Skip to content
Home » [Update] บทที่ 4 ราคา (Price) โดย ชีวรรณ เจริญสุข , Cheewan Charoensook ,Students Doctor of Business Administration (DBA) ส่ง ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น | การตั้งราคา – NATAVIGUIDES

[Update] บทที่ 4 ราคา (Price) โดย ชีวรรณ เจริญสุข , Cheewan Charoensook ,Students Doctor of Business Administration (DBA) ส่ง ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น | การตั้งราคา – NATAVIGUIDES

การตั้งราคา: คุณกำลังดูกระทู้

1.ประวัติเป็นมาและความสำคัญของราคา

ประวัติความสำคัญและความเป็นมาของราคาแต่เดิมราคาเกิดจากการต่อรองกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ปลายคริสศตวรรษที่  19   ผู้ขายรายใหญ่เริ่มมีบทบาทในการกำหนดราคาสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น และในปัจจุบันราคาสินค้าเกิดขึ้นจากหลายฝ่าย หากผู้ซื้อมีความรู้ และพิถีพิถันกับการเลือกซื้อสินค้าจะทำให้คนกลางต้องลดราคาสินค้าลงจากนั้นคนกลางก็จะไปกดดันให้ผู้ผลิตลดราตามไปด้วย นอกจากนี้บางสถานการณ์รัฐบาลอาจเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดราคาเพื่อความยุติธรรมอีกด้วยก็ได้ ราคาจึงเป็นกุญแจและกลไกลที่สำคัญเพื่อสร้างกำไรให้กับบริษัททั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตัดสินใจด้านราคามีผลกระทบอย่างมากต้องบกำไรและขาดทุน (Profit and loss statement) วัตถุประสงค์หลักของบริษัทในระยะยาวคือ การสร้างคุณค่าสูงสุดให้กับผู้บริโภค (Superior value) ดังนั้นราคาสินค้าควรมากกว่าต้นทุน กล่าวอีกนัยหนึ่ง วัตถุประสงค์ในระยะยาวของธุรกิจก็คือ การตั้งราคาระดับสูงอย่างน้อยก็เพื่อรักษาส่วนครองตลาด หรือยอดขายที่ไม่กัดเซาะกำไรของธุรกิจ ผู้บริโภคคัดเลือกผู้ขายปัจจัยการผลิต (Supplier) ที่มีคุณค่าสูงสุด คุณค่าเป็นผลรวมของราคา ความได้เปรียบด้านหน้าที่ และด้านจิตวิทยาของยี่ห้อ บริษัทจะเสนอสิ่งที่ดีที่สุด โดยใช้นวัตกรรม คุณภาพ ความรวดเร็วในการส่งมอบ ดังนั้น บริษัทจะเลือกขายปัจจัยการผลิตที่มีคุณค่าสูงสุด แทนที่จะเลือกขายผู้ปัจจัยการผลิตที่แข่งขันโดยราคาต่ำและกำไรส่วนเกินต่ำ

           

            ความหมายของราคา (Price) เป็นจำนวนเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน และใช้กำหนดมูลค่าของสินค้าหรือบริการคือมูลค่าในการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ หรือบริการในรูปแบบของเงินตราว่าผลิตภัณฑ์นั้น และบริการจะถูกพัฒนาอย่างถูกต้องตามความต้องการ ของตลาดเป้าหมายแล้วก็ตามไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์จะขายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ราคาจะต้องให้ถูกต้องและยุติธรรมโดยคำนึงถึงต้นทุน ลักษณะการแข่งขันในตลาดเป้าหมายได้เป็นอย่างดี (เชาว์โรจนแสง 2545 ) หรือเป็นจำนวนเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ (สินค้าและบริการ) โดยผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกัน  หรือเป็นจำนวนเงินหรือเป็นจำนวนเงินหรือสิ่งต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ผลิตภัณฑ์  (Etzel. Walker and Stanton 2545)หรือเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน ราคาเป็น P ตัวที่สองที่เกิดขึ้นถัดจาก Produce ราคาเป็นต้นทุน (Cost) ของลูกค้าโดยผู้บริโภคจะเปรียบเทียบระหว่างคุณค่า (Value) ของผลิตภัณฑ์กับราคา (Price) ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ถ้าคุณค่าสูงกว่าราคาผู้บริโภคก็จะตัดสินใจซื้อ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ 2546) หรือมูลค่าของสินค้าและบริการที่วัดออกมาเป็นตัวเงิน การกำหนดรามีความสำคัญต่อกิจการมาก กิจการไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ตามใจชอบ การพิจารณาราคาจะต้องกำหนดต้นทุนการผลิต สภาพการแข่งขัน กำไรที่คาดหมาย ราคาของคู่แข่งขัน ดังนั้นกิจการจะต้องเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการกำกำหนดราคาสินค้าและบริการ  ประเด็นสำคัญจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาได้แก่ ราคาสินค้าที่ระบุในรายการหรือราคาที่ระบุ (List Price) ราคาที่ให้ส่วนลด (Discounts) ราคาที่มีส่วนยอมให้ (Allowances) ราคาที่มีช่วงระยะเวลาที่การชำระเงิน (Payment Period) และราคาเงื่อนไขให้สินเชื่อ (Credit Terms) (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)

 

2.องค์ประกอบ

ในการตั้งราคาภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ชนิดใดชนิดหนึ่งประกอบด้วยปัจจัยมากมาย  แต่ปัจจัยที่ถือเป็นทางด้าน (1) ต้นทุน (2) กำไร (3) ความต้องการของตลาด (4) คู่แข่งและ (5) การรับรู้ (ธิดารัตน์ โชคบัณฑิต 2549) หัวใจสำคัญที่ต้องคำนึงถึงมีด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้             

           1.ต้นทุนทางด้านของราคา  เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ก่อนที่กิจการจะกำหนดไว้อย่างไร หรือว่าอยากได้กำไรเท่าไร  กิจการควรที่จะตั้งราคา และคำนวณต้นทุนทั้งหมดออกมาให้เรียบร้อยก่อน ทั้งค่าวัตถุดิบ  ค่าแรงงาน  ค่าใช้จ่ายในการผลิต  ค่าขนส่ง  ค่าโฆษณา และอื่นๆ (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)

         2.กำไรทางด้านของราคา  เป็นสิ่งที่ทุกองค์หรือบริษัทกิจการด้านธุรกิจควรคำนึงถึงอยู่เสมอ ตลอดระยะเวลาของกระบวนการตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์  เพราะกำไรเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสามารถของธุรกิจผลิตภัณฑ์หรือบริการ และสามารถที่จะอยู่ได้ถึงอนาคต  ผู้ประกอบการธุรกิจภัณฑ์สินค้าบริการของหลายๆ กิจการอาจมองข้ามเป้าหมายนี้ไป ซึ่งการที่ตัดราคาสินค้ากันเองเป็นสิ่งที่ทุกกิจการไม่ควรกระทำ  แต่สิ่งที่ควรจะทำก็คือการหันมาปรับราคาและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าให้มากขึ้น  เพื่อเป็นการทำกำไรให้ถึงเป้าหมายตามที่กิจการต้องการ (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)

         3.ความต้องการของตลาดทางด้านของราคา นั้นเป็นการกำหนดราคามักจะขึ้นอยู่กับกลไกของตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ถ้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บริการในช่วงเวลานั้นมีความต้องการจากผู้บริโภคสูงมาก ในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการก็ย่อมสามารถที่จะกำหนดสูงได้เช่นกัน  และในทางกลับกันถ้าหากสินค้าและบริการในขณะนั้นไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค  การกำหนดราคาของสินค้าหรือบริการนั้นก็จะลดลงตามไปด้วย  ดังนั้น ราคาของสินค้าหรือบริการจึงมีความยืดหยุ่นและปรับตัวขึ้นลงได้อยู่เสมอตามตลาดสินค้าและบริการ (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)

         4.คู่แข่งทางด้านของราคา  เป็นราคาภัณฑ์สินค้าและบริการนั้นเป็น ราคาสินค้าของคู่แข่งนั้นมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างมาก  ถ้าสินค้าหรือบริการเจ้าหนึ่งมีราคาถูกกว่าและเมื่อเทียบกับคุณภาพและวัตถุดิบแล้วมีความใกล้เคียงกัน ผู้บริโภคก็มักจะเลือกสินค้าที่ราคาถูกกว่าเพราะคุณภาพไม่แตกต่างกันมาก  ดังนั้นการตั้งราคาจากต้นทุนและความต้องการของตลาดนั้นอาจไม่เพียงพอด้วยซ้ำไป (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)

         

         5.คุณค่าที่รับรู้ในสายตาผู้บริโภคทางด้านของราคา   เป็นความรู้สึกของผู้บริโภคที่เกิดจากการรับรู้ถึงคุณภาพสินค้าและบริการโดยรวม  หรือคุณภาพที่เหนือกว่า  และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ ซึ่งการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคนั้นเกิดจากการยอมรับของผู้บริโภคว่าคุณค่าหรือคุณภาพของสินค้าและบริการนั้นมีคุณค่า  สูงกว่าราคาของสินค้า (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)

 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งราคา

การตั้งราคาสินค้า บริการหรือการแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้ากับสินค้าที่กระทำกันในขณะที่การตลาดยังไม่ได้รับการพัฒนานั้นมักเกิดขึ้นมากมาย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว มนุษย์จึงได้หันมาใช้การแลกเปลี่ยนโดยอาศัยเงินเป็นสื่อกลาง การใช้เงินเป็นสื่อกลางนี้จำเป็นต้องมีการกำหนดจำนวนเงิน หรือราคาสำหรับสินค้าแต่ละชนิดขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยน ดังนั้นจึงมีองค์ประกอบทางด้านของการตั้งราคาดังนี้

           

  1. การตั้งราคาตามแนวภูมิศาสตร์ (Geographical  pricing)  เป็นการตั้งราคาโดย

ใช้เขตภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ เนื่องจากผู้บริโภคกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ  การนำสินค้าไปขายยังเขตต่าง ๆ     จะมีค่าขนส่งซึ่งเป็นต้นทุนของสินค้าซึ่งมีผลกระทบต่อราคา บริษัทมีทางเลือกเกี่ยวกับการตั้งราคา ในหลายระดับหรือหลายแบบด้วยกันคือ  1. การตั้งราคาสินค้าแบบ F.O.B.  ณ จุดผลิต  หรือจุดเริ่มต้น (F.O.B.  plant  for  F.O.B.  origin  pricing)  เป็นการตั้งราคาที่ไม่รวมค่าขนส่ง  ผู้ซื้อจะต้องมีภาระจ่ายค่าขนส่งเอง  ผู้ขายจะจ่ายให้เฉพาะค่าขนย้ายสินค้าลงสู่พาหนะที่ผู้ซื้อจัดไว้  (F.O.B.  ย่อจาก  Free  on  board)  จุดเริ่มต้น (Origin)  ที่จะส่งสินค้าอาจเป็นจุดผลิต (plant)  2. การตั้งราคาส่งมอบราคาเดียว (Uniform  delivered  pricing)              3. การตั้งราคาตามเขน (Zone  delivered  pricing)  4. การตั้งราคาแบบผู้ขายรับภาระค่าขนสง (Freight  absorption  pricing)  5. การตั้งราคาจากจุดฐานที่กำหนด (Basing  point  pricing)

           2.การตั้งราคาให้แตกต่างกัน (Discrimination  pricing)       1. การตั้งราคาตามกลุ่มลูกค้า (Customer  segment  pricing) 2. การตั้งราคาตามรูปแบบผลิตภัณฑ์  (Product  from  pricing)  3. การตั้งราคาตามภาพลักษณ์ (Image  pricing)  4. การตั้งราคาตามสถานที่  หรือทำเลที่ตั้ง (Place  or  location  pricing)             5. การตั้งราคาตามเวลา  (Time  pricing)

         3.กลยุทธ์การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา (Psychological  pricing)  เป็นวิธีการตั้งราคาที่คำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ  มีวิธีการดังต่อไปนี้  1. การตั้งราคาตามความเคยชิน  (Customary  pricing)  2. การตั้งราคาเลขคี่  หรือเลขคู่ (Odd or  ever  pricing)  3. การตั้งราคาสินค้าที่มีชื่อเสียง (Prestige  goods  pricing)

         4.การตั้งราคาสำหรับสินค้าใหม่ (New  product  pricing)  สินค้าใหม่ (New  product)  อาจเป็นสินค้าใหม่แบบริเริ่ม (Innovate  product)  หรือเป็นสินค้าใหม่แบบปรับปรุง (Modified  product)  บริษัทมีทางเลือกในการตั้งราคาสินค้าใหม่  ดังนี้ 1. การตั้งราคาระดับสูง (Market  skimming  pricing)  2. การตั้งราคาเพื่อเจาะตลาด (Penetration  pricing)

         5.การตั้งราคาสินค้าที่เสื่อมความนิยม (Declining  product  pricing) สินค้าที่เสื่อมความนิยม  เป็นสินค้าซึ่งอยู่ในวงจรชีวิตขั้นตอนสุดท้าย  มียอดขายสินค้าลดลงเรื่อย ๆ มีสินค้าให้ผู้ซื้อเลือกจำนวนมาก  ตลาดอิ่มตัวเพราะมีสินค้าใหม่มาแทน  ผู้ซื้อมีความเชื่อถือในสินค้าและตรายี่ห้อน้อยลง  บริษัทมีทางเลือกในการตั้งราคาสินค้าที่เสื่อมความนิยม

         6.การตั้งราคาส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product  mix  pricing)  เป็นการตั้งราคาที่ผู้ผลิตมีสินค้าหลายชนิดขาย  ซึ่งจะต้องคำนึงให้มีกำไรรวมสูงสุด  บริษัทมีทางเลือกในการตั้งราคาดังนี้ 1. การตั้งราคาสำหรับสายผลิตภัณฑ์  (Product  line  pricing)  2. การตั้งราคาสินค้าที่เลือกซื้อประกอบหรือไม่ซื้อก็ได้  (Optional  feature  pricing) 3. การตั้งราคาสินค้าที่เป็นผลพลอยได้ (Byproduct  pricing) 4. การตั้งราคาสินค้าเป็นสองส่วน (Two  part  pricing)  5. การตั้งราคาสินค้าที่ขายรวมห่อ (Product – bonding  pricing 6. การตั้งราคาสินค้าประกอบที่ผู้ผลิต  ผลิตขึ้นสำหรับใช้กับสินค้า (Captive  product  pricing)

7.การตั้งราคาเพื่อส่งเสริมการตลาด (Promotion  pricing)  เป็นวิธีการตั้งราคาเพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าจากพ่อค้าปลีกมากขึ้น   บริษัทใช้วิธีต่าง ๆ ได้ดังนี้1. การตั้งราคาล่อใจ (Loss – leader  pricing)  และการตั้งราคาเหยื่อล่อ (Bait  pricing)   1) การตั้งราคาล่อใจ  การตั้งราคาเหยื่อ ซึ่งเป็นสินค้าตราที่รู้จักกันดี  ตั้งราคาไว้ถูกที่สุด  เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้าร้าน แต่ไม่มีสินค้าไว้ 2. การตั้งราคาในเทศกาลพิเศษ (Special – event  pricing)  เนื่องในเทศกาลพิเศษต่าง ๆ เช่น  เทศกาลปีใหม่  เทศกาลเปิดเทอมใหม่  พ่อค้าปลีกโดยทั่วไปจะตั้งราคาขายเป็นพิเศษ  3. การขายเชื่อแบบคิดดอกเบี้ยต่ำ (Low – interest  financing)  4.  การให้ส่วนลดตามหลักจิตวิทยา (Psychological  discounting)    5.  การลดราคาเพื่อการส่งเสริมการขาย (Cent – off  promotion)  6. การคืนเงิน (Cash  rebates)

         8.นโยบายการให้ส่วนลดและส่วนยอมให้ (Discounts  and  allowances)   ในการตั้งราคาสินค้า  บริษัทจะพิจารณาจัดให้มีส่วนลดและส่วนยอมให้ในบางช่วงเวลาของการขายส่วนลด (discount)  เป็นจำนวนเงินที่ผู้ขายลดให้จากราคาที่กำหนดไว้ในรายการ เพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อทันทีและซื้อเพิ่ม  ส่วนยอมให้ (allowance)  คือส่วนที่ผู้ขายชดเชยให้กับผู้ซื้อเหมือนทำให้ผู้ซื้อได้ลดราคา ส่วนลดและส่วนยอมให้ที่ใช้ในทางการตลาด  มีดังนี้1.  ส่วนลดปริมาณ (Quantity  discount)   2.  ส่วนลดการค้า (Trade  discount)  หรือ ส่วนลดตามหน้าที่ (Functional discount) เป็นส่วนลดที่บริษัทจัดให้กับคนกลางในช่องทางการตลาด 3.  ส่วนลดเงินสด (Cash  discount) 4.  ส่วนลดตามฤดูกาล (Seasonal  discount5.  ส่วนยอมให้จากการนำสินค้าเก่ามาแลก (Trade – in  allowance)   6.  ส่วนยอมให้สำหรับการส่งเสริมการตลาด (Promotional allowance7.  ส่วนยอมให้สำหรับการเป็นนายหน้า (Brokerage  allowance

9.นโยบายระดับราคา (The  level  of  price  policy)   ผู้ผลิตจะตั้งราคาสินค้าตามตำแหน่งสินค้าของธุรกิจ  ถ้ามีคู่แข่งขันดังต่อไปนี้1.  การตั้งราคา  ณ ระดับราคาตลาด (Pricing  at  the  market)   2.  การตั้งราคา  ณ ระดับราคาที่สูงกว่าราคาตลาด (Pricing  above  the  market)  3.  การตั้งราคา  ณ ระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด (Pricing  below  the  market)

10.นโยบายราคาเดียวกับนโยบายหลายราคา (One  price  policy  and  variable  price  policy)1.  นโยบายราคาเดียว (One  price  policy)  2.  นโยบายหลายราคา (Variable  price  policy)

         11.นโยบายแนวระดับราคา (Price  lining  policy)   เป็นนโยบายในการผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน  แต่มีระดับคุณภาพแตกต่างกัน  ขายให้กับผู้ซื้อโดยตั้งราคาระดับต่าง ๆ  ผู้ผลิตต้องจัดทำเช่นนี้เนื่องจากมีผู้ซื้อกลุ่มต่าง ๆ

3.การประยุกต์ใช้

การประยุกต์ใช้ในการด้านการตั้งราคาผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการเป็นหลักในการกำหนด ปัจจัยทางด้านราคาที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะต้องปฏิบัติ คือ พยายามกำหนดราคาให้ได้เปรียบการแข่งขันพร้อม ๆกับการให้ผู้บริโภคยอมรับด้วย โดยทั่วไปถ้ากำหนดราคาสูงปริมาณขายอาจจะตั้งแต่การกำหนดราคาต่ำกำไรก็อาจจะต่ำตามไปด้วย จึงเป็นเหตุให้ทางด้านราคาต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายทั้งปัจจัยภายในธุรกิจ   และปัจจัยภายนอกธุรกิจและเครื่องมือวัดด้านราคา  มี 2 เครื่องมือ

         1.Return on Investment : ROI Marketing  ROI Marketing เป็นเครื่องมือที่ทำ ให้เห็นภาพ “ผลตอบแทนการลงทุน” ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

         2.Return on Investment : ROI Analytics ผลตอบแทนทางการลงทุนทางด้านการ เงินหรือทางด้านราคา ซึ่งเป็นตัวช่วยวัดผลให้มีประสิทธิภาพของกิจกรรม เทคนิคการตลาดต่างๆที่นิยมใช้อยู่ทั้งหมดให้ออกมาชัดเจน อาทิ การส่งเสริมการขายโดย การจัดโปรโมชั่น แคมเปญโฆษณา การตั้งราคา หรือการใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆ เนื่องจากพวกเขาสามารถ “ประเมินผลลัพธ์” ในการลงทุน อาทิ ด้านการเงิน การผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการจัดซื้อสินค้าได้” เพราะการทำธุรกิจจำเป็นต้องมุ่งสร้าง “ผลกำไร”ในด้านยอดขายเพิ่มมากขึ้น และเน้นทางด้านกิจกรรม งานอีเว้นต่างๆ  ไม่ใช่คิดแต่ในเชิงการตลาดที่มุ่งสร้างกระแส “ความสนใจ” เท่านั้น  (Shin, 2005)

         3.Input  การบริหารงานโดยวัดความสำเร็จที่ผลงาน เราได้ไล่ตั้งแต่ ภาคยุทธ์ศาสตร์ กลยุทธ์ธุรกิจ ที่จะเลือกว่าจะเด่นจะดังในเรื่อง ต้นทุนต่ำ Cost Leadership, ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆก่อนใคร  Innovation , ให้ Solution แบบเบ็ดเสร็จสำเร็จรูปเฉพาะลูกค้า , หรือ มอบประสบการณ์แปลกใหม่ Experience จากนั้นเราพูดถึง เป้าหมายทางการเงินหรือทางด้านราคา เรื่องการดำเนินธุรกิจเรานั้นเรามุ่งหวัง กำไรเร็ว หรือเพิ่มการเติบโตยอดขาย เพิ่มส่วนแบ่งตลาดหรือผลตอบแทนการลงหรือ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ตามมาด้วยผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ Customer value ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สินค้า บริการความสัมพันธ์ ข่าวสารข้อมูล และ ประสบการณ์แปลกใหม่ แนวทางในการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน เหมือนกับคนแต่ละคนต่างมีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน แต่โดยทั่วๆ ไป ธุรกิจกิจการจะมีการดำเนินธุรกิจ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการที่ลูกค้ายินดีซื้อสินค้าเรียกว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการที่มีคุณค่า (Design) ซึ่งประเทศไทย มีผู้ริเริ่มในสิ่งที่แปลกใหม่ โดยเรียกว่านวัตกรรมใหม่ๆ Innovation เป็นที่ถูกตาต้องใจของลูกค้า การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ R&D ตัวชี้วัด คือจำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออก ยอดขายที่มาจากผลิตภัณฑ์ใหม่ ระยะเวลาพัฒนา นวัตกรรมใหม่ ลดลง ออกสินค้าสู่ตลาดก่อนคู่แข่ง ผลตอบแทนการลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวนความคิดใหม่ๆในการพัฒนาที่เกิดขึ้นและนำไปใช้ให้เห็นเป็นรูปธรรม ต่อไตรมาสต่อปี จำนวนแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ทดลองผลิต และทดสอบตลาดแล้ว ที่เรียก New Product Development Pipeline

          การผลิตสินค้าบริการหรือสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาใหม่(Create) แน่นอนว่า ขบวน การนี้จะต้องมีสิ่งที่ใส่เข้าไปและผลลัพธ์ที่ออกมาการบริหารผลิตภาพ Productivity ให้มีคุณภาพสูงและมีมาตรฐาน ของเสียหรือของตกสเป็คมีน้อยหรือต่ำที่สุด ในขณะเดียวกันความ ความยืดหยุ่นในการผลิต เช่นการผลิตได้หลากหลายโดยไม่ต้องเสียเวลาตั้งเครื่อง Setup time นานๆจนเกินไป ดังนั้นต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ ซัพพลายเออร์ Supply chain การบริหารความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ รวมถึงการจ้างผลิตแทนการผลิตเองสต็อก วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต และ การบริหารการรับวัตถุดิบ คุณภาพปัจจัยการผลิต ความรวดเร็วในการได้รับปัจจัยผลิตตรงตามที่ต้องการ

การบริหารต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ การปรับปรุงคุณภาพ และผลิตภาพการผลิต ลดเวลาการผลิตสินค้าและบริการให้รวดเร็วเพิ่มมากขึ้น การใช้ทรัพย์สินถาวรให้มีประสิทธิภาพ การบริหารสินค้าคงคลัง ทั้งวัตถุดิบ ระหว่างผลิตสินค้าและบริการ และที่ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแล้ว Inventory Control ตัวชี้วัด คือด้านการลดต้นทุนการผลิต ทำให้สินค้าและบริการนั้นขายได้ราคาที่ถูกกว่า คุณภาพดีกว่า ถึงมือลูกค้าได้เร็วกว่า และสต๊อกมีผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการมีความหลากหลายให้ลูกค้าเลือก ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่อย่างมีผลิตภาพ โดยมีการลดสต๊อกสินค้าลง รอบการหมุนสินค้าให้ไวขึ้น

การบริหารการจัดส่งไปยังปลายทาง Logistics ระยะเวลาขนส่ง และการตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าอย่างรวดเร็วเช่น เมื่อของขาดมือ หรือ เมื่อลูกค้ามีคำสั่งซื้อด่วน Quick Response การส่งมอบ คุณค่าจะเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกช่องทาง การจำหน่ายจัดส่ง ดังนั้น เราจะควบคุมเวลา ทรัพยากร และต้นทุน อย่างไรในการส่งมอบ ให้ลูกค้าตัวชี้วัด คือ เวลาในการตอบสนองต่อความต้องการลูกค้า เช่น จากสั่งจนของถึงมือลูกค้า ต้นทุนในการบริการลูกค้า เวลาในการให้บริการ และแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า การส่งมอบของถูกต้องครบถ้วน จำนวนข้อร้องเรียนจากลูกค้า

การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจาก การลงทุนใหม่ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและ เครดิตการค้า บริหารลูกหนี้ และเจ้าหนี้การค้า ด้านการบริหารความเสี่ยง จากการปล่อยเครดิต และการลงทุนในกิจการในเรื่องใหม่ เทคโนโลยี การบริหารสต๊อกสินค้า การบริหารดอกเบี้ย และสภาพคล่องตัวชี้วัด เช่น สัดส่วนหนี้สูญ หรือ ลูกหนี้คงค้าง สต๊อกสินค้าหมดอายุหรือเสื่อมเสื่อมสภาพ หนี้สินต่อทุน ความทันสมัยของเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

ประเภทดัชนีตัวชี้วัดของขบวนการธุรกิจ (Business process) ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 เรื่องคือ เรื่องบริหารต้นทุน (ABM-Activity based management -Cost) เรื่อง บริหารเวลา (TBM-Speed) เรื่องบริหารคุณภาพ (Quality-TQM) ทั้ง 3 ตัวนี้คือการปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไป Continuous Improvement ส่วนการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบหวือหวา หรือ Radical Change นั้นจะเน้นการปฎิรูปขบวนการ การยกเครื่องขบวนการธุรกิจ การทำกิจกรรม ใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน

การมอบคุณค่าและการบริหารลูกค้า (Value Delivery) ลูกค้าในที่นี้มี 3 ส่วน คือ ลูกค้าภายในองค์กรเอง ลูกค้าภายนอกซึ่งเป็นคนกลาง ผู้จัดจำหน่าย และลูกค้าคนสุดท้ายที่เป็นผู้ใช้ ผู้บริโภคนั้นเองขบวนการบริหารลูกค้า คือ การเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เรามีโอกาสดลใจมากที่สุด กลยุทธ์การหาลูกค้าใหม่ กลยุทธ์ในการรักษาลูกค้าเก่า การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าหรือที่เรียกว่า CRM Customer Relationship Management ซึ่งเราจะกำหนดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดลูกค้าภายนอก สัดส่วนลูกค้าใหม่ ต่อลูกค้าเก่า จำนวนการนำเสนอกลุ่มลูกค้าคาดหวัง สัดส่วนรายได้และกำไรจากลูกค้าแฟนพันธุ์แท้ การซื้อผลิตภัณฑ์หลากหลายของบริษัทจากลูกค้าประจำ ความพึงพอใจลูกค้าต่อเรา การแนะนำบอกต่อของลูกค้าเก่าให้ลูกค้าใหม่เข้ามา ต้นทุนต่อการได้มาซึ่งลูกค้า มูลค่าหัวของลูกค้าเก่าแต่ละราย

บรรณาณุกรม

Armstrong, G. (2009). Marketing : an introduction ([European ed.). Harlow, England: Financial Times Prentice Hall.

Kotler, P. (2009). Marketing management. Harlow, England ; New York: Pearson/Prentice Hall.

Shin, N. (2005). Strategies for Generating E-business Returns on Investment. Hershey, PA: Idea Group.

Stanton, W. J., & Buskirk, R. H. (1987). Management of the sales force (7th ed.). Homewood, Ill.: Irwin.

Wisner, F. (1996). El dictador del Paraguay José Gaspar de Francia. Asunción, Paraguay: Instituto Cultural Paraguayo-Alemán.

ชีวรรณ เจริญสุข (2547). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชวห่วย). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. บริหารธุรกิจ การตลาด.

ชยันต์ ตันติวัสดาการ. (2550). เศรษฐศาสตร์จุลภาค:ทฤษฏีและการประยุกต์ (Vol. 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พัฒนา เทวนิยมพันธ์ม. (2550). กลยุทธ์การตั้งราคาฟิตเนส. ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพ.

สรยุทธ มีนะพันธ์. (2546). เศรษฐศาสตร์การจัดการองค์กรธุรกิจ. กรุงเทพ: สแตรทโทโนมิคส์

Share this:

Like this:

Like

Loading…

[Update] 4 กลยุทธ์การตั้ง “ราคา” สินค้า ที่คุณคาดไม่ถึง | การตั้งราคา – NATAVIGUIDES

By

pricing

ในบรรดาส่วนผสมทางการตลาดนั้น “การตั้งราคา” เป็นเรื่องที่นักการตลาดขยาดที่สุด   ทั้งนี้เพราะเบื่อกับการคิดคำนวณตัวเลข และแผนภูมิแผนภาพยึกยือปวดขมอง….เมื่อคิดอะไรไม่ออกก็จะ “ตั้งราคาเลขเก้า” ตะพึดตะพือจนลูกค้ารู้กันไปทั้งบางว่าเห็นเลขเก้าที่ใดให้ “ปัดขึ้น” จะได้ไม่โดนอาถรรพ์เลขเก้าทำให้หลงงมงายนึกว่าของแพงหูฉี่เป็นของถูกคุ้มค่า

– Advertisement –

เมื่อหมดมุขเลขเก้าก็คิดอะไรไม่ออก   เลยพาลไม่คิดเสียเลย   กลยุทธ์ที่สำคัญอย่างการตั้งราคาจึงกลายเป็น “หมัน”   เป็นลูกเลี้ยง   ไม่ได้รับความสนใจ

เพื่อไม่ให้ชาวการตลาดละเลย  มองข้ามความสำคัญของการตั้งราคา   และเพื่อให้ตามนักการตลาดระดับโลกได้ทัน   ไม่ให้นักการตลาดไทย “เชยระเบิด” จึงขอประมวลนวัตกรรมการตั้งราคารูปแบบใหม่ๆ มาเล่าสู่กันฟังสัก 4 แนวทาง

หากนำไปใช้ได้เลยในงานของท่านก็จะเกิดประโยชน์โภคผล   แต่หากยังนำไปใช้ไม่ได้ก็ถือเสียว่า “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม”

 

= Pay-as-you-wish เชิญจ่ายตามอำเภอใจ =

โลกการตลาดนั้นหมุนเร็วจี๋   ใครจะไปเชื่อว่าทุกวันนี้มีสินค้าที่ให้ผู้บริโภค “นำไปใช้ก่อน” แล้วอยากจ่ายเมื่อไหร่   หรือจ่ายเท่าไหร่ก็ตามสบาย  คือ   “จ่ายได้ตามอำเภอใจ” นั่นเอง

กิจการที่ “รับรายได้คุ้มทุนไปแล้ว และมีต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มต่ำมาก” เช่น   ไฟล์ดนตรียุคเก่า   โปรแกรมคอมพิวเตอร์รุ่นเดิมๆ   โปรแกรมเกมส์ในอดีต   หรือไฟล์ต้นฉบับหนังสือเก่าจำนวนมากที่ยอดขายแทบจะไม่มีแล้ว   เหมาะที่จะใช้การจ่ายตามอำเภอใจ

กล่าวคือให้ลูกค้าได้ดาวน์โหลดไฟล์ข้างต้นไปใช้ได้ “ฟรี”   และหากถูกอกถูกใจเหลือหลาย “จะตบรางวัล” กลับมาให้คนทำงานบ้างก็เป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง

ไหนๆ พวกไฟล์เก่าๆ ก็ไม่สร้างรายได้เพิ่มอยู่แล้วเก็บไว้ก็ไร้ค่า   เปิดให้ใช้ฟรีแถมมีโอกาสได้รับรายได้เพิ่มด้วยจึงเป็นแนวทางการตั้งราคาที่ “ดีไม่หยอก”

Dr.Vincent Mak แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge และคณะซึ่งรวมถึงผมด้วยได้ศึกษาเรื่อง “Pay-as-you-wish” อย่างจริงจัง แล้วพบว่าการตั้งราคารูปแบบดังกล่าวสามารถประสบความสำเร็จโดย “ไม่จำเป็นต้องรอสินค้าให้เก่า” ด้วยซ้ำไป

ศิลปินชื่อดังอย่าง “Radiohead” ยังเคยเกิด “ติสท์” ลองเปิดให้ Pay-as-you-wish กับเพลงใหม่ของวง   ผลปรากฏว่าได้สตางค์ไปไม่น้อย   จึง “ติดใจ” ใช้การตั้งราคาแบบดังกล่าวมาจนปัจจุบัน

ร้านกาแฟชื่อ “Roots Coffee Roaster” แถวสุขุมวิทก็ใช้การตั้งราคาเช่นนี้ คือ ทานก่อนแล้วค่อยจ่าย   ปรากฏว่าดึงดูดใจลูกค้าไปใช้บริการได้ดี   ไปครั้งใดคนแน่นตลอด   แถมแต่ละคนก็ควักจ่ายไม่น้อยเสียด้วย

 

= Name your own price อยากจ่ายเท่าไหร่ก็ว่ามา=

Name you own price หรือการตั้งราคาแบบ “อยากจ่ายเท่าไหร่ก็ว่ามา” นั้นจะว่าไปคล้ายๆ กับการตั้งราคาแบบ “จ่ายตามอำเภอใจ” อยู่มาก   จะต่างกันก็ตรงที่ลูกค้า “ไม่มีสิทธิทดลองใช้” ก่อน

กระบวนการ   คือ   ลูกค้ากำหนดงบประมาณที่ต้องการจ่าย และคุณลักษณะสำคัญๆ ของสินค้า โดย “ไม่สามารถเจาะจงแบรนด์ได้”   แล้วบริษัทฯ ก็จะพยายามไปควานหาสินค้าที่มีคุณสมบัติที่ลูกค้าต้องการมาให้

ยกตัวอย่างเช่นเวปไซต์ Priceline.com นั้นลูกค้าสามารถซื้อห้องพักโรงแรม   โดยกำหนดงบประมาณ   พื้นที่ที่ต้องการเข้าพัก   และระดับดาวของโรงแรม   เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วน Priceline ก็จะไปควานหาโรงแรมที่ตรงตามข้อกำหนดมาให้

ทั้งนี้จะได้โรงแรมแบรนด์ใดนั้นลูกค้า “ไม่สามารถเลือกได้”

กล่าวง่ายๆ คือ   เมื่อลูกค้า “ได้อำนาจกำหนดราคาด้วยตนเอง” แล้วก็ควร “เสียอำนาจในการเจาะจงแบรนด์” ไป

ทั้งนี้ลูกค้าต้องกรอกข้อมูลบัตรเครดิตไว้ก่อนทำการค้นหา   เพื่อกันเบี้ยวเผื่อได้แบรนด์ที่ตนไม่ถูกชะตา

การตั้งราคาเช่นนี้ทำให้ลดปัญหาเรื่องการ “เดาใจลูกค้า” ว่าจะยอมจ่ายที่ระดับราคาเท่าได้ได้ชงัดนัก   เพราะ “ลูกค้าเป็นผู้กำหนดราคาด้วยตนเอง”

แบรนด์ดังๆ ชอบใช้แนวทางการตั้งราคาเช่นนี้เมื่อขายสินค้าไม่ออก   ทั้งนี้เพราะสามารถ “ตัดราคา” โละสินค้าได้โดยไม่ต้องป่าวประกาศชื่อแบรนด์ให้เสียภาพลักษณ์

 

= Dynamic Pricing การตั้งราคาแบบพลวัต =

คนแปล Dynamic Price ว่า “การตั้งราคาแบบพลวัต” นี้ช่างกระไร   อุตส่าห์แปลทั้งทีก็ยังเข้าใจยากเช่นเดิม   จึงขอแปลใหม่ว่า “การตั้งราคาที่เปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ”

การตั้งราคาแบบนี้โดยปกตินั้น “ยิ่งของเหลือน้อยเท่าใดยิ่งราคาแพงขึ้นเท่านั้น”   เช่น   ที่นั่งบนเครื่องบิน   หรือห้องในโรงแรม   ยิ่งเหลือที่ว่างน้อยก็ยิ่งแพงมาก

ลูกค้าที่มองหาการท่องเที่ยวราคาประหยัดจึงมัก “จองกันแต่เนิ่นๆ เป็นปีๆ เมื่อที่ว่างยังคงเหลือมากๆ”   บางครั้งราคาถูกเหมือนได้เปล่า

“การตั้งราคาแบบเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ” นี้อันที่จริงไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะใช้ในอุตสาหกรรมการบริการ โดยสายการบิน American Airlines มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 โน้น

ที่ต้องมาเล่าว่าเป็นนวัตกรรมนี้เพราะการตั้งราคาดังกล่าวถูกพยากรณ์ว่าจะ “ขยายไปลู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการบริการ” ในไม่ช้า   เพราะแนวทางการตั้งราคานี้ช่วยสร้างยอดขายสูงขึ้นให้แก่องค์กรได้ทันตา

ในอนาคตไม่ไกลจากนี้เมื่อเทคโนโลยีป้ายราคา และระบบคำนวณราคาพัฒนาขึ้นอีกสักนิด   เราคงได้ซื้อสบู่   ยาสีฟัน   แชมพู   อาหาร ฯลฯ ที่ “ราคาขึ้นๆ ลงๆ ตามปริมาณคงเหลือในสต๊อก”

ลูกค้าทั้งหลายคงได้ “ปวดเศียรเวียนเกล้าปนสนุกสนาน” กันมากขึ้นไม่น้อย

 

= Pay it forward จ่ายให้คนถัดไป =

ลองจินตนาการว่าหากท่านไปทานข้าวแล้วร้านอาหารแจ้งว่า “มีคนใจดีได้จ่ายค่าอาหารไว้ให้ท่านแล้ว   ให้ท่านทานได้อย่างเต็มที่   และเมื่อทานเสร็จให้ท่านจ่ายสตางค์เท่าใดก็ได้แล้วแต่ชอบใจเพื่อเป็นค่าอาหารแก่ลูกค้าคนถัดไป”

ท่านจะยอมจ่ายเงินเท่าใด…?

Dr.Minah Jungแห่งมหาวิทยาลัย California ทำวิจัยเรื่องดังกล่าวพบว่าคนปกติ “ยอมจ่ายเงินมากกว่าอาหารที่ทานเข้าไป” เสียอีก

ทั้งนี้เพราะรู้สึกว่าตนได้รับสิ่งดีๆ จากคนอื่นมาจึงอยากจะ “เพิ่มพูนสิ่งดีๆ ให้กับคนต่อไป”

ฟังไปฟังมาเหมือนแนวคิดเรื่อง “กรรม” อย่างไรก็ไม่ทราบ   คือ   เมื่อทำกรรมดีความดีจะส่งผลเพิ่มพูน

ว่าแล้วมหาวิทยาลัยดังกล่าวจึงเปิดร้านอาหารชื่อ “Karma Kitchen” หรือร้าน “ครัวกรรม” โดยใช้กลยุทธ์การตั้งราคาแบบ “Pay it forward” เสียเลย   ปรากฏว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามจนปัจจุบัน

กลยุทธ์ราคาที่ในอดีตเหมือน “ยาขม” นั้น   ถูกนักการตลาดชั้นเซียนใช้พลิกแพลงจนกลายเป็นเรื่องสนุก และดึงดูดลูกค้า และเพิ่มยอดขายได้มาก

ท่านที่ยังละเลยการตั้งราคามานาน หรือ ใช้แต่การตั้งราคาเลข 9 เสียจนลูกค้าเมิน   อาจจะถือโอกาสนี้ “ปัดฝุ่น” คิดกลยุทธ์ราคาสนุกๆ สร้างสีสันแก่แบรนด์ของท่านเสียหน่อยคงจะดีไม่น้อย

 

เย้ๆๆ อีกหนึ่งช่องทางรับข่าวสารกับ Brand Buffet  ผ่าน LINE ได้แล้ววันนี้   เพิ่มเพื่อนรัวๆ (BETA)

ที่ ID :   @brandbuffet

เพิ่มเพื่อน
—————————————————————————–

คอลัมน์: การตลาดอัจฉริยะ 3.0   Brand Buffet ประจำเดือนมกราคม 2558

AJ ake marketing 1081009ผู้เขียน: เอกก์  ภทรธนกุล

อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด จุฬาฯ   กูรูการตลาด   ผู้ให้คำปรึกษาการตลาดของรัฐสภา   กระทรวงการคลัง   ททท. และ SCG   และเป็นผู้แต่ง “อัจฉริยะการตลาด” ที่สร้างปรากฏการณ์หนังสือขายดีอันดับหนึ่งทั่วประเทศ   อาจารย์สำเร็จการศึกษาเกียรตินิยมอันดับ 1 จากจุฬาฯ ก่อนจะไปเป็นที่ 1 ของหลักสูตรปริญญาโท และเอกทางการตลาดของ Cornell และ Cambridge ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลก


ตั้งราคาอย่างไร ให้คนตัดสินใจซื้อทันที


เพจรู้รอบตอบโจทย์ธุรกิจ
โทร: 0989248558
ติดต่อ Line: @banksupakit
CoachBankSupakit การตั้งราคาBusinessPrice
ประวัติโค้ชแบงค์และแหล่งข้อมูลอ้างอิง: https://bit.ly/3ijnpK1

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

ตั้งราคาอย่างไร ให้คนตัดสินใจซื้อทันที

สั่งซื้อเมทัลยังไงให้พอดี ไม่ขาดไม่เกินมาก


แนะนำสูตรการคำนวน จำนวนแผ่นเมทัลชีทให้พอดีครับ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบนะครับ
สามารถกดติดตามและเป็นกำลังให้ผมได้ตามช่องทางต่อไปนี้นะครับ
youtube : https://www.youtube.com/channel/UCYMA…
เพจ Facebook : https://www.facebook.com/BHANTHONGKWAO/
Facebook ส่วนตัว : https://www.facebook.com/Aon.BhanThongKwao
ขอบคุณครับ รับชมคลิปอื่นๆได้จาก link ด้านล่างนะครับ
สร้างรั้วเมทัลชีทเอง https://youtu.be/ielxAcKWS9c
สร้างห้องเก็บของ ห้องทำงานเอง https://youtu.be/cnzT8wmOr3I
สร้างเคาร์เตอร์ระเบียง ตีระแนง https://youtu.be/tlZ9MgWCdGo
สร้างน้ำตกเล็กๆหน้าบ้าน https://youtu.be/Rkdto5Yd858
สร้างระเบียงหน้าบ้านเอง https://youtu.be/X_zq9QDwHS8
ทำเก้าอี้ไม้พาเลท 45 บาท https://youtu.be/HLBTGKBn6vo
สร้างประตูรั้วเอง https://youtu.be/r8afBRzUf3g
ปูพื้นหน้าบ้านหิน 1 ตัน https://youtu.be/xXbkMg4Gvdw
สร้างโต๊ะทำงาน ในห้อง https://youtu.be/QRhxeldgJE

สั่งซื้อเมทัลยังไงให้พอดี ไม่ขาดไม่เกินมาก

บทที่6 การกำหนดราคา


วิชาหลักการตลาด

บทที่6 การกำหนดราคา

การตั้งราคาขาย


การตั้งราคาขาย

การตั้งราคาขาย

กลไกราคา ราคาสินค้าขึ้นลงได้อย่างไร? [ รู้จริงเศรษฐกิจไทย ]


ราคาสินค้าในตลาดที่แพงขึ้น หรือถูกลง ใครเป็นคนกำหนด อธิบายกลไกราคา demand supply แบบสั้นๆง่ายๆในคลิปนี้

สามารถติดตามคลิปอธิบายเรื่องเศรษฐกิจแบบง่ายๆจาก รู้จริงเศรษฐกิจไทย ได้ทาง www.facebook.com/roojingthaiecon

กลไกราคา ราคาสินค้าขึ้นลงได้อย่างไร? [ รู้จริงเศรษฐกิจไทย ]

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การตั้งราคา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *