Skip to content
Home » [Update] ลูกจ้างฟังทางนี้! โดนกักตัว 14 วัน นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้าง | ประกันสังคมลูกจ้างรายวัน – NATAVIGUIDES

[Update] ลูกจ้างฟังทางนี้! โดนกักตัว 14 วัน นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้าง | ประกันสังคมลูกจ้างรายวัน – NATAVIGUIDES

ประกันสังคมลูกจ้างรายวัน: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

สถานการณ์โควิด-19 ไม่เข้าใครออกใคร ทำงานอยู่ดีๆก็อาจติดเชื้อโควิด-19 ได้โดยไม่ทันตั้งตัว หรือไม่ติดก็อาจเป็นกลุ่มเสี่ยงต้องกักตัวนาน 14 วัน ไหนจะต้องพักสังเกตอาการอีก บางรายต้องลางานยาวเกือบ 1 เดือน แล้วแบบนี้จะได้ค่าจ้างช่วงที่ต้องลากักตัวไหม?

 

 

วันนี้ True ID ได้รวบรวมกรณีที่ต้องถูกกักตัวจากสถานการณ์โควิด-19 และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างอย่างไร มาฝากกันแล้ว

 

 

Table of Contents

กรณีถูกสั่งกักตัวสังเกตอาการเนื่องจากมีความเสี่ยง

กรณีที่สถานประกอบกิจการออกประกาศห้ามลูกจ้างเดินทางข้ามจังหวัด หรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ภายหลังทราบว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว จนเป็นเหตุให้นายจ้างสงสัยได้ว่าลูกจ้างเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงมีคำสั่งไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานและให้กักตัว ณ ที่พักอาศัยเป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าดูอาการ นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง เพราะคำสั่งให้ลูกจ้างกักตัวเป็นคำสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จะถือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างดังกล่าวเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างไม่ได้ 

 

ทั้งนี้ นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้ใช้สิทธิ์การลาป่วย หรือการหยุดพักผ่อนประจำปี และหากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุลูกจ้างติดเชื้อโรคดังกล่าว หรือสงสัยว่าลูกจ้างติดเชื้อ มิได้ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง เพราะการเจ็บป่วยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติ มิใช่การกระทำผิดวินัยของลูกจ้าง และเป็นการติดเชื้อจากโรคระบาดที่แพร่กระจายในวงกว้าง ลูกจ้างจึงมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย

 

 

 

กรณีลูกจ้างมีอาการป่วย ต้องไปพบแพทย์

 

หากเป็นเหตุอันควรสงสัยว่าลูกจ้างเป็นโรคดังกล่าวเกิดจากการตรวจวัดร่างกายเพราะมีอาการเป็นไข้ ย่อมถือว่า “ลูกจ้างป่วย” ซึ่งสามารถใช้สิทธิลาป่วยได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เมื่อลูกจ้างแจ้งการใช้สิทธิลาป่วยโดยชอบต่อนายจ้างแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วย เว้นแต่ลูกจ้างไม่ใช้สิทธิลาเพราะอาจจะไม่ได้รับค่าจ้างเนื่องจากลาป่วยเกิน 30 วันแล้วในรอบปี กรณีนี้ลูกจ้างอาจใช้สิทธิหยุดพักร้อนได้ และถ้าหากใช้สิทธิหยุดพักร้อนครบตามสิทธิตามกฎหมาย กฎระเบียบแล้ว ก็อาจตกลงกับนายจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างก็ได้

 

อนึ่งโรคติดต่อโควิด-19 เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพ เกี่ยวกับความเป็นความตายของชีวิตคน การปฏิบัติต่อกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อดังกล่าวจะต้องคำนึงสุขภาพร่างกายและชีวิตของมนุษย์เป็นเป้าหมายที่สำคัญ มากกว่าจะเอาประโยชน์จากฝ่ายหนึ่งหรือมองว่าตนจะเสียประโยชน์บางอย่างไป

 

แต่กรณีติดโควิด-19 ไม่แสดงอาการป่วย ถ้านายจ้างให้ไปตรวจหาโรค แล้วไม่ไป แต่มาทำงานจนทำให้คนอื่น ๆ มีความเสี่ยงที่จะติดโรคตามไปด้วย ถือว่าฝ่าฝืนระเบียบ คำสั่ง ของนายจ้างในกรณีร้ายแรง ซึ่งนายจ้างอาจเลิกจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ ดังนั้น ถ้านายจ้างให้ไปตรวจหาโรคก็ควรไปตรวจ เพื่อความปลอดภัยในหน้าที่การงานของตนเองและชีวิตของผู้อื่น

 

 

กรณีหยุดอยู่บ้านเฝ้าดูอาการ 14 วัน

ค่าจ้าง : ใครที่หยุดอยู่บ้านเพื่อกักตัวเฝ้ารอดูอาการ 14 วัน หรือถูกนายจ้างสั่งไม่ให้มาทำงาน เพราะสุ่มเสี่ยงเป็นผู้ติดเชื้อ หากต้องการค่าจ้างเต็มจำนวน อาจตกลงกับนายจ้าง ด้วยการขอทำงานอยู่บ้าน หรือใช้สิทธิ์ลาป่วย หรือสิทธิ์ลาพักร้อนแทน หรือนายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้หยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave without Pay) หรือให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างตามหลักสัญญาต่างตอบแทน (No Work No Pay) ก็ได้

          
ประกันสังคม : หากลูกจ้างมีสิทธิประกันสังคม และไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในช่วงนี้ จะถือว่าเป็นกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยจากประกันสังคมได้ และนายจ้างต้องยื่นหนังสือรับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

 

 

กรณีป่วยโควิด-19 ต้องรักษาตัว

เมื่อตรวจพบว่าตัวเองเป็นโควิด-19 และต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล สามารถใช้สิทธิ์ลาป่วย หรือถ้าสิทธิ์ลาป่วยหมด ให้ใช้สิทธิ์ลาพักร้อนแทน แต่ถ้าเราไม่มีทั้งสิทธิ์ลาป่วยและลาพักร้อนเหลืออาจตกลงกับนายจ้าง ขอหยุดงานโดยรับหรือไม่รับค่าจ้าง ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท

 

 

 

กรณีนายจ้างสั่งปิดที่ทำงานเพราะเสี่ยงต่อการระบาด

 
ค่าจ้าง : หากมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 คนเข้ามาทำงาน หรือมีลูกค้าที่ติดเชื้อเข้ามาใช้บริการสถานประกอบการนั้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด นายจ้างอาจสั่งให้ปิดชั่วคราวเพื่อควบคุมโรค ซึ่งถือเป็นเหตุสุดวิสัย นายจ้างมีสิทธิ์ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างได้ หรือแล้วแต่ตกลงกันกับลูกจ้าง เช่น ให้ทำงานที่บ้าน ซึ่งสามารถรับค่าจ้างได้อยู่

ประกันสังคม : ถ้าลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในช่วงนี้ สามารถยื่นเรื่องรับเงินทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยได้ และนายจ้างต้องยื่นหนังสือรับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

 

 

 

กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว

ค่าจ้าง : นายจ้างที่หยุดกิจการลงชั่วคราว เพราะผลกระทบต่อธุรกิจจากโควิด-19 จะไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ลูกจ้างจึงมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย โดยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2551 กำหนดไว้ว่าจะได้รับไม่น้อยกว่า 75%

 

ประกันสังคม : ถ้าลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในช่วงนี้ สามารถยื่นเรื่องรับเงินทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยได้ และนายจ้างต้องยื่นหนังสือรับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

 

 

 

กรณีหยุดงานโดยสมัครใจ

เมื่อเราเลือกหยุดงานโดยสมัครใจ กรณีนี้จะไม่ได้รับค่าจ้าง (Leave without Pay) ตามนโยบายของบริษัทที่ออกมา

 

 

 

ภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว

ค่าจ้าง : การที่ภาครัฐและจังหวัดต่าง ๆ สั่งปิดสถานบริการต่างๆ เช่น โรงภาพยนตร์ สถานบันเทิง สถานเสริมความงาม ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เพื่อไม่ให้คนมารวมกลุ่มกันจนเกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 กรณีนี้ถือเป็นการหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย นายจ้างอาจพิจารณาไม่จ่ายค่าจ้างให้ได้ เพราะลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้ ตามหลัก No Work No Pay หรือนายจ้างบางรายอาจจ่ายเงินบางส่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ลูกจ้าง และหากเป็นงานที่สามารถทำจากที่บ้านได้ นายจ้างก็สามารถจ่ายเงินให้เต็มจำนวนได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของบริษัทในการพิจารณาจ่ายเงินด้วย 

 

ประกันสังคม : กรณีลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในช่วงนี้ สามารถยื่นเรื่องรับเงินทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยได้ และนายจ้างต้องยื่นหนังสือรับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

 

 

ขั้นตอนขอรับสิทธิกรณีว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย (โควิด-19)

ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน จะได้รับเงินเยียวยากรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัว หรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ แล้วแต่กรณี แต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน ซึ่งสามารถยื่นเรื่องได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

 

1. ผู้ประกันตนกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) พร้อมเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง และเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อ

  • กรณีกักตัวใช้เอกสารประกอบ คือ ใบรับรองแพทย์ให้กักตัว หรือคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่สั่งให้กักตัว

2. ผู้ประกันตนนำ สปส.2-01/7 และเอกสารอื่น ๆ ส่งให้นายจ้างรวบรวม

 

3. นายจ้างบันทึกข้อมูลลูกจ้างตามแบบ สปส.2-01/7 และหนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว ผ่านระบบ e-service ที่ www.sso.go.th  (นายจ้างที่ใช้ระบบครั้งแรกต้องลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบก่อน)

 

4. เมื่อนายจ้างบันทึกข้อมูลลูกจ้างเสร็จสิ้นให้นำแบบฯ และหนังสือรับรองในระบบ e-Service ส่งมายังสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทางไปรษณีย์ (ลงทะเบียน) ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service บนเว็บไซต์ www.sso.go.th

 

5. เมื่อสำนักงานประกันสังคมได้รับข้อมูลของนายจ้างถูกต้องครบถ้วน จะทำการอนุมัติจ่าย รอบแรกเงินเข้าบัญชีภายใน 5 วันทำการ ส่วนที่เหลือโอนเข้าบัญชีทุกสิ้นเดือนจนครบ สำหรับกรณีที่เงินไม่เข้าบัญชีภายในกำหนด ขอให้ติดต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านยื่นเอกสาร หรือโทรสายด่วน 1506 เพื่อดำเนินการแก้ไขทันที

 

 

 

เพื่อหลีกเลี่ยงการรวมตัวและลดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) การยื่นขอรับสิทธิกรณีว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย สำนักงานประกันสังคม จึงกำหนดให้นายจ้างยื่นแบบคำขอขอรับประโยชน์ทดแทนของลูกจ้าง ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานฯ กรณีนายจ้างยังไม่ได้สมัครใช้งาน e-Service สามารถสมัครใช้งานได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ก่อนดำเนินการยื่นแบบขอรับสิทธิฯ ผ่านระบบ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 หรือสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่นายจ้างตั้งอยู่

 

 

ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน , กรมการจัดหางาน , kapook , jobsugoi

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

[Update] | ประกันสังคมลูกจ้างรายวัน – NATAVIGUIDES

ผู้นำด้าน Lifestyle E-commerce Platform ที่มาพร้อมส่วนลดสุดพิเศษที่ทางร้านค้าต่างๆมอบให้นักช็อป ทั้งนี้ LerdBuy ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2021 ภายใต้สโลแกนว่า Buy Now, Enjoy Now! More Discount, Pay later!


ทำงานวันอาทิตย์ 5.5 ชั่วโมงได้ค่าจ้างเท่าไหร่【ตอบคำถามกฎหมายแรงงานและประกันสังคมEP.55】


จากคำถาม
\”เป็นลูกจ้างรายวันแต่นายจ้างให้มาทำงานวันอาทิตย์5.5ชั่วโมงจะคิดยังไงค่ะและได้เท่าไหร่ค่ะ\”

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ทำงานวันอาทิตย์ 5.5 ชั่วโมงได้ค่าจ้างเท่าไหร่【ตอบคำถามกฎหมายแรงงานและประกันสังคมEP.55】

ลูกจ้างถูกกักตัว 14 วัน นายจ้างมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าจ้าง ? : ชัวร์หรือมั่ว


จากข้อความที่มีการส่งต่อกันในสื่อสังคมออนไลน์ ระบุว่าหากลูกจ้างถูกกักตัว 14 วัน นายจ้างมีสิทธิ์ที่จะไม่จ่ายค่าจ้างได้ เนื่องจากลูกจ้างไม่ได้ทำงาน หรือทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง เรื่องนี้ชัวร์ หรือมั่ว ไปตรวจสอบกัน
ชมย้อนหลังรายการ \”วันใหม่วาไรตี้\” ได้ที่ http://www.thaipbs.or.th/WanmaiVariety
กักตัว ลูกจ้าง โควิด19

กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

ลูกจ้างถูกกักตัว 14 วัน นายจ้างมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าจ้าง ? : ชัวร์หรือมั่ว

สิทธิของพนักงาน รายวัน VS รายเดือน


เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ตามพ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ.2541

สิทธิของพนักงาน รายวัน VS รายเดือน

#WakeUpThailand ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564


รายการ WakeUpThailand ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564
เจาะสิทธิประโยชน์ ส.ว. ข้องใจทำงานคุ้มค่าเพื่อใคร
‘คนกลางคืน’ จี้รัฐเปิดสถานบันเทิง
‘ประยุทธ์’ ซัด สถานบันเทิง มั่วสุม ไร้มาตรการป้องกัน
‘วิป รบ.’ ยันคว่ำร่าง รธน. ไม่ห่วงเพิ่มอุณหภูมิการเมือง
ปชป.ไม่รับร่าง รธน. แนะภาค ปชช.ยื่นเข้ามาใหม่
แกะรอยท่าที ส.ว. รุมค้านร่าง รธน.ฉบับประชาชน
‘พิธา’ จี้หยุดผลักคนเห็นต่างเป็นขบวนล้มล้างการปกครอง
‘ไอติม’ เปรียบ ยุบ ส.ว.เหมือนวัคซีนเข็มแรก รอไม่ได้
‘ส.ว.เสรี’ ซัดร่างรธน.ฉบับปชช.สร้างระบอบปิยบุตร
‘ปิยบุตร’ ขอแรงรัฐสภาคืนความปกติให้การเมืองไทย
‘สุทิน’ ชี้ ส.ว.อย่ายึดติด ปิดโอกาส รธน.ฉบับปชช.
‘ประยุทธ์’ ส่งสัญญาณทั่วโลก ไทยพร้อมเปิดประเทศ
‘ชัยวุฒิ’ ลุยปรับปรุง Thailand pass รองรับเปิดประเทศ
ปั้น ‘อาสาฯดิจิทัล’ สู้เฟกนิวส์ เสิร์ฟข่าวทุกหมู่บ้าน
เพจดังโพสต์ ผู้ใช้เฟซบุ๊กอ้าง ‘ผมร่วงหลังฉีดวัคซีน’
‘ไฟเซอร์’ ให้สูตรผลิตยาโควิด 95 ชาติ ไม่พบไทยเข้าร่วม
รบ.วอนม็อบรถบรรทุก อย่าสร้างปัญหาทำรถติด
‘ประยุทธ์’ ขู่ใช้รถทหารขนสินค้า ยัน ตรึงดีเซล 30 บาท
‘พท.’ ข้องใจ ความโปรงใส่เงินกองทุนพลังงาน
ทอ.ทุ่ม 4.6 พันล้าน ซื้อ ‘บินรบ’ สหรัฐฯอีก 8 ลำ
‘รุ้ง’ ส่งสาส์นจากเรือนจำ เข้าคุกรอบนี้เกินคาดหมาย
‘อรรถสิทธิ์วีรภาพ’ ยื่น ‘ดีเอสไอ’ สอบตำรวจ สน.ดินแดง
ยกทุกคำร้องขอประกัน ถูกคุมขังสู้คดี 25 ราย
สมัครสมาชิกเพื่อรับสิทธิพิเศษ (Membership)
https://www.youtube.com/channel/UCpHTAE2EOwWkWGnW2HY8gRw/join
ติดตาม VoiceTV
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCpHTAE2EOwWkWGnW2HY8gRw
Facebook : https://www.facebook.com/VoiceOnlineTH/
Instagram : https://www.instagram.com/voicetv/
Twitter : https://twitter.com/VoiceTVOfficial
Website : https://www.voicetv.co.th/
VoiceTV

#WakeUpThailand ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564

ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิและไม่ต้องเป็นผู้ประกันตน


อ้างอิงตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533
///บท/บรรยาย : ศราวุธ ชัยดี
บันทึกเสียง : PURE Studio
https://purestudio.simdif.com/

ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิและไม่ต้องเป็นผู้ประกันตน

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ประกันสังคมลูกจ้างรายวัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *