Skip to content
Home » [Update] ม.ล.ปิ่น มาลากุล ครูและนักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ | ม.ล. ย่อมาจาก – NATAVIGUIDES

[Update] ม.ล.ปิ่น มาลากุล ครูและนักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ | ม.ล. ย่อมาจาก – NATAVIGUIDES

ม.ล. ย่อมาจาก: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้


            ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นผู้มีคุณูปการยิ่งต่อสังคมไทย ท่านเป็น นักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ มีผลงานอันเป็นคุณประโยชน์ต่อวงการศึกษาของชาติอย่างต่อเนื่องยาวนาน และยังคงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน

 

          ตลอดระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเวลา 22 ปี ท่านได้วางนโยบายด้านการศึกษาของชาติ สร้างสรรค์งานการศึกษา มีความคิดก้าวไกล ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงขึ้น ณ ถนนประสานมิตร สนองพระราชกระแสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลที่ว่า “อย่าทิ้งเรื่องนี้เป็นอันขาด” 

 
        ริเริ่มการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในภูมิภาค อาทิ จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หอวชิราวุธานุสรณ์ ท้องฟ้าจำลอง วิทยุการศึกษา โครงการพัฒนาการศึกษาหลายโครงการ และ SEAMEO (The Southeast Asian Ministers of Education Organization) ก่อให้เกิดความร่วมมือทางการศึกษากับนานาชาติและองค์การระหว่างประเทศ เป็นผลให้การศึกษาของไทยเจริญก้าวหน้าอย่างมีระบบแบบแผน และประสานประโยชน์ ทางการศึกษากับนานาประเทศ เป็นที่ประจักษ์ทั่วกัน
 

       พุทธศักราช 2530 ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ด้วยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ มีผลงานประพันธ์รวม 207 เรื่อง และวันที่ 24 ตุลาคม 2546 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศในวาระครบ 100 ปีเกิด ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ว่าท่านคือผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม วรรณกรรม และการสื่อสาร
 

ชีวประวัติ

                ม.ล.ปิ่น มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 สืบเชื้อสายมาจากต้นราชสกุล มาลากุล ณ อยุธยา  คือ สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์  พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอันประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี บิดามารดาของม.ล.ปิ่นคือเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม (สกุลเดิม วสันตสิงห์)         
                ท่านได้สมรสกับท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ไกรฤกษ์) ไม่มีบุตรธิดา
 

ประวัติการศึกษา

          ปี พ.ศ. 2450 เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ณ สมัยนั้นเป็นโรงเรียนวัดราชบูรณะ) และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง

         ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนอีก แต่ปลายปีนั้นก็ยังคงมาสอบไล่และสามารถสอบผ่านชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งทำให้เลื่อนไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ก็ไม่ได้มาเรียนหรือมาสอบอีกเลย

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ จึงออกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยไปเข้าเรียนที่ The School of Oriental and African Studies, University of London (SOAS) หรือวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่คณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประสบความสำเร็จโดยได้ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต ในปี พ.ศ. 2471

            ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College) และในปี พ.ศ. 2498 ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นแรก)
 

รับราชการ

        ในปีพ.ศ. 2455 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. 2474 ในปีพ.ศ. 2475 เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปีพ.ศ. 2477 อีกด้วย

         หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2480 5 ปีต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่งอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2487 ท่านได้พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและทำงานในหน้าที่เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ในปี พ.ศ. 2489 ท่านดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2496 ท่านได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมวิชาการ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมการฝึกหัดครู รักษาการอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

           หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นเวลายาวนานถึง 12 ปีเศษ

 

ผลงานทางด้านการศึกษา 

1. ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท โรงเรียนมัธยมสหศึกษา โรงเรียนแรกในประเทศไทย
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 โดยนักเรียนเริ่มเรียนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยมี ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ในปีแรกๆ โรงเรียนได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ เช่น ทางด้านวิชาการมีผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างตึก 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 และต่อมาได้สร้างตึก 3 ไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ในเวลานี้นอกจากผลงานทางด้านวิชาการจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว นักเรียนยังได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬาต่างๆ ที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้นำเข้ามาในโรงเรียน เช่น ฮอกกี้ รักบี้ และฟุตบอล เข้าเกณฑ์ที่กล่าวได้ว่า “เรียนก็เด่น เล่นก็ดี กีฬาเลิศ”

2. ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนประถมสาธิต วิทยาลัยวิชาการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในระดับประถมศึกษา

3. ริเริ่มตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร ต่อมาเป็นวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาประสานมิตร  และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในปัจจุบัน
 

4. ริเริ่มจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์(ทับแก้ว )และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ประชากรในชนบทได้มีโอกาสเรียนถึงระดับอุดมศึกษา

สถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิการบดีในขณะนั้น มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่ หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๓ และคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙ คณะวิศวกรรมมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ สาเหตุที่เลือกพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ให้เหตุผลไว้ดังนี้

• ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทาง โบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะ ทาง วรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์

• ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่แล้ว

• ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็น ศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร
 

จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ.๒๕๐๑ ขณะที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีโครงการเกี่ยวกับการศึกษาโครงการหนึ่งชื่อว่า “โครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค” คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบ ได้มีการประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๒ ได้มติว่าจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เพราะประชากรส่วนใหญ่ก็สนับสนุน สภาพแวดล้อมก็เหมาะสม และได้เสนอเรื่องราวให้คณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและอนุมัติ ในที่สุด พ.ศ.๒๕๐๓ ก็ได้ดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ.๒๕๐๗ และเปิดอย่างเป้นทางการวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๐๘ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ 
พระบรมราชินีนาท ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีครั้งนี้

5 ริเริ่มจัดตั้งห้องสมุดเสียงขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อรวบรวมวรรณกรรมร้อยแก้วด้านพระราชดำรัส พระบรมราโชวาทและปาฐกถาของผู้มีชื่อเสียงด้านต่าง ๆ 

6. พัฒนาการศึกษาหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาการศึกษาส่วนภูมิภาค โครงการพัฒนาการศึกษา และโครงการฝึกหัดครูชนบท ก่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา 

7. ขยายงานของกรม กองต่าง ๆ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้านการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นำเทคโนโลยีด้านการศึกษาเข้ามาใช้ เช่น จัดตั้งวิทยุการศึกษา ท้องฟ้าจำลอง เป็นต้น

8. ก่อตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์เพื่อเป็นที่ระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นคลังสมบัติทางปัญญาในการค้นคว้ารวบรวมและเผยแพร่พระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน

ม.ล.ปิ่น มาลากุล ผู้ริเริ่ม เป็นกำลังสำคัญในการก่อกำเนิด “หอวชิราวุธานุสรณ์” ผู้เสียสละกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด และกำลังทรัพย์ บริจาค 1 ล้าน 6 แสนบาท เพื่อเชิดชูเกียรติภูมิของชาติ ให้เป็นศูนย์สรรพวิทยาการ และศิลปวัฒนธรรมในวงการศึกษายิ่งใหญ่

“หอวชิราวุธานุสรณ์” เป็นอาคารทรงไทยขนาดใหญ่ ณ บริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เพื่อเฉลิมฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 8 รอบ และ 100 พรรษา สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า องค์การยูเนสโก ยกย่องสดุดีทรงเป็นบุคคลสำคัญระดับโลก ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2524
ครั้งหนึ่งในชีวิต เกิดเหตุจลาจลเพื่อแย่งอำนาจรัฐบาล วันที่ 9 กันยายน 2528 หลังการประชุม ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ ม.ล.ปิ่นยังไม่กลับบ้าน มีผู้ถามท่านว่า…”เหตุใดท่านจึงไม่กลับ เมื่อเหตุการณ์ไม่สงบ” ท่านตอบว่า  “หอวชิราวุธานุสรณ์…คือบ้านฉัน”

9. จัดสร้างค่ายหลวงบ้านไร่ จังหวัดราชบุรี เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมความรู้และเป็นค่ายพักแรมหรือจัดกิจกรรมของเยาวชน
 

ผลงานด้านวัฒนธรรมและวรรณกรรม

            ม.ล. ปิ่น มาลากุลได้รับการอบรมปลูกฝังให้รักและชื่นชมวัฒนธรรมของชาติมาแต่เยาว์วัย ท่านได้เป็นมหาดเล็กรับใช้รุ่นแรกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเวลานานถึง 6 ปี ทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากพระองค์ท่านมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรม

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฝึกอบรมและทรงมอบหมายหน้าที่พิเศษให้ท่านจัดเก็บพระราชนิพนธ์บทละคร และเมื่อทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องใดแล้ว จะพระราชทานให้อ่านก่อน แล้วจึงนำมาอ่านให้ที่ประชุมฟังในภายหลัง หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับพระราชานุญาตเป็นพิเศษ ให้แก้ไขต้นฉบับลายพระหัตถ์ได้  หากทรงเผลอพระราชนิพนธ์ผิดไป นอกจากนี้ทรงตั้งให้เป็น บรรณาธิการดุสิตสมิตอีกด้วย  ม.ล.ปิ่น มาลากุล จึงปราดเปรื่องในเชิงวรรณศิลป์ สามารถแต่งหนังสือได้แทบทุกประเภทภายในเวลาอันรวดเร็ว สืบเนื่องมาจากการได้อยู่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีความเป็นอัจฉริยะทางด้านอักษรศาสตร์ และได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก 

ท่านมีผลงานที่ตีพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่รวม 207 เรื่อง แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ 

  • หมวดการศึกษา 57 เรื่อง 
  • หมวดบทละคร 58 เรื่อง 
  • หมวดคำประพันธ์ 32 เรื่อง 
  • หมวดการท่องเที่ยว 8 เรื่อง
  • หมวดเบ็ดเตล็ด 52 เรื่อง 
  • ในจำนวนนี้ที่สำคัญ ได้แก่ ศึกษาภาษิต 109 บท คำประพันธ์บางเรื่อง 200 เรื่อง บทเพลง 24 เพลง บทนิราศ 8 เรื่อง และบทละคร 58 เรื่อง

เกียรติคุณทางวัฒนธรรมของท่านเป็นที่ประจักษ์ดังนี้

  • ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณคดี สาขาวรรณคดี และภาษาศาสตร์
  • ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2430 
  • ผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น
  • ได้รับพระเกี้ยวทองคำ  ในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น
  • รางวัลอาเซียน สาขาวรรณกรรม
  • ปูชนียบุคคลด้านภาษาและวรรณกรรมไทย
     

ตัวอย่างผลงานด้านวรรณศิลป์

อันอำนาจใดใดในโลกนี้
ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา
สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา
ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มี

——————————————————
กล้วยไม้มีดอกช้า……….ฉันใด
การศึกษาเป็นไป………..เช่นนั้น
แต่ดอกออกคราวไร……งามเด่น
งานสั่งสอนปลูกปั้น…….เสร็จแล้วแสนงาม
——————————————————
การเป็นครูนั้นไซร้ไม่ลำบาก
แต่สอนดีนั้นยากเป็นนักหนา
เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา
อีกมีความเมตตาอยู่ในใจ
——————————————————
ตระเวนไปอยากได้การศึกษา
จนยุโรปอเมริกาก็ถ้วนทั่ว
มนุษย์เชี่ยวเชิงวิชาอย่างน่ากลัว
แต่ใจคนจะชั่วไม่เปลี่ยนแปลง
ระลึกคุณพระพุทธสุดประเสริฐ
สงบเกิดแก่ใจได้รู้แจ้ง
ฝึกฝนจิตส่วนร้ายหายรุนแรง
ศึกษาแหล่งที่แท้อยู่แค่ใจ

——————————————————

ภาพประกอบและเนื้อหา เรียบเรียงจาก 

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1149.0
http://iacr.swu.ac.th/upload/research/download/39-5144-0.pdf

http://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=79600
http://www.sainampeung.ac.th/Main.html

[Update] ม.ล.ปิ่น มาลากุล ครูและนักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ | ม.ล. ย่อมาจาก – NATAVIGUIDES


            ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นผู้มีคุณูปการยิ่งต่อสังคมไทย ท่านเป็น นักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ มีผลงานอันเป็นคุณประโยชน์ต่อวงการศึกษาของชาติอย่างต่อเนื่องยาวนาน และยังคงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน

 

          ตลอดระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเวลา 22 ปี ท่านได้วางนโยบายด้านการศึกษาของชาติ สร้างสรรค์งานการศึกษา มีความคิดก้าวไกล ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงขึ้น ณ ถนนประสานมิตร สนองพระราชกระแสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลที่ว่า “อย่าทิ้งเรื่องนี้เป็นอันขาด” 

 
        ริเริ่มการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในภูมิภาค อาทิ จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หอวชิราวุธานุสรณ์ ท้องฟ้าจำลอง วิทยุการศึกษา โครงการพัฒนาการศึกษาหลายโครงการ และ SEAMEO (The Southeast Asian Ministers of Education Organization) ก่อให้เกิดความร่วมมือทางการศึกษากับนานาชาติและองค์การระหว่างประเทศ เป็นผลให้การศึกษาของไทยเจริญก้าวหน้าอย่างมีระบบแบบแผน และประสานประโยชน์ ทางการศึกษากับนานาประเทศ เป็นที่ประจักษ์ทั่วกัน
 

       พุทธศักราช 2530 ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ด้วยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ มีผลงานประพันธ์รวม 207 เรื่อง และวันที่ 24 ตุลาคม 2546 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศในวาระครบ 100 ปีเกิด ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ว่าท่านคือผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม วรรณกรรม และการสื่อสาร
 

ชีวประวัติ

                ม.ล.ปิ่น มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 สืบเชื้อสายมาจากต้นราชสกุล มาลากุล ณ อยุธยา  คือ สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์  พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอันประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี บิดามารดาของม.ล.ปิ่นคือเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม (สกุลเดิม วสันตสิงห์)         
                ท่านได้สมรสกับท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ไกรฤกษ์) ไม่มีบุตรธิดา
 

ประวัติการศึกษา

          ปี พ.ศ. 2450 เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ณ สมัยนั้นเป็นโรงเรียนวัดราชบูรณะ) และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง

         ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนอีก แต่ปลายปีนั้นก็ยังคงมาสอบไล่และสามารถสอบผ่านชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งทำให้เลื่อนไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ก็ไม่ได้มาเรียนหรือมาสอบอีกเลย

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ จึงออกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยไปเข้าเรียนที่ The School of Oriental and African Studies, University of London (SOAS) หรือวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่คณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประสบความสำเร็จโดยได้ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต ในปี พ.ศ. 2471

            ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College) และในปี พ.ศ. 2498 ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นแรก)
 

รับราชการ

        ในปีพ.ศ. 2455 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. 2474 ในปีพ.ศ. 2475 เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปีพ.ศ. 2477 อีกด้วย

         หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2480 5 ปีต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่งอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2487 ท่านได้พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและทำงานในหน้าที่เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ในปี พ.ศ. 2489 ท่านดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2496 ท่านได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมวิชาการ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมการฝึกหัดครู รักษาการอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

           หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นเวลายาวนานถึง 12 ปีเศษ

 

ผลงานทางด้านการศึกษา 

1. ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท โรงเรียนมัธยมสหศึกษา โรงเรียนแรกในประเทศไทย
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 โดยนักเรียนเริ่มเรียนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยมี ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ในปีแรกๆ โรงเรียนได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ เช่น ทางด้านวิชาการมีผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างตึก 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 และต่อมาได้สร้างตึก 3 ไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ในเวลานี้นอกจากผลงานทางด้านวิชาการจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว นักเรียนยังได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬาต่างๆ ที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้นำเข้ามาในโรงเรียน เช่น ฮอกกี้ รักบี้ และฟุตบอล เข้าเกณฑ์ที่กล่าวได้ว่า “เรียนก็เด่น เล่นก็ดี กีฬาเลิศ”

2. ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนประถมสาธิต วิทยาลัยวิชาการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในระดับประถมศึกษา

3. ริเริ่มตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร ต่อมาเป็นวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาประสานมิตร  และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในปัจจุบัน
 

4. ริเริ่มจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์(ทับแก้ว )และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ประชากรในชนบทได้มีโอกาสเรียนถึงระดับอุดมศึกษา

สถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิการบดีในขณะนั้น มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่ หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๓ และคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙ คณะวิศวกรรมมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ สาเหตุที่เลือกพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ให้เหตุผลไว้ดังนี้

• ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทาง โบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะ ทาง วรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์

• ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่แล้ว

• ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็น ศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร
 

จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ.๒๕๐๑ ขณะที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีโครงการเกี่ยวกับการศึกษาโครงการหนึ่งชื่อว่า “โครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค” คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบ ได้มีการประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๒ ได้มติว่าจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เพราะประชากรส่วนใหญ่ก็สนับสนุน สภาพแวดล้อมก็เหมาะสม และได้เสนอเรื่องราวให้คณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและอนุมัติ ในที่สุด พ.ศ.๒๕๐๓ ก็ได้ดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ.๒๕๐๗ และเปิดอย่างเป้นทางการวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๐๘ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ 
พระบรมราชินีนาท ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีครั้งนี้

5 ริเริ่มจัดตั้งห้องสมุดเสียงขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อรวบรวมวรรณกรรมร้อยแก้วด้านพระราชดำรัส พระบรมราโชวาทและปาฐกถาของผู้มีชื่อเสียงด้านต่าง ๆ 

6. พัฒนาการศึกษาหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาการศึกษาส่วนภูมิภาค โครงการพัฒนาการศึกษา และโครงการฝึกหัดครูชนบท ก่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา 

7. ขยายงานของกรม กองต่าง ๆ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้านการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นำเทคโนโลยีด้านการศึกษาเข้ามาใช้ เช่น จัดตั้งวิทยุการศึกษา ท้องฟ้าจำลอง เป็นต้น

8. ก่อตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์เพื่อเป็นที่ระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นคลังสมบัติทางปัญญาในการค้นคว้ารวบรวมและเผยแพร่พระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน

ม.ล.ปิ่น มาลากุล ผู้ริเริ่ม เป็นกำลังสำคัญในการก่อกำเนิด “หอวชิราวุธานุสรณ์” ผู้เสียสละกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด และกำลังทรัพย์ บริจาค 1 ล้าน 6 แสนบาท เพื่อเชิดชูเกียรติภูมิของชาติ ให้เป็นศูนย์สรรพวิทยาการ และศิลปวัฒนธรรมในวงการศึกษายิ่งใหญ่

“หอวชิราวุธานุสรณ์” เป็นอาคารทรงไทยขนาดใหญ่ ณ บริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เพื่อเฉลิมฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 8 รอบ และ 100 พรรษา สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า องค์การยูเนสโก ยกย่องสดุดีทรงเป็นบุคคลสำคัญระดับโลก ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2524
ครั้งหนึ่งในชีวิต เกิดเหตุจลาจลเพื่อแย่งอำนาจรัฐบาล วันที่ 9 กันยายน 2528 หลังการประชุม ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ ม.ล.ปิ่นยังไม่กลับบ้าน มีผู้ถามท่านว่า…”เหตุใดท่านจึงไม่กลับ เมื่อเหตุการณ์ไม่สงบ” ท่านตอบว่า  “หอวชิราวุธานุสรณ์…คือบ้านฉัน”

9. จัดสร้างค่ายหลวงบ้านไร่ จังหวัดราชบุรี เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมความรู้และเป็นค่ายพักแรมหรือจัดกิจกรรมของเยาวชน
 

ผลงานด้านวัฒนธรรมและวรรณกรรม

            ม.ล. ปิ่น มาลากุลได้รับการอบรมปลูกฝังให้รักและชื่นชมวัฒนธรรมของชาติมาแต่เยาว์วัย ท่านได้เป็นมหาดเล็กรับใช้รุ่นแรกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเวลานานถึง 6 ปี ทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากพระองค์ท่านมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรม

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฝึกอบรมและทรงมอบหมายหน้าที่พิเศษให้ท่านจัดเก็บพระราชนิพนธ์บทละคร และเมื่อทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องใดแล้ว จะพระราชทานให้อ่านก่อน แล้วจึงนำมาอ่านให้ที่ประชุมฟังในภายหลัง หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับพระราชานุญาตเป็นพิเศษ ให้แก้ไขต้นฉบับลายพระหัตถ์ได้  หากทรงเผลอพระราชนิพนธ์ผิดไป นอกจากนี้ทรงตั้งให้เป็น บรรณาธิการดุสิตสมิตอีกด้วย  ม.ล.ปิ่น มาลากุล จึงปราดเปรื่องในเชิงวรรณศิลป์ สามารถแต่งหนังสือได้แทบทุกประเภทภายในเวลาอันรวดเร็ว สืบเนื่องมาจากการได้อยู่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีความเป็นอัจฉริยะทางด้านอักษรศาสตร์ และได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก 

ท่านมีผลงานที่ตีพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่รวม 207 เรื่อง แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ 

  • หมวดการศึกษา 57 เรื่อง 
  • หมวดบทละคร 58 เรื่อง 
  • หมวดคำประพันธ์ 32 เรื่อง 
  • หมวดการท่องเที่ยว 8 เรื่อง
  • หมวดเบ็ดเตล็ด 52 เรื่อง 
  • ในจำนวนนี้ที่สำคัญ ได้แก่ ศึกษาภาษิต 109 บท คำประพันธ์บางเรื่อง 200 เรื่อง บทเพลง 24 เพลง บทนิราศ 8 เรื่อง และบทละคร 58 เรื่อง

เกียรติคุณทางวัฒนธรรมของท่านเป็นที่ประจักษ์ดังนี้

  • ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณคดี สาขาวรรณคดี และภาษาศาสตร์
  • ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2430 
  • ผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น
  • ได้รับพระเกี้ยวทองคำ  ในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น
  • รางวัลอาเซียน สาขาวรรณกรรม
  • ปูชนียบุคคลด้านภาษาและวรรณกรรมไทย
     

ตัวอย่างผลงานด้านวรรณศิลป์

อันอำนาจใดใดในโลกนี้
ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา
สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา
ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มี

——————————————————
กล้วยไม้มีดอกช้า……….ฉันใด
การศึกษาเป็นไป………..เช่นนั้น
แต่ดอกออกคราวไร……งามเด่น
งานสั่งสอนปลูกปั้น…….เสร็จแล้วแสนงาม
——————————————————
การเป็นครูนั้นไซร้ไม่ลำบาก
แต่สอนดีนั้นยากเป็นนักหนา
เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา
อีกมีความเมตตาอยู่ในใจ
——————————————————
ตระเวนไปอยากได้การศึกษา
จนยุโรปอเมริกาก็ถ้วนทั่ว
มนุษย์เชี่ยวเชิงวิชาอย่างน่ากลัว
แต่ใจคนจะชั่วไม่เปลี่ยนแปลง
ระลึกคุณพระพุทธสุดประเสริฐ
สงบเกิดแก่ใจได้รู้แจ้ง
ฝึกฝนจิตส่วนร้ายหายรุนแรง
ศึกษาแหล่งที่แท้อยู่แค่ใจ

——————————————————

ภาพประกอบและเนื้อหา เรียบเรียงจาก 

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1149.0
http://iacr.swu.ac.th/upload/research/download/39-5144-0.pdf

http://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=79600
http://www.sainampeung.ac.th/Main.html


อักษรย่อ\”ชื่อบุคคล,ราชการ,รัฐวิสาหกิจ,คณะกรรมการ,องค์การ\”


อักษรย่อแบบต่างๆ เพื่อการค้นคว้าหาความรู้ด้านการศึกษา
แก้ไข ปท = ไปรษณีย์โทรเลข

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

อักษรย่อ\

ไม่ใช่เพราะใคร – ICE (ไอซ์ ธมลวรรณ) 【OFFICIAL MV】


… Because of me
อะไรที่ดีเก็บอะไรไม่ดีก็โยนทิ้งไป
ไม่ใช่เพราะใคร
อีกหนึ่งเพลงรัก ติดชาร์ทจากปี 2016
จนดังถล่มทลายมาแล้ว
กลับมาครั้งนี้ถ่ายทอดโดย ไอซ์ ธมลวรรณ
Youtuber สาวเสียงหม่นเสน่ห์
จากเวทีประกวด The Voice5
ศิลปินที่มีแนวทางชัดเจน
ถูกใจแฟนเพลงยุคปัจจุบัน
เห็นได้ชัดจากเพลง ยอด Cover ของเธอที่มียอดวิวมากมาย
บวกกับกระแสของเธอใน โซเชียล
ก็ไม่แปลกที่เพลง \”ไม่ใช่เพราะใคร\” ในเวอร์ชั่นของไอซ์
จะกลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง

เพลง ไม่ใช่เพราะใคร
ศิลปิน ICE (ไอซ์ ธมลวรรณ)
Produced by ว่านไฉ
เนื้อร้อง/ทำนอง วิกรม สุริยะชัย
Arranged by ว่านไฉ
Piano,Guitar ว่านไฉ
Bass ธิติวัฒน์ รองทอง
Mixed and Mastered by สามิตร ดิษฐสูงเนิน

ก็รู้ ว่ารักของเธอที่มี ตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่ฉัน
และไม่มีวัน เหมือนเดิม
และฉัน ที่แกล้งทำเป็นสบาย
ที่จริงไม่ไหว เหมือนคนป่วย และใกล้ตาย
และไม่มีอะไร จะรักษาได้เลย
ไม่ต้องกลัว จะไม่ทำให้เธอต้องลำบาก
ไม่ถามอะไรเลย เพราะฉันรู้ และฉันก็เข้าใจ
ไม่ใช่เพราะเธอ ไม่ใช่เพราะฉัน ไม่ใช่ใครอะไรทั้งนั้น
ไม่ต้องหาเหตุผล แค่มองตากันก็รู้แก่ใจ
ไม่ต้องยื้อไว้ ไม่ต้องทนฝืน บอกลาแล้วจบกันไป
อะไรที่ดีก็เก็บ อะไรไม่ดีก็โยน ทิ้งไป
จากนี้ ก็ขอให้เธอโชคดี อะไรที่ฉันทำไม่ถูกใจ
ก็ขอให้คนใหม่ เป็นอย่างที่เธอต้องการ
ไม่ต้องกลัว จะไม่ทำให้เธอต้องลำบาก
ไม่ถามอะไรเลย เพราะฉันรู้และฉันก็เข้าใจ
ไม่ใช่เพราะเธอ ไม่ใช่เพราะฉัน ไม่ใช่ใครอะไรทั้งนั้น
ไม่ต้องหาเหตุผล แค่มองตากันก็รู้แก่ใจ
ไม่ต้องยื้อไว้ ไม่ต้องทนฝืน บอกลาแล้วจบกันไป
อะไรที่ดีก็เก็บ อะไรไม่ดีก็โยน ทิ้งไป

อย่าได้สนกับความรู้สึกของฉัน
อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไป อย่าทน อย่าฝืนใจ
ไม่ใช่เพราะเธอ เพราะฉัน ไม่ใช่ใครอะไรทั้งนั้น
อย่าหาเหตุผล แค่มองตากันก็รู้แก่ใจ
ไม่ต้องยื้อไว้ ไม่ต้องทนฝืน บอกลาแล้วจบกันไป
จากนี้ ถ้าเธอมีคนใหม่ บอกฉัน เพียงคำเดียวได้ไหม
แค่บอกให้ชัดเจน

♬ Download ♬
▶Available on iTunes :
▶Available on TrueMusic App :

ไม่ใช่เพราะใคร ICE (ไอซ์ ธมลวรรณ) 【OFFICIAL MV】

ติดต่องานจ้างงานโชว์อีเว้นท์แสดงหนังละครโฆษณา

✆ คุณก้อง 0926282422 , 0818465145
✆ คุณนัทตี้ 0814596244
ติดต่อสอบถามข้อมูล/ประชาสัมพันธ์
✆ คุณน้ำ

For More Information :
www.facebook.com/TrueFantasia
www.youtube.com/AFfantasia
twitter.com/True_Fantasia
instagram.com/True_Fantasia
© 2013 True Fantasia. All rights reserved.

ไม่ใช่เพราะใคร - ICE (ไอซ์ ธมลวรรณ) 【OFFICIAL MV】

คุณแม่ทำกับข้าว ของเล่นเครื่องครัว ของเล่นไม้ ของเล่นทำอาหาร ครัวไม้ สไลม์ Play Doh สกุชชี่


คุณแม่ทำกับข้าว ของเล่นเครื่องครัว ของเล่นไม้ ของเล่นทำอาหาร ครัวไม้ สไลม์ Play Doh สกุชชี่
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ช่อง Fairy Doll TV (แฟรีดอล) นะคะ
ฝากกดติดตามช่องแฟรี่ดอล ทีวี ของพี่นุ้ยด้วยนะคะ
❤ กดติดตามช่อง Fairy Doll : http://goo.gl/exBeXn
❤ Subscribe to the channel :http://goo.gl/exBeXn
❤Facebook : https://www.facebook.com/fairydolltv

Please feel free to subscribe to our channel for more Youtube exclusive children’s videos here. Fair use of content is intended

คุณแม่ทำกับข้าว ของเล่นเครื่องครัว ของเล่นไม้ ของเล่นทำอาหาร ครัวไม้ สไลม์ Play Doh สกุชชี่

คือเธอใช่ไหม – หน้ากากบั้งไฟ+หน้ากากโนรา | The Mask ลูกไทย


พบกับรายการ The Mask
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 20.05 น.
ทาง ช่องเวิร์คพอยท์ หมายเลข 23
และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของรายการได้ที่
เว็บไซต์: https://www.workpointtv.com
เฟสบุ๊ค: https://www.facebook.com/TheMaskSingerTH

คือเธอใช่ไหม - หน้ากากบั้งไฟ+หน้ากากโนรา | The Mask ลูกไทย

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ – ใครจะเข้าใจ【Official Audio】


\”ใครจะเข้าใจ\” บทเพลงที่เกี่ยวกับเรื่องราวความรักของผู้หญิงคนหนึ่งที่ตัดสินใจพลีกายแลกกับเงินเพื่อความอยู่รอดของตนเองและคนข้างหลัง จากอัลบั้ม อยากขึ้นสวรรค์ ของปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เจ้าพ่อเพลงรักเพื่อชีวิต
Remastered by Woody Pornpitaksuk @Westside Mastering
เนื้อเพลง
รู้ว่าหลอกเธอไว้ และหวังว่าเธอเข้าใจ
ดั่งว่าเดินทางมาไกล ไกลจนกู่ไม่กลับ
รู้ว่านี่น่ะร้าย เป็นตายเธอคงไม่ยอม
เราเคยประนีประนอม ออมชอมกันได้ทุกอย่าง
เพราะเธอเคยบอก อย่าทำกับฉันอย่างนี้
เพราะเธอเคยบอก ว่าเธอทนไม่ได้
ไม่รู้สึกได้ไหม เธอบอกใครเล่าจะทนไหว
มีเลือดมีเนื้อหัวใจ ให้ตายซะยังดีกว่า
หิวท้องกิ่วฉันล้า ถึงออกมาไล่ล่าหาเงิน
หมดสิ้นความคิดอับจน ที่เหลือก็คือเรือนร่าง
เพราะเธอเคยบอก อย่าทำกับฉันอย่างนี้
เพราะเธอเคยบอก ว่าเธอทนไม่ได้
แล้วฉันล่ะ ใครเคยเข้าใจฉันไหม
แล้วฉันล่ะ ใครเคยคิดถึงฉันไหม
ฉันต้องนอนกับชาย ที่ฉันไม่เคยรู้จัก
ฉันต้องพลีร่างกายแลกเงิน เลี้ยงใครต่อใครตั้งกี่ร้อยคน
เพราะเธอเคยบอก อย่าทำกับฉันอย่างนี้
เพราะเธอเคยบอก ว่าเธอทนไม่ได้
แล้วฉันล่ะ ใครเคยเข้าใจฉันไหม
แล้วฉันล่ะ ใครเคยคิดถึงฉันไหม
ฉันต้องนอนกับชาย ที่ฉันไม่เคยรู้จัก
ฉันต้องพลีร่างกายแลกเงิน เลี้ยงใครต่อใครตั้งกี่ร้อยคน
เธอกำลังไป มองคล้ายฉันเป็นกากเดน
ทุกอย่างเป็นดั่งควรเป็น ฉันเห็นสมควรทุกอย่าง
น้ำตาอยู่ตรงไหน อยู่ในใจไม่ไหลออกมา
ไม่เชื่อคือโชคชะตา นี่คือสิ่งที่ฉันทำและฉันเป็น
【 ช่องทางติดตามข่าวสาร ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ 】
Facebook ► http://www.facebook.com/pupongsitofficial
Instagram ► http://instagram.com/pupongsitofficial
LINE ► @PuPongsitOfficial หรือ http://line.me/ti/p/%40pupongsitofficial
TikTok ► https://vt.tiktok.com/ZSJBeAeu5/

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ - ใครจะเข้าใจ【Official Audio】

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ม.ล. ย่อมาจาก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *