Skip to content
Home » [Update] การระดมทุนออนไลน์ (Crowd Funding) | crowd funding คือ – NATAVIGUIDES

[Update] การระดมทุนออนไลน์ (Crowd Funding) | crowd funding คือ – NATAVIGUIDES

crowd funding คือ: คุณกำลังดูกระทู้

การระดมทุนออนไลน์ (Crowd Funding)
พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ยุคดิจิทัล

เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไกลได้มากกว่าที่คิด ปัจจุบันเราจึงได้เห็นกลยุทธ์การพลิกแพลงไอเดียเพื่อเจาะช่องทางทำเงินทั้งในและต่างประเทศ หนึ่งในนั้นคือ Crowd Funding หรือ การระดมเงินทุนจากคนจำนวนมาก (Crowd) ที่สนใจลงทุนในความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนให้กลายเป็นธุรกิจจริง ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ เช่น www.kickstarter.com ซึ่งเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ยอดนิยมในการทำ Crowd Funding ในปัจจุบัน

หลายปีมานี้ ในบ้านเรามีผู้ประกอบการรุ่นใหม่สายซอฟท์แวร์มากมายที่สร้างธุรกิจจากการระดมทุนจากนักลงทุนเอกชน (Venture Capitalists) เช่น ชอปสปอท (ShopSpot) “แอพตัวจริงของขาช้อปออนไลน์” นูนสวูน (Noonswoon) แอพพลิเคชันหาคู่ วงใน (Wongnai) แอพพลิเคชันแนะนำร้านอาหาร ฯลฯ ทว่าสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้า หรือนักประดิษฐ์หน้าใหม่ที่ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Hardware/Product Startup) ให้ออกสู่ตลาดจริง ยังเป็นเรื่องยากในการขอทุนจากนักลงทุนทั่วไป เนื่องจากกลุ่มสินค้าเชิงฮาร์ดแวร์มีต้นทุนการผลิตสินค้าต้นแบบสูง และยังไม่รู้ว่าสินค้านั้นจะเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ สำหรับคนกลุ่มนี้แหล่งระดมทุนแบบ Crowd Funding จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการทำความคิดให้เป็นความจริง

แนวคิดดังกล่าวนำไปสู่การสร้างสถานที่และหลักสูตรในการปั้นคนรุ่นใหม่ให้ “คิดได้ ทำเป็น และขายได้” ภายใต้ชื่อโครงการ เนสท์ สคูล ออฟ เมกเกอร์ส (NE8T School of Makers) โดย จักรกฤษณ์ ทัฬหชาติโยธิน คนรุ่นใหม่ที่เล็งเห็นว่าภาพรวมอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ผู้ที่ไม่มีเงินทุนก้อนใหญ่ก็สามารถเป็นเมกเกอร์ (Maker) หรือนักประดิษฐ์อุปกรณ์ด้านฮาร์ดแวร์ได้ อันเป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเครื่องไม้เครื่องมือ รวมถึงช่องทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์บนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น

เนสท์ สคูล ออฟ เมกเกอร์ส (NE8T School of Makers)

แหล่งบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่

เนสท์ สคูล ออฟ เมกเกอร์ มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการช่วยผลักดันให้ความฝันของเหล่าเมกเกอร์เป็นจริง เนื่องจากที่ผ่านมาเมกเกอร์ชาวไทยมีแนวคิดที่ดีแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวางแผนธุรกิจ การจัดหาแหล่งการผลิตและแหล่งเงินทุน รวมถึงการทำการตลาด เนสท์ จึงทำหน้าที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงคอยชี้แนะแนวทางในฐานะรุ่นพี่ผู้เคยผลิตผลงานมาแล้วหลายโครงการ

คุณจักรกฤษณ์เล่าว่า ปีที่แล้วได้ทดลองทำโครงการเพาะบ่มผู้ประกอบการสายฮาร์ดแวร์ ในนาม สตาร์ทอัพ แฟกทอรี่ (Startup Factory) โดยเป็นพี่เลี้ยงให้กับ 2 โครงการ คือ ไดรฟ์บอท (Drivebot) ผู้ช่วยดูแลรถอัจฉริยะ และ ฟาวน์ดอท (Founddot) อุปกรณ์ตามหาของหายหรือคนหาย ส่วนในปีนี้จะปรับรูปแบบเป็น เนสท์ สคูล ออฟ เมกเกอร์ และขยายกลุ่มหมายให้กว้างยิ่งขึ้น โดยเปิดรับคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียแต่ขาดประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคนจากต่างสาขาและพัฒนาด้วยกันในรูปแบบ Comaking โดยเริ่มจากศูนย์จนสามารถสร้างผลงานและมีรายได้ (From zero to hardware startup) โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการผลักดันผลงานของเมกเกอร์ไทยให้แจ้งเกิดในระดับโลก

จักรกฤษณ์ ทัฬหชาติโยธิน • ผู้ร่วมก่อตั้ง NE8T CoMaking Space / NE8T School of Maker / ทีม Dolphin
ติดต่อ โทร. 087 005 2020 หรือ [email protected]

Drivebot

นวัตกรรมฝีมือคนไทยที่ช่วยให้การเช็ครถง่ายเหมือนเช็คไลน์ (LINE)

บริษัท ไดรฟ์บอท จำกัด คือหนึ่งในผู้ประกอบการรุ่นใหม่ภายใต้การดูแลของ สตาร์ทอัพ แฟกทอรี่ (ภายหลังเปลี่ยนเป็น NE8T School of Makers) ที่ต่อยอดมันสมองให้กลายเป็นธุรกิจระดับล้านด้วยการนำเครื่องไดรฟ์บอท (Drivebot) ออกมาเปิดระดมทุนผ่านเว็บไซต์ https://www.indiegogo.com โดยใช้เวลาเพียง 6 วัน สามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมายที่ 35,000 เหรียญสหรัฐหรือกว่าหนึ่งล้านบาทได้สำเร็จ และปิดโครงการที่กว่า $120,000 เหรียญสหรัฐ


มาดูกันว่าความสามารถของไดรฟ์บอทมีอะไรบ้าง

  1. ตรวจสภาพรถใน 10 วินาที เมื่อรถมีปัญหา อุปกรณ์จะเตือนทันทีผ่านสมาร์ทโฟน พร้อมระบุปัญหา สาเหตุ ระดับความรุนแรง พร้อมคำแนะนำวิธีการซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง
  2. เตือนเมื่อถึงเวลาต้องตรวจเช็คสภาพ ไดรฟ์บอทจะส่งคำเตือนล่วงหน้า 2 สัปดาห์
  3. วิเคราะห์การขับขี่ ไดรฟ์บอทให้คำแนะนำวิธีการขับขี่ที่ประหยัดน้ำมัน ประหยัดเวลา และปลอดภัยยิ่งขึ้น

รู้จัก DriveBot เพิ่มเติมที่ http://drivebot.io/th/

ดาวน์โหลดเอกสาร (pdf ขนาด 2286.65 KB)

[NEW] 3 ข้อที่ต้องใส่ใจ ก่อนเริ่มระดมทุน Crowdfunding | crowd funding คือ – NATAVIGUIDES

  • Reward-based Crowdfunding หากผู้สนับสนุนช่วยกันระดมทุนให้แก่โครงการได้สำเร็จ ถึงเป้าที่กำหนด ผู้สนับสนุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ตอบแทนกลับไป เช่น ได้รับสินค้าหรือบริการจากโครงการเป็นกลุ่มแรก เป็นต้น
  • Donation-based Crowdfunding การระดมทุนในรูปแบบการขอรับบริจาค เพื่อนำทุนไปใช้ตามวัตถุประสงค์โครงการ ผู้สนับสนุนทุนจะไม่ได้รับสิ่งใดเป็นผลตอบแทน
  • Equity-based Crowdfunding การระดมทุนด้วยการ “เข้าหุ้น” คือ ผู้สนับสนุนทุนจะได้ถือครองหุ้นของโครงการนั้น ๆ ด้วยตามสัดส่วน พร้อมโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์จากกิจการในอนาคต
  • Lending-based Crowdfunding หรือ Peer-to-Peer Lending การระดมทุนผ่านการกู้ยืมเงินทุนจากผู้สนับสนุน โดยกำหนดระยะเวลาในการชำระเงินคืนและจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้สนับสนุน

1. เริ่มต้นด้วยความเข้าใจ

เว็บไซต์ตัวกลางหรือแพลตฟอร์มในการระดมทุนทั่วไป จะแบ่งการระดมทุนสาธารณะออกเป็น 2 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบ All or Nothing คือ เว็บไซต์ตัวกลางจะเก็บเงินระดมทุนจากผู้สนับสนุน (Backer) ไว้ก่อน เมื่อระดมทุนได้สำเร็จตามยอดที่ตั้งไว้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้สร้างโครงการจึงจะได้รับเงินเอาไปลงทุน โดยทางเว็บไซต์ตัวกลางจะหักค่าธรรมเนียม 5% จากยอดระดมทุนที่ถึงเป้า แต่หากระดมทุนไม่สำเร็จ ผู้สร้างโครงการจะไม่ได้รับเงินระดมทุนเลย ถือว่าโครงการนั้น ๆ ล้มเหลว ส่วนผู้สนับสนุนก็จะได้รับเงินทุนคืนในภายหลัง ระบบ All or Nothing เหมาะกับกลุ่มธุรกิจประเภทผลิตสินค้า เช่น ภาพยนตร์ หนังสือ เป็นต้น แรงจูงใจให้คนช่วยกันระดมทุนจนสำเร็จมีค่อนข้างสูง

ส่วนอีกระบบ เรียกว่า ระบบ Flexible คือ เว็บไซต์ตัวกลางเปิดกว้างให้ผู้สร้างโครงการเลือกระดมทุนในระยะเวลาและยอดที่กำหนดได้ หรือเปิดระดมทุนไปเรื่อย ๆ เพียงแต่ผู้เข้ามาสนับสนุนจะถูกหักเงินทันทีที่ตัดสินใจสนับสนุน และผู้สร้างโครงการก็จะได้รับเงินไปดำเนินโครงการล่วงหน้าทันทีเช่นกัน แม้ว่าโครงการนั้น ๆ จะระดมทุนไม่สำเร็จตามเป้า ผู้สนับสนุนก็ไม่สามารถขอเงินคืนได้ นอกจากนี้ ถ้าระดมทุนสำเร็จทางเว็บไซต์จะหักค่าธรรมเนียม 4% จากยอด แต่ถ้าระดมทุนไม่สำเร็จจะหักค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 9% เนื่องจากเปิดให้ระดมทุนได้แบบไม่จำกัดเวลา ระบบ Flexible จึงเหมาะกับกลุ่มโครงการหรือธุรกิจเพื่อสังคม มูลนิธิ มากกว่าธุรกิจส่วนบุคคล

ดังนั้น การจะนำโครงการของคุณเข้าสู่เว็บไซต์ตัวกลางในการระดมทุน ต้องทำความเข้าใจรูปแบบธุรกิจให้ดีเสียก่อน เพื่อที่คุณจะได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่พร้อมสนับสนุนโครงการของคุณจริง ๆ และลดความเสี่ยงในการระดมทุนล้มเหลว

2. อย่ามองข้ามพลังของโซเชียลมีเดีย

แม้เว็บไซต์ตัวกลางจะเป็นแพลตฟอร์มและพื้นที่หลักในการเปิดรับระดมทุน เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของนักลงทุนและผู้สนับสนุนสาธารณะ แต่คุณก็ไม่ควรมองข้ามการประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อโซเชียลในช่องทางต่าง ๆ ด้วย อย่าง Facebook และ Twitter เพื่อให้โครงการระดมทุนของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ เพิ่มโอกาสในการรับรู้ในวงกว้าง ซึ่งอาจช่วยให้ยอดระดมทุนในโครงการของคุณทะลุเป้าได้ด้วย ดังนั้น คุณควรเตรียมการประชาสัมพันธ์ให้ดี แล้วเลือกใช้พลังของโซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์

3. ใส่ใจรายละเอียดให้ครอบคลุม

การวางแผนระดมทุนสาธารณะ ไม่ควรมองแค่ความสำเร็จในการได้มาซึ่งเงินลงทุนตามเป้าหมายเท่านั้น แต่เราควรมองไปให้ไกลถึงต้นทุนที่แท้จริง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะตามมา เช่น กรณีระดมทุนแบบ Reward-based Crowdfunding คุณควรประเมินมูลค่ารางวัลหรือสิทธิประโยชน์ที่ผู้สนับสนุนจะได้รับด้วย ว่ามีความเหมาะสมกับเงินร่วมลงทุนของเขาหรือไม่ แล้วคุณได้เผื่องบประมาณในการดูแลส่วนนี้เข้าไปในเป้าหมายเงินระดมทุนของคุณหรือเปล่า รวมถึงค่าธรรมเนียมที่คุณต้องหักให้แก่เว็บไซต์ตัวกลาง ก็ควรถูกคำนวณเข้าไปในเงินทุนเป้าหมายเอาไว้ตั้งแต่ต้น ไม่เช่นนั้นความสำเร็จจากการระดมทุนของคุณอาจต้องแบกรับภาระหนัก หรือขาดทุน เรื่องเหล่านี้จึงควรคิดให้รอบคอบและใส่ใจรายละเอียดให้มากก่อนตัดสินใจเปิดระดมทุน


[Official MV] อย่ามากมาย : Siska (Lipz project)


JOOX : https://bit.ly/2Q00CcB
Spotify : http://spoti.fi/3eEG7fV
Download this song : http://bit.ly/1reQWrb
โตมากับกามิ Siska อย่ามากมาย Kamikaze โตมากับอาร์เอส
คำร้อง/ทำนอง STER
เรียบเรียง ณัฐวัฒน์ คนโฑแก้ว
V1
ฉันก็ไม่รู้ไม่รู้เหมือนกัน พอเจอเธอนั้นมันจะไม่สบาย jam
แตะหน้าผากแล้วเหมือนจะเป็นไข้ มันเป็นอะไรนักหนา
V2
เมื่อไรเธอนั้นแค่หันมองมา ใจสั่นมือชาอาการเริ่มสับสน meen
โมโหจริงๆ คิดแล้วก็ยิ่งวุ่นวายวกวน
Pre
ก็ใจมันหวิว อยากจะพลิ้วลอยไปใกล้ๆเธอ jam,meen(รอบ2)
เป็นอย่างนี้สักวันคงรักเธอ ไม่อยากเจอกับเธอสักพักคงดี
Hook
บอกใจตัวเองว่าอย่าว่าอย่ามากมาย อย่าไปให้ท้ายหัวใจจนคุมไม่อยู่ รวม
กลัวเธอนั้นจะรู้ แอบรักเธอมาตั้งนานเท่าไร meen
บอกใจตัวเองว่าอย่าว่าอย่าดิ้นรน กลับไปฝึกฝนวิชาควบคุมหัวใจ รวม
ทำได้เมื่อไรแล้วค่อยกลับไปหาเธอ jam
V3
หัวใจของฉันมันชักเกินเลย อยากลองทำเฉยไม่ต้องคิดอะไร meen
ปล่อยเป็นอย่างนี้ชักไปกันใหญ่ ไม่นานใจคงละลาย
V4
ฉันควรต้องพักหยุดรักสักวัน แต่กลัวว่าฉันนั้นจะห้ามใจไม่ไหว jam
กลัวต้องละเมอ กลัวต้องรักเธอหมดทั้งหัวใจ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

[Official MV] อย่ามากมาย : Siska (Lipz project)

Crowdfunding ช่องทางระดมทุน ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ตอนที่ 2


รายละเอียดเส้นทางการระดมทุนผ่านช่องทาง Crowdfunding เพื่อให้คุณสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จในการระดมทุนได้

Crowdfunding ช่องทางระดมทุน ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ตอนที่ 2

การระดมทุนแบบ​ Crowdfunding​


การระดมทุนแบบCrowdfunding​คือ​ การระดมทุนจากคนจำนวนมากที่ไม่ใช่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน​ เพื่อสนับสนุนกิจกรรม​ โครงการ​ หรือธุรกิจต่างๆ โดยได้รับผลตอบแทนต่างกันโดยขึ้นอยู่กับรูปแบบและวัตถุประสงค์ของผู้ระดมทุน

การระดมทุนแบบ​ Crowdfunding​

วิธีลงทะเบียนล่วงหน้าสำหรับ Moonbeam Crowdloan


Preregister ได้ที่นี่: https://crowdloan.moonbeam.foundation/
กระเป๋าที่ใช้ในวีดีโอ: https://polkadot.js.org/
🌝​ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Moonbeam และ Moonriver ได้ที่เว็บไซต์ https://moonbeam.network/ และติดตามพวกเราได้ที่ช่องทางโซเชียลต่างๆดังนี้! 💬​
Linktree: https://linktr.ee/moonbeamTH
Twitter: https://twitter.com/moonbeamnetwork
Reddit: https://www.reddit.com/r/moonbeam/
Telegram: https://t.me/Moonbeam_Official
Discord: https://discord.gg/CsuGsptqGc
Telegram (Thai): https://t.me/moonbeam_thailand
Facebook (Thai): https://www.facebook.com/moonbeamthai
IG (Thai): https://www.instagram.com/moonbeam__th/

วิธีลงทะเบียนล่วงหน้าสำหรับ Moonbeam Crowdloan

Equity Crowd Funding คืออะไร


Equity Crowd Funding คืออะไร

Equity Crowd Funding คืออะไร

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ crowd funding คือ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *