเว้นผู้อาศัยไม่มีสิทธิ์ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้นเองค่ะ หรือผู้อาศัย ( ถือกรีนการ์ด ) หากกระทำความผิดกฎหมายร้ายแรงอาจโดนเนรเทศออกนอกประเทศไป

ดิฉันต้องขออภัยที่ไม่ทราบรายละเอียดของการขอสอบเป็นอเมริกันซิติเซน เพราะเขามีหลายรูปแบบในการขอเป็นซิติเซน

ตามที่ดิฉันรู้มาคร่าวๆ สำหรับการแต่งงานกับอเมริกันซิติเซนว่า:

แต่งงานกับอเมริกันซิติเซน 3 ปี
เสียค่าสมัครสอบและอื่นๆ มากกว่า $ 1,500. ( ประมาณ )
สอบผ่าน สาบานตนเป็นพลเมืองของอเมริกัน
ดิฉันต้องขอย้ำว่าเป็นข้อมูลคร่าวๆ นะคะ ส่วนใครมีประสบการณ์ก็เขียนเล่าสู่กันฟังได้นะคะ หรือใครสนใจจริงๆ ก็ เข้าเวปไซต์ที่เกี่ยวข้อง หรือตามลิ้งค์ที่ดิฉันแนบมาด้วยนี้ อาจช่วยได้บ้างนะคะ

Applying For U.S. Citizenship

ปกติสามีดิฉันจะจัดการให้ทั้งหมดค่ะ ดิฉันจะมีหน้าที่เซ็นชื่อเท่านั้นที่ผ่านมา ต้องขอภัยอีกทีสำหรับจุดนี้นะคะ

ผู้ชายชาวอเมริกา มีลักษณะนิสัยเป็นอย่างไร และคุณคิดว่าผู้ชายชาว อเมริกาเหมาะสมที่ผู้หญิงไทยจะเลือกมาเป็นคู่ชีวิตไหม

สำหรับดิฉันหนุ่มอเมริกันเป็นคนเปิดเผยตรงไปตรงมา โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าๆ ค่อนข้างจะชาตินิยม เป็นตัวของตัวเองเคารพตัวเองสูงมากมีเหตุผลมีผล ดูแลภรรยาเป็นอย่างดีแบบคนรุ่นเก่าเจ้าระเบียบ

ส่วนหญิงไทยจะหาชายชาติไหนมาเป็นสามี ดิฉันคิดว่าก็ดีหมดค่ะ เพราะคนไทยมีน้ำใจรู้จักการผ่อนสั้นผ่อนยาวให้เข้ากับคนทุกชนชาติได้อย่างดีเยี่ยมอยู่แล้วค่ะ

ดิฉันจะไม่ขออนุญาตกล่าวเอาเป็นเชื้อชาติมาตัดสินว่าชายชาติไหนดีไม่ดี เอาเป็นว่าเราต้องเข้าใจที่มาที่ไปของคนชนชาตินั้นๆ ว่าเขามีพื้นฐานวัฒนธรรมและการปลูกฝังกันมาอย่างไร

ดิฉันขอสรุปว่าทุกเชื้อชาติมีดีค่ะ อยู่ที่ว่าเราจะเข้าถึงความดีหรือความไม่ดีของเขาหรือไม่เท่านั้นเอง

จากที่คุณได้เรียนรู้หรือพบเจอหรือเคยได้ยินมา อะไรบ้างที่เป็นปัญหาหลักๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งทำให้ผู้หญิงไทยและผู้ชายชาวอเมริกา

มักจะมีปัญหาในเรื่องของความสัมพันธ์ ช่วยยกตัวอย่างมาสัก 3 ข้อครับ

ประเพณีของการแต่งงานของคนไทย ที่ต้องมีพ่อแม่ญาติพี่น้องเห็นด้วย อั้นนี้มันเป็นอะไรที่ฝรั่งเขายอมรับไม่ได้ ฝรั่งถูกสอนให้เป็นตัวของตัวเอง รับผิดชอบตัวเองในวัยเลย 18 ปีขึ้นไป แต่คนไทยจะ 60ปีแล้ว หากจะแต่งงานอีกทีก็ยังต้องหันกลับไปถามความคิดเห็นของลูกหลานและคนรอบข้างอีกว่าเหมาะสมไหม สุดท้ายก็ต้องอกตรมมันคนเดียวเพราะความไม่เหมาะสมของสังคมกำหนด แต่ฝรั่งเขากำหนดความเหมาะสมตรงความรู้สึกของเขาเอง จึงไม่แปลกที่จะเห็นฝรั่งเลิกร้างกันกับคนรักเอาง่ายๆ

เวลาฝรั่งแต่งงานกับคนไทยไม่ใช่แค่แต่งกับเจ้าสาวน่ะซี แต่ต้องแต่งกับทั้งครอบครัวหรือทั้งตระกูลของฝ่ายเจ้าสาวเลยก็ว่าได้ ฝรั่งไม่เคยส่งเสียค่าเลี้ยงดูบิดามารดาเป็นลำเป็นสันแบบบ้านเรา อยู่ๆจะให้ส่งเงินไปให้บิดามารดา มันก็จะขัดใจสามีที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมไทย อันนี้มีปัญหามากมายโดยเฉพาะในรายที่เป็นหนุ่มสาว รายได้ก็ยังน้อยไม่พอเลี้ยงปากท้องของตัวและภรรยา จึงมีปัญหาตามมาเกี่ยวข้องเงินๆทองๆ ที่ต้องส่งกลับไทยสุดท้ายอาจต้องจบลงด้วยต่างคนต่างไปในที่สุด

ในความเชื่อของความเป็นสาวไทย ฝ่ายชายต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูฝ่ายหญิงเป็นหลัก ตลอดรับผิดชอบครอบครัวของฝ่ายหญิงด้วย ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันอะไรๆ มันก็เปลี่ยนไปแล้วอาจจะลำบากไปหากรอฝ่ายชายเป็นผู้เลี้ยงดูแต่ฝ่ายเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วการออกเดทหรือการใช้ชีวิตร่วมกันของชายหญิงในต่างแดน กลับดูเหมือนว่าจะเป็นอเมริกันแชร์สะมากกว่า คือแชร์กันครึ่งต่อครึ่ง สาวไทยเกิดอาการฝืนใจรับไม่ได้ สุดท้ายก็ต่างคนต่างไปค่ะ สำหรับดิฉันการได้มีส่วนช่วยสามีที่อุตส่าห์นำเราไปมีชีวิตใหม่ที่ดีในต่างแดน ในการทำมาหากินแล้วมันเกิดอาการภาคภูมิใจเป็นล้นพ้น ชีวิตเหมือนเราเป็นคนมีศักยภาพ ที่สามารถดำเนินชีวิตในต่างแดนได้อย่างภาคภูมิใจ สามีและครอบครัวตลอดเพื่อนบ้านฝรั่งที่เขาเฝ้ามองว่า ลูกสะใภ้จากประเทศไทยจะทำอะไรได้บ้าง คงทำได้แค่เป็นภาระของสามีนั้นแหละ

สำหรับดิฉันขอพบกันครึ่งทางค่ะ เพราะดิฉันเข้าใจเราใจเขาค่ะ เรามีเราก็ช่วยจ่ายเขามีเขาก็ช่วยเราจ่าย เพราะดิฉันเป็นคนทำงานและเข้าใจถึงความรู้สึกของมนุษย์เงินเดือนดีค่ะ ที่บ้านใช้บัญชีเดียวกันและสามีเป็นผู้ดูแลงบประมาณ ทุกอย่างลงตัวเพราะเราเจอกันครึ่งทางค่ะ

ขอบคุณที่อ่านและสนใจในชีวิตในอเมริกาของดิฉัน

รัก

ดิอร ณ อเมริกา

หมายเหตุ: หากใครสนใจหลายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของดิฉันในอเมริกา ซึ่งดิฉันเขียนเอาไว้ในเพจตามลิ้งค์ด้านล่างนะคะ

ดิอร DIORN Thai living in USA. ในเฟสบุ๊ค

ขอบคุณมากๆ นะคะที่ติดตาม

เพิ่มเติม

ข่าวสารฟรีภาษาอังกฤษ – อย่ารอช้าที่จะลงทะเบียนทดลองภาษาอังกฤษข่าวสารฟรี  เนื้อหาเกี่ยวกับเสียง (การออกเสียง) ประโยคสำหรับการใช้ทันที คำศัพท์ ไวยากรณ์ที่มีประโยชน์ และเนื้อหาอื่นๆที่เป็นประโยชน์ จดหมายข่าวจะส่งมาเป็นรายปักษ์นะครับ

เรียนภาษาอังกฤษทางอีเมล  – โค้ชภาษาอังกฤษทางอีเมล – ไม่ใช่แค่ครูสอนภาษาอังกฤษของคุณ แต่เป็นโค้ชของคุณด้วย ผมชื่อเทรเวอร์ผมเป็นคนสัญชาติอังกฤษที่เข้าใจภาษาไทยและผมจะทำงานร่วมกับคุณเพื่อให้คุณบรรลุเป้าหมาย การเรียนรู้ราคาไม่แพง

เรียนรู้การสนทนาภาษาอังกฤษตัวต่อตัว – มาสนทนาพูดคุยกับ Trevor เจ้าของภาษาชาวอังกฤษ จะทำให้คุณพูดภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจ บทเรียนเหล่านี้เป็นบทสนทนา 100% ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้สนทนาภาษาอังกฤษได้จริงๆ

 

ข่าวสารฟรี : คำแนะนำในการออกเดทและความสัมพันธ์ – โปรดลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารใหม่อย่างต่อเนื่อง จดหมายข่าวสารฟรีรายสัปดาห์เต็มไปด้วยเคล็ดลับบทความและคำแนะนำในการออกเดทและความสัมพันธ สิ่งที่คุณจะได้รับภายใน…… เคล็ดลับการหาคู่ออนไลน์,คำแนะนำในการออกเดทและความสัมพันธ์,เคล็ดลับในการค้นหาเนื้อคู่ของคุณ…

การเขียนโพร์ไฟล์หาคู่เป็นภาษาอังกฤษ – ผมจะเขียนโพร์ไฟล์ให้คุณเป็นภาษาอังกฤษเพื่อที่คุณจะได้ใช้ในเว็บไซต์หาคู่ที่คุณต้องการ หรือถ้าคุณมีโพร์ไฟล์ในเว็บไซต์หาคู่อยู่แล้วลผมสามารถช่วยคุณแก้ไขใหม่เป็นภาษาอังกฤษ

เจอกับชาวต่างชาติ

 

ชีวิตหญิงไทยสไตล์ดิอร ณ อเมริกา

คนไทยในสหรัฐอเมริกา โปสการ์ดจากเวอร์นอนคอนเน็กติกัต

โปรดลงทะเบียนเพื่อรับThai Women Living Abroad ข่าวสารใหม่อย่างต่อเนื่อง

Like this:

Like

Loading…

[Update] | วัฒนธรรม อเมริกัน – NATAVIGUIDES

คำบรรยายภาพ

  1. ครูใหญ่จูเลีย แฮทช์ และคณะครูจากโรงเรียนสตรีอเมริกัน (โรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน) ทศวรรษ 1920 (พ.ศ. 2463-2472) (ภาพถ่ายจากหนังสือ เส้นด้ายอเมริกันในผืนผ้าล้านนา)
  2. กงสุลใหญ่สหรัฐฯ ฌอน โอนีลล์ ทักทายเยาวชนที่ร่วมชมขบวนพาเหรดในงานลอยกระทงปี 2562 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  3. กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮ (พ.ศ. 2559-2562) ถ่ายภาพกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมสังเกตการณ์การเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ ปี 2561 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  4. วงดนตรีประจำหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ III Marine Expeditionary Force จัดเวิร์กชอปด้านดนตรีให้กับนักเรียนโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2562 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  5. ทีมวีลแชร์แดนซ์จากโรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ชนะรายการ Thailand’s Got Talent ปี 2557 แสดงในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมกีฬาเพื่อผู้พิการ ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์ National Ability Center ของสหรัฐฯ ปี 2558 (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยพนักงานสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ)
  6. เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เคนเนธ ทอดด์ ยัง (พ.ศ. 2504-2506) ลองเป่าแคนที่พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของคุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ เมื่อครั้งเยือนเชียงใหม่ ทศวรรษ 1960 (พ.ศ. 2503-2512) (อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดยคุณวิมล สิทธิประณีต)

หนึ่งในคุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ชาวอเมริกันได้สร้างให้แก่ภาคเหนือของประเทศไทยคือเรื่องการศึกษา

นับตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงเรียนแบบตะวันตกขึ้นเป็นครั้งแรกที่เชียงใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาจนถึงความร่วมมือด้านการศึกษาที่กว้างขวางในปัจจุบัน ชาวอเมริกันมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาในภาคเหนือของไทยมาโดยตลอด สถาบันการศึกษาที่ประสบความสำเร็จที่เห็นในปัจจุบันเป็นหนึ่งในสิ่งที่ตกทอดมาจากบทบาทของชาวอเมริกันรุ่นแรกในภาคเหนือของไทย

ก่อนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในภาคเหนือของไทย เฉพาะเด็กชายเท่านั้นที่ได้เรียนหนังสือ และต้องเรียนในวัดเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้ครูสอนภาษาชาวอเมริกันได้เข้าไปถวายพระอักษรในพระบรมมหาราชวังในช่วงกลางทศวรรษ 1800 (พ.ศ. 2343-2352) เนื่องจากทรงเห็นว่าอเมริกา เป็นประเทศที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะสร้างอาณาจักรของตนขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ชาวอเมริกันเป็นอำนาจ “ที่เป็นกลาง” ระหว่างฝรั่งเศสทางทิศตะวันออกและอังกฤษทางทิศตะวันตก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอเมริกันก็ได้ทำงานร่วมกับชาวไทยอย่างกว้างขวางในการสร้างโรงเรียนสมัยใหม่และผสมผสานวิธีการสอนรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาทั่วทั้งภาคเหนือของไทย

โรงเรียนมัธยมศึกษา

โรงเรียนแบบตะวันตกแห่งแรกในภาคเหนือของไทยมุ่งให้การศึกษาแก่เด็กผู้หญิง โรงเรียนดาราวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงเรียนสหศึกษา มีประวัติย้อนไปถึงเมื่อครั้งโซเฟีย แมคกิลวารี มิชชันนารีชาวอเมริกัน ตัดสินใจเปิดบ้านของเธอที่เชียงใหม่เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงในปี 2418 เมื่อมีนักเรียนมากขึ้น แหม่มแมคกิลวารีก็เสาะหาที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิงโดยเฉพาะ เมื่อถึงปี 2422 เอ็ดนา เอส.โคล และแมรี แคมป์เบลล์ ได้ร่วมกันก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนสตรีอเมริกัน (American Girls’ School) ในเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาในปี 2466 โรงเรียนนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัย เพื่อรำลึกถึงผู้อุปถัมภ์รุ่นแรกคือ เจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

สำหรับโรงเรียนชายวังสิงห์คำ (Chiengmai Boys’ School) ซึ่งต่อมาคือโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ได้รับการก่อตั้งขึ้นในลักษณะคล้าย ๆ กันในปี 2430 โดยศาสนาจารย์ ดี.จี. คอลลินส์ ชาวอเมริกันนิกายเพรสไบทีเรียนได้ย้ายจากกรุงเทพฯ ไปยังเชียงใหม่เพื่อก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง โรงเรียนเริ่มเปิดสอนด้วยเงินทุนเพียง 2,000 บาทและมีนักเรียนประมาณ 30 คน ศาสนาจารย์คอลลินส์ซึ่งเป็นครูใหญ่คนแรกไม่เพียงดูแลด้านการบริหารโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาแบบตะวันตกในภาคเหนือของไทย ตลอดจนเรียนภาษาล้านนา ขอการสนับสนุนจากชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งระดมเงินบริจาคจากชาวอเมริกัน และก่อตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในภาคเหนือของไทย

เมื่อถึงปี 2499 โรงเรียนชายวังสิงห์คำก็ย้ายไปอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง และได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น) ว่า “โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย” เมื่อปี 2549 โรงเรียนได้ฉลองวาระครบรอบ 100 ปีที่ได้รับพระราชทานนามและจัดพิธีรำลึกถึงคุณูปการต่าง ๆ ของชาวอเมริกันที่มีส่วนช่วยพัฒนาโรงเรียนในยุคแรก ๆ

ชาวอเมริกันยังได้เผยแพร่การศึกษาแบบตะวันตกในจังหวัดอื่น ๆ ของภาคเหนือ ในปี 2428 ศาสนาจารย์นายแพทย์แซมมวล ซี. พีเพิลส์ และภรรยาได้ก่อตั้งโรงเรียนเคนเน็ตแม็คเคนซีขึ้นที่จังหวัดลำปาง โดยเป็นโรงเรียนแบบตะวันตกแห่งแรกที่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่ ศาสนาจารย์พีเพิลส์และภรรยายังได้ก่อตั้งโรงเรียนลินกัล์น อะแคเดมีขึ้นที่จังหวัดน่านในปี 2447 ก่อนหน้าปี 2440 ศาสนาจารย์แดเนียล แมกกิลวารี และนายแพทย์วิลเลียม บริกส์ ได้สร้างโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่งขึ้นที่เชียงราย ในปัจจุบัน มีโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยชาวอเมริกันทั้งหมด 11 แห่งใน 6 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน และพิษณุโลก

การศึกษาระดับอุดมศึกษา

ความสำเร็จของโรงเรียนมัธยมปลายเหล่านี้ได้สร้างกำลังใจให้แก่เหล่ามิชชันนารีชาวอเมริกัน พวกเขาจึงได้เริ่มวางแผนก่อสร้างมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งขึ้นในภาคเหนือ ความคิดเกี่ยวกับการสร้างสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือเริ่มต้นขึ้นในชุมชนชาวเชียงใหม่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อชาวอเมริกันนิกายเพรสไบทีเรียนกลุ่มหนึ่งร่างแผนการก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยคริสเตียนลาว” ขึ้น โดยคอนราด คิงส์ฮิลล์ มิชชันนารีหนุ่มนิกายเพรสไบทีเรียนเดินทางถึงเชียงใหม่ในปี 2490 เพื่อวางรากฐานสำหรับกิจการอย่างหนึ่งซึ่งได้พัฒนากลายมาเป็นวิทยาลัยพายัพในเกือบ 30 ปีต่อมา

ในปี 2517 หลังจากที่รัฐบาลไทยอนุมัติแผนการก่อตั้งวิทยาลัยเอกชน มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยได้เปิดวิทยาลัยพายัพ ซึ่งเป็นวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกนอกกรุงเทพฯ วิทยาลัยพายัพได้รวมเอาสถาบันหลายแห่งที่ก่อตั้งโดยชาวอเมริกันเข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และโรงเรียนฝึกหัดนางพยาบาลแห่งโรงพยาบาลแมคคอร์มิค วิทยาลัยพายัพยังได้เปิดคณะมนุษยศาสตร์เพิ่มอีกคณะหนึ่งและผนวกรวมแผนกดนตรีคริสตจักรของวิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารีเข้ามาไว้ด้วย ทำให้วิทยาลัยพายัพเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาดนตรี ในปี 2527 วิทยาลัยพายัพได้รับสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย

อาคารของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ และหอพักนักศึกษานานาชาติ ซึ่งมีพิธีเปิดในเดือนมิถุนายน 2550 ได้รับการสนับสนุนทุนในการก่อสร้างส่วนหนึ่งจากโครงการโรงเรียนและโรงพยาบาลอเมริกันในต่างประเทศ (American Schools and Hospitals Abroad: ASHA) ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (U.S. Agency for International Development: USAID) นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังสนับสนุนทุนกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อก่อสร้างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สิรินธร (สำนักหอสมุด) ซึ่งเปิดใช้งานปี 2548 ภายใต้โครงการ ASHA นี้ มหาวิทยาลัยพายัพได้รับทุนสนับสนุนไปแล้วกว่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา

พลเมืองอเมริกันยังมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งและพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในปี 2497 ที่กำหนดให้มีการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นในภาคเหนือของไทย โครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินและการพัฒนาจากหน่วยงานบริหารความช่วยเหลือของสหรัฐฯ (U.S. Operations Mission: USOM) ในปี 2499 และนำไปสู่ความร่วมมือระยะยาวกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ในการก่อสร้างโรงเรียนแพทย์ ได้แก่ การร่วมร่างแผนแม่บท การให้คำปรึกษาจากช่างเทคนิค ที่ปรึกษา และนักบริหารชาวอเมริกัน รวมทั้งคำสัญญาในการจัดหาอาจารย์ชาวอเมริกันให้แก่มหาวิทยาลัยจนกว่าอาจารย์ชาวไทยจะสามารถสอนนักเรียนแพทย์ได้เองด้วย นอกจากนี้ ยังมีโครงการทุนการศึกษาที่ส่งนักศึกษาไทยไปยังสหรัฐฯ เพื่อศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาขึ้นไปในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์คลินิก โดยรวมแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ได้มอบทุนประมาณ 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านทาง USOM และองค์กรหลักคือ USAID เพื่อก่อสร้างและสนับสนุนโรงเรียนแพทย์

ในปี 2507 โรงเรียนแพทย์แห่งนี้กลายเป็นแกนหลักของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันระดับอุดมศึกษาแห่งแรกนอกกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังคงความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ โดยมีการแลกเปลี่ยนทางการศึกษากับมหาวิทยาลัยประมาณ 40 แห่งในสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ได้ศึกษาต่อในสหรัฐฯ ภายใต้โครงการฟุลไบรท์และโครงการแลกเปลี่ยนอื่น ๆ

โครงการแลกเปลี่ยน

ในปัจจุบัน สหรัฐฯ มีส่วนร่วมในการศึกษาของไทยในภาคเหนือผ่านโครงการแลกเปลี่ยนที่หลากหลายสำหรับนักเรียนนักศึกษา และคณาจารย์ วิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการศึกษาระดับมัธยมปลายในต่างประเทศคือการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น โครงการเยาวชนเอเอฟเอสเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ (AFS Intercultural Programs) (เดิมชื่อโครงการ American Field Service) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้โครงการนี้ นักเรียนไทยหลายพันคนและนักเรียนอเมริกันหลายร้อยคนได้ใช้ชีวิตและศึกษาในสหรัฐฯ และไทย นอกจากนี้ ยังมีสำนักงานแลกเปลี่ยนทางการศึกษาที่ไม่แสวงผลกำไรอีกหลายแห่งของสหรัฐฯ ที่ร่วมดำเนินโครงการในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการทำงานในสหรัฐฯ ด้วย เช่น Council on International Educational Exchange (CCI), Institute for the International Education of Students (IES) และ School for International Training (SIT) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยในอเมริกาและไทยหลายแห่งก็ยังได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนกันเองเพื่อให้นักศึกษาชาวอเมริกันและชาวไทยได้เรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัน

ทุนฟุลไบรท์เป็นทุนที่มอบให้ทั้งชาวอเมริกันและชาวไทยเพื่อการค้นคว้าวิจัย ศึกษาและสอนในไทยและสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2492-2560 มีชาวไทยกว่า 1,786 คนและชาวอเมริกันกว่า 1,146 คนที่ได้รับทุนฟุลไบร์ทเพื่อค้นคว้าวิจัย ศึกษา และสอนในทั้งสองประเทศ ภาคเหนือของไทยเป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้รับทุนฟุลไบรท์ชาวอเมริกัน โดยเชียงใหม่เพียงจังหวัดเดียวมีผู้รับทุนที่ใช้ชีวิตและทำงานอยู่กว่า 120 คน

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่นักศึกษาไทยให้ความสนใจประเทศสหรัฐฯ จากรายงานของ Open Doors ระบุว่ามีนักศึกษาไทยกว่า 6,636 คน ลงทะเบียนในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐฯในปี 2561 ตั้งแต่ปี 2467 เป็นต้นมา ศิษย์เก่าชาวไทยที่เคยศึกษาในสหรัฐฯ ได้ก่อตั้งสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาขึ้น ต่อมาในปี 2495 สถานเอกอัครราชทูตทูตสหรัฐฯ ได้ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าฯ จัดตั้งโรงเรียนสถานสอนภาษาอังกฤษขึ้นในกรุงเทพฯ โดยใช้ชื่อว่า “เอยูเอ” โรงเรียนดังกล่าวได้ขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ โดยสหรัฐฯ สนับสนุนทุน คณาจารย์ และให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการจนถึงช่วงกลางทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533-2542) ทุกวันนี้ มีสถานสอนภาษา 20 แห่งที่เกิดขึ้นจากความเป็นหุ้นส่วนดังกล่าว รวมถึงสถานสอนภาษาเอยูเอ ที่เชียงใหม่ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2500 และสถานสอนภาษาเอยูเอ ที่เชียงราย ซึ่งก่อตั้งในปี  2540 ตั้งแต่ปี 2561 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ และสถานกงสุลใหญ่ ร่วมกับสถานสอนภาษาเอยูเอ ดำเนินโครงการ English Access Microscholarship Program (Access) ซึ่งสร้างพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนอายุ 13-20 ปีที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยโครงการ Access ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะภาษาอังกฤษที่อาจนำไปสู่โอกาสในการทำงานหรือการศึกษาต่อที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้ฝึกฝนความสามารถในการแข่งขันและเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนและการศึกษาต่อในประเทศสหรัฐฯ ในอนาคตอีกด้วย

ในปี 2523 USAID ได้สนับสนุนทุนโครงการการศึกษาสำหรับชาวเขาของกรมการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือไทย โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในเขตจังหวัดเหนือสุดของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อสอนในสิ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การขอสัญชาติไทยหรือการป้องกันการใช้ยาเสพติด เป็นต้น ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเขตที่ราบสูงขององค์การสหประชาชาติ องค์กรนอกภาครัฐฯ หรือโครงการใหม่ ๆ ของรัฐบาลในยุคหลัง ๆ

โครงการของรัฐบาลสหรัฐฯ

ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533-2542) กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐฯ ได้สนับสนุนทุนเพื่อก่อตั้งวิทยาลัยชุมชน 2 แห่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาแห่งแรกในจังหวัดที่มีชายแดนติดประเทศเมียนมา

อีกหนึ่งสถาบันของสหรัฐฯ ที่มีความสัมพันธ์อันยาวนานกับประเทศไทยและภาคเหนือคือหน่วยอาสาสมัครสันติภาพสหรัฐฯ (Peace Corps) ตั้งแต่ปี 2505 เป็นต้นมา อาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐฯ ราว 5,507 คนได้ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยในบทบาทต่าง ๆ โดยเฉพาะในโครงการด้านการพัฒนาการศึกษาและเยาวชน

เมื่อเรามองสถาบันการศึกษาไทยในปัจจุบัน เราจะเห็นอิทธิพลของสหรัฐฯ ที่มีต่อระบบการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก ความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และไทยในการสร้างโอกาสทางการศึกษาในภาคเหนือของไทยเริ่มต้นจากการสอนหนังสือในบ้านของมิชชันนารี ก่อนที่จะเปิดห้องเรียนให้แก่เด็กหญิง ก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ และจัดตั้งโครงการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ ชาวอเมริกันยุคแรก ๆ ในภาคเหนือของไทย ซึ่งให้ความสำคัญกับการก่อตั้งสถาบันการศึกษาเป็นอันดับแรก ตลอดจนโครงการต่าง ๆ ที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนในเวลาต่อมา ได้ส่งผลต่อการศึกษาไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน


10 วัฒนธรรม อเมริกัน vs ไทย ข้อแตกต่างที่คุณต้องรู้ เมื่อย้ายไปอยู่อเมริกา | MOD MOM WOW


รู้ไว้ก่อน ย้ายไปอเมริกา..จะได้ไม่งง! 10 วัฒนธรรม อเมริกัน กับ ไทย ต่างกันยังไง?
วัฒนธรรมอเมริกัน
ย้ายไปอยู่อเมริกา
MODMOMWOW
==============================
❤ คลิปแนะนำตัว MOD MOM WOW
https://youtu.be/8JpHGfVUfK4
🙏 พี่มดขอบคุณทุกคน ที่รับชมคลิปนะคะ
👍🏻 ชอบกด Like, ใช่กด Share ได้เลยค่ะ
⚀ กด Subscribe เป็นกำลังใจให้ด้วยน๊าา
🔔 กดกระดิ่ง แจ้งเตือน เพื่อชมคลิปใหม่ 💞

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

10 วัฒนธรรม อเมริกัน vs ไทย ข้อแตกต่างที่คุณต้องรู้ เมื่อย้ายไปอยู่อเมริกา | MOD MOM WOW

อาหารที่ห้ามน้ำเข้ามาอเมริกา เตรียมตัวก่อนไปอเมริกา | แม่บ้านไร้สาระ My Life in USA


อาหารที่ห้ามน้ำเข้ามาอเมริกา เตรียมตัวก่อนไปอเมริกา | แม่บ้านไร้สาระ My Life in USA

Atlanta Christmas Parade 2019


นอกจากการถ่ายรูปกับซานตาคลอส (Santa) แล้ว กิจกรรมที่คนอเมริกันตั้งตารอคอยอีกอย่างหนึ่งก็คือ การชมขบวนพาเหรดคริสต์มาสประจำปี (Christmas Parade) ซึ่งแต่ละเมืองจะมีการจัดขบวนพาเหรดกันอย่างยิ่งใหญ่
วันนี้เราจะพามาชมขบวนพาเหรดของเมืองแอตแลนต้า (Atlanta) รัฐจอร์เจีย (Georgia) ซึ่งจัดตรงกับการประกวด Miss Universe 2019 งานนี้เลยได้รับเกียรติจาก Catriona Elisa Magnayon Gray Miss Universe 2018 มาร่วมขบวนให้ชาวเมืองแอตแลนต้าได้ชื่นชมความงามอีกด้วย

Atlanta Christmas Parade 2019

one BIG WORLD 3 ส.ค.57 (2/3) โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของทหารอเมริกันในไทย


ช่องทางการรับชมช่อง one
ชมออนไลน์ได้ที่ http://www.onehd.net
ดูผ่าน Digital TV ภาคพื้นดิน ช่อง 31
เคเบิ้ลทีวี และกล่องดาวเทียมทุกชนิด ช่อง 41
กล่อง GMM Z ช่อง 2 หรือ 41

one BIG WORLD 3 ส.ค.57 (2/3) โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของทหารอเมริกันในไทย

#วัฒนธรรมอเมริกา#ชีวิตในอเมริกา#ชีวิตในต่างแดน#เมียฝรั่ง || วัฒนธรรมแตกต่างระว่างไทยและอเมริกา


สวัสดีจ๊ะ ป้าตามาชวนคุยเรื่องวัฒนธรรม อเมริกา อะไรบ้างที่ดูแล้วแตกต่างกับเมืองไทย บ้านเรา

#วัฒนธรรมอเมริกา#ชีวิตในอเมริกา#ชีวิตในต่างแดน#เมียฝรั่ง || วัฒนธรรมแตกต่างระว่างไทยและอเมริกา

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ วัฒนธรรม อเมริกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *