Skip to content
Home » [Update] “อย่ารีไซเคิลเรียงความขอทุน” เคล็ดลับพิชิตทุนรัฐบาลเกาหลี เรียนฟรี กินอยู่ฟรี | ทุนป.โท เกาหลี – NATAVIGUIDES

[Update] “อย่ารีไซเคิลเรียงความขอทุน” เคล็ดลับพิชิตทุนรัฐบาลเกาหลี เรียนฟรี กินอยู่ฟรี | ทุนป.โท เกาหลี – NATAVIGUIDES

ทุนป.โท เกาหลี: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Korea Global Scholarship student interview

        Global Korea Scholarship (GKS) หรือ ทุนรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี คือทุนในฝันของ เหม่ยหลิง พิมลวรรณ กมลขันติกุล เพราะเธอติดตามข่าวสารทุนสม่ำเสมอทุกปีตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย ซ้ำยังเคยสมัครทุนปริญญาตรีตั้งแต่ม.6 แต่คว้าทุนไม่สำเร็จ หลังจากเรียนจบปริญญาตรี เหม่ยหลิงก็สมัครทุนนี้อีกครั้ง แต่คราวนี้มาพร้อมกับประสบการณ์และความรู้ภาษาเกาหลีที่ทำให้คณะกรรมการปฏิเสธไม่ได้ 

 

    ปัจจุบันเหม่ยหลิงเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยปูซาน เอก Marketing (การตลาด) ด้วยทุน GKS ที่ให้เปล่า 100% ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าเทอม ค่าประกันสุขภาพ และเบี้ยเลี้ยงรายเดือน 

 

    เหม่ยหลิงจบปริญญาตรีที่คณะนิเทศศาสตร์ เอกประชาสัมพันธ์ โทภาษาเกาหลี ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

 

GKS Student interview meil

Table of Contents

รายละเอียดทุน

 

    ทุนให้ 100 % เลย วิธีการสมัครจะเป็นการยื่นเอกสาร โดยมี 2 ช่องทาง คือยื่นผ่านทางสถานทูต และยื่นโดยตรงกับทางมหาวิทยาลัยที่เราอยากเข้า 

 

    สำหรับเรายื่นตรงกับทางมหาวิทยาลัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ รอบคัดเอกสาร รอบสัมภาษณ์ ตอนนั้นสัมภาษณ์ผ่านทาง Skype โดยครูของคณะที่เราเลือกมาสัมภาษณ์เองเลย ส่วนรอบสุดท้ายคือให้กรรมการจากทาง NIIED (องค์กรที่ให้ทุนเรา) อนุมัติอีกรอบว่าเราจะผ่านไหม  

 

    ตอนที่ยื่นทุนก็ยื่นคะแนนภาษาอังกฤษ TOEIC กับคะแนนภาษาเกาหลี TOPIK ไปด้วย หลายคนชอบถามว่าถ้าไม่มี TOPIK ยื่นได้ไหม ก็ยื่นได้เช่นกัน แต่ควรจะมั่นใจว่ามีโปรไฟล์ด้านอื่นๆ มาเสริมจนสามารถทัดเทียมคนที่ยื่นคะแนนสอบได้ค่ะ หากอยากทราบข้อมูลโดยละเอียด แนะนำให้ลองเข้าไปดูในเว็บไซต์ studyinkorea.go.kr ดูค่ะ

 

ความยาก-ง่ายของทุน 

 

    คงตอบว่าง่ายจัง ชิวๆ มากไม่ได้ ช่วงเตรียมทุนก็หืดขึ้นคออยู่เหมือนกัน 5555 แนะนำว่าถ้าอยากได้ทุนนี้ให้เตรียมตัวล่วงหน้านานๆ ให้ตั้งเป้าหมายไว้ก่อนปีที่อยากไปเรียนต่อสัก 2-3 ปีเลย เนื่องจากทุนนี้มีเพียงแค่การยื่นเอกสาร ไม่มีข้อสอบของตัวทุนเอง นั่นหมายความว่า ด่านแรกสุดที่เราต้องเจอ ก็คือการพิจารณาผ่านเอกสารที่เรายื่นไปทั้งหมด 

 

    การเตรียมโปรไฟล์ให้พร้อมเป็นการแสดงถึงความตั้งใจและแน่วแน่ว่าเรามีความพร้อมในการเรียนต่อ เรามีคุณสมบัติเพียงพอที่ทางองค์กรเขาจะให้ทุนกับเรา ส่วนตัวเราคิดว่าเกรดและคะแนนสอบทางภาษาเป็นส่วนที่เล็กน้อยมากๆ เพราะหากเขียนลงในเรซูเม่ก็เป็นแค่หนึ่งบรรทัดสั้นๆ ที่แสดงว่าเราตั้งใจสอบได้คะแนนนี้มา แต่การทำกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมกับคณะที่เราต้องการเรียนต่อและการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงถึงความสนใจเกี่ยวกับประเทศเกาหลีจะถือเป็นแต้มบวกที่ทำให้เราเป็นต่อคนอื่นๆ ได้มากเลยค่ะ

 

    อย่างเหม่ยหลิงเองจริงๆ วางแผนเอาไว้นานมากเลยกว่าจะเริ่มสมัครทุนนี้ จุดเริ่มต้นมันมาจากตอนที่เปลี่ยนวิชาโทมาเป็นภาษาเกาหลี เหตุผลที่เปลี่ยนวิชาโทเป็นภาษาเกาหลีก็เนื่องจากเราสามารถใช้สิทธินักเรียนโทเกาหลีในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น สมัครแข่งพูดสุนทรพจน์ภาษาเกาหลี สมัครฝึกงานกับทางบริษัทซัมซุง เข้าร่วมสัมมนาการศึกษาภาษาเกาหลีในไทย สมัครเป็นสตาฟช่วยงานกิจกรรมของภาควิชาภาษาเกาหลี เป็นต้น แม้ว่าจะเป็นเพียงงานเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ และความต่อเนื่องในกิจกรรมที่เราทำ นอกจากนั้นแล้วอยากเสริมเป็นทิปให้ว่าการทำงานอาสาสมัครต่างๆ ก็เป็นโปรไฟล์เสริมที่ดีมากๆ เช่นกัน อย่างเราเองก็เคยทำงานเป็นหัวหน้าร่วมฝ่ายประชาสัมพันธ์ในโครงการบริจาคเลือดของมหาวิทยาลัยด้วย 

 

GKS student interview

การเตรียมตัว 

 

    หลังจากที่ได้ทุนก็มีหลายเรื่องที่ต้องเตรียมเพื่อจะส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ทางทุนค่ะ เช่น การทำวีซ่า และการส่งตรวจสุขภาพ ส่วนทางมหาวิทยาลัยนั้นจะมีผู้ที่รับผิดชอบนักเรียนทุนของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ติดต่อมา เราก็ต้องคอยเช็คเมล์ให้ดี และหากมีข้อสงสัยอะไรก็ต้องซักถามกับผู้ที่รับผิดชอบเราให้เข้าใจ

 

     นอกจากนั้นเราก็เตรียมตัวฟิตภาษาเกาหลี ตอนนั้นสั่งซื้อหนังสือ Korean Business มาเรียนเองเพิ่มเติมด้วย จริงๆ ก็เพราะช่วงก่อนไปทุนก็ว่าง แล้วก็อยากพัฒนาภาษาก่อนไปด้วย หลังจากนั้นก็เตรียมใจ 55555 ช่วงก่อนมาเกาหลีก็พยายามเก็บเกี่ยวความสุขในการอยู่กับเพื่อนแล้วก็ครอบครัวให้มากที่สุด 

 

ทำไมต้องสาขานี้ มหาวิทยาลัยนี้

 

    เราเรียนเอก Marketing ซึ่งจะเรียนเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจต่างๆ จริงๆ ต้องเล่าก่อนว่า สาเหตุที่เราเลือกเรียนด้าานนี้เพราะเราคิดว่าเนื้อหามันค่อนข้างคาบเกี่ยวกับสายวิชาการประชาสัมพันธ์ที่เราเรียนมาตอนปริญญาตรี การประชาสัมพันธ์เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำ marketing เราเลยคิดว่าเราอยากเรียนในเชิงธุรกิจให้เห็นภาพที่ใหญ่ขึ้น และนอกจากนั้น Marketing ยังสามารถปรับใช้ได้กับการทำงานในทุกๆ รูปแบบอีกด้วย 

    

    แต่เป้าหมายของเราในการเรียนต่อด้านนี้ คือ การทำงานเป็นล่ามภาษาเกาหลีที่สามารถประสานงานในสายธุรกิจได้ด้วย เราจึงคิดว่าจำเป็นจะต้องรู้พื้นฐานทางด้านธุรกิจให้กว้างยิ่งขึ้น และในระหว่างที่เรียนก็จะได้ศึกษาภาษาเกาหลีในเชิงธุรกิจ รวมไปถึงบริบทแวดล้อมในการทำธุรกิจของคนเกาหลี เรียนรู้ตลาดผู้บริโภคและอุตสาหกรรมที่นี่ไปด้วย เพื่อให้เอื้อต่อทำงานเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างการทำธุรกิจไทย-เกาหลีนั่นเอง 

 

    สาเหตุที่เราเลือกเรียน Business School ที่มหาวิทยาลัยปูซาน นั่นเป็นเพราะว่าเราได้ศึกษาดูหลักสูตรการเรียนการสอนของที่นี่แล้ว ค่อนข้างจะเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจในเชิงธุรกิจ ไม่ได้เจาะลึกด้านใดด้านหนึ่งไปเลย ซึ่งตรงกับเป้าหมายในการเรียนรู้ของเรา คือการเรียนรู้พื้นฐานด้านการตลาดและการทำธุรกิจ

 

GKS student interview

การเรียนที่เกาหลี VS ที่ไทย

 

    ก่อนอื่นคือระบบการจัดสูตรการเรียนการสอนก็ต่างกันออกไป อาจเป็นเพราะเป็นป.โทแล้วด้วยก็ได้ ในหนึ่งเทอมจะลงได้ไม่เกิน 10 หน่วยกิต และต้องมี 30 หน่วยกิตเพื่อจบการศึกษาที่นี่ โดยรวมหน่วยกิตในการทำปริญญานิพนธ์แล้ว

    ถ้าพูดถึงภาพรวมในห้องเรียนแล้ว ที่นี่ครูค่อนข้างเข้มงวดในการเช็คชื่อเข้าห้องเรียนและการมีส่วนร่วมในคลาสเรียนมากๆ คือครูจะรับไม่ได้กับนักเรียนที่มาสายเกินที่ครูกำหนดไว้ และหากใครทำผิดอะไรก็จะบอกตรงๆ โต้งๆ กลางห้องเรียนเลย อาจจะฟังดูน่ากลัว แต่เราคิดว่าก็เป็นเรื่องที่ดีหากเราได้รับรู้จุดอ่อนของเรา มีครั้งหนึ่งที่เพื่อนทำพรีเซนเทชั่น แต่ว่าตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่ตนนำเสนอไม่ได้ จึงโดนครูติตรงๆ เลยว่าก่อนจะทำพรีเซ้นต์เรื่องอะไรก็ตาม เธอคววรจะเรียนรู้และศึกษาเรื่องนั้นอย่างแจ่มแจ้งแล้วถึงจะนำเสนอได้นะ เนื่องจากนิสัยของคนเกาหลีจะค่อนข้างพูดกันตรงๆ อยู่แล้วจึงถือเป็นเรื่องปกติมากๆ ถ้าครูจะวิจารณ์หากนักเรียนทำได้ไม่ดีพอ แต่สำหรับเราก็ยังไม่เคยเจอแบบนั้นก็ถือว่าโชคดีไป 5555

 

การปรับตัว 

 

    มาช่วงแรกๆ รู้สึกว่าเรื่องสภาพอากาศและการดูแลสุขภาพก็ค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเหมือนกันนะคะ เพราะว่าสภาพอากาศต่างจากที่เมืองไทยมากๆ ต้องใส่ใจดูแลสุขภาพเป็นพิเศษเลย ช่วงมาแรกๆ ก็ป่วยหลายรอบ แล้วก็ได้เรียนรู้ว่าร้านยากับโรงพยาบาลรววมถึงคลินิกที่นี่ไม่ได้เปิดให้บริการทุกวัน คือจะเปิดทำการแค่ช่วงวันธรรมดาตามเวลาราชการเท่านั้น ถ้านอกเวลานั้นจะมีเพียงแค่คลินิกพิเศษ ซึ่งจะราคาแพงกว่าหลายเท่าตัว อีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องภาษาและวัฒนธรรมของที่นี่ ถึงแม้ว่าเราจะเรียนภาษาเกาหลีมาจนพูดสนทนาได้คล่องระดับหนึ่งแล้ว และเรียนรู้วัฒนธรรมมามากพอประมาณ แต่ถึงยังไงเราก็ไม่ใช่คนประเทศเค้าอยู่ดี บางคนถ้าพูดภาษาแล้วสำเนียงภาษาถิ่นปนมาบ้าง พูดรัวๆ บ้าง พูดไม่ชัดถ้อยชัดคำมากก็เป็นอุปสรรคในการสื่อสารอยู่บ้าง แต่ก็ต้องพยายามคุยถามจนเข้าใจให้ได้ อีกอย่างก็คือเรื่องวัฒนธรรมกับนิสัยของคนที่นี่จะค่อนข้างต่างจากไทยตรงที่ว่าคนที่นี่เวลาทำอะไรจะใจร้อนมากๆ ถ้าเราทำอะไรช้าไม่ทันใจเขาก็จะดูหงุดหงิดซึ่งมันก็มีข้อดีที่ว่าคนที่นี่ทำงานเร็ว งานเดินเร็ว แต่พออยู่ๆ ไปก็มีบ้างที่รู้สึกเหนื่อยกับการต้องใช้ชีวิตอย่างรีบเร่งอยู่ตลอดเวลา

 

KGS student interview

กิจกรรมของมหาลัย 

 

    จริงๆ แล้วสำหรับนักเรียนป.โทและสำหรับคณะของเราไม่ได้มีกิจกรรมอะไรมานำเสนอให้ทำเยอะขนาดนั้น แต่เนื่องจากว่าเราเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรมและรู้จักคนใหม่ๆ เลยชอบเข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนด้วยตัวเอง จากเทอมที่แล้วเราก็ได้เข้าร่วมโครงการ CCAP เป็นโครงการที่สนับสนุนความแตกต่างทางวัฒนธรรโดยโครงการนี้จะรับอาสาสมัครชาวต่างชาติให้ไปสอนคลาสพิเศษเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาติตนเองในโรงเรียนต่างๆ ที่กำหนดไว้

 

    ต่อมาเป็นกิจกรรมสตาฟ We Are One Festival ค่ะ กิจกรรมนี้จะจัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนพ.ย.เป็นกิจกรรมสำหรับนักเรียนต่างชาติในมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ โดยในงานจะมีการแสดงต่างๆ จากนักเรียนต่างชาติ และมีกิจกรรมร่วมตอบคำถามแลกของรางวัล ในงานนั้นเราก็ทำหน้าที่คอยจัดสถานที่ แจกของที่ระลึก ทำความสะอาด และดูแลความเรียบร้อยของสถานที่

 

    อีกกิจกรรมหนึ่งก็คือการเข้าร่วมชมรมของโรงเรียน ความจริงแล้วทุกๆ ต้นเทอมจะมีการเปิดนิทรรศการโชว์ชมรมคือแต่ละชมรมจะมาตั้งบูทที่หน้าลานกิจกรรมและเปิดรับสมัครสมาชิกชมรม บางชมรม อย่างชมรมเต้นหรือร้องเพลงก็ต้องมีออดิชั่นก่อนการเข้าร่วมชมรมด้วย แต่เราเองเพิ่งจะเข้าร่วมชมรมตอนเลยกลางเทอมไปแล้ว ในตอนนั้นชมรมที่ยังเปิดรับสมาชิกใหม่อยู่เลยมีไม่มาก สุดท้ายก็ได้เข้าร่วมชมรมเทควันโด เพื่อนๆ (จริงๆ คือเป็นน้องๆ เพราะส่วนมากเป็นนักเรียนป.ตรี) น่ารักกันมากๆ กิจกรรมที่ทำในชมรมก็คือจะมีสอนเทควันโดและซ้อมกันทุกวันจันทร์ถึงวันพฤหัสช่วง 18.00-19.00 น. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง สมาชิกสามารถเข้าร่วมได้ตามเวลาที่สะดวก ส่วนชุดเครื่องแบบเทควันโด หากใครยังไม่มีของตนเองก็สามารถยืมชุดของทางชมรมได้เลย

 

    สุดท้ายกิจกรรมที่ได้เข้าร่วมไปเมื่อปิดเทอมฤดูหนาวก็คือโปรแกรม tutoring  โดยจะจับคู่เพื่อนชาวเกาหลีกับชาวต่างชาติ แล้วให้เพื่อนคนเกาหลีติวภาษาเกาหลีให้ค่ะ ส่วนตัวเราด้านพื้นฐานภาษาเรารู้หมดแล้ว เลยขอให้เพื่อนติวเตอร์สอนภาษาถิ่นกับคำแสลงให้

 

สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ 

Do 

1. มีเป้าหมายในการศึกษาชัดเจน 

    เนื่องจากการเรียนต่อต่างประเทศเราต้องใช้ทรัพยากรมากมายในการเรียนต่อ ไม่ว่าจะเป็นเวลา ความทุ่มเทต่างๆ เราจึงควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมว่าเรามีจุดประสงค์อะไร อยากทำอาชีพอะไรกันแน่ จึงเลือกที่มาเรียนต่อ ในจุดนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการเขียนเรียงความส่งทุนแล้ว ยังเป็นการวางแผนอนาคตในชีวิตของเราอีกด้วย

 

2.  ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ มหาวิทยาลัย และประเทศที่จะไปเรียนต่ออย่างละเอียด 

    นอกจากการที่ศึกษาเกี่ยวกับประเทศที่เราต้องการไปเรียนต่อ การศึกษาเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยและคณะที่จะเรียนต่อก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากแต่ละมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ต่างกัน จึงควรเลือกสิ่งที่คิดว่าตรงกับความต้องการและเป้าหมายของเราให้มากที่สุด

 

3. เตรียมตัวให้พร้อมและศึกษาเงื่อนไขของทุน และจุดประสงค์ของการให้ทุนอย่างละเอียดก่อนช่วงการรับสมัครทุนจะมาถึง 

    เราควรจำไว้ว่าไม่ใช่มีแค่เราคนเดียวที่ต้องการสมัครทุนนี้ มีคนมากมายที่มีความสามารถ เตรียมพร้อมแข่งขันเพื่อสมัครทุนเดียวกับเรา เราจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะถึงเวลาประกาศรับสมัครทุน อีกทริคหนึ่งที่อยากให้ไว้ก็คือ ทุนแต่ละทุนนั้น ผู้ให้ทุนเขาจะมีจุดประสงค์บางอย่างที่เขาแอบนึกไว้ในใจว่าเขาอยากได้นักเรียนที่มีจุดประสงค์และคุณสมบัติแบบไหนที่เหมาะกับทุนนี้ ไม่ว่าจะเป็นทุนระยะยาวหรือทุนระยะสั้นก็ตาม ให้ลองสังเกตจากนักเรียนที่ได้ทุนในรอบที่ผ่านๆ มา ทุกคนมักจะมีจุดร่วมทางด้านคุณสมบัติหรือความตั้งใจในการสมัครทุนบางอย่าง หากเรารู้แล้วว่าทุนนี้เขาอยากได้คนแบบไหน เราสามารถเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อจะเป็นคนที่ถูกเลือกได้ 

 

4. ขยันหาข้อมูล ความรู้รอบตัว ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ที่อยากเรียนต่อ

    ข้อนี้เป็นการศึกษาเพื่อประโยชน์แก่ตัวผู้เรียนเอง ก่อนที่เราจะเลือกเรียนต่อทางด้านใดเราควรมีความสนใจต่อศาสตร์นั้นในระดับที่จะสามารถต่อยอดได้สูงขึ้นในภายหลัง การลองค้นหาความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับศาตร์นั้นๆ เป็นอีกหนึ่งในการที่เราได้ลองทดสอบตัวเองด้วยว่าเหมาะกับการเรียนศาสตร์นั้นๆ หรือไม่

 

5. ขยันหาประสบการณ์ที่ส่งเสริมเกี่ยวกับการเรียนต่อ

    การหาประสบการณ์นั้นนอกจากจะได้เป็นการทดลองความชอบของตนเองแล้วยังเป็นการเสริมสร้างโปรไฟล์ที่ดีของเราในการยื่นเรียนต่อ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในการเรียนอีกด้วย ดังคำพูดที่ว่า “ประสบการณ์สำคัญกว่าความรู้” แม้ในห้องเรียนเราจะเรียนทฤษฎีเหมือนๆ กัน ใช้หนังสือเล่มเดียวกัน แต่ประสบการณ์จะเป็นสิ่งที่เสริมให้เราแตกต่างจากคนอื่น และเรียนรู้ได้มากกว่า

 

Don’t 

1. จุดประสงค์ในการสมัครทุนไม่ชัดเจน

    หากก็ยังไม่แน่ใจว่ามีจุดประสงค์อะไรกันแน่ในการสมัครทุนหรือในการเรียนต่อ อาจจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากในการสมัครทุนจะต้องตอบคำถามตัวเองในหลายๆ เรื่องทั้งคณะ มหาวิทยาลัย ประเทศที่จะเรียนต่อ และชีวิตในอนาคตหลังจากเรียนจบ รวมถึงวิชาชีพที่อยากทำ หากไม่มีจุดประสงค์ดังกล่าวอยู่ในใจแล้ว ต่อให้สามารถสมัครทุนจนผ่าน แต่ช่วงระหว่างเรียนจนกว่าจะจบก็อาจจะพบถึงความยากลำบากและความท้อใจมากมายในระหว่างนั้น แต่หากชัดเจนกับสิ่งที่ทำอยู่แล้ว อย่างน้อยก็มีเป้าหมายที่สามารถยึดเอาไว้ได้

 

 2. ใช้เรียงความจากทุนที่เคยส่งไปแล้วมาส่งทุนอีกอัน

    อย่างที่กล่าวไปในข้อที่ควรทำว่า ทุนแต่ละทุนมีจุดประสงค์และคุณสมบัติของผู้รับทุนที่ต้องการต่างกัน ดังนั้นการใช้เรียงความจากทุนเดิมที่เคยส่งไปมาใช้กับอีกทุนนึงจึงไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไรนัก 

 

3.  ส่งเอกสารทุนในวันสุดท้ายของช่วงเวลาการรับสมัครทุน

    ความตรงต่อเวลาถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อตนเองอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน การที่เราส่งเอกสารทุนภายในวันสุดท้ายของการรับสมัครนั้นมีความเสี่ยงมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการขนส่งเอกสาร หรือความผิดพลาดทางเอกสารของเราเอง เราควรตรวจสอบให้ละเอียดรอบคอบ ทางที่ดีควรส่งเอกสารทั้งหมดก่อนหมดเวลารับสมัครทุนราว 2-3 วัน

 

4. ใช้ความคิดเห็นของคนอื่นมาเขียนในเรียงความทุนของตนเองมากเกินไป

 การเขียนเรียงความส่งทุนนั้นเป็นการแสดงความเป็นตัวตนของเรา ความมุ่งมั่นตั้งใจ เป้าหมาย แผนการในอนาคตของเรา แน่นอนว่าเราอาจขอคำปรึกษาจากคนอื่น หรือให้คนอื่นๆ ช่วยอ่านเรียงความทุนของเราเพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเรียงความของเราให้ดียิ่งขึ้น แต่ระวังอย่าให้คนอื่นมาตัดสินความคิดหรือเป้าหมายของเรามากเกินไปจนเราสูญเสียความเป็นตนเอง

 

    อยากไปเรียนเกาหลีต้องทำยังไง? ตอบทุกข้อสงสัยกับนักเรียนทุนรัฐบาลเกาหลีกันเถอะ!

    ชีวิตนักเรียนทุนที่มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติเกาหลี ตอนที่ 1 เคล็ดลับคว้าทุนสาขา Documentary

 

 

[NEW] รัฐบาลเกาหลีใต้รับสมัคร 345 ทุนเรียนป.โท-เอกประเทศเกาหลีใต้ | ทุนป.โท เกาหลี – NATAVIGUIDES

รัฐบาลเกาหลีใต้ มอบทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก แก่นักศึกษาต่างชาติทั้งจากประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา รวมทั้งไทย จำนวน 345 ทุน ประจำปีการศึกษา 2012-2013 เพื่อเปิดโอกาสที่ดีในการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา และกระชับมิตรภาพระหว่างประเทศ…

ระยะเวลาให้ทุน
– ปริญญาโท 2 ปี (ไม่รวมหลักสูตรอบรมภาษาเกาหลี ระยะเวลา 1 ปี)
– ปริญญาเอก 3 ปี (ไม่รวมหลักสูตรอบรมภาษาเกาหลี ระยะเวลา 1 ปี)

สิทธิประโยชน์
– ทุนการศึกษาประกอบด้วยค่าโดยสารเครื่องบินไป-กลับชั้นประหยัด เมื่อเรียนสำเร็จการศึกษา แต่จะงดเว้นค่าโดยสารขาเข้าในกรณีที่ผู้รับทุนอาศัยในประเทศเกาหลีเพื่อศึกษาหรือทำงานอยู่แล้ว
– ค่าใช้จ่ายรายเดือน 900,000 วอน
– ค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยสาขามานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ 210,000 วอน/ภาคเรียน หรือสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์เครื่องกล 240,000 วอน/ภาคเรียน
– ค่าตั้งถิ่นฐานเมื่อแรกเข้า 200,000 วอน
– ค่าเรียนภาษาเกาหลี เป็นเวลา 1 ปี
– ค่าเทอมและค่าสอบทั้งหมด
– ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์วิทยานิพนธ์ 500,000-800,000 วอน
– ค่าประกันสุขภาพ 20,000 วอน/เดือน
– เงินทุนพิเศษสำหรับนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญภาษาเกาหลี (TOPIK Level 5 – 6) 100,000 วอน/เดือน

คุณสมบัติผู้สมัคร
– เป็นผู้มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 40ปี
– มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจ
– ผู้สมัครหลักสูตรปริญญาโท ต้องสำเร็จหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สำหรับหลักสูตรปริญญาเอก ต้องสำเร็จหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า โดยจะต้องสำเร็จการศึกษา ภายในวันที่ 1 กันยายน 2555
– มีผลการเรียนอย่างต่ำ 2.64 จากเกรด 4.0 หรือมีคะเนน 80% จากสถาบันการศึกษาล่าสุด

หมายเหตุ
– ผู้สมัครที่ได้ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยในประเทศเกาหลีใต้แล้วจะถูกตัดสิทธิ์จากการขอทุน แต่ผู้รับทุนที่สำเร็จหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศเกาหลีใต้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2555 และมีผลคะแนนสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาเกาหลี (Test of Proficiency in Korean – TOPIK) Level 4 ขึ้นไป สามารถยื่นขอทุนผ่านสถานเอกอัครราชทูตเกาหลี ประจำประเทศไทย
– มีทักษะภาษาอังกฤษหรือภาษาเกาหลีดี จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ และหากสมัครเรียนสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหรือเทคโนโลยี จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

เอกสารการสมัคร
– ใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วน (มีแบบฟอร์มให้ในเว็บไซต์ www.gks.go.kr )
– รูปถ่าย
– สำเนาใบประกาศนียบัตร ใบแสดงผลการเรียน
– เรียงความแนะนำตนเอง 1 ฉบับ (มีแบบฟอร์มให้)
– แผนการศึกษา สำเนาเอกสารแสดงความสามารถทางภาษาอังกฤษและภาษาเกาหลี
– ผลงานที่ได้ตีพิมพ์หรือรางวัลที่ได้รับ

หมายเหตุ : เอกสารทั้งหมดที่ใช้ในการสมัครต้องเป็นภาษาเกาหลี หรือภาษาอังกฤษเท่านั้น หากเอกสารต้นฉบับมิใช่ภาษาเกาหลี หรือภาษาอังกฤษ ให้แปลเป็นภาษาเกาหลี หรือภาษาอังกฤษ และต้องได้รับการรับรองจากกรมการกงสุลด้วย หากมีเอกสารที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์จะถูกปฏิเสธการพิจารณาจาก NIIED (National Institute For International Education)

ช่วงเวลาการรับสมัคร
ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2555

ผู้สนใจสามารถสมัครขอทุนได้ที่
สถานเอกอัครราชทูตเกาหลี ประจำประเทศไทย
เลขที่ 23 ถนนเทียมร่วมมิตร รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทรศัพท์ 0-2247-7537-41 โทรสาร 0-2247-7535


เรียนต่อเกาหลีปริญญาตรี โท เอก!! – SEOUL HI


แนะนำข้อมูลเบื้องต้นการเรียนต่อในประเทศเกาหลี
การเรียนปรับภาษา ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
💕 ติดตามทุกเรื่องเกี่ยวกับเกาหลีได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/koreanlanguagebypnoon

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

เรียนต่อเกาหลีปริญญาตรี โท เอก!! - SEOUL HI

Q\u0026A – มาใช้ชีวิตที่เกาหลีได้ยังไง? ทุนเรียนต่อเกาหลี? หางานที่เกาหลียังไง? ชีวิตที่เกาหลีลำบากมั้ย?


เรียนต่อเกาหลี ทำงานเกาหลี ชีวิตในเกาหลี
คลิป Q\u0026A มาแล้วค่าาา
คลิปยาวมาก หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ 🙂
📌 ข้อมูลทุน ewha womans university
http://isa.ewha.ac.kr/sites/oisa/file/ag_english.pdf
📌 ข้อมูลทุน POSCO
https://www.postf.org/ko/page/asia/scholar.do?tab=tab_2
📌 เว็บไซต์หางาน
https://www.jobkorea.co.kr/
https://www.saramin.co.kr/
Part 01
Q.1 ทุนเรียนต่อเกาหลี
Q.2 ขั้นตอนขอทุน
Q.3 วิธีเขียนแนะนำตัว
Q.4 ตอนเรียนในคลาสเป็นยังไงบ้าง สังคม เพื่อนโอเคมั้ย
Q.5 ที่เค้าว่าเกาหลีเรียนหนัก ป.โทยังหนักไหม
Part 02
Q.1 ถ้าเราเป็นต่างชาติมีผลกับการรับเข้าทำงานของบริษัทที่เกาหลีมากน้อยแค่ไหน
Q.2 เรทเงินเดือนของคนเกาหลีเริ่มที่ประมาณเท่าไหร่ คิดว่ามันเพียงพอสำหรับค่าครองชีพที่บ้านเค้ามั้ย
Q.3 อาชีพที่เป็นที่ต้องการของประเทศเกาหลีตอนนี้คืออะไร
Q.4 คนไทยสามารถทำงานอะไรได้บ้างในเกาหลี
Q.5 อยากทราบว่าการหางานในบริษัทที่เกาหลีหาจากช่องทางไหนได้บ้าง
Q.6 เรียนเกาหลี ยากไหม เรียนยังไง เรียนและสอบส่วนไหนบ้างถึงได้ไปทำงาน 
Q.7 ควรสอบพวกวัดระดับภาษา ถึงระดับไหนถึงจะสามารถทำงานได้
Q.8 ที่เกาหลีทำงานหนักมากมั้ย อาทิตย์นึงหยุดกี่วัน
Q.9 งานออฟฟิศเอาเกรดจบสูงมั้ย เกรดไม่ดีพอจะมีงานส่วนไหนให้ทำบ้างไหม
Q.10 ตอนเรียนได้ทำงาน PartTime มั้ย
Q.11 งาน PartTime สำหรับคนต่างชาติ อย่างคนไทยเรานี่หายากไหมคะ
Q.12 ถ้าไม่ค่อยรู้ภาษาเกาหลีเลย แต่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ จะพอหางาน PartTime ได้ไหม
Part 03
Q.1 อยากให้เล่าเรื่องการไปเรียนต่อและทำงานที่เกาหลี ว่าเริ่มต้นยังไง ทำไมถึงได้ไปเรียนและใช้ชีวิตที่เกาหลี
Q.2 ที่พักในเกาหลีราคาเท่าไร
Q.3 การใช้ชีวิตที่เกาหลีลำบากไหม
Q.4 โดนบูลี่เรื่องสัญชาติบ้างไหม
Q.5 เคยท้อมั้ยคะช่วงที่เรียนภาษาเกาหลี แล้วมีวิธีการจัดการกับความท้อแท้นี้ยังไงบ้าง
Q.6 ตอนอยู่ที่ไทยจบมหาลัยอะไร แล้วมาต่อมหาลัยเกาหลีชื่อมหาลัยอะไร สาขาอะไร
Q.7 ตอนนี้ทำงานที่ไหน
Q.8 ตอนเรียน พักย่านไหน เป็นห้องแบบไหน ราคาประมาณเท่าไหร่
Q.9 สถานการณ์ตอนนี้ที่เกาหลีเป็นอย่างไรบ้าง คนกลับมาใช้ชีวิตปกติแล้วใช่ไหม
Q.10 อยากรู้ว่าสมัครงานยังไง ต้องสมัครผ่านที่ไหนบ้าง และเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร
Q.11 อยากรู้ว่า คนเกาหลีมีลักษณะนิสัยอย่างไร

IG kim_nanah

——
🎬 Video
Canon M50
Canon EOS RP
Final cut pro X

Q\u0026A - มาใช้ชีวิตที่เกาหลีได้ยังไง? ทุนเรียนต่อเกาหลี? หางานที่เกาหลียังไง? ชีวิตที่เกาหลีลำบากมั้ย?

\”เกาหลีใต้\” แซงไทยได้ยังไง? ทั้งที่เมื่อก่อนรวยเท่ากัน…


เมื่อ 60 ปีก่อน \”คนเกาหลีใต้\” กับ \”คนไทย\” ก็มีรายได้พอๆ กัน เดือนละ 440 บาท
อ่าว? แล้วพวกเค้าทำยังไง ให้ประเทศพัฒนาก้าวกระโดด จนทุกวันนี้แซงเราไปไม่เห็นฝุ่น
มามะ มาจับจองที่นั่งกันได้เลย เดี๋ยว ประธานเหมียว จะสรุปง่ายๆ ในคลิปนี้ครับ..

ติดตามประธานเหมียว ผ่านช่องทางอื่นๆ ตามไปได้ที่
Facebook: https://www.facebook.com/pratanmeow
Instagram: https://www.instagram.com/pratanmeow/

\

EP.3 รีวิวการเรียนภาษาของนักเรียนทุนรัฐบาลเกาหลี แบบงงๆ (GKS scholarship) #ทุนรัฐบาลเกาหลี


สวัสดีค่ะ ยอโนอินชยูค่าาา
Hello guys I’m Yeonoinchyu
안녕하세요 여노인츄 입니다
สำหรับใครที่อยากสอบถามเพิ่มเติม คอมเมนต์ไว้ได้เลยนะคะ
เว็บสำหรับสมัครสอบโทปิค : https://www.topik.go.kr/intro_index2.html
เว็บสำหรับฝึกทำข้อสอบเก่า : https://www.studytopik.go.kr/index.asp
ขอขอบคุณเพลงประกอบ https://www.youtube.com/embed/c_qHyyMPD4g

EP.3 รีวิวการเรียนภาษาของนักเรียนทุนรัฐบาลเกาหลี แบบงงๆ (GKS scholarship) #ทุนรัฐบาลเกาหลี

แชร์การสมัครเรียนที่เกาหลี 🇰🇷 + ชีวิตมหาลัยที่Korea University ll #ara.arayaa


ครั้งแรกกับการอัดวิดีโอแบบนี้ ผิดพลาดอะไรก็ขออภัยด้วยนะคะ ㅠㅠ
สำหรับใช้ที่อยากมาเรียนที่เกาหลี สามารถติดตามข้อมูลได้จากวิดีโอนี้เลยนะคะ
ส่วนใครมีคำถามเพิ่มเติม สามารถเม้นท์ทิ้งไว้ได้เลย ฝ้ายจะพยามมาตอบเรื่อยๆน้า
วิดีโออื่นๆ :
พาทัวร์มหาลัยKorea University : https://www.youtube.com/watch?v=WDiPv1PJa9o

ช่องทางการติดตามอื่นๆ
Facebook fanpage : https://www.facebook.com/seoulrendipity/
IG : https://www.instagram.com/ara.arayaa/

MUSIC :
Carefree Melody by Twin Musicom is licensed under a Creative Commons Attribution licence (https://creativecommons.org/licenses/by/4.0/)
Source: http://www.twinmusicom.org/song/302/carefreemelody
Artist: http://www.twinmusicom.org

เรียนต่อเกาหลี มหาลัยเกาหลี FaiAraya คนไทยในเกาหลี คนไทยในต่างแดน

แชร์การสมัครเรียนที่เกาหลี 🇰🇷 + ชีวิตมหาลัยที่Korea University ll #ara.arayaa

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ทุนป.โท เกาหลี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *