Skip to content
Home » [Update] หลักการเติม s และ es หลังคำนาม พร้อมตัวอย่าง | คํานาม – NATAVIGUIDES

[Update] หลักการเติม s และ es หลังคำนาม พร้อมตัวอย่าง | คํานาม – NATAVIGUIDES

คํานาม: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ในภาษาอังกฤษ การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ เรามักจะเติม s หรือ es ต่อท้าย อย่างเช่น boy เป็น boys, cat เป็น cats, dish เป็น dishes

แต่ก็มีบางคำที่ต้องเปลี่ยนตัวอักษรก่อนแล้วค่อยเติม es อย่างเช่น candy เป็น candies, fly เป็น flies หรือบางคำก็เปลี่ยนตัวอักษรอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es อย่างเช่น foot เป็น feet, man เป็น men

จากที่เขียนมานี้ หลายๆคนก็คงสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าคำไหนต้องใช้รูปพหูพจน์แบบไหน

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ก็ขอให้วางใจได้ เพราะในบทความนี้ ชิววี่ได้เรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับกฏการเติม s และ es หลังคำนาม มาให้ได้เรียนรู้กันแบบง่ายๆแล้ว ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

ทบทวนความรู้
คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนหนึ่งหน่วย ซึ่งก็คือคำนามรูปปกติทั่วไป เช่น friend, pen, bus, foot, ox
คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป มักจะเป็นคำนามรูปที่เติม s หรือ es ต่อท้าย เช่น friends, pens, buses แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรอื่นแทน เช่น feet, oxen

หลักการเติม s และ es หลังคำนาม

การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ หลักๆแล้วจะแบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ

  1. เติม s ได้เลย เช่น cat เป็น cats, girl เป็น girls
  2. เติม es ได้เลย เช่น dish เป็น dishes, potato เป็น potatoes
  3. เปลี่ยนตัวอักษรท้ายคำแล้วค่อยเติม es เช่น wolf เป็น wolves, enemy เป็น enemies
  4. เปลี่ยนหรือเพิ่มตัวอักษรบางตัวหรือเปลี่ยนทั้งคำ เช่น tooth เป็น teeth, ox เป็น oxen, person เป็น people
  5. บางคำก็ใช้รูปพหูพจน์เหมือนเอกพจน์ เช่น deer, sheep

ซึ่งถ้าเจาะรายละเอียด จะแบ่งได้เป็นหลักการ 10 ข้อดังนี้

1. คำนามทั่วไปเติม s ต่อท้ายได้เลย

คำนามที่ไม่เข้าข่ายหลักการข้ออื่น เราสามารถเติม s ต่อท้ายตรงๆได้เลย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAntAntsมดBookBooksหนังสือGirlGirlsเด็กผู้หญิงHouseHousesบ้านTableTablesโต๊ะ, ตารางTreeTreesต้นไม้

2. คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z ให้เติม es ต่อท้าย

คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z เราจะต้องเติม es ต่อท้ายแทน s ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBusBusesรถโดยสารประจำทางLensLensesเลนส์ClassClassesชั้นเรียน, คาบเรียนDressDressesชุดเดรสBrushBrushesแปรงDishDishesจานBeachBeachesชายหาดWatchWatchesนาฬิกาBoxBoxesกล่องFoxFoxesสุนัขจิ้งจอกBlitzBlitzesการโจมตีแบบสายฟ้าแลบBuzzBuzzesความรู้สึกตื่นเต้น, เสียงหึ่ง เช่น เสียงผึ้ง

3. คำนามบางคำที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ต้องซ้ำ s หรือ z แล้วค่อยเติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย s หรือ z ปกติแล้วจะเติม es ได้เลย แต่ก็มีบางคำที่เราจะต้องซ้ำ s หรือ z ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายGasGassesแก๊สQuizQuizzesแบบทดสอบWhizWhizzesผู้มากความสามารถในบางด้าน

4. คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ให้เปลี่ยน f หรือ fe เป็น v แล้วค่อยเติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe เราจะเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v ก่อน แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายLeafLeavesใบไม้ShelfShelvesชั้นวางของWolfWolvesหมาป่าKnifeKnivesมีดLifeLivesชีวิตWifeWivesภรรยา

แต่บางคำที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ก็จะเติม s โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยน f หรือ fe เป็น v

คำพวกนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่หน้า f เป็นสระ 2 ตัวติดกัน (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น chef, safe

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBeliefBeliefsความเชื่อChefChefsเชฟทำอาหารProofProofsหลักฐานReefReefsแนวหินโสโครกใต้ทะเลRoofRoofsหลังคาSafeSafesตู้เซฟ

5. คำนามที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es ยกเว้นถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) ให้เติม s ได้เลย

คำนามที่ลงท้ายด้วย y เราจะเปลี่ยน y เป็น i แล้วค่อยเติม es ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBabyBabiesเด็กทารกCityCitiesเมืองขนาดใหญ่EnemyEnemiesศัตรูFlyFliesแมลงวันLibraryLibrariesห้องสมุดPuppyPuppiesลูกสุนัข

แต่ถ้าหน้า y เป็นสระ (a, e, i, o, u) เราจะเติม s ได้เลย

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBoyBoysเด็กผู้ชายDayDaysวันMonkeyMonkeysลิงToyToysของเล่นTrayTraysถาดWayWaysหนทาง, วิธี

6. คำนามที่ลงท้ายด้วย o ให้เติม es

คำนามที่ลงท้ายด้วย o เราจะเติม es ต่อท้าย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายDominoDominoesโดมิโน่EchoEchoesเสียงสะท้อนHeroHeroesฮีโร่MosquitoMosquitoesยุงPotatoPotatoesมันฝรั่งTomatoTomatoesมะเขือเทศ

แต่ก็มีบางคำที่ใช้การเติม s แทน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำที่หน้า o เป็นสระ (a, e, i, o, u) แต่บางคำก็ไม่ใช่ อย่างเช่น piano

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAudioAudiosเสียงBambooBamboosต้นไผ่, ไม้ไผ่PianoPianosเปียโนStudioStudiosสตูดิโอVideoVideosวิดีโอZooZoosสวนสัตว์

นอกจากนี้ ยังมีบางคำที่สามารถเติมได้ทั้ง s และ es คือใช้ได้ทั้ง 2 แบบเลย อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายBuffalo*Buffalos
BuffaloesควายCargoCargos
Cargoesสินค้าที่บรรทุกโดยยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น เรือ เครื่องบินMangoMangos
Mangoesมะม่วงMottoMottos
Mottoesคติพจน์TornadoTornados
Tornadoesพายุทอร์นาโดVolcanoVolcanos
Volcanoesภูเขาไฟ

*คำว่า buffalo สามารถใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ ทั้ง buffalos (แบบเติม s), buffaloes (แบบเติม es) และ buffalo (เหมือนรูปเอกพจน์)

7. คำนามที่มาจากภาษาอื่น บางคำจะมีรูปพหูพจน์เฉพาะ

คำนามที่มาจากภาษากรีกที่ลงท้ายด้วย sis เมื่อเป็นรูปพหูพจน์ เราจะเปลี่ยนให้เป็น ses ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAnalysisAnalysesการวิเคราะห์, ผลวิเคราะห์BasisBasesหลักสำคัญ, ส่วนประกอบหลักCrisisCrisesช่วงวิกฤติNeurosisNeurosesโรคประสาทOasisOasesโอเอซิส, แหล่งน้ำกลางทะเลทรายThesisThesesวิทยานิพนธ์

คำนามที่มาจากภาษาลาตินที่ลงท้ายด้วย us เราจะเปลี่ยนให้เป็น i ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAlumnusAlumniศิษย์เก่าCactusCacti (หรือ cactuses)ต้นกระบองเพชรFungusFungiเห็ด, เชื้อรา

แต่คำที่มาจากภาษาอื่นบางคำก็ใช้รูปพหูพจน์ได้หลายแบบ อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAppendixAppendices
AppendixesภาคผนวกCactusCacti
Cactusesต้นกระบองเพชรCurriculumCurricula
CurriculumsหลักสูตรFormulaFormulae
Formulasสูตร เช่น สูตรคณิตฯStadiumStadia
Stadiumsสนามกีฬาขนาดใหญ่ThesaurusThesauri
Thesaurusesพจนานุกรมคำพ้อง

นอกจากตัวอย่างเหล่านี้แล้ว ยังมีคำต่างประเทศลักษณะอื่นอีก ที่มีรูปพหูพจน์เฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นคำที่พบเจอได้ไม่บ่อย หรือไม่ก็เป็นคำที่มักจะใช้รูปพหูพจน์เป็นปกติอยู่แล้ว (เช่น data, criteria ซึ่งเป็นรูปพหูพจน์ของ datum และ criterion ตามลำดับ)

8. คำนามบางคำใช้การเปลี่ยนหรือเติมตัวอักษรบางตัว โดยที่ไม่ต้องเติม s หรือ es

คำนามบางคำจะใช้การเปลี่ยนตัวอักษรที่เป็นสระ (a, e, i, o, u) เช่น เปลี่ยนจาก o เป็น e หรือเปลี่ยนจาก a เป็น e ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายFiremanFiremenพนักงานดับเพลิงFootFeetเท้าGooseGeeseห่านManMenผู้ชายToothTeethฟันWomanWomenผู้หญิง

และบางคำก็ใช้การเติมตัวอักษรอื่นที่ไม่ใช่ s หรือ es อย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายChildChildrenเด็กOxOxenวัว

9. คำนามบางคำจะเปลี่ยนแทบทั้งคำ โดยที่ไม่ได้เติม s หรือ es

คำนามบางคำจะมีรูปพหูพจน์ที่แตกต่างจากเดิมมาก เหมือนเป็นคนละคำกันเลย ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายMouseMiceหนูPersonPeopleคน

10. คำนามบางคำมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน

คำนามบางคำจะมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

เอกพจน์พหูพจน์ความหมายAircraftAircraftอากาศยานDeerDeerกวางDiceDiceลูกเต๋าFish*FishปลาSheepSheepแกะSpeciesSpeciesสายพันธุ์

*คำว่า fish จริงๆแล้วมีรูปพหูพจน์ 2 แบบ คือ fish และ fishes แต่ในกรณีทั่วไป เช่นการบอกว่ามีปลาหลายตัว เราจะนิยมใช้ fish มากกว่า ส่วน fishes นั้นมักจะใช้เมื่อพูดถึงปลาหลายๆสายพันธุ์

เป็นยังไงบ้างครับกับกฏการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะเข้าใจและสามารถเปลี่ยนพจน์ของคำนามได้ถูกต้องมากขึ้นแล้วนะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time

[Update] เอกพจน์/พหูพจน์ (Singular/Plural) คืออะไร อธิบายแบบง่ายๆ | คํานาม – NATAVIGUIDES

เรื่องเอกพจน์และพหูพจน์ในภาษาอังกฤษถือเป็นแกรมม่าพื้นฐานที่สำคัญมากๆอย่างหนึ่ง ใครที่ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร หรือยังเข้าใจไม่ถี่ถ้วนมากนัก ก็มาดูกันในบทความนี้ได้เลย

ในบทความนี้ ชิววี่ได้เรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับเอกพจน์และพหูพจน์ ทั้งนิยาม ตัวอย่างคำ บทบาทของพจน์ และหัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้องอย่างคำนามนับได้และนับไม่ได้ ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย

เอกพจน์และพหูพจน์คืออะไร

คำนามในภาษาอังกฤษจะมี 2 รูป คือเอกพจน์และพหูพจน์

คำนามเอกพจน์ (singular noun) คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนหนึ่งหน่วย ซึ่งก็คือคำนามรูปปกติทั่วไป เช่น cat, table, pen, foot, woman

คำนามพหูพจน์ (plural noun) คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนมากกว่าหนึ่งหน่วย หรือพูดอีกแบบก็คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไปนั่นเอง

คำนามพหูพจน์จะเป็นคำนามที่เปลี่ยนรูปมาจากเอกพจน์ด้วยการเติม s หรือ es ต่อท้าย อย่างเช่น cats, tables, pens หรือบางคำก็ใช้การเปลี่ยนตัวอักษรแทน เช่น feet, women

ตัวอย่างคำนามเอกพจน์และพหูพจน์

เอกพจน์ความหมายพหูพจน์ความหมายA catแมวหนึ่งตัวTwo catsแมวสองตัวA tableโต๊ะหนึ่งตัวFour tablesโต๊ะสี่ตัวThis penปากกาด้ามนี้ (หนึ่งด้าม)These pensปากกาเหล่านี้ (หลายด้าม)This footเท้าข้างนี้ (ข้างเดียว)My feetเท้าของฉัน (สองข้าง)A womanผู้หญิงหนึ่งคนAll womenผู้หญิงทุกคน

เรียนรู้เพิ่มเติม
เพื่อนๆที่สนใจสามารถเรียนรู้วิธีการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ได้ที่หลักการเติม s และ es หลังคำนาม พร้อมตัวอย่าง

คำนามนับได้และนับไม่ได้

ในภาษาอังกฤษ คำนามจะแบ่งออกเป็นคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้

คำนามนับได้ (countable noun) คือคำนามที่นับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้ อย่างเช่น

  • Boy (เด็กผู้ชาย) – นับได้ว่ากี่คน
  • Bird (นก) – นับได้ว่ากี่ตัว
  • Pencil (ดินสอ) – นับได้ว่ากี่แท่ง

คำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือคำนามที่ตามธรรมชาติแล้วนับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้ยาก เรามักจะมองเป็นภาพรวมหรือเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า อย่างเช่น

  • Water (น้ำ) – เราจะไม่นับน้ำว่ามีกี่หยด
  • Rice (ข้าว) – เราจะไม่นับข้าวว่ามีกี่เม็ด
  • Happiness (ความสุข) – ไม่สามารถนับเป็นชิ้นเป็นอันได้

เราสามารถทำคำนามนับไม่ได้ให้กลายเป็นคำนามนับได้ด้วยการกำหนดหน่วยเฉพาะให้มัน อย่างเช่น A glass of water (น้ำหนึ่งแก้ว), two bowls of rice (ข้าวสองชาม)

คำนามนับได้และนับไม่ได้จะมีความเกี่ยวข้องกับเอกพจน์และพหูพจน์คือ

  • คำนามนับได้จะมีทั้งรูปเอกพจน์และพหูพจน์ เช่น คำว่า bird เป็นเอกพจน์ มีรูปพหูพจน์คือ birds
  • คำนามนับไม่ได้จะมีแค่รูปเอกพจน์เท่านั้น (ยกเว้นเมื่อเรากำหนดหน่วยเฉพาะให้มัน) เช่น คำว่า water เป็นเอกพจน์ แต่จะไม่มีรูปพหูพจน์ (เราจะไม่ใช้ waters)

พจน์ของคำนามมีบทบาทสำคัญอย่างไร

การที่ภาษาอังกฤษมีการแบ่งรูปเอกพจน์และพหูพจน์ ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะมองข้ามไม่ได้เลย

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า พจน์ของคำนามนั้นมีบทบาทสำคัญในภาษาอังกฤษหลายอย่าง ซึ่งก็คือ

1. ช่วยบ่งชี้ปริมาณของคำนาม

ในภาษาอังกฤษ เมื่อไม่ได้ระบุปริมาณชัดเจน ผู้ฟัง/ผู้อ่านอาจอาศัยการดูพจน์ของคำนาม เพื่อให้รู้ว่าผู้พูด/ผู้เขียนหมายถึงปริมาณหนึ่งหน่วย หรือมากกว่าหนึ่งหน่วย ยกตัวอย่างเช่น

My leg hurts.
ขาฉันเจ็บ (ข้างเดียว)

My legs hurt.
ขาทั้งสองข้างของฉันเจ็บ

จากตัวอย่าง ถ้าเราใช้รูปเอกพจน์หรือพหูพจน์สลับกัน ก็อาจทำให้การสื่อความหมายนั้นผิดเพี้ยนได้

2. มีผลต่อการเลือกใช้คำนำหน้าคำนาม

คำนามเอกพจน์และพหูพจน์ยังมีความเกี่ยวข้องกับการใช้คำนำหน้าคำนาม (determiner) อีกด้วย ตัวอย่างคำนำหน้าคำนามก็อย่างเช่น a, an, the, this, that, these, those, many, some, ปริมาณตัวเลขต่างๆ (one, two, three,…)

คำนำหน้าคำนามหลายๆตัวจะมีข้อกำหนดว่าจะต้องใช้กับคำนามเอกพจน์หรือพหูพจน์ อย่างเช่น

  • คำนำหน้าคำนามบางตัว จะต้องใช้กับคำนามเอกพจน์เท่านั้น เช่น a, an, one, this, that
  • คำนำหน้าคำนามบางตัว จะต้องใช้กับคำนามพหูพจน์เท่านั้น เช่น these, those, many, two, three
  • คำนำหน้าคำนามบางตัว ก็สามารถใช้กับคำนามเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ เช่น the, some

การเลือกใช้คำนามเอกพจน์/พหูพจน์ที่ไม่สอดคล้องกับคำนำหน้าคำนาม นอกจากจะผิดหลักแกรมม่าแล้ว ยังอาจทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านสับสนได้อีกด้วย

3. มีผลต่อการเลือกใช้รูปคำกริยา

ในภาษาอังกฤษ คำกริยาก็มีรูปเอกพจน์และพหูพจน์เช่นกัน ซึ่งเราจะต้องใช้คำกริยารูปเอกพจน์กับคำนามเอกพจน์ และใช้คำกริยารูปพหูพจน์กับคำนามพหูพจน์ ตัวอย่างเช่น

John is my close friend.
จอห์นเป็นเพื่อนสนิทของฉัน
(John เป็นคำนามเอกพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปเอกพจน์ ซึ่งก็คือ is)

John and Jim are my close friends.
จอห์นและจิมเป็นเพื่อนสนิทของฉัน
(John and Jim เป็นคำนามพหูพจน์ เราจึงใช้คำกริยารูปพหูพจน์ ซึ่งก็คือ are)

การเลือกใช้รูปคำกริยาที่ไม่สอดคล้องกับคำนามจะถือว่าผิดหลักแกรมม่า ซึ่งอาจทำให้สับสน และอาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของผู้พูดหรือผู้เขียนได้

จากบทบาททั้ง 3 ข้อ เพื่อนๆคงเห็นแล้วว่า การเลือกใช้พจน์ของคำนามให้ถูกต้องถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากเลยทีเดียว ถ้าจะให้ดี เพื่อนๆก็ควรหาโอกาสฝึกดูฝึกใช้ให้ชินกันไว้นะครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฝึก ก็ยิ่งเก่ง สำหรับบทความนี้ ชิววี่ต้องขอตัวลาไปก่อน See you next time


ติว TOEIC : วิธีสังเกตคำนาม (Noun) แบบง่ายๆ


✿ ถ้าพื้นฐานน้อย แนะนำหาคอร์สติวดีกว่าค่ะ! ✿
👉 ติว TOEIC กับครูดิวเลย (ทดลองติวฟรี!) ➡️ https://bit.ly/2wR4Gmu

✿ คอร์ส KruDew ติว TOEIC มีอะไรให้บ้าง? ✿
✅Grammar ที่ใช้สอบ TOEIC ให้ครบ เริ่มสอนจากพื้นฐาน เรียนได้ทุกคนแน่นอน
✅เทคนิคช่วยจำต่างๆ จำง่าย เอาไปใช้กับข้อสอบได้จริงๆ
✅เก็งศัพท์ TOEIC ออกข้อสอบบ่อยๆ ให้ครบ
✅ อัพเดทข้อสอบ New TOEIC ล่าสุด ครบ 200 ข้อ
✅สามารถสอบถามข้อหรือจุดที่สงสัยได้ตลอด
✅การันตี 750+ (ถ้าสอบแล้วไม่ถึง สามารถทวนคอร์สได้ฟรี)
📣 ถ้าไม่อยากพลาดคลิปดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด ❤️ Subscribe ❤️กันนะคะ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ติว TOEIC : วิธีสังเกตคำนาม (Noun) แบบง่ายๆ

เพลง สรรพนามจำให้ดี – ETH3204 การออกแบบและผลิตสื่อการศึกษา


เพลง สรรพนามจำให้ดี - ETH3204 การออกแบบและผลิตสื่อการศึกษา

รวมเพลงปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์【คำภีร์โคตรฮิต】


อัลบั้มรวมบทเพลงฮิตทั้งเก่าและใหม่ของ ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ฉบับเสียงดีที่สุด
【รายชื่อเพลง】
00:00 ขอโทษ
04:33 เสมอ
10:45 คิดถึง
15:07 ตลอดเวลา
17:42 ไถ่เธอคืนมา
21:19 สุดใจ
25:28 มือปืน
30:40 แค่นั้น
35:57 หนุ่มน้อย
41:07 แกเพื่อนฉัน
46:02 มาตามสัญญา
50:18 เรียนและงาน
55:38 ใจบงการ
01:00:18 ม.ให้อะไร
01:05:09 หวัง
01:09:30 กูเป็นนักศึกษา
01:13:30 ของใคร
01:17:38 โรงเรียนของหนู
01:20:57 แม่
01:25:21 อยู่ตรงนี้
ถ้าชอบอย่าลืมกดติดตาม🔔 กดไลค์ กดแชร์ 👍
ช่องของเราเพื่อเป็นกำลังใจในการลงคลิปต่อไปด้วยนะครับ 🙏🙏
ฝากกดติดตามอีกหนึ่งช่องทางที่ https://www.youtube.com/channel/UCSJjuSDAEJDqkxmPv_AtCAQ

รวมเพลงปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์【คำภีร์โคตรฮิต】

เพลงคำนามน่ารู้ – ทำนองเพลงคอพับ -Bank เด็กแว๊นหัวทอง วงฝุดติ่ง


เพลงคำนามน่ารู้ ทำนองเพลงคอพับ Bank เด็กแว๊นหัวทอง วงฝุดติ่ง
แปลงเนื้อโดย : ครูกุ๊กไก่แสนซนคนสวย 👩🏻‍🏫
ช่วงโควิดแบบนี้นักเรียนอย่าเครียดเลยนะคะ
ให้ครูเครียดคนเดียวพอค่ะ5555555
ปล.เพลงนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการสอนเท่านั้น

เพลงคำนามน่ารู้ - ทำนองเพลงคอพับ -Bank เด็กแว๊นหัวทอง วงฝุดติ่ง

คำนามและชนิดของคำนาม


คำนามและชนิดของคำนาม

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ คํานาม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *