พหูพจน์: คุณกำลังดูกระทู้
ในภาษาอังกฤษ การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ เรามักจะเติม s หรือ es ต่อท้าย อย่างเช่น boy เป็น boys, cat เป็น cats, dish เป็น dishes
แต่ก็มีบางคำที่ต้องเปลี่ยนตัวอักษรก่อนแล้วค่อยเติม es อย่างเช่น candy เป็น candies, fly เป็น flies หรือบางคำก็เปลี่ยนตัวอักษรอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es อย่างเช่น foot เป็น feet, man เป็น men
จากที่เขียนมานี้ หลายๆคนก็คงสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าคำไหนต้องใช้รูปพหูพจน์แบบไหน
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ก็ขอให้วางใจได้ เพราะในบทความนี้ ชิววี่ได้เรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับกฏการเติม s และ es หลังคำนาม มาให้ได้เรียนรู้กันแบบง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย
ทบทวนความรู้
คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนหนึ่งหน่วย ซึ่งก็คือคำนามรูปปกติทั่วไป เช่น friend, pen, bus, foot, ox
คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป มักจะเป็นคำนามรูปที่เติม s หรือ es ต่อท้าย เช่น friends, pens, buses แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรอื่นแทน เช่น feet, oxen
หลักการเติม s และ es หลังคำนาม
การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ หลักๆแล้วจะแบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ
- เติม s ได้เลย เช่น cat เป็น cats, girl เป็น girls
- เติม es ได้เลย เช่น dish เป็น dishes, potato เป็น potatoes
- เปลี่ยนตัวอักษรท้ายคำแล้วค่อยเติม es เช่น wolf เป็น wolves, enemy เป็น enemies
- เปลี่ยนหรือเพิ่มตัวอักษรบางตัวหรือเปลี่ยนทั้งคำ เช่น tooth เป็น teeth, ox เป็น oxen, person เป็น people
- บางคำก็ใช้รูปพหูพจน์เหมือนเอกพจน์ เช่น deer, sheep
ซึ่งถ้าเจาะรายละเอียด จะแบ่งได้เป็นหลักการ 10 ข้อดังนี้
1. คำนามทั่วไปเติม s ต่อท้ายได้เลย
คำนามที่ไม่เข้าข่ายหลักการข้ออื่น เราสามารถเติม s ต่อท้ายตรงๆได้เลย ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAntAntsมดBookBooksหนังสือGirlGirlsเด็กผู้หญิงHouseHousesบ้านTableTablesโต๊ะ, ตารางTreeTreesต้นไม้
2. คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z ให้เติม es ต่อท้าย
คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z เราจะต้องเติม es ต่อท้ายแทน s ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBusBusesรถโดยสารประจำทางLensLensesเลนส์ClassClassesชั้นเรียน, คาบเรียนDressDressesชุดเดรสBrushBrushesแปรงDishDishesจานBeachBeachesชายหาดWatchWatchesนาฬิกาBoxBoxesกล่องFoxFoxesสุนัขจิ้งจอกBlitzBlitzesการโจมตีแบบสายฟ้าแลบBuzzBuzzesความรู้สึกตื่นเต้น, เสียงหึ่ง เช่น เสียงผึ้ง
3. คำนามบางคำที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ต้องซ้ำ s หรือ z แล้วค่อยเติม es
คำนามที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ปกติแล้วจะเติม es ได้เลย แต่ก็มีบางคำที่เราจะต้องซ้ำ s หรือ z ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายGasGassesแก๊สQuizQuizzesแบบทดสอบWhizWhizzesผู้มากความสามารถในบางด้าน
4. คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ให้เปลี่ยน f หรือ fe เป็น v แล้วค่อยเติม es
คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe เราจะเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายLeafLeavesใบไม้ShelfShelvesชั้นวางของWolfWolvesหมาป่าKnifeKnivesมีดLifeLivesชีวิตWifeWivesภรรยา
แต่บางคำที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ก็จะเติม s โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v
คำพวกนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่หน้า f เป็นสระ 2 ตัวติดกัน (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น chef, safe
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBeliefBeliefsความเชื่อChefChefsเชฟทำอาหารProofProofsหลักฐานReefReefsแนวหินโสโครกใต้ทะเลRoofRoofsหลังคาSafeSafesตู้เซฟ
5. คำนามที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es ยกเว้นถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) ให้เติม s ได้เลย
คำนามที่ลงท้ายด้วย y เราจะเปลี่ยน y เป็น i แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBabyBabiesเด็กทารกCityCitiesเมืองขนาดใหญ่EnemyEnemiesศัตรูFlyFliesแมลงวันLibraryLibrariesห้องสมุดPuppyPuppiesลูกสุนัข
แต่ถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) เราจะเติม s ได้เลย
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBoyBoysเด็กผู้ชายDayDaysวันMonkeyMonkeysลิงToyToysของเล่นTrayTraysถาดWayWaysหนทาง, วิธี
6. คำนามที่ลงท้ายด้วย o ให้เติม es
คำนามที่ลงท้ายด้วย o เราจะเติม es ต่อท้าย ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายDominoDominoesโดมิโน่EchoEchoesเสียงสะท้อนHeroHeroesฮีโร่MosquitoMosquitoesยุงPotatoPotatoesมันฝรั่งTomatoTomatoesมะเขือเทศ
แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเติม s แทน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำที่หน้า o เป็นสระ (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น piano
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAudioAudiosเสียงBambooBamboosต้นไผ่, ไม้ไผ่PianoPianosเปียโนStudioStudiosสตูดิโอVideoVideosวิดีโอZooZoosสวนสัตว์
นอกจากนี้ ยังมีบางคำที่สามารถเติมได้ทั้ง s และ es คือใช้ได้ทั้ง 2 แบบเลย อย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBuffalo*Buffalos
BuffaloesควายCargoCargos
Cargoesสินค้าที่บรรทุกโดยยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น เรือ เครื่องบินMangoMangos
Mangoesมะม่วงMottoMottos
Mottoesคติพจน์TornadoTornados
Tornadoesพายุทอร์นาโดVolcanoVolcanos
Volcanoesภูเขาไฟ
*คำว่า buffalo สามารถใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ ทั้ง buffalos (แบบเติม s), buffaloes (แบบเติม es) และ buffalo (เหมือนรูปเอกพจน์)
7. คำนามที่มาจากภาษาอื่น บางคำจะมีรูปพหูพจน์เฉพาะ
คำนามที่มาจากภาษากรีกที่ลงท้ายด้วย sis เมื่อเป็นรูปพหูพจน์ เราจะเปลี่ยนให้เป็น ses ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAnalysisAnalysesการวิเคราะห์, ผลวิเคราะห์BasisBasesหลักสำคัญ, ส่วนประกอบหลักCrisisCrisesช่วงวิกฤติNeurosisNeurosesโรคประสาทOasisOasesโอเอซิส, แหล่งน้ำกลางทะเลทรายThesisThesesวิทยานิพนธ์
คำนามที่มาจากภาษาลาตินที่ลงท้ายด้วย us เราจะเปลี่ยนให้เป็น i ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAlumnusAlumniศิษย์เก่าCactusCacti (หรือ cactuses)ต้นกระบองเพชรFungusFungiเห็ด, เชื้อรา
แต่คำที่มาจากภาษาอื่นบางคำก็ใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ อย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAppendixAppendices
AppendixesภาคผนวกCactusCacti
Cactusesต้นกระบองเพชรCurriculumCurricula
CurriculumsหลักสูตรFormulaFormulae
Formulasสูตร เช่น สูตรคณิตฯStadiumStadia
Stadiumsสนามกีฬาขนาดใหญ่ThesaurusThesauri
Thesaurusesพจนานุกรมคำพ้อง
นอกจากตัวอย่างเหล่านี้แล้ว ยังมีคำต่างประเทศลักษณะอื่นอีก ที่มีรูปพหูพจน์เฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่พบเจอได้ไม่บ่อย หรือไม่ก็เป็นคำที่มักจะใช้รูปพหูพจน์เป็นปกติอยู่แล้ว (เช่น data, criteria ซึ่งเป็นรูปพหูพจน์ของ datum และ criterion ตามลำดับ)
8. คำนามบางคำใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรบางตัว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es
คำนามบางคำจะใช้การเปลี่ยนตัวอักษรที่เป็นสระ (a, e, i, o, u) เช่น เปลี่ยนจาก o เป็น e หรือเปลี่ยนจาก a เป็น e ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายFiremanFiremenพนักงานดับเพลิงFootFeetเท้าGooseGeeseห่านManMenผู้ชายToothTeethฟันWomanWomenผู้หญิง
และบางคำก็ใช้การเติมตัวอักษรอื่นที่ไม่ใช่ s หรือ es อย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายChildChildrenเด็กOxOxenวัว
9. คำนามบางคำจะเปลี่ยนแทบทั้งคำ โดยที่ไม่ได้เติม s หรือ es
คำนามบางคำจะมีรูปพหูพจน์ที่แตกต่างจากเดิมมาก เหมือนเป็นคนละคำกันเลย ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายMouseMiceหนูPersonPeopleคน
10. คำนามบางคำมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน
คำนามบางคำจะมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAircraftAircraftอากาศยานDeerDeerกวางDiceDiceลูกเต๋าFish*FishปลาSheepSheepแกะSpeciesSpeciesสายพันธุ์
*คำว่า fish จริงๆแล้วมีรูปพหูพจน์ 2 แบบ คือ fish และ fishes แต่ในกรณีทั่วไป เช่นการบอกว่ามีปลาหลายตัว เราจะนิยมใช้ fish มากกว่า ส่วน fishes นั้นมักจะใช้เมื่อพูดถึงปลาหลายๆสายพันธุ์
เป็นยังไงบ้างครับกับกฏการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถเปลี่ยนพจน์ของคำนามได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ
อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time
[NEW] หลักการใช้ singular and Plural nouns | พหูพจน์ – NATAVIGUIDES
Singular nouns (ซิงกิวเลอะ นาวสฺ) หมายถึง คำนามรูปเอกพจน์มีเพียงหนึ่ง ซึ่งเป็นได้ทั้งคำนามนับได้ และคำนามนับไม่ได้ มีได้เพียงรูปเดียวนั่นคือเอกพจน์ Plural nouns (พลูเริล นาวสฺ) หมายถึง คำนามรูปพหูพจน์ มีมากกว่าหนึ่ง ซึ่งเป็นได้เฉพาะคำนามนับได้เท่านั้น ลักษณะที่สังเกตเห็นได้ก็คือ มีการเติม -s หรือ – es ท้ายคำนามรูปเอกพจน์นับได้ เช่น
เอกพจน์ (หนึ่ง) พหูพจน์ (มากกว่าหนึ่ง)
A camera two cameras
(เออะ แคเมอะระ) (ทู แคเมอะระสฺ)
a watch three watches
(เออะ ว็อช) (ธรี ว็อทชิส)
การเปลี่ยนคำนามนับได้จากรูปเอกพจน์ไปเป็นรูปพหูพจน์ มีหลักการพอกล่าวสรุปได้ดังนี้
1. เติม -s ท้ายคำนามนับได้รูปเอกพจน์ หรือเติม -es หากคำนามนับได้ รูปเอกพจน์มีตัวสะกดท้ายคำ อาทิ -ch, -sh, -s หรือ -x เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ เอกพจน์ พหูพจน์
a cup cups (ถ้วย) a kiss kisses (การจูบ)
a desk desks (โต๊ะเขียนหนังสือ) a box boxes (กล่อง)
a chair chairs (เก้าอี้) a church churches (โบสถ์)
an ant ants (มด) a dish dishes (จาน)
2. คำนามนับได้รูปเอกพจน์ลงท้ายด้วยอักษรพยัญชนะ (ที่ไม่ใช่อักษร a, e, i, o, u) + y ให้ตัดอักษร y ออก และเติม -ies เมื่อเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์
แต่ถ้าหากคำนามนับได้รูปเอกพจน์ลงท้ายด้วยอักษรสระ (ได้แก่ a, e, i, o, u) .+ y ให้เติม -s ท้าย y เลย เมื่อเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์ เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ เอกพจน์ พหูพจน์
a city cities (เมือง) a day days (วัน)
a family families (ครอบครัว) a stay stays (ช่วงพักผ่อน)
3. คำนามนับได้รูปเอกพจน์ที่ลงท้าย -f หรือ -fe ให้เอา -f หรือ -fe ออก และเติม -ves เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ เอกพจน์ พหูพจน์
a loaf loaves (ก้อนขนมปัง) a wife wives (ภรรยา)
a leaf leaves (ใบไม้) a knife knives (มีด)
4. คำนามนับได้บางคำเป็นได้เฉพาะรูปพหูพจน์โดยลงท้ายด้วย -s หรือ –es ได้แก่
พหูพจน์
trousers (กางเกงขายาว) shorts (กางเกงขาสั้น)
jeans (กางเกงยีนส์) glasses (แว่นตา)
scissors (กรรไกร) Pyjamas (เสื้อกางเกงชุดนอน)
5. คำนามนับได้รูปเอกพจน์บางคำ เมื่อเป็นรูปพหูพจน์จะมีรูปเฉพาะ ไม่เป็นไปตามหลักที่กล่าวมาต้องอาศัยการจดจำ ได้แก่
เอกพจน์ พหูพจน์ เอกพจน์ พหูพจน์
a man men (ผู้ชาย) a woman women (ผู้หญิง)
a child children (เด็ก) a person people (ผู้คน)
a tooth teeth (ฟัน) a foot feet (เท้า)
a mousd mice (หนู) a sheep sheep (แกะ)
a fish fish (ปลา) a louse lice (เห็บ, เหา)
6. คำผสม (Compound words) เมื่อจะทำให้เป็นพหูพจน์ ทำได้โดย การเปลี่ยนแปลงคำหลัก เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ ความหมาย
headsman headsmen เพชฌฆาต
doorbell doorbells กระดิ่งที่ประตูสำหรับเรียกคนภายในบ้าน
bedroom bedrooms ห้องนอน
bookcase bookcases ตู้หนังสือ
mousetrap mousetraps กับดักหนู
stepfather stepfathers พ่อเลี้ยง
passer – by passers – by ผู้ที่เดินไปมาตามถนน
son-in-law sons-in-law บุตรเขย
7. คำที่มีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ ความหมาย
a sheep two sheep แกะ
a deer two deer กวาง
a fish a lot of fish ปลา
a fruit a basket of fruit ผลไม้
8. คำนามบางคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น กรีกและละติน เมื่อเปลี่ยนเป็นพหูพจน์จะไม่เข้ากฎเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้ว เช่น
เอกพจน์ พหูพจน์ ความหมาย
agendum agenda ระเบียบวาระการประชุม
erratum errata ข้อผิด, คำผิด
memorandum memoranda บันทืก
phenomenon phenomena ปรากฏการณ์
radius radii รัศมี
terminus termini จบ
crisis crises วิกฤตการณ์
basis bases หลักเกณฑ์สำคัญ
axis axes แกนกลาง
oasis oases พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไนทะเลทราย
appendix appendices ภาคผนวกของหนังสือ
index indexes/indices (1) indexes = สารบาญ
(2) indices = ดัชนี
genius geniuses/genii (1) geniuses = อัจฉริยบุคคล
(2) genii = ภูตผี, ปีศาจ
medium media เครื่องมือ
ที่มา:รองศาสตราจารย์ทณุ เตียวรัตนกุล
(Visited 103,418 times, 14 visits today)
หลักการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์(Singular) ให้เป็นคำนามพหูพจน์(Plural) l ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน
เรียนรู้หลักในการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์(Singular) ให้เป็นคำนามพหูพจน์(Plural) สามารถดูคลิปเพื่อติวสอบภาษาอังกฤษระดับ ประถม 456 และมัธยม 16 ได้เลย
สนใจเรียนไวยากรณ์และแกรมม่าภาษาอังกฤษพื้นฐานแบบฟรีๆ สามารถกดติดตามเราได้ที่:
Youtube: https://bit.ly/3dldu4m
Twitter: http://bit.ly/2Yt2lqH
Blog: https://goo.gl/JthDFX
Facebook: http://bit.ly/2CIaLBa
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน แกรมม่าภาษาอังกฤษเบื้องต้น
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
การผันคำนามเอกพจน์ พหูพจน์ เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
การผันคำนามเอกพจน์ พหูพจน์ เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
ในวีดีโอนี้เราจะมาดูการผันคำนามจากรูปเอกพจน์เป็นพหูพจน์กัน ไม่ว่าจะเป็น การ เติม s หรือ es รวมไปถึงคำนามที่คงรูป และ เปลี่ยนรูป แบบในคลิปเดียวรู้ละเอียดเลย
คำนามคืออะไร กดลิงก์นี้ได้เลย
https://www.youtube.com/watch?v=exx4VjSn6W0
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ครบทุกหลักการใช้งานในคลิปเดียวแบบเต็มสูบทั้งหมด
หากสนใจมาเรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว กับทางESE สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางเหล่านี้นะครับ
อย่าลืมกดติดตามเราทางช่องทางอื่นๆด้วยนะครับ
Follow us on Facebook: https://www.facebook.com/easyandsimpleenglish/
Follow us on Instagram: https://www.instagram.com/ese_stagram_th/
Visit our website: http://easysimpleenglish.com/
Contact: Tel: 0863537300
Singular Noun \u0026 Plural Noun คำนามเอกพจน์ และคำนามพหูพจน์
วันนี้มาเรียนรู้เกี่ยวกับ Singular Noun \u0026 Plural Noun คำนามเอกพจน์ และคำนามพหูพจน์
K’Jomjam Arainy ช่องแห่งความรู้ที่พร้อมกับความสุข ของคุณครูจ๋อมแจ๋ม ซึ่งคุณครูจ๋อมแจ๋มจะมาทำอะไรที่นี่ ต้องติดตาม…
ครูจ๋อม JomjamArainy EnglishByKruJom
ประธานเอกพจน์ พหูพจน์อย่างง่าย
การแบ่งประธานออกเป็นประธานเอกพจน์และประธานพหูพจน์ ในภาษาอังกฤษ จะช่วยให้ง่ายต่อการเลือกใช้คำกริยาที่ถูกต้องตามประธานและ Tense ค่ะ ครูตาลลืมอธิบายประธาน I ในตัวอย่างสไลด์สุดท้าย ขออธิบายตรงนี้นะคะ
I ใช้แบบเดียวกับประธานพหูพจน์ทั้งหมด ยกเว้น Verb to Be ค่ะ I จะใช้กับ am และ was เท่านั้นค่ะ
คำนามเอกพจน์และคำนามพหูพจน์ (Singular or Plural Noun) l Kuchita EASY ENG
Noun Singular Plural เอกพจน์ พหูพจน์
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE
ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ พหูพจน์