Skip to content
Home » [Update] ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) | main clause คือ – NATAVIGUIDES

[Update] ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) | main clause คือ – NATAVIGUIDES

main clause คือ: คุณกำลังดูกระทู้

ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) เป็นลักษณะประโยคที่บอกการกระทำของกิริยาอีกลักษณะหนึ่งที่มีความสำคัญพอๆ กับเรื่อง “mood” เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ข้อความของประโยคในรูปแบบต่างๆ จะแสดงความหมายไม่เหมือนกัน ข้อความบางอันเป็นจริง แต่ข้อความบางอันไม่เป็นจริง เป็นแต่การสมมุติเท่านั้น

ฉะนั้น จำเป็นที่จะต้องศึกษารูปแบบของประโยคเงื่อนไขต่างๆ ให้ดี จึงจะเข้าใจข้อความได้ถูกต้องขึ้น ประโยคเงื่อนไขนั้น ความจริงก็คือ Adverb clause ชนิดหนึ่งที่แสดงเงื่อนไข (Condition) ซึ่งมีตัว Relative เช่น “if, unless, provided (that), suppose (that), on condition that” แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ “if’ บางตำรา จึงเรียกประโยคเงื่อนไขว่า “IF-Clause” ก็มี

ชนิดของประโยคเงื่อนไข
ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เงื่อนไขที่เป็นจริง หรือเงื่อนไขที่เป็นไปได้ในอนาคต (Real Conditions or Open Conditions) มีรูปแบบโครงสร้างดังนี้

Subordinate Clause            Main Clause
IF + Present Simple            Future Simple

ตัวอย่าง
If John works hard, he will pass his examination.
If the rain stops I shall go for a walk.
Unless the rain stops I shall not go for a walk.

ตำแหน่งการวาง Clause ทั้ง 2 อาจสลับกันได้ คือ เอา Main Clause ขึ้น แล้วตามด้วย Subordinate Clause (แต่อย่างไรก็ดี ถ้าขึ้นต้น ประโยคด้วย Subordinate Clause หรือ if Clause ก่อนจะเป็นการเน้นยิ่งขึ้น) เช่น
I will help him if he asks me.
I won’t help him unless he asks me.
He will do the work if (provided that/on condition that) he has the time.

ประโยคเงื่อนไขแท้จริง (Real Conditions) นอกจากจะใช้โครงสร้างประโยคดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช้มากที่สุดแล้ว ยังมีโครงสร้างอีกแบบหนึ่งซึ่งใช้มากเช่นกัน และค่อนข้างจะมีความหมายเน้น (Emphasis) กว่าโครงสร้างข้างบน คือ

Subordinate Clause                Main Clause
If + Present Simple                 Present Simple

ตัวอย่าง
If you are right, I am wrong.
If he comes, I tell you.
If you boil water, it changes into steam.

นอกจากโครงสร้างหลัก 2 แบบ ดังกล่าวแล้ว ประโยคเงื่อนไขแท้จริง อาจใช้ในแบบอื่นๆ อีก เช่น ตัวอย่าง
1. If + Present Simple\Future Perfect Tense เช่น If I get this right, I shall have answered every question correctly.
2. IF + Present Simple, Past Simple Tense เช่น If what you say is right, then what I said was wrong.
3. If + Present Simple, Imperative Mood. เช่น If you meet Henry, tell him I want to see him. It the ground is very dry, don’t forget to water those plants.
4. If + should + Bare Infinitive, Imperative or Future in Question Forms เช่น
If you should meet Henry, tell him I want to see him.
If he should come, please give him this book.
If you should be passing, do come and see us.
If the train should be late, what will you do?

หมายเหตุ โครงสร้างตามรูปแบบที่ 4 นี้ จะมีความหมายความเป็นไปได้ที่น้อยลงกว่าโครงสร้างปกติ (Remote Possibility)
5. If + Past Simple, Present Simple Tense เช่น If I said that, I apologise.
6. If + Past Simple, Past Simple Tense เช่น If I said that, I was mistaken.
7. If + Past Simple, Future Simple Tense เช่น If I made a mistake, I will try to remedy it.
8. If + Present Perfect, Future Simple Tense เช่น If I have made a mistake, I will try to remedy it.
9. IF + Present Perfect, Present Simple Tense เช่น If you have done your work, you may go to the cinema.

ข้อสังเกต
1. ใน IF-Clause จะไม่ตามด้วย Future Tense เลย แม้ว่าความหมายจะเป็นอนาคตก็ตาม เช่น
I shall go for a walk if the rain will stop. (ผิด)
I shall go for a walk if the rain stops. (ถูก)

2. “will” จะใช้ใน IF-Clause แต่มิได้แสคงความหมาย “อนาคตกาล” แต่แสดงถึง “ความเต็มใจหรือตั้งใจทำ (Willingness) เช่น
If you will sign this agreement, I will let you have the money at once.

แต่ข้อความข้างบนจะสุภาพยิ่งขึ้นถ้าใช้ “would” เช่น If you would (=would be so kind as to/would be kind enough to) sign this agreement, I will let you have the money at once.

2. เงื่อนไขที่ไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติ (Unreal Conditions or Hypothetical Conditions, Suppositions) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
2.1 เงื่อนไขที่ไม่จริง หรือเป็นไปไม่ได้ในอนาคต (Unreal Conditions in Future) มีรูปแบบดังนี้

Subordinate Clause            Main Clause
IF+Past Simple Tense        Future Simple in the Past

เช่น
If Henry were here, he would know the answer.
If I had the money, I would buy a new car.
If I were King, you should be Queen.

ข้อสังเกต
1. ใน IF-Clause ที่แสดงเงื่อนไขไม่จริงในอนาคตนี้ จะใช้ “were” กับทุกๆ ประธาน
2. รูป Future Simple in the Past นั้น ก็คือ รูปที่มาจาก Future Simple นั่นเอง แต่เปลี่ยน “will” เป็น “would” หรือเปลี่ยน “shall” เป็น “should”
3. ความหมายของทุกตัวอย่างข้างต้น จะแสดงการสมมุติทั้งสิ้น เช่น
“If Henry were here……” แสดงว่า “ผมรู้ว่าเฮนรีไม่มีโอกาสจะอยู่ที่นี่ได้เลย” หรือ “If I had the money………” หมายความว่า “ผมรู้ว่าผมไม่มีทางจะมีเงินจำนวนนั้นได้เลย’’ ตัวอย่างประโยคสุดท้ายยิ่งเน้นชัดว่า ข้อความนั้นไม่มีทางเป็นไปได้อย่างยิ่ง คือ “If I were King…………”

อนึ่ง รูปแบบเงื่อนไขไม่แท้จริง หรือเงื่อนไขเป็นไปไม่ได้ในอนาคตนี้ อาจแสดงได้อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะมีความหมายเน้นขึ้น

IF+Past Simple Tense        Future Perfect in the Past
เช่น
If he were really interested in buying the property, he would have made an offer before now.

หมายเหตุ รูป Future Perfect in the Past นั้นคือรูป Future Perfect Tense นั่นเอง แต่เปลี่ยน “will” เป็น “would” “shall” เป็น “should” เช่นกัน

2.2 เงื่อนไขไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติย้อนอดีต (Unreal Conditions in Past) มีรูปแบบดังนี้

Subordinate Clause                  Main Clause
IF + Past Perfect Tense            Future Perfect in the Past
เช่น
If John had worked hard, he would have passed the examination.
If you had asked me, I would have helped you.
If I had had the money, I would have bought a bigger house.
If the hat had suited me, I would have bought it.
I should never have done that work if you had not helped me.
If you hadn’t told me about it, I might never have gone to see it.

ข้อสังเกต
1. รูป Future Perfect in the Past ก็คือ รูปที่มาจาก Future Perfect Tense นั่นเอง แต่เปลี่ยน “will” เป็น “would” หรือ “shall” เป็น “should”

2. ความหมายของรูปเงื่อนไขไม่จริงย้อนอดีตนี้จะมีความหมายเหมือนกับโครงสร้าง “wish + Past Perfect” (ดูเรื่อง “Mood” ที่เกี่ยวกับโครงสร้าง “wish” ประกอบ) กล่าวคือ เป็นเงื่อนไขที่กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและได้กระทำลงไปตรงกันข้ามกับรูปประโยคเสมอ หรือเป็นเงื่อนไขที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงนั่นเอง (Contrary to the Facts) เช่น
“If John had worked hard……..” (= ผู้พูดกล่าวพาดพิงถึงการเรียนที่แล้วมา และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว จอห์นไม่ได้ศึกษาอย่างขยันเลย เขาจึงสอบตก)
หรือ
“If you had asked me,………………”
(= ผู้พูดกล่าวพาดพิงถึงการเรียนที่แล้วมา และความจริงที่เกิดขึ้นคือคุณไม่ได้ขอร้องผม ผมก็เลยไม่ได้ช่วยคุณ)
หรือ
“If the hat had suited me, I would have bought it.”
(= ผู้พูดกล่าวพาดพิงเรื่องที่แล้วมาเช่นกัน ซึ่งมีความหมายว่า “(เมื่อวานนี้ตอนที่ผมไปดูหมวกใบหนึ่งในร้าน) ถ้ามันเหมาะกับผม ผมก็คงซื้อมันไปแล้ว” ซึ่งความเป็นจริงก็คือ ผมไม่ได้ซื้อหมวกใบนั้น  เพราะมันไม่เหมาะกับผม)

ลองทำความเข้าใจกับตัวอย่างอื่นๆ ต่อไป

อนึ่ง ยังมีรูปแบบเงื่อนไขไม่จริง หรือเงื่อนไขสมมุติย้อนอดีตอีกรูปหนึ่งที่ใช้กันในภาษาอังกฤษ คือ

IF + Past Perfect Tense        Future Perfect Tense

ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากรูปแบบหลักที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ เช่น
If you had been there last night, you will have helped me.
จะมีความหมายว่า “ผู้พูดไม่ทราบว่าเมื่อคืนคุณอยู่ที่นั่นหรือเปล่า แต่แน่ใจว่าถ้าคุณอยู่คุณคงช่วยผมไปแล้ว” ซึ่งมีความหมายต่างจาก
“If you had been there last night, you would have helped me. หมายความว่า “ผู้พูดแน่ใจว่า คุณไม่ได้อยู่ที่นั่น คุณจึงไม่ได้ช่วยผม” สามารถกล่าวได้ว่า เงื่อนไขไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติแบบ 2 นี้ ใช้แสดงความหมายได้ทั้ง 3 กาลเวลาด้วยกัน คือ
1. Present time (ปัจจุบันกาล)
If Henry were here, he would know the answer.
If I had the money, I should buy a new car.
If the grass needed cutting, I would cut it.
If the hat suited me, I would buy it.

แม้ว่ากิริยาในประโยคจะเป็นรูปอดีต แต่ความหมายเป็นเงื่อนไขปัจจุบัน คือ จะมีความหมายเท่ากับ
“If Henry were here Now………..” หรือ “If I had the money Now……….” หรือ “If the grass needed cutting Now…………….”
แต่ทุกอย่างที่กล่าวนั้นมีเหตุข้ดข้องที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ (Impossible) ตามรูปแบบโครงสร้าง 2.1

2. Past time (อดีตกาล) เช่น
If John had worked hard last term, he would have passed the examination.
If you had asked me that time, I would have helped you.

ความหมายประโยคต่างๆ จะเป็นไปตามลักษณะโครงสร้าง 2.2 ตามที่กล่าวมาแล้ว

3. Future Time (อนาคตกาล) เช่น
รูปแบบของมันส่วนหนึ่งจะเป็นไปตามลักษณะโครงสร้าง 2.1 แต่บางครั้งอาจใช้ Adverb of Time ขยาย แสดงความเป็น
อนาคตอย่างชัดเจน หรือบางทีใช้โครงสร้าง “were + To-lnfinitive” เช่น
If Richard worked hard next term, he would pass the examination.
What would you say if I were to tell you that Mary is going to be married?
If our train were to arrive punctually, we should have time to visit your sister.

ความหมายของประโยคต่างๆ ก็เป็นไปตามลักษณะโครงสร้าง 2.1 เช่นกัน

ลักษณะการวาง IF-Clause
ได้กล่าวมาข้างต้นบ้างแล้วว่า การวาง If-Clause อาจจะวางสลับกันก็ได้ คือ
1. วาง IF Clause ก่อน และตามด้วย Main Clause ซึ่งจะมีความหมายที่เน้นมาก เช่น
If he should come here, please tell me.
If our train were to arrive punctually, we should have time to visit your sister.
If John had worked hard last term, he would have passed the examination.

ซึ่งส่วนมากมักจะวาง IF-Clause ในลักษณะเช่นนี้

2. วาง Main Clause แล้วตามด้วย IF-Clause ความหมายของรูป IF-Clause เช่นนี้จะไม่เน้น แต่เป็นการบอกกล่าวธรรมดา เช่น
Please tell me if he should come here.
We should have time to visit your sister if our train were to arrive punctually.
John would have passed the examination if he had worked hard.
I will go if it should be necessary.

3. วางในระบบ Inversion Form รูปแบบนี้ใช้ในภาษาเขียนเท่านั้น ซึ่งจะเขียนรูปแบบนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีกิริยาช่วย (Helping Verbs) อยู่ในส่วน IF-Clause แล้วย้ายกิริยาช่วย (Helping Verbs) ตัวนั้นไว้หน้าประธาน ตัด “if” ทิ้ง เช่น
1. Should he come here, please tell me. (มาจาก If he should come here, please tell me.)
2. Were our train to arrive punctually, we should have time to visit your sister.
3. I will go, should it be necessary.
4. Had John worked hard last term, he would have passed the examination.

ที่มา:อาจารย์ชำนาญ  ศุภนิตย์, ดร.สัญญา  จัตตานนท์, อาจารย์สุทิน  พูลสวัสดิ์

[NEW] การใช้งาน IF – Clauses ในแบบต่างๆ | main clause คือ – NATAVIGUIDES

Conditional sentences หรือที่หลายคนรู้จักในนาม if-clause คือ ประโยคเงื่อนไข ประกอบด้วยประโยคย่อย สองประโยค ประโยคหนึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า If กับอีกประโยคหนึ่งมีหน้าตาเหมือนประโยคสมบูรณ์ทั่วไป สังเกตว่า ประโยคสองประโยคนี้สลับที่กันได้ จะยกประโยคไหนขึ้นต้นก็ได้ แล้วแต่การเน้นและความหมาย

conditional-clauses

1. ZERO Conditional Sentences

วิธีใช้: ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริง

Zero conditional sentences ใช้สำหรับพูดถึงความจริงทั่วไป โดยใช้ present simple ในประโยคทั้งสองประโยค (ประโยคหนึ่งจะอยู่ในรูปของ if-clause ส่วนอีกประโยคจะอยู่ในรูปของ main-clause ค่ะ)

  • If + present simple, …. present simple. (คนไทยมักจะเขียนว่า If + subject + V1, subject + V1)

ประโยคแบบ zero conditional sentences ใช้พูดถึงกรณีที่ถ้าเกิดสิ่งหนึ่ง ต้องเกิดอีกสิ่งหนึ่งเสมอ เช่น If water reaches 100 degrees, it boils. เมื่ออุณหภูมิน้ำสูงเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส น้ำจะเดือดเสมอ หรือ If I eat peanuts, I am sick. ถ้าฉันกินถั่วลิสงฉันจะแพ้ ซึ่งประโยคลักษณะนี้ เราจะใช้คำว่า when (เมื่อ) แทน if ก็ได้

ตัวอย่างเพิ่มเติม

  • If people eat too much, they get fat. ถ้ากินมากจะอ้วน
  • If you touch a fire, you get burned. ถ้าแตะไฟก็จะโดนลวก
  • People die if they don’t eat. คนเราจะตายถ้าไม่กินอาหาร
  • You get water if you mix hydrogen and oxygen. ถ้ารวมไฮโดรเจนกับอ๊อกซิเจนจะได้น้ำ
  • Snakes bite if they are scared. งูจะกัดเวลารู้สึกกลัว
  • If babies are hungry, they cry. ทารกจะร้องไห้ถ้ารู้สึกหิว

Zero conditional sentences จะใช้พูดถึงเรื่องจริงทั่วๆไป แต่ conditional sentences แบบต่อไปจะพูดถึงเหตุการณ์เฉพาะค่ะ

 

2. FIRST Conditional Sentences

วิธีใช้ ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน

First conditional sentences ใช้สำหรับพูดว่าถ้าสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น อีกสิ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น โดยใช้ If + present simple แล้วตามด้วย future simple

  • if + present simple, … will + infinitive (คนไทยมักจะเขียนว่า If + subject + V1, subject + will/be going to + V1)

ใช้พูดถึงเหตุการณ์เฉพาะซึ่งอาจเป็นไปได้ หรือผู้พูดคิดว่าจะเกิดขึ้น เช่น

  • If it rains, I won’t go to the park. ถ้าฝนตก ฉันจะไม่ไปสวนสาธารณะ
  • If I study today, I‘ll go to the party tonight. ถ้าวันนี้ฉันอ่านหนังสือ คืนนี้จะไปปาร์ตี้
  • If I have enough money, I‘ll buy some new shoes. ถ้ามีเงินพอ ฉันจะซื้อรองเท้าใหม่
  • She‘ll be late if the train is delayed. เธอจะไปสายถ้ารถไฟมาช้า
  • She‘ll miss the bus if she doesn’t leave soon. เธอจะไม่ทันรถเมล์ถ้าไม่ออกจากบ้านตอนนี้
  • If I see her, I‘ll tell her. ถ้าพบเขาฉันจะบอกเขา

Zero conditional กับ first conditional ต่างกันตรงที่ใช้กับสถานการณ์คนละประเภทดังได้กล่าวไปแล้ว ดูตัวอย่างชัดๆอีกทีนะคะ

 

Zero conditional: If you sit in the sun, you get burned. (ใครก็ตามที่) นั่งตากแดดจะผิวไหม้

First conditional: If you sit in the sun, you’ll get burned. ถ้าเธอนั่งตากแดดผิวเธอจะไหม้นะ

 

3. SECOND Conditional Sentences

วิธีใช้ ใช้กับเหตุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในปัจจุบัน หรือ อนาคต

First conditional ใช้พูดถึงสิ่งที่ผู้พูดคาดคะเนว่าจะเกิดขึ้น แต่ Second conditional จะใช้พูดถึงสิ่งที่ผู้พูดคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น เช่น

First conditional: If she studies harder, she’ll pass the exam. ถ้าเธอตั้งใจเรียนมากขึ้นเธอจะสอบผ่าน (คิดว่าเป็นไปได้)

Second conditional: If she studied harder, she would pass the exam. ถ้าเธอตั้งใจเรียนมากขึ้นเธอคงสอบผ่าน (แต่ผู้พูดไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ คือ คิดว่าเธอคงไม่ตั้งใจมากขึ้น และเธอคงสอบไม่ผ่าน)

ประโยคแบบ second conditional นี้ใช้ If + past simple คู่กับ would + infinitive ค่ะ

  • if + past simple, …would + infinitive

(สังเกต ว่าอนุประโยคที่ต่อหลัง if ถ้าคำกิริยาเป็น verb to be จะใช้ were ได้กับประธานทุกตัว เช่น If I were you… ถ้าฉันเป็นเธอ… แต่จะใช้ was ตรงตามประธานก็ได้ค่ะ)

วิธีใช้

– ใช้พูดถึงความใฝ่ฝันว่าอยากให้เกิดขึ้นในอนาคตแต่อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ เช่น

  • If I won the lottery, I would buy a big house. ถ้าถูกล็อตเตอรี่จะซื้อบ้านหลังใหญ่ (ซึ่งคิดว่าคงไม่ถูกล็อตเตอรี่หรอก)
  • If I met the Queen of England, I would say hello. ถ้าได้พบราชีนีอังกฤษฉันจะกล่าวสวัสดี
  • She would travel all over the world if she were rich. เขาจะเที่ยวรอบโลกถ้ามีเงินมากๆ
  • She would pass the exam if she ever studied. เธอคงจะสอบผ่านหรอกถ้าเธอได้เคยอ่านหนังสือบ้าง (ซึ่งจริงๆไม้อ่านเลย)

 

– ใช้พูดถึงเหตการณ์ในปัจจุบันที่เป็นไปไม่ได้เลย ไม่จริงเลย เช่น

 

  • If I had his number, I would call him. ถ้ามีเบอร์เขาฉันจะโทรหาเขา (แต่จริงๆฉันไม่มีเบอร์เขา)
  • If I were you, I wouldn’t go out with that man. ถ้าฉันเป็นเธอฉันจะไม่ไปเที่ยวกับเขา

 

ประโยค second conditional ต่างกับ first conditional ตรงที่แบบนี้มีความเป็นไปได้น้อยมาก เช่น

 

Second conditional: If I had enough money I would buy a house with twenty bedrooms and a swimming pool. ถ้ามีเงินพอฉันจะซื้อบ้านที่มีห้องยี่สิบห้องกับสระว่ายน้ำ (ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เป็นแค่ฝัน)

 

First conditional: If I have enough money, I’ll buy some new shoes. ถ้ามีเงินพอฉันจะซื้อรองเท้าใหม่ (มีความเป็นไปได้มากกว่ามาก)

 

4. THIRD Conditional Sentences

วิธีใช้ ใช้กับเหตุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในอดีต

ประโยค conditional แบบสุดท้ายใช้ If + past perfect (subject + had + V3) คู่กับ would have + V3 ค่ะ

  • if + past perfect, …would + have + past participle

ประโยคแบบนี้ใช้พูดเกี่ยวกับอดีตที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ว่าถ้าเกิดขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร

  • If she had studied, she would have passed the exam. ถ้าเขาอ่านหนังสือ เขาคงสอบผ่านไปแล้ว (ซึ่งจริงๆผู้พูดรู้ว่าไม่ได้อ่านและสอบตก)
  • If I hadn’t eaten so much, I wouldn’t have felt sick. ถ้ากินไม่มากฉันคงไม่ป่วย (แต่จริงๆฉันกินเยอะ จึงป่วย)
  • If we had taken a taxi, we wouldn’t have missed the plane. ถ้าเราขึ้นแท็กซี่มาเราคงไม่ตกเครื่องบิน
  • She wouldn’t have been tired if she had gone to bed earlier. เธอจะไม่เพลียถ้าเข้านอนเร็วกว่านี้
  • She would have become a teacher if she had gone to university. เธอคงจะเป็นครูถ้าเธอเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
  • He would have been on time for the interview if he had left the house at nine. เขาคงมาสัมภาษณ์ทันเวลาถ้าออกจากบ้านตอนเก้าโมง

 

5. MIXED Conditional Sentences

นอก จากนั้นยังมีการนำ conditional sentences สองแบบมาผสมกันอีกด้วยค่ะ โดยมากใช้เวลาพูดถึงสิ่งที่ไม่เป็นความจริงในอดีตที่มีความสัมพันธ์กับ ปัจจุบัน เช่น

  • She would be a rich widow now if she’d married him. เธอคงจะได้เป็นแม่หม้ายเศรษฐีไปแล้วถ้าเธอแต่งงานกับเขา (ตอนนั้นไม่แต่งกับเขา ตอนนี้เลยไม่ได้เป็นแม่หม้ายเศรษฐี)
  • If I’d studied law, I’d be an attorney now. ถ้าตอนนั้นเรียนนิติตอนนี้ฉันก็คงจะเป็นทนายความแล้ว

หากน้องคนไหนอ่านแล้วสงสัยอะไร เมลมาถามหรือทิ้งคำถามไว้ที่ Webboard สถาบันได้เลยนะคะ ^^

IELTS Institute Team


What is a subordinate clause? | Oxford Owl


Learn the difference between a clause, a subordinate clause and a relative clause. Perfect to help with grammar homework and to prepare for the Key Stage 2 SATs test.
Find more help with grammar on Oxford Owl: https://www.oxfordowl.co.uk/forhome/english1/grammarandpunctuationatprimaryschool/
What is Oxford Owl? Oxford Owl for Home has been created especially for parents by Oxford University Press to give you free expert advice, ideas and activities to support your child’s learning at home: https://www.oxfordowl.co.uk/forhome/

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

What is a subordinate clause? | Oxford Owl

IDO | Hướng dẫn mua Pre-Sale METASHIBA – METAVERSE


🔥✈️ Presale Sale Live On November 16th, 08:00 UTC 🔥
Don’t forget to join us….🚀🚀
Group Zalo Viet Nam Support
https://zalo.me/g/kyfkgh833
Group Telegram Viet Nam Support
https://t.me/metashibavn

🏩Presale On PinkSale November 16th, 08:00 UTC https://www.pinksale.finance//launchpad/0xDF36a9BD9143Fc5f8B16a33e59ea8e448918A533?chain=BSC
💎 PreSale Live On Soon
📅 November 16th, 08:00 UTC
⏹ Contract address : 0x8AA621be2c5F3672303c309BfB0DD4018979B970
🌍$METASHIBA Social Link’s :
◼️Website : https://metashiba.finance
✶ Twitter : https://twitter.com/metashiba_OA
✶ Telegram Group EN : https://t.me/metashibaofficial
✶ Telegram ANN : https://t.me/metashiba_announcement
✶ Medium :
https://medium.com/@metashiba
metashiba metaverse bsc meme nft airdrop

IDO | Hướng dẫn mua Pre-Sale METASHIBA - METAVERSE

noun clauses


noun clauses

noun clauses

Main and Subordinating Clauses


Homework help on main and subordinating clauses in English.
Subordinating conjunction list http://blog.writeathome.com/wpcontent/uploads/2013/07/50subordinatingconjunctions.jpg

Main and Subordinating Clauses

The Semicolon and Colon Song


Anchor Creative Education lead SPaG drama and music workshops in primary schools across the entire UK.
For more information about Anchor Creative Education visiting YOUR school for a day of SPaGbased drama and music, please visit www.anchoreducation.co.uk or email [email protected].

The Semicolon and Colon Song

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ main clause คือ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *