Skip to content
Home » [Update] ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 199) | คําว่าสํานักงานใหญ่ ในใบกํากับภาษี – NATAVIGUIDES

[Update] ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 199) | คําว่าสํานักงานใหญ่ ในใบกํากับภาษี – NATAVIGUIDES

คําว่าสํานักงานใหญ่ ในใบกํากับภาษี: คุณกำลังดูกระทู้

Untitled Document

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199)
เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
———————-

                     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ดังต่อไปนี้

                     ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 196) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                             “ข้อ 7 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ในใบกำกับภาษีนั้น โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
                              ข้อ 8 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการ
จดทะเบียนตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกำกับภาษี ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
                                 (1) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความ
คำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (2) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสาขาของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
                              ข้อ 9 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
                                 (1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสาขาตามที่ปรากฏ
ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการใน
ใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏใน
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้”

                     ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

[Update] ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 199) | คําว่าสํานักงานใหญ่ ในใบกํากับภาษี – NATAVIGUIDES

Untitled Document

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199)
เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
———————-

                     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ดังต่อไปนี้

                     ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 196) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                             “ข้อ 7 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ในใบกำกับภาษีนั้น โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
                              ข้อ 8 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการ
จดทะเบียนตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกำกับภาษี ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
                                 (1) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน เป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความ
คำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (2) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสาขาของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้ออกใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
                              ข้อ 9 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
                                 (1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสาขาตามที่ปรากฏ
ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการใน
ใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ..” โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ปรากฏใน
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็น “สาขาที่ ..” เช่น “Branch No. ..” “br. no. ..” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ..” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
                                 (3) ข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตาม (1) และ (2) จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้”

                     ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556


3 วิธี ออกบิลเงินสดให้ถูกต้องถูกใจลูกค้า


แนะนำ 3 วิธี ออกบิลเงินสดให้ถูกต้องถูกใจลูกค้า ปัญหาจากที่เจอจากผู้ให้บริการที่ได้เจอกับตัวเองเวลาทำงานจริง

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

3 วิธี ออกบิลเงินสดให้ถูกต้องถูกใจลูกค้า

ใบกำกับภาษีอิเลคทรอนิกส์ e-Tax Invoice \u0026 Receipt และ e-Tax Invoice by email คืออะไร | DGTH


etax invoice \u0026 Receipt และ eTax invoice by email คืออะไร
eTax Invoice and eReceipt หรือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษี รวมถึงใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับ ให้เป็นรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ก่อนส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าและบริการ พร้อมนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรภายในกำหนดเวลา
2 ทางเลือกการใช้ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
etaxinvoice by email คือ การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ PDF/A3 เท่านั้น โดยส่งอีเมลถึงผู้ซื้อและสำเนา CC ไปยังระบบกลาง เพื่อให้ระบบ ประทับรับรองเวลา (Time Stamp) จากนั้น ระบบ eTax Invoice by Email จะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ไปยังอีเมลของผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ
สำหรับทางเลือกแบบ etaxinvoice \u0026 reciept นี้ก็คือ การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ XML หรือจัดทำในรูปแบบไฟล์อื่นๆ เช่น PDF ที่ต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่ต้องนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร เป็นรายเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ด้วยวิธีการ Upload หรือ นำส่งด้วยวิธี Host to Host หรือ ผ่านผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
วิธีการเริ่มต้นใช้งานของแต่ละทางเลือก
แบบ etaxinvoice \u0026 reciept ที่ไม่จำกัดรายได้ของผู้ประกอบการจะรายเล็กรายใหญ่ก็ใช้ได้
ผู้ประกอบการก็จะต้อง ทำการขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่กรรมสรรพากรเห็นชอบก่อนนะคะ เพื่อใช้สำหรับลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) บนใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการทำารายการต่างๆ เพื่อเป็นการรับรองความถูกต้องของข้อมูลและใช้ยืนยันว่าใครเป็นผู้ออกใบกากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ค่ะ ซึ่งใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์นี้จะถูกจัดเก็บอยู่ใน USB TOKEN หรือ Hardware Security Module และให้เรานำไปเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในขั้นตอนของการลงทะเบียนต่อไป เมื่อเราได้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้วก็มาลงทะเบียนโดย
ข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพากร ( rd.go.th) เพื่อยื่นคำขอจากนั้นดาวน์โหลดโปรแกรม ultimate sign\u0026viewer เชื่อมต่ออุปกรณ์ USB TOKEN หรือ HSM (Hardware Security Module) เข้ากับคอมพิวเตอร์ แล้วก็ทำตามขั้นตอนต่างๆที่เค้าระบุไว้ตามคู่มือนะคะ สุดท้ายแล้วก็จะได้รับอีเมล แจ้งสิทธิ์การใช้งานระบบ
เมื่อลงทะเบียนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ จากนั้นก็สามารถส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นี้ให้กับลูกค้าทางอีเมลได้ และจัดการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรโดยการล็อคอินเข้าใช้งานระบบที่ etax.rd.go.th เพื่อเข้าไปอัพโหลดไฟล์ข้อมูลใบกำกับภาษีอีเล็กทรอนิกส์ไปยังกรรมสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
แบบ etaxinvoice by email ซึ่งจะจำกัดรายได้ผู้ประกอบการไม่เกิน 30 ล้านบาท
เข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพากร ( rd.go.th) เพื่อยื่นคำขอ กรอกข้อมูลต่างๆพร้อมอัพโหลดเอกสารตามที่ระบบขอมา เมื่อทางกรมสรรพรการตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องแล้ว กรมสรรพากรจะจัดส่งเอกสารยืนยันทางไปรษณีย์พร้อมรหัสยืนยันมาให้ แล้วเราก็ยืนยันตัวตนผ่านเว็บไซต์และกำหนดรหัสผ่าน จากนั้นแจ้งอีเมลที่ประสงค์จะใช้ในการส่งใบกำกับภาษีค่ะ
ซึ่งเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วขั้นตอนการใช้งานก็คือ ล็อกอินด้วยอีเมลที่แจ้งไว้กับกรมสรรพากร จากนั้นส่งอีเมลใบกำกับภาษีในรูปแบบของ PDF ถึงผู้ซื้อและสำเนา CC ไปยังระบบกลางที่ [email protected] ซึ่งก็จะมีรูปแบบในเขียนอีเมลล์กำหนดเอาไว้ด้วยนะคะ ก็สามารถศึกษาจากคู่มือได้ค่ะ เมื่อส่งอีเมลไปที่ระบบกลางแล้วระบบก็จะทำการ ประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ให้ จากนั้น ระบบจะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลา (Time Stamp) แล้ว ไปยังอีเมลของผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน และระบบจะนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ
ซึ่งในการใช้งาน หลายคนอาจบอกว่า ปวดหัวจัง หรือยังไม่พร้อมที่จะบริหารจัดการด้วยตัวเอง ก็สามารถเลือกใช้บริการกับ Service Provider เพื่อให้ดำเนินการแทนได้นะคะ ซึ่งก็จะมีค่าบริการด้วยแต่ไม่ก็มาก ก็อาจจะต้องลองคำนวณกันดูว่าคุ้มค่าหรือไม่
ติดตามรายละเอียดว่า etax invoice \u0026 Receipt และ eTax invoice by email คืออะไร กันต่อได้ในรายการ Digital Thailand ตอนนี้เลย
.
ออกอากาศวันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2564 ในรายการ Digital Thailand
ออกอากาศ ทุกวันเสาร์ ทางช่อง 3 กด 33 เวลา 4.40 น. 5.05 น.
.
ติดตามรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
facebook.com/it24hrs
twitter.com/panraphee
twitter.com/ it24hrs
IG: panraphee
ติดต่อโฆษณา [email protected] โทร 0802345023

ใบกำกับภาษีอิเลคทรอนิกส์ e-Tax Invoice \u0026 Receipt และ e-Tax Invoice by email คืออะไร | DGTH

DOC VAT Planning : การวางแผนภาษีเกี่ยวกับใบกำกับภาษี


เพื่อใช้ประกอบการเรียนวิชาการวางแผนภาษี

DOC VAT Planning : การวางแผนภาษีเกี่ยวกับใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี Ep.3 วิธีทำเอกสารธุรกิจด้วย FlowAccount


FlowAccount Live
วิธีทำเอกสารธุรกิจด้วย FlowAccount Ep.3 ใบกำกับภาษี 📄
สอนเจ้าของธุรกิจและนักบัญชีเอกสารอะไรใช้ตอนไหน พร้อมวิธีทำเอกสารธุรกิจแบบมือโปร และได้บัญชีกิจการไปด้วย 🚀
📝 ทำไมลูกค้าชอบขอใบกำกับภาษี ถ้ายังไม่จด จะออกให้ได้ไหม
📝 ออกใบกำกับภาษียังไงให้ถูกต้อง
📝 วิธีคีย์ใบกำกับภาษีใน FlowAccount
พร้อม Session Q\u0026A ถามตอบปัญหาทำธุรกิจ โดยอาจารย์ธนัย นพคุณ Course Director of FlowAccount
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป
📣 อย่าลืมกด see first เพื่อไม่พลาดเทคนิคทำธุรกิจแบบง่ายๆ และอัพเดตความรู้การทำบัญชีไปพร้อมกับเรานะคะ
💻 ทดลองใช้งาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ FlowAccount ฟรี 30 วันได้ที่ https://flowaccount.com
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น New FlowAccount ทั้งทาง iOS และ Andriod
📱 App Store: https://apple.co/2PoDikS
📱 Play Store: http://bit.ly/354gFcf
👉 อัพเกรดมาใช้ New FlowAccount https://bit.ly/39q6Pml
📞 ติดต่อสอบถาม 020268989
📢 ติดตามข่าวสาร Line: @flowaccount
FlowAccount โปรแกรมบัญชี ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี Ep.3 วิธีทำเอกสารธุรกิจด้วย FlowAccount

การสร้าง ใบกำกับภาษี Invoice Form ด้วย Excel


ใช้ excel สร้าง ใบกำกับภาษี โดยการใช้ List VLOOKUP ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์และการใช้ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง
โดย โปรแกรม excel 2007 2010 2013 : การสร้าง ใบกำกับภาษี tax invoice , Invoice Template
เว็บการประยุกต์ใช้งาน excel ในสำนักงาน https://sites.google.com/site/excel2workshop/
^_^ รบกวนกดติดตามด้วยนะค่ะ ^_^
PJ Excel Channel
เว็บแนะนำ การใช้งาน Excel https://sites.google.com/site/excel2workshop/

การสร้าง ใบกำกับภาษี Invoice Form ด้วย Excel

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ คําว่าสํานักงานใหญ่ ในใบกํากับภาษี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *