Skip to content
Home » [Update] มาเรียน “คำราชาศัพท์” ที่ใช้กับฐานันดรศักดิ์ต่างๆ ในภาษาอังกฤษ | คนรับใช้ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

[Update] มาเรียน “คำราชาศัพท์” ที่ใช้กับฐานันดรศักดิ์ต่างๆ ในภาษาอังกฤษ | คนรับใช้ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

คนรับใช้ ภาษาอังกฤษ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

     สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว

Dek-D.com

ภาษาไทยเรามีคำราชาศัพท์มากมาย แล้วน้องๆ เคยสงสัยมั้ยคะว่าในภาษาอังกฤษจะมีแบบนี้บ้างมั้ย

พี่พิซซ่า

บอกเลยว่ามีค่ะ ฉะนั้นวันนี้เราจะไปดูกันว่าคำราชาศัพท์สำหรับเจ้าขุนมูลนายระดับต่างๆ ในภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง รวมทั้งการเรียงลำดับฐานันดรศักดิ์ของแต่ละพระองค์ด้วยค่ะ

     คำราชาศัพท์ในภาษาอังกฤษไม่ได้มีเยอะเท่าแบบของไทยนะคะ อย่างอวัยวะต่างๆ หรือคำกริยาที่เจ้าขุนมูลนายทำก็ไม่ได้มีคำราชาศัพท์เฉพาะค่ะ แต่ที่จะใช้แตกต่างจากคนทั่วไปจริงๆ จะเป็นการเรียกและคำลงท้ายซะมากกว่า ถ้าเทียบกับในละครก็จะเป็นการเรียกว่า “ฝ่าบาท” และลงท้ายด้วย “พะยะค่ะ” หรือ “เพคะ” นั่นเอง ทีนี้มาดูลำดับศักดิ์และคำราชาศัพท์ที่ต้องใช้ โดยอิงราชวงศ์อังกฤษกันค่ะ

Table of Contents

King และ Queen

     พระราชาและพระราชินี ถือเป็นผู้ปกครองสูงสุด การเรียกทั้ง 2 พระองค์ว่าฝ่าบาทจะใช้คำว่า

Your Majesty

ค่ะ ส่วนการเขียนจดหมายจ่าหน้าถึงทั้งสองพระองค์จะใช้คำทางการว่า HM The King กับ HM The Queen ตัวย่อ HM มาจาก His Majesty กับ Her Majesty

     ส่วนการลงท้ายด้วยเพคะหรือพะยะค่ะนั้น จะกลับกับของไทยค่ะ ของบ้านเราจะดูเพศของผู้พูดว่าควรใช้คำไหนใช่มั้ยคะ แต่ในภาษาอังกฤษจะดูเพศของผู้ฟังเป็นหลักค่ะ ฉะนั้นถ้าพูดกับพระราชาจะลงท้ายด้วย

Sire

ในขณะที่การพูดกับพระราชินีจะลงท้ายด้วย

Ma’am

Prince และ Princess

     เจ้าชายกับเจ้าหญิงเป็นคำเรียกรวมๆ ของเชื้อพระวงศ์ที่ใกล้ชิดค่ะ เรียกได้ทั้งลูก หลาน เหลน ลื่อ และรวมทั้งพี่น้องและลูกพี่ลูกน้องของพระราชาพระราชินี คำเรียกจะใช้ว่า

Your Royal Highness

ค่ะ ในขณะที่การเขียนจดหมายทางการจะต้องใช้ HRH นำหน้าชื่อตำแหน่ง HRH ย่อมาจาก His Royal Highness กับ Her Royal Highness ส่วนคำลงท้ายจะเป็น

Sir

สำหรับเจ้าชาย และ

Ma’am

สำหรับเจ้าหญิง

Lord และ Lady

     Lord และ Lady เป็นพระอิสริยยศของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ห่างออกไปอีกขั้น โดยปกติมักเป็นทายาทของลูกพี่ลูกน้องของรัชกาลปัจจุบันอีกที รวมถึงอดีตคู่สมรสของเชื้อพระวงศ์ สำหรับคำเรียกในภาษาพูดจะเรียกว่า Lord หรือ Lady แล้วตามด้วยชื่อเลย เช่น

Lord Nicholas

หรือ

Lady Helen

ค่ะ ไม่ต้องลงท้ายด้วย

Sir

หรือ

Ma’am

แล้ว ส่วนการจ่าหน้าเอกสารราชการจะเขียนเป็น The Lord และ The Lady แล้วตามด้วยชื่อต้นกับนามสกุลเท่านั้นค่ะ

     ข้างบนคือพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ค่ะ ซึ่งผู้ที่จะได้รับฐานันดรศักดิ์ดังกล่าวจะเป็นชนชั้นเจ้านายเท่านั้น (รวมถึงคู่สมรส) ส่วนข้างล่างนี้จะเป็นฐานันดรศักดิ์ของชนชั้นขุนนาง ซึ่งบางชั้นอาจจะมีเจ้านายที่ได้บรรดาศักดิ์นั้นๆ ด้วย แต่คนธรรมดาก็สามารถมีบรรดาศักดิ์ด้วยได้เช่นกัน มีทั้งหมด 5 ชั้นค่ะ

Duke หรือ Duchess

     Duke ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดที่คนธรรมดาสามารถขึ้นเป็นได้ แต่ก็มีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ได้ตำแหน่ง Duke ด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์จะเรียกจัดเป็นกลุ่ม Royal Duke ค่ะ Duke ก็จะแบ่งต่อไปอีกว่าเป็น Duke of เมืองอะไร ภรรยาของ Duke จะเรียกว่า Duchess หรือถ้าบุตรสาวของ Duke ได้ขึ้นในตำแหน่งต่อจากพ่อก็จะเรียกว่าเป็น

Duchess

เช่นกัน ซึ่งถ้าเป็นกรณีหลังนี้ สามีของเธอจะไม่ได้รับบรรดาศักดิ์ใดๆ จากการสมรส

     สำหรับการเรียก Duke (ประมาณว่าเรียก “นายท่าน”) ที่เป็นคนธรรมดา จะเรียกว่า

Your Grace

ในการส่วนตัว แต่ถ้าออกงานจะเรียกว่า Duke หรือ Duchess ไปเลยค่ะ ส่วนในการเขียน จะเรียกเต็มว่า His Grace The Duke of ….. หรือ Her Grace The Duchess of ….. แต่สำหรับ Royal Duke นั้นจะเรียกตามตำแหน่งที่ใหญ่ที่สุดของพระองค์ ซึ่งก็คือเจ้าชาย ให้ใช้คำเรียกตามหลักของเจ้าชายไปเลยค่ะ

     ในสหราชอาณาจักรปัจจุบันนี้ มี Royal Duke 6 พระองค์ค่ะ ได้แก่

    

Duke of Edinburgh

เป็นพระอิสริยยศขั้น Duke ของเจ้าชายฟิลิป พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

    

Duke of Cambridge

เป็นพระอิสริยยศขั้น Duke ของเจ้าชายวิลเลียม พระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

    

Duke of York

เป็นพระอิสริยยศขั้น Duke ของเจ้าชายแอนดรูว์ พระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

    

Duke of Gloucester

เป็นพระอิสริยยศขั้น Duke ของเจ้าชายริชาร์ด พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 (เป็นลูกพี่ลูกน้องกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2)

    

Duke of Kent

เป็นพระอิสริยยศขั้น Duke ของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 (เป็นลูกพี่ลูกน้องกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2)

     สำหรับ

เจ้าชายชาร์ลส์

ผู้เป็นองค์รัชทายาทลำดับที่ 1 นั้น พระอิสริยยศขั้น Duke เป็นเพียงพระอิสริยยศชั้นรอง เนื่องจากพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศสูงสุดเป็น

Prince of Wales

ที่เป็นตำแหน่งเฉพาะสำหรับองค์รัชทายาทแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งศักดิ์ Prince สูงกว่า Duke ทำให้ตำแหน่ง Duke กลายเป็นตำแหน่งขั้นรองลงไป
     นอกจากนี้เจ้าชายชาร์ลส์ยังทรงดำรงพระอิสริยยศขั้น Duke ถึง 2 ตำแหน่ง คือ

Duke of Cornwall

และ

Duke of Rothesay

อีกด้วย Duke of Cornwall เป็นพระอิสริยยศสำหรับพระราชโอรสองค์โตในอังกฤษ ส่วน Duke of Rothesay เป็นพระอิสริยยศสำหรับองค์รัชทายาทแห่งสก็อตแลนด์ หากมีพระราชกรณียกิจในแถวคอร์นวอลล์หรือในสก็อตแลนด์ ก็จะทรงเลือกใช้พระอิสริยยศขั้น Duke เป็นหลัก

     สำหรับบรรดาศักดิ์ขั้น Duke ในสหราชอาณาจักรที่ไม่ได้เป็น Royal Duke มีจำนวน 27 ตำแหน่ง สำหรับ Duke 24 คน (บางคนรับหลายตำแหน่ง)

คามิลลา พระวรชายาพระองค์ที่สองของเจ้าชายชาลส์ ดำรงพระอิสริยยศเป็น Duchess of Cornwall
ยกเว้นเมื่อเสด็จไปสก็อตแลนด์จะใช้ Duchess of Rothesay แทน
แม้ตามหลักแล้วพระองค์จะดำรงตำแหน่ง Princess of Wales ด้วย
แต่ตำแหน่งนี้เป็นที่จดจำของเจ้าหญิงไดอาน่าไปแล้ว จึงไม่เลือกใช้

Marquess หรือ Marchioness

     Marquess เป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางที่รองลงมาจาก Duke ค่ะ หากเป็นผู้หญิงหรือเป็นภรรยาของ Marquess จะเป็นตำแหน่ง Marchioness สำหรับการเรียกว่านายท่านนั้น จะใช้คำว่า

My Lord

หรือ

My Lady

เป็นหลัก ส่วนการเขียนตำแหน่งอย่างเป็นทางการจะใช้ว่า The Most Hon The Marquess of ….. หรือ The Most Hon The Marchioness of ….. (ข้างหน้าย่อมาจาก The Most Honourable)

     ส่วนมากบรรดาศักดิ์ Marquess มักเป็นบรรดาศักดิ์รองของ Duke อีกที หรือเป็นบรรดาศักดิ์ของทายาทที่จะขึ้นสืบทอดตำแหน่ง Duke ต่อจากบิดา เช่น ท่าน Andrew Russell ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง

Duke of Bedford

เคยดำรงตำแหน่ง

Marquess of Tavistock

มาก่อนในตอนที่บิดาของเขาดำรงตำแหน่ง Duke of Bedford อยู่ ส่วนตอนนี้ตำแหน่ง Marquess of Tavistock ก็เป็นของบุตรชายของแอนดรูว์อีกที แต่ก็มีบางตระกูลที่บรรดาศักดิ์ขั้น Marquess เป็นขั้นสูงสุดของตระกูลแล้วค่ะ

Earl หรือ Countess

     ตำแหน่ง Earl ในปัจจุบันเป็นรองจาก Duke และ Marquess อีกทีค่ะ แต่ว่าจะเท่าๆ กันกับ Count ในประเทศอื่นในยุโรป แต่เนื่องจากไม่มีคำศัพท์รูปผู้หญิงสำหรับ Earl จึงใช้ว่า

Countess

แทนในการเรียกสำหรับผู้หญิงค่ะ การเรียกก็จะเป็น

My Lord

กับ

My Lady

เหมือนกับ Marquess แต่การเขียนทางการจะใช้ว่า The Rt Hon The Earl of ….. หรือ The Rt Hon The Countess of ….. คำข้างหน้าย่อมาจาก The Right Honourable

     ปัจจุบันในสหราชอาณาจักรมีตำแหนง Earl เยอะมากกกกกกกกกกค่ะ บ้างก็เป็นตำแหน่งรองของ Duke บ้างก็เป็นตำแหน่งสำหรับทายาทของ Duke และด้วยความที่มีเยอะ เพราะหลายตำแหน่งพระมหากษัตริย์ก็มอบให้ใหม่จากความดีความชอบ ไม่ได้สืบทอดกันมานานในตระกูล ชื่อเมืองของตำแหน่ง Earl ในหลายครั้งมักไม่ตรงกับตำแหน่งที่อยู่อาศัยจริงๆ หรือไม่ได้กรรมสิทธิ์ในพื้นที่ตามชื่อนั้นจริงๆ เช่น

     กรณีที่เป็นตำแหน่งรอง:

Earl of Merioneth

คือพระอิสริยยศรองจาก Duke of Edinburgh ของเจ้าชายฟิลิป พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

     กรณีที่เป็นตำแหน่งสำหรับทายาท:

Earl of Southesk

คือตำแหน่งของทายาทอันดับ 1 ของ Duke of Fife ค่ะ ถ้าวันหนึ่ง Earl of Southesk ได้ขึ้นเป็น Duke of Fife ลูกชายคนโตของเขาก็จะได้ตำแหน่ง Earl of Southesk แทน

Viscount หรือ Viscountess

     บรรดาศักดิ์ Viscount มีศักดิ์รองลงมาจาก Earl อีกที ในอดีตมักเป็นตำแหน่งที่มอบให้ผู้ช่วยของ Earl เพราะมาจากคำว่า vice-count ซึ่ง Count เทียบเท่ากับ Earl ก็เลยหมายถึงตำแหน่งรองหัวหน้าจาก Earl ส่วนถ้าเป็นภรรยาของ Viscount ก็จะเรียกว่า

Viscountess

ค่ะ สำหรับการเรียกและการเขียนทางการจะใช้แบบเดียวกับ Earl เลยค่ะ

     ปัจจุบันในสหราชอาณาจักรมีผู้ครอบครองบรรดาศักดิ์ขั้น Viscount กว่า 270 คน แต่ส่วนมากมักเป็นตำแหน่งรองจากตำแหน่งใหญ่อื่นๆ หรือใช้เป็นตำแหน่งทายาทของ Marquess หรือ Earl อีกที เช่น ท่าน Robert Gascoyne-Cecil คือผู้ดำรงตำแหน่ง Marquess of Salisbury ในปัจจุบัน โดยที่เขาดำรงตำแหน่ง Earl of Salisbury เป็นตำแหน่งรองเองด้วยแล้ว ทายาทของเขาจะไม่สามารถใช้ Earl of Salisbury ซ้ำได้อีก ทายาทจึงดำรงตำแหน่ง

Viscount Cranborne

แทน

Baron

     Baron เป็นบรรดาศักดิ์ต่ำสุดของระบบขุนนางในสหราชอาณาจักรค่ะ ยกเว้นแค่ในสก็อตแลนด์จะเรียกชั้นนี้ว่า

Lord of Parliament

แทน เพราะมีศักดิ์บารอนเดิมอยู่ก่อนแล้วซึ่งเป็นฐานันดรศักดิ์ที่ต่ำกว่าบารอนของที่อื่น จึงไม่เรียกซ้ำกัน สำหรับผู้หญิงจะเป็น

Baroness

หรือ

Lady of Parliament

แทน การเรียกว่านายท่านหรือท่านหญิงจะใช้ว่า

My Lord

กับ

My Lady

     ส่วนการเขียนอย่างเป็นทางการ จะใช้กับทั้ง Baron และ Lord of Parliament ว่า The Rt Hon The Lord … ส่วน Baroness ที่ได้ตำแหน่งเองโดยไม่ได้มาจากการแต่งงาน สามารถใช้ว่า The Rt Hon The Baroness … ได้ แต่ถ้าได้ตำแหน่งจากการแต่งงานจะใช้ว่า The Rt Hon The Lady … ส่วน Lady of Parliament ไม่ว่าจะตำแหน่งได้เองหรือได้จากการแต่งงาน จะใช้ว่า The Rt Hon The Lady … เหมือนกัน

     สำหรับการเขียนหรือเอ่ยนามแบบย่อโดยทั่วไปนั้น จะมีความต่างกันเล็กน้อยระหว่างผู้ที่ได้ตำแหน่งเอง กับผู้ที่เป็นทายาทของตำแหน่งที่สูงกว่าค่ะ สมมติว่าชื่อต้นและนามสกุลคือ John Smith ถ้าเป็นบารอนเองจะเขียนโดยย่อว่า John, Lord Smith แต่ถ้าเป็นลูกคนรองๆ ลงไปของ Duke, Marquess หรือ Earl จะเป็น Lord John Smith ค่ะ ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะวางตำแหน่งในหลักการเดียวกัน แต่เปลี่ยนจาก Lord เป็น Lady หรือ Baroness แทน ส่วนถ้าเป็นการเขียนชื่อในบัตรประจำตัวต่างๆ หากเป็นตำแหน่งบารอนเองจะเขียนเป็น John Smith, Baron of …

     เชื้อพระวงศ์และขุนนางในสหราชอาณาจักรสามารถมีหลายฐานันดรศักดิ์ได้ในเวลาเดียวกันค่ะ ถ้าเรียกย่อๆ ก็จะใช้ฐานันดรศักดิ์ที่สูงที่สุดที่คนนั้นมีแค่อันเดียวค่ะ

     เช่น พระนามพร้อมพระอิสริยยศและบรรดาศักดิ์ทั้งหมดของ

เจ้าชายฟิลิป

พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 คือ

His Royal Highness The Prince Philip, Duke of Edinburgh, Earl of Merioneth, Baron Greenwich

, Royal Knight of the Most Noble Order of the Garter, Extra Knight of the Most Ancient and Most Noble Order of the Thistle, Member of the Order of Merit, Grand Master and First and Principal Knight Grand Cross of the Most Excellent Order of the British Empire, Knight of the Order of Australia, Additional Member of the Order of New Zealand, Extra Companion of the Queen’s Service Order, Royal Chief of the Order of Logohu, Extraordinary Companion of the Order of Canada, Extraordinary Commander of the Order of Military Merit, Canadian Forces Decoration, Lord of Her Majesty’s Most Honourable Privy Council, Member of the Queen’s Privy Council for Canada, Personal Aide-de-Camp to Her Majesty, Lord High Admiral of the United Kingdom

     แต่จะเรียกกันโดยย่อเพียง

Prince Philip, Duke of Edinburgh

เท่านั้นค่ะ

     และจะเห็นว่าเจ้าชายฟิลิปทรงดำรงพระอิสริยยศทั้งหมด 3 ขั้นจาก 5 ขั้น คือ Duke, Earl และ Baron ในเวลาเดียวกันอีกด้วย (ส่วนที่เหลือจะเป็นเหรียญตราต่างๆ ตำแหน่งอัศวิน และตำแหน่งผู้บัญชาการต่างๆ ที่ไม่ได้เป็น 1 ใน 5 บรรดาศักดิ์ขุนนาง)

    

จริงๆ มีรายละเอียดยิบย่อยอีกเยอะมากเกี่ยวกับฐานันดรศักดิ์ต่างๆ ค่ะ มีตำแหน่งที่ได้รับข้อยกเว้นอีกเยอะ และฐานันดรศักดิ์ของแต่ละประเทศก็อาจจะแตกต่างกันออกไปอีกด้วย แต่คราวนี้น้องๆ ก็น่าจะเห็นภาพรวมของลำดับศักดิ์และระดับของคำศัพท์ที่ต้องใช้ด้วยแล้วนะคะ คราวหน้าที่ดูซีรีส์พีเรียดของฝรั่งอีกจะได้เข้าใจได้มากขึ้นว่าตำแหน่งไหนใหญ่กว่าตำแหน่งไหนบ้างค่ะ

อ้างอิง

[Update] Tips: หลักการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการประชุม | คนรับใช้ ภาษาอังกฤษ – NATAVIGUIDES

ปัจจุบันภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาสากลที่ใช้กันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวันและการทำงาน วันนี้จึงขอเสนอหลักการง่าย ๆ ในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการประชุม ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการทำงานและการติดต่อธุรกิจ ดังนี้ค่ะ

ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้เรื่องหลักการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการประชุม เราลองมาเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มักใช้บ่อย ๆ ในการประชุมกันก่อนนะคะ

1. Discussion  =   การหารือหรือการอภิปราย
2. Root cause   =   สาเหตุของปัญหา
3. Issues  =   ประเด็น
4. Weekly meeting   =   การประชุมประจำสัปดาห์
5. Annual meeting  =   การประชุมประจำปี
6. Shareholder meeting  =   การประชุมผู้ถือหุ้น
7. Agenda  =  หัวข้อเรื่องที่จะพูดในการประชุม
8. Conference room   =   ห้องประชุม
9. Minutes   =  บันทึกการประชุม
10. Vote for   =   จำนวนผู้เห็นด้วย
11. Opposed   =   จำนวนผู้ไม่เห็นด้วย
12. Abstained  =   จำนวนผู้ไม่ออกเสียง

 

หลักการง่าย ๆ ในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการประชุม

1. การเปิดการประชุมและทักทายผู้เข้าร่วมประชุม

การเปิดประชุมและทักทายผู้เข้าร่วมประชุมอาจทำได้โดยประธานในการประชุมหรือผู้ที่จะนำเสนอเรื่องเป็นคนแรกในการประชุม ซึ่งสามารถใช้ประโยคและวลีต่อไปนี้

Good morning/afternoon …
Since everyone is here, let’s get started …   —>   เมื่อครบทุกคนแล้ว พวกเราไปเริ่ม … กันเถอะ

Ex. Since everyone is here, let’s get started the meeting.
     (เมื่อครบทุกคนแล้ว พวกเราไปเริ่มการประชุมกันเถอะ)

Let’s begin …   —>   เริ่ม … กันเถอะ

Ex. Let’s begin meeting
     (เริ่มการประชุมกันเถอะ)

First of all, I really appreciate your presence here today.   —>   อันดับแรก ผม/ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งกับการมาเข้าร่วมประชุมของพวกคุณในวันนี้
First, I’d like to welcome everyone.   —>   อันดับแรก ผม/ดิฉันขอต้อนรับทุกคน
I’d like to thank everyone for coming today.   —>   ผม/ดิฉันขอขอบคุณทุกคนที่มาในวันนี้

2. การแนะนำตัวเองและแนะนำตัวผู้เข้าร่วมประชุม

ก่อนเริ่มการประชุมเราควรมีการแนะนำตนเองและทำความรู้จักกับผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้การประชุมเกิดความเป็นกันเองมากขึ้นและจะได้ทราบว่ามีใครที่ไม่ได้มาเข้าร่วมการประชุม

I’m … (เติมชื่อของตนเองลงไป)
Let’s go around the room and introduced ourselves quickly …   —>   เรามาเริ่มแนะนำตนเองกันอย่างเร็ว ๆ วนไปรอบห้อง
Let’s go around the table and introduced ourselves …   —>   เรามาเริ่มแนะนำตนเองวนไปรอบโต๊ะ

(Someone) sends apologies. He/she couldn’t make it this morning/afternoon … ใช้เมื่อการแนะนำตัวเสร็จสิ้นและต้องการบอกรายชื่อผู้ที่ไม่ได้มาเข้าร่วมการประชุม โดยเปลี่ยนชื่อและเวลาตามความเป็นจริง

Ex. Somsri sends apologies. She couldn’t make it this morning.
     (สมศรีฝากมาขอโทษว่าหล่อนไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมได้ในเช้านี้)

3. การนำเสนอวาระการประชุม

ก่อนเริ่มการประชุมควรมีการนำเสนอวาระการประชุมทุกครั้ง เพื่อจะได้ทราบถึงขอบเขตการประชุมในครั้งนี้และเป็นการตรวจสอบว่าได้ตกหล่นประเด็นใดไปหรือไม่ การประชุมในครั้งนี้มีประเด็นครบถ้วนแล้วหรือยัง โดยอาจใช้ประโยคในการนำเสนอวาระการประชุมดังนี้

So let’s start with the first item on the agenda …   —>    ดังนั้นเรามากันที่หัวข้อแรกในการประชุมกันเถอะ …
Our goal today is to …   —>   จุดหมายของการประชุมในวันนี้คือ…

Ex. Our goal today is to discuss about our new project.
     (จุดหมายของการประชุมในวันนี้คือหารือเกี่ยวกับโครงการใหม่ของเรา)

We have a few items to discuss today. The first is … The second is …   —>   เรามีประเด็นสองสามเรื่องที่จะต้องอภิปรายกันในวันนี้ ประเด็นแรกคือ … ประเด็นที่สองคือ …

Ex. We have a few items to discuss today. The first is increasing the number of employees. The second is new project’s budget.
     (เรามีประเด็นสองสามเรื่องที่จะต้องอภิปรายกันในวันนี้ ประเด็นแรกคือ การเพิ่มจำนวนพนักงาน ประเด็นที่สองคือ งบประมาณของโครงการใหม่)

We’re here to discuss …   —>   พวกเรามาอยู่ที่นี่เพื่อหารือเรื่อง …

Ex. We’re here to discuss about providing the education for workers.
     (เรามาประชุมกันในวันนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับการให้การศึกษาแก่คนงาน)

At the end of our discussion today, we should have a decision on …   —>    ในตอนท้ายของการอภิปรายในวันนี้ พวกเราจะต้องตัดสินใจว่า …

Ex. At the end of our discussion today, we should have a decision on increasing budget for our new project.
     (ในตอนท้ายของการอภิปรายในวันนี้ พวกเราจะต้องตัดสินใจกับการเพิ่มงบประมาณโครงการใหม่ของเรา)

4. การสอบถามความคิดเห็นหรือข้อมูลจากผู้อื่น

การประชุมในแต่ละครั้งเป็นการประชุมเพื่อชี้แจงและร่วมหารือในประเด็นใดประเด็นหนึ่งร่วมกัน ดังนั้นการสอบถามความคิดเห็นหรือข้อมูลจากผู้อื่นจึงถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในการประชุม โดยอาจใช้ประโยคดังต่อไปนี้

What does everyone think?   —>    ทุกคนคิดเห็นอย่างไร?
What are your thoughts on …   —>    คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ …?
Tom, would you like to offer any information on this?   —>    ทอม คุณต้องการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือเปล่า?
I’d like to hand it over to Cindy, who can share her thoughts about …   —>    ผม/ดิฉันขอยกหน้าที่ต่อให้ซินดี้ ซึ่งเธอจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับ …

5. การสรุปประเด็นสำคัญและการตัดสินใจในการประชุม

ในตอนท้ายของการประชุมจะต้องมีการสรุปประเด็นสำคัญในแต่ละหัวข้อที่ได้ชี้แจงหรือหารือร่วมกันในการประชุม รวมถึงการสรุปความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่หรือผลการตัดสินใจต่อประเด็นต่าง ๆ ในการสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุม

After discussing our options, it’s time for a final decision.   —>    หลังจากการหารือประเด็นต่าง ๆ ของเรา ตอนนี้ถึงเวลาที่จะสรุปการตัดสินใจสุดท้าย
Let’s put it to a vote – all in favor, raise your hand.   —>    เรามาโหวตกันเถอะ ใครเห็นด้วยให้ยกมือขึ้น
It seems clear from our discussion that everyone is opposed/in favor of …   —>    ดูเหมือนจะชัดเจนจากการหารือว่าทุกคนไม่เห็นด้วย/เห็นด้วยกับ …

6. การปิดการประชุม

เมื่อใกล้ครบกำหนดเวลาการประชุมหรือการหารือเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ได้ครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่ดำเนินการประชุมอาจจะใช้ประโยคในการเริ่มปิดการประชุมดังนี้

We’re getting close to our time, so let’s wrap it up.   —>    ใกล้ครบกำหนดเวลาการประชุม ดังนั้นเรามาสรุปการประชุมกันเถอะ
Any final thoughts before we close the meeting?   —>    ใครมีความคิดเห็นอะไรอีกหรือเปล่า ก่อนที่เราจะปิดการประชุม?
It looks like we’ve covered our main points …   —>    ดูเหมือนว่าเราได้ครอบคลุมประเด็นหลักเรียบร้อยแล้ว …
I’d like to thank everyone for sharing their time today.   —>    ผม/ดิฉันขอบคุณทุกคนที่สละเวลามาในวันนี้
I look forward to seeing you all at our next meeting.   —>    ผม/ดิฉันหวังว่าจะได้พบพวกคุณทุกคนในการประชุมครั้งถัดไป

เป็นอย่างไรบ้างคะ? สำหรับคำศัพท์และการใช้ภาษาอังกฤษในการประชุมมีหลักการง่าย ๆ ซึ่งนำไปใช้ได้ไม่ยากเลย ลองนำไปฝึกใช้พูดกันดูนะคะจะได้ดูเป็น Professional ในการเข้าร่วมการประชุมในครั้งถัดไป Ppalmpalmm หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายคนที่อาจต้องใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานหรือการประชุมนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ ^^

 

 


ครอบครัวของแฟนฉันไหว้สาวใช้


ไง! เดซี่นะคะ ฉันเป็นแค่สาวมหาลัยอายุ 19 ปีธรรมดาที่ได้อยู่ห่างจากบ้านเป็นครั้งแรก และยอมรับเลยว่าบางทีก็เหงา รู้สึกคิดถึงบ้านมากๆ แต่ก็ไม่เป็นไรหรอกค่ะ เพราะว่าฉันมี \”ลูคัส\” แฟนหนุ่มผู้น่ารัก โอเคค่ะ! ครอบครัวของเขารวยมากและเขาก็พาไปที่หรูๆ ซื้อของขวัญสวยๆ ให้
ไม่กี่วันก่อนเขาชวนฉันไปอยู่กับเขาที่แมนชั่นของตระกูลและฉันก็ตกลงทันที อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะคะฉันไม่ได้มาสูบเงินเขาหรอก ฉันแค่ไม่มีทางเลือก
ความไวใจ การใส่ร้าย เรื่องจริง
ช่องนี้สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำวิดีโอที่น่าสนใจซึ่งจัดทำโดยทีมงานของเราเข้าใกล้ชุมชนที่พูดภาษาไทยมากขึ้น
เนื้อหาทั้งหมดใน \”เรื่องเล่าของเรา\” ดัดแปลงมาจากช่องภาษาอังกฤษของเรา \”Short Stories\”
ช่องภาษาอังกฤษ: https://www.youtube.com/channel/UC3OyO1Ry7puJ7UIUjEvKj7Q

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ครอบครัวของแฟนฉันไหว้สาวใช้

บ้านฉันห้ามผู้ชายเข้าบ้าน


คุณเคยรู้สึกเหมือนบ้านตัวเองมีอาถรรพ์ไหม? ฉันเติบโตมากับคุณยาย แม่ และพี่สาว รอบตัวฉันมีแต่ผู้หญิงแต่ไม่มีผู้ชายเลยเป็นอาถรรพ์แน่ๆ เพราะคุณยายของฉันเจอผู้ชายห่วยๆ แถมชีวิตคู่ของคุณแม่ฉันก็ยังแย่ด้วย ก็นั่นทำให้แม่กับยายฉันไวต่อคำว่าผู้ชายมาก ท่านคิดว่าผู้ชายทุกคนอันตรายแล้วบอกให้ฉันกับพี่สาวอย่าไปยุ่งกับพวกผู้ชาย
ไม่ให้คบผู้ชาย การทดสอบ เรื่องจริง
ช่องนี้สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำวิดีโอที่น่าสนใจซึ่งจัดทำโดยทีมงานของเราเข้าใกล้ชุมชนที่พูดภาษาไทยมากขึ้น
เนื้อหาทั้งหมดใน \”เรื่องเล่าของเรา\” ดัดแปลงมาจากช่องภาษาอังกฤษของเรา \”Short Stories\”
ช่องภาษาอังกฤษ: https://www.youtube.com/channel/UC3OyO1Ry7puJ7UIUjEvKj7Q

บ้านฉันห้ามผู้ชายเข้าบ้าน

น้องอินเตอร์สอนทำเกี๊ยวน้ำ


ดูคลิปฮาแบบชัดๆจัดเต็ม https://www.youtube.com/channel/UC1XBVkdmE9kfcP3zWtnD0dw
อย่าลืมกดกระดิ่งนะคะจะได้ไม่พลาดสักคลิป❤️

น้องอินเตอร์สอนทำเกี๊ยวน้ำ

คำว่า \”แม่บ้านทำความสะอาด\” ในภาษาอังกฤษ : สาระน่ารู้จาก Chris Jobs


หลายคำในภาษาอังกฤษที่จะมีคำที่คล้ายกันจนเกิดการเข้าใจผิด และนำไปไม่ถูกต้อง เช่น คำว่า Corridor ที่แปลว่า ทางเดินในอาคาร หลายคนไปเข้าใจว่า door ที่แปลว่าประตู ส่วนคำว่า แม่บ้านทำความสะอาด จะเรียกว่า Housekeeper อย่าไปสับสนกับคำว่า Housewife ซึ่งจะแปลว่าภรรยา ชมย้อนหลังรายการ Chris Jobs ได้ที่ http://www.thaipbs.or.th/ChrisJobs

กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://shorturl.at/czXZ0
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBSFan
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

คำว่า \

เมื่อชาวต่างชาติตั้งคำถาม : ทำไมในสหรัฐอเมริกาถึงมีร้านอาหารไทยเยอะ..???


ความคิดเห็นชาวต่างชาติ
แหล่งข้อมูล
https://www.reddit.com/r/todayilearned/comments/ahdokd/til_that_the_reason_there_are_so_many_thai/
https://www.vice.com/en/article/paxadz/thesurprisingreasonthattherearesomanythairestaurantsinamerica

GastroDipplomacy
การทูตทางด้านอาหารของไทย
https://youtu.be/0Ov02GhQZpU

เมื่อชาวต่างชาติตั้งคำถาม : ทำไมในสหรัฐอเมริกาถึงมีร้านอาหารไทยเยอะ..???

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ คนรับใช้ ภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *