Skip to content
Home » [Update] ทฤษฎี Elliott Wave (อีเลียตเวฟ) คืออะไร [แบบละเอียด] | b.e. คือ – NATAVIGUIDES

[Update] ทฤษฎี Elliott Wave (อีเลียตเวฟ) คืออะไร [แบบละเอียด] | b.e. คือ – NATAVIGUIDES

b.e. คือ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

Elliott Wave คือ ทฤษฏีที่ใช้สำหรับ วิเคราะห์ตลาด จากพื้นฐานแนวคิดรูปแบบราคา บนกรอบเวลา (Timeframe) ขนาดเล็ก และ ในกรอบเวลาขนาดใหญ่ โดยรูปแบบราคาเหล่านี้ จะเป็นการบ่งบอกถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

R.N. Elliott เป็นผู้คิดค้นทฤษฏีในปี ค.ศ.1930 และหลังจากนั้น Robert Prechter ได้นำมาปรับปรุงต่อ จนเป็นที่นิยม ช่วงปี ค.ศ.1970 โดยกล่าวถึง พฤติกรรมการซื้อขายของคนหมู่มาก ที่ทำให้เกิดเทรนแนวโน้ม โดยทฤษฏียังเอ่ยถึงการแสดงออกทางกายภาพ และจิตวิทยาที่เกิดขึ้นบนโลก และรูปแบบเหล่านี้ไม่เพียงแต่ปรากฏในตลาดหุ้น แต่เกิดในทุกที่ ที่มนุษย์มีการตัดสินใจลักษณะเป็นกลุ่ม

Table of Contents

ความหมายแต่ละคลื่นของ Elliott Wave

Motive Waves

Source: https://school.stockcharts.com

ครึ่งแรกของคลื่น Elliott คือ Motive Wave คลื่นที่เคลื่อนไหวไปตามเทรนแนวโน้มใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นคลื่นเล็กๆ อีก 5 คลื่นย่อย (1, 2, 3, 4, 5) ตามที่แสดงในกราฟด้านบน และภายใน Motive Wave จะมีคลื่นย่อยขนาดเล็กอีก 2 ประเภท คือ Impulse Wave, Diagonal Wave

สามารถสังเกตได้จากกราฟ คลื่นย่อยทั้ง 3คลื่น คือ คลื่น1, 3, 5 จะเป็นเคลื่อนไปตามเทรนแนวโน้มหลัก และอีก 2 คลื่น คือ คลื่น 2, 4 จะเป็น Corrective Wave ที่มีทิศทางสวนเทรนแนวโน้มหลัก โดยคลื่นที่ 1, 3, 5 ของ Motive Wave จะถูกเรียกว่า Actionary ดังนั้นจึงง่ายต่อการสังเกต

กฎ 3 ข้อ สำหรับ Motive Wave

1) คลื่นที่ 2 จะไม่ร่วงลงไปต่ำกว่า จุดเริ่มต้นของคลื่นที่ 1 เสมอ

2) คลื่นที่ 4 จะไม่ร่วงลงไปต่ำกว่า จุดเริ่มต้นของคลื่นที่ 3 เสมอ

3) คลื่นที่ 3 จะเป็นคลื่นที่เดินทางไกลที่สุด ยาวกว่าคลื่นที่1 และไม่เป็นคลื่นที่สั้นที่สุด

หากพิจารณาคลื่นย่อยทั้ง 5 คลื่น และ คลื่นปรับของคลื่นย่อย ที่มี 3 คลื่น ของ Motive wave ขนาดใหญ่ จะมีลักษณะ ดังกราฟด้านล่าง ในกรณีนี้ คลื่นย่อย ทั้ง 5 คลื่น อยู่ในทิศทางเทรนแนวโน้มใหญ่ ทำให้เกิดโครงสร้าง Motive wave ในรูปแบบ 5-3-5-3-5

Source: https://school.stockcharts.com

Corrective Waves

Source: https://school.stockcharts.com

โดยทั่วไปแล้ว Corrective Wave จะมีโครงสร้างเป็น 3 คลื่นย่อย ดังภาพตัวอย่าง ประกอบด้วย คลื่น A, B, C และ Corrective Wave นี้ สามารถทำให้เข้าใจผิดได้ โดยในส่วนรายละเอียดของ Corrective Wave จะอธิบายในภายหลัง แต่วัตถุประสงค์หลัก ก็คือ Corrective Wave จะมีเพียง คลื่นย่อย 3 คลื่น เท่านั้น

หากดูโครงสร้าง จะพบว่า คลื่น A และ คลื่น C ทั้งสองนี้ มีเทรนแนวโน้มแบบเดียวกัน และ คลื่น B จะเป็นคลื่นที่ มีทิศทางสวนกับเทรนแนวโน้มหลัก และการปรับตัวของคลื่นนี้ จะมีรูปแบบโครงสร้าง 5-3-5

Source: https://school.stockcharts.com

การรวมตัวกันของ Motive Wave และ Corrective Wave คือรูปแบบโครงสร้างทั่วไปของ Elliott Wave Cycle และมีทั้งหมด 8 คลื่น โดย Motive Wave จะมี 5 คลื่น (1 2 3 4 5) โดยทิศทางการเคลื่อนไหว เป็นไปตามเทรนแนวโน้มหลักและมี Corrective Wave 3 คลื่น (A B C) ที่มีทิศทางการเคลื่อนไหว จะสวนทางกับเทรนแนวโน้มหลัก

Complete 8 Wave Bullish Cycle

Source: https://school.stockcharts.com

เมื่อครั้ง Elliott ยังมีชีวิตอยู่ เขาได้สังเกตว่า การเคลื่อนไหวของตลาดมักเกิดโครงสร้าง 5-3 ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเป็นที่มาของรากฐานโครงสร้างทฤษฏี Elliott Wave Cycle

จากกราฟด้านบน เป็นการแสดงลำดับ ของคลื่นทั้ง 8 โดยประกอบด้วย Motive Wave ทั้ง 5 คลื่น และ Corrective Wave ทั้ง 3 คลื่น และสามารถสังเกตได้ ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งโครงสร้าง 5-3 เป็นโครงสร้างมาตรฐาน เพื่อความชัดเจน และสังเกตเห็นความผันผวน ของตลาด ไม่ว่าจะเป็น ขาขึ้น หรือ ขาลง

ในเทรนแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จะมีรูปแบบการปรับตัวขึ้น คือ 5 คลื่น ที่พุ่งทะยานขึ้นไป และ 3 คลื่นปรับตัวลง แต่ในเทรนแนวโน้มขาลง (Downtrend) จะมีรูปแบบการปรับตัวลง คือ 5 คลื่น ที่ปรับตัวลง และ 3 คลื่น ที่ปรับตัวขึ้น

Source: https://school.stockcharts.com

จากกราฟด้านบน แสดงโครงสร้างของ คลื่นทั้ง 8 ในช่วงที่ตลาดจะปรับตัวลง และเป็นการร่วงลงมาต่ำกว่าจุดเริ่มต้น หากเกิดรูปแบบขึ้น ในเทรนแนวโน้มใหญ่ ให้คาดการณ์ไว้ได้เลยว่า กำลังจะมีอีก 5 คลื่น เป็นคลื่นที่ร่วงตามลงมา

Fractal Nature

เมื่อรวม Motive wave และ Corrective wave เข้าด้วยกัน จะพบกับความละเอียด ในโครงสร้างที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถเห็นการพุ่งทะยานของคลื่น Motive Wave ที่กลายเป็นคลื่นขนาดยักษ์ คลื่น (I) เช่นเดียวกับคลื่นย่อยที่ร่วงลงมา ในคลื่นปรับขนาดยักษ์ ที่ทำให้กลายเป็นคลื่น (II)

อย่างไรก็ตาม ให้สังเกตคซึ่งภายในโครงสร้างเหล่านี้ จะมีหลายคลื่นก่อตัวขึ้น ทั้งคลื่นขนาดเล็ก และ คลื่นขนาดใหญ่ รวมกันภายในภาพเดียวกัน ทำให้เกิด Elliott Cycle

Source: https://school.stockcharts.com

ตัวอย่างรูปแบบ “Fractal Nature of the Elliott Wave Patterns” คือ รูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่างเช่น ต้นไม้ที่ต่อกิ่งก้านออกไปเรื่อยๆ หรือโครงสร้างที่ต่อไปออกไปเรื่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า อะไรก็ตาม ที่คล้ายรูปแบบนี้ ถือว่าเป็น “Fractal” ภายในโครงสร้าง Elliott wave เป็นการบ่งบอกถึง การขยายตัว หรือ หดตัว ของโครงสร้างคลื่นที่คล้ายกัน โดยคลื่น (I) คือแนวโน้มระดับใหญ่มาก และใหญ่กว่า คลื่น 1 และภายในคลื่น 1 จะมีคลื่นเล็กย่อยอื่นๆ เกิดรูปแบบโครงสร้าง 5-3 ซ้ำๆ

ความแตกต่าง ของแนวโน้มที่แสดงในกราฟด้านบน คลื่น (I) และ คลื่น (II) ก่อตัวเป็น Cycle ขนาดใหญ่ รองลงมาก็คือ คลื่นที่มีข้อความ 1, 2, 3, 4, 5, A, B, C และรองลงมาก็คือคลื่นที่มีข้อความ i, ii, iii, iv, v, a, b, c ตามทฤษฏีแล้ว รูปแบบนี้ จะขยายแบบไม่จำกัด และ ย่อแบบไม่จำกัด เรียกว่า Fractal รูปแบบ การหดตัว และ การขยายตัว ไม่สิ้นสุด

Source: https://school.stockcharts.com

จากแผนภาพด้านบน แสดงภาพเดียวกันในตลาดขาลง

Elliott Wave ไม่ใช่วิธีการบอก สัญญาณซื้อขาย ไม่มีกฎในการเข้า หรือ ออก และไม่มีวิธีที่ถูกต้อง มีนักลงทุน และ นักวิเคราะห์เทคนิค บางคน พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ Elliott Wave ในการวิเคราะห์ แม้จะไม่ได้เกิดจากขาดความเข้าใจในทฤษฏี แต่เป็นเพราะรูปแบบลักษณะที่เกิด ที่สามารถมองได้หลากหลายมุมมอง และ วิเคราะห์ได้หลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ที่ใช้งาน Elliott Wave ในการซื้อขาย โดยพวกเขาได้ประยุกต์ นำเอา Indicator เครื่องมือ หรือ เทคนิคต่างๆ เข้ามาประยุกต์ช่วยในการจับจังหวะ เพิ่มประสิทธิภาพในการซื้อขาย (Trading) จนประสบผลสำเร็จ

รูปแบบโครงสร้าง Elliot Wave

หากสังเกตุโครงสร้าง Elliott wave ของคลื่นขนาดเล็ก จะมีป้ายกำกับซึ่งแตกต่างจากโครงสร้างของคลื่นขนาดใหญ่ เพื่อช่วยแยกแยะระหว่างระหว่างคลื่น โดยมีวิธีในการกำหนดความแตกต่างของ Elliott Wave ซึ่งรายละเอียดสามารถ ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก “Elliott Wave Principle by Frost and Prechter” ในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการกำหนดป้ายกำกับ ในเบื้องต้น

       Source: https://school.stockcharts.com

เมื่อพูดถึง Elliott หลักการติดป้ายกำกับ เพื่อระบุถึงความแตกต่างของเทรนแนวโน้มคลื่น ด้วยตัวเลขโรมัน พิมพ์ใหญ่ แสดงถึงคลื่นขนาดใหญ่ ตัวเลขธรรมดาแสดงถึงคลื่นระดับกลาง และตัวเลขโรมันพิมพ์เล็กแสดงถึงคลื่นขนาดเล็ก

เทรนแนวโน้มเริ่มต้นจากคลื่นขนาดใหญ่มาก (GrandSuper Cycle) ลดหลั่นระดับลงมา ไปสู่ระดับที่น้อยกว่า ตัวอย่าง Cycle wave มีขนาดใหญ่กว่า Primary wave แตกต่างกัน 1 ระดับ ในทางกลับกัน Primary Wave มีระดับน้อยกว่า Cycle Wave 1 ระดับ กล่าวคือ คลื่น1 ของ คลื่น (1) ความหมายคือ คลื่น1 เป็นส่วนหนึ่งของ คลื่น (1) ที่มีระดับที่ใหญ่กว่า หรือ จะเขียนอีกแบบก็คือ คลื่น1 มีระดับที่น้อยกว่า คลื่น (1)

ในความจริง นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะใช้เฉพาะ คลื่นระดับ 1-3 (GrandSuper cycle, Super cycle, Cycle)

อาจดูซับซ้อนในการลองนับคลื่นทั้งหมดภายในกราฟเดียว หากนักลงทุนใช้การวิเคราะห์ด้วยกราฟ มักจะใช้ระดับคลื่น 1-3 บนกราฟของตัวเอง ซึ่งง่ายต่อการกำหนด โดยหมายเลขโรมัน (I, II, III, VI, V, a, b, c) ใช้ในคลื่นขนาดใหญ่มาก ส่วนคลื่นขนาดกลาง ที่ใช้คือ (1, 2, 3, 4, 5, A, B, C) และคลื่นระดับเล็ก ก็จะใช้หมายเลขโรมันพิมพ์เล็ก (I, ii, iii, iv, v, a, b, c)

ประเภทของ Motive Wave

หลักๆแล้วมี 2 ประเภท คือ Impulse Wave และ Diagonal Wave

Impulse Waves คือ

เป็นรูปแบบคลื่นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และแสดงถึงโครงสร้างของ Elliott Wave ถูกรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นหนึ่งใน Motive wave ที่พบบ่อยที่สุด และ สังเกตง่ายที่สุด เช่นเดียวกับ Motive Wave มีทั้งหมด 5 คลื่น แบ่งเป็น คลื่นย่อย 3 Motive wave และ 2 Corrective wave ทั้งหมดนี้ อยู่ภายในโครงสร้าง 5-3-5-3-5 อย่างไรก็ตาม มีกฎตายตัว 3 ข้อ ที่ซึ่งกำหนดการก่อตัวของคลื่น หากมีการผิดกฏข้อใด ข้อหนึ่ง โครงสร้างดังกล่าวจะไม่ใช่ Impulse wave และอาจจำต้องติดป้ายกำกับคลื่นที่สงสัย

กฎ 3 ข้อ

1) คลื่น 2 จะไม่ลงมาต่ำกว่า คลื่น 1

2) คลื่น 3 จะไม่ใช่คลื่นที่สั้นที่สุด ในบรรดาคลื่น 1 3 5

3) คลื่น 4 จะไม่ลงมาถึงยอด คลื่น 1

Source: https://school.stockcharts.com

จากกราฟด้านบนของ Impulse Wave สังเกตได้ว่า คลื่น 4 จะไม่ลงมาใกล้คลื่น 2 และ คลื่น 2 ไม่ลงมาต่ำกว่าคลื่น 1 นอกจากนั้น คลื่น 3 จะไม่ใช่คลื่นที่สั้นที่สุด เพราะคลื่น 3 โดยปกติแล้ว จะเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดในบรรดาคลื่นทั้ง 5 และยังสามารถยืดขยายออกมาได้อีก

คลื่น 2 จะไม่ลงมาต่ำกว่า คลื่น1 และคลื่น 2 มักเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น คลื่นย้อนกลับของคลื่น 1 แต่ถ้าหากย้อนกลับได้หมด ก็จะไม่ใช่คลื่น 2 ซึ่งมันคือการทำลายจุดต่ำสุดของคลื่น 1 และผลที่ตามมาคือ การนับคลื่นที่ผ่านมา เป็นโฆษะ และต้องนับใหม่ทั้งหมด

Wave Extensions คือ

ในกรณีส่วนใหญ่ Impulse wave จะแสดงสิ่งที่เรียกว่า ส่วนขยาย (Extension) ให้เป็นรูปแบบปกติ ซึ่งหมายความว่า หนึ่งใน Impulse wave ของ 3คลื่นย่อย Motive wave มีแรงกระตุ้นให้ยืดขยายออก โดยสิ่งเหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งใน คลื่น1, 3, 5 คลื่นใด คลื่นหนึ่ง

Source: https://school.stockcharts.com

ในบางครั้ง การแบ่งของคลื่นย่อย (Sub-wave) ที่ขยายออกไป (Extended) จะมีความยาว และระยะเวลา เท่ากับ คลื่นอื่นๆ อีก 4 คลื่น โดยปกติแล้ว Impulse wave จะมีการนับเพียง 5 คลื่น และอาจจะเกิดภาพหลอกให้นับได้ 9 คลื่น ทำให้ยากต่อการสังเกตุ ว่าคลื่นใดเป็นคลื่นขยาย (Extended) หนำซ้ำสัญญาณทางเทคนิค อาจทำให้เกิดความสับสน และเข้าใจผิด ในการนับคลื่นผิดพลาด

Source: https://school.stockcharts.com

Impulse Wave Truncation (Truncated Fifth)

หลายครั้งที่เกิดการขยายตัวมากเกินไป ในคลื่น 3 จนทำให้ไม่มีแรงเหลือพอ ที่จะทำให้คลื่น Impulse สมบูรณ์ เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น โอกาสที่คลื่น 5 คลื่นสุดท้าย ของ Impulse Wave จะไม่ไปถึงจุดสิ้นสุดของคลื่น 3 (คลื่น 5 ต่ำกว่า คลื่น 3) ก่อนที่ราคาจะเริ่มเกิดการพักตัวลง เงื่อนไขนี้จะถูกเรียกว่า “Failure” หรือ “Truncation”

Truncation (ตัดทอน) หรือ การตัดทอน 5 ครั้ง ประกอบด้วยคลื่นย่อย 5คลื่น เช่นเดียวกับ Motive Wave และมักจะเกิดขึ้นหลังจากคลื่นลูกที่ 3 แข็งแกร่งเป็นพิเศษ แม้ว่าจะด้วย Sentiment หรือ เหตุผลใดก็ตาม คลื่น5  จะยุติไม่เกินจุดสิ้นสุดคลื่น 3

Source: https://school.stockcharts.com

Diagonal Waves คือ

คลื่นประเภทที่ 2 ของ Motive Wave ที่ไม่ใช่ Impulse Wave ประกอบด้วย คลื่นย่อยทั้ง 5 คลื่น โดยเคลื่อนไหวไปตามทิศทางแนวโน้มหลัก ความแตกต่างของ Diagonal Wave คือจะเหมือน “ลิ่ม” (ทั้งยืดขยาย หรือ หดตัว) นอกจากนี้ คลื่นย่อยอาจนับไม่ถึง 5คลื่น ขึ้นอยู่กับประเภทของคลื่น

Ending Diagonals

เมื่อจบ Diagonal แล้ว โดยเป็นคลื่นประเภทพิเศษ ที่เกิดขึ้นในคลื่น 5 ของ Impulse หรือ คลื่นสุดท้ายของรูปแบบ Corrective wave คลื่น C ของ Corrective wave (A, B, C) คลื่นนี้มักเกิดขึ้นก่อน จะมีเทรนแนวโน้มใหม่ โดยจะเกิดไว และ จบไว ในกรณีนี้ จะพบได้ในช่วงสุดท้าย ของจุดสูงสุดของ Motive Wave หรือ Corrective Wave และรูปแบบคลื่นนี้ จะบ่งบอกถึงการยุติเทรนแนวโน้มก่อนหน้า

โครงสร้างของ Diagonal ที่กำลังจะสิ้นสุด จะแตกต่างจาก Impulse Wave ในกรณีที่ Impulse wave มีโครงสร้างทั่วไป คือ นับ 5-3-5-3-5 และโครงสร้าง Diagonal ที่กำลังจะสิ้นสุด คือ นับ 3-3-3-3-3 คลื่นทั้ง 5 ของ Diagonal ที่กำลังสิ้นสุด จะเหลือเพียง 3 คลื่น และในแต่ละครั้ง แสดงให้เห็นถึงความ อ่อนแรงของแนวโน้ม นอกจากนี้ คลื่น 2 และ คลื่น 4 อาจทับซ้อนกัน

Source: https://school.stockcharts.com

ส่วนใหญ่ เมื่อ Diagonal มาถึงจุดสิ้นสุด จะเกิดเป็นรูป “ลิ่ม” โดยสังเกตจาก Trend line ทั้ง 2 เส้น มาบรรจบกัน อย่างไรก็ตาม มีบางครั้ง ที่เกิดการยืดขยาย (Extended) แต่เกิดขึ้นได้ยาก

Leading Diagonals 

จะค่อนข้างพบยากในคลื่น1 ของ Impulse Wave หรือในคลื่น A ของ Corrective wave แบบ ZigZag โดยมีโครงสร้าง 5-3-5-3-5  เหมือนกับ Impulse Wave แต่กรณีนี้ คลื่น 2 และ คลื่น 4 จะทับซ้อนกัน (Overlap) และสร้างรูปแบบ ลิ่ม ที่มีเส้น Trend line ทั้ง 2 เส้น มาบรรจบกัน

เพราะการแบ่งย่อยของ 5 คลื่น โดยรูปแบบคลื่น 1, 3, 5 บ่งบอกถึงความต่อเนื่องของเทรนแนวโน้ม และในขณะที่รูปแบบ Diagonal กำลังจะสิ้นสุด มีโครงสร้าง 3-3-3-3-3 ที่มีความหมายว่า เทรนแนวโน้มจะจบแล้ว หลังจากที่ตลาดปรับตัวลงมา และจะไม่เกินจุดเริ่มต้นของ Leading Diagonal และสามารถคาดการณ์ได้ว่า เทรนแนวโน้มจะยังคงดำเนินต่อ ภายใต้ ทิศทางของ Leading Diagonal

http://www.elliottwave.net/educational/basictenets/basics4.htm

ประเภทของ Corrective Waves

Corrective waves มี 2 ประเภท คือแบบ Sharp correction และ Sideways correction โดยที่ Sharp correction นั้นจะเคลื่อนไหวสวนทางกับเทรนแนวโน้ม แต่ในขณะที่ Sideways correction จะเป็นโครงสร้างในรูปแบบที่ ค่อยๆเคลื่อนตัวไปหา ณ ราคาก่อนที่จะสิ้นสุด โดย Correction โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้

  • ZigZag Corrections
  • Flat Corrections
  • Horizontal Triangles
  • Correction Combinations

ZigZag Correction

Source: https://school.stockcharts.com

คือ Correction wave 3 คลื่น โดยโครงสร้างจะมีคลื่น A-B-C ลำดับคลื่นย่อย 5-3-5 และจะสามารถเห็นรูปแบบนี้ ในรูปแบบคลื่นขยาย คลื่น A และ คลื่น C เป็น Motive Wave (มี 5 คลื่นย่อย) ในขณะที่คลื่น B คือ Correction wave (มี 3 คลื่นย่อย) ทราบกันดีกว่า ZigZag เป็นรูปแบบที่มาจาก Sharp style ของ Correction wave และใน Impulse wave โดยปกติจะเกิดในคลื่น 2

ZigZag ในกราฟอาจมีมากว่า 1 คลื่น และอาจรวมกัน และกลายเป็น Double ZigZag หรือ Triple ZigZag เมื่อคลื่นเหล่านี้ผสานกัน อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมใน Flat Correction

Flat Corrections

Source: https://school.stockcharts.com

คือ Correction wave 3 คลื่น โดยที่คลื่นย่อยก่อตัวขึ้นจากโครงสร้าง 3-3-5 และเช่นเดียวกับ ZigZag ที่มีโครงสร้าง A-B-C และในกรณีนี้ ทั้ง 2คลื่น A และ B คือ Correction wave ที่มีความซับซ้อน และคลื่น C คือ “Flat” มี 5คลื่นย่อย เพราะว่า รูปแบบการเคลื่อนไหว อยู่ในรูปแบบ Sideways ภายใน Impulse wave และมักจะเกิดขึ้นในคลื่น 4 แต่ในคลื่น 2 ไม่เกิดขึ้น

Runing Flat

Source: https://school.stockcharts.com

Running Flat มักเกิดขึ้นในช่วงที่เทรนแนวโน้มแข็งแกร่ง แม้ว่า คลื่นB จะสิ้นสุด แต่ คลื่นC จะหลุดลงไปต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่นA (ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นยาก)

Horizontal Triangles

Source: https://school.stockcharts.com

Horizontal Triangles ที่ประกอบไปด้วยคลื่นย่อย 5 คลื่น โดยมีโครงสร้าง 3-3-3-3-3 มีป้ายกำกับคลื่น A-B-C-D-E ซึ่งจะแตกต่างจาก Motive Wave ที่มี 5คลื่น และรูปแบบสะท้อนความสมดุล ระหว่างการเคลื่อนไหวในรูปแบบ Sideways

Horizontal Triangles สามารถยืดขยายได้ และตามมาด้วยคลื่นย่อยที่มีความกว้าง และค่อยๆหดตัวลง จนกลายเป็นรูปลิ่ม โดยสามเหลี่ยมนี้ อาจถูกจัดว่าเป็น สามเหลี่ยมสมมาตร Descending หรือ Ascending ขึ้นกับทิศทางการเคลื่อนไหว เช่น ราคายังไม่สามารถเคลียร์จุดสูงสุดได้ แต่ค่อยๆยกจุดต่ำขึ้นมาเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดสามารถพุ่งทะยานเคลียร์ High ที่เคยทำไว้ก่อนหน้านี้ได้เสร็จ อย่างนี้ เรียกว่า “Ascending Triangle” หรือ ราคาพยายามยกตัวสูงขึ้นไป แต่ไม่สามารถผ่าน จุดสูงสุดก่อนหน้านี้ขึ้นไปได้ แล้วค่อยๆทำ จุดสูงใหม่ ต่ำลงมาเรื่อยๆ (Higher Low) จนร่วงหลุด Low ที่เคยทำไว้ก่อนหน้า อย่างนี้เรียกว่า “Descending Triangle”

Source: https://www.dailyfx.com/education/technical-analysis-chart-patterns/triangle-pattern.html

คลื่นย่อยอาจจะมีความซับซ้อน ไม่ใช่มีเพียงใน ZigZag หรือ Flags แม้ว่าทางทฤษฏี จะสามารถสังเกตเห็นสามเหลี่ยมได้ง่าย แต่ก็อาจต้องฝึกฝนการสังเกต วิเคราะห์ เพื่อให้คุ้นชินกับรูปแบบที่เกิดขึ้นในตลาด

สามเหลี่ยมอาจยืดขยาย โดยประกอบด้วย 5คลื่น เหมือนกับสามเหลี่ยมที่มีระดับต่ำกว่า และจะเป็น Horizontal Triangle อีกรูป ซึ่งเป็นการแสดงถึงระดับความซับซ้อนของ Elliott Wave

สิ่งที่ต้องจดจำเกี่ยวกับ Horizontal Triangle คือ จะปรากฏให้เห็นรูปแบบก่อนการร่วงลง หรือ รูปแบบที่ผสมผสานกัน

เหล่านี้จะปรากฏที่คลื่น 4 ใน Impulse wave หรือ คลื่น B ใน ZigZag เป็นสัญญาณแจ้งเตือนผู้ที่ใช้ Elliott Wave ในการวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงเทรนแนวโน้ม

Correction Combinations

Source: https://school.stockcharts.com

ตลาดไม่เคยสร้างรูปแบบที่เรียบง่าย โครงสร้างมักซับซ้อน และ หลักการของ Elliott Wave ที่ใช้สำหรับจัดการสิ่งเหล่านี้คือ การผสมผสาน (Combination)

การผสมผสาน ประกอบด้วย Correction wave ที่ยืดขยาย และเคลื่อนไหว Sideways แต่ในกรณีนี้ อาจเป็นได้ทั้ง Double หรือ Triple และสำหรับ Double Combination คือโครงสร้างติดป้าย W-X-Y หรือ Triple Combination จะติดป้าย W-X-Y-X-Z

Source: https://school.stockcharts.com

คลื่น W และ X ที่เป็น Flat หรือ ZigZag โดยปกติแล้ว คือ Flat หรือ ZigZag ยืดขยาย (ยกเว้นรูปสามเหลี่ยม บ่งชี้ว่าเป็นคลื่นสุดท้ายของ Combination) และคลื่นที่เหลือ จะเป็น Correction wave สิ่งที่ต้องระวังคือ Horizontal Triangle ที่อาจอยู่ช่วงสุดท้าย หรือ ก่อนคลื่น X

Source: https://school.stockcharts.com

ก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึง Double หรือ Triple ZigZag ไปแล้ว โดยลักษณะของ Double ZigZag นั้นจะมีป้ายกำกับ W-X-Z สำหรับ Triple ZigZag จะเพิ่มคลื่น Z และในส่วน Final ZigZag จะเพิ่มคลื่น Z

การประยุกต์ใช้งาน Elliott Wave Theory

Guideline of Equality

จะกล่าวถึง คลื่นย่อย Motive ทั้ง 2 คลื่น ใน 5 ลำดับคลื่น  ที่มีแนวโน้มไปตามเทรน โดยทั่วไปแล้วจะไม่ใช่คลื่นยืดขยาย (Extended) ซึ่งหมายความว่า เมื่อคลื่น3 ของ Impulse wave คือ คลื่นยืดขยาย คลื่น 5 จะยาวพอๆกับคลื่น 1 สิ่งนี้เป็นสัญญาณเตือนถึงการสิ้นสุด ของคลื่น5 ใน Impulse wave หากคลื่น 3 เป็นคลื่นขยาย

Source: https://school.stockcharts.com

Guideline of Alternation within an Impulse

เมื่อกล่าวถึงรูปแบบ คลื่น 2 และ คลื่น 4 จะผลัดเปลี่ยนกัน หากคลื่น2 คือ การปรับตัวแบบ Sharp คลื่น 4 จะปรับตัวแบบSideways หรือ หากคลื่น 2 ปรับตัวแบบ Sideways คลื่น4 จะปรับตัวแบบ Sharp เทคนิคนี้สามารถใช้คาดการณ์สิ้นสุดคลื่น 4

Source: https://school.stockcharts.com

Guideline of Alternation within a Correction

เมื่อกล่าวถึง คลื่น A และ คลื่น B จะผลัดเปลี่ยนรูปแบบกัน ใน Correction wave หากคลื่น A คือรูปแบบ Flat Correction คลื่น B อาจจะเป็นรูปแบบ ZigZag Correction และทางกลับกัน คลื่น A เป็นรูปแบบ ZigZag Correction คลื่น B จะเป็นรูปแบบ Flat Correction นอกจากนี้ ยังเป็นสิ่งแจ้งเตือนว่า หากคลื่นA กำลังเริ่มการปรับตัว และสามารถคาดการณ์ได้ว่า คลื่น B และ C อาจจะมีความซับซ้อนมากกว่า (โดยคลื่น C จะเป็นรูปแบบเช่นเดียวกับคลื่นA)

Guideline of Depth of Corrective Waves

เมื่อถึงยามตลาดพักตัว บ่อยครั้งจะปรับตัวลงไปยังบริเวณแนวรับก่อนหน้า ก่อนจะถึงจุดเริ่มคลื่น 4 ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จะร่วงลงต่ำกว่าคลื่น 4 ควรมองว่า ก่อนที่ร่วงลงมาถึงจุดเริ่มต้นคลื่น4 มักจะเป็นจุดที่ต่ำสุด เหมาะสำหรับเป็นแนวรับ (หรือแนวต้าน) ก่อนที่จะเคลื่อนไปตามเทรนแนวโน้ม

Source: https://school.stockcharts.com

Guideline of Channeling

เทคนิคใช้สำหรับวิเคราะห์การสิ้นสุดของคลื่น แม้ว่ากรอบซื้อขาย (Channel) จะสามารถใช้กับ Corrective Wave แต่การใช้งานเครื่องมือ (Trend line) กับการเคลื่อนไหวที่ปราศจากเทรนแนวโน้ม อาจเป็นการยากในการหาจุดสิ้นสุด และใน Impulse waves อิเลียตเคยสังเกตุว่า Channel line มีความแม่นยำบ้าง ในบางครั้ง

มี 3 วิธี ในใช้งาน Channel สำหรับวิเคราะห์หาจุดสิ้นสุดของคลื่น ทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคเดียวกัน ต้องการเพียง 3 จุด คือ จุดเริ่มต้นคลื่น 1 และจุดสิ้นสุดของคลื่น 2 ลากขึ้นไปให้เป็นเส้นแนวโน้ม (Trend line) และ Copy วางเส้น Trend line ณ จุดสิ้นสุดคลื่น1 เพื่อสร้างเส้นขนาน (Parallel) หรือ Channel เทคนิคนี้ สามารถใช้หาจุดสิ้นสุดคลื่น กับคลื่น 3 4 และ 5

Projecting the end of wave 3 ลากเส้นแนวโน้ม (Trend line) จากจุดเริ่มต้น คลื่น1 ไปยังจุดสิ้นสุดของคลื่น2 และ Copy เล้นแนวโน้ม (Trend line) มาวาง ณ จุดสิ้นสุดคลื่น1 เพื่อสร้างเส้นขนาน (Parallel) หรือ Channel เพื่อคาดการณ์ว่าคลื่น3 จะมาสิ้นสุด ณ บริเวณเส้นแนวโน้มที่วาดไว้

Projecting the end of wave 4 ลากเส้นแนวโน้ม (Trend line) จากสิ้นสุด คลื่น1 ไปยังจุดสิ้นสุดของคลื่น3 และ Copy เส้นแนวโน้ม (Trend line) มาวาง ณ จุดสิ้นสุดคลื่น2 เพื่อสร้างเส้นขนาน (Parallel) หรือ Channel เพื่อคาดการณ์ว่า Correction wave คลื่น4 ลงจะมาสิ้นสุด ณ บริเวณเส้นแนวโน้มที่วาดไว้

Projecting the end of wave 5 ลากเส้นแนวโน้ม (Trend line) จากจุดเริ่มต้นคลื่น1 ผ่านจุดสิ้นสุดคลื่ น2 และ คลื่น 4 และ Copy เส้นแนวโน้ม (Trend line) มาวาง ณ จุดสิ้นสุดคลื่น 1 และ คลื่น 3 เพื่อสร้างเส้นขนาน (Parallel) หรือ Channel เพื่อคาดการณ์ว่าคลื่น 5 จะขึ้นไปถึงบริเวณเส้นแนวโน้มที่วาดไว้

จิตวิทยามวลชน กับ ทฤษฎี Elliott Waves

เป็นภาพสะท้อนจิตวิทยามวลชน พฤติกรรมตลาดที่ไหลเวียน จากมองในแง่ดี (Optimism) ไปยัง มองในแง่ร้าย (Pessimism) เกิดเป็นโครงสร้างตลาด ที่สังเกตุเห็นบ่อยครั้ง โดยประเภทของคลื่น Personality คือ จะเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นคลื่นที่มีระดับสูง หรือ ระดับต่ำกว่า

First wave (Wave 1) เกี่ยวกับคลื่นลูกแรก ที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรากฐานเทรนแนวโน้ม และจะมีการพักตัวอย่างหนัก ในคลื่น2 หลายคนมองว่านี่คือโอกาส ในการซื้อชายตามเทรนแนวโน้ม แต่ถ้าหากร่วงลง ก็จะมีอีกหลายคนที่เทขายออกมา อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของตลาดจะแกว่งตัวมากขึ้น พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้นตาม

50% ของคลื่นลูกแรก จะฟื้นตัวขึ้นจากการปรับฐานครั้งก่อนหน้า สิ่งเหล่านี้มักเป็นในรูปแบบ Dynamic และการย้อนกลับพอประมาณ และในคลื่น1 มีโอกาสที่จะเกิดคลื่นยืดขยายได้

Second Waves (Wave 2) มักจะร่วงลงไปหาจุดเริ่มต้นคลื่น1 โดยปกตืแล้วจะจบคลื่น ด้วยปริมาณการซื้อชายต่ำ และความผันผวนที่เล็กน้อย ในสภาวะตลาดหมี สิ่งนี้บ่งบอกถึงแรงเทขายที่ลดลง อย่างไรก็ตามในระหว่างคลื่น2 นักลงทุนส่วนใหญ่ มักคิดว่า สภาวะหมี ยังคงอยู่

Third Waves (Wave 3) คลื่นที่มีเทรนแนวโน้มแข็งแกร่ง การเคลื่อนไหวแกว่งตัวกว้างมาก และ มีทิศทางแนวโน้มที่ชัดเจน โดยปกติแล้ว คลื่น3 จะมีการแกว่งตัวของราคา พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูง และ เป็นคลื่นที่มีโอกาสเกิดการยืดขยายมากที่สุด

Fourth Waves (Wave 4) สามารถคาดการณ์ได้ทั้งความลึก และ รูปแบบการหมุนเวียน แต่ในความคล้าย จะมีความแตกต่างกับคลื่น 2 บ่อยครั้งมักเป็นเทรนแนวโน้ม Sideways และเริ่มสร้างฐานสำหรับคลื่นลูกที่5 ซึ่งเป็นคลื่นสุดท้าย

Fifth Waves (Wave 5) การเคลื่อนไหวเริ่มชะลอลง โดยความเร็วของการเปลี่ยนแปลงราคาช้ากว่าคลื่นก่อนหน้า โดยปกติจะมาพร้อมกับ ปริมาณการซื้อขายลดลง และ การเคลื่อนไหวที่แคบลง อย่างไรก็ตาม ในกรณีคลื่น5 ที่เป็นคลื่นขยาย (Extended) จะเป็นการแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงเทรนแนวโน้ม ไกล้เข้ามาแล้ว

A Waves (Wave A) ในระหว่างคลื่น A ผู้คนมักเชื่อว่าเป็นเพียงการปรับฐาน (Correction) ของคลื่นก่อนหน้า และใช้ให้เกิดประโยชน์ แม้จะมีสัญญาณที่อาจสร้างความเสียหายได้ก็ตาม ซึ่งสิ่งนี้สามารถคาดการณ์คลื่นลูกต่อไปได้ หากคลื่นA มีคลื่นย่อยรูปแบบ ZigZag จะมี 5 คลื่นย่อย แต่ถ้าหากมีคลื่นย่อยรูปแบบ Flag หรือ Triangle จะมี3 คลื่นย่อย

B Wave (Wave B) คลื่นนี้ ผู้คนมักจับทิศทางไม่ถูก มันคือการล่อหลอกให้เข้ามาติดกับดักตลาด ไม่ว่าจะเป็น กับดักหมี (Bear Trap) หรือ กับดักกระทิง (Bull Trap) โดยทั่วไปแล้ว ในเทรนแนวโน้มคลื่น B จะมีปริมาณซื้อขายที่ต่ำ

C Wave (Wave C) จะเป็นการทำลาย ภาพหลวงหลอก ของคลื่น A และ B และสามารถทำลายความกลัว ในช่วงที่ตลาดร่วงลง คลื่น C เป็นมากกว่าการปรับฐาน (Correction) ครั้งใหญ่ ในตลาดหมี เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหว Dynamic ที่หลอกนักลงทุน ให้คิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นของขาขึ้นรอบใหม่ ความจริงคลื่น C อาจมี 5 คลื่นย่อย ไว้สำหรับหลอกนักลงทุน

D Waves (Wave D) เป็นรูปแบบ Horizontal Triangles บ่อยครั้งมักจะมาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นคลื่นที่เคลื่อนไปตามเทรนแนวโน้ม

E Waves (Wave E) เป็นคลื่นสุดท้ายในกรอบ Horizontal Triangles บ่อยครั้งมักจะเกิด False Break บน Trend line ก่อนที่ตลาดจะเคลื่อนไปในทิศทางตรงกันข้าม หาก Triangles เป็นคลื่น4 ใน Rising Impulse ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะหมี ก่อนที่ตลาดจะเกิดคลื่น 5 บ่อยครั้ง Wave E มักจะเล่นกับจิตวิทยาชองนักลงทุน

สรุป

บทความนี้จะกล่าวถึงทฤษฏี Elliott Wave ในเบื้องต้น โดยเนื้อหาหลักๆจะเน้นอธิบายรูปแบบโครงสร้างคลื่น เพื่อนำไปใช้สำหรับวิเคราะห์ และ ในโครงสร้างของ Elliott Wave นั้นประกอบด้วยคลื่น Motive wave (คลื่นตามแนวโน้ม), Corrective wave (คลื่นสวนแนวโน้ม) ซึ่งในแต่ละคลื่น ก็จะมีคลื่นเล็กย่อย แตกรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติม และภายในคลื่นต่างๆก็จะมีโครงสร้างลักษณะการเคลื่อนไหวเฉพาะของแต่ละคลื่น โดยมาตราฐาน ก็คือ 5-3 (อธิบาย ก็คือ ใน 1คลื่น จะมี 5 คลื่นตามแนวโน้ม และ 3 คลื่น ที่เป็นคลื่นสวนแนวโน้ม) พร้อมทั้งได้อธิบาย วิธีติดป้ายกำกับคลื่น (Labeling Wave Degrees) เพื่อให้นักทุนทราบว่าคลื่นที่กำลังนับอยู่ เป็นคลื่นขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือ ใหญ่มาก และในบทความได้กล่าวถึง รายละเอียดโครงสร้าง Elliott Wave ไว้ดังนี้

  1. Motive Wave คือ คลื่นหลักที่เคลื่อนไปตามเทรนแนวโน้ม ประกอบด้วย Impulse wave, Diagonal wave
    1. Impulse wave คือ คลื่นที่เคลื่อนไหวไปตามทิศทางเทรนแนวโน้มหลัก ประกอบด้วย คลื่น1, คลื่น3, คลื่น5 และมีกฎ 3ข้อ เพื่อใช้เป็นที่ยึดหลักในการนับคลื่น
    2. Diagonal wave คือ คลื่นที่เคลื่อนไหวตามทิศทางเทรนแนวโน้มหลัก แต่การเคลื่อนไหวจะมีลักษณะเป็น “ลิ่ม” ประกอบด้วย Ending Diagonals, Leading Diagonals ในคลื่นย่อยอาจนับไม่ถึง 5คลื่น ขึ้นอยู่กับประเภทของคลื่น
  2. Corrective Wave คือ คลื่นสวนแนวโน้มที่เคลื่อนไหวสวนทางกับเทรนแนวโน้มหลัก ประกอบด้วย Sideways Corrective, Sharp Corrective
    1. Sideways Corrective คือ รูปแบบการปรับตัวชนิดหนึ่ง ที่ราคาจะค่อยๆเคลื่อนตัวไปหาราคาก่อนหน้า อย่างช้าๆ
    2. Sharp Corrective คือ รูปแบบการปรับตัวที่ซับซ้อน ที่มี 4 รูปแบบย่อย
  • Zigzag Correction
  • Flat Correction
  • Horizontal Triangles
  • Correction Combinations

อย่างไรก็ตามการที่จะใช้งาน Elliott Wave ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น นักลงทุนจำเป็นต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้  ฝึกฝน เปิดรับความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอด จนเกิดความชำนาญ เนื่องจากทฤษฏี Elliott Wave ไม่ใช่การทำนายตลาด แต่เป็นเพียงการคาดการณ์การเคลื่อนไหว จากสถิติในอดีต ไม่มีกฎที่ใช้บอกจังหวะเข้า-ออก ไม่มีวิธีที่ตายตัว ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนที่นำไปใช้งาน หลายคน มักจะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน แม้ในกราฟเดียวกัน นี่อาจเป็นข้อจำกัด หรือ ข้อด้อยของทฤษฏี ที่เปิดกว้างความคิดเห็นของผู้ใช้งานมากจนเกินไป แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีนักลงทุนบางคน สามารถใช้งาน Elliott wave ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากได้ปรับปรุงวิธีคิด ประยุกต์หลักการวิเคราะห์ใหม่ๆ ประกอบการตัดสินใจ สุดท้ายนี้ ไม่มีหลักการใดที่เป็นหลักการดีที่สุด มีเพียงหลักการ หรือ วิธีที่เหมาะกับตัวนักลงทุนเท่านั้น ที่จะพาพบความสำเร็จในการลงทุน

Writer : ชายโขง

[Update] Transistor | b.e. คือ – NATAVIGUIDES

                       
ทรานซิสเตอร์
(TRANSISTORS)

                       
ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเลคตรอนิกส์ซึ่งมีรอยต่อของสารกึ่งตัวนำ
pn จำนวน 2 ตำแหน่ง
จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

ทรานซิสเตอร์รอยต่อไบโพลาร์
(Bipolar Juntion Transistor(BJT))

                       
ประเภทของทรานซิสเตอร์
(Type of Transistors)


                       
ทรานซิสเตอร์แบ่งตามโครงสร้างได้
2 ประเภท คือ
ทรานซิสเตอร์แบบ
npn (npn Transistor) และทรานซิสเตอร์แบบ
pnp

(pnp Transistor)

                       
ทรานซิสเตอร์แบบ
npn ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำชนิด
n  จำนวน 2 ชิ้นต่อเชื่อมกับสารกึ่งตัวนำชนิด
p จำนวน 1 ชิ้น

แสดงสัญลักษณ์เป็นดังรูป

                       
ทรานซิสเตอร์แบบ
pnp ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำชนิด
p  จำนวน 2 ชิ้นต่อเชื่อมกับสารกึ่งตัวนำชนิด
n  จำนวน 1 ชิ้น

แสดงสัญลักษณ์เป็นดังรูป

                       
กระแสและแรงดันของทรานซิลเตอร์
(Transistor Current and Voltage)


                       
เนื่องจากทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีขั้ว
3 ขั้ว คือ ขั้วคอลเลคเตอร์
(Collector;C), ขั้วเบส (ÚBase;B)
และขั้วอิมิเตอร์

(Emitter;E) จึงมีกระแสและแรงดันทรานซิสเตอร์หลายค่า
ดังนี้

                       
กระแสของทรานซิสเตอร์

                       
ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ซึ่งถูกควบคุมด้วยกระแสเบส
[Base Current; IB]  กล่าวคือ
เมื่อ IB มีการเปลี่ยนแปลงแม้เพียง
เล็กน้อยก็จะทำให้กระแสอิมิเตอร์
[Emitter Current; IE]  และกระแสคอลเลคเตอร์
[Collector Current; IC] เปลี่ยนแปลงไปด้วย

                       
นอกจากนี้ถ้าเราเลือกบริเวณการทำงาน
(Operating Region) หรือทำการไบอัสที่รอยต่อของทรานซิสเตอร์ทั้ง
2 ตำแหน่ง ให้เหมาะสม
ก็จะได้ IE และ
IC ซึ่งมีขนาดมากขึ้นเมื่อเทียบกับ
IB

         
จากรูป เมื่อจ่ายสัญญาณกระแส
ac ที่ขั้วเบส
(ib) หรือที่ด้านอินพุตของทรานซิสเตอร์ก็จะได้รับสัญญาณเอาต์พุตที่ขั้ว
E (ie) และที่ขั้ว
C (ic) มีขนาดเพิ่มขึ้น

          
ตัวประกอบหรือแฟกเตอร์ทีทำให้กระแสไฟฟ้า 
จากขั้วเบสไปยังขั้วคอลเลคเตอร์ของทรานซิสเตอร์มีค่าเพิ่มขึ้นเรียกว่า
อัตราขยายกระแสไฟฟ้า
(Current Gain) ซึ่งแทนด้วยอักษรกรีก
คือ เบตา (Beta )      
ถ้าต้องการหาปริมาณ
IC ของทรานซิสเตอร์
ก็เพียงแต่คูณ
IB ด้วยพิกัด
Beta เขียนเป็นสมการได้คือ

                                  &
nbsp;                                         &nbs
p;                          สมการที่
1

                                  &n
bsp;                                         &nbsp
;                            สมการที่
2-a

                                    &nbsp
;                                          &n
bsp;                               
สมการที่
2-b

                               
แรงดันของทรานซิสเตอร์

         
ขณะต่อทรานซิสเตอร์เพื่อใช้กับงานจริง
มีแรงดันไฟฟ้าหลายประการเกิดขึ้น
ดังนี้

                               
VCC , VEE, และVBB   
เป็นแรงดันไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง

                               
VC ,  VB  และ  VE       
เป็นแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้จากขั้ว
C, B  และ E

                                
VCE , VBE และVCB    
เป็นแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้ระหว่างขั้วที่ระบุตามตัวห้อย

                               
โครงสร้างและการทำงานของทรานซิสเตอร์

                   
(Transistor Construction and Operation)


 

        
ได้กล่าวมาแล้วว่าทรานซิสเตอร์ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ
3 ชิ้นต่อเชื่อมกัน
ดังนั้นจึงมีรอยต่อ
pn จำนวน 2 ตำแหน่งดังรูป

           
ตำแหน่งที่อิมิตเตอร์กับเบสเชื่อมกันเป็นรอยต่อ
pn เรียกว่า รอยต่ออิมิเตอร์-เบส
(Emitter Base Juntion)
ส่วนตำแหน่งที่
คอลเลคเตอร์กับเบสต่อเชื่อมกันเรียกว่า
รอยต่อคอลเลคเตอร์-เบส
(Collector Base Juntion)
เขียนแทนได้ด้วย
ค่าเทียบเคียงของไดโอด

            
เมื่อนำหลักการ
มาร่วมพิจารณา
ทำให้ทราบว่าการที่จะนำทรานซิลเตอร์ไปใช้งานได้นั้นต้องต่อแรงดัน
ไฟฟ้าเพื่อทำการไบอัสที่รอยต่อหรือไดโอดเทียบเคียงทั้งสอง
เนื่องจากทรานซิลเตอร์
มี 3 ขั้ว การต่อแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วเพื่อให้ทราน
ซิสเตอร์ทำงานจึงเป็นไปได้
3 แบบคือ

  • การให้ทรานซิสเตอร์ทำงานที่บริเวณคัตออฟ
    (Cut-off   Region)
  • การให้ทรานซิสเตอร์ทำงานที่บริเวณอิ่มตัว
    (Saturation  Region)
  • การให้ทรานซิสเตอร์ทำงานที่บริเวณแอกตีฟ
    (Active   Region)

         
ในการอธิบายถึงการทำงานที่บริเวณต่าง
ๆ ของทรานซิสเตอร์นั้น
จะเริ่มต้นจากกรณีไม่มีการต่อแรงดันที่ขั้ว

ของทรานซิสเตอร์
หรือกรณีไม่ได้รับการไบอัส

                               
กรณีไม่ได้รับการไบอัส 

         
ขณะทรานซิสเตอร์ไม่ได้รับการไบอัส
จะเกิดบริเวณปลอดพาหะ
(Depletion  Region) ที่รอยต่อทั้งสอง

                                  
การทำงานที่บริเวณคัตออฟ
 

           
การต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้ทรานซิสเตอร์ทำงานในบริเวณคัตออฟเป็นการไบอัสกลับที่รอยต่อทั้ง
2 ตำแหน่ง ซึ่งจะทำให้กระแสที่ไหลผ่านขั้วทั้งสามมีค่าใกล้ศูนย์

           
จากการต่อวงจรในลักษณะดังกล่าวบริเวณปลอดพาหะทั้งสองบริเวณจะขยายกว้างขึ้น
จึงมีเพียงกระแสย้อน
กลับ (Reverse 
Current)  กระแสรั่วไหลปริมาณต่ำมากเท่านั้นที่ไหลจากคอลเลคเตอร์ไปยังอิมิตเตอร์ได้

                    
การทำงานที่บริเวณอิ่มตัว 

                    
จากสมการที่1
ทำให้ทราบว่าถ้าค่า
IB เพิ่มขึ้น
IC ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
เมื่อ IC เพิ่มขึ้นจนถึงค่าสูงสุด
หรือ

เรียกว่า
ทรานซิสเตอร์เกิดการอิ่มตัว
ณ ตำแหน่งนี้ค่า
IC จะเพิ่มตามค่า
IB ไม่ได้อีกแล้ว

                    
การหาค่า IC
ทำได้โดยใช้
VCC หารด้วยผลรวมของความต้านทานที่ขั้วคอลเลคเตอร์
(RC) กับความต้านทาน
ที่ขั้วอิมิตเตอร์(RE)
ดังรูป

       
สมมติขณะที่
VCE ของทรานซิสเตอร์มีค่า
0 V (สภาพในอุดมคติ)
IC จะขึ้นอยู่กับค่า
VCC, RC และ RE ดังนี้

                                    &nbsp
;                                          &n
bsp;                  

        
การต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้ทรานซิสเตอร์ทำงานในบริเวณอื่มตัว
เป็นการไบอัสตรงที่รอยต่อทั้ง
2 ตำแหน่ง

ของทรานซิสเตอร์
ดังรูป

          
สมมติค่า VCE 
ของทรานซิสเตอร์ขณะอิ่มตัว
มีค่า 0.3 V (ซึ่งต่ำกว่า
VBE ที่มีค่า0.7
V) บริเวณรอยต่อคอลเลคเตอร์-เบส
จะได้รับการไบอัสตรงด้วยผลต่างระหว่างแรงดัน
VBE กับ VCE (เท่ากับ
0.4 V) กระแสไฟฟ้า
IE, IC และ IB จะมีทิศทาง

ดังรูป

 

                                     
    
การทำงานที่บริเวณแอกตีฟ

          
การต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้ทรานซิสเตอร์ทำงานในบริเวณแอกตีฟเป็นการแอกตีฟเป็นการไบอัสตรงที่รอยต่อ
อิมิตเตอร์-เบส
และไบอัสกลับที่รอยต่อคอลเลคเตอร์-เบส
ดังรูป

              
การอธิบายหลักการทำงานของทรานซิสเตอร์ในบริเวณนี้จะง่ายขึ้น 
ถ้าพิจารณาเฉพาะรอยต่ออิมิตเตอร์-เบส
โดยแทนด้วยสัญลักษณ์ของไดโอด
ดังรูป b [สมมติ
VBE มีค่ามากพอที่จะทำให้ไดโอดทำงาน
(Si ประมาณ 0.7 V และGe
ประมาณ

0.3 V)]

               
รอยต่อคอลเลคเตอร์-เบสได้รับการไบอัสกลับ 
ทำให้บริเวณปลอดพาหะกว้างกว่าที่รอยต่ออิมิตเตอร์-เบสซึ่ง
ได้รับการไบอัสตรง
ดังนั้น ความต้านทานที่เบส
(RB) จึงมีค่าสูง
เมื่อพิจารณาในรูปของไดโอดจะเห็นว่า
IB เป็นกระแสที่มีค่าต่ำมาก
เมื่อเทียบกับกระแสคอลเลคเตอร์
(IC) และเป็นส่วนหนึ่งของ
IE ดังนั้น IE
ส่วนใหญ่จึงเป็นกระแส
IC ซึ่งผ่านรอยต่อคอลเลคเตอร์-
เบส ของทรานซิสเตอร์

                                     
      
ค่าพิกัดของทรานซิสเตอร์ 

         
ค่าพิกัดของทรานซิสเตอร์มีหลายประเภท 
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงค่าพิกัดเฉพาะบางประเภทอันเป็นพื้นฐาน
สำคัญสำหรับการนำทรานซิสเตอร์ไปใช้วานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสียหายใด
ๆ ซึ่งได้แก่
พิกัดเบตา

ไฟฟ้ากระแสตรง,
พิกัดอัลฟาไฟฟ้ากระแสตรง,
พิกัดกระแสไฟฟ้าสูงสุด
และพิกัดแรงดันไฟฟ้าสูงสุด

                                     
      
เบตาไฟฟ้ากระแสตรง
(DC  BETA)


         
พิกัดเบตาไฟฟ้ากระแสตรงของทรานซิสเตอร์ซึ่งมักเรียกสั้น
ๆ ว่าเบตา เป็นอัตราส่วนของ
IC ต่อ IB เขียน
เป็นสมการได้ดังนี้
คือ     

                                    &nbsp
;                               
                       &n
bsp;                                         &nbsp
;    
สมการที่ 3 

         
วงจรทรานซิสเตอร์ส่วนมากมีสัญญาณอินพุตจ่ายให้ขั้วเบส
และสัญญาณเอาต์พุตออกจากขั้วคอลเลคเตอร์
เบตาของทรานซิสเตอร์จึงเป็นสัญลักษณ์แทนอัตราขยายกระแส
dc (dc Current Gain) ของทรานซิลเตอร์

                                     
      
จากสมการ 1 และ
3 หาค่ากระแสอิมิตเตอร์ได้ 
ดังนี้

                                  &n
bsp;                                         &nbsp
;      
สมการที่
4

                                    &nbsp
;                                          &n
bsp;   
IE  =  IB + IC

                                    &nbsp
;                                          &n
bsp;         
=  IB+ Beta*IB                                   &nbs
p;                                 

                                  &
nbsp;                                         &nbs
p;      
สมการที่
5

                                     
      
เราใช้เบตาและกระแสไฟฟ้าที่ขั้วใดขั้วหนึ่งหาค่ากระแสไฟฟ้าที่ขั้วอื่น
ๆ ได้

 

                                     
          
อัลฟาไฟฟ้ากระแสตรง
(DC Alpha)


         
พิกัดอัลฟาของทรานซิสเตอร์
ซึ่งมักเรียกสั้น
ๆ ว่า อัลฟา
คือ อัตราส่วน
IC ต่อ IE เขียนเป็น
สมการได้ ดังนี้

                                   &nbs
p;                         สมการที่
6

           
เมื่อนำกฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์มาร่วมพิจารณา
จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าที่
ขั้วทั้งสามของทรานซิสเตอร์เป็นดังสมการ
1
คือ

                                    &nbsp
;          
IE = IB+IC

                                    &nbsp
;          
IC = IE-IB

          
เนื่องจาก IC
มีค่าต่ำกว่า
IE (เป็นปริมาณเท่ากับ
IB) ดังนั้น  
Alpha  หรือ   IC/IE 
จึงมีค่าต่ำกว่า
I จากสมการที่
6 ทำให้ได้

                                    &nbsp
;                      สมการที่
7

                                     
          
จากความสัมพันธ์ดังกล่าว 
หาค่า IB  ได้ดังนี้

                                              &nbsp
          ;          
          IB  =  IE- IC

                                              &nbsp
          ;                
          =  IE-  (Alpha* IE)

                                
          สมการที่
          8

                                     &nb
sp;            
ความสัมพันธ์คระหว่างอัลฟาและเบตา


                                    &n
bsp;              
(The Relationship Between Alpha and Beta) 


        
โดยทั่วไปสเปคของทรานซิสเตอร์จะระบุค่าเบตา
แต่จะไม่มีค่าอัลฟาเนื่องจากมักใช้ค่าเบตาสำหรับ
การคำนวณในวงจรทรานซิสเตอร์มากกว่าอัลฟา

          
แต่ในบางครั้งจำเป็นต้องหาค่าอัลฟาเพื่อคำนวณค่าอื่นต่อไป
จึงมีวิธีการหาค่าอัลฟาในเทอมของเบตา
โดยเริ่มต้นจาก

                                          
                 
Alpha = IC / IE

                                     
              
เขียนสมการใหม่โดยใช้สมการที่4
แทนค่า IC และสมการที่5
แทนค่า IE

                                       &
nbsp;         สมการที่
9

สมการที่
10

                                     
                 
พิกัดกระแสไฟฟ้าสูงสุด 

                                    &nbsp
;                 
สเปคของทรานซิสเตอร์ระบุค่าพิกัดสูงสุดของกระแสคอลเลคเตอร์
[IC(max)] ไว้เสมอ

                                    &nbsp
;                  
IC (max) หมายถึง 
กระแสคอลเลคเตอร์สูงสุดที่ทรานซิสเตอร์ทนได้โดยไม่ทำให้เกิดความร้อนจน

ทรานซิสเตอร์
เสียหาย  ดังนั้นการนำทรานซิสเตอร์ไปใช้งานต้องระวังไม่ให้ค่า
IC สูงกว่า IC(max) 

                                    &nbsp
;                  
ค่า IC(max) จะขึ้นอยู่กับค่ากระแสเบสสูงสุด
[IB(max)]  ดังนี้

                                     
                                  
สมการที่
11

                                     
                     
พิกัดแรงดันไฟฟ้าสูงสุด 

                                    &nbsp
;                     
สเปคของทรานซิสเตอร์ส่วนมากจะระบุค่าพิกัดสูงสุดของแรงดันที่ขั้วคอลเลคเตอร์-เบส
[VCB (max) ]

                                    &nbsp
;                      
VCB(max)  หมายถึง
แรงดันไบอัสกลับที่ใช้กลับที่ใช้กับรอยต่อคอลเลคเตอร์-เบสได้โดยไม่ทำให้

ทรานซิสเตอร์เสียหาย
ดังนั้นการนำทรานซิลเตอร์ไปใช้งานจึงต้องระวังไม่ให้
VCB สูงกว่า VCB(max) 

                                     
                       
การจัดโครงสร้างของทรานซิสเตอร์พื้นฐาน

                                    &nbsp
;                      
(Basic Transistor Configuration) 

           
เราทราบว่าโครงสร้างของทรานซิสเตอร์มีจำนวนทั้งหมด
3 ขั้ว จึงจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปวงจรได้
3 แบบ คือ

  • วงจรอิมิตเตอร์ร่วม
  • วงจรคอลเลคเตอร์ร่วม
  • วงจรเบสร่วม

                                     &nb
sp;                      
วงจรอิมิตเตอร์ร่วม

                                    &n
bsp;                       
(Common  Emitter) 


         
วงจรอิมิตเตอร์ร่วม
เป็นวงจรที่มีการจ่ายอินพุตให้กับขั้วเบสและมีเอาต์พุตออกมาจากขั้วคอลเลคเตอร์

                  
ชื่ออิมิตเตอร์ร่วมเป็นนัยแสดงว่าแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าทั้งสองมีจุดต่อร่วมกับขั้วอิมิตเตอร์
วงจรอิมิตเตอร์ร่วมมีอัตราขยายกระแสและอัตราขยายแรงดันไฟฟ้าสูงและมีการเลื่อนเฟสแรงดัน
ac

อินพุตไปยังเอาต์พุต
เป็นมุม 180 องศา

                                     
                          
วงจรคอลเลคเตอร์ร่วมหรือวงจรตามสัญญาณอิมิตเตอร์

                                    &nbsp
;                           
(Common Collector  or  Emitter  Follower) 

       
วงจรคอลเลคเตอร์ร่วมหรือวงจรตามสัญญาณอิมิตเตอร์เป็นวงจรที่มีการจ่ายอินพุตให้
ขั้วเบสและเอาต์พุตออกจากขั้วอิมิตเตอร์                

         
วงจรคอลเลคเตอร์ร่วมมีอัตราขยายกระแสไฟฟ้าสูง
แต่อัตราขยายแรงดันไฟฟ้าต่ำ
แรงดัน ac อินพุตกับแรงดัน
ac เอาต์พุตจะ
inphase กัน

                                     
                         
วงจรเบสร่วม

                                    &n
bsp;                          
(Common  Base) 

           
วงจรเบสร่วม
เป็นวงจรที่มีการจ่ายอินพุตให้ขั้วอิมิตเตอร์
และเอาต์พุตออกจากขั้วคอลเลคเตอร์
ชื่อเบสร่วมเป็นนัยแสดง
ให้ทราบว่าขั้วเบสเป็นจุดต่อร่วมกับแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าทั้งสองวงจรเบสร่วมใช้มากในงานที่ต้องการความถี่สูง
มีอัตราขยายกระแสไฟฟ้าต่ำ
อัตราขยายแรงดันไฟฟ้า
สูง และแรงดัน
ac อินพุตกับแรงดัน
ac เอาต์พุต Inphase
กัน

                                     
                          
เคอร์ฟคุณลักษณะของทรานซิสเตอร์

                                  
    
(Transistor  Characteristic  Curves) 


       
ในหัวข้อนี้จะพิจารณาเคอร์ฟคุณลักษณะที่ใช้อธิบายการทำงานของทรานซิลเตอร์
ซึ่งประกอบ
ด้วย เคอร์ฟคอลเลคเตอร์
เคอร์ฟเบส (ไม่พิจารณาเคอร์ฟของอิมิตเตอร์ 
เนื่องจากมีคุณลักษณะเหมือนกัลคอลเลคเตอร์)
และเคอร์ฟาเบตา

 

 
เคอร์ฟคอลเลคเตอร์ 
(Collector  Curves)
 

       
เคอร์ฟคอลเลคเตอร์แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
IC  IB และ VCE 
ดังรูป  สังเกตได้ว่าเคอร์ฟแบ่ง
ออกเป็น
3 ส่วน คือ

  1.        
    –  บริเวณอิ่มตัว
    (Saturation  Region) คือบริเวณที่มีค่า
    VCE ต่ำกว่าแรงดันที่ส่วนโค้งของเคอร์ฟ
    (Knee Voltage; VK) ซึ่งเป็นระดับแรงดันไฟฟ้าที่ทำให้ทรานซิสเตอร์เริ่มทำงาน
  2. บริเวณแอกตีฟ
    (Active  Region) คือบริเวณที่มีค่า
    VCE อยู่ระหว่าง
    VK ถึงแรงดันพังทลายหรือ
    แรงดันเบรกดาวน์
    (Breakdown  Voltage; VBR)
  3. บริเวณเบรกดาวน์
    (Breakdown  Region) คือบริเวณที่มีค่า
    VCE มากกว่า VBR
    ขึ้นไป

       
ถ้าเราเพิ่มค่า
IB จาก 100 uA เป็น
150 uA ก็จะได้เคอร์ฟเป็นดังรูป
และหากเปลี่ยแปลง
IB หลาย ๆ ค่าก็จะได้เคอร์ฟคอลเลคเตอร์  
ดังรูป

                                     
                                  
เคอร์ฟเบส (Base 
Curves)
 

            
เคอร์ฟเบสของทรานซิสเตอร์แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
IB กับ VBE ดังรูป
จะเห็นได้ว่าเคอร์ฟนี้

มีลักษณะคล้ายกัลเคอร์ฟของไดโอดขณะได้รับไบอัสตรง

                                     
                                  
เคอร์ฟเบตา 
(Beta  Curves)
 

           
เคอร์ฟเบตาแสดงลักษณะที่เบตาไฟฟ้ากระแสตรงเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิและIC
ดังรูป

         
จะเห็นได้ว่าขณะอุณหภูมิ(T)
=  100 C ํ  เบตาจะมีค่ามากกว่าขณะอุณหภูมิ(T)=
25 C ํ นอกจากนี้แบตายังลดลงเมื่อ
IC เปลี่ยนแปลงต่ำกว่าและสูงกว่าค่าที่กำหนดไว้อีกด้วย

                                     
                                      
ข้อจำกัดในการทำงาน
(Limits  of  Operation)
 

         
เราทราบว่าเคอร์ฟคุณลักษณะของทรานซิสเตอร์ประกอบด้ย
3 บริเวณ(ไม่รวมบริเวณเบรกดาวน์)
คือบริเวณแอกตีฟ,
คัตออฟ   และอิ่มตัว
ถ้าต้องการได้สัญญาณเอาต์พุตที่ดีที่สุด
ไม่เพี้ยนหรือบิดเบี้ยว
ต้องกำหนดบริเวณการทำงาน
ให้อยู่ในย่านแอกตีฟเท่านั้น

        
จากหัวข้อที่ผ่านมา
ทำให้ทราบว่าการนำทรานซิสเตอร์ไปใช้งานโดยไม่เกิดความเสียหายนั้น
จะต้องมีค่า
IC ต่ำกว่า IC(max)
และค่า VCB ต่ำกว่าVCB(max)นอกจากนั้นค่า 
VCE ที่ใช้งานต้องต่ำกว่า 
VCE(max) ด้วย

        
เคอร์ฟคอลเลคเตอร์ 
เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง
IC กับ VCE เส้นแนว
ตั้งของเคอร์ฟที่ตำแหน่ง
VCE(sat) และ VCE(max) เป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดขอบเขตการทำงานของทรานซิสเตอร์ในบริเวณแอกตีฟ 
ตำแหน่ง VCE(sat) เป็นตัวกำหนดค่า
VCE ต่ำสุดที่ใช้งานได้
คือบอกให้ทราบว่าการทำงาน
ของทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ค่านี้เป็นต้นไปไม่อยู่ในบริเวณอิ่มตัว
ส่วนตำแหน่ง
VCE(max) เป็นตัวกำหนดค่า
VCE สูงสุดที่ใช้งานได้
คือบอกให้ทราบว่าการ
ทำงานของทรานซิสเตอร์ไม่อยู่ในบริเวณเบรกดาวน์

 

          
ตัวบ่งบอกขอบเขตการใช้งานของทรานซิสเตอร์นอกเหนือจาก
VCE(sat) และ  VCE(max) 
คือ กำลังสูญเสียสูงสุด
PC(max) ซึ่งหาค่าได้จาก

                                     
                                          
PC(max)  =  VCE(max)* ICE(max) 

                                    &nbsp
;                                         
สำหรับคุณลักษณะของทรานซิลเตอร์ในรูป

                                    &nbsp
;                                          
PC(max)  = (20V)(50mA) = 300mW

         
เมื่อทราบค่า
PC (max) ก็จะสามารถเขียนเคอร์ฟกำลังสูญเสียสูงสุดที่มีความสัมพันธ์กับเส้น

แนวตั้งของเคอร์ฟที่ตำแหน่ง
VCE(sat)และ VCE(max) ได้โดยเลือกค่า
VCE และ IC ที่เหมาะสมแล้วแทนลงในสมการ

                                     
                                      

สมการที่ 12

                                     
                                      
สำหรับกรณีนี้

                                    &nbsp
;                                      
PCman  = VCEIC  =  300mW 

 

                                     
                                      
เลือกค่า IC(max) 
= 50 mA และแทนค่าลงในสมการข้างต้น

                                    &nbsp
;                                          &n
bsp;      
VCEIC  = 300 mW

                                    &nbsp
;                                      
VCE(50 mA)  =  300 mW

                                    &nbsp
;                                          &n
bsp;       
VCE     =    6V

 

                                    &nbsp
;                                       
เลือกค่า  VCE(max)
= 20V แทนค่าลงในสมการเดิม

                                    &nbsp
;                                          &n
bsp;                                 
(20V)IC  =  300mW

                                    &nbsp
;                                          &n
bsp;                                         &nbsp
;  
IC  =   15mA

                                    &nbsp
;                                      
เลือกค่า IC
= 25 mA

                                    &nbsp
;                                          &n
bsp;                                   
VCE(25mA) = 300mW

                                    &nbsp
;                                          &n
bsp;                                         &nbsp
;        
VCE  = 12V

        
จากค่าที่ได้นำมาเขียนเคอร์ฟ
PC(max)เป็นเส้นโค้งประ 
สำหรับบริเวณคัตออฟคือบริเวณที่
IC มีค่าเท่ากับกระแสรั่วไหล(ICO)
เป็นบริเวณที่ไม่เหมาะสม
กับการใช้งาน
เพราะจะทำให้ได้สัญญาณเอาต์พุตที่เพี้ยนหรือบิดเบี้ยว 
ส่วนบริเวณที่อยู่ภายในกรอบเส้นประ
เรียกว่า บริเวณแอกตีฟ
ถ้าต้องการให้ทรานซิสเตอร์
ทำงานในบริเวณดังกล่าวต้องมี

                                            &nbsp
        ;              


                                            &nbsp
        ;              

                                            &nbsp
        ;                                          &n
        bsp;      
        สมการที่
        13

 


ร.10โกรธสั่งองครักษ์กระทืบนักข่าวเยอรมันจนตำรวจต้องเข้าจัดการ 11.11 .2021


ฝากกดติดตามเพจใหม่ :DK Ning ป้าหนิง ดีเค Live……ตามลิ้งนี้ด้วยเนื่องจากเพจหลักทุกคนมองไม่เห็นโพสป้านะคะ……
https://www.facebook.com/DKNing%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84Live106142424807960

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ร.10โกรธสั่งองครักษ์กระทืบนักข่าวเยอรมันจนตำรวจต้องเข้าจัดการ 11.11 .2021

สรุปรวมรายชื่อเด็กนรกเหยียดคนอีสาน [EP2.]


ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดซับให้นำเด้อ
เดี๋ยวสิหาข้อมูลมาเพิ่มให้

สรุปรวมรายชื่อเด็กนรกเหยียดคนอีสาน [EP2.]

การใช้ Verb to be (is, am, are, was, were ) เป็นอยู่คือ l เรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน


หลักการใช้ is / am / are / was / were ภาษาอังกฤษ
ในภาษาอังกฤษ กริยา (verb) ที่สำคัญที่สุดก็คือ verb to be ซึ่งประกอบด้วย is, am, are ในรูปของปัจจุบัน หรือ present tense ส่วนคำว่า Was / Were เป็น อยู่ คือ ในอดีต past tense นั่นเอง
เรียนภาษาอังกฤษฟรี
📌 ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ถามตอบ ประโยคพื้นฐานใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน
👉 https://www.youtube.com/watch?v=IHuK…
📌 ฝึกอ่านแปลภาษาอังกฤษ เข้าใจง่าย เรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน
👉 https://www.youtube.com/watch?v=URCUv…
📌 ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ตั้งปณิธานเรื่องที่จะทำในปีใหม่ New Year’s Resolutions
👉 https://www.youtube.com/watch?v=AWo2r…
📌 เรียนภาษาอังกฤษฟรี ดูโครงสร้างภาษาอังกฤษ ฝึกพูดพร้อมตัวอย่างประโยค
👉 https://www.youtube.com/watch?v=UgGf1…
📌 5 โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ (English sentence structures)
👉 https://www.youtube.com/watch?v=iGS5s…
📌 ประโยคอวยพรปีใหม่ ภาษาอังกฤษ พร้อมคำอ่านและแปลภาษาไทย
👉 https://www.youtube.com/watch?v=BYqot…
📌วิธีใช้ Used to, Be used to และ Get used to (เคย และ เคยชิน)
👉https://www.youtube.com/watch?v=in1gK…
📌 Whenever, Whatever, Whoever, However, Whichever | ใช้ยังไง
👉 https://www.youtube.com/watch?v=AnAT…
📌 How far/How much/How many/How long/ ใช้อย่างไร และแปลว่าอย่างไร ภาษาอังกฤษ
👉 https://www.youtube.com/watch?v=AnAT…
📌 เรียนภาษาอังกฤษ Do, Does, Did, Done | แปลว่าอย่างไร เข้าใจง่ายพร้อมตัวอย่าง
👉 https://www.youtube.com/watch?v=JrNKY…
📌 คำเชื่อมประโยคภาษาอังกฤษ พื้นฐาน FANBOYS คืออะไร
👉 https://www.youtube.com/watch?v=6g8MlhZhBcE

การใช้ Verb to be (is, am, are, was, were ) เป็นอยู่คือ  l เรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน

คนไม่คือ – Freshen ( MIDE MUSIC )


เนื้อเพลง คนไม่คือ Freshen (mind music)
เพลง : คนไม่คือ
ศิลปิน : Freshen (mind music)
.. ต่อให้ฉันนั้นเจ็บ ต่อให้ฉันนั้นเสียใจ
เพราะการกระทำของใคร ที่ทำให้เป็นแบบนี้
ต่อให้ฉันนั้นอกหัก ไม่เจอรัก
ฉันก็ยังมั่นใจ จะไม่ยอมพ่ายแพ้

ฉันก็มีหัวใจ อย่างคนอื่นเขา
เจ็บปวดร้าวเหมือนกัน เมื่อโดนทำร้าย
อีกทำซื่อบื้ออย่างนี้ มันคงไม่มีความหมาย
ก็เป็นแบบนี้เป็นอย่างนี้ ก็ใคร ใครจะมาสนใจ
..เป็นคนเซ่อเซ่อซ่าซ่า ดันบ้าไปรักเธอ
ทั้งที่ไม่ควรเจอ กับเธอด้วยซ้ำ
เป็นคนซุ่มซ่าม ซื่อบื้อดื้อ ดึงหน้ามึน
ไม่เต็มบาท ฉลาดก็ไม่ฉลาด
ดันอยากจะมีคนรัก อย่างเขา..
..ก็รู้ ฉันก็รู้ดี ว่าฉันไม่คู่ควร
กับเธอซักเท่าไร แม้ว่าฉันนั้นเจ็บปวด
ก็ปวดร้าว แต่ฉันก็ยังมั่นใจไงก็จะรัก

แต่ฉันก็มีหัวใจ อย่างคนอื่นเขา
ก็เจ็บปวดร้าวเหมือนกัน เมื่อโดนทำร้าย
ทำซื่อบื้ออย่างนี้ มันคงไม่มีความหมาย
ก็เป็นแบบนี้เป็นอย่างนี้ ก็ใคร ใครจะมาสนใจ
..เป็นคนเซ่อเซ่อซ่าซ่า ดันบ้าไปรักเธอ
ทั้งที่ไม่ควรเจอ กับเธอด้วยซ้ำ
เป็นคนซุ่มซ่าม ซื่อบื้อดื้อดึงหน้ามึน
ไม่เต็มบาท ฉลาดก็ไม่ฉลาด
ดันอยากจะมีคนรัก อย่างเขา
..เป็นคนเซ่อเซ่อซ่าซ่า ดันบ้าไปรักเธอ
ทั้งที่ไม่ควรเจอ กับเธอด้วยซ้ำ
เป็นคนซุ่มซ่าม ซื่อบื้อดื้อดึงหน้ามึน
ไม่เต็มบาท ฉลาดก็ไม่ฉลาด
ดันอยากจะมีคนรัก
เป็นคนเซ่อเซ่อซ่าซ่า ดันบ้าไปรักเธอ
ทั้งที่ไม่ควรเจอ กับเธอด้วยซ้ำ
เป็นคนซุ่มซ่าม ซื่อบื้อดื้อดึงหน้ามึน
ไม่เต็มบาท ฉลาดก็ไม่ฉลาด
ดันอยากจะมีคนรัก อย่างเขา…..
\” ช่องนี้จะนำเพลงเก่าๆ ในสมัยที่เราเกิดในยุค 90 มาอัพให้ฟังบ่อยๆน่ะคับ ฝากกด \”ติดตาม\” ด้วยคับ \”
👉🏻 ลิขสิทธิ์เพลง 👈🏻 และทุกเพลงทางช่อง netkung1986เพลงเก่าๆคนยุค90 นี้ เป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นๆ จุดประสงค์ของช่องคือ เพื่อให้ผู้ที่ชื่นชอบฟังเพลงเก่าๆ ทั้งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยได้ฟัง หรือ กลุ่มคนเก่าๆที่ยังต้องการจะฟังเพลงในยุค90 นั้น ได้รับฟัง ก็..
👉🏻“เพื่อ..ความสุขใจ ความบันเทิงใจ เพื่อระลึกและนึกถึงความรู้สึก ความหลัง หรือเรื่องราวเก่าๆ อยากให้ทุกเพลงเป็นสื่อความหมายแทนเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมาในอดีตของแต่ละคน..” 👈🏻
และวัตถุประสงค์ของช่องก็เพื่อโปรโมตเพลงของศิลปินเท่านั้น ไม่มีวัตถุประสงค์หรือเจตนาเพื่อการค้า และไม่สนับสนุนการ แจกเพลง ดาวน์โหลด โหลดเพลง ริงโทน และ mp3 เถื่อนใดๆทั้งสิ้น หากชื่นชอบในเพลง กรุณาซื้อแต่ของถูกลิขสิทธิ์เท่านั้น เพื่อให้ศิลปินยังคงสร้างสรรค์ผลงานดีๆให้ทุกท่านได้ฟังต่อไป…
🙏🏻🙏🏻🙏🏻 ขอบคุณทุกๆ Subscribe ด้วยคับ

คนไม่คือ - Freshen ( MIDE MUSIC )

ติว TOEIC : Verb to be คืออะไร? ตามด้วยอะไรได้บ้าง?


✿ ถ้าพื้นฐานน้อย แนะนำหาคอร์สติวดีกว่าค่ะ! ✿
👉 สมัครคอร์ส KruDew ติว New TOEIC 2020 (ทดลองติวฟรี!) ➡️ https://bit.ly/2wR4Gmu
✿ คอร์ส KruDew ติว TOEIC มีอะไรให้บ้าง? ✿
✅Grammar ที่ใช้สอบ TOEIC ให้ครบ เริ่มสอนจากพื้นฐาน เรียนได้ทุกคนแน่นอน
✅เทคนิคช่วยจำต่างๆ จำง่าย เอาไปใช้กับข้อสอบได้จริงๆ
✅เก็งศัพท์ TOEIC ออกข้อสอบบ่อยๆ ให้ครบ ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งรวบรวมเอง
✅ อัพเดทข้อสอบ New TOEIC ล่าสุด ครบ 200 ข้อ
✅สามารถสอบถามข้อหรือจุดที่สงสัยได้ตลอด
✅การันตี 750+ (ถ้าสอบแล้วไม่ถึง สามารถทวนคอร์สได้ฟรี)
📣 ถ้าไม่อยากพลาดคลิปดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด ❤️ Subscribe ❤️กันนะคะ

ติว TOEIC : Verb to be คืออะไร? ตามด้วยอะไรได้บ้าง?

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ b.e. คือ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *