Skip to content
Home » [Update] | แลกเปลี่ยน ฝรั่งเศส – NATAVIGUIDES

[Update] | แลกเปลี่ยน ฝรั่งเศส – NATAVIGUIDES

แลกเปลี่ยน ฝรั่งเศส: คุณกำลังดูกระทู้

สาธารณรัฐฝรั่งเศส

สาธารณรัฐฝรั่งเศส


สาธารณรัฐฝรั่งเศส
French Republic

ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง ทิศเหนือติดกับช่องแคบอังกฤษ เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก ทิศตะวันออกติดกับเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทิศใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อันดอร์รา และสเปน โดยมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตก คือ ยอดเขา Mont Blanc ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ บริเวณชายแดนประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี

ภูมิอากาศ ฤดูหนาวไม่หนาวมาก และฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย

พื้นที่ รวมทั้งจังหวัดและดินแดนโพ้นทะเล 675,417 ตารางกิโลเมตร

ประชากร 65.9 ล้านคน (ปี 2556) จำนวนผู้อยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 28.1 ล้านคน (ภาคบริการ 74% ภาคอุตสาหกรรม 22% ภาคเกษตรกรรม 3.2%)

ภาษาราชการ ฝรั่งเศส

ศาสนา โรมันคาธอลิก (85% ) อิสลาม (10%) โปรเตสแตนท์ (2%) ยิว (1%)

เมืองหลวง กรุงปารีส

เมืองสำคัญ Lyon, Marseille, Lille, Toulouse, Bordeaux, Nice, Strasbourg, Toulon, Rennes

วันชาติ 14 กรกฎาคม

สกุลเงิน ยูโร (Euro)

ระบอบการเมือง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ

ประธานาธิบดี นายฟรองซัวส์ ออลองด์( François Hollande)

นายกรัฐมนตรี นายมานูเอล วาลส์ (Manuel Valls)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายโลรองต์ ฟาบิอุส (Laurent Fabius)

1. อำนาจบริหาร มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ (Head of State) และเป็นผู้นำในฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) และอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสเข้าสู่การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่ 5 (the Fifth Republic) ตั้งแต่ปี 2501 (ค.ศ. 1958) จัดทำขึ้นในสมัยประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอโกลล์ (Charles de Gaulle) สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญ คือ การเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี โดยอำนาจบริหารถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ในลักษณะรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ทั้งนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

2. อำนาจนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ (1) สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) เป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระ 5 ปี จำนวนสมาชิก 577 คน มีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภา สามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาล และ (2) วุฒิสภา (Sénat) จำนวนสมาชิก 319 คน สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี) ทั้งนี้ ในกรณีที่ทั้งสองสภามีความเห็นต่างในเรื่องการพิจารณาร่างกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ


3. อำนาจตุลาการ ประกอบด้วย (1) ศาลฎีกา (2) ศาลปกครอง (3) ศาลรัฐธรรมนูญ

การแบ่งเขตการปกครอง ประกอบด้วย 22 มณฑล (Région) กระจายเป็น 96 จังหวัด (Département) และมีดินแดนโพ้นทะเล ได้แก่ Guadeloupe, Martinique, Guyane (French Guiana), Réunion et Mayotte, Saint-Pierre-et-Miquelon, Wallis-et-Futuna, Polynésie Française (French Polynesia), Nouvelle Calédonie (New Caledonia) และดินแดนในแถบขั้วโลกใต้ ได้แก่ Kerguelen Islands, Crozet Islands, Saint-Paul-et-Amsterdam Islands และ Terre Adélie (Adelie Land) ซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติก และฝรั่งเศสยังมีกรรมสิทธิ์เหนือเกาะ Clipperton ในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้ชายฝั่งประเทศเม็กซิโก

การปกครองท้องถิ่น แบ่งเป็น
1. เทศบาล (Commune): โดยจะมีการเลือกตั้งสภาเทศบาลขึ้นทุกๆ 6 ปี คณะกรรมการเทศบาลจะเลือกสมาชิกของคณะกรรมการ 1 คน ทำหน้าที่นายกเทศมนตรี (Maire) เพื่อเป็นประธานสภาเทศบาล และบริหารงานระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ งานทะเบียน งานด้านสาธารณูปโภค เป็นต้น
2. จังหวัด (Département): องค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกว่า Conseil Général มีการเลือกตั้งโดยตรงทุกๆ 6 ปี บทบาทของสภาจังหวัดมีเพิ่มมากขึ้นหลังการออกกฎหมายเพื่อกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นฉบับวันที่ 2 มีนาคม 2525 ซึ่งทำให้สภาจังหวัดมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น เช่น การกำหนดงบประมาณ การกำหนดภาษีท้องที่ การให้ความช่วยเหลือทางสังคมและครอบครัว การบริหารด้านสาธารณูปโภค และการศึกษาในระดับโรงเรียนมัธยมต้น เป็นต้น

3. ภาคหรือมณฑล (Région): เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นล่าสุดตามนโยบายการกระจายอำนาจ เป็นการรวมหลายจังหวัดเข้าด้วยกัน โดยให้จังหวัดที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่ตั้งของภาค และผู้ว่าราชการในจังหวัดนั้นเป็นผู้ว่าราชการภาค มี
องค์การบริหารภาคเรียกว่า Conseil Régional เลือกตั้งโดยตรงทุกๆ 6 ปี ประธานองค์การบริหารภาคทำหน้าที่บริหารและรับผิดชอบการกำหนดแผนเศรษฐกิจ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่อยู่อาศัย ตลอดจนบริหารงบประมาณ และบุคลากรภายในภาค


พรรคการเมืองที่สำคัญ ได้แก่
* พรรค Union Pour un Mouvement Populaire (UMP): มีอุดมการณ์ทางการเมืองแนวขวากลาง / สนับสนุนนโยบายตลาดเสรี 
* พรรค Socialiste (PS): พรรคสังคมนิยม (พรรคฝ่ายซ้าย) ปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาล
* พรรค Union pour la Démocratie Française (UDF)
* พรรค Communiste (PCF): พรรคคอมมิวนิสต์
* พรรค Front National (FN) : มีอุดมการณ์ทางการเมืองแนวขวาจัด
* พรรค Greens


การเมืองภายใน

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสครั้งล่าสุด (รอบแรกเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2555 และรอบสอง 6 พฤษภาคม 2555) ผลปรากฏว่านายฟรองซัวส์  ออลองด์ (François Hollande) ผู้สมัครจากพรรค PS ได้รับชัยชนะเหนือนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) จากพรรค UMP ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในขณะนั้น โดยนายออลองด์ได้เข้ารับหน้าที่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 และได้แต่งตั้ง   นายฌอง-มาร์ค เอโรต์ (Jean-Marc Ayrault) เป็นนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนใหม่ 

นอกเหนือจากความสำเร็จในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแล้ว พรรค PS ยังได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (รอบแรกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2555 และรอบสอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2555) ด้วย โดยได้รับที่นั่งจำนวน 280 จาก 577 ที่นั่ง ซึ่งเมื่อประกอบกับเสียงข้างมากที่มีอยู่ในวุฒิสภาแล้ว จะทำให้การผ่านร่างกฎหมายต่างๆ และการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีเสถียรภาพ

นโยบายการบริหารประเทศของนายออลองด์ ตามที่ได้ประกาศไว้ในช่วงระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง คือ  (1) การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของฝรั่งเศส โดยตั้งเป้าใช้งบประมาณสมดุลให้ได้ภายในปี 2560 (2) การสร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในสังคมฝรั่งเศส โดยเฉพาะการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษี (3) การสร้างความหวังและกำลังใจให้แก่คนรุ่นใหม่ โดยเพิ่มการจ้างงาน และการส่งเสริมธุรกิจ SMEs และ (4) การเสริมสร้างฝรั่งเศสให้เป็นสาธารณรัฐตัวอย่างซึ่งเป็นที่เคารพและยอมรับในสายตาต่างประเทศ

ในปี 2556 รัฐบาลได้รับเสียงสนับสนุนและความนิยมลดลงเนื่องจากปัญหาความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ และอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น ความขัดแข้งภายในรัฐบาล การไม่ดำเนินการบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ รวมไปถึงกรณีการทุจริตของรัฐมนตรี และการออกกฎหมายอนุญาตให้เพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้นำมาซึ่งการประท้วงและความแตกแยกทางความคิดในสังคม

หลังจากการเลือกตั้งสภาเทศมนตรีทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 23 และ 30 มีนาคม 2557 ปรากฏว่าพรรคฝ่ายขวา UMP ได้คะแนนเสียงร้อยละ 46 พรรครัฐบาล PS ได้คะแนนเสียงร้อยละ 40.5 และพรรคขวาจัด FN ได้คะแนนเสียงประมาณร้อยละ 7  ซึ่งความพ่ายแพ้ของพรรค PS เป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจของประชาชน และแสดงการไม่สนับสนุนต่อประธานาธิบดีและไม่พึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาล ส่งผลให้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557 ประธานธิบดีออลองด์ได้ปลดนายฌอง-มาร์ค เอโรต์ออกจากตำแหน่งและแต่งตั้งนายมานูเอล วาลส์ (Manuel Valls) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนรวมทั้งปรับคณะรัฐมนตรี ใหม่ และกำหนดเป้าหมาย 3 ประการให้แก่รัฐบาลชุดใหม่ คือ  (1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยยึด Pacte de responsabilité เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้าง ซึ่งจะช่วยในการสร้างงานและส่งเสริมให้มีการลงทุนเพิ่ม (2) การเสริมสร้างความยุติธรรมในสังคมบน 3 เสาหลัก ได่แก่ ส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่เยาวชน  ให้บริการทางสังคมโดยเน้นด้านสุขภาพ  และเพิ่มกำลังจับจ่ายใช้สอยของประชาชนโดยลดภาษีและค่าสมทบประกันสังคมสำหรับคนวัยทำงาน   (3) การสร้างความเป็นเอกภาพ การส่งเสริมให้มีการเจรจาหารือและความเคารพซึ่งกันและกันในสังคม


นโยบายด้านการต่างประเทศ
ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและการทหารของโลก (P5)  มีอิทธิพลและบทบาทสูงในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งการกำหนดทิศทางนโยบายของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การระหว่างประเทศที่สำคัญๆ อาทิ องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (Organisation Internationale de la Francophonie – OIF) องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development –- OECD) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization –- UNESCO) องค์การตำรวจสากล (International Criminal Police Organization – INTERPOL) กลุ่มต่อต้านการก่อการร้ายสากล (Alliance Base) เป็นต้น

นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ยังคงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความร่วมมือในกรอบสหภาพยุโรปและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะเยอรมนี อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสยังมีความเห็นที่แตกต่างกับสมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศ ต่อกรณีการสนับสนุนตุรกีเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปซึ่งฝรั่งเศสมีท่าทีไม่สนับสนุนในเรื่องนี้

ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ฝรั่งเศสให้ความสำคัญในหลักการ 3 ประการ ได้แก่ (1) การส่งเสริมสันติภาพ โดยฝรั่งเศสพยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในจุดต่างๆ ทั่วโลก โดยอาศัยการหารือและการเจรจาต่อรอง แต่เมื่อการเจรจาไม่เป็นผลก็จำเป็นต้องพึ่งพาอาณัติของสหประชาชาติ อาทิ สถานการณ์ในมาลี แอฟริกากลาง ทั้งนี้ ถึงแม้ฝรั่งเศสจะมีความสัมพันธ์กับถูมิภาคแอฟริกามายาวนาน แต่ได้ย้ำถึงความจำเป็นที่ประเทศแอฟริกาทุกประเทศต้องมีส่วนรับผิดชอบในการรักษาสันติภาพของภูมิภาคตนเอง  (2) การมีส่วนร่วมในการกำหนด New International Order โดยเฉพาะการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ และต่อต้าน social และ fiscal dumping  รวมทั้งความร่วมมือในกรอบสหภาพยุโรปในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของยูโรโซน การกำหนดนโยบายร่วมด้านการป้องกันประเทศ  นโยบายด้านพลังงานและการตรวจคนเข้าเมือง  (3) การส่งเสริมความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม  โดยความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศสต้องไม่ส่งผลเสียต่อประเทศอื่น แต่เพื่อการพัฒนาระบบที่เป็นสากลที่เป็นแบบอย่างแก่ประเทศอื่น


เศรษฐกิจการค้า
ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในสหภาพยุโรป และอันดับ 5 ของโลก รองจากสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่นและเยอรมนี  มีอุตสาหกรรมอวกาศและการบิน และนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในยุโรป   มีอุตสาหกรรมเคมีใหญ่เป็นอันดับ 2 ในยุโรป   มีอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรใหญ่เป็นอันดับสามในยุโรป และมีอุตสาหกรรม ICT ใหญ่เป็นอันดับ 4 ในยุโรป ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติ 20,000 บริษัท ตั้งอยู่ในฝรั่งเศส (กรุงปารีสได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 4 ของเมืองใหญ่ที่น่าลงทุนมากที่สุดในโลก) โดยจุดแข็ง คือ คุณภาพของแรงงาน ความก้าวหน้าในเรื่องการค้นคว้าและวิจัย และเทคโนโลยีชั้นสูง

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลฝรั่งเศสชุดปัจจุบัน คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจตามแนวทาง  Pacte de responsabilité  ในการลดภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้าง การลดภาษีรายได้นิติบุคคลจากเดิมร้อยละ 33 เป็นร้อยละ 28 เพื่อกระตุ้นให้เกิดอำนาจซื้อของภาคครัวเรือน  เพิ่มการสร้างงานและส่งเสริมให้มีการลงทุนเพิ่ม โดยเน้นการผลิตภายในประเทศด้วยผลผลิตที่สูงและดีขึ้นด้วยกรรมวิธีใหม่ๆ เน้นการลดการพึ่งพาน้ำมันและพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว  


ข้อมูลเศรษฐกิจโดยสังเขป
ผลผลิตประชาชาติ 2,739.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2556)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 40,272.19 ดอลลาร์สหรัฐ (2556)

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 0.3 (2556)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.86 (2556)

อัตราว่างงาน ร้อยละ 9.8 (2556)

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เยอรมนี สเปน สหราชอาณาจักร อิตาลี เบลเยียม เนเธอแลนด์

สินค้าเข้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานพาหนะ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์

สินค้าออก เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องบิน เคมีภัณฑ์

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ด้านการทูต
ไทยกับฝรั่งเศสเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีเมื่อปี 2228 และหลังจากนั้น ราชทูตสยาม (โกษาปาน) ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อปี 2229 และความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับฝรั่งเศสก็ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน โดยการลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรี การค้า และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2399 และต่อมา ฝ่ายไทยได้ตั้งสำนักงานและผู้แทนระดับอัครราชฑูตประจำกรุงปารีส ในปี 2432 และได้ยกสถานะเป็นสถานเอกอัครราชฑูต ในปี 2492

เมื่อปี 2549 ไทยและฝรั่งเศสได้จัดงานเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 320 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันนับตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปี 2228 และการที่ทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ครบรอบ 150 ปี นับตั้งแต่ได้มีการลงนามสนธิสัญญาทางไมตรี การค้า และการเดินเรือ เมื่อปี 2399

เอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส
นายอภิชาติ ชินวรรโณ (Apichart Chinwanno)

เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
นายตีแยรี วีโต (Thierry Viteau)

กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองลียง
นาย Frederique de Ganay

กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองมาร์เซยส์
นาย Francis Biget (เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2557) 

กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำจังหวัดเชียงใหม่
นาย Thomas Baude

กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำจังหวัดภูเก็ต
นายโกลด เมโกร เดอ ครีเซ (Claude Maigrot de Crissey)

กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย)
นาย Jules Germanos

ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ฝรั่งเศสดำเนินไปด้วยความราบรื่นไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับและทุกภาคส่วน

ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้รับการยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โดยมีแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 1 (ปี 2547-2551) ซึ่งจัดทำขึ้นโดยความคิดริเริ่มและข้อเสนอของนาย Jacques Chirac ประธานาธิบดีฝรั่งเศส (ในขณะนั้น) เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน และแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 (ปี 2553-2557) เป็นกลไกต่อยอดโดยมุ่งสาขาความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมกันและสามารถปฏิบัติได้จริงในช่วง 5 ปี ครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความร่วมมือในสาขาสังคมและวัฒนธรรม การศึกษา วิชาการ การท่องเที่ยว พลังงาน การทหาร ความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนา และความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ ฯลฯ

ด้านเศรษฐกิจ
ในปี 2556  การค้าไทย-ฝรั่งเศสมีมูลค่า 5,824.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 1,667.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 4,156.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 2,489.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ เลนส์แว่นตา เครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์จากยาง รวมยางรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ อุปกรณืเครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว

สินค้านำเข้าจากฝรั่งเศส ได้แก่ เครื่องบิน (แอร์บัส) เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ น้ำหอมและเครื่องสำอาง เครื่องจกรกล ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ อุปกรณืยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์จากพืช

กลไกความร่วมมือด้านการค้า
ในภาครัฐ มีคณะทำงานร่วมด้านการค้าไทย-ฝรั่งเศส และมีการจัดทำข้อตกลงการหารือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (The High Level Economic Dialogue between Thailand and France) ปี 2553-2557 ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือและส่งเสริมผลประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน ระหว่างสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบ

ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน
ในปี 2556 ฝรั่งเศสลงทุนในไทยมากเป็นลำดับที่ 5 ของสหภาพยุโรป (รองจากเนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก สหราชอาณาจักรและเยอรมนี) โดยปัจจุบัน มีบริษัทของฝรั่งเศสลงทุนในไทยประมาณ 350 บริษัท โดยสาขาที่นักลงทุนฝรั่งเศสเข้ามาลงทุนอันดับแรกในด้านมูลค่าการลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักรและโลหะการ อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และกระดาษ ตามลำดับ อาทิ บริษัท Michelin (ยางรถยนต์) โดยลงทุนผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์   บริษัท Valeo (ชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์) โดยลงทุนผ่านประเทศญี่ปุ่น   บริษัท Saint-Gobain (กระจกนิรภัย) โดยลงทุนผ่านประเทศเบลเยียม  บริษัท Essilor Optical Laboratory (เลนส์และแว่นสายตา)   บริษัท MPO Asia (ซีดีและดีวีดี) โดย ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญเพื่อส่งออกไปยังตลาดในภูมิภาคเอเชีย   บริษัท Scheneider Electric (ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิตในการส่งออกไปยังตลาดในภูทิภาคเอเชีย

ในปี 2556 มีโครงการของฝรั่งเศสที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไทยจำนวน 19 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 926 ล้านบาท โดย และในปี 2557 (มกราคม-พฤษภาคม) มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมฯ จำนวน 8 โครงการ มูลค่า 161 ล้านบาท

ในส่วนการลงทุนของไทยในฝรั่งเศส นั้น  1) บริษัท Thai Union Frozen Products PCL ได้ซื้อกิจการอาหารทะเลกระป๋องของบริษัท MW Brands ของฝรั่งเศส ด้วยเงินลงทุนประมาณ 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2553       
2) กลุ่มบริษัท PTT Global Chemical ได้ซื้อหุ้นในอัตราร้อยละ 51 จากบริษัท Perstorp Holding France SAS ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและเจ้าของเทคโนโลยีในสายการผลิตพลาสติกที่มีบทบาทสำคัญในยุโรปและเอเชีย เมื่อเดือนธันวาคม2554 โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 152 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ  3) บริษัทกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ได้ซื้อกิจการโรงเยื่อและโรงกระดาษอลิเซ่ (Alizay) จากรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อปี 2555 ด้วยเงินลงทุนประมาณ 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ความสัมพันธ์ด้านการทหารและความมั่นคง
ไทยและฝรั่งเศสมีความร่วมมือด้านการทหารอย่างใกล้ชิดผ่านกิจกรรมและโครงการที่สำคัญ อาทิ ความร่วมมือด้านการฝึกการปฏิบัติการร่วมทางเรือ การแลกเปลี่ยนการเยือนของนายทหารในระดับผู้นำเหล่าทัพและผู้บังคับบัญชาระดับสูง ตลอดจนการศึกษาดูงานด้านต่าง ๆ ของนายทหารสัญญาบัตร การส่งนักเรียนนายร้อยไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อย Saint-Cyr (École Spéciale Militaire de Saint-Cyr) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10 นาย นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้จัดซื้อยุทโธปกรณ์หลายชนิดจากฝรั่งเศสด้วย ล่าสุด ได้มีการลงนามในความตกลงด้านการป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือด้านการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ การวิจัยและการพัฒนา การทหาร การส่งกำลังบำรุง ความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์ การศึกษาและการฝึกบุคลากรกองทัพ

ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว
ไทยและฝรั่งเศสได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2547 โดยสองฝ่ายจะร่วมมือกันในด้านการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม  การท่องเที่ยวทางเรือ และการพัฒนามาตรฐานด้านการท่องเที่ยว

ในปี 2556 มีนักท่องเที่ยวฝรั่งเศสมาไทยจำนวน 614,455 คน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.66 จากปี 2555 


ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics and Space Technology Development Agency-GISTDA) กับบริษัท EADS-ASTRIUM ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2547 สำหรับความร่วมมือในโครงการดาวเทียมสำรวจทรัพยากร (Thailand Earth Observation Satellite – THEOS) ซึ่งการจัดซื้อดาวเทียมดังกล่าวกระทำในลักษณะการค้าต่างตอบแทน (barter trade) มีมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท  ทั้งนี้ ดาวเทียม THEOS ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อภาษาไทย ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2554 ว่า “ดาวเทียมไทยโชต” เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยและจะช่วยเสริมศักยภาพให้กับประเทศไทยในหลายด้าน โดยเฉพาะการจัดการด้านระบบเตือนภัยพิบัติ การแก้ไขปัญหาการปลูกพืชเสพติด และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้มีการส่งดาวเทียม THEOS ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 (มีอายุใช้งาน 7 ปี)

นับตั้งแต่ปี 2553 มีการจัดทำข้อตกลง/โครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับฝ่ายฝรั่งเศส จำนวน 18 โครงการ อาทิ ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ด้านอวกาศ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านชีววิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โครงการวิจัยร่วมและการแลกเปลี่ยนบุคคลากร การให้ทุนฝึกอบรมต่างๆ

ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม
ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะมีการแลกเปลี่ยนการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมระหว่างกัน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจและความใกล้ชิดระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยฝ่ายฝรั่งเศสได้ริเริ่มจัดงานเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศส-ไทย (La Fête) ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2547 และได้จัดต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน 

นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ยังได้จัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดนิทรรศการศิลปะสมัยทวาราวดีที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติด้านศิลปะเอเชียกีเม่ (Musée Guimet) ที่กรุงปารีส ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการฯ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2552  การจัดงาน “วันประเทศไทย” ในเมืองสำคัญต่าง ๆ ของฝรั่งเศส  การจัดงานสุดสัปดาห์ไทยระหว่างวันที่ 21-22 มกราคม 2555 ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้ร่วมกับพระราชวัง Fontainebleau และการจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปี พระราชสมภพของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ สำนักงานใหญ่ของ UNESCO กรุงปารีส ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน


ความร่วมมือไตรภาคี
ไทยและฝรั่งเศสมีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะส่งเสริมความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนาในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งได้ระบุในแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2

ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัค (Jacques Chirac) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ได้มีการลงนามความตกลงจัดตั้งคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนา เพื่อเป็นกลไกในการพิจารณาและกำหนดรูปแบบและกิจกรรม/โครงการความร่วมมือ ตลอดจนบริหารโครงการ และนำมาซึ่งการลงนามในความตกลงจัดตั้งสำนักงาน Agence Française de Développement (AFD) ของฝรั่งเศสในประเทศไทย

โครงการความร่วมมือไตรภาคีที่สำคัญ ได้แก่ โครงการทุนศึกษาปริญญาเอกกาญจนาภิเษกซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ (โดย สพร.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เพื่อสนับสนุนทุนปริญญาเอกให้แก่ประเทศ CLMV  และโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ (โดย สพร.) กับสมาคมความร่วมมือการแพทย์ฝรั่งเศส-เอเชีย (AMFA) ในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมทางด้านการผ่าตัดให้แก่แพทย์ชาวเมียนมาร์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล

ความตกลงทวิภาคี
ความตกลงที่ลงนามแล้ว
1) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2517
2) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยบริการเดินอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2518 และมีการทบทวนเป็นระยะ
3) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษาและวิทยาศาสตร์ และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน ลงนามเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2520
4) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ลงนามเมื่อ 16 กันยายน 2520
5) อนุสัญญาความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา (โอนตัวนักโทษ) ลงนามเมื่อ 26 มีนาคม 2526
6) ความตกลงสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับเมืองนีซ ลงนามเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2532
7) อนุสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องการอาญาไทย-ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2540
8) คณะทำงานร่วมทางการค้าไทย-ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2538
9) บันทึกความเข้าใจในการก่อตั้งสภาธุรกิจไทย-ฝรั่งเศส (French-Thai Business Council) ลงนามเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540
10) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม ลงนามเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541
11) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ลงนามเมื่อ 28 มิถุนายน 2541
12) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือว่าด้วยอุดมศึกษาและวิจัยไทย-ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อ 23 เมษายน 2542
13) ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ ลงนามเมื่อ 27 มกราคม 2543
14) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงทางทหารระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส ลงนามเมื่อ 26 เมษายน 2543
15) บันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กับหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของฝรั่งเศส (UBIFRANCE) ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
16) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทย -ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
17) ความตกลงจัดตั้งสำนักงานเพื่อการพัฒนา (Agence Francaise de Developpement-AFD) ในประเทศไทย ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
18) หนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมภายใต้ความร่วมมือไตรภาคีไทย-ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
19) แถลงการณ์ร่วมลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
20) แถลงการณ์ร่วมด้านความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างกระทรวงกลาโหมของไทยกับฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
21) ประกาศเจตนารมณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
22) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านส่งเสริมการค้าปลีกระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับบริษัท Carrefour Group ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
23) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแฟชั่นระหว่างสมาพันธ์ Prêt-à-Porter Féminin (เสื้อผ้าสำเร็จรูปของผู้หญิง) และสหภาพเครื่องนุ่งห่มฝรั่งเศส กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม/สมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย/สมาคมเครื่องหนังไทย ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
24) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าเชียงใหม่และหอการค้าเมืองลียง ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
25) แผนการดำเนินการร่วมสำหรับการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ลงนามเมื่อเดือนกันยายน 2549
26) บันทักวาจาว่าด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 (ปี 2553-2557) ลงนามเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2553
27) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับการพำนักระยะสั้นแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต ลงนามเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2553
28) ข้อตกลงการหารือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (ปี 2553-2557) ลงนามเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553
29) ความตกลงต่างตอบแทนว่าด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นไทย-ฝรั่งเศส (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555)
30) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาและการวิจัย (ลงนามเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2555)
31) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ (ลงนามเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556)
32) หนังสือแสดงเจตจำนงด้านการศึกษาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (ลงนามเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556)
33) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายวิจัยระหว่างประเทศ (ลงนามเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556)
34) บันทึกความเข้าใจระหว่างกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลของราชอาณาจักรไทยกับกลุ่มสถาบันเทคโนโลยีอุดมศึกษาของสาธารณรัฐฝรั่งเศส (ลงนามเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556)
35) บันทึกข้อตกลงโครงการผลิตวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ไวรัสตับอักเสบบี (ลงนามเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556)
36) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระบบราง (ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556) 


การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
– วันที่ 11-14 ตุลาคม 2503 เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
– วันที่ 14-18, 20-23 และ 25-28 พฤศจิกายน 2534 เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส
– วันที่ 4-23 เมษายน 2535 เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส
– วันที่ 30 พฤษภาคม – 8 มิถุนายน 2538 เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส
– วันที่ 31 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2539 เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส
– วันที่ 8-9 และ 13-27 เมษายน 2540 เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส
– วันที่ 17-23 ตุลาคม 2545 เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส

ภาครัฐบาล
(ช่วงปี 2545-2557)
ฝ่ายไทย
นายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
– วันที่ 12-13 พฤษภาคม 2546 และวันที่ 9-11 ตุลาคม 2548 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเยือนฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการ
– วันที่ 23-25 พฤษภาคม 2547 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการ
– วันที่ 12-19 กันยายน 2549 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฝรั่งเศส เพื่อร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลวัฒนธรรมไทย ณ กรุงปารีส
– วันที่ 6-8 มิถุนายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส
– วันที่ 21-22 มิถุนายน 2553 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส
– วันที่ 19-22 กรกฎาคม 2555 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนฝรั่งเศส

ฝ่ายฝรั่งเศส
ประธานาธิบดี/นายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
– วันที่ 19-21 มกราคม 2533 นายมิเชล โรการ์ (Michel Rocard) นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสเยือนไทย อย่างเป็นทางการ
– วันที่ 29 ธันวาคม 2547 นายมิเชล บาร์นิเยร์ (Michel Barnier) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส เยือนภูเก็ต เพื่อสำรวจพื้นที่ที่ประสบเหตุธรณีพิบัติภัย
– วันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2549 นายฌาคส์ ชีรัค (Jacques Chirac) ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 – วันที่ 30 ตุลาคม 2550 นายแบร์นาร์ กุชแนร์ (Bernard Kouchner) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส เยือนไทย
– วันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2556 นายฌอง-มาร์ค เอโรต์ (Jean-Marc Ayrault) นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส เยือนไทย


จำนวนคนไทยในฝรั่งเศส ประมาณ 30,000 คน 
วัดไทย 4 แห่ง ได้แก่ (1) วัดธรรมปทีป เมือง Moissy-Cramayel (2) วัดพุทธศรัทธาธรรม เมือง Roubaix (3) วัดพุทธสตราสบูร์ก (4) วัดธรรมกาย เมือง Torcy และเมือง Bordeaux

ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
ที่ตั้ง ตึก กสท. ชั้น 23 ถนนเจิญกรุง บางรัก กรุงเทพฯ 10500
Tel: 02 657 5100
Fax: 02 657 5111
Website: http://www.ambafrance-th.org
Visa: https://www.tlscontact.com/th2fr

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส
Ambassade Royale de Thaïlande
8, rue Greuze 75116 Paris
Tel: 33 (0) 1 56 26 50 50
Fax: 33 (0) 1 56 26 04 45
E-mail: [email protected]
Website: www.thaiembassy.fr

—————————————————————————————

[NEW] สกุลเงิน ประเทศฝรั่งเศส :Guru เที่ยว ฝรั่งเศส | แลกเปลี่ยน ฝรั่งเศส – NATAVIGUIDES

I want to go to Paris, but I have no money.


Ep.1 School trip | Exchange Student in Belgium🇧🇪 | นักเรียนแลกเปลี่ยนเบลเยียม(ฝรั่งเศส) | LAKSI


สวัสดีค่าาา~~ ชื่อเน นะคะ เราเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนประเทศเบลเยียม(ฝรั่งเศส) โครงการเอเอฟเอส เราทำคลิปเพียงเพื่อเป็นการบันทึกเรื่องราวการแลกเปลี่ยนในประเทศนี้เท่านั้น ซับอาจจะใช้แกรมม่าผิดไปบ้างเพราะเราไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษเท่าไหร่แต่เราทำซับเพื่อให้เพื่อนที่นี่เข้าใจตอนเราพูดไทยเท่านั้น เราจะมาอัพเดทชีวิตที่นี่เรื่อยๆยังไงถ้าอยากติดตามก็ฝากกดซับกันไว้ให้ด้วยน้าา💕✨

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Ep.1 School trip | Exchange Student in Belgium🇧🇪 | นักเรียนแลกเปลี่ยนเบลเยียม(ฝรั่งเศส) | LAKSI

จะไปเรียนต่อฝรั่งเศส ต้องรู้จักทุนนี้ !! Franco Thai scholarship | เรียนต่อฝรั่งเศส ep.1


1 ในทุนที่ดีที่สุด !!! สำหรับเรียนต่อ ป.โท/เอก ที่ประเทศฝรั่งเศส
ในวีดีโอนี้ โมมาให้ข้อมูลต่างๆสำหรับการสมัครทุน FrancoThai และมาแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยได้เป็น 1 ในนักเรียนทุน FrancoThai ด้วยเช่นกันค่ะ ถ้ามีคำถามหรือสงสัยตรงไหน เขียนถามในคอมเม้นท์ หรือติดต่อ Campus France Thailand ได้เลยนะคะ
ทุน FrancoThai : https://www.francothaiscience.com/scholarships/
Campus France Thailand : https://www.thailande.campusfrance.org/
Facebook Campus France Thailand : https://www.facebook.com/CampusFranceThailand
Oh là là! กับแตงโม มาเรียนภาษาฝรั่งเศสกับโมนะคะ แล้วคุณจะรู้ว่าภาษาฝรั่งเศส ง่ายกว่าที่คิด ^^
เรียนภาษาฝรั่งเศสเพิ่มเติมกับโม
สั่งซื้อหนังสือไวยากรณ์ระดับ A1
👉 https://www.ohlalakabtangmo.com/livresgrammairea1/
คอร์สตะลุยข้อสอบ Pat7.1
👉 https://www.ohlalakabtangmo.com/courspat71/
คอร์สออนไลน์พื้นฐานไวยากรณ์
👉 https://www.ohlalakabtangmo.com/coursgrammairea11/
ติดตามข่าวสารและสื่อการสอนอื่นๆของโม
Line : @ohlalakabtangmo (http://line.me/ti/p/~@ohlalakabtangmo)
Facebook : https://www.facebook.com/ohlalakabtangmo
Instagram : https://www.instagram.com/ohlalakabtangmo
Website : https://www.ohlalakabtangmo.com
กดลิงค์ด้านล่างนี้ เพื่อไม่พลาดวีดีโอใหม่ๆนะคะ
https://www.youtube.com/channel/UCHRmbcGYHdIHbCCcIzDlEGA?sub_confirmation=1
FrancoThaiScholarship
ศิลป์ฝรั่งเศส
เรียนภาษาฝรั่งเศส
ทุนเรียนต่อต่างประเทศ
เรียนต่อต่างประเทศ

จะไปเรียนต่อฝรั่งเศส ต้องรู้จักทุนนี้ !! Franco Thai scholarship | เรียนต่อฝรั่งเศส ep.1

แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซุปเปอร์ริช SuperRich โคราช korat


แลกเงินต่างประเทศ ให้เลทสูง ที่ ศูนย์ซุปเปอร์ริช superrich เดอะมอล themall เทอมินัล21 terminal21 เซ็นทรัล centrl
โคราช exchange เงินวอน ยวน ดอลล่า USD

แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซุปเปอร์ริช  SuperRich โคราช korat

Spoiler!!! ข้อสอบนักเรียนแลกเปลี่ยนAFS,Covid-19,ชีวิตในฝรั่งเศส |SOMI


ในที่สุดก็ได้ลงซักที! 555555 หลังจากที่รอมานานมาก คลิปนี้สปอยล์ทุกอย่างที่ควรรู้ก่อนมาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเลย ดูจบแล้วใครมีคำถามอะไรใส่ไว้ในcommentได้เลยนะคะ เดี๋ยวเราจะมาตามตอบค่า

Spoiler!!! ข้อสอบนักเรียนแลกเปลี่ยนAFS,Covid-19,ชีวิตในฝรั่งเศส |SOMI

นักเรียนแลกเปลี่ยน Beyron Dorian ชาวฝรั่งเศส


นักเรียนแลกเปลี่ยน Beyron Dorian ชาวฝรั่งเศส

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ แลกเปลี่ยน ฝรั่งเศส

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *