Skip to content
Home » [Update] การสร้างสัมพันธภาพ การสร้างสัมพันธภาพของบุคคล คุณค่าของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล | ความ สัมพันธ์ ที่ ดี – NATAVIGUIDES

[Update] การสร้างสัมพันธภาพ การสร้างสัมพันธภาพของบุคคล คุณค่าของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล | ความ สัมพันธ์ ที่ ดี – NATAVIGUIDES

ความ สัมพันธ์ ที่ ดี: คุณกำลังดูกระทู้

Table of Contents

การสร้างสัมพันธภาพของบุคคล

การมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ พัฒนาการทางสังคมและความคิดความเข้าใจของบุคคล พัฒนาขึ้นจากการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การค้นพบความหมายของชีวิตและสุขภาพจิต ล้วนได้รับผลกระทบจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
มนุษย์แต่ละคนถูกหล่อหลอมจากประสบการณ์ให้มีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยม ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 คน จึงต้องอาศัยความเข้าใจถึงปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผล ต่อสัมพันธภาพที่มีระหว่างกัน เพื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายจะได้ประสบความสำเร็จใน การสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

คุณค่าของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

บุคคลเรียนรู้จักตนเองได้จากการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น จากสัมพันธภาพนี้ บุคคลจะได้รู้จุดเด่น และจุดด้อยของตนเอง รู้และเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งเรียนรู้ความเป็นจริงของโลก โดยสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคลจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปโดยไม่บิดเบือน มีการยอมรับและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่เป็นจริง ดังนั้นสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคล จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ การพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง การมีความรู้สึกว่าชีวิตมีความหมายและมีคุณค่า และการมีสุขภาพจิตที่ดีและสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย และนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้า และท้อแท้ในชีวิต และการมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น

การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยคุณลักษณะที่สำคัญของบุคคลในการยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน และนอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น อันได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจ

คุณลักษณะสำคัญของบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพ (Relationship or Rapport)

ความสัมพันธ์ระหว่าง คน 2 คน จะเป็นสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ต้องอาศัยคุณลักษณะภายในหรือทัศนคติของบุคคลที่สำคัญบางประการ ได้แก่

การยอมรับและให้เกียรติ หมายถึง การยอมรับลักษณะส่วนตัวหรือลักษณะเฉพาะของบุคคลตามที่เขาเป็น ให้เกียรติและเคารพในคุณค่าของบุคคล มีความเป็นมิตร และความอบอุ่นใจแก่ผู้อื่น
การเข้าใจสาระและความรู้สึก หมายถึง การเข้าใจในเนื้อหาสาระของสิ่งที่สื่อสารระหว่างกัน และเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่นเสมือนเราเป็นตัวเขา ซึ่งในสัมพันธภาพที่ขาดความเข้าใจความรู้สึกซึ่งกันและกัน สัมพันธภาพนั้นไม่สามารถดำเนินไปถึงขั้นที่ลึกซึ้งได้
การจริงใจ หมายถึง การไม่เสแสร้งในการแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก และทัศนคติของตนเอง
คุณลักษณะของบุคคล 3 ประการนี้ จะส่งผลต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้มากน้อยเพียงใดนั้น ไม่ใช่เพียงแต่มีคุณลักษณะเช่นนี้อยู่ภายในเท่านั้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความสามารถในการสื่อ หรือแสดงออกถึงคุณลักษณะเหล่านี้ออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ด้วย ซึ่งความสามารถในการแสดงออก หรือการสื่อสารให้ผู้อื่นทราบถึงคุณลักษณะสำคัญเหล่านี้ เรียกว่า ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็น

สัมพันธภาพระหว่างบุคคลเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ บางคู่เกิดขึ้นเป็นแค่เพียงความรู้จัก บางคู่เป็นความสนิทสนม กลายเป็นเพื่อนรัก คู่รัก หรือคู่สมรส บางคู่สัมพันธภาพมีอันต้องสิ้นสุดลง ด้วยความเบื่อหน่ายหรือทุกข์ใจ ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคลจะเริ่มต้นและดำเนินไปอย่างลึกซึ้ง หรือมีอันต้องสิ้นสุดลงนั้น ขึ้นกับทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างกัน

การเริ่มต้นของสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จนสัมพันธภาพนั้นได้พัฒนาต่อไปเป็นความแน่นแฟ้นลึกซึ้ง และรักษาให้สัมพันธภาพอันดีนี้ยั่งยืนตลอดไป ไม่ใช่เรื่องง่าย หากแต่จะต้องอาศัยทักษะที่สำคัญหลายประการด้วยกัน ซึ่งทักษะแห่งการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันนี้ มิใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้เอง แต่จะต้องอาศัยการฝึกฝนหรือฝึกหัด ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์

มิตรภาพจะก่อเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยเวลา ความพยายาม และทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น อาจเป็นไปได้ใน 3 รูปแบบ คือ

รูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุด คือ การรอคอยให้ผู้อื่นก้าวเข้ามาผูกมิตรด้วย
รูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบที่ยากขึ้น คือการขอให้ใครสักคนเป็นเพื่อนด้วย ซึ่งเรามักจะรู้สึกเสี่ยงต่อการถูกปฏิเสธ
รูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบในการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ด้วยการให้มิตรภาพแก่ผู้อื่น ซึ่งความสัมพันธ์ของบุคคลในระยะยาว การสร้างสัมพันธภาพรูปแบบนี้ให้ผลที่แน่นอนที่สุด

ดังที่ David W. Johnson (1997) กล่าวว่า

ถ้าท่านต้องการเพื่อน จงเป็นเพื่อนของผู้อื่น
ถ้าท่านต้องการความห่วงใย จงให้ความห่วงใยแก่ผู้อื่น
ถ้าท่านต้องการคำปลอบโยน จงให้คำปลอบโยนแก่ผู้อื่น

นอกจากนี้เมื่อโอกาสแห่งการสร้างมิตรภาพมาถึง สิ่งที่จะต้องมีอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะที่ใช้ในการสร้างและคงไว้ซึ่งมิตรภาพที่ยั่งยืนต่อไป

ทักษะในสร้างสัมพันธภาพ ที่จะกล่าวในที่นี้ ได้แก่ การเปิดเผยตนเองและไว้วางใจซึ่งกัน และการสื่อสารที่เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย ทักษะการฟัง ทักษะการทวนเนื้อหา ทักษะการสะท้อนความรู้สึก และทักษะการถาม

การเปิดเผยตนเอง (Self Disclosure)

การเปิดเผยตนเอง หมายถึง การเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ถึงความรู้สึก หรือปฏิกริยาที่ตนเองมีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การเปิดเผยตนเองไม่ได้หมายถึง การบอกถึงประวัติหรือเรื่องราวในอดีตของตนเอง แต่เรื่องราวในอดีตก็อาจจะช่วยให้บุคคลอื่นเข้าใจสาเหตุหรือที่มาของความรู้สึกที่เรามีต่อเหตุการณ์นั้นๆ

ประโยชน์ของการเปิดเผยตนเอง
การเปิดเผยตนเองมีผลดีต่อการสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคลหลายประการ คือ

ทำให้ผู้อื่นรู้จักเรามากขึ้น เพิ่มโอกาสที่ผู้อื่นจะชอบและเกิดความคุ้นเคยสนิทสนมมากขึ้น
ทำให้สามารถทำกิจกรรมที่เป็นเป้าหมายร่วมกัน สนใจร่วมกัน
เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของการรับรู้ของตนเองกับผู้อื่น
ช่วยในการจัดการกับความเครียดและความทุกข์
การเล่าหรือบอกความไม่สบายใจของตนเองกับผู้อื่น จะช่วยให้เจ้าตัวมองเห็นปัญหาของตนเองชัดขึ้นละนอกจากนี้ ความห่วงใย ปลอบโยน ช่วยหาทางออกของเพื่อนจะเป็นกำลังใจ ความอบอุ่นใจ ทำให้สัมพันธภาพของบุคคลทั้งสองเพิ่มความสนิมสนม และลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ความเหมาะสมของการเปิดเผยตนเอง

การเปิดเผยตนเองมากเกินไปหรือน้อยเกินไป มีผลทำให้สูญเสียสัมพันธภาพไปได้เช่นกัน การเปิดเผยตนเองที่มีผลทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีและยั่งยืนนั้น ต้องมีความเหมาะสมของการเปิดเผย ในโอกาสดังนี้

เมื่อมีการเปิดเผยตนเองของซึ่งกันและกัน เมื่อบุคคลหนึ่งเปิดเผยตนเอง ก็มีความคาหวังว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะเปิดเผยตนเองด้วย แต่ถ้าการเปิดเผยตนเองเกิดขึ้นฝ่ายเดียว ก็ควรจำกัดการเปิดเผยตนเองไว้ในขอบเขตหนึ่งเท่านั้น
การเปิดเผยตนเองควรเป็นเกี่ยวข้องกับเรื่องราวระหว่างบุคคลที่เป็นปัจจุบัน
ผลของการเปิดเผยตนเองขึ้นกับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งด้วย การเปิดเผยความรู้สึกของตนเองของฝ่ายหนึ่ง อาจกระทบกระเทือนอีกฝ่ายหนึ่งได้ ดังนั้นจึงควรพิจารณาทัศนคติในมุมมองของอีกฝ่ายหนึ่งที่มีต่อการเปิดเผยตนเองด้วย
การเปิดเผยตนเองควรเริ่มต้นจากระดับทั่วๆไปแล้วค่อยๆไปสู่การเปิดเผยตนเองในระดับที่ลึกหรือเป็นส่วนตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น อาจจะเริ่มต้นจากการพูดถึง งานอดิเรก กีฬาที่ชอบ เหตุการณ์ปัจจุบันที่สนใจ แล้วเมื่อมิตรภาพดำเนินไป มีความคุ้นเคยมากขึ้นแล้ว การเปิดเผยตนเองจะค่อยๆไปสู่เรื่องใกล้ตัวและเกี่ยวกับความรู้สึกที่ลึกซึ้งมากขึ้น เช่น การเปิดเผยตนเองเกี่ยวกับความกลัว ความรัก ซึ่งการเปิดเผยในสิ่งเหล่านี้เมื่อสัมพันธภาพมีความใกล้ชิดกันแล้ว ก็จะยิ่งเพิ่มความลึกซึ้งในสัมพันธภาพยิ่งขึ้น

ความไว้วางใจ (Trust) และความน่าไว้วางใจ (Trustworthy)

ความไว้วางใจ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลให้งอกงาม วิกฤตการณ์สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นในสัมพันธภาพ คือ ความไม่สามารถในการไว้วางใจซึ่งกันและกัน

ระดับความไว้วางใจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับการกระทำของบุคคลทั้งสองฝ่าย และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากแต่ทำลายได้ง่าย

ในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความไว้วางใจซึ่งกันและกันมีระดับที่เหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์ การไม่ไว้วางใจเลย และไว้วางใจในทุกโอกาส เป็นการไว้วางใจที่ไม่เหมาะสม

ความไว้วางใจเกิดขึ้น เมื่อบุคคลเต็มใจที่จะเสี่ยงต่อผลที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเผยตนเองเกี่ยวกับ ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติ และปฏิกิริยาที่เขามีต่อเหตุการณ์ต่างๆ

ความน่าไว้วางใจ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อบุคคลทำให้ผู้อื่นมั่นใจว่าเขาได้รับประโยชน์จากการเสี่ยงเปิดเผยตนเอง บุคคลที่จะได้รับความไว้วางใจ คือ บุคคลที่แสดงออกถึง การยอมรับ การช่วยเหลือสนับสนุน และให้ความร่วมมือกับผู้อื่น

การแสดงออกถึงการยอมรับ จะช่วยให้อีกผู้อื่นลดความรู้สึกกลัวและความกังวลต่อความอ่อนแอของเขาเอง และทำให้กล้าเปิดเผยตนเองมากขึ้น

การสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

ความไว้วางใจ เป็นสิ่งที่ก่อเกิดขึ้นจากลำดับขั้นตอนของการกระทำของทั้งสองฝ่าย ดังนี้

เมื่อบุคคลหนึ่งเสี่ยงที่จะเปิดเผยความคิด ความรู้สึก และปฏิกริยาต่ออีกบุคคลหนึ่ง
อีกฝ่ายหนึ่งตอบสนองด้วยการยอมรับ การช่วยเหลือสนับสนุน และให้ความร่วมมือต่อผู้ที่เปิดเผย และมีการเปิดเผยตนเองตอบ(ซึ่งกันและกัน )
การทำลายความไว้วางใจ

ความไม่ไว้วางใจ เกิดขึ้นได้ง่าย เพียงแต่บุคคลรู้สึกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหลอกลวงแม้แต่เพียงครั้งเดียว ความไว้วางใจต่อกันก็จะเปลี่ยนเป็นความไม่ไว้วางใจ ซึ่งความรู้สึกไม่ไว้วางใจนี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก เพราะบุคคลจะเกิดการรับรู้ว่าการหลอกลวงอาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

พฤติกรรมที่ทำให้ความรู้สึกไว้วางใจลดลง ได้แก่

การปฏิเสธ เยาะเย้ย เห็นเป็นเรื่องน่าขำ หรือตลก และไม่ให้เกียรติ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดเผยตนเอง
การไม่เปิดเผยตนเองตอบ เมื่อฝ่ายหนึ่งเปิดเผยตนเอง การที่ฝ่ายหนึ่งเปิดเผยตนเองแต่อีกฝ่ายหนึ่งปิดตนเอง จะทำให้ฝ่ายที่เปิดเผยตนเองเกิดความไม่ไว้วางใจและรู้สึกว่าตนเองเปิดเผยมากเกินไปและไม่มั่นใจที่จะเปิดเผยต่อไป
การปฏิเสธที่จะเปิดเผยเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก ของตนเอง เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งแสดงการยอมรับ เต็มใจที่จะช่วยเหลือและร่วมมือ การตอบสนองการยอมรับ ความเต็มใจที่จะช่วยเหลือและร่วมมือของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการปกปิดและระมัดระวังตัวที่จะเปิดเผย จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเชื่อถือและถูกปฏิเสธ
ความเหมาะสมของความไว้วางใจผู้อื่น

คำถามที่มักเกิดขึ้นในสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเสมอ คือ เราสามารถไว้วางใจทุกคนและในทุกสถานการณ์หรือไม่

ความไว้วางใจในผู้อื่นเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมตามบุคคลและสถานการณ์ การไว้วางใจที่ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้เกิดผลเสียขึ้นได้ แต่การไม่ไว้วางใจใครเลยก็เป็นความไม่เหมาะสมเช่นกัน

การพิจารณาความเหมาะสมของความไว้วางใจ สามารถพิจารณาได้จาก การเปรียบเทียบความมั่นใจในการเสี่ยงระหว่างการได้รับประโยชน์หรือ ผลดีจากการไว้วางใจและผลเสียที่อาจเกิดขึ้น

ทักษะการสื่อสารความเข้าใจ

ทักษะการสื่อสารความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถในการแสดงออกที่สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องชัดเจน ทำให้เกิดความเข้าใจต่อกัน และสานต่อเรื่องราวที่สื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ได้แก่ ทักษะการฟัง การทวนเนื้อความ การสะท้อนความรู้สึก และการถามคำถาม ในขณะเดียวกันผู้รับสารจะรับสารได้ถูกต้องตรงกับที่ผู้ส่งสารเจตนาจะสื่อ ผู้รับสารก็จะต้องคำนึงถึงปัจจัยบางประการด้วยเช่นกัน

สิ่งที่ผู้รับสารควรพิจารณาในการรับสาร
1. มุมมองของผู้ส่งสาร
2. ความหมายของสารในมุมมองหรือเจตนาของผู้ส่งสาร

ทักษะการฟัง (Listening skill)

การฟังเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างสัมพันะภาพระหว่างบุคคล การที่จะโต้ตอบกับคู่สนทนาหรือผู้ส่งสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ต้องเริ่มจากการฟังที่มีประสิทธิภาพก่อน

การฟังที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง การฟังที่สามารถเข้าใจถึงสาระสำคัญที่ผู้ส่งสารสื่อออกมาได้

สาระสำคัญที่ผู้ส่งสารสื่อออกมา สามารถสื่อได้ 2 ช่องทาง คือ

สื่อสารโดยการใช้วาจาหรือถ้อยคำ สารที่สื่อโดยผ่านถ้อยคำส่วนใหญ่จะเป็นสาระที่เป็นเนื้อหา ผู้ฟังจึงควรจับใจความของเนื้อหา ให้ได้ 5 ประเด็นหลัก คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร
สื่อสารโดยการผ่านทางน้ำเสียง สีหน้าและท่าทาง สารที่สื่อผ่านน้ำเสียง สีหน้าและท่าทางมักจะเป็น สารที่บ่งบอกถึงความรู้สึกของผู้ส่งสาร เช่น ความจริงจัง ความสนุกสนาน ดีใจ เสียใจ เป็นต้น
การที่จะจับสาระสำคัญจากผู้ส่งสารให้ได้ถูกต้อง จะต้องอาศัยสารที่ได้จากการฟังเนื้อหา และสารที่ได้จากการสังเกตน้ำเสียง สีหน้า และท่าทางประกอบกัน เพื่อจะได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของสารที่ผู้ส่งสารเจตนาจะสื่อ หรือหรือพยายามที่จะหลบซ่อน กลบเลื่อนด้วยการใช้ถ้อยคำที่ไม่ตรงกับใจ แต่มักปิดบังไม่ได้จากสีหน้าและท่าทาง

ดังนั้นทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยการใส่ใจ และการสังเกตในขณะเดียวกัน

การใส่ใจ (Attending)

การใส่ใจ หมายถึง การแสดงถึงความสนใจ การให้ความสำคัญ และให้เกียรติต่อคู่สนทนาหรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน

อุปสรรคของการสื่อสารความเข้าใจ

สิ่งที่เป็นอุปสรรคของการสื่อสารความเข้าใจ ที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน หรือเกิดความเข้าใจผิดต่อกันในการสื่อสารที่สำคัญ คือ การมีอคติหรือใช้ทัศนคติ ความเชื่อส่วนตัวเข้าไปตีความสาระสำคัญที่รับรู้จากการฟังหรือการเห็น เพราะอคติและทัศนคติส่วนตัวจะทำให้เกิดการเลือกรับรู้สารเพียงบางส่วน แทนที่จะรับรู้สารทั้งหมด แล้วตีความตามการรับรู้ที่เลือกแล้วของตน

การเลือกรับรู้เป็นอุปสรรคของการฟังและการตอบสนอง

ในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่นั้น มีความซับซ้อนของสารที่สื่อต่อกัน ทั้งที่เป็นสารที่สื่อในรูปของวาจาหรือการใช้ท่าทาง ผู้รับสารจึงมักเลือกรับรู้สารเพียงบางส่วน ของสารทั้งหมดที่ผู้ส่งสารสื่ออกมา ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับรู้ของบุคคล ได้แก่ ความคาดหวัง ความต้องการ ทัศนคติ และความเชื่อของผู้รับสาร ทำให้เกิดการเห็นหรือการได้ยินเป็นไปตามสิ่งที่ผู้รับสารคิดหรือคาดหวัง แทนที่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

การแก้ไขเพื่อลดการเกิดการเลือกรับรู้ในการสื่อสาร สามารถทำได้โดยการเข้าใจมุมมองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารนั้นๆ

การเข้าใจมุมมองของผู้อื่น

ข่าวสารหรือข้อความการสื่อสารเดียวกันอาจจะถูกตีความและเข้าใจแตกต่างกันไปตามมุมมองของผู้รับสาร การเข้าใจผิดต่อกันในการสื่อสารจึงมักจะเกิดขึ้น จากการที่ผู้ส่งสารก็มักจะคิดว่า ทุกคนจะมีมุมมองและคิดเข้าใจเช่นเดียวกันกับตน ทั้งที่ในสภาพการณ์ที่เป็นจริงแล้ว สารที่บุคคลแต่ละคนรับไปจะถูกตีความและให้ความหมายแตกต่างกัน ไปตามมุมมองของบุคคลนั้นๆ

ดังนั้นในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึง ผู้สื่อและผู้รับสามารถสื่อและรับสารตรงกันผู้สื่อสารและผู้รับสาร จะต้องคำนึงถึงปัจจัยบางประการ

สิ่งที่ผู้สื่อจึงควรพิจารณาถึงในการส่งสาร

มุมมองของผู้รับสาร
ข้อมูลพื้นฐานหรือข้อมูลเก่า เกี่ยวกับสิ่งที่จะสื่อที่ผู้รับสารมีอยู่ก่อนแล้ว
สิ่งที่ผู้รับสารสนใจและต้องการทราบเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อ
บุคคลจะรับรู้ความใส่ใจของอีกฝ่ายหนึ่งได้ 2 ทาง คือ

ภาษาท่าทาง ได้แก่ การสบตา การพยักหน้า และการโน้มตัวเข้าหาผู้พูดในระยะห่างที่พอเหมาะ
ภาษาพูด ได้แก่ การตอบรับ (ค่ะ ครับ) การทวนเนื้อความ การสะท้อนความรู้สึก และการถามคำถาม

การทวนเนื้อความ (Restatement)

การทวนเนื้อความ เป็นการพูดทบทวนในเนื้อหาที่เราฟังจากคู่สนทนา ซึ่งต้องอาศัยความรอบคอบในการพูดทวนเนื้อความให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการแสดงให้คู่สนทนารู้ว่า เราสนใจและเข้าใจในสิ่งที่คู่สนทนาพูด และยังเป็นการตรวจสอบความเข้าใจในสิ่งที่สนทนากัน ซึ่งหากมีการเข้าใจผิด การพูดทวนเนื้อความยังเป็นโอกาสของการอธิบายเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง: “เพื่อนๆ ชอบพูดล้อเล่นเรื่องรูปร่างของฉัน ฉันไม่ชอบเลยนะ ที่เอาเรื่องอ้วนๆ ของฉันมาเป็นเรื่องตลก”

การทวนเนื้อความ: “เธอไม่ชอบที่เพื่อนเอาเรื่องรูปร่างของเธอมาล้อเล่น”

การสะท้อนความรู้สึก

การสะท้อนความรู้สึก เป็นการจับความรู้สึกของคู่สนทนาจากการสนทนา ซึ่งอาจเข้าใจได้จากเนื้อหาที่สนทนา และการสังเกตสีหน้า กริยาท่าทาง และน้ำเสียงของคู่สนทนา

การสะท้อนความรู้สึก เป็นการแสดงให้คู่สนทนารู้ว่า เราเข้าใจเขาในความรู้สึกของเขา ซึ่งเป็นความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้งกว่าเนื้อความที่เขาสนทนาโดยตรง

ตัวอย่าง: “ถ้าเพียงแต่แม่บอกตรงๆ ว่า ไม่อยากให้ฉันซื้อของชิ้นนี้ตั้งแต่แรก ฉันก็คงไม่ต้องสู้อุตส่าห์เก็บเงินและตั้งความหวังไว้มากอย่างนี้”

การสะท้อนความรู้สึก: “เธอผิดหวังมาก เมื่อแม่บอกไม่ให้ซื้อ”

การถามคำถาม

การถามคำถาม เป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้คู่สนทนาได้บอกถึงเรื่องราว ความคิด และความรู้สึกต่างๆ

คำถาม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

คำถามปิด เป็นคำถามที่ถามเพื่อให้ผู้ตอบเลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ตอบว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ ตอบว่า ถูก หรือ ผิด มีลักษณะเป็นการซักถามที่ได้คำตอบเพียงสั้นๆ
คำถามเปิด เป็นคำถามที่ไม่ได้กำหนดขอบเขตของการตอบ ผู้ตอบมีโอกาสพูดถึงความคิด ความรู้สึกและสิ่งต่างๆตามความต้องการของตน ซึ่งผู้พูดจะพูดได้เต็มที่และสะดวกใจ เช่นคำถามอะไร และอย่างไร
ในการสนทนาที่เปิดโอกาสให้ผู้พูดได้เปิดเผยในสิ่งที่เต็มใจและต้องการจะเปิดเผย และไม่เปิดเผยในสิ่งที่ไม่พร้อมที่จะเปิดเผยนั้น การใช้คำถามเปิดจึงเหมาะสมกว่าการใช้คำถามปิด ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้ผู้ตอบรู้สึกเหมือนถูกซักไซ้และบังคับให้ตอบในสิ่งที่ไม่อยากพูดถึงได้

ตัวอย่าง: คำถามปิด- คุณคิดว่า สมพลเป็นคนไม่จริงใจใช่ไหม
คำถามเปิด- คุณคิดอย่างไรกับการกระทำของสมพล

สรุป

การมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ พัฒนาทางการสังคมและความคิดความเข้าใจของบุคคล พัฒนาขึ้นจากการมีสัมพันธภาพ กับผู้อื่น เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การค้นพบความหมายของชีวิต สุขภาพทางกายและสุขภาพจิต ล้วนได้รับผลกระทบจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล บุคคลที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะรู้สึกว่าชีวิตมีค่า มีความหมาย และสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกว่าชีวิตอ้างว้างโดดเดี่ยว ไร้ความหมาย และนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น

การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารความเข้าใจ การยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน

การเปิดเผบตนเอง และการไว้วางใจซี่งกันและกันที่เหมาะสม เป็นทักษะที่ทำให้การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้เริ่มต้นขึ้นและมีการดำเนินต่อไป การเปิดเผยตนเองและการไว้วางใจซึ่งกันและกันที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสัมพันธภาพได้

การสื่อสารความเข้าใจ เป็นทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจต่อกันของบุคคล ได้แก่ การฟัง การถาม การทวนเนื้อความ และการสะท้อนความรู้สึก

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล จะช่วยให้สัมพันธภาพได้มีโอกาสเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป เป็นสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นลึกซึ้งยิ่งขึ้น และคงไว้ซึ่งสัมพันะภาพที่ดีต่อกันได้ ด้วยบรรยากาศของความเชื่อใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจต่อกัน

บรรณานุกรม

จีน แบรี่. คู่มือการฝึกทักษะให้การปรึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2538.

Carkhuff, Robert r., et al. The Art of Helping. Second ed. Massachusetts :Human Resource
Development Press, 1978.

Dillon, J.T. The Practice of Questioning. London: Routledge,1990.

Gamble, Teri Kwal and Gamble, Michael. Communication Work. Third ed.
New York: McGraw-Hill, Inc.,1990.

Johnson, David W. Reaching Out : Interpersonal Effectiveness and Self-Actualization.
Sixth ed. Boston: Allyn and Bacon, 1997.

โดย : ดร.เอมอร กฤษณะรังสรรค์

[Update] RELATIONAL MINDSET: ความสัมพันธ์ครูกับศิษย์ในฐานะมนุษย์ เพราะสัมพันธ์ที่ดีมีผลต่อการเรียนรู้ | ความ สัมพันธ์ ที่ ดี – NATAVIGUIDES

  • การที่นักเรียนรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่ รับฟัง ความเห็นอกเห็นใจจากครู นักเรียนจะรู้สึกอบอุ่นและมีกำลังใจที่จะเรียน
  • บันทึกที่ 1 ของชุดความคิดว่าด้วยความสัมพันธ์กับศิษย์ (relational mindset) จะพูดถึงวิธีการแสดงออกถึงความใส่ใจของครูที่มีต่อนักเรียน เช่น การจำชื่อ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  • ปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียนช่วยยกระดับการเรียนรู้ ทั้งระหว่างนักเรียนกับครู และระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ครูต้องมีวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวก เพื่อสร้างความคุ้นเคย ความเคารพนับถือ และความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันและกัน

บทความนี้มาจากหนังสือสอนเข้มเพื่อศิษย์ขาดแคลน ซึ่งได้รับความกรุณาจากผู้เขียนทั้งสองท่านให้นำมาเผยแพร่ ซึ่งเป็นบทความที่ตีความจากหนังสือ ‘Poor Students, Rich Teaching: Seven High-Impact Mindsets for Students from Poverty’ (Revised Edition, 2019) เขียนโดย อีริค เจนเซน (Eric Jensen) โดยผู้เขียนตีความให้เหมาะกับบริบทประเทศไทย พร้อมทั้งเรื่องเล่าจากห้องเรียนในประเทศไทยที่นำสาระของบทความนี้ไปใช้

บันทึกนี้เป็นบันทึกแรกใน 3 บันทึก ภายใต้ชุดความคิดว่าด้วยความสัมพันธ์กับศิษย์ (relational mindset) ตีความจากบทนำของ Part One: Why Relational Mindset? และ Chapter 1: Personalize the Learning เขียนโดย อีริค เจนเซน (Eric Jensen) ผู้ที่ในวัยเด็กมีประสบการณ์การเป็นเด็กขาดแคลนอย่างรุนแรง และมีปัญหาการเรียนและเคยเป็นครูมาก่อน เวลานี้เป็นวิทยากรพัฒนาครู

ในสภาพที่นักเรียนรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่ รับฟัง เห็นอกเห็นใจจากครู นักเรียนจะรู้สึกอบอุ่นและมีกำลังใจที่จะเรียน ยิ่งกว่านั้นในหลักการของ relational mindset ครูมีความเชื่อว่า ชีวิตของคนเรามีความเชื่อมโยงถึงกัน ครูจะมีปฏิสัมพันธ์กับศิษย์ในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นปฐม ส่วนความสัมพันธ์ในฐานะครูกับศิษย์เป็นที่สอง

สรุปอย่างสั้นที่สุดของบันทึกนี้ คือ ครูต้องเอาใจใส่ชีวิตความเป็นอยู่ของศิษย์ในทุกด้านทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เอาใจใส่ศิษย์เป็นรายคน แสดงความรักความเอาใจใส่ให้ศิษย์รู้สึก

ข้อมูลหลักฐานที่บอกว่าปฏิสัมพันธ์ที่ดี ช่วยการเรียนรู้ของศิษย์

หนังสือเล่มนี้ทบทวนผลงานวิจัยจากหลายแหล่งและสรุปว่า เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยสามารถมีปฏิสัมพันธ์ห่างออกไปจากตัวได้ถึง 6 ชั้น นักเรียนมีความต้องการใกล้ชิดสนิทสนมกับครูเพื่อให้ช่วยตีความประสบการณ์ส่วนตัวของนักเรียนเข้ากับบทเรียน และเพื่อนำมาอภิปรายแลกเปลี่ยน รวมทั้งร่วมกิจกรรมการทำงานเป็นทีม

ความสัมพันธ์ที่ดีกับครูจะช่วยการเรียนรู้ของนักเรียน ผลงานวิจัยชี้ชัดว่า นักเรียนจากครอบครัวยากจนขาดแคลนหรือไม่มั่นคง ต้องการความสัมพันธ์นี้มากกว่านักเรียนจากครอบครัวที่ฐานะและสภาพสังคมดี โดยที่ effect size* ของปฏิสัมพันธ์ที่ดีของครูต่อนักเรียน ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เท่ากับ 0.72 สำหรับนักเรียนทั้งหมด ตัวเลขนี้ของนักเรียนชั้นมัธยมสูงถึง 0.87 และมีหลักฐานจากงานวิจัยว่า เมื่อครูสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีอย่างได้ผล นักเรียนจากครอบครัวรายได้ตํ่า มีผลการเรียนรู้เท่าเทียมกันกับนักเรียนกลุ่มรายได้สูง

ผลงานวิจัยบอกว่าปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียน ช่วยเพิ่มความเอาใจใส่การเรียนของนักเรียนจากหลายกลไก ได้แก่

  1. ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างศิษย์กับครู
  2. ปฏิสัมพันธ์เชิงบวกนี้ช่วยให้นักเรียนรู้สึกปลอดภัยในชั้นเรียน ซึ่งจะเพิ่มการแสดงบทบาทในชั้นเรียน
  3. ช่วยให้นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น ผ่านปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆ และครู

ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าระดับปฏิสัมพันธ์เชิงบวกหรือลบในชั้นเรียนนี้ใช้ทำนายได้ว่านักเรียนแต่ละคนมีโอกาสสูงตํ่าแค่ไหนในการออกจากการเรียนกลางคัน มีความแม่นยำพอๆ กันกับระดับไอคิว และพอๆ กันกับระดับผลการเรียน

จำชื่อศิษย์และเรียกชื่อ

ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนเริ่มจากการรู้จักชื่อ ครูต้องจำชื่อศิษย์และรู้จักศิษย์เป็นรายคน เมื่อครูเรียกชื่อศิษย์ต้องยิ้มให้และมองตา วิธีช่วยให้จำหน้าและชื่อศิษย์ได้มีหลากหลายวิธี เช่น

  • แนะนำตัว ในช่วงต้นของปีการศึกษา ให้นักเรียนแนะนำชื่อของตนเองทุกครั้งที่พูด หากมีนักเรียนในชั้น 30 คน การแนะนำตัวนี้ทำใน 30 วันแรกของชั้นเรียน หากมีนักเรียน 20 คน ก็ให้แนะนำตัวใน 20 วันแรก
  • ป้ายชื่อประจำโต๊ะ ให้นักเรียนทำป้ายชื่อตนเองวางบนโต๊ะ โดยทำจากกระดาษดัชนี (index card) พับสองตามยาว มีกล่องใส่ป้ายชื่อให้นักเรียนไปหยิบมาตั้งที่โต๊ะทุกเช้า และเก็บในตอนเย็น หลัง 2 สัปดาห์ครูซ้อมเอาป้ายชื่อไปวางที่โต๊ะนักเรียนเอง
  • ทดสอบตนเอง เมื่อนักเรียนเข้ามาในห้อง ขานชื่อนักเรียน บอกนักเรียนว่า นักเรียนแต่ละคนจะเข้าห้องได้เมื่อครูขานชื่ออย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น การขานชื่อต้องทำพร้อมกับยิ้มและสบตา ‘สมชาย ครูดีใจที่พบเธอวันนี้’
  • ขานชื่อเมื่อคืนกระดาษคำตอบ ‘สมศรี หนูเขียนตัวสะกดการันต์ถูกทั้งหมด’
  • สัมภาษณ์ จับคู่นักเรียน ให้ใช้เวลา 2-3 นาที สัมภาษณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อค้นหาสิ่งที่ไม่คาดคิด แล้วให้แนะนำเพื่อนต่อชั้นเรียน โดยใช้เวลาแนะนำคู่ละ 1 นาที

ปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียนช่วยยกระดับการเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์นี้มีทั้งระหว่างนักเรียนกับครู และระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ครูต้องมีวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวก เพื่อสร้างความคุ้นเคย ความเคารพนับถือ และความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันและกัน แนะนำให้นักเรียนเรียกชื่อเพื่อน แนะนำต่อนักเรียนว่า เมื่อมีกิจกรรมจับคู่ในชั้นเรียน ให้แนะนำชื่อตนเองโดยสบตาเพื่อน แล้วกล่าวคำทักทาย และจับมือ

สร้าง “กระเป๋าตัวฉัน”

นี่คือเครื่องมือให้นักเรียนรู้จักครู ในหลากหลายแง่มุมของชีวิต และนำไปสะท้อนคิดเชื่อมโยงกับชีวิตของตนเอง ทำโดยครูหาสิ่งของพื้นๆ เช่น กากตั๋ว ภาพถ่าย ใบเสร็จ กุญแจ บันทึก และอื่นๆ ที่บอกเรื่องราวของตัวครู ใส่ในถุงผ้าหรือถุงกระดาษ เอามาใช้เวลา 7-10 นาที เล่าเรื่องของตนเอง

เมื่อนักเรียนที่มีชีวิตยากลำบากได้ฟังประสบการณ์ความยากลำบากของคนอื่น ก็จะใจชื้นว่าตนไม่ใช่คนเดียวที่ต้องเผชิญความยากลำบาก การแชร์เรื่องราวชีวิตส่วนตัวช่วยทะลายกำแพงกั้นระหว่างบุคคล สิ่งที่ครูแชร์ต้องเป็นเรื่องจริง นักเรียนต้องการครูที่ซื่อสัตย์ และจริงใจ

แลกเปลี่ยนปัญหาประจำวัน

นี่คือกระบวนการไปสู่การทำหน้าที่แบบอย่าง (role model) ให้แก่นักเรียน เด็กๆ ต้องการคนที่ตนนับถือและเชื่อถือ นำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

ครูควรแชร์ประสบการณ์ชีวิตของตนสั้นๆ ราวๆ 3 นาที สัปดาห์ละครั้ง ตามด้วยการให้นักเรียนสะท้อนคิดว่ามันสะท้อนภาพชีวิตของผู้ใหญ่อย่างไร หากเป็นตัวนักเรียนเองจะเผชิญสภาพเช่นนั้นอย่างไร หากเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงสู่บทเรียนของชั้นเรียนได้ยิ่งดี

กิจกรรมนี้จะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ 3 ประการ สำหรับนักเรียน หนึ่ง – ชีวิตของคนเราย่อมต้องมีปัญหา เล็กบ้างใหญ่บ้าง สอง – ไม่ว่าปัญหาใหญ่แต่ไหน ย่อมแก้ไขได้เสมอขึ้นอยู่กับวิธีการแก้ปัญหา สาม – ในกระบวนการเล่าวิธีแก้ปัญหาของครู ครูได้แชร์ค่านิยม เจตคติ และวิธีการบรรลุความสำเร็จ

แลกเปลี่ยนเป้าหมายและความก้าวหน้า

การแลกเปลี่ยนเป้าหมายชีวิต เป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างครูกับศิษย์ ครูจำนวนมากพยายามแยกความสัมพันธ์กับศิษย์ ในฐานะครู-ศิษย์ ออกจากความสัมพันธ์แบบมนุษย์-มนุษย์ แต่นักเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนจากครอบครัวที่ขาดแคลนชอบเรื่องราวของเป้าหมาย การที่ครูแชร์เป้าหมายชีวิตของตนจึงเป็นวิธีการที่ทรงพลังมากในการพัฒนาชุดความคิดเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน (relational mindset) ทั้งของครูและของศิษย์

แนะนำให้ครูเขียนเป้าหมายชีวิตส่วนตัวของตนและติดประกาศไว้ในชั้นเรียนโดยที่นักเรียนทุกคนก็ทำเช่นเดียวกัน ครูแชร์ความก้าวหน้าสู่เป้าหมายนั้นอย่างสมํ่าเสมอทั้งปี หรือทั้งเทอม และในขณะเดียวกันครูก็ติดประกาศเป้าหมายของชั้นเรียนด้วย

ตัวอย่างของเป้าหมาย ได้แก่

  • เข้าร่วมโครงการของชุมชน
  • เริ่มกินอาหารถูกสุขลักษณะ และออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
  • ดำเนินการให้ครบตามรายการพัฒนาการสอน
  • วิ่งออกกำลังให้ได้ ๕ กิโลเมตร
  • ให้คำแนะนำ (mentoring)
  • ทำสวน
  • ฝึกเล่นกีฬา
  • ช่วยเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของโรงเรียน

เมื่อเวลาผ่านไป ครูแชร์เรื่องราวความสำเร็จตามเป้าหมายรายทาง เฉลิมฉลองความสำเร็จและแชร์วิธีดำเนินการสู่ความสำเร็จนั้น เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักว่า ไม่ว่าจะทำอะไรย่อมมีปัญหาหรืออุปสรรคเสมอ คนเราต้องมุ่งมั่นเผชิญปัญหาและหาทางเอาชนะเพื่อบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ กิจกรรมนี้จะเป็นตัวอย่างให้นักเรียนเห็นว่า ครูก็กำลังเรียนรู้และเติบโตเช่นเดียวกันกับนักเรียน

อ่านบทความตอนที่ 2 ได้ที่นี่

*ขนาดของผล (effect size) หมายถึง ขนาดของผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรต้นต่อตัวแปรตาม ที่ได้มาจากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ หรือเชิงความสัมพันธ์ ใช้ศึกษาเปรียบเทียบผลของการสอนรูปแบบใหม่ หรือวิธีการใหม่ หรือตามแนวคิดใหม่ว่าได้ผลดีกว่าวิธีการเดิม หรือแนวคิดเดิมหรือไม่ โดยการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบโดยใช้ Cohen’s standard พบว่าค่าที่ให้ผลมาก คือ มากกว่า 0.5 ขึ้นไป (สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2553). ขนาดของผล: ความมีนัยสำคัญทางปฏิบัติในการวิจัย. ภาษาปริทัศน์ สถาบันภาษา

อ้างอิง:
หนังสือสอนเข้มเพื่อศิษย์ขาดแคลน จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และกองทุนจิตตปัญญาเพื่อครูเพลินพัฒนา


วิธีออกจาก…ความสัมพันธ์เป็นพิษ


สนใจปรึกษาปัญหาด้านความรัก
ทักมาได้ที่ลิ๊งค์นี้👇🏻
https://lin.ee/tjspYmo

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

วิธีออกจาก...ความสัมพันธ์เป็นพิษ

#random ❤️ #สุดท้ายแล้วความสัมพันธ์ของคุณและเค้าจะจบลงแบบไหน👩‍❤️‍👨💕💐


🔮สนใจดูดวงส่วนตัว🔮
แอด LINE ID ➡️ lida_tarot
https://line.me/ti/p/IpNTUi_L3r
📌ติดต่อดูดวงผ่านLINEช่องทางเดียวเท่านั้นนะคะ กอล์ฟไม่มีแอดมินกลัวตอบลูกดวงไม่ครบค่ะ หากล่าช้าผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้าด้วยค่ะ🙏😍
(รับดูดวงแบบพิมพ์ข้อความหรือคลิปเสียงและส่งรูปหน้าไพ่เท่านั้นนะคะ)
📌แพ็คเกจดูดวง
1 คำถาม 89
3 คำถาม 199
5 คำถาม 299
10 คำถาม 499
พื้นดวงทั่วไป+(5 คำถามที่อยากรู้) 599
ธ.กสิกรไทย
เลขบัญชี 0928149811
น.ส. ภีรดา กรพิพัฒน์
📌ตัดสินใจและอ่านทำความเข้าใจก่อนโอนเงินทุกครั้งให้แน่ชัดนะคะขอบคุณมากค่ะ🙏☺️
📌ไม่รับดูดวงเรื่องผิดกฏหมายและผิดศีลธรรมทุกกรณีค่ะ
🌻ขั้นตอนการจองคิวนะคะ🌻
1️⃣ แอดไลน์ไอดี lida_tarot
2️⃣ ทักแชทจองคิวดูดวงแจ้งแพ็คเกจ
3️⃣ ส่งชื่อนามสกุล+วดป.เกิด หรือชื่อนามสกุล+รูปถ่าย เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่สะดวก
4️⃣ รอนัดคิวค่อยส่งหลักฐานสลิปการโอนเงินตามแพ็คเกจที่จองไว้และรอคอนเฟิร์มยอด
5️⃣ ตั้งคำถาม1หัวข้อ1คำถามในครั้งเดียวให้ครบทุกคำถามเป็นหัวข้อหลัก(ไม่ซอยปลีกย่อยใน1หัวข้อนะคะ)
6️⃣ รอรับคำทำนายตามคิวภายใน15วัน (ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสถานการณ์ลูกดวงมากหรือน้อยนะคะ)
📌หมายเหตุ!! เปิดใจและปล่อยวางใจให้เป็นกลางไม่คาดหวังคำตอบไว้ก่อนเพื่อความแม่นยำที่มากขึ้น
📌รบกวนไม่เร่งไม่กดดันนะคะจะรีบตอบตามคิวให้ทุกท่านค่ะ ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนนะคะ🙏🥰❤️
🔮การทำนายดวงจะใช้พลังงานจากศาสตร์ไพ่ทาโรต์และเซ้นท์จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ครูบาอาจารย์เป็นหลักนะคะ
กอล์ฟไม่ใช่หมอเรียนฉะนั้นการเปิดไพ่และการอ่านทำนายจะเป็นในรูปแบบของกอล์ฟค่ะ จะมีการขึ้นพานครูขอบารมีทุกครั้งในการทำนายดวง รวมถึงยินดีที่จะรับฟังปัญหาปรึกษาและช่วยหาทางออกไม่มากก็น้อยให้กับลูกดวงทุกท่านด้วยความจริงใจและเต็มใจเสมือนญาติมิตรค่ะ..
🔮ดวงเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในชีวิต แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดและส่งผลกับชีวิตคุณมากไปกว่าดวงคือการกระทำความคิดของตัวคุณเองเท่านั้นค่ะ..ดูดวงเพื่อหาทางออกและแนวทางแก้ไขไม่ดูเพื่องมงายนะคะใช้วิจารณญาณในการดูดวงค่ะ☺️

#random ❤️ #สุดท้ายแล้วความสัมพันธ์ของคุณและเค้าจะจบลงแบบไหน👩‍❤️‍👨💕💐

4เคล็ดลับในการรักษาความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น


4เคล็ดลับในการรักษาความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น
จาก ดร.เอ๋ กุลวดี ทองไพบูลย์
ปรึกษาปัญหาความรัก ทักอินบ็อกได้เลยนะครับ

4เคล็ดลับในการรักษาความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น

5 เหตุผลที่เรา…ยังทนกับความสัมพันธ์แย่ๆ | Chong Charis


คุณเคยสงสัยไหมครับว่า….ทำไมเราถึงต้องทนกับความสัมพันธ์แบบนี้
ทั้งๆที่เราก็รู้ว่ามันแย่ คนรอบตัวเราก็รู้ว่ามันแย่
แต่ทำไม เราถึงยังออกไปจากความสัมพันธ์นี้ไม่ได้สักที
วันนี้ผมจะมาบอก 5 เหตุผลที่คนเรา…ยังทนอยู่กับความสัมพันธ์แย่ๆ
มีอะไรบ้าง มาดูกันได้เลยครับ
► สามารถติดตามฌองได้ที่..
• 📷 INSTAGRAM ‣ https://www.instagram.com/chong.napat/?hl=th
• 🔵 FACEBOOK ‣ https://www.facebook.com/chongcharisofficial
• 🔴 YOUTUBE ‣ http://www.youtube.com/c/ChongCharis

5 เหตุผลที่เรา...ยังทนกับความสัมพันธ์แย่ๆ | Chong Charis

ฝ่าบาทเมาหนักจำผิดคน เห็นซูหรงเฟยเป็นจื่อจาน โดนผลักตกน้ำพร้อมกัน | ไข่มุกเคียงบัลลังก์ EP13 | WeTV


ดูครบทุกตอนที่👉🏻http://bit.ly/NovolandPearlEclipse
อัพตอนใหม่:ทุกวันพ.อา. 19.00 น. 2ตอน VIP ดูมากกว่า6ตอน
เริ่ม 10 พฤศจิกายนเป็นต้นไป

ติดตามและช้อปสินค้าได้ที่ 👉🏻WeTV Store: https://wetvstore.com/
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น WeTV ที่ http://bit.ly/37Ksx4O
นักแสดง: หยางมี่ เฉินเหว่ยถิง สวีไคเฉิ่ง เฉินเสี่ยวอวิ๋น หวังเซิน หยวนอวี่เซวียน
บนแผ่นดินจิ่วโจวอันกว้างใหญ่ ราชวงศ์เจิงได้พยายามตามหาไข่มุกวิเศษที่มาจากน้ำตาของเงือก จนเป็นเหตุทำให้เกิดการสังหารหมู่ขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไห่ซื่อ เด็กสาวที่อาศัยในหมู่บ้านชาวประมงติดริมทะเลต้องสูญเสียพ่อแม่ไป ในขณะที่ไห่ซื่ออยู่ในช่วงวิกฤตของชีวิต เธอได้รับความช่วยเหลือจากฟางจู ผู้มีอำนาจบารมีแห่งต้าเจิง ไห่ซื่อต้องแต่งตัวเป็นชายและกลายเป็นลูกศิษย์ของฟางจู เวลานี้เอง จูจงซวี่จักรพรรดิหนุ่มแห่งต้าเจิง กำลังหมดอาลัยตายอยากเนื่องจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในราชสำนัก ไห่ซื่อถูกสั่งให้เป็นทหารคุ้มกันจักรพรรดิจูจงซวี่ แต่กลับทำให้จูจงซวี่สนใจในตัวเธอขึ้นมา และค่อย ๆ เกิดความรู้สึกดี ๆ กับไห่ซื่อ แต่ตัวไห่ซื่อเองกลับมีความรู้สึกบางอย่างที่ยากเกิดจะอธิบายกับฟางจู และนี่เป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่วับซ้อนระหว่างพวกเขาทั้งสามคน ความวุ่นวายในราชสำนักจะเป็นอุปสรรคต่อความรักของพวกเขาหรือไม่ สุดท้ายแล้วรักสามเส้านี้จะลงเอยเช่นไร โปรดรอติดตาม
อัพเดทข่าวสารจาก WeTV Thailand ได้ที่
Facebook : WeTV Thailand l https://www.facebook.com/wetvthailand/
Twitter : @WeTVThailand l https://twitter.com/WeTVThailand
Instagram : @wetvthailand l https://www.instagram.com/wetvthailand/
YouTube : WeTV Thailand
★Subscribe Now★
☞ 腾讯视频: http://bit.ly/wetvnew
☞ 腾讯视频热播综艺: https://bit.ly/wetvshow
☞ 腾讯视频华语经典剧场: https://bit.ly/wetvdrama
☞ 腾讯视频青春剧场:https://bit.ly/wetvromance
☞ 腾讯视频古装剧场:https://bit.ly/wetvcostume
☞ 腾讯视频悬疑剧场:https://bit.ly/wetvsuspense
☞ 腾讯视频OST精选:https://bit.ly/wetvost
☞ 企鹅大影院:https://bit.ly/wetvmovie
☞ 创造营 CHUANG2021: http://bit.ly/CHUANG2021
☞ WeTV 台灣: http://bit.ly/wetvtw
☞ WeTV Thailand: http://bit.ly/wetvthaisub
☞ WeTV Indonesia: http://bit.ly/wetvinsub
☞ WeTV Vietnam: http://bit.ly/wetvvisub
☞ WeTV English: http://bit.ly/wetveng
☞ WeTV Arabic: http://bit.ly/wetvarab
☞ WeTV Spanish: http://bit.ly/wetvesp
☞ WeTV Korea: http://bit.ly/wetvkr
☞ WeTV Turkish: https://bit.ly/wetvtur
☞ WeTV Russian: https://bit.ly/wetvrus
☞ WeTV Portuguese: https://bit.ly/wetvptbr
☞ 腾讯视频 动漫: http://bit.ly/wetvanime
☞ WeTV Malaysia: https://bit.ly/wetvmas
WeTVth
WeTVซีรีส์จีน
NovolandPearlEclips
ไข่มุกเคียงบัลลังก์

ฝ่าบาทเมาหนักจำผิดคน เห็นซูหรงเฟยเป็นจื่อจาน โดนผลักตกน้ำพร้อมกัน | ไข่มุกเคียงบัลลังก์ EP13 | WeTV

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ความ สัมพันธ์ ที่ ดี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *