Skip to content
Home » [NEW] EDUCA มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู | การศึกษาที่แท้จริง eng – NATAVIGUIDES

[NEW] EDUCA มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู | การศึกษาที่แท้จริง eng – NATAVIGUIDES

การศึกษาที่แท้จริง eng: คุณกำลังดูกระทู้

เรียบเรียงโดย จิราพร เณรธรณี

          การเรียนออนไลน์ผ่านหน้าจอ เป็นสิ่งที่ท้าทายและยากลำบากของครูและนักเรียน เพราะขณะที่ทุกคนกำลังนั่งอยู่หน้าจอ ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึงความรู้สึกที่อยู่ข้างในจิตใจของแต่ละคน ครูอาจไม่รู้เลยว่าเด็ก ๆ กำลังกังวลใจ เศร้า หวาดกลัว หรือรู้สึกทุกข์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ครูวัดและประเมินความชอกช้ำทางอารมณ์ของผู้เรียนได้ยากกว่าการเรียนในห้องแบบต่อหน้า ดังนั้น การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ หรือ Social Emotional Learning (SEL) จึงเป็นหลักการหนึ่งในการพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคมแก่ผู้เรียนผ่านการเรียนการสอนออนไลน์ได้ เพราะเด็กจะเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี จำเป็นต้องมีทั้งความรู้ความสามารถ และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคมที่ดีด้วย ซึ่งครูอาจลองสอดแทรกวิธีสร้าง SEL แก่นักเรียนผ่าน 5 ทักษะ ดังนี้

1. Self-Awareness การตระหนักรู้ในตัวเอง
          การเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตนเอง คือทักษะสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนประเมินตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงรู้จักควบคุมอารมณ์ ความประพฤติของตัวเองได้ด้วย ซึ่งครูสามารถกระตุ้นนักเรียนให้ตระหนักรู้ในเองผ่านกระบวนการสอนที่มีการคิดเชื่อมโยงมากขึ้นได้ โดยการยกสถานการณ์ตัวอย่างมาให้นักเรียนฝึกฝนการรับรู้ความคิด ความรู้สึก และการกระทำว่าเชื่อมโยงถึงกันอย่างไร เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสทบทวนความรู้สึกนึกคิดของตนเอง

2. Self-Management การบริหารจัดการตัวเอง
          ครูสามารถส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการตัวเองให้ผู้เรียนได้ง่าย ๆ เช่น ครูกำหนดการส่งงานและการสอบย่อยออนไลน์ในชั่วโมงเรียนเดียวกัน เพื่อให้นักเรียนฝึกบริหารเวลาและจัดการตัวเอง ว่าควรเตรียมตัวหรือทำอย่างไรให้ส่งงานได้ตามกำหนดและสอบย่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการเรียนออนไลน์ซึ่งครูมีโอกาสช่วยกระตุ้นนักเรียนได้น้อยกว่าการเรียนในห้องเรียน ถือเป็นช่วงเวลาในการฝึกฝนทักษะดังกล่าวได้มากกว่าปกติ ซึ่งไม่เพียงส่งผลดีต่อผู้เรียนในด้านการบริหารงานที่ต้องรับผิดชอบเท่านั้น แต่ผู้เรียนยังสามารถจัดการความรู้สึก ความประพฤติ และรู้จักลำดับความสำคัญในชีวิตได้ด้วยตนเอง

3. Responsible Decision-Making ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองเลือก
          ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองเลือก เป็นทักษะที่เกิดจากนักเรียนต้องรู้จักและมีความสามารถพิจารณามาตรฐานทางจริยธรรมในสิ่งที่ตนเองเลือกกระทำ อาจเรียกได้ว่า รู้จักยอมรับความจริงหรือผลที่มีเหตุมาจากตัวนักเรียนเอง เช่น ในคลาสเรียนออนไลน์ หากนักเรียนเลือกสอบเก็บคะแนน 100 % แทนการส่งงาน ดังนั้น หากนักเรียนสอบได้คะแนนไม่ดี เพราะไม่ได้อ่านหนังสืออย่างเพียงพอ นักเรียนควรยอมรับและรับผิดชอบในการกระทำของตนอย่างเข้าใจ โดยครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนมีสิทธิ์เลือกอย่างเสรี และเท่าเทียมกันด้วย

4. Relationship Skills ทักษะด้านความสัมพันธ์
          การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน หรือนักเรียนกับผู้ปกครอง ฯลฯ ล้วนมีการสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยอวัจนภาษาและวัจนภาษา โดยเฉพาะการเรียนผ่านออนไลน์ จำเป็นต้องอาศัยความกระตือรือร้นและตื่นตัวด้วยกันทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ครูอาจกำหนดให้นักเรียนสลับคู่กันทำงานที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนคนอื่น ๆ รู้จักการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่ไม่คุ้นเคย และกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น

5. Social Awareness การตระหนักรู้ทางสังคม
          ถือเป็นทักษะสำคัญที่ทำให้นักเรียนมีความสามารถที่จะเข้าอกเข้าใจ (empathy) ความรู้สึกของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์หรือในห้องเรียน ย่อมแวดล้อมไปด้วยผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความสามารถ ชีวิตความเป็นอยู่ บุคลิกภาพและลักษณะนิสัย อย่างกรณีนักเรียนคนหนึ่งมีอุปกรณ์การเรียนที่ไม่ครบพร้อม ทำให้ช่วยเพื่อนนำเสนองานในรูปแบบออนไลน์ได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เพื่อน ๆ ไม่พอใจนักเรียนคนนั้น ครูจึงต้องชี้แนะให้นักเรียนรู้ซึ้งถึงอารมณ์และความรู้สึกของเพื่อน โดยครูอาจถามว่า “ถ้าหนูเป็นเพื่อนที่ขาดอุปกรณ์การเรียน หนูจะรู้สึกอย่างไร และหนูช่วยเพื่อนได้หรือไม่ ?” คำถามนี้จะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกให้นักเรียนมีจินตนาการนึกถึงผู้อื่น และเกิดความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

          ทั้งนี้ ครูผู้สอนจะต้องมีทักษะทางอารมณ์และสังคม (SEL) ด้วย จึงจะสามารถถ่ายทอดทักษะดังกล่าวไปสู่เด็กนักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง

แหล่งอ้างอิง
ณิชากร ศรีเพชรดี. SOCIAL AWARENESS ฝึกเด็กๆ เข้าไปถึงใจคนอื่นด้วยคำถาม “ถ้าเป็นเรา-เราจะรู้สึกยังไง”. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://thepotential.org/knowledge/social-awareness/ (สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564)

Everydayspeech. A Guide To Social-Emotional Learning. (n.d.). [online]. From https://everydayspeech.com/guide-to-sel/ (retrieve June 2, 2021)

Roger Weissberg. Why Social and Emotional Learning Is Essential for Students. (2016). [online]. From https://www.edutopia.org/blog/why-sel-essential-for-students-weissberg-durlak-domitrovich-gullotta (retrieve June 2, 2021)

Table of Contents

[Update] เมื่อการศึกษาของนิวซีแลนด์มุ่งพัฒนาสู่อนาคต | การศึกษาที่แท้จริง eng – NATAVIGUIDES

ถ้าจะกล่าวถึงการเป็นผู้นำในด้านการศึกษา ประเทศนิวซีแลนด์ถือเป็นอันดับต้น ๆ ที่ทั่วโลกต่างยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นหนึ่งในต้นแบบและผู้นำในด้านการศึกษาของโลกมาจนยุคปัจจุบัน การศึกษาเพื่ออนาคตถือเป็นสิ่งที่ทางการนิวซีแลนด์ให้ความสำคัญและยกเป็นจุดขายเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จึงไม่แปลกเลยที่ในปี ค.ศ. 2017 ที่ผ่านมา ประเทศนิวซีแลนด์จะได้รับรางวัลระดับสากลอย่าง รางวัล Yidan ว่าเป็นประเทศที่มีนวัตกรรมด้านการวิจัยทางการศึกษาและการพัฒนาด้านการศึกษาดีที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง จากการสำรวจของดิอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิตหรือ “อีไอยู” (The Economist Intelligence Unit : EIU)

 

ประเทศนิวซีแลนด์ มีความหมายตามภาษามาวรี ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองดั่งเดิมของประเทศว่า “ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว” เป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะ โดยมีเกาะใหญ่สองเกาะ และเกาะเล็ก ๆ อีกจำนวนหนึ่ง ตั้งอยู่ห่างไกลออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก มีความห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มาก และเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับทวีปแอนตาร์กติกาที่อยู่บริเวณขั้วโลกใต้มากที่สุด และด้วยการใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมทำให้ประเทศนิวซีแลนด์มีทัศนียภาพทางธรรมชาติที่งดงามซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมากทุกปี

 

ชาวนิวซีแลนด์ประกอบไปด้วย ชนพื้นเมืองชาวมาวรี และชาวอังกฤษที่เข้ามาตั้งรกรานในช่วงล่าอาณานิคม ซึ่งนิวซีแลนด์ถือเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ จึงมีลักษณะการปกครองและการพัฒนาประเทศที่คล้ายคลึงกับประเทศอังกฤษและประเทศทางฝั่งยุโรป ซึ่งจากการได้รับอิทธิพลจากประเทศทางฝั่งยุโรปนี้ จึงน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นิวซีแลนด์มีคุณภาพทางการศึกษาที่ดี

 

นิวซีแลนด์ติดอันดับความสนใจในการไปเรียนต่อของนักเรียนทั่วโลก จากการจัดอันดับของเว็บไซต์ Education.com โดยการสำรวจนักเรียนนานาชาติจำนวนสองหมื่นคน ได้จัดอันดับให้ประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่น่าไปเรียนต่อที่สุดในโลก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนของทางการนิวซีแลนด์ที่เห็นความสำคัญของธุรกิจด้านการศึกษา ทำให้มีการให้โอกาสและอำนวยความสะดวกในการมาศึกษาต่ออย่างมากมาย เช่น ช่วยเหลือในการขอวีซ่า มีการเปิดหลักสูตรที่หลากหลาย มีการสนับสนุนด้านทุนการศึกษา และมีกฎหมายดูแลนักศึกษาชาวต่างชาติเป็นการเฉพาะซึ่งถือเป็นประเทศแรกที่มีกฎหมายนี้ เป็นต้น

 

นอกจากนี้ ด้วยมาตรฐานทางการศึกษาที่สูง และเน้นหลักสูตรที่นำไปสู่การสร้างอาชีพที่ยั่งยืน ทำให้การศึกษาของนิวซีแลนด์มีความน่าสนใจ ทั้งกับการพัฒนาผู้เรียนในประเทศและดึงดูดความสนใจจากผู้เรียนชาวต่างชาติ สิ่งนี้ทำให้การศึกษาของนิวซีแลนด์นั้นกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำเงินให้กับประเทศได้อย่างมากมาย โดยมีมูลค่าของอุตสาหกรรมนี้อยู่ที่ 5,000 ล้านเหรียญดอลลาร์นิวซีแลนด์ ซึ่งนับเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับประเทศเป็นอันดับที่ 4 เลยทีเดียว

 

จุดแข็งที่ทำให้ประเทศนิวซีแลนด์ได้รับรางวัลด้านการศึกษาอย่างมากมายนั้น มีอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสำหรับอนาคต ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการฝึกอบรมครู ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ ประเทศนิวซีแลนด์ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ระบบการศึกษาของนิวซีแลนด์นั้นมีความทันสมัยและแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก

 

เมื่อถอดแบบการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ จะพบว่า การศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์นั้น ให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษา ซึ่งถือเป็นการศึกษาต้นแบบแห่งอนาคตไว้อยู่ 3 เรื่องคือ

1. การเรียนการสอนแบบ Inquiry model of learning

Inquiry model of learning หรือการสอนแบบการแสวงหาความรู้เป็นฐาน คือ แนวการสอนที่ทางนิวซีแลนด์ ได้หยิบยกขึ้นมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนในประเทศ โดยเน้นให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบของปัญหาต่าง ๆ จากการรวบรวมข้อมูล ตั้งสมมุติฐาน และทดสอบสมมุติฐานต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง

 

2. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

ด้วยความที่ทางการของประเทศนิวซีแลนด์นั้น ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับด้านการศึกษาจึงได้มีการสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน ภายใต้แนวคิด Think new: New Zealand ซึ่งเป็นรากฐานของการศึกษานิวซีแลนด์ เพื่อสร้างระบบการศึกษาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสอดคล้องกับธุรกิจและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสู่การพัฒนาในอนาคตอีกด้วย

 

3. การเตรียมผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองระดับโลกและสร้างนักคิดแนวใหม่

การเตรียมผู้เรียนรุ่นใหม่ให้เป็นพลเมืองระดับโลกและสร้างนักคิดแนวใหม่ คือจุดขายสำคัญที่ทางนิวซีแลนด์พยายามผลักดัน เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการศึกษา เพราะด้วยสภาพภูมิประเทศ รวมถึงประวัติศาสตร์ของประเทศนิวซีแลนด์ ทำให้เด็กนิวซีแลนด์นี้เติบโตท่ามกลางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม การเตรียมผู้เรียน โดยการสอนให้มีทัศนะและทัศนคติที่เหมาะสมกับโลกที่มีความแตกต่างกัน เพื่อให้รู้จักปรับตัวและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน คือสิ่งสำคัญที่ประเทศนิวซีแลนด์ต่างให้ความใส่ใจ และเห็นว่าสิ่งนี้คือแนวทางแห่งการพัฒนาสู่อนาคตที่เหมาะสม

 

ปัจจุบันมีนักเรียนไทยไปเรียนที่ประเทศนิวซีแลนด์มากกว่า 3,300 คน ถือเป็นอันดับ 2 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน รองจากประเทศฟิลิปปินส์ และอยู่ในอันดับที่ 7 ของอุตสาหกรรมการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งหลักสูตรที่นักเรียนไทยไปเรียนต่อนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นด้านภาษา บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์ อาชีวศึกษา และการฝึกอบรมทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความสนใจเพิ่มเติมในเรื่อง คณิตศาสตร์บูรณาการ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สัตวแพทย์ศาสตร์ หรืออุตสาหกรรมภาพยนตร์อีกด้วย

 

ประเทศนิวซีแลนด์นับว่าเป็นแบบอย่างของประเทศที่เป็นผู้นำด้านการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง เพราะใช้วิธีการออกแบบระบบการศึกษาด้วยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในประเทศ และเน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้และรู้จักปรับท่ามกลางวัฒนธรรมที่แตกต่าง เพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดและรู้จักสร้างองค์ความรู้ที่เหมาะสมได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถ้าประเทศไทยเอาแบบอย่าง โดยหันมาร่วมมือและส่งเสริมการศึกษาอย่างเป็นระบบตามบริบทของประเทศอย่างแท้จริงแล้ว การศึกษาไทยคงพัฒนากว่าที่เป็นอยู่นี้ไปอีกหลายก้าวเลยทีเดียว

 

เรียบเรียงโดย : นรรัชต์  ฝันเชียร

 


50 FACTS about Me | Kanokpicha (eng sub)


ติดตามอัพเดท ในช่องทางอื่น:
Facebook: https://www.facebook.com/gnaa.panyakananukul
IG: @kanokpicha
Tiktok: @kanokpicha
Contact for work:
[email protected]

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

50 FACTS about Me | Kanokpicha (eng sub)

“การศึกษาตีตราว่า…ผมโง่”


Credit : https://www.facebook.com/TEPThaiEDU/
เด็กนักเรียน ม.6 เกรดต่ำ ก่อการขบถทางความคิด แสดงความรู้สึกที่สะท้อนสังคมการศึกษาไทยอย่างชัดเจน ลึกซึ้ง ด้วยวาทะสะเทือนใจว่า \”การศึกษาไทย…ตีตราว่า ผมโง่\”
ฝากกดติดตามเพจของ TEPThaiEDU ด้วยน้า ขอบคุณครับ :\”)

“การศึกษาตีตราว่า...ผมโง่”

เพื่อกู้ภาพลักษณ์ของครูที่ถูกย่ำยี การศึกษาที่แท้จริงเริ่มต้นขึ้นแล้ว! 🥊 | การศึกษาที่แท้จริง


อ่าน ‘การศึกษาที่แท้จริง’ ตอนนี้เลย!
👉 https://go.webtoons.com/trl01fa
🗣 \”เปลี่ยนนักเลงกลับเป็นนักเรียนด้วยการศึกษาที่แท้จริง!\”
ถ้ายังไม่ได้อ่านเรื่องที่ฮิตที่สุดในตอนนี้
ห้ามพลาด ‘การศึกษาที่แท้จริง’ ที่ LINE WEBTOON เลย!
การศึกษาที่แท้จริง เว็บตูนแอคชั่น เว็บตูนสุดฮอต LINEWEBTOON

เพื่อกู้ภาพลักษณ์ของครูที่ถูกย่ำยี การศึกษาที่แท้จริงเริ่มต้นขึ้นแล้ว! 🥊 | การศึกษาที่แท้จริง

ผมขอฟ้องร้องระบบการศึกษา !!! \”อินทรี\” ให้เสียงภาษาไทย


I JUST SUED THE SCHOOL SYSTEM !!! (พากย์ไทย)
บรรยายไทยโดย พลเชฏฐ์ อินทร (เอ๊ะ!) ในนาม\”ทีมพากย์อินทรี\”
Credit : ขอขอบคุณแรงบันดาลใจจาก
Prince EA ผู้สร้างสรรค์วีดีโอต้นฉบับ
I JUST SUED THE SCHOOL SYSTEM!!!
https://youtu.be/dqTTojTija8?list=LLRMdAvG7eHKOS_684dUlgw
และ https://www.facebook.com/PrinceEa/posts/10154985395839769?hc_location=ufi
Thank you : Prince EA
ขอขอบคุณบทพากย์ที่นำมาจาก Sub Title ภาษาไทย
จาก facebook : Life Uni (Life University)
https://www.facebook.com/LifeUni.TH/videos/549553768569146
Thank you : facebook : Life Uni

Email : [email protected]

ผมขอฟ้องร้องระบบการศึกษา !!!  \

\”Education\” ปฏิรูปการศึกษาไทยในแบบธนาธร : The Candidate Ep.3


\”ก่อนจะตอบโจทย์ว่า จะปฏิรูปการศึกษายังไง ต้องตอบอีกโจทย์หนึ่งก่อนว่า การศึกษามีไว้เพื่ออะไร…\”
.
ประโยคแรกจาก ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคอนาคตใหม่ เมื่อเราถามถึงการพัฒนาระบบการศึกษาในเมืองไทยถ้าเขาได้เข้ามาเป็นรัฐบาล แต่สิ่งที่น่าสนใจคือเขามองเห็นว่าไม่ใช่แค่ว่าจะปฏิรูปอย่างไร แต่มองลึกลงไปถึงรากว่า \”การศึกษามีไว้เพื่ออะไร\”
.
คำตอบที่ได้ทำให้เราย้อนกลับมามองระบบการศึกษาในปัจจุบันว่า มันตอบโจทย์เด็กหรือดึงศักยภาพเด็กได้จริง ๆ หรือไม่ มันสนับสนุนให้เด็กได้ทำในสิ่งที่เขาอยากทำหรืออยากเป็นจริง ๆ บ้างหรือเปล่า หรือมันยังไม่ทำให้เขารู้เลยว่า \”เราเรียนกันไปเพื่ออะไร\”
.
ลองมาฟังแนวคิดและร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้ในคอมเมนต์ว่าคุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร อยากให้การศึกษาไทยไปในทิศทางไหน แชร์ความคิดกันนะ
.
BrandThink Series Candidate Education
พรรคอนาคตใหม่ เลือกตั้ง62

อัปเดตและติดตามข่าวสารได้ที่
Line: @BrandThink (มี @ ด้วยนะครับ)
Instagram: instagram.com/brandthink.me/
Website: brandthinkbiz.com
Twitter: twitter.com/BrandThinkme
สนใจติดต่อลงโฆษณา [email protected]

\

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ การศึกษาที่แท้จริง eng

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *