Skip to content
Home » [NEW] Positive Learning : ถอดบทเรียนแห่งความสุข ต้นแบบการศึกษาจากฟินแลนด์ | เรียนอย่างไรให้ประสบความสําเร็จ – NATAVIGUIDES

[NEW] Positive Learning : ถอดบทเรียนแห่งความสุข ต้นแบบการศึกษาจากฟินแลนด์ | เรียนอย่างไรให้ประสบความสําเร็จ – NATAVIGUIDES

เรียนอย่างไรให้ประสบความสําเร็จ: คุณกำลังดูกระทู้

ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ เรื่อง

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ภาพ

 

ที่ผ่านมา โจทย์สำคัญของการศึกษาในประเทศไทย คือการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำซึ่งยังคงกระจายตัวทุกภูมิภาคและทำให้นักเรียนยากจนต้องหลุดจากระบบการศึกษาไปกว่า 670,000 คนต่อปี

แต่ในทศวรรษใหม่นี้ อีกหนึ่งความท้าทายไม่ได้เป็นเพียงการมอบโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคทุกกลุ่ม หากต้องเป็นการมอบโอกาสทางการศึกษาที่ ‘มีความสุข’ และ ‘มีประสิทธิภาพ’ มากพอจะนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อีกด้วย

หากกวาดตามองการศึกษาที่มีคุณภาพ แน่นอนว่าประเทศฟินแลนด์ย่อมติดโผอันดับต้นๆ ของโลก การันตีด้วยผลการสอบวัดระดับด้านการศึกษานานาชาติอย่าง Programme for International Student Assessment หรือข้อสอบ PISA ที่ระบุว่านักเรียนฟินแลนด์มีผลการเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่านดีกว่ากลุ่มประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ หลายปีติดต่อกัน อีกทั้งล่าสุด World Economic Forum และองค์กรอิสระ NJ MED (New Jersey Minority Educational Development) ยังยกย่องให้เป็นประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก ด้วยสถิติประชากรที่อ่านหนังสือออก 100% และสถิติประชากรส่วนใหญ่พูดได้มากกว่า 1 ภาษา

ในโลกยุคใหม่ อะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้การศึกษาในฟินแลนด์สามารถปรับตัวเท่าทันยุคสมัย สร้างหลักสูตรที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างความสุขให้แก่นักเรียนไปพร้อมกัน

ไคซา เวอริเนน (Kaisa Vuorinen) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) และการศึกษาเชิงบวก (positive education) รวมถึงมีประสบการณ์การทำงานครูในฟินแลนด์มากว่า 20 ปีได้ให้คำตอบแก่เราในโครงการเสวนาวิชาการนานาชาติ “การพัฒนาคุณภาพครูและโรงเรียน : บทเรียนจากประเทศฟินแลนด์” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า ครูถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญในภาพใหญ่ของการศึกษา เป็นคนใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุด และเป็นคนที่สามารถกำหนดโลกทั้งใบในวัยเรียนของใครหลายๆ คน

นี่คือถ้อยคำส่วนหนึ่งที่เธอถ่ายทอดสู่ครู และผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกฝ่าย

 

ไคซา เวอริเนน (Kaisa Vuorinen)

 

Table of Contents

เคล็ดลับความสำเร็จด้านการศึกษาของฟินแลนด์

 

เบื้องหลังความก้าวหน้าทางการศึกษาของประเทศเล็กๆ นี้ มีที่มาจากหลักการเพียงข้อเดียว คือทำอย่างไรให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุขที่สุด

“เคล็ดลับความสำเร็จของฟินแลนด์ คือการให้คุณค่าแก่การศึกษาที่มีความสุข” ไคซา เวอริเนน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงการศึกษาของฟินแลนด์เผยพร้อมรอยยิ้ม “เราไม่ได้สอนเด็กเพื่อเตรียมตัวสำหรับการสอบวัดระดับ แต่เราต้องการให้เด็กและเยาวชนรู้สึกดีต่อตัวเอง มีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งทั้งหมดนั้นจะนำมาสู่ผลการเรียนที่ดีได้ในท้ายที่สุด”

และไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีความพิเศษหรือแตกต่างจากคนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่มีความสุขนี้ ควรเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนต้องได้รับอย่างเท่าเทียมกัน “เราต้องการให้โรงเรียนไม่ใช่แค่สถานที่ที่สอนทักษะทางวิชาการแก่นักเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เราต้องการสอนนักเรียนทุกคน ทุกประเภท และทำให้พวกเขามาโรงเรียนอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน” ไคซากล่าว

“พื้นฐานการเรียนของเราจึงเป็นการสนับสนุนให้เด็กเล่นกันมากขึ้น อยู่กับเพื่อนให้มากขึ้น เพื่อลดความเครียดของตัวนักเรียน”

การออกแบบหลักสูตรของฟินแลนด์ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจธรรมชาติของเด็ก ว่าเป็นวัยแห่งความอยากรู้อยากเห็นและเปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้น ดังนั้น หลายโรงเรียนในฟินแลนด์จึงเลือกจัดช่วงเวลาให้เด็กออกไปทำกิจกรรมนอกอาคาร หรือวิ่งเล่นกับคนรุ่นราวคราวเดียวกันทุกๆ 45 นาทีหลังจบคาบเรียนเพื่อผ่อนคลายและเสริมสร้างสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

คำบอกเล่าของไคซายังทำให้เราเห็นภาพความมีชีวิตชีวาของห้องเรียนว่า “เวลาเรียน เด็กของเราจะไม่นั่งเงียบๆ และรอฟังเนื้อหาจากครูผู้สอน แต่เราจะเล่นกัน คุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพราะเราต้องการให้เด็กมีทักษะด้านการปฏิสัมพันธ์ที่ดี และเราเชื่อว่าความรู้ไม่ได้มีที่มาจากตัวครูผู้สอนเพียงคนเดียว แต่สามารถเกิดขึ้นได้จากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักเรียนด้วยกัน”

การกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นยังช่วยเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) และการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เมื่อผนวกเข้ากับความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และภาค ICT ที่เข้มแข็ง ฟินแลนด์จึงสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน และทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้สนุกสนานยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบการศึกษาแห่งความสุขของฟินแลนด์ประสบผลสำเร็จ คือคุณภาพของบุคลากรครู

“ครูในฟินแลนด์ล้วนเป็นคนที่มีแรงจูงใจสูง (highly motivate) และมั่นใจในตัวเอง” ไคซาอธิบายเพิ่มเติมว่าสำหรับประเทศฟินแลนด์แล้ว ครูถือเป็นหนึ่งในอาชีพยอดนิยมและมีอัตราการแข่งขันสูงมาก ผู้ที่ต้องการเข้าเรียนหลักสูตรด้านศาสตร์การสอน (Pedagogy) ในระดับมหาวิทยาลัยต้องผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวด และต้องเรียนอย่างต่ำ 5 ปี จนจบปริญญาโท เพื่อให้มั่นใจว่าครูในโรงเรียนไม่ได้เป็นเพียง ‘ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ที่ตนสอน’ แต่ต้องเป็น ‘ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์การสอน’ อีกด้วย

เส้นทางอันยาวไกลและเข้มข้นทุกขั้นตอนจึงเป็นตัวคัดกรองคุณภาพของครูชั้นดี ในขณะเดียวกัน ยังเป็นเครื่องหมายการันตีความสามารถ ซึ่งนำมาสู่การมอบอิสระด้านการสอนแก่ครูในสถานศึกษา

“ตอนที่ฉันทำงานเป็นครู ไม่เคยมีใครตั้งแง่สงสัยหรือมาประเมินวัดระดับทักษะของฉันว่าเพียงพอต่อการเป็นครูหรือไม่ ไม่มีใครกำหนดกะเกณฑ์ว่าฉันต้องทำหรือไม่ทำอะไรในห้องเรียน ครูมีอำนาจในการออกแบบการสอนของตนเองอย่างเต็มที่ อิสระเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าครูใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือกระทั่งรัฐบาลไว้ใจครู” ไคซาเล่า พร้อมชี้ให้เห็นข้อดีว่า ความไว้วางใจทำให้คนเป็นครูรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง กล้าเสนอความคิด พัฒนาแนวทางการเรียนการสอนในห้องเรียนให้เหมาะสมกับนักเรียน สภาพแวดล้อม และยุคสมัย

รวมถึงอาจเป็นจุดเริ่มต้นของหลักสูตรใหม่ๆ เหมือนที่ไคซาได้ค้นพบ

 

หัวใจสำคัญของการสอน คือการเห็นคุณค่าในตัวนักเรียน

 

หลังทำงานในบทบาทครูมากว่า 20 ปี ผ่านการอบรมเด็กนักเรียนจำนวนมากมายในฟินแลนด์ ไคซาพบว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการสอนไม่ใช่เนื้อหา แต่เป็นวิธีการและบรรยากาศในห้องเรียน

“เพราะนักเรียนอาจจะจำสิ่งที่ครูสอนไม่ได้ แต่พวกเขาไม่มีวันลืมความรู้สึกที่มีต่อครู”

ถ้าเด็กเริ่มรู้สึกกับครูในแง่ลบ นั่นย่อมเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กออกห่างจากครู ออกห่างจากโรงเรียน ดังนั้น สิ่งที่ไคซาพยายามเน้นย้ำความสำคัญคือตัวตนและการแสดงออกของครูในทุกสถานการณ์

“สิ่งที่ครูทุกคนควรตระหนักคือวิธีการที่เราพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนเป็นอย่างไร รวมถึงรับรู้บรรยากาศการเรียนการสอนในห้องว่าเป็นอย่างไร เพราะบรรยากาศที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น

“ดังนั้น เราต้องย้อนมองตัวเองว่า ในฐานะครู เรากำลังแสดงตัวตนแบบไหนในห้องเรียน และเราแสดงให้นักเรียนได้รับรู้ว่าเราเห็นคุณค่าของพวกเขามากพอแล้วหรือยัง”

การเห็นคุณค่าของนักเรียนทุกคนเป็นสิ่งที่ไคซากลั่นกรองออกมาจากประสบการณ์หลังพบเจอกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรือการควบคุมอารมณ์ โดยเธอกล่าวว่าเด็กเหล่านั้นมักถูกตำหนิและตั้งแง่จากผู้ใหญ่ว่าเป็น ‘เด็กมีปัญหา’

ทว่า ..   “ถ้าเรามัวแต่มองปัญหาที่อยู่ในตัวของเด็ก นานวันเข้า เราก็จะเห็นทุกอย่างในตัวพวกเขาเป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ” อดีตครูจากฟินแลนด์กล่าว

“แต่บางครั้งสิ่งเหล่านั้นอาจไม่ใช่ปัญหา เป็นเพียงความแตกต่างที่อยู่ในตัวเด็กแต่ละคนเท่านั้น”

 

การพัฒนาคุณภาพครูและโรงเรียน บทเรียนจากประเทศฟินแลนด์

 

เพียงปรับมุมมองจากคำว่า ‘ปัญหา’ มาเป็น ‘ความแตกต่าง’ ก็จะเห็นความสามารถของเด็กที่แฝงอยู่อีกหลายด้าน ไคซาเชื่อว่าเด็กทุกกลุ่ม ทุกคนล้วนเป็นเลิศในด้านใดด้านหนึ่ง จึงริเริ่มนำเสนอการเรียนการสอนรูปแบบใหม่

“หัวใจสำคัญของการสอนคือ ‘การมองเห็นข้อดีในตัวนักเรียนทุกคน’ (See the good in every student)”

ข้อดีดังกล่าวอาจไม่ใช่ทักษะด้านการเรียน เช่น การคิดคำนวณ การเขียน หรือการอ่าน แต่หมายถึงจุดเด่นของบุคลิกแต่ละคน เป็นต้นว่ามีความกล้าหาญ (Courage) มีความเห็นอกเห็นใจ (Compassion) มีความขยันหมั่นเพียร (Perseverance) ซึ่งไคซาถือว่าคุณลักษณะเหล่านี้ควรได้รับการชื่นชมไม่แพ้ทักษะอ่านเขียน เพราะเป็นอุปนิสัยที่ส่งเสริมให้เด็กๆ สามารถประสบความสำเร็จในชีวิต และมองว่านักเรียน หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ในปัจจุบันก็เองควรรับรู้ถึงจุดแข็ง (character strength) ของตนเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตด้วย

เหตุนี้ ไคซาจึงอาศัยบทบาทความเป็นครูทดลองจัดกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักตนเอง กล้าแสดงออกแก่คนอื่นๆ และพบว่านักเรียนมีความสุขกับการเรียน เชื่อมั่นในศักยภาพของตนมากขึ้น จนเป็นที่มาของผลการเรียนที่ดีขึ้น หลังประสบความสำเร็จในชั้นเรียนของเธอ ไคซาถึงได้เริ่มมองการณ์ไกลเกี่ยวกับระบบการศึกษาในภาพรวม

“สิ่งที่เราต้องการสนับสนุนแก่การศึกษาทั่วโลก คือการตระหนักว่าเด็กทุกคนควรมีโอกาสแสดงตัวตนหรือความสามารถในห้องเรียน ควรมีความมั่นใจ รักตัวเอง และรู้สึกว่าตัวเองสามารถรับมือกับอุปสรรคต่างๆ ได้”

 

แนวทางสร้างสุขในห้องเรียน

 

จากจุดเริ่มต้นในห้องเรียนเล็กๆ นำมาสู่แนวคิดการเรียนการสอนแบบใหม่ คือ ‘การศึกษาเชิงบวก’ หรือ ‘Positive Learning’ อันยึดคติว่า ‘เด็กที่มีความสุข คือเด็กที่เรียนได้ดีที่สุด’ และมีแนวทางสร้างความสุขแก่นักเรียนได้ง่ายๆจากวิธีการสอน 5 ข้อ

 

ข้อแรก – ชื่นชมนักเรียนให้มาก

“ทั้งครูและผู้ปกครองกรุณาอย่ามองแค่ความบกพร่องในตัวเด็กๆ หรือมองแค่สิ่งที่พวกเขาทำไม่สำเร็จ แต่ขอให้มองสิ่งที่ดีในตัวพวกเขา ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อย ก็สามารถยกมาชื่นชมพวกเขาได้

“เราอาจไม่จำเป็นต้องทำบ่อยๆ แต่ขอให้ระลึกว่าเด็กทุกคนต้องใช้คำชม 3-5 ครั้งเพื่อลบเลือนความรู้สึกแย่ๆ จากคำตำหนิเพียงครั้งเดียว”

ไคซาแนะนำว่าบางครั้ง ตัวครูอาจไม่ต้องสื่อสารผ่านคำพูด แต่ใช้วิธีแสดงออกผ่านท่าทาง สีหน้าแววตาได้เช่นกัน และการให้คำชื่นชมวันละนิดละหน่อยในเรื่องเล็กน้อยสามารถสร้าง ‘Micro Moment of Love’ ในห้องเรียน ทำให้นักเรียนรู้สึกภาคภูมิใจ มั่นใจในตัวเองมากขึ้น

“การให้คำชมยังทำให้เด็กรู้สึกว่าครูใส่ใจเขา เขามีตัวตนในห้องเรียน นั่นจึงทำให้เด็กอยากมาโรงเรียนในวันต่อๆ ไป เพราะเขาสำคัญกับที่แห่งนี้” ไคซาเสริม

 

ข้อสอง – ใช้ภาษาให้เป็น

“เวลาฉันพูดกับเด็กๆ ฉันจะพยายามย้ำว่าพวกเขาทำอะไรสำเร็จ และทักษะอะไรที่พวกเขาได้ใช้ไปบ้าง” ไคซากล่าวถึงความทรงพลังของภาษาว่า หากใช้คำพูดช่วยส่งเสริมอย่างถูกจุด ถูกสถานการณ์ จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และตระหนักถึงศักยภาพของตนเอง

ขณะเดียวกัน ข้อควรระวังคือการเลือกใช้ภาษาของครูเมื่อต้องรับมือกับสถานการณ์ไม่พึงประสงค์บางอย่างในห้องเรียน โดยไคซายกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เธอเคยเจอเด็กๆ คุยกันเอะอะ ไม่สนใจบทเรียนหน้ากระดาน

“ฉันตั้งคำถามแก่เด็กๆ ว่าทักษะด้านไหนที่จำเป็นสำหรับห้องเรียนของเราในตอนนี้ ชวนให้พวกเขาคิด และสอนพวกเขาว่าทักษะการควบคุมตัวเอง (self-control) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนมากแค่ไหน”

แม้เด็กๆ อาจจะไม่เข้าใจว่าทักษะการควบคุมตัวเองเป็นอย่างไร แต่เมื่อนักเรียนเงียบลง ตั้งใจฟังและมีสมาธิขึ้น ไคซาถึงชื่นชมพร้อมแนะว่านี่คือทักษะที่ครูพูดถึง เด็กๆ ได้ทำสำเร็จแล้ว

“เด็กๆ จะภูมิใจที่ได้พัฒนาตนเองไปอีกก้าวหนึ่งเล็กๆ ในวันนั้น”

เห็นได้ชัดว่าภาษามีส่วนช่วยให้บทเรียนทักษะชีวิตเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมถึงช่วยสร้างความทรงจำที่ดีแก่นักเรียนอีกด้วย

 

ข้อสาม – ส่งเสริมให้นักเรียนใช้จุดแข็งของตน

“เราต้องทำให้นักเรียนเข้าใจว่าตัวเองมีทักษะด้านไหน และจะส่งเสริมให้เขาแสดงมันออกมาได้อย่างไรทั้งในและนอกโรงเรียน”

ไคซาอธิบายว่าหลังจากช่วยให้นักเรียนค้นพบจุดแข็งของตัวเองแล้ว ครูยังมีส่วนส่งเสริมให้พวกเขาแสดงความสามารถ ผ่านการเรียนหรือกิจกรรมต่างๆ เช่น จำลองสถานการณ์ให้นักเรียนคิดหาวิธีใช้ประโยชน์จากจุดแข็งตัวเองในการแก้ไขปัญหาเรื่องต่างๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้นักเรียนไม่เพียงแค่รู้ว่าตนมีอะไร แต่รู้ว่าจะนำจุดแข็งเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร

“เพราะการประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่การรู้จักตัวเอง แต่เป็นการดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยให้เด็กใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขและเรียนได้ดีในโรงเรียนด้วย” ไคซาสรุป

 

ข้อสี่ – ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์

ไคซากล่าวว่าปัจจุบัน ทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นเรื่องสำคัญมาก อีกทั้งวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการการยอมรับจากกลุ่ม เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ดังนั้นเราจึงควรปลูกฝังทักษะทางสังคมและอารมณ์ของเด็กตั้งแต่อยู่ในห้องเรียน ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ทั้งต่อคนรู้จักและคนแปลกหน้า

“เราอาจกำหนดนักเรียนได้ทำงานกลุ่มที่หลากหลายเพื่อช่วยส่งเสริมทักษะทางสังคม ให้เด็กทำงานร่วมกันเองหรืออาจให้ทำงานร่วมกับคนที่ไม่รู้จัก และปล่อยให้นักเรียนค้นคว้าหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง”

 

ข้อห้า –  ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก

ไคซาให้ความเห็นว่าบางครั้งการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างมีพลังมากกว่าการพูดพร่ำสอนให้นักเรียนทำตาม การแสดงความสามารถและความกระตือรือร้นในการสอน การพบปะเด็กๆ ของครูสามารถดึงดูดให้นักเรียนสนใจบทเรียนมากขึ้น กระตุ้นให้มีความอยากเรียนมากขึ้น รวมถึงลดพฤติกรรมก่อกวนในห้องเรียนลง

“ครูต้องเป็นตัวอย่างของทักษะด้านดีๆ แสดงความใส่ใจ ความเอื้ออาทร ระวังวิธีการพูดหรือสิ่งที่ลงมือทำ เพราะนักเรียนมองคุณอยู่ตลอดเวลา

“ระลึกไว้ว่าเด็กไม่ลืมคำพูดของคุณ ถ้าคุณพูดไม่ดีต่อเขา เขาจะจดจำไปตลอดชีวิต และรู้สึกว่าตนเอง ‘ไม่ดีพอ’ เพราะครูคอยแต่ตำหนิเขาต่อหน้าเพื่อนๆ” และต่อให้เด็กลืมคำพูดของครูไปแล้ว ความรู้สึกก็ยังคงอยู่อีกนาน

พร้อมกันนั้น ไคซายังตบท้ายว่าครูควรใส่ใจเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

“อย่าทิ้งเด็กคนไหนไว้ข้างหลัง อย่าปล่อยให้เขาถูกรังแก อย่าปล่อยให้เขารู้สึกว่าฉันเป็นเด็กไม่ดีที่ไม่น่ามาโรงเรียนเลย”

 

ทักษะทางสังคมและอารมณ์ : จุดเริ่มต้นความสำเร็จในโลกยุคใหม่

 

นอกจากแนวทางการสร้างบรรยากาศแห่งความสุขในห้องเรียน หลักสูตรการศึกษาเชิงบวก (Positive Learning) ของไคซายังให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์ เพื่ออยู่ร่วมกันในโลกที่เทคโนโลยีกำลังเฟื่องฟู โดยเริ่มจากฉายภาพการรวมกลุ่มของมนุษย์ในประวัติศาสตร์หลายพันปีก่อน พร้อมตั้งคำถามว่าเรามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง

“ความเป็นจริงคือมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตสักเท่าไร เราทุกคนยังคงมีความต้องการเช่นเดิม คือ ความต้องการที่จะอยู่รวมกลุ่มกันเป็นสังคม” ไคซาตั้งข้อสังเกต

“แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้คือคนในสังคมล้วนแล้วแต่อยู่อย่างโดดเดี่ยวและห่างเหินจากคนอื่นมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เด็กสมัยนี้ทำ คือจดจ้องอยู่กับโทรศัพท์มือถือ ทำงานอยู่กับแต่กับมือถือ พวกเขาไม่ได้พูดคุยกับใครเท่าเมื่อก่อน และนั่นทำให้เด็กๆ ไม่ได้เรียนรู้ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทั้งที่จริงๆ แล้ว ทักษะที่เราต้องการมากที่สุดในตอนนี้คือความเป็นมนุษย์ คือความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ เราต้องการคนที่สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้”

 

Positive Learning : ถอดบทเรียนแห่งความสุข ต้นแบบการศึกษาจากฟินแลนด์

 

ไคซาเสริมอีกว่าในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีทั้งสมาร์ทโฟน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไว้ช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้กลับทำให้มนุษย์พัฒนาตัวเองได้น้อยลง มีความอดทนต่ำลง

“ในอนาคต เครื่องจักรจะเข้ามาทำงานทุกอย่างแทนเราได้ ดังนั้น เราต้องสอนในสิ่งที่เครื่องจักรเหล่านั้นทำไม่ได้ เครื่องจักรไม่มีความเห็นอกเห็นใจ ไม่มีความเมตตา ไม่มีความคิดสร้างสรรค์เท่าที่เรามี นั่นเป็นเหตุผลที่เราต้องเน้นย้ำความสำคัญของทักษะทางสังคม ทักษะที่ทำให้เราอยู่รอดมานับพันๆ ปี”

“เราต้องปลูกฝังทักษะแห่งโลกอนาคตแก่เด็กๆ และให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนสิ่งเหล่านี้มากขึ้น อย่าง การแก้ไขปัญหาในชีวิต (life problem solving) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ความเห็นอกเห็นใจ (compassion) การทำงานเป็นทีม (teamwork) ความขยันหมั่นเพียร (perseverance) การควบคุมตนเอง (self-control) ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) ทักษะการบริหารคน (people management)  ทักษะการเจรจา (negotiation skills)  การคิดตรึกตรอง (reflect abilities) และอื่นๆ”

อีกหนึ่งทักษะที่ไคซาเห็นว่าจำเป็น คือทักษะด้านอารมณ์และการควบคุมตนเอง เพราะเป็นพื้นฐานของการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมถึงเป็นแรงผลักดันให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น โดยเธอเผยว่าในบรรดานักเรียนที่มีผลการเรียนดี ล้วนมีทักษะด้านนี้ทั้งนั้น

“เราพบว่าสิ่งที่ทำให้นักเรียนสามารถเรียนวิชาสายวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ได้ดี ไม่ได้เป็นเพราะความฉลาด แต่เป็นเพราะพวกเขามีความมุมานะและระเบียบวินัยในตัวเอง”

ทักษะข้างต้นที่กล่าวมายังสอดคล้องกับ 10 ทักษะสำคัญในปี 2020 ซึ่งจัดอันดับโดย World Economic Forum ประกอบไปด้วย ทักษะด้านการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving) การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การจัดการบุคคล (People Management) การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Coordinating with Others) ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) การประเมินและการตัดสินใจ (Judgement and Decision Making) การกำหนดทิศทางการบริการ (Service Orientation) การเจรจาต่อรอง (Negotiation) และความยืดหยุ่นด้านกระบวนการคิด (Cognitive Flexibility)

ทั้งนี้ เจ้าของแนวคิด Positive Learning เสนอว่าการเรียนการสอนทักษะทางสังคมสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการผสมผสานเข้ากับการเรียนวิชาการในปัจจุบัน

“การเรียนการสอนทักษะเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องแยกเป็นรายวิชา เหมือนมีวิชาคณิตศาสตร์ ต่อมามีวิชาความคิดสร้างสรรค์ วิชาฝึกความมุมานะ ไม่ใช่นะคะ ทักษะเหล่านี้ควรผสมผสานเข้ากับการเรียนวิชาการทั่วไป และแฝงอยู่ในการพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนในแต่ละวัน” ไคซาอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างว่าเมื่อครั้งที่เธอยังสอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียน ไคซาได้ประยุกต์การสอนทักษะความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมให้แก่เด็กๆ ผ่านการทำโครงงาน กิจกรรมภายในห้อง ซึ่งนับว่าได้ผลดียิ่งกว่าการแยกเป็นรายวิชา ทั้งยังมีความร่วมสมัย สอดแทรกในทุกหลักสูตรวิชาการที่เปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ

“เราไม่รู้ว่าอาชีพในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่ทักษะทางสังคมจะยังคงเป็นที่ต้องการในโลกยุคใหม่เสมอ” ไคซาทิ้งท้าย

 

สักวันหนึ่ง.. ในอนาคต

 

จากจุดตั้งต้นในห้องเรียนเล็กๆ ไคซาได้นำแนวทางการศึกษาแบบ Positive Learning เข้าร่วมการแข่งขัน Ratkaisu 100 ซึ่งเป็นการประกวดนวัตกรรมเพื่อโลกอนาคตจากทั่วประเทศ และได้รับรางวัลชนะเลิศ ทำให้เธอมีโอกาสอบรมครูอีก 17 ประเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอนเชิงบวก พร้อมตั้งเป้าหมายเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวไปสู่การศึกษาทั่วโลก เพื่อให้เด็กๆ ทุกภูมิภาคได้เรียนอย่างมีความสุขกันถ้วนหน้า

“ในอนาคต เราอยากให้ระบบการศึกษาเปลี่ยนมาสอนเรื่องทักษะทางสังคมมากขึ้น และทำให้เด็กทุกคนรู้สึกดีต่อตนเอง เชื่อมั่นว่าตนสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนได้”

ปัจจุบัน ไคซาก่อตั้งบริษัท Positive Learning ร่วมกับลอตตา อูสซิทาโล (Lotta Uusitalo) นักวิจัยเรื่องการศึกษาพิเศษแห่งมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ โดยมีเป้าหมายผลิตสื่อความรู้เผยแพร่ความรู้เรื่องการศึกษาเชิงบวกอย่างจริงจัง ผ่านหนังสือ See the Good ซึ่งเป็นหนังสือคู่มือแก่ครูในการปลูกฝังทักษะทางสังคมและอารมณ์แก่เด็กๆ และแพลทฟอร์มดิจิทัลอย่างเว็บไซต์ Positive.fi

สุดท้ายนี้ ไคซาฝากความหวังไว้แก่ระบบการศึกษาและสังคมว่า “สักวันหนึ่ง สังคมจะให้คุณค่ากับทักษะทางสังคมและอารมณ์มากขึ้น เราจะสามารถไปสมัครงานโดยกล้าบอกว่าตัวเองมีทักษะที่เป็นจุดเด่นด้านไหนบ้าง และถ้าเป็นไปได้ เราอาจจะมีหลักฐานใบรับรองทักษะเหล่านี้ในอนาคตด้วย”

ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ The101.world

[Update] นิสัย 8 อย่างที่ควรทำถ้าอยากประสบความสำเร็จ | เรียนอย่างไรให้ประสบความสําเร็จ – NATAVIGUIDES

1) What’s up? 
มี 3 รูปแบบการใช้ คือ ใช้แทนคำทักทาย (Hi) ใช้ถามว่าสบายดีไหม (How are you?) หรือใช้ถามว่า เกิดอะไรขึ้นที่นี่ (What is happening here?)
 
 
2) Your fly is undone.
ใช้เวลาแอบกระซิบเพื่อนว่า “แกๆ แกลืมรูดซิปอะ”  
 
 
3) To wolf down
To wolf (something) down หมายถึง กินอย่างตะกละ กินอย่างรวดเร็ว 
How   did   you   wolf


คนประสบความสำเร็จ เริ่มต้นที่ \”ทัศนคติ\” | SamoungLai Story EP.3


ถ้าถามว่าอะไรคือ ปัจจัยที่ทำให้คนๆ หนึ่ง สามารถประสบความสำเร็จได้
หลายคนอาจจะคิดว่า ความสามารถ ประสบความ ทักษะ หรือ ความเก่ง

ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกต้องทุกอย่างครับ แต่มันไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด

เพราะถึงแม้คุณจะมีทั้งหมด คุณก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้
ถ้าคุณไม่ได้มี “ทัศนคติของผู้ชนะ”

เพราะผู้ชนะ หรือ คนที่ประสบความสำเร็จ จะไม่หา “เหตุผลที่ตัวเองจะล้มเหลว”
เช่น ไม่เก่ง ไม่มีทุน ไม่มีโชค หรือ โทษฟ้า โทษดิน โทษคนอื่น โทษต่างๆ นาๆ

แต่เขาจะมองหาเหตุผลที่ตัวเองจะชนะอยู่ตลอดเวลา
หาเหตุผลว่า… จะต้องทำอย่างไร เขาถึงจะประสบความสำเร็จได้

แล้วเราจะปรับทัศนคติของผู้ชนะ ได้อย่างไร ?
ฟังได้ที่คลิปนี้ครับ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

คนประสบความสำเร็จ เริ่มต้นที่ \

เรียนออนไลน์อย่างไรให้สำเร็จ 100 % 8 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ


เรียนออนไลน์สำเร็จ ทิพสุดาคิดเลิศ
เรียนออนไลน์อย่างไรให้สำเร็จ 100 %
8 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพสุดา คิดเลิศ
รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
1. ปรับ Mindset ตั้งเป้าหมายในการเรียน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียน
2. ดาวน์โหลด Application เตรียมความพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์และแพลตฟอร์มการเรียนรู้
3. ตรวจสอบ Package อินเทอร์เน็ต และตรวจสอบสัญญาณ WiFi
4. สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพ ควรขจัดสิ่งรบกวน เช่น เสียง ภาพ และแสง
5. ตอบคำถามตั้งคำถาม เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์และเพื่อน นักศึกษาอาจตั้งคำถามหรือร่วมอภิปราย และทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน
6. กำหนดตารางเรียนในปฏิทินออนไลน์ เพื่อที่จะไม่ให้พลาดการเรียนและเข้าชั้นเรียนได้ตรงตามเวลา
7. จดบันทึก Take notes ในสมุดบันทึก หรือ Application ที่เหมาะกับตัวเองเพื่อสังเคราะห์ประเด็นสำคัญจากการเรียนซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ในการเรียนออนไลน์หรือในห้องเรียน
8. ค้นคว้าแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ ฐานข้อมูล Database online/ ejournal/ ebook ต่างๆ เพื่อช่วยเสริมทักษะความรู้ในการเรียน

เรียนออนไลน์อย่างไรให้สำเร็จ 100 % 8 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

พลังจิตของคนสำเร็จคิดบ่อยๆเงินไหลเข้ามาเอง | EP132


แจกฟรี! อีบุ๊ก 18 ความลับ! เปลี่ยนคุณ\rให้เป็น\rคนเจ้าเสน่ห์ [ทำยังไงให้ใครๆก็รักตั้งแต่แรกพบ]
👉https://lin.ee/iwazNnx
ฟังฟรี! จิตวิทยาการพูดชนะใจคน
👉https://www.youtube.com/playlist?list=PLfdtkwJb5cVr68FikXL1rVSYCpCn0vGle
กดเข้ากลุ่มฟรี! พูดพิชิตใจแบบจ้าวเสน่ห์!
👉https://www.facebook.com/groups/astcharismasecrets/
▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃
ติดต่องาน 0621562868
Email : [email protected]
▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃▃
ครองใจคน,วิธีชนะมิตรและจูงใจคน,วิธีการพูดนำเสนอ
,พูดอย่างไรให้น่าฟัง,สร้างเสน่ห์,เทคนิคการพูดโน้มน้าวใจ,การพูดพิธีกร,เทคนิคพูดให้น่าฟัง,พูดอย่างไรให้จับใจคนฟัง,พูดอย่างไรให้คนชอบเรา,วิธีการพูดโน้มน้าวจูงใจ,พูดยังไงให้คนรัก,พูดอย่างไรให้คนเชื่อ,พูดอย่างไรให้คนคล้อยตาม,พูดในที่ชุมชน,พูดอย่างไรให้ชนะใจคนฟัง,พูดอย่างไรให้ผู้ชายหลง,พูดอย่างไรให้มีเสน่ห์,คุยอย่างไรให้ได้คบ,คุยอย่างไรให้ผู้ชายชอบ,คุยอย่างไรให้ผู้หญิงชอบ,คุยอย่างไรให้สนุก,คุยอย่างไรไม่ให้เบื่อ,เทคนิคคุยกับลุกค้า,เทคนิคพูดหน้ากล้อง,เทคนิคพูดขายของ,เทคนิคเล่าเรื่อง,เล่าเรื่องอย่างไรให้สะกดใจคน

พลังจิตของคนสำเร็จคิดบ่อยๆเงินไหลเข้ามาเอง | EP132

19 สอนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ 1


19 สอนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ 1

Sittalk ปลดล็อคแรงบันดาลใจ – ตัน ภาสกรนที กัปตันที่ไม่เคยยอมแพ้ในทุกมรสุม


…ความศรัทธาในตัวเอง และการลงมือทำอย่างจริงจัง โดยให้ความเชื่อเป็นตัวนำพาไปสู่ความสำเร็จ แม้จะมีอุปสรรคมากมายที่ถาโถมเข้ามา ชายที่ชื่อว่า \”ตัน ภาสกรนที\” ไม่เคยคิดที่จะยอมแพ้แม้แต่ครั้งเดียว…

Sittalk ปลดล็อคแรงบันดาลใจ - ตัน ภาสกรนที กัปตันที่ไม่เคยยอมแพ้ในทุกมรสุม

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เรียนอย่างไรให้ประสบความสําเร็จ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *