Skip to content
Home » [NEW] | gap ประเทศไทย – NATAVIGUIDES

[NEW] | gap ประเทศไทย – NATAVIGUIDES

gap ประเทศไทย: คุณกำลังดูกระทู้

excerpt

ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก สร้างความเสียหายในวงกว้างต่อเศรษฐกิจไทย และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต เพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ บทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ แนวทางการแก้ไขปัญหาและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศที่มากเกินขีดความสามารถในการดูดซับของธรรมชาติ โดยสาเหตุหลักมาจากการใช้พลังงานโดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มากขึ้นตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา ผนวกกับการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและรองรับการขยายตัวของเมือง โดยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ซึ่งส่งผลต่อสมดุลพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่แผ่ลงมาสู่พื้นผิวโลก เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ มีคุณสมบัติในการดูดซับความร้อนจากพื้นผิวโลกไม่ให้สะท้อนกลับสู่อวกาศ และมีการแผ่พลังงานส่วนหนึ่งกลับลงยังพื้นผิวโลก ส่งผลให้พื้นผิวโลกและบรรยากาศชั้นล่างอบอุ่นและร้อนกว่าปกติซึ่งรู้จักกันในนาม “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” (UNITAR, 2015)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ทำให้ความเข้มข้นของ CO2 ในชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มขึ้นจากระดับที่ไม่เคยเกิน 300 ppm (หนึ่งส่วนในล้านส่วน) ในช่วง 800,000 ปีที่ผ่านมา มาอยู่ที่ระดับ 409.8 ppm ในปี พ.ศ. 2562 (NOAA, 2021) (รูปที่ 1) เนื่องจากธรรมชาติสามารถดูดซับ CO2 ที่ถูกปล่อยออกมาได้เพียง 60% ของปริมาณการปล่อย CO2 ทั้งหมด (Friedlingstein et al., 2019) โดยการปล่อย CO2 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2515–2563) ทำให้ปรากฏการณ์เรือนกระจกมีความรุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนที่สูงขึ้นและสภาพภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลง

รูปที่ 1: ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศของโลกในรอบ 800,000 ปี

ที่มา: ดัดแปลงจาก NOAA Climate.gov

รูปที่ 2: แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2513–2552

ที่มา: ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา

ผลการศึกษาที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยในรอบ 40–50 ปีที่ผ่านมา (รูปที่ 2) อุณหภูมิในภาพรวมเพิ่มขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส (°C) และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1–2 °C ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2593 การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะส่งผลให้เหตุการณ์สภาวะสุดขั้วของอุณหภูมิ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2554; 2559) การศึกษาของ Limsakul (2020) พบว่า หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 °C ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2583 อุณหภูมิในภาพรวมของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.67 °C นอกจากนั้น ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ยังได้คาดการณ์ว่าภายใต้ภาพฉายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตแบบวิถีความเข้มข้นตัวอย่างระดับ 8.5 (Representative Concentration Pathway 8.5: RCP8.5) อุณหภูมิอากาศของไทยในช่วง พ.ศ. 2563–2593 จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณ 2 °C เมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิอากาศช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝนซึ่งมักจะมีความแปรปรวนสูงในเชิงพื้นที่ พบว่าปริมาณฝนสะสมรวมรายปีในช่วง พ.ศ. 2498–2557 ได้เพิ่มขึ้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย แต่ปรับลดลงในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งอันดามัน นอกจากนี้ ยังพบว่า ปริมาณฝนสะสมรวมในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอัตรา 10.8 มิลลิเมตรต่อทศวรรษ หากพิจารณาสภาวะความรุนแรงของฝน พบว่าความถี่ของเหตุการณ์ฝนตกหนักเพิ่มขึ้นแต่ระยะเวลาที่ฝนตกอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยลดลง ส่งผลให้บางพื้นที่ของประเทศมีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลันเพิ่มขึ้น สำหรับพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย พบว่าความถี่มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากพิจารณาจำนวนพายุในระดับที่รุนแรงกว่าพายุดีเปรสชั่นที่เกิดขึ้นในรอบทุก ๆ 10 ปี แล้ว กลับพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจส่งผลให้ประเทศไทยประสบกับความแห้งแล้งที่ยาวนานขึ้นสอดแทรกกับการเกิดน้ำท่วมฉับพลันเป็นระยะ ทำให้การตั้งรับและปรับตัวมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น (สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2554; 2559)

งานวิจัยหลายงานสรุปให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และคาดว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบอย่างมากในอนาคตอีกด้วย อาทิ Eckstein, Künzel & Schäfer (2021) ได้ทำการจัดอันดับประเทศต่าง ๆ ของโลกที่เผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยพิจารณาจากการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และพบว่า ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9 ของโลก และได้เผชิญกับเหตุการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่า 140 ครั้ง ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 7,719 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเมื่อคำนึงถึงภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (PPP) และนับเป็น 6 ปีติดต่อกันตั้งแต่ปี 2559 ที่ไทยอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลกที่มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนั้น Swiss Re Institute (2021) ได้ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) ของ 48 ประเทศซึ่งครอบคลุมกว่า 90% ของ GDP โลก และพบว่า GDP ของไทยคาดว่าจะลดลงเป็นสัดส่วนเกือบมากที่สุดใน 48 ประเทศที่ได้ทำการประเมิน โดย GDP คาดว่าลดลง 4.9%, 19.5%, 33.7%, และ 43.6% ในปี พ.ศ. 2591 กรณีอุณหภูมิสูงขึ้น ไม่เกิน 2 °C, 2 °C, 2.6 °C, และ 3.2 °C ตามลำดับ หากประเทศไทยไม่มีมาตรการปรับตัวใด ๆ เพื่อลดผลกระทบ โดยงานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อภัยแล้งที่สูงมากเป็นอันดับ 6 และมีขีดความสามารถในการรับมือที่ค่อนข้างต่ำอยู่ในอันดับที่ 39 จาก 48 ประเทศที่ทำการประเมินผลกระทบ โดยเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะถูกกระทบมากที่สุดในด้านการท่องเที่ยว ความเครียดจากความร้อน และด้านการเกษตร

โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างต่อการทำการเกษตร
ป่าไม้ พื้นที่ชายฝั่งทะเล ทรัพยากรน้ำ สุขภาพ และสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะมีนัยสำคัญต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่ตั้งแต่ แฟชั่น คลาวด์คอมพิวติ้ง การธนาคารและการเงิน ฯลฯ โดยแต่ละภาคเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน อาทิ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการท่องเที่ยว เนื่องจากสภาพอากาศที่เหมาะสมมีส่วนอย่างมากในการสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว โดยผลกระทบทางตรงจะเกิดจากน้ำท่วม ความแห้งแล้ง ความหนาวเย็น ซึ่งสร้างความเสียหายด้านโครงสร้างพื้นฐานจะส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของธุรกิจการท่องเที่ยว และผลกระทบทางอ้อม จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม และสภาพนิเวศ เนื่องจากการท่องเที่ยวจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมเป็นสิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยว

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะสภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศ เช่น น้ำท่วมและน้ำแล้ง จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต อาจทำให้โรงงานหรือเครื่องจักรอุปกรณ์ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ การขาดแคลนน้ำเนื่องมาจากภาวะภัยแล้งอาจส่งผลต่อกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.), 2561)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มที่จะส่งผลโดยตรงต่อการเกษตรทั้งในเชิงกายภาพของพืชและสัตว์รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่ใช้เพื่อการเกษตร Attavanich et al. (2019); วิษณุ อรรถวานิช และคณะ (2564) ได้ศึกษาในเชิงลึกถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคเกษตร และได้แสดงให้เห็นว่า ภาคเกษตรไทยนับว่ามีความเปราะบางสูงมากต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยภาคเกษตรมีแรงงานจำนวนถึง 12.62 ล้านคน คิดเป็น 34.1% ของกำลังแรงงานทั้งหมด (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2563) ขณะที่ภาคเกษตรมีส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) เพียง 8.6% (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2564) สะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ในภาคเกษตรมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยว่าแรงงานในภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ และหากพิจารณาลักษณะของพื้นที่ทำการเกษตรจะพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินถือครองไม่มาก มีการศึกษาน้อย และมีครัวเรือนเกษตรเพียง 26% ที่เข้าถึงระบบชลประทาน และยังเผชิญกับปัญหาสังคมสูงวัยในอัตราเร่งและสูงกว่าภาคเศรษฐกิจอื่น และเกษตรกรหนุ่มสาวยังทยอยออกนอกภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง

Attavanich (2017) พิจารณาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคเกษตรพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าจะสร้างความเสียหายสะสมระหว่างช่วงปี 2554–2588 คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 0.61–2.85 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 17,912–83,826 ล้านบาทต่อปี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทานจะได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่า 0.38–2.16 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 11,245–63,420 ล้านบาทต่อปี ขณะที่พื้นที่ในเขตชลประทานจะได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่า 0.23–0.69 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 6,667–20,405 ล้านบาทต่อปี (รูปที่ 3 ซ้าย) และเมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัดพบว่า 10 จังหวัดแรกที่คาดว่าจะมีมูลค่าความเสียหายมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร สงขลา นครราชสีมา ตรัง จันทบุรี ระยอง กระบี่ และประจวบคีรีขันต์ ตามลำดับ (รูปที่ 3 ขวา)

รูปที่ 3: มูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อเกษตรกรเฉลี่ยของไทยระหว่างปี 2554–2588 (ล้านบาท)

ที่มา: Attavanich (2017)

หากพิจารณาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตของพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ งานวิจัยพบว่าผลผลิตข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และยางพาราจะปรับตัวลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเกษตรกร ธุรกิจที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงรายได้จากการส่งออกของประเทศไทย และอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกอีกด้วย โดยผลผลิตข้าวทั้งหมดซึ่งรวมทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรังคาดว่าจะลดลงประมาณ 10.18% และ 13.33% ภายใต้ภาพฉาย RCP4.5 และ RCP8.5 ตามลำดับ (Pipitpukdee and Attavanich, 2021) สำหรับผลผลิตพืชไร่อื่น ๆ เช่น อ้อยโรงงาน พบว่าผลผลิตอ้อยโรงงานคาดว่าจะลดลง 24.94% และ 34.93% ภายใต้ภาพฉาย RCP4.5 และ RCP8.5 ตามลำดับ ผลผลิตมันสำปะหลังซึ่งเป็นพืชทนแล้งก็คาดว่าจะลดลง 14.74% และ 21.26% ภายใต้ภาพฉาย RCP4.5 และ RCP8.5 ตามลำดับ (Pipitpukdee, Attavanich, and Bejranonda, 2020a; 2020b) และผลผลิตยางพาราคาดว่าจะลดลง 5.30% และ 2.86% ภายใต้ภาพฉาย RCP4.5 และ RCP8.5 ตามลำดับ (Attavanich, 2019) (รูปที่ 4)

การลดลงของผลผลิตของพืชเศรษฐกิจหลักประเภทต่าง ๆ ข้างต้น อาจจะส่งผลให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำที่ใช้สินค้าเกษตรเหล่านี้เป็นวัตถุดิบ ต้องเผชิญกับผลประกอบการที่ผันผวนจากต้นทุนการผลิตและปริมาณวัตถุดิบที่มีความไม่แน่นอน นอกจากนั้น ปริมาณสินค้าเกษตรที่ส่งออกสู่ตลาดโลกคาดว่าจะลดลงเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังและยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก ขณะที่ข้าวและน้ำตาลส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยอุปทานส่งออกในตลาดโลกของข้าว น้ำตาล และแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลกคาดว่าจะปรับตัวลดลง 7% 3% และ 13% ตามลำดับ

รูปที่ 4: ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตพืชเศรษฐกิจหลักของไทยระหว่างปี พ.ศ. 2589–2598 ตามภาพฉาย RCP4.5 และ RCP8.5 เมื่อเทียบกับช่วงปีฐาน พ.ศ. 2535–2559

(a) ข้าว

(b) อ้อยโรงงาน

(c) มันสำปะหลัง

(d) ยางพารา

ที่มา: (a) Pipitpukdee and Attavanich (2021); (b, c) Pipitpukdee, Attavanich & Bejranonda (2020a; 2020b); (d) Attavanich (2019)

จากมุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ ชั้นบรรยากาศจัดว่าเป็นสินค้าสาธารณะระดับโลก (Global public good) เนื่องจากเป็นสินค้าที่ไม่สามารถกีดกันการใช้ประโยชน์ได้ (Non-exclusive) และเป็นสินค้าที่ไม่แบ่งปันในการบริโภค (Non-rival) นำมาซึ่งปัญหา Free rider ในทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่จำกัดเฉพาะประเทศที่ร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เลยก็ได้รับประโยชน์จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ลดลงด้วย ซึ่งประเด็นนี้ส่งผลทำให้บางประเทศเลือกที่จะไม่เข้าร่วมความตกลงระหว่างประเทศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนั้น ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศต้องใช้เวลานานในการย่อยสลาย (อาทิ CO2 และ N2O ต้องใช้เวลา 50–200 ปี และ 120 ปี ในการย่อยสลายตามธรรมชาติ ตามลำดับ) (IPCC, 2013) ดังนั้น ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเกิดขึ้นต่อไป แม้ว่าจะหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน ดังนั้น การควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันในระดับระหว่างประเทศ (Supranational level) และการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำควบคู่ไปกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมกับประชาคมโลกเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้พัฒนานโยบายและแผนระดับชาติเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยไทยได้เข้าเป็นรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เมื่อปี พ.ศ. 2537 และต่อมาให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) และความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในปี พ.ศ. 2554 และ พ.ศ.2559 ตามลำดับ เพื่อนำไปสู่การสร้างกลไกและเครื่องมือในการรับมือและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ

ที่ผ่านมาประเทศไทยได้บูรณาการประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่นโยบายและแผนระดับชาติ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (ONEP, 2020) นอกจากนี้ สผ. ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง ได้จัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558–2593 เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายในการกำหนดทิศทางของประเทศให้มุ่งสู่การมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมีการเติบโตแบบปล่อยคาร์บอนต่ำตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี พ.ศ. 2593 โดยแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฎิรูปประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็นแผนหลักของแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (รูปที่ 5) ทั้งนี้ แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ระบุแนวทางดำเนินการ 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) การลดก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการเติบโตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ 2) การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) การสร้างขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (สผ., 2558)

รูปที่ 5: ความเชื่อมโยงของแผนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับแผนระดับต่าง ๆ ของประเทศไทย

ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2563)

ในฐานะประเทศภาคีสมาชิกนอกภาคผนวกที่ 1 (Non-Annex I) ของ UNFCCC ประเทศไทยได้ดำเนินการสนับสนุนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพทำให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ สผ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น ระบบสารสนเทศการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (TGEIS) การเตรียมความพร้อมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการดำเนินงานด้านการเงินของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GCF) โครงการศึกษาการลดก๊าซเรือนกระจกในนาข้าวของประเทศไทย (Thai Rice NAMA) และการจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย นอกจากนี้ สผ. ได้จัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการยกระดับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

หากพิจารณาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย พบว่า ภาคพลังงานมีสัดส่วนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และภาคของเสีย ตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2559 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งรวม CO2, CH4 และ N2O แต่ไม่รวมการใช้ที่ดินและป่าไม้ อยู่ที่ 354,357.61 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GgCO2eq) ในขณะที่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับ/กักเก็บสุทธิอยู่ที่ 91,134.15 GgCO2eq ดังนั้น ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิอยู่ที่ 263,223.46 GgCO2eq โดยภาคพลังงานมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคิดเป็น 71.65% ภาคอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 8.89% ภาคเกษตรปล่อยก๊าซเรือนกระจก 14.72% และภาคของเสียปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4.73% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด (รูปที่ 6)

รูปที่ 6: ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยรายสาขา ณ ปี พ.ศ. 2559 (ไม่รวมภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน)

ที่มา: ONEP (2020)

โดยการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะก่อนปี พ.ศ. 2563 ซึ่งดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจตามแผนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs) โดยกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาพลังงานและขนส่ง 7–20% จากกรณีปกติ ภายในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 15.8% (ONEP, 2020) และ
  2. ระยะภายหลังปี พ.ศ. 2563 ซึ่งดำเนินการภายใต้การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ของความตกลงปารีส โดยกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาพลังงานและขนส่ง กระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และการจัดการของเสีย 20–25% จากกรณีปกติ ภายในปี พ.ศ. 2573 (Thailand’s Updated NDC, 2020)

นอกจากนี้ สผ. ร่วมกับหน่วยงานในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564–2573 เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ NDC

หากพิจารณาแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกฯ พบว่า สาขาพลังงานและขนส่ง สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาการจัดการของเสีย เป็นสาขาหลักในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งไม่ได้รวมสาขาการเกษตร สาขาป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้ โดย 3 สาขาแรกมีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก ณ ปี พ.ศ. 2573 รวมทั้งสิ้น 115.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2eq) โดยมาตรการที่สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ระบุในแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกฯ ประกอบด้วย มาตรการในสาขาพลังงานและขนส่ง 9 มาตรการ มาตรการในสาขาการจัดการของเสีย 4 มาตรการ และมาตรการในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ 2 มาตรการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขาได้มีการทบทวนและเพิ่มเติมมาตรการ โดยปรับเพิ่มเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาพลังงาน ขนส่ง กระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และการจัดการของเสีย เท่ากับ 117.66, 35.42, 2.25, และ 1.53 MtCO2eq ตามลำดับ สาขาพลังงานนับว่าเป็นสาขาที่มีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด โดยกระทรวงพลังงานได้ใช้แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ในการจัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ถึงปี พ.ศ. 2573

นอกจากนโยบายที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านกระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (Decarbonization) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้รัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ตัดสินใจเลือกที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ความเป็นกลางด้านคาร์บอน (Carbon neutral) ภายในครึ่งหลังของศตวรรษ ทั้งนี้ประเทศต่าง ๆ ควรดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเชิงลึก (Deep Decarbonization) โดยกรอบเวลาของมาตรการควรสอดคล้องกับ Deep Decarbonization Pathways เพื่อรักษาอุณหภูมิของโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 °C เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ภายในปี พ.ศ. 2593 (Chhay & Limmeechokchai, 2019). โดยมีหลายมาตรการที่ควรดำเนินการ อาทิ

  • มาตรการในภาคผลิตไฟฟ้า สัดส่วนพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 29% ในปี พ.ศ. 2563เป็น 60% ในปี พ.ศ. 2573 และเพิ่มขึ้นถึงระดับเกือบ 90% ในปี พ.ศ. 2593 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2573- 2593 ทั่วโลกจะมีการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 600 GW และไฟฟ้าจากลม 340 GW โรงไฟฟ้าถ่านหินจะถูกปลดระวางภายในปี พ.ศ. 2573

  • มาตรการในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดลง 20% ในปี พ.ศ. 2573และ 90% ในปี พ.ศ. 2593 ประมาณ 60% ของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2593 มาจากเทคโนโลยีใหม่ เช่น ไฮโดรเจน หรือเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) โดยจะเริ่มมีการใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2573 เป็นต้นไป

  • มาตรการในภาคขนส่ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดลง 20% ในปี พ.ศ. 2573 และ 90% ในปี พ.ศ. 2593 โดยภายในปี พ.ศ. 2573 รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกจะมีสัดส่วนมากกว่า 60% ของยอดขายรถยนต์ และเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) หรือรถยนต์ไฟฟ้าคิดเป็น 30% ของยอดขายรถบรรทุกหนัก ภายในปี พ.ศ. 2578 รถยนต์เกือบทั้งหมดที่จำหน่ายทั่วโลกจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

สำหรับมาตรการ Deep Decarbonization Pathways 2593 ข้างต้น ประเทศพัฒนาแล้วได้ดำเนินการมาบ้างแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นปีที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด (Peak year) แล้ว ในขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย ณ ปัจจุบันยังไม่สามารถบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด (Peak emissions)

อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการตาม Deep Decarbonization Pathways 2593 ทันทีในปัจจุบันอาจจะส่งกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Rajbhandari, Limmeechokchai & Masui 2019) ปัจจุบันทาง สผ. ได้จัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไปเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว รวมถึงการลงทุนใหม่ในโครงสร้างพื้นฐานจากการเปลี่ยนรูปแบบการผลิตพลังงานของประเทศเพื่อรองรับ Deep Decarbonization Pathways ทั้งภายใต้กรณีการรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่เกิน 2 °C และกรณีการรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่เกิน 1.5 °C กรณีรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่เกิน 2 °C นั้น มูลค่าเศรษฐกิจที่สูญเสีย (GDP loss) จะอยู่ที่ 2.6% ในปี พ.ศ. 2573 และ 18.0% ในปี พ.ศ. 2593 โดยที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยจะเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2633 ขณะที่กรณีรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่เกิน 1.5 °C พบว่า GDP loss จะอยู่ที่ 9.2% ในปี พ.ศ. 2573 และ 66.5% ในปี พ.ศ. 2593 โดยที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยจะเป็นศูนย์ในปี 2593 (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1: ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำต่อเศรษฐกิจ

ปี พ.ศ.มูลค่าเศรษฐกิจที่สูญเสีย (GDP loss) (%)
กรณีรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่เกิน2 °C1.5 °C2573-2.61-9.222583-6.60-6.042593-18.01-66.47

ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2564)

จากข้อมูลที่ได้นำเสนอก่อนหน้าจะพบว่าประเทศไทยมีความเปราะบางและได้รับผลกระทบสูงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change adaptation) จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย โดยการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มภูมิคุ้มกัน (Resilience) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต โดยรายงาน IPCC ก็ได้เสนอกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งมองความเสี่ยง (Risks) ที่ถูกขับดันด้วยผลกระทบ (Impacts) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นแกนกลางในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Pachauri et al., 2014)

เนื่องด้วยแต่ละภาคส่วนล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น แต่ละภาคส่วนจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อให้เห็นภาพนโยบายและมาตรการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเชิงลึกมากขึ้น จึงขอยกตัวอย่างการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตร โดยงานวิจัยในอดีต (อาทิ Attavanich and Pengthamkeerati 2018; Thampanishvong, Akram and Sirison, 2021; Thampanishvong, Paopongsakorn and Adikari, 2018) พบว่ามีหลายวิธีที่มีศักยภาพ ดังนี้

  1. การปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง (Alternate Wetting and Drying: AWD) สำหรับข้าวนาปรังในพื้นที่ชลประทาน นอกจากจะช่วยลดการใช้น้ำในฤดูแล้งแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรได้ประมาณ 1,000 บาทต่อไร่ และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตข้าวทั้งหมดประมาณ 2.32–6.33% ในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทียบกับกรณีปกติ (business-as-usual: BAU)

  2. การลดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูกข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง แม้ว่าวิธีการนี้จะทำให้ต้นทุนการจัดการแปลงของเกษตรกรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้สามารถลดปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM2.5 (สารก่อมะเร็งกลุ่ม 1) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นวงกว้างในทุกภูมิภาคของประเทศ (ยกเว้นภาคใต้) นอกจากนั้น วิธีการนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สูงถึง 22.22–66.47% ในปี พ.ศ. 2573 เทียบกับ BAU

  3. วิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืช (SSNM) ซึ่งช่วยลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยได้ ประมาณ 215–253 บาทต่อไร่ สำหรับการปลูกข้าว 134–154 บาทต่อตัน สำหรับการปลูกอ้อยโรงงาน 20–36 บาทต่อตัน สำหรับการปลูกมันสำปะหลัง 59–334 บาทต่อตันสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ 563–1,037 บาทต่อตันสำหรับการปลูกยางพารา โดยแนวทางนี้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในข้าวได้ถึง 5.64–13.59% ในปี พ.ศ. 2573 เทียบกับ BAU

  4. สำหรับกรณีของปศุสัตว์ วิธีการปรับปรุงอาหารสัตว์จะช่วยลดต้นทุนการผลิตโคเนื้อและกระบือได้ประมาณ 3.59% และ 3.17% ตามลำดับ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1.28% ในปี พ.ศ. 2573 เทียบกับ BAU และวิธีการจัดการมูลสุกรเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) ก็สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 5.78% และ 9.88% ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2573 เทียบกับ BAU และสามารถลดมลพิษทางกลิ่นและการปนเปื้อนของยาปฎิชีวะในแหล่งน้ำได้อีกด้วย

  5. การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ พบว่าช่วยให้รายได้สุทธิของเกษตรกรเพิ่มขึ้น 33,808 บาท/ครัวเรือน ช่วยลดโอกาสในการได้รายได้สุทธิเป็นศูนย์หรือติดลบ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครัวเรือนเกษตร (Thampanishvong, Akram and Sirison, 2021)

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรสามารถทำได้อีกหลากหลายรูปแบบ อาทิ เปลี่ยนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และพันธุ์สัตว์น้ำ การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการปรับตัว การปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์ในโรงเรือน การปรับเปลี่ยนปฏิทินเพาะปลูก และการอนุรักษ์ดิน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในอดีตพบว่า เกษตรกรบางส่วนเลือกที่จะไม่ปรับตัว เพราะขาดความรู้เรื่องการปรับตัว ไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อใช้ในการปรับตัว ฯลฯ (Thampanishvong, Paopongsakorn and Adikari, 2018)

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีแผนและนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศข้างต้น แต่การดำเนินการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศไทยมีประเด็นความท้าทายโดยสามารถเรียงตามลำดับสำคัญได้ดังนี้

  1. ขาดกฎหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก โดยใช้บังคับให้มีการเปิดเผยข้อมูลและจัดส่งข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ที่จะช่วยสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบัน สผ. ได้จัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ แต่พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวยังไม่ได้มีการใช้บังคับ

  2. ขาดกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการตรวจวัด การรายงานผล และการทวนสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Measurable, Reportable and Verifiable: MRV) โดยการตรวจวัดเน้นการตรวจสอบการเก็บข้อมูลฐาน ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล การรายงานผลเป็นการแสดงข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกโครงการ โดยอาจแยกเป็นการรายงานผลทางตรงและทางอ้อม และในส่วนของการทวนสอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่รายงานนั้นสะท้อนปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แท้จริง ทั้งนี้ กระบวนการ MRV จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในส่วนของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้

  3. ภาคเอกชนขาดความรู้ในการตรวจวัดและรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

  4. ขาดมาตรการทางเศรษฐศาสตร์และกลไกทางการเงินที่จะสนับสนุนการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะในส่วนของภาคเอกชน

  5. ความท้าทายในการเข้าถึงเทคโนโลยีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในราคาที่สมเหตุสมผลและภาคส่วนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้

  6. ภาคประชาชนขาดความตระหนักและความรู้ในการมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

สำหรับด้านการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่ามีท้าทายโดยสามารถเรียงตามลำดับสำคัญได้ดังนี้

  1. ขาดการบูรณาการฐานข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตและการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสาขาต่าง ๆ และปัจจุบันข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน

  2. การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องใช้เงินทุน ในบริบทของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตร การศึกษาของ Thampanishvong (2016) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่าการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ (Access to credit) และการสนับสนุนทางด้านการเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเกษตรกรต้องการเงินทุนดังกล่าวในการซื้อพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ขุดสระน้ำในไร่นา การซื้อเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการทำการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพลมฟ้าอากาศ เช่น ระบบน้ำหยด เป็นต้น ซึ่งข้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับงานศึกษาของ Nhemachena and Hassan (2007) นอกจากสาขาเกษตรแล้ว การปรับตัวในสาขาอื่น ๆ การเข้าถึงเงินทุนก็เป็นข้อจำกัดที่สำคัญเช่นเดียวกัน ทั้งสาขาการท่องเที่ยว สาขาการจัดการน้ำ รวมถึงสาขาการตั้งถิ่นฐาน

  3. ขาดการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ช่วยเอื้อต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  4. ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสาขาต่าง ๆ ขาดความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงขาดความรู้เกี่ยวกับการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแนวทางในการปรับตัว

ในส่วนของการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควรเร่งดำเนินการตามลำดับความสำคัญดังนี้

  1. ผลักดันให้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

  2. การพัฒนาระบบ MRV และระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  3. สนับสนุนความรู้ให้กับภาคเอกชนในการตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

  4. สนับสนุนการใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เช่น ภาษีคาร์บอน ระบบ Cap and trade กองทุนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

  5. สนับสนุนให้ภาคส่วนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับสนับสนุนการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น บทบาทของตลาดทุนผ่านการออกพันธบัตรสีเขียว บทบาทของธนาคารพาณิชย์ในการสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว เป็นต้น

  6. ประเทศไทยควรเร่งปรับปรุงการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564–2573 ให้เข้มข้นขึ้นกว่า 20% อีกทั้ง ควรเร่งทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจกถึงปี พ.ศ. 2593 แบบ Economy wide

  7. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้สาขาเกษตรซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 2 มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากขึ้นจากปัจจุบันเพิ่มเติมจากสาขาพลังงานและขนส่ง สาขากระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาการจัดการของเสีย

ในส่วนของการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะในภาคการเกษตร ควรเร่งดำเนินการตามลำดับความสำคัญดังนี้

  1. ควรส่งเสริมการจัดหาแหล่งน้ำให้เกษตรกรเพื่อลดความผันผวนของสภาพอากาศ

  2. ควรให้เงินช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไข (Conditional assistance) เพื่อจูงใจให้เกษตรกรยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ Attavanich et al. (2019) ได้ชี้ให้เห็นว่านโยบายในภาคเกษตรส่วนใหญ่เน้นการให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าซึ่งทำให้ลดแรงจูงใจในการปรับตัว ตัวอย่างเช่น ผลผลิตข้าวต่อไร่ทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรังของไทยปรับเพิ่มขึ้นน้อยมากตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 และต่ำกว่าผลผลิตข้าวต่อไร่ระดับศักยภาพกว่า 2 เท่าตัว (Global Yield Gap Atlas, 2021) ดังแสดงในรูปที่ 7

รูปที่ 7: ผลผลิตต่อไร่จริงและผลผลิตต่อไร่ตามศักยภาพของข้าวนาปีนอกและในเขตชลประทานของไทย

ที่มา: ประมวลจาก Global Yield Gap Atlas (2021)

  1. ควรดำเนินการ Upskill เกษตรกรให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับตัวที่เหมาะสม เช่น การปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยแทนข้าว โดยบูรณาการความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่พร้อมกับงบประมาณสนับสนุนเพื่อลดข้อจำกัดของหน่วยงานภาครัฐที่มีบุคลากรจำกัด

  2. ควรส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน งานวิจัยพบว่า การทำเกษตรผสมผสานหลายรูปแบบจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการทำเกษตรเชิงเดี่ยวภายใต้ระดับความเสี่ยงเดียวกัน (Attavanich et al., 2019) โดยคณะผู้เขียนพบว่าปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรผสมผสานคือการมีเกษตรกรหนุ่มสาวทำการเกษตรในครัวเรือน ทำงานเกษตรเต็มเวลา มีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง และเป็นสมาชิกของสถาบันเกษตรกร

  3. ควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับเกษตรกรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ งานวิจัยของคณะผู้เขียนพบว่าการ Upskill ให้ความรู้ การส่งเสริมผ่านการเป็นสมาชิก ธ.ก.ส. และการรวมแปลงของเกษตรกรน่าจะช่วยเพิ่มความน่าจะเป็นในการใช้แอพพลิเคชั่นของเกษตรกรรายย่อย

  4. ควรสนับสนุนงานวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตพืช ปศุสัตว์ และประมง ให้ครอบคลุมหลายชนิดสินค้า และเน้นวิเคราะห์ผลกระทบทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อระบุพื้นที่และผลผลิตที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  5. ควรส่งเสริมงานวิจัยเพื่อการปรับตัวลดผลกระทบสำหรับผลผลิตเกษตรแต่ละชนิดในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบสูงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  6. ควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการวิเคราะห์และเตือนภัยล่วงหน้าอย่างทั่วถึงและแม่นยำ

  7. ควรพัฒนาระบบประกันภัยสินค้าเกษตรและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้อย่างแพร่หลายเพื่อคุ้มครองความเสียหายหรือสูญเสียต่อพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติให้มากขึ้น

  8. ควรเพิ่มแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเทคโนโลยีประหยัดน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำและมีความต้องการใช้น้ำสูง เช่น พื้นที่ 3 จังหวัด (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) งานวิจัยพบว่า ภาคเกษตรและระบบนิเวศจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการลดการใช้น้ำและใช้น้ำซ้ำในภาคบริการ (ธนพล เพ็ญรัตน์ และคณะ, 2564)

ธนพล เพ็ญรัตน์ วิษณุ อรรถวานิช ชลัณดา สนธิ วินัย เชาวน์วิวัฒน์ จตุภูมิ ภูมิบุญชู ฉัตรพร หาระบุตร…และคณะ. (2564). การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะสำหรับภาคบริการในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สัญญาเลขที่ SIP6230027.

วิษณุ อรรถวานิช พูนพิภพ เกษมทรัพย์ ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ จรวย สุขแสงจันทร์ และศศิธร ตรงจิตภักดี. 2564. โครงการ การจัดทำแผนพัฒนากำลังคนภาคการเกษตรของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2564. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2559). รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย พ.ศ. 2559. Link

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2554). รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพ องค์ความรู้ ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 1 คณะทำงานกลุ่มที่ 1. Link

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2563. โครงการสํารวจภาวะการทํางานของประชากรระดับจังหวัด ไตรมาสที่ 3: กรกฎาคม – กันยายน 2563 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2564. รายได้ประชาชาติของประเทศไทย พ.ศ.2563 แบบปริมาณลูกโซ่ เข้าค้นหาเมื่อ 28 ส.ค. 2564 Link

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2558). แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558–2593.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2561). แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ. Link

Attavanich, W., Chantarat, S., Chenphuengpawn, J., Mahasuweerachai, P., & Thampanishvong, K. (2019). Farms, farmers and farming: a perspective through data and behavioral insights (No. 122). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Attavanich, W. & P. Pengthamkeerati. (2018). Support to the Development and Implementation of the Thai Climate Change Policy: Experts on GHG mitigation options in the Thai Agriculture sector. Funded by GIZ under supervision of ONEP & OAE.

Attavanich, W. (2017). Effect of Climate Change on Thailand’s Agriculture: New Results. Working Paper#25/2017. Department of Economics, Kasetsart University.

Attavanich, W. (2019). The Effect of Climate Change on Natural Rubber Production. Working Paper#15/2019. Department of Economics, Kasetsart University.

Brown, M. E., Carr, E. R., Grace, K. L., Wiebe, K., Funk, C. C., Attavanich, W., … & Buja, L. (2017). Do markets and trade help or hurt the global food system adapt to climate change?. Food Policy, 68, 154–159.

Chhay, L. & Limmeechokchai, B. (2019). CO2 Mitigation in the Power Sector of Thailand: Analyses of Cleaner Supply-side Options Beyond the Paris Agreement. The Open Environmental Research Journal. 12, 15–25.

Eckstein, D., Künzel, V., & Schäfer, L. (2021). Global Climate Risk Index 2021. Who Suffers Most from Extreme Weather Events, 2000–2019? German Watch. ISBN: 978-3-943704-84-6

Global Yield Gap Atlas. (2021). Gap of Thailand’s rice yield. Link

Friedlingstein, G. et al. (2019). Global carbon budget 2019. Earth System Science Data, 11, 1783–1838.

Nhemachena, C., & Hassan, R. (2007). Micro-level analysis of farmers adaption to climate change in Southern Africa. Intl Food Policy Res Inst.

Pachauri, R. K., Allen, M. R., Barros, V. R., Broome, J., Cramer, W., Christ, R., … & van Ypserle, J. P. (2014). Climate change 2014: synthesis report. Contribution of Working Groups I, II and III to the fifth assessment report of the Intergovernmental Panel on Climate Change (p. 151). Ipcc.

Limsakul, A. (2020). Trends in Thailand’s extreme temperature indices during 1955–2018 and their relationship with global mean temperature change. Applied Environmental Research, 42(2), 94–107.

McCarl, B.A., W. Attavanich, M. Musumba, J. Mu, and R. Aisabokhae. 2014. Land Use and Climate Change. In the Oxford Handbook of Land Economics., Eds. Duke, M. Joshua, and J.J. Wu. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-976374-0, pp 800.

ONEP. (2020). Thailand Third Biennial Update Report. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. Link

Pipitpukdee, S., & Attavanich, W. (2021). Future of rice production in Thailand under changes in climate and socio-economic conditions. Submitted.

Pipitpukdee, S., Attavanich, W., & Bejranonda, S. (2020a). Impact of climate change on land use, yield and production of cassava in Thailand. Agriculture, 10(9), 402.

Pipitpukdee, S., Attavanich, W., & Bejranonda, S. (2020b). Climate change impacts on sugarcane production in Thailand. Atmosphere, 11(4), 408.

Rajbhandari, S., Limmeechokchai, B. & Masui, T. (2019). The impact of different GHG reduction scenarios on the economy and social welfare of Thailand using a computable general equilibrium (CGE) model. Energy, Sustainability and Society, 9(19), 1.

Swiss Re Institute. (2021). Economics of climate change: no action not an option. Link

Thailand’s Updated Nationally Determined Contribution (2020). Link.

Thampanishvong, K. (2016). Analyzing the Determinants of Farmers’ Adaptation to Climate Change in the Chao Phraya River Basin, Thailand Development Research Institute Policy Brief.

Thampanishvong, K., Akram, A. & Sirison, N. (2021). New Theory Agriculture: A Promising Rural Agricultural Development Model in Thailand.

Thampanishvong, K., Paopongsakorn, N. & Adikari, B. (2018). Analysis of costs and benefits of farmers’ adaptation to extreme weather events in the Chao Phraya River Basin.

UNITAR. (2015). The Scientific fundamentals of climate change. United Nations Institute for Training and Research. Link.

[NEW] ห่วงช่องว่างการศึกษาไทย ปมเหตุ นโยบาย-วิธีปฏิบัติ ชี้หากเด็กเรียนไม่ทัน ยิ่งหลุดระบบ | gap ประเทศไทย – NATAVIGUIDES

ห่วงช่องว่างการศึกษาไทย ปมเหตุ นโยบาย-วิธีปฏิบัติ ส่งผลโรงเรียนห่างไกล ชี้หากเด็กเรียนไม่ทัน จะยิ่งหลุดจากระบบการศึกษา เสนอทางออกโรงเรียนพัฒนาตนเอง

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ 11 เครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง ได้แก่ มูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต ,มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ,มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา ,มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ,มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ,มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์ยวพัฒน์ ,มูลนิธิรัฐบุรุษฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ,มูลนิธิสยามกัมมาจล และ 11.สพป. สุรินทร์ เขต 2 ซึ่งมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ จำนวน 659 แห่งทั่วประเทศ จัดเสวนาออนไลน์ โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ ปิด Gap ห้องเรียนยุคโควิด-19 ครั้งที่ 1”

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และประธานอนุกรรมการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ กล่าวว่า Learning Loss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย หรือ Learning Gap ช่องว่างการเรียนรู้ เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทย มานานและมากกว่าที่เกิดขึ้นจากโควิด -19 แต่หลายฝ่ายไม่รู้ตัว

เป็นช่องว่างที่ทำให้เด็กไม่ได้รับการพัฒนาโดยใช่เหตุ ไม่บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้เต็มศักยภาพ นักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานแตกต่างกัน ถ้าไม่ระวัง จะมีเด็กจำนวนหนึ่งที่ไม่บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้และไม่ได้รับการดูแล เป็นช่องว่างที่ต้องปิดเพื่อทำให้อย่างน้อยนักเรียนทุกคนต้องบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ขั้นต่ำ

นี่เป็นเป้าหมายที่ไม่เหนือบ่ากว่าแรง ประเทศที่คุณภาพการศึกษาดีทำได้ แต่ไม่ใช่ที่ประเทศไทยทำอยู่ในปัจจุบัน ต้องเปลี่ยนวิธีคิด ความเชื่อและเปลี่ยนระบบ เรื่องนี้เป็นเป้าหมายของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองที่กสศ.ร่วมกับ สพฐ. ตชด. อปท. สช. และ11เครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง

“GAPหรือช่องว่าง มีมากกว่าและใหญ่กว่า COVID GAP เกิดขึ้นจากวิวัฒนาการของการศึกษาของเรา ไม่ใช่แค่ประเทศไทย อีกกว่าครึ่งโลกก็เป็น แต่หลายประเทศ รู้ตัวและหาทางแก้ไข ประเทศฟินแลนด์ ใช้เวลากว่า 30 ปี จัดระบบที่ให้นักเรียนไม่ว่าอยู่ห่างไกลแค่ไหน แต่ต้องได้รับการศึกษาที่คุณภาพเท่าเทียมกัน เรื่องนี้สามารถทำได้ในประเทศไทย แต่ต้องเป็นนโยบาย

ของไทยขณะนี้ แม้ว่าต้องการให้เท่าเทียม แต่วิธีปฏิบัติสร้างความแตกต่าง สร้างความไม่เท่าเทียม สร้างความด้อยโอกาสให้แก่โรงเรียนที่อยู่ห่างไกล นี่คือปัญหา เช่น ทุกโรงเรียนได้รับงบประมาณแบบเดียวกัน เหมือนกันหมดทั้งประเทศ นโยบายนี้สร้างช่องว่าง โดยไม่รู้ตัว ในนามของความหวังดี แต่จริงๆ แล้วคือนโยบายที่ไม่ดี” ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าว

ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าวว่า การเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าครูไม่เรียนรู้จากการทำหน้าที่ของตน นี่คือหัวใจ ในโลกปัจจุบันการศึกษา การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมากทั้งมุมของเด็ก และครู

ดังนั้นแม้ครูเรียนมาจากสถาบันที่เก่งเท่าไหร่ พอมาทำงาน ความรู้ประสบการณ์เหล่านั้นไม่พอ ต้องเรียนรู้เพิ่ม ต้องเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครู ครูต้องเป็นนักเรียน เรียนจากการทำงานในหน้าที่ครู เรียนร่วมกัน ดังนั้นโรงเรียนต้องเป็นชุมชนการเรียนรู้ (learning community) ทั้งของครูและของศิษย์

“ผมเชื่อว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กไม่มีวันเต็ม100% เด็กแต่ละคนเต็มไม่เท่ากัน ผมเข้าใจว่า ขณะนี้โดยเฉลี่ยของเด็กไทย น่าจะไม่ถึง 30% เด็กเก่ง อาจไม่ถึง 80-90% แต่จะมีเด็กบางคนอาจได้แค่10-20% ไม่ใช่พูดให้ท้อถอย หรือตำหนิใคร แต่ชี้ให้เห็นว่า ครู โรงเรียน มีโอกาสที่จะพัฒนาอีกมากมาย ช่วยกันหาทาง เพื่อให้นักเรียน เรียนรู้ เต็มศักยภาพยิ่งขึ้น” ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าว

ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าวว่า ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนดี หลายครั้งนักเรียนที่หงอย ไร้แรงบันดาลใจ กลายเป็นคนมีชีวิตชีวา เท่ากับว่าครูได้ชุบชีวิตของนักเรียนขึ้นมา กรณีเด็กเกเร ครูก็สามารถช่วยได้ โดยการใช้เรื่องของปฏิสัมพันธ์เชิงบวก

นอกจากนี้ ยังมีช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการใช้ปฏิสัมพันธ์แบบนายกับลูกน้องระหว่างครูกับผู้บริหาร ปฏิสัมพันธ์แบบแนวดิ่ง เชิงอำนาจ เป็นตัวบั่นทอนคุณภาพการศึกษา เป็นคำพูดของนักการศึกษาทั่วโลกที่ทำวิจัยมา และชี้ให้เห็นว่า การสร้างเงื่อนไข กติกา ออกข้อบังคับ ออกหลักสูตรให้ดีอย่างไรแต่ครูไม่เป็นครูผู้ก่อการ ทำงานเพื่อสนองนาย สนองคำสั่ง ระบบการศึกษาไม่มีวันที่มีคุณภาพได้ นี่คือผลการศึกษาวิจัยจากทั่วโลก

ดังนั้นความเป็นกัลยาณมิตร ระหว่างผู้บริหารกับครู นั้นหมายความว่า ปฏิสัมพันธ์เน้นความเป็นแนวราบ ผู้บริหารต้อง Empower ครู ไม่ใช่สั่งการครู ทำให้ครูมีพลังขึ้นมา เพื่อจะทำงานพัฒนา ครูนั้นไม่ใช่เป็นเพียงผู้ทำงานเชิงเทคนิค หรือสอนเท่านั้น แต่เป็นผู้ทำงานพัฒนาในทุกระดับ จนถึงระดับจังหวัดระดับประเทศ ครูเป็นผู้มีส่วนร่วมพัฒนาระบบการศึกษาในทุกระดับ ไม่ใช่แค่ผู้รอรับคำสั่งจากเบื้องบนเท่านั้น

สำหรับช่องว่างหรือ GAP ระหว่างต้นสังกัดใหญ่ โรงเรียนและครู นั้นต้องร่วมกันสร้างสัมพันธ์แนวราบในระบบการศึกษา เป็นเครือข่ายสร้างสรรค์ ไม่ใช่สายการบังคับบัญชา เพื่อให้ทุกจุดของระบบมีพลังสร้างสรรค์ เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยไปถูกทาง เป็นระบบที่เรียนรู้และปรับตัว การศึกษาไทยปัจจุบันเป็นระบบที่ไม่มีการเรียนรู้ เพราะสั่งการจากเบื้องบนหมด ข้างล่างปฏิบัติตามคำสั่งและมีการมาตรวจวัด ไม่มีวันที่เราจะทำให้การศึกษามีคุณภาพอย่างแท้จริง

“ถ้าการศึกษาใดครูไม่เป็นผู้ก่อการ หวังยากมากที่จะทำให้การศึกษานั้นมีคุณภาพสูง หัวใจสำคัญ คือ อยู่ที่ความเป็นผู้ก่อการ (agency) ในระดับปฏิบัติ แต่แน่นอนว่า ระดับนโยบายมีความสำคัญด้วย นโยบายที่ทำให้เกิดขึ้นได้ คือนโยบายแบบ empowerment ความสัมพันธ์แนวราบ” ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าว

หวั่นเรียนไม่ทันเด็กยิ่งหลุดจากระบบการศึกษา

ในช่วงการเสวนาออนไลน์ในประเด็นการฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย จากประสบการณ์เครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO Starfish Education หนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) กล่าวว่า โควิด-19 เป็นวิกฤตที่เข้ามาซ้ำซ้อนวิกฤตช่องว่างการเรียนรู้เดิม ดังนั้นเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเองจึงพยายามใช้มาตรการที่ลดช่องว่างการเรียนรู้ให้มากที่สุด เพราะสิ่งที่เรากังวลคือการที่เด็กหลุดออกนอกระบบ การฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย หรือ Learning Loss จึงไม่ไช่เพียงด้านวิชาการเท่านั้น ต้องประกอบด้วย 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ด้านวิชาการ 2.ด้านพัฒนาการทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ 3. ทักษะทางสังคม ดังนั้นการเปิดเทอมจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ ไม่ใช่เพียงแค่แผนการสอน

สำหรับมาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย มี 5 ด้าน สำคัญ ได้แก่ 1.การประเมินสภาพแวดล้อมเด็กและครอบครัวทั้งระบบ ผู้ปกครองและครูสามารถช่วยกันประเมินความพร้อมของเด็กเป็นรายคน เช่น งานวิชาการบางอย่างเด็กเคยทำได้แต่วันนี้กลับทำไม่ได้ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ เศรษฐกิจของครอบครัว การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต

2.การวางแผนของโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อฟื้นฟูการเรียนถดถอย เรื่องนี้ไม่สามารถทำแค่ครูบางคน บางชั้นเรียน เพราะเด็กทุกคนได้รับผลกระทบทั้งหมด ดังนั้น ต้องวางแผนระดับโรงเรียน ทั้งระบบงาน มีทีม ทรัพยากร และงบประมาณ 3.สนับสนุนเครื่องมือและการพัฒนาครู เช่น พัฒนาศักยภาพและสนับสนุนเครื่องมือเพื่อประเมินช่องว่างการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับเด็กรายคน และจัดการเรียนการสอนช่วยเด็กๆได้ รวมถึงการสร้างสื่อการเรียนรู้

4.การช่วยเหลือนักเรียนรายบุคคล เพราะสถานการณ์ที่บ้านของเด็กมีความต่างกัน ต้องประเมินเพื่อจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล หรืออย่างน้อยที่สุดจัดการเรียนการสอนเป็นรายกลุ่มเพราะเราไม่สามารถใช้แผนเดียวทั้งห้องเรียนได้ 5.การติดตามและปรับปรุง ต้องทำในระยะสั้น ทำไปปรับไป เพื่อให้ทันสถานการณ์

“เราไม่สามารถทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นและกลับไปเปิดเทอมตามปกติได้ อยากให้มองเห็นว่ามีอะไรที่จะต้องเติมเต็มเด็กรายบุคคล หรือเติมเต็มสิ่งที่หายไป ต้องทำให้เด็กรู้สึกว่าโรงเรียนเป็นที่ของเขา ถ้าเด็กดั้นด้นมาโรงเรียนได้แล้ว

แต่โรงเรียนกลับไม่ตอบโจทย์ สอนตามแบบแผนปกติ เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง ยิ่งซ้ำเติมว่าโรงเรียนไม่ใช่ที่ของเขา โอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาค่อนข้างมาก เพราะครอบครัวต้องการให้เด็กออกไปช่วยทำงานอยู่แล้ว การช่วยเหลือนั้นต้องยื่นมือไปถึงครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มยากลำบาก ถ้าครอบครัวยากลำบาก การที่เด็กมาโรงเรียน แล้วจะเรียนรู้อย่างมีความสุขคงเป็นไปได้ยาก”ดร.นรรธพร กล่าว

ถอดบทเรียนนโยบายต่างประเทศ ลดช่องว่างการเรียนรู้

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวถึง หลายประเทศให้ความสำคัญกับการวัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) เพราะเด็กกลับมาด้วยพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ครูต้องสามารถประเมินรายคนได้ ควรได้รับการติดตามและเยียวยาเป็นรายบุคคลจนพัฒนาการกลับเข้าสู่ภาวะปกติ มีตัวอย่างนโยบายในระดับชาติที่น่าสนใจจำนวนมากเพื่อลดช่องว่างการเรียนรู้

เช่น โครงการ Teach at the Right Level (TRL) ขององค์กร Pratham ในอินเดีย ประเมินความรู้ของเด็กว่าอยู่ที่ระดับไหนเพื่อสอนให้เด็กคนนั้นฟื้นฟูความรู้กลับมา และสร้างอาสาสมัครชุมชน ช่วยสอนเสริมให้เด็กที่เรียนตามไม่ทัน ขณะที่ในเอเชียใต้ แอฟริกา ก็ใช้อาสาสมัคร ช่วยสอน เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง ติดตามเพื่อนกลับเข้าห้องเรียน

องค์กร BRAC ในบังคลาเทศ มีโครงการ Pashe Achhi หรืออยู่ข้างคุณ ช่วยเหลือสนับสนุนดูแลสุขภาพจิต (Psychosocial) โดยการโทรศัพท์ไปคุยเพื่อสำรวจให้กำลังใจ ผู้ดูแลและพ่อแม่เด็กทุกสัปดาห์ สำหรับประเทศที่มีงบประมาณจำนวนมาก เช่น อังกฤษ รัฐบาลตั้งกองทุนงบประมาณ 1 พันล้านปอนด์ ชื่อ educational catch-up initiatives เพื่อให้โรงเรียนได้นำไปใช้ให้มั่นใจว่านักเรียนสามารถฟื้นตัวกลับมาได้

นอกจากนี้รัฐบาลยังจัดให้มีโครงการ National Tutoring Programme โดยโรงเรียนสามารถจ้างติวเตอร์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีช่องว่างการเรียนรู้ มีการจัด in-house mentor ให้กับกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ยากลำบาก ซึ่งผู้มาเป็น mentor จะต้องผ่านการอบรมเป็นการเฉพาะ รวมถึงกลุ่มนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ขณะที่เวลส์ มีการรับสมัครครู และผู้ช่วยสอนเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเหลือนักเรียน และกลุ่มด้อยโอกาส เปราะบางในทุกกลุ่มอายุ

ชู นวัตกรรม กล่องการเรียนรู้ ลดช่องว่างเข้าไม่ถึงออนไลน์

..มินตรา กะลินตา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ โรงเรียนวัดบ้านไร่ (ประชานุกูล) .สมุทรสาคร เครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง กล่าวว่า แม้เด็กนักเรียนจะไม่สามารถมาโรงเรียนได้ แต่การเรียนรู้ไม่มีวันหยุดคุณครูสำรวจความพร้อมของนักเรียนทุกคน ว่ามีความสามารถเรียนในรูปแบบใดได้บ้าง ต้องยอมรับว่า แต่ละครอบครัวมีความหลากหลาย ทั้งชาวไทยและต่างด้าว เช่น ลาว มอญ แต่นักเรียนสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ โรงเรียนจัดการเรียนการสอนตามความพร้อมรายบุคคล ไม่อัดแน่นเนื้อหาในออนไลน์มากเกินไป ต้องทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียน

หากตึงเครียดมากเราพบว่า ชั่วโมงถัดมานักเรียนจะเริ่มหายไป นอกจากนี้ยังมีคลิปการเรียนการสอนดูย้อนหลังได้ สำหรับกลุ่มที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ผู้ปกครองต้องออกไปทำงาน 1 บ้าน มีโทรศัพท์เพียง 1 เครื่องเท่านั้น ซึ่งการจัดทำใบงานเพียงอย่างเดียวนานวันเข้าก็ขาดการส่งงาน เพราะนักเรียนไม่เข้าใจ จึงนำนวัตกรรมกล่องการเรียนรู้ หรือ Learning box เข้ามาปรับใช้ในแต่ละรายวิชา นักเรียนได้ลงมือทำ ประดิษฐ์ ทดลองจากอุปกรณ์ในกล่องการเรียนรู้ แทนการนั่งเขียนแต่ใบงาน

“แม้โรงเรียนปิดแต่การทดสอบระดับชาติยังดำเนินต่อไป ทั้ง RT ป.1 NT ป.3 และ O-NET ป.6 ซึ่งเราพบว่า จากการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของโรงเรียน นวัตกรรม learning box ได้ผลจริงๆ เห็นได้จาก ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ทุกรายวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทั้งหมด” น.ส.มินตรา กล่าว

นางมุกดา คำวินิจ ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านปลาดาว จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนแบบ onsite ได้ คุณครูจะลงพื้นที่ 4 วันต่อสัปดาห์ และอีก1 วันเป็นการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาทันท่วงที โดยแบ่งเด็กเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง ตามปัญหาและข้อจำกัดในการเรียนรู้ เพื่อวางแผนการสอนรายคน

โดยมีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาเพราะแต่ละครอบครัวมีบริบทที่ไม่เหมือนกัน สำหรับการสอนออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องสอนเหมือนในห้องเรียน เด็กๆจะมีสมาธิเพียง 20-30 นาทีแรกเท่านั้น ดังนั้นจึงสอนในสิ่งที่เด็กๆต้องรู้ภายใน 20 นาทีแรก อีก 20 นาที มีกิจกรรมให้เด็กๆได้ลงมือทำจะเป็นงานกลุ่มหรือเดี่ยว จากนั้นอีก5นาที เป็นการfeedback ถ้ามีเวลาเหลือก็เล่นเกมส์ ผลตอบรับพบว่าเด็กๆตอบสนองเนื้อหาที่คุณครูสอนได้ถึง 90% เปิดหน้ากล้องทุกคน

สำหรับเด็กที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์มีถึง 80% ได้ออกแบบ “learning box”หรือกล่องการเรียนรู้ ทั้งเรื่องทักษะชีวิต ทักษะความรู้ กิจกรรมการอ่านเขียน คำนวณ พื้นที่นักสร้างสรรค์ ส่วนเด็กอนุบาล ครูจะลงพื้นที่สอนในชุมชนครั้งละ 7-8 คน มีทั้งรถmobile บางครั้งก็ปูเสื้อใต้ต้นไม้ พยายามหาพื้นที่ให้เด็กๆได้เรียนรู้มากที่สุด

นายชำนาญ สังข์ทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดศิลามูล จ.นครปฐม กล่าวว่า ผู้ปกครองได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รุนแรงเนื่องจากนครปฐมเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม จากการสำรวจมีเด็กที่ขาดความพร้อมในการเรียนออนไลน์ถึง 70% แม้จะได้รับการสนับสนุน ซิมโทรศัพท์ แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมนักเรียนทุกคน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเด็กเกิดความรู้ถดถอยจำนวนมาก

โดยเฉพาะ ป.1 มีปัญหาหนักที่สุดเพราะยังมีทักษะการอ่านน้อย การเรียนรู้ด้วยตัวเองจึงทำได้ยาก โรงเรียนได้ใช้นวัตกรรม “learning box”หรือกล่องการเรียนรู้ แทนการเรียนออนไลน์ โดยครูจะวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ทั้ง 8 หน่วยสาระ เจาะลึกไปยังหน่วยที่จำเป็นคือหน่วย “ต้องรู้” ก่อน และเสริมหน่วยที่ “ควรรู้” เพิ่มเข้าไป ครูจะทำงานเป็นทีมออกแบบBooklet ใบความรู้ ใบงาน ให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง ดีกว่าการอ่านจากกระดาษเพียงอย่างเดียว โรงเรียนจะนัดหมายให้เด็กๆมารับกล่องการเรียนรู้ที่โรงเรียน หรือครูจะนำกล่องไปให้กรณีที่มาไม่ได้

ครูจะทำหน้าที่เป็นโค้ชให้ผู้ปกครองสามารถทำหน้าที่เป็นครูที่บ้านได้ ช่วยลดช่องว่างได้เป็นอย่างดีในวิกฤต จากการติดตามการเรียนรู้พบว่านักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีความสุขในการใช้กล่องการเรียนรู้ และผู้ปกครอง 90% พอใจกับการจัดการเรียนรู้ด้วยตัวเองที่ไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต

ดร.สุนิสา คงสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดดอนพุดซา จ.อยุธยา กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่าเด็กพร้อมเรียนออนไลน์แค่ 10 % ครูจึงช่วยกันออกแบบ “กระเป๋าแดงแห่งการเรียนรู้” แทน “กล่องการเรียนรู้” ภายในบรรจุสื่อการสอนที่เป็นสื่อมาตรฐานตั้งต้น และค่อยพัฒนาเพิ่มเติมตามความแตกต่างแต่ละพื้นที่ หรือแตกต่างของแต่ละบุคคล

นอกจากนี้ ยังต้องพัฒนาคุณครูด้วย ซึ่งไม่ใช่แค่เด็กที่มีช่องว่างของการเรียนรู้ แต่ครูก็มีช่องว่างเราต้องให้ครูเกิดการพัฒนาทั้งเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งครูต้องยอมเหนื่อยปรับตัวเอง กับการสอนที่ไม่ได้เจอตัวเด็ก ทำให้ต้องต้องเขียนแผนการสอน ออกแบบสื่อ Booklet ที่จะไปใส่กระเป๋าแดงและเมื่อเด็กๆมาส่งผลงานทุกสิ้นเดือนก็จะตรวจวัดประเมินผลทั้งตัวชี้วัดและทักษะต่างๆ

 


Nearly two million more people living in poverty in Thailand: World Bank report


The latest World Bank report has shown that the number of poor people in Thailand has increased, with nearly two million more living in poverty between 2015 and 2018. Over that period, Thailand’s poverty rate went up by almost three percentage points to 9.8% in 2018. Reasons for this include slower economic growth, droughts affecting farmers’ livelihoods and income inequality. Thailand’s national poverty line is about US$2.80 a day. The World Bank added that the country is also the only nation in ASEAN to experience several increases in poverty since 2000.
Subscribe to our channel here: https://cna.asia/youtubesub \r
\r
Subscribe to our news service on Telegram: https://cna.asia/telegram\r
\r
Follow us:\r
CNA: https://cna.asia\r
CNA Lifestyle: http://www.cnalifestyle.com \r
Facebook: https://www.facebook.com/channelnewsasia\r
Instagram: https://www.instagram.com/channelnewsasia\r
Twitter: https://www.twitter.com/channelnewsasia

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

Nearly two million more people living in poverty in Thailand: World Bank report

5 ประเทศที่เคยเกลียดชังไทย เพราะ…สิ่งนี้


======================
ติดต่อ Email [email protected]
Facebook SPYchannel
References :
Donald E. Weatherbee (17 October 2008). International Relations in Southeast Asia: The Struggle for Autonomy. Rowman \u0026 Littlefield Publishers. pp. 134–. ISBN 9780742557390.
\”Whose Angkor Wat?\”. The Economist. 30 January 2003. Retrieved 2 November 2016.
David Barboza (19 April 2003). \”Cambodian Pique at Thais Lingers\”. The New York Times. Retrieved 2 November 2016.
Simon Montlake (22 July 2008). \”Why ThaiCambodian temple dispute lingers\”. The Christian Science Monitor. Retrieved 2 November 2016.
SeungJoon Lee (5 January 2011). Gourmets in the Land of Famine: The Culture and Politics of Rice in Modern Canton. Stanford University Press. pp. 172–. ISBN 9780804772266.
Søren Ivarsson (January 2008). Creating Laos: The Making of a Lao Space Between Indochina and Siam, 18601945. NIAS Press. pp. 166–. ISBN 9788776940232.
Keat Gin Ooi (2004). Southeast Asia: A Historical Encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor. ABCCLIO. pp. 772–. ISBN 9781576077702.
N Ganesan (27 July 2015). Bilateral Legacies in East and Southeast Asia. Institute of Southeast Asian Studies. pp. 122–. ISBN 9789814620413.
https://www.nytimes.com/1982/01/11/world/thaipiratescontinuingbrutalattacksonvietnameseboatpeople.html

5 ประเทศที่เคยเกลียดชังไทย เพราะ...สิ่งนี้

รอบรู้ รอบด้าน การเกษตร ปี 2561 : GAP การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม


แอนิเมชั่นความรู้ทางการเกษตรทางโทรทัศน์ รายการ รอบรู้ รอบด้าน การเกษตร นำเสนอสาระความรู้ทางด้านการเกษตรผ่านสื่อในรูปแบบแอนิเมชั่น เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการและรูปแบบ การทำเกษตรไปสู่เกษตรสมัยใหม่ Smart Agriculture โดยผ่านกลไก เครื่องมือ และการขับเคลื่อนระบบส่งเสริมการเกษตร อำนวยการผลิต โดยกรมส่งเสริมการเกษตร

รอบรู้ รอบด้าน การเกษตร ปี 2561 : GAP การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม

(ช่วงเช้า) การอบรมเชิงปฏิบัติการ\”AUN-QA Overview \u0026 AUN-QA Implementation and Gap Analysis\” ระยะที่ 1


การอบรมเชิงปฏิบัติการ\”AUNQA Overview \u0026 AUNQA Implementation and Gap Analysis\”
ระยะที่ 1 การบรรยายเกณฑ์ AUNQA Version 4.0
วิทยากร โดย ดร.พีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน 2564 เวลา 9.00 17.00 น.
ผ่านโปรแกรม Zoom

(ช่วงเช้า) การอบรมเชิงปฏิบัติการ\

#37 Sự thật về bé nan và duy _ duy nisa


sự thật về nan và duy, mời các bạn cùng xem duy tâm tình nhé
💸 Link Donate: https://vrdonate.vn/duynisavlogs
Duy xin chân thành cảm ơn những bạn đã xem và ủng hộ duy, được quen biết các bạn là niềm hạnh phúc lớn đối với Duy, Duy xin chúc tất cả các bạn của Duy được vui vẽ và thành công
💸 Link Donate: https://vrdonate.vn/duynisavlogs

🍀 Connect with me
📱 Facebook của Duy: https://www.facebook.com/TonyDinh93
📮Liên hệ quảng cáo: [email protected]
💻 Liên hệ bản quyền: [email protected]
♡ Mình sẽ giải quyết theo yêu cầu của bạn ♡

🍀 Xem thêm những video của Duy Nisa Vlogs:
+ Ăn mừng 10 ngàn người đăng ký, Bé nan trổ tài làm 🌮bánh xèo miền tây🌮:
https://www.youtube.com/watch?v=34SQJPLlI8
+ Bé Nan hướng dẫn làm 🍤somtam hải sản thái lan🍤siêu cay siêu ngon:
https://www.youtube.com/watch?v=oKEQWNfd_Q
+ Bé Nan Nói Tiếng Việt Dạy Làm Món Ăn Thái Lan🍡🍡🍡:
https://www.youtube.com/watch?v=rGj35swLhYg
+ NAN Hiếu Thảo Nấu Pad Thái 🌹 Chúc MẸ Ngày 8/3 🌹:
https://www.youtube.com/watch?v=oKEQW…

© Bản quyền thuộc về Duy Nisa Vlogs
© Copyright by Duy Nisa Vlogs ☞ Do not Reup
DuyNisaVlogs Nan Duy NanTháiLan

#37 Sự thật về bé nan và duy _ duy nisa

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ gap ประเทศไทย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *