Skip to content
Home » [NEW] QWERTY คืออะไร ? ทำไมคีย์บอร์ดจึงไม่เรียงตามตัวอักษร ABC | ตอนเมียไม่มีทําไมไม่เจอ – NATAVIGUIDES

[NEW] QWERTY คืออะไร ? ทำไมคีย์บอร์ดจึงไม่เรียงตามตัวอักษร ABC | ตอนเมียไม่มีทําไมไม่เจอ – NATAVIGUIDES

ตอนเมียไม่มีทําไมไม่เจอ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่าทำไมในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะทำงานทั่วไป เล่นเกม หรือพิมพ์โต้ตอบในโลกออนไลน์ ถึงต้องใช้คีย์บอร์ดที่วางตำแหน่งแบบกระจัดกระจาย ไม่เรียงตามตัวอักษรให้หาเจอได้ง่าย ๆ ตั้งแต่แรก

ทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ หรืออุปกรณ์ใด ๆ ก็ล้วนแต่เป็นคีย์บอร์ดแบบนี้อยู่แทบทั้งสิ้น ซึ่งจุดที่สังเกตได้ง่ายเลยก็คือปุ่มตรงแถวบนจะถูกจัดเรียง 6 ตัวอักษรแรกเป็นข้อความว่า “QWERTY” อันกลายมาเป็นชื่อเรียกของ Layout ที่เราต่างคุ้นเคย

แล้ว QWERTY มันเป็นมาอย่างไร ? อะไรกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังของการออกแบบ เชิญพบกับคำตอบได้เลยจากบทความนี้

กว่าจะมาเป็น QWERTY

ต้องย้อนกลับไปไกลถึงช่วงคริสต์ศักราช 1700 ถึงช่วงต้น ๆ 1800 ที่โลกเราในตอนนั้นอยู่ในยุคที่เริ่มมีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดมาใช้กันหลายรุ่น และยังคงเรียงปุ่มตามตัวอักษร ABC อยู่ ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วก็พบว่ามันไม่ได้สะดวกสบายนัก เพราะหากใครที่ใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดจนคล่อง ก็จะพบกับปัญหาที่ตัวก้านพิมพ์จะเกิดอาการขัดกันเองอยู่บ่อย ๆ

ด้วยเหตุนี้เอง เครื่องพิมพ์ดีดสมัยใหม่ตัวแรกที่จะมาแก้ไขปัญหา จึงถือกำเนิดขึ้นโดย Christopher Latham Sholes วิศวกรเครื่องกลชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งมาพร้อมกับการเรียงตัวอักษรแบบใหม่ คือ QWERTY นั่นเอง โดยถูกออกแบบมาด้วยหลักการที่ว่า

คีย์บอร์ดรุ่นแรกที่ Sholes เป็นคนออกแบบ จะมีลักษณะการวางปุ่มในรูปแบบนี้

ในช่วงที่เครื่องพิมพ์ดีดของ Sholes ถูกเปิดตัวออกมานั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนกระทั่งเขาขายสิทธิบัตรนี้ให้กับบริษัท Remington เพื่อนำไปผลิตเครื่องพิมพ์ดีดต่อในปี ค.ศ. 1973 ซึ่งนับตั้งแต่นั้นเอง ความนิยมของเครื่องพิมพ์ดีดแบบ QWERTY ก็พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก

ซึ่ง Remington ก็มาปรับปรุงการวางคีย์ของ Sholes ใหม่อีกทอดหนึ่ง และ QWERTY ของ Remington นี้เอง ก็กลายมาเป็นรากฐานของปุ่มคีย์บอร์ดแบบที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน

ส่วนต่างที่สำคัญที่สุดในตอนนั้น ก็คือ QWERTY ของ Sholes จะมีการตัดตัวเลข 1 และ 0 ออกไปเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเหตุผลในตอนนั้นคือเลข 1 และ 0 สามารถใช้การตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ของ I และ O แทนได้

ซึ่งตัว Sholes นั้น ถึงแม้ว่าจะขายสิทธิบัตรคีย์บอร์ด QWERTY ให้กับ Remington ไปแล้ว แต่เขาเองก็เชื่อว่าการวางปุ่มดังกล่าวไม่ได้สมบูรณ์แบบที่สุด และตลอดชีวิตของเขาก็พัฒนาวิธีวางปุ่มออกมาอีกหลายรูปแบบ แต่ก็ไม่มีอันไหนที่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้างอีกจนกระทั่ง Sholes เสียชีวิตไป

การออกแบบที่คำนึงถึงการยศาสตร์

ไม่เพียงแต่จะแก้ไขปัญหาเรื่องแป้นพิมพ์ขัดซ้อนกัน แต่ Sholes ยังชี้ให้เห็นว่าการจัดวางแบบ QWERTY นั้นจะทำให้ผู้ใช้สามารถเคลื่อนนิ้วไปได้ในระยะที่สั้นที่สุด ลดอาการปวดนิ้วมือจากการพิมพ์ และยังผลให้สามารถพิมพ์ได้อย่างรวดเร็วมากที่สุดด้วย และนี่ก็เป็นคำตอบว่าทำไมแป้นพิมพ์ของเขาจึงไม่เรียงตามตัวอักษร ABC นั่นเอง

อย่างไรก็ดี ต่อมาก็มีผู้ที่พยายามจะคิดค้นการจัดวางคีย์บอร์ดในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อมาสู้กับ QWERTY อยู่ด้วย และหนึ่งในรูปแบบที่มีชื่อเสียงมากนั่นก็คือ Dvorak ซึ่งคิดค้นโดย Antonín Dvořák

Dvořák ประกาศจุดยืนว่าแป้นพิมพ์ของเขานั้นทำให้สามารถพิมพ์เร็วขึ้นไปได้อีก และยังถูกหลักการยศาสตร์ (Ergonomic) มากกว่า QWERTY อีกด้วย ซึ่งก็ส่งผลให้มีหลายบริษัทที่เริ่มนิยมนำไปใช้ด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีงานวิจัยที่นำเอา QWERTY และ Dvorak มาเปรียบเทียบประสิทธิภาพกันอยู่หลายฉบับ ทว่าท้ายที่สุดแล้วก็เป็นทางฝั่งของ QWERTY ที่ครองตลาดและรวบหัวรวบหางความนิยมของผู้ใช้งานไปได้มากกว่า ยิงยาวส่งตรงมาตราบจนถึงปัจจุบัน

และแม้ว่าตอนนี้เราจะไม่ได้ใช้เครื่องพิมพ์ดีดกันแล้ว จึงไม่มีโอกาสจะเจอปัญหาก้านพิมพ์ขัดกันอีกต่อไป แต่ด้วยความคุ้นเคยที่มีมาอย่างยาวนาน ก็ทำให้ไม่มีใครอยากจะมาเริ่มหัดนับหนึ่งใหม่กับรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจาก QWERTY อีกแล้วนั่นเอง

แป้นภาษาไทยก็มีหลายรูปแบบ

หากชาวโลกเคยชินกับ QWERTY ในแป้นภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาไทยแล้วก็เห็นจะหนีไม่พ้น “เกษมณี” (Thai Kedmanee) ซึ่งถูกใช้กันอย่างเป็นมาตรฐาน และถูกคิดค้นขึ้นมาโดยนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี ที่ออกแบบลักษณะการจัดวางอักษรไทยตามสถิติการใช้ตัวอักษรในขณะนั้น ซึ่งต้องอาศัยเวลาประดิษฐ์มันนานถึง 7 ปีเลยทีเดียว และออกมาแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2474

ในอีก 35 ปีให้หลัง ก็มีอีกหนึ่งรูปแบบแป้นพิมพ์ภาษาไทยอย่าง “ปัตตะโชติ” (Thai Pattachote) ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยนายสฤษดิ์ ปัตตะโชติ โดยอ้างถึงผลวิจัยของตัวเขาเอง ว่าผู้ที่ใช้แป้นเกษมณีนั้นจะใช้มือขวาพิมพ์มากกว่ามือซ้าย และแป้นปัตตะโชติจะมาแก้ไขปัญหาตรงนี้ ทำให้เกิดประสิทธิภาพการพิมพ์ที่ดีขึ้นด้วย ทว่าก็ยังคงเป็นฝั่งของเกษมณี ที่ยังครองความนิยมในหมู่ชาวไทยไปได้มากกว่า

ไม่ว่าจะเป็นแป้นภาษาใด ก็ล้วนแต่มีแนวคิดและเบื้องหลังการออกแบบอยู่เป็นของตัวเอง ซึ่งแม้ว่าจะมีช่วงที่ต้องแข่งขันและประชันการวัดผลกันอยู่ยุคหนึ่ง แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปแล้ว ทุกอย่างก็ดูจะอยู่กับร่องกับรอย และเรื่องหน้าตาของแป้นพิมพ์ก็ไม่ค่อยถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกสักเท่าไร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

ความพยายามที่จะสร้างสิ่งใหม่ ๆ

แม้จะก้าวมาสู่ยุคที่แป้นพิมพ์ถูกจำลองขึ้นมาอยู่บนจอทัชสกรีนแล้ว แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่เรายังคงใช้งาน QWERTY กันอยู่ ก็ไม่ใช่แค่ความเคยชินเรื่องการพิมพ์เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการใช้คำสั่งลัดแบบต่าง ๆ (Shortcut) ด้วยเช่นกัน

เพราะอย่าลืมว่าเมื่อเราต้องเปลี่ยนรูปแบบแป้นพิมพ์, Shortcut เองก็จะต้องเปลี่ยนไปด้วย และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำไมหลาย ๆ คนถึงไม่อยากจะหนีห่างจาก QWERTY นัก เพราะคำสั่งอย่าง Ctrl+C (Copy) หรือ Ctrl+V (Paste) ก็ถูกจัดวางในตำแหน่งที่ผู้ใช้ไม่ต้องเอื้อมนิ้วไปไกลมาก หรือ Shortcut อันเป็นที่รักของเหล่าครีเอเตอร์อย่าง Ctrl+Z (Undo) และ Ctrl+Shift+Z / Ctrl+Y (Redo) เอง ก็ดูจะอยู่ถูกที่ถูกทางดีแล้วแบบไม่ควรจะหลบหนีไปอยู่มุมไหนอีก

ในทางกลับกัน หากสลับไปใช้ Dvorak ก็คงจะวุ่นวายไม่น้อยทีเดียว เพราะถึงแม้ว่าปุ่มสระอย่าง A E I O U จะมากองอยู่ด้านซ้ายให้ใช้ง่าย ๆ แต่กับปุ่ม C ของ Ctrl+C ก็ถูกย้ายไปไกลถึงแถวบน ซึ่งจะกดด้วยมือซ้ายก็เกินเอื้อมไปแล้ว จะฝึกใหม่ด้วยมือขวา ก็เป็นระยะการกดปุ่มที่ไม่คุ้นเท่ากับของเดิมอยู่ดี

ต่อมาจึงมีอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมขึ้นมาใหม่ นั่นก็คือแป้นพิมพ์แบบ Colemak ซึ่งจะสลับปรับเปลี่ยนตัวอักษรจาก QWERTY ไปเพียงแค่ 17 ตำแหน่ง และยังคงไว้ซึ่งปุ่มที่น่าจะถูกใช้เป็น Shortcut สำคัญ ๆ อยู่ที่ตำแหน่งเดิมให้มากที่สุด ทำให้ Colemak ก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในแวดวงของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ ก็คือเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เพิ่งมีความพยายามที่จะสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาให้กับการพิมพ์ภาษาไทยด้วยเช่นกัน นั่นก็คือแป้นพิมพ์แบบ “มนูญชัย” (Manoonchai) ที่จะมาเขย่าความนิยมกว่า 50 ปีของเกษมณีและปัตตะโชติ ด้วยการจับเอาเทคโนโลยียุคใหม่มาใช้ นั่นก็คือการประมวลผลด้วย AI จากคำไทยแบบต่าง ๆ และออกมาเป็นแป้นพิมพ์ที่สอดรับกับภาษาไทยสมัยใหม่มากกว่าเดิม

กล่าวง่าย ๆ ก็คือแนวคิดเบื้องหลังของมนูญชัยนั้นคล้ายกันกับของเกษมณีเลยนั่นเอง ซึ่งจากเดิมที่นายกิมเฮง (สุวรรณประเสริฐ เกษมณี) จะต้องใช้เวลาออกแบบโดยอ้างอิงจากตำรานับสิบ ๆ เล่ม ยาวนานกว่า 7 ปี คราวนี้ก็เปลี่ยนมาให้ AI เป็นคนคิดวิเคราะห์ และยังผลออกมาเป็นแป้นพิมพ์หน้าตาดังกล่าวแทน ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่ามาก จากชุดข้อมูลอันมหาศาลที่ถูกป้อนเข้าสู่ตัวโมเดลความคิดของ AI

แป้นพิมพ์มนูญชัยนั้นมีจุดเด่นอีกประการคือจะลดจำนวนแถวจาก 4 แถว ให้ลงมาเหลือ 3 แถวเท่ากันกับ QWERTY แล้ว (เอาตัวอักษรไทย และเลขไทยออกไปจากแถวตัวเลข) จึงมีความสบายตามากขึ้น และยังให้สมดุลการใช้งานได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งจากเดิมที่เกษมณีจะหนักไปทางมือขวาถึง 70% แต่คราวนี้แป้นพิมพ์มนูญชัยจะมีสัดส่วนมือซ้าย-มือขวา อยู่ที่ 47% ต่อ 53%

ทั้งนี้ก็น่าติดตามกันต่อไป ว่ามนูญชัยจะกลายมาเป็นอนาคตของการพิมพ์ภาษาไทยต่อไปหรือใหม่ โดยตัวโครงการนั้นเป็น Open Source ซึ่งนำไปใช้พัฒนาต่อได้ และสามารถเข้าไปชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ Manoonchai.com หรือถ้าใครเกิดทำคีย์บอร์ดของตัวเองให้เป็นแป้นมนูญชัยขึ้นมาได้แล้ว ก็ลองไปทดสอบประสิทธิภาพการพิมพ์กันได้ที่หน้าเว็บไซต์ Manoontype โดยตรง

ทั้งหมดคือเรื่องของ “ความเคยชิน”

keyboard

พฤติกรรมการพิมพ์ของเราก็ไม่ต่างอะไรกับวิถีชีวิตแบบอื่น ซึ่งหากผู้ใช้มองว่าสิ่งใหม่ ๆ นั้นมีประโยชน์มากพอที่จะทำให้เราอยากเปลี่ยน ท้ายสุดแล้วเราก็อาจจะได้เห็น Layout คีย์บอร์ดโฉมใหม่ได้รับความนิยมขึ้นมาจริง ๆ

ทว่าเรื่องนี้ก็ไม่ได้อยู่ที่ความสมัครใจของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องดูถึงฝั่งผู้ผลิตคีย์บอร์ดด้วย ที่จะมองว่ามันถึงเวลาเปลี่ยนแล้วจริง ๆ หรือไม่, คุ้มแล้วหรือไม่ที่จะต้องทำลายความเคยชินแบบเดิม ๆ เมื่อดูจากปัจจัยอื่นรอบตัว และกล้าที่จะนำกระแส เพื่องัดเอาแป้นพิมพ์ที่ดีกว่า QWERTY ออกมาใช้ในอนาคต

แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น ก็น่าจับตามองว่าโลกของเราจะหมุนไปในทิศทางใด เพราะปัจจุบันการพิมพ์ก็ไม่ได้จบแค่เอานิ้วเคาะกับคีย์บอร์ดอีกต่อไปแล้ว หากแต่มีอิสระมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งคีย์บอร์ดบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่สามารถเลือกตั้งค่า Layout ที่ชอบได้ดังใจนึก รวมไปถึงการใช้ Gesture ลากนิ้วแบบต่าง ๆ เข้ามาช่วยพิมพ์ได้อีกด้วย

ซึ่งหาก “วิธีการพิมพ์” ของเราในวันข้างหน้านั้นเปลี่ยนไปจากเดิมแบบก้าวกระโดด ก็ไม่แน่ว่าอาจจะไม่มีใครสนใจจะมาเสียเวลาเปลี่ยนแปลง “ความเคยชิน” ของ QWERTY อีกแล้วก็เป็นได้

อ่านเพิ่มเติม

รู้จักกับวงการ Custom Keyboard คืออะไร เข้ายังไง ทำไมใคร ๆ ก็หลงรัก

ข้อมูลอ้างอิง

Kathryn H. (2006, Jan). The Great Keyboard Debate: QWERTY versus Dvorak https://www.researchgate.net/publication/237105161

Paul A. D. (1985, May). Clio and the Economics of QWERTY. The American Economic Review https://www.jstor.org/stable/1805621

Computer Hope

Scholarship.in.th

Thoughtco

ที่มาของแป้นเกษมณีและปัตตะโชติ – Keychron Thailand

ภาพ Layout ของคีย์บอร์ด – Patrick Wied

[Update] เป็นเมียแม่ทัพ… ไม่ง่าย! | ตอนเมียไม่มีทําไมไม่เจอ – NATAVIGUIDES

Please enter your username or email address. You will receive a link to create a new password via email.

Username or Email Address

← Back to novel-lucky | นิยาย นิยายออนไลน์ นิยายวาย นิยาย PDF


รักข้ามคลอง,วอนลมฝากรัก,หนุ่มนานครพนม,ข้าวเปลือก3ช่า


โฟล์คซอง น๊อตข้าวเปลือก ข้าวเปลือก ลูกทุ่ง @นัด ข้าวเปลือก @ที ข้าวเปลือก @น๊อต ข้าวเปลือก

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

รักข้ามคลอง,วอนลมฝากรัก,หนุ่มนานครพนม,ข้าวเปลือก3ช่า

รวมเพลง_ชาย_เมืองสิงห์ (ทำนองใหม่).mp4


รวมเพลง_ชาย_เมืองสิงห์ (ทำนองใหม่).mp4

18 ลำเต้ย พรศักดิ์ ส่องแสง l หลงรักลูกทุ่ง


18 ลำเพลิน พรศักดิ์ ส่องแสง : https://youtu.be/uV1NUF48P1w
18 ลำแพน พรศักดิ์ ส่องแสง : https://youtu.be/bGrF3fO8e3c
18 ลำล่อง พรศักดิ์ ส่องแสง : https://youtu.be/VAR8qpSFjTg
👍 กดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานด้วยนะคะ : https://bit.ly/3c84vDc
00:00 1 สาวจันทร์กั้งโกบ
03:11 2 แล้วแต่วาสนา
06:25 3 หัวใจว่าง
09:48 4 รักสาวฟังลำ
12:12 5 สวรรค์บ้านนา
15:44 6 ซู่ซ่า
18:34 7 คนสวยใจดำ
21:05 8 แฮงเมาแฮงคิดฮอด
24:29 9 อาลัยสาวเลย
28:02 10 มักสาวส่ำน้อย
31:49 11 หนาวนี้พี่ตายแน่
34:23 12 มันส์สะเด็ดยาด
37:34 13 เสียวไส้
40:45 14 หัวอกสิบล้อ
43:36 15 หนุ่มนาลาแฟน
46:41 16 จังโก้
48:46 17 เชิญเมา
51:11 18 ตามดวง
หลงรักลูกทุ่ง พรศักดิ์ส่องแสง รวมเพลงพรศักดิ์ส่องแสง

18 ลำเต้ย พรศักดิ์ ส่องแสง l หลงรักลูกทุ่ง

เมียไม่มีไม่เจอ – พรศักดิ์ ส่องแสง [Official Lyrics Video]


เมียไม่มีไม่เจอ - พรศักดิ์ ส่องแสง [Official Lyrics Video]

เมียไม่มีไม่เจอ – พรศักดิ์ ส่องแสง (2546)


อัลบั้ม : รักเต็มร้อย (2546)
ค่าย : JKC
มิได้เจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถแจ้งลบคลิปได้
http://www.facebook.com/domodarken
http://www.youtube.com/domodarken3

เมียไม่มีไม่เจอ - พรศักดิ์ ส่องแสง (2546)

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ตอนเมียไม่มีทําไมไม่เจอ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *