Skip to content
Home » [Update] ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? ทำไมเราต้องจ่าย | หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง – NATAVIGUIDES

[Update] ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? ทำไมเราต้องจ่าย | หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง – NATAVIGUIDES

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง: คุณกำลังดูกระทู้

Table of Contents

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร หักยังไง

คำถามนึงที่พบบ่อยมากๆ ตอนที่ผมทำงานเป็นที่ปรึกษาบัญชีภาษีให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ก็คือ เรื่อง “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” แล้ว “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” คืออะไร? หักกันยังไงล่ะ?ทำไมต้องหัก? แล้วหักยังไง? เท่าไหร่? วันนี้จะได้รู้กันครับ

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีไว้ทำไม?

ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรบอกไว้ว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” คือตัวช่วยในการลดภาระผู้เสียภาษี ไม่ต้องเสียภาษีเยอะๆ ทีเดียวตอนปลายปีครับ แต่ว่าถ้ามองในอีกแง่ คือ เค้ากลัวเราเบี้ยวเงินภาษีเงินได้ปลายปีมากกว่า กลัวไม่มีตังค์จ่าย ก็เลยทยอยๆ รับเงินไว้เลย ตอนที่เราได้รับเงินนั้นเอง

ใครต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งสรรพากร?

หลายคนอาจจะคิดว่าเฉพาะบริษัท หรือนิติบุคคลเท่านั้นที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่จริงๆไม่ใช่นะครับ การจะหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับประเภทรายการที่คุณจ่ายครับ นั่นคือคุณจ่ายค่าอะไร เช่น ถ้าคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ดังนั้นแม้ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เปิดร้านแต่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล มีพนักงาน จ้างคนมาเฝ้าร้าน คุณก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าจ้างนั้น แล้วนำส่งสรรพากรด้วยนะครับ ถ้าเข้าเกณฑ์ที่ต้องหัก

สรุป ผู้ที่จะต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือผู้จ่ายเงินที่เป็นตาสีตาสา ผู้ประกอบการทั่วไป บริษัทห้างร้าน สมาคม จนถึงองค์กรของรัฐ ขึ้นอยู่กับจ่ายเป็นค่าอะไร และผู้ที่ถูกหัก นั้นต้องเสียภาษีหรือไม่

ใครต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย?

“ผู้ที่ต้องเสียภาษีทุกคนต้องถูกหัก” ครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม อีกนัยนึงก็คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ถ้าคุณไม่เข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษี ก็ไม่จำเป็นต้องถูกหักครับ บอกคู่ค้า หรือผู้ที่จ่ายเงินให้คุณด้วยถ้าเค้าไม่รู้ หรือถ้าคุณถูกหักไว้แล้วก็ขอคืนได้ เช่น ประกอบธุรกิจที่ได้  BOI หรือมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี พวกนี้ไม่ต้องเสียภาษี ก็ไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายครับ

สำหรับผู้ประกอบการคุณจะมีโอกาสเป็นทั้งคนที่ไปหักเค้าหรือคนที่ถูกเค้าหักทั้ง 2 กรณี มาดูกันว่าค่าอะไรต้องหักเท่าไหร่กันบ้าง ผมจะยกตัวอย่างมาเฉพาะที่เจอบ่อยๆ ในการทำธุรกิจปกตินะครับ รายการแปลกๆ ไปดูเพิ่มเติมได้ที่ กรณีผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา กรณีผู้รับเป็นนิติบุคคล

ต้องหักเมื่อไร?

 เมื่อจ่ายเงินที่เกิน 1,000 บาทในคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันก็แล้วแต่ เช่นถ้าคุณแบ่งจ่ายบริการมูลค่า 1,200 บาท 2 ครั้ง ครั้งละ 600 บาท คุณต้องหักไว้ทั้ง 2 ครั้งด้วย แม้แต่ละครั้งจะไม่เกิน 1,000 บาท

รายการอะไรบ้างที่เราต้องหัก และนำส่ง เมื่อจ่ายให้บุคคลธรรมดา

1. เงินเดือน ค่าจ้าง (เงินได้ประเภทที่ 1)

อันนี้ชัดเจนครับ ถ้าคุณจ่ายเงินให้พนักงานหรือคนที่จ้างทำงานให้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ต้องหักเอาไว้ด้วยนะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : ต้องคำนวณเงินได้ทั้งปี หักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วหักตามอัตราก้าวหน้า เหมือนกับคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่เป็นไปได้ตั้งแต่ 0 คือไม่หักเลย หรือเป็นเท่าไหร่ก็แล้วแค่คำนวณครับ วิธีการคำนวณแนะนำให้ถามนักบัญชี หรือฝ่ายบุคคลดูนะครับ หรือถ้ามีเวลาจะเขียนการคำนวณในอีกบทความต่อไป
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.1
ต้องนำส่งสรรพากรภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก

2. จ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2)

ถ้าคุณจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดาที่เค้ารับทำอะไรบางอย่างให้ เช่น เป็นนายหน้าขายของ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม หรือรับทำ หรือให้บริการอะไรบางอย่าง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ไม่ควรลืมเลยล่ะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : เหมือนข้อ 1 เลยครับ
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง: ภ.ง.ด.1 
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก

เพิ่มเติม : หลายคนอาจจะคิดในใจว่า รับจ้างทำงานให้ ไม่ใช่รับทำของแล้วหัก 3% หรอ? ตรงนี้แหละครับที่เริ่มจะต้องใช้การตีความและข้อเท็จจริงบางอย่างเพื่อแบ่งระหว่างจ้างทำของกับรับจ้างทำงานให้

* ความแตกต่างระหว่าง “จ้างทำของ” กับ “รับทำงานให้” นั่นแยกได้ไม่ยากมากครับ นั่นคือ จ้างทำของผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่สำคัญในการทำงานเอง ผู้จ่ายเงินไม่ได้หามาให้ อันนี้ถือเป็นการทำธุรกิจแบบนึง ในกรณีนี้หัก 3% ครับ แต่ว่าถ้าเป็นการขายของให้ หรือจ้างเป็นเซลล์ให้ส่วนแบ่งการขาย อันนี้ให้คำนวณเหมือนเค้าเป็นพนักงานเลยครับ เพราะว่าไม่ได้เป็นการใช้อุปกรณ์อะไรเป็นการเฉพาะ *

3. จ้างทำของ / จ้างรับเหมา (เงินได้ประเภทที่ 7/8)

ตามที่ได้อธิบายไว้ด้านบนครับ ถ้าคุณจ้างใครทำอะไรให้ แล้วเค้าต้องใช้อุปกรณ์อะไรของเค้าเอง เช่น จ้างเขียนโปรแกรม เค้าต้องไปหาคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้เขียนเอง อันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ หรือถ้าคุณจ้างออกแบบให้ เค้าต้องไปหาคอมพ์และโปรแกรมออกแบบเองอันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ แต่ถ้าคุณมีอุปกรณ์อะไรให้ครบครั้น แล้วให้เค้าออกแบบให้เฉยๆ อันนี้ถือว่าเป็นการจ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2) ฟังดูไม่ยากใช้มั้ยครับ? แบ่งง่ายๆ ว่าใครให้ใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จ แล้วอย่าลืมว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่ต้องหักเอาไว้ด้วยล่ะครับ

ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

4. จ้างบริการวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)

คุณอาจจะต้องจ้างผู้สอบบัญชี หรือทนายความบ้างในการทำธุรกิจ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่คุณห้ามลืมเลยล่ะ
ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

5. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)

ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากบุคคลธรรมดา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่คุณห้ามลืมนะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เพิ่มเติม: คุณอาจจะเคยเจอว่าผู้ให้เช่าเค้าจะรับเงินเต็มๆ ไม่ให้หัก ณ ที่จ่าย!! อันนี้เป็นเรื่องน่าลำบากใจมากครับ คุณมี 3 ตัวเลือกที่จะทำ
1) คุณเป็นผู้ออกภาษีแทนให้ แล้วนำส่งแบบตามปกติต่อไป แต่ก็เหมือนกับค่าเช่าคุณแพงขึ้นไปอีกประมาณ 5% แต่ธุรกิจคุณจะปลอดภัยจากค่าปรับภาษี และไร้จุดอ่อนไม่ให้สรรพากรโจมตีได้
2) หาที่เช่าใหม่ นี่มันไม่ถูกต้อง!! ชั้นไม่ออกภาษีให้หรอก!
3) นิ่งๆ ไม่หักก็ไม่หัก เงียบๆ ไว้จะเลือกทางไหนก็แล้วแต่คุณแล้วกันครับเมื่อจ่ายให้นิติบุคคล

6. จ้างทำของ/จ้างรับเหมา/บริการต่างๆ (เงินได้ประเภทที่ 7/8)

อันนี้เป็นกรณีเกิดขึ้นบ่อยสุดแล้วครับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่แตกต่างจากประเภทอื่นๆ ซึ่งสำหรับบริการธุรกิจต่างๆ หัก 3% ใช้กันจนจะลืมว่ามีอัตราอื่นๆ กันแล้ว
ต้องหักเท่าไหร่ : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

7. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)

ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากนิติบุคคล อันนี้ก็เหมือนๆ กับเช่าจากบุคคลธรรมดาแหละครับ ต่างกันแค่แบบ แล้วภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือสิ่งที่คุณห้ามลืมเลยล่ะครับ
ต้องหักเท่าไหร่ : 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

8. ค่าโฆษณา (เงินได้ประเภทที่ 8)

ถ้าคุณจ้างบริษัทโฆษณาต่างๆ ให้โฆษณาให้ คุณต้องหัก ณ ที่จ่ายดัวยนะครับ แต่อัตราอาจจะแปลกๆ กว่าอันอื่นๆ หน่อย ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่ถูกหักเพียง 2% เท่านั้น
ต้องหักเท่าไหร่ : 2%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

9. ค่าขนส่ง (เงินได้ประเภทที่ 8)

ถ้าคุณจ้างบริษัทขนส่ง “ไม่สาธารณะ” ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่ต้องหักแค่ 1% นะครับ อย่าหัก 3% เดี๋ยวของคุณจะไปไม่ถึงปลายทาง
ต้องหักเท่าไหร่ : 1%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เรียบเรียง โดย ภีม เพชรเกตุ

ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จากโครงการ True Incube ในกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น, ชนะเลิศโครงการ Angel in the City 2014 ขององค์การส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ, Microsoft BizSpark Plus Partner, และได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยให้ธุรกิจคุณไปได้ไวและไกลกว่า
ท่านสามารถทดลองใช้งานได้ที่ ทดลองใช้ฟรี

[NEW] ออกหนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่าย ด้วย FlowAccount | หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง – NATAVIGUIDES


Excel ช่วยจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.3)


ช่วยจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
จัดทำใบแนบ ภ.ง.ด.3
เตรียมข้อมูลสำหรับยื่นภาษีออนไลน์
Excel : www.iliketax.com/download/pnd3.xlsx

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Excel ช่วยจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.3)

EP.2 จะทำยังไงถ้าวันที่ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ไม่ตรงกับวันที่จ่ายค่าบริการ


Podcast EP.2 จะทำยังไงถ้าวันที่ในหนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่าย ไม่ตรงกับวันที่จ่ายค่าบริการ
ให้ความรู้โดยพี่เก่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษี, ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

กำลังมีปัญหาบัญชีและภาษีอยู่ใช่ไหม? รับให้คำปรึกษา!
ติดต่อ พี่เก่ง โทร. 0816487459
Line id: surapa.jam

ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีและภาษี
YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCpsA7YXp8SlteplIJgFgvGw
Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao/
เว็บไซต์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/

วันที่หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายไม่ตรงเอกสาร
วันที่หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ไม่ตรง

EP.2 จะทำยังไงถ้าวันที่ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ไม่ตรงกับวันที่จ่ายค่าบริการ

กรมบัญชีกลาง แจงเพิ่มเงินบำนาญ ช.ค.บ. เพิ่มเฉพาะรายที่ได้น้อย ให้ได้รับ 1 หมื่น


จากกรณีมีการเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ว่า ร่าง พ.ร.ฎ.เพิ่มเงินให้ผู้รับบำนาญขยายเพดานวงเงินบำเหน็จ ผ่านการพิจารณาแล้ว โดยเพิ่ม ช.ค.บ.รายเดือน ไม่ถึง 10,000 บาท ให้ 5,000 บาท ไม่ถึง 20,000 บาท ให้ 4,000 บาท ไม่ถึง 30,000 บาท ให้ 3,000 บาท ไม่ถึง 40,000 บาท ให้ 2,000 บาท ไม่ถึง 50,000 บาท ให้ 1,000 บาท กรมบัญชีกลางขอยืนยันว่าข้อมูลที่มีการเผยแพร่ข้างต้น ไม่เป็นความจริง

นางญาณี แสงศรีจันทร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ซึ่งการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว จะแก้ไขในเรื่อง การปรับเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ให้กับผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญรวมกันทุกประเภทและรวม กับ ช.ค.บ. แล้ว ไม่ถึงเดือนละ 10,000 บาท ให้ได้รับ ช.ค.บ.เพิ่มขึ้นเมื่อรวมกับเบี้ยหวัดบำนาญและ ช.ค.บ.แล้วจะได้รับเป็นเดือนละ 10,000 บาท

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และกรมบัญชีกลางยืนยันร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายมีเพียงประเด็นปรับเพิ่มเงิน ช.ค.บ. ตามที่อธิบายรายละเอียดไว้ข้างต้นแล้ว ขอให้อย่าหลงเชื่อข้อมูลที่มีการส่งต่อกันทางสื่อออนไลน์

รายละเอียดเพิ่มเติม https://morningnews.bectero.com/economy/12Mar2019/140102

เรื่องเล่าเช้านี้ (Morning News)12 มีนาคม 2562
ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารได้ก่อนใครได้ที่นี่
เรื่องเล่าเช้านี้.com : https://morningnews.bectero.com
facebook : https://www.facebook.com/MorningNewsTV3
Twitter : https://twitter.com/MorningNewsTV3
Official LINE : @ruenglao

กรมบัญชีกลาง แจงเพิ่มเงินบำนาญ ช.ค.บ. เพิ่มเฉพาะรายที่ได้น้อย ให้ได้รับ 1 หมื่น

ทริกขอคืนภาษีง่ายๆ 6 วิธีขอคืนภาษี 2563 แบบได้รับเงินเร็วทันใจ ไม่ต้องรอนาน ที่ใครก็สามารถทำตามได้


ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2563 ยังไงดี ให้ได้เงินคืนเร็ว ๆ ไม่ต้องรอนาน มาดูทริกขอคืนภาษีง่าย ๆ ที่ใครก็สามารถทำตามได้
การยื่นภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร : https://epit.rd.go.th/publish/index.php
ดาวน์โหลดแอปฯ RD Smart Tax :
ระบบ iOS : https://apps.apple.com/th/app/rdsmarttax/id616843710
ระบบ Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.revenuedepartment.app\u0026hl=th
ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับการยื่นภาษีก็สามารถสอบถามได้เลยที่ กรมสรรพากร หรือโทร. 1161
หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 มกราคม 2564
คลิปที่ท่านสนใจ
เช็กเลย! ประกันสังคม เยียวยาโควิดรอบนี้ ได้อะไรบ้าง หลังบางส่วนชวดเราชนะ EP.9
https://youtu.be/KCcM4TGLqc
ด่วน! 5ขั้นตอน วิธีการขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงาน จากประกันสังคม ช่วงโควิด19 นี้ EP.8
https://youtu.be/DgHF4co8JF8
ประกันสังคม แจกใหญ่ เงินว่างงานช่วงโควิด และขวัญพิเศษ 4 ชิ้น ให้ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 EP.7
https://youtu.be/YDO6KDeHtpo
วิธีรับเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800บาท ตารางวันรับเงิน และสิทธิคลอดบุตร ฝากครรภ์ EP.6
https://youtu.be/YnM1raxHe_I
กยศ.มอบของขวัญปีใหม่ให้ลูกหนี้ ลดเบี้ยปรับ 80100% เริ่ม ม.ค–มิ.ย 2564 EP.5
https://youtu.be/nY2BCTO6nso
ครม.ไฟเขียว เริ่ม 1ม.ค 64 ลดส่งเงินสมทบเหลือ3% 3เดือน และเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรให้ 800 บาท EP.4
https://youtu.be/LROtDB0mjpA
ลุ้นชงต่ออายุ ลดเงินส่งประกันสังคม เหลือ 1% นาน 3 เดือน คาดเริ่มมกราคม 64 EP.3
https://youtu.be/yJXEV1y3Q
รู้หรือไมว่า! ถ้าส่งประกันสังคมครบ 179 เดือน กับ 180 เดือนแล้ว มีผลต่างกันอย่างไรมาดูกันครับ EP.2
https://youtu.be/WgOP5fWNi4E
รู้หรือไม่ว่า ถ้าไม่อยากรับเงิน ชราภาพเป็นบำนาญ แต่ส่งประกันสังคมครบ180เดือนแล้ว มีวิธีนะครับมาดูกัน EP.1
https://youtu.be/Gqgzop9qA1A

ขอบคุณทุกๆท่านที่กด Like กด share และ กด subscribe กำลังใจที่ดีมากๆครับ
และอย่าลืมกดรูปกระดิ่งเพื่อจะได้ไม่พลาดคลิปใหม่ ๆ นะครับ
FreedomChannelbyKasemsan แค่พื้นฐาน
ติดตามช่อง FreedomChannelbyKasemsan ▶ : https://www.youtube.com/channel/UCg1R…
Facebook Fan Page ▶ :

ติดต่องาน
Email : [email protected]

ทริกขอคืนภาษีง่ายๆ 6 วิธีขอคืนภาษี 2563 แบบได้รับเงินเร็วทันใจ ไม่ต้องรอนาน ที่ใครก็สามารถทำตามได้

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ I TAX เพื่อนๆ EP7


หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่มีชื่อเล่นว่า “ใบ 50 ทวิ” เอกสารสำคัญที่ทุกคนใช้เป็นหลักฐานการยื่นภาษี แต่น้อยคนที่เข้าใจรายละเอียดอย่างถูกต้อง วันนี้มาพูดคุยกันสบาย ๆ กับทุกประเด็นที่น่าสนใจของใบ 50 ทวิกัน
taxเพื่อนๆ FINNOMENA ภาษี
ดูเนื้อหาที่สนใจแบบไว ๆ
0:34 ใบ 50 ทวิ คืออะไร?
1:44 ทำไมใบ 50 ทวิ ถึงสำคัญ?
2:42 ใครมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และออกใบ 50 ทวิ? 
4:22 ความเข้าใจผิดเบื้องต้นของใบ 50 ทวิ
6:22 เราควรจะได้รับใบ 50 ทวิเมื่อไร?
6:53 ทำใบ 50 ทวิหาย จะทำยังไง จะยื่นภาษีไม่ได้ใช่มั้ย
7:38 ถ้าได้รับเงินมา แบบที่ไม่มีใบ 50 ทวิให้ แบบนี้ก็ไม่ต้องยื่นภาษีใช่มั้ย
อ่านเนื้อหาแบบสรุปเป็นบทความได้ที่ https://finno.me/taxfriendcertificateclip

เปิดบัญชีซื้อกองทุนรวมกับ FINNOMENA ได้ที่ https://finno.me/oa954
ฝากอีกนิดนึง สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนรวมไม่ว่าจะเป็น SSF หรือ RMF วันนี้ทาง FINNOMENA เปิดให้ผู้ลงทุนสามารถเปิดบัญชีและซื้อกองทุนรวมลดหย่อนภาษีจากแอปพลิเคชั่นได้ โดยไม่ต้องใช้กระดาษแม้แต่แผ่นเดียว ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ https://finno.me/taxfundfund

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ I TAX เพื่อนๆ EP7

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *