Skip to content
Home » [NEW] Bootstrapping วิธีสร้าง startup ที่โตแบบเต่าคลาน | หลักการ ทํา งาน ให้ ประสบ ความ สํา เร็ จ – NATAVIGUIDES

[NEW] Bootstrapping วิธีสร้าง startup ที่โตแบบเต่าคลาน | หลักการ ทํา งาน ให้ ประสบ ความ สํา เร็ จ – NATAVIGUIDES

หลักการ ทํา งาน ให้ ประสบ ความ สํา เร็ จ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ตุลาคม 1, 2019 | By Channarong Jansoe

การสร้าง startup ก็เหมือนกับการขี่จักรยาน คุณต้องใช้ความเร็วระดับหนึ่งเพื่อทำให้มันไปข้างหน้า แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณรับเงินทุนจากนักลงทุน เมื่อนั้นจะมีนาฬิกามาคอยกดดันคุณ

Venture Capital เป็นหนึ่งในกลุ่มทุนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ ธุรกิจของพวกเขาคือนำเงินของนักลงทุนมาทำให้เติบโตโดยการลงทุนในธุรกิจตั้งใหม่ที่มีแนวโน้มไปได้สวย

Productivity ของพวกเขาคือการตัดสินใจ พวกเขาต้องทำทุกวิธีเพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนของเขาไม่ใช่สิ่งผิดพลาด ดังนั้นจึงไม่แปลกที่บางครั้ง VC จะคอยกดดันเหล่าผู้ก่อตั้งให้ทำตามที่พวกเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ เร่งขยายทีม เร่งขยายกิจการ นั่นก็เพราะพวกเขาเองก็โดนกดดันจากนักลงทุนเช่นกัน

โดยปกติสตาร์ทอัพจะยอมรับความกดดันเหล่านั้นเพื่อให้เข้าถึงเงินทุน คำแนะนำดีๆในการทำธุรกิจ คอนเนคชั่นเจ๋งๆที่สามารถต่อยอด แต่ก็มีผู้ก่อตั้งบางพวกที่ไม่สนใจจะขอทุนจาก VC

เราจะเรียกพวกนี้ว่า Bootstrapper 

Bootstrapper คือผู้ก่อตั้งที่สร้างสตาร์ทอัพโดยไม่อาศัยเงินทุนภายนอก (หรือใช้นิดเดียว) พวกเขาใช้ทุนตัวเองสร้างธุรกิจขึ้นมาและบริหารมัน การหาโมเดลธุรกิจที่ได้ผลเป็นงานแรกๆที่ต้องทำเพราะมันคือหนทางที่ทำให้มีกระแสเงินสดไหลเข้ามา นั่นหมายความว่าแหล่งเงินทุนหลักของพวกเขามาจาก “ลูกค้า”

ดังนั้นสำหรับ Bootstrapper ลูกค้าก็คือนักลงทุน

———-

ทุกคนสามารถใช้แนวทาง Bootstrapping ในการสร้างสตาร์ทอัพ แต่ Gennaro Cuofano ผู้สร้าง FourweekMBA บอกว่าไม่ใช่ทุกตลาดที่เหมาะกับ Bootstrapper 

ข้อจำกัดของพวกเขาคือเงินทุน พวกเขาจึงต้องโฟกัสไปยังตลาดที่เห็นชัดว่ามีลูกค้า การสร้างเทคโนโลยีขึ้นใหม่แล้วพยายามสร้างตลาดขึ้นมาเองอาจจะเหมาะกับสตาร์ทอัพที่ VC หนุนหลัง แต่ไม่ใช่กับ Bootstrapper

Cuofano แนะนำให้ใช้ตลาด 4 ประเภทของ Steve Blank เพื่อให้รู้ว่าตนเองควรโฟกัสไปที่ไหน

ตลาดแรกคือ Existing market ตลาดนี้มีลูกค้าที่ชัดเจนแต่ก็มีคู่แข่งมากมาย ลักษณะของตลาดนี้จะไม่มีเล่นรายใดที่โดดเด่นกว่าคนอื่นและไม่มีผู้ผูกขาด

Re-segmented market คือตลาดที่มีผู้เล่นรายใหญ่ผูกขาดอยู่ อาจจะ 1-2 ราย แต่ไม่ใช่ลูกค้าทุกคนที่พอใจกับบริการของรายใหญ่ ดังนั้นจึงมีช่องว่างให้เจาะ อย่างเช่น DuckDuckGo ที่ลงเล่นในตลาด Search Engine ที่มี Google คุมอยู่ พวกเขาสร้างจุดเด่นที่ Google ไม่มี โดยการเสนอ search engine ที่รักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) 

Clone market คือการก็อปปี้โมเดลธุรกิจที่ใช้ในตลาดหนึ่งไปใช้กับอีกตลาดหนึ่ง อย่างเช่นการก็อปปี้โมเดลของ Uber ไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่น

New market จะเรียกว่า Blue Ocean ก็ได้เช่นกัน คุณอาจจะมีทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหา คุณอาจจะไม่มีคู่แข่งในตลาดนี้ แต่ขณะเดียวกันคุณก็มีปัญหาในการหาลูกค้า (นักลงทุน) ที่จะจ่ายเงินให้คุณอยู่รอด

Cuofano เห็นว่า New market และ Clone market ไม่เหมาะกับ Bootstrapper เพราะใน New market ลูกค้าอาจจะยังไม่มากพอที่จะจ่ายเงินให้คุณ ส่วน Clone market คุณอาจจะเจอกฎระเบียบในอีกอุตสาหกรรมเป็นอุปสรรคทำให้ต้องใช้เงินจำนวนมากในการแก้ปัญหา

เมื่อตัดสองตลาดนี้ไป โอกาสของ Bootstrapper จึงอยู่ใน Existing market และ Re-segmented market 

———-

-เรื่องราวการโตช้าๆของ JotForm-

สมมติว่าคุณจะเดินมาทางสาย Bootrapping สิ่งที่คุณต้องลืมไปเลยก็คือ “การโตอย่างรวดเร็ว” สตาร์ทอัพที่มี VC สนับสนุนสามารถที่จะพูดถึงการโตแบบ Hockey Stick Growth (คือการที่มีรายได้คงที่มาตลอดแล้วจู่ๆมันก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว)

แต่การโตของ Bootstrapper จะทำให้รู้สึกเหมือนเต่าคลาน

อย่างไรก็ตาม Aytekin Tank ผู้ก่อตั้ง JotForm บอกว่าตรงนี้แหละที่เป็นข้อดี 

JotForm เป็นสตาร์ทอัพสาย Bootstrapping ที่ให้บริการสร้างแบบฟอร์มบนเว็บไซต์ มีเทมเพลตให้เลือกเป็นร้อยแบบและมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดเวลา จุดเด่นที่ใครๆก็พูดถึงคือ ใช้งานง่ายสุดๆ

การบริการสร้างแบบฟอร์มบนเว็บไซต์ไม่ใช่ธุรกิจที่ต้องใช้ทุนเยอะ คู่แข่งสามารถเข้ามาในตลาดนี้ได้ง่าย ยักษ์ใหญ่อย่าง Google เองก็อยู่ในตลาดนี้ อย่างไรก็ตาม JotForm ก็ยังเติบโตมาตลอด

Tank ใช้แนวทาง Bootstrapping ก่อตั้ง JotForm มาตั้งแต่ปี 2006 มีจำนวนผู้ใช้โตขึ้นเรื่อยๆ จนปี 2018 มีผู้ใช้ถึง 4.2 ล้านคน มีพนักงานทั้งหมด 130 คน 

และเป็นสตาร์ทอัพที่มีกำไร 

นี่คือข้อดีข้อแรกของการโตแบบค่อยเป็นค่อยไป สตาร์ทอัพที่มี VC หนุนจะไม่สามารถวางแผนโตช้าได้ พวกเขาต้องลืมเรื่องการทำกำไรไปก่อนแล้วหันมาโฟกัสที่การขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ชาว Bootstrapper ยังใช้หลักการธรรมดาๆ คือ “ใช้จ่ายให้น้อยกว่าที่หาได้” ด้วยวิธีนี้สตาร์ทอัพจะสามารถโตไปตามความเร็วที่ต้องการและผู้ก่อตั้งรวมถึงทีมงานก็นอนหลับสบาย

ความรู้สึกว่ามีเงินเหลือในมือทำให้ Tank ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน แม้แต่เรื่องการจ้างคนเข้ามาทำงาน Tank บอกว่าเขาจะจ้างคนเพิ่มต่อเมื่อบริษัทมีเงินในธนาคารพอจ่ายเป็นเงินเดือนทั้งปีให้กับพนักงานใหม่ การได้เงินจาก VC แล้วเร่งขยายทีมมีโอกาสที่จะเลือกคนผิดเข้ามาทำงานจนสุดท้ายต้องไล่ออกไป วงการสตาร์ทอัพถึงมีคำกล่าวที่ว่า “จ้างเร็ว ไล่ออกเร็วกว่า” สิ่งที่เขาต้องการคือ Right team ไม่ใช่ Right now team เขาต้องแน่ใจว่าคนที่เลือกเข้ามาต้องมีใจบริการลูกค้าและเป็นคนเก่ง

การบริหารคนเป็นงานที่ยาก ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะค่อยๆขยายทีม Tank บอกว่าการโตแบบช้าๆจะทำให้คุณรู้จักพนักงานทุกคน คุณจะเรียนรู้การจัดการและการกระตุ้นคนไปพร้อมพวกเขา

และสิ่งที่ชาว Bootstrapper ต้องการที่จะโตช้าคือ มันทำให้ลูกค้ามีความสุข การมี VC เข้ามาทำให้สตาร์ทอัพมีความรู้เชิงลึกต่อตัวลูกค้า แต่เมื่อเวลาผ่านไปพวกเขาอาจจะสับสนว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นความต้องการของลูกค้าหรือนักลงทุนกันแน่ แต่สำหรับ Bootstrapper แล้ว ลูกค้ากับนักลงทุนก็คือคนๆเดียวกัน การโฟกัสของพวกเขาจึงไม่เบี่ยงเบน

———-

ก่อนสร้างสตาร์ทอัพ Tank ทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ 5 ปีในบริษัทสื่อแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก เขาได้เรียนรู้มากมายจากที่นั่น ไม่ว่าจะเป็นการทำตามเป้า การทำงานร่วมกับผู้อื่น และยังเห็นปัญหาของการบริหารแบบจุกจิก (Micromanagement) เขานำประสบการณ์ทำงานทั้งหมดมาใช้ในการสร้าง JotForm

และนี่คือคำแนะนำของเขา

1) ทำงานประจำของคุณไปก่อน 

Tank บอกว่าอย่าประเมินประโยชน์ของการทำงานประจำต่ำไป คุณสามารถพัฒนาความสามารถและยังได้รับค่าตอบแทนจากงานนี้ มันจะสร้างประโยชน์ให้กับคุณเมื่อถึงเวลาที่คุณสร้างธุรกิจ Bootstrapper ส่วนมากก็ทดลองไอเดียของตัวเองระหว่างที่ทำงานประจำ พวกเขาจะออกจากงานเมื่อแน่ใจว่าไอเดียของพวกเขาใช้ได้ผลและไปได้ในระยะยาว

บิ๊กเนมอย่าง SpaceX, Apple, Product Hunt, Trello, WeWork, Craigslist และ Twitter ต่างก็ใช้แนวทางนี้เช่นกัน

2) เริ่มโปรเจ็คเล็กๆ 

Google มีนโยบายให้พนักงานใช้เวลาทำงาน 20% ไปกับการค้นหาและพัฒนาไอเดียใหม่ๆ นโยบายแบบนี้เราก็ควรเอามาปรับใช้เช่นกัน

Tank บอกว่าการทำโปรเจ็คเล็กๆสามารถช่วยเร่งจินตนาการของเรา เราจะไม่รู้สึกถึงแรงกดดันเพราะมันไม่มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง เรามีอิสระเต็มที่ในการที่จะเล่น ค้นหา และเรียนรู้ สิ่งที่เราทำมันอาจจะดูบ้าๆ แต่บางครั้งความบ้าก็สามารถกลายเป็นธุรกิจได้

เราไม่ควรกลัวที่จะลงทุนเวลาและพลังงานกับสิ่งที่ทำให้เราตื่นเต้น เดินตามความอยากรู้อยากเห็นไปเรื่อยๆ และดูว่ามันจะพาไปจุดไหน อย่าเพิ่งไปโฟกัสถึงผลลัพธ์หรือว่าเราจะได้อะไรจากการทำสิ่งนี้ 

แค่เริ่มทำก็พอ

3) แบ่งปันสิ่งที่คุณสร้างให้คนอื่นได้เห็น

แม้สิ่งนั้นยังไม่เสร็จหรือยังอีกนานกว่าจะพร้อมเปิดตัว คุณก็ยังจำเป็นต้องแชร์ไอเดียของคุณ ทำให้ผู้คนเห็นว่ามันทำงานยังไง พาพวกเขาให้เข้ามาเห็นการเบื้องหลังการทำงานของคุณ นี่เป็นกลยุทธ์ที่ Tank ใช้ในการหาลูกค้า 1,000 คนแรก

มีวิธีแบ่งปันไอเดียหลายแบบที่ไม่แพง ลองเลือกแพลตฟอร์มที่คุณชอบ มันอาจจะเป็น Youtube, Instragram, Podcast ส่วน Tank ใช้วิธีเขียนบล็อกใน Medium

การแบ่งปันจะช่วยให้คุณมี “ผู้ชม” มันเป็นวิธีที่ทำให้คนเดินเข้ามาหาคุณเอง นี่คือกลุ่มลูกค้าที่เปิดรับคุณอย่างเต็มที่ รวมทั้งเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพที่สุดของคุณด้วย การแบ่งปันยังช่วยให้คุณกลั่นกรองไอเดียของคุณ การอธิบายสิ่งที่ทำเป็นเหมือนการทบทวนไปในตัว มันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการอุดช่องว่างความรู้ของคุณ และการแบ่งปันยังทำให้เกิดความเชื่อใจ เมื่อคุณพาผู้คนไปเห็นสิ่งที่คุณทำ พวกเขาจะรู้จักคุณ พวกเขาจะรู้สึกว่าได้ลงทุนลงแรงไปกับคุณ พวกเขาจะเห็นประโยชน์ที่คุณสร้างและติดตามคุณไปเรื่อยๆ

4) โฟกัสที่ปัญหา ไม่ใช่ Passion 

Tank เห็นตรงข้ามกับคำพูดส่วนใหญ่ที่ว่า Passion สำคัญที่สุด เขาเห็นว่าสิ่งที่ผลักดันสตาร์ทอัพคือ การแก้ปัญหาต่างหาก

Paul Graham กล่าวว่า ไอเดียธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดมี 3 องค์ประกอบคือ “มันเป็นสิ่งที่ผู้ก่อตั้งต้องการสร้าง” “มันเป็นสิ่งที่ผู้ก่อตั้งสามารถสร้างได้” และ “มีคนไม่กี่คนที่เห็นว่ามันมีค่าที่จะทำ”

Tank สร้าง JotForm เพื่อกำจัดปัญหาจุกจิกในช่วงที่ทำงานในบริษัทสื่อ ย้อนกลับไปช่วงปลายปี 90 การสร้างฟอร์มบนเว็บไซต์เป็นเรื่องน่ารำคาญและใช้เวลานาน ดังนั้นเขาเลยนึกเครื่องมือที่สามารถ “ลากแล้ววาง” ที่ใครๆก็สามารถใช้ได้ เขารู้ว่าผู้คนต้องการสิ่งๆนั้น เพราะมันแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ทุกวันได้

5) ดูแลผลิตภัณฑ์อย่างใกล้ชิด 

การใช้สิ่งที่คุณสร้างสามารถที่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมการแข่งขัน เมื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการถูกส่งออกไป มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่แค่ให้ลูกค้าใช้เท่านั้น คุณเองก็ต้องใช้มัน บริโภคมัน สั่งมัน และขุดลงไปให้ลึกถึงรายละเอียด

เมื่อคุณใช้ของที่คุณสร้าง คุณก็จะได้รับประสบการณ์แบบเดียวกับที่ลูกค้าได้รับ มีปัญหาไม่กี่อย่างเท่านั้นที่ได้รับการแก้ปัญหาครั้งเดียวแล้วหายเป็นปลิดทิ้ง สตาร์ทอัพจึงไม่สามารถอยู่เฉยๆ ได้ พวกเขาต้องพัฒนาตัวเองไปตามความต้องการ วัฒนธรรม และตลาด

การที่คุณลงลึกถึงปัญหาตลอดเวลาจะทำให้ธุรกิจของคุณดูสดใหม่และมีชีวิตชีวาเสมอ

———-

แม้เรื่องราวของ JotForm จะทำให้รู้สึกว่าสตาร์ทอัพสายนี้ไม่จำเป็นต้องรับเงินทุนจาก VC แต่ใช่ว่า Bootstrapper จะไม่รับเงินจาก VC เด็ดขาด

ข้อจำกัดของ Bootstrapper คือไม่สามารถโตแบบก้าวกระโดด (Scale) แต่เงินและเครือข่ายของ VC สามารถทำได้ 

และจุดที่เหมาะที่สุดที่จะร่วมมือกับ VC ก็คือตอนที่ต้องการขยายตัวอย่างรวดเร็วนี่แหละ 

แน่นอนว่าการรับเงินทุนจาก VC ต้องยอมเสียอำนาจบริหารไปบางส่วน แต่การที่คุณใช้แนวทาง Bootstrapping มาถึงจุดที่เรียกว่ามีสินค้าตอบโจทย์และมีตลาดรองรับ (Product/Market Fit) ก็ถือว่าผ่านบททดสอบที่ยากที่สุดในฐานะผู้ประกอบการมาแล้ว ดังนั้นคุณจึงมีโอกาสที่จะได้รับข้อเสนอที่ดี่ที่สุดที่สามารถรักษาทุนและอำนาจบริหารในแบบที่คุณต้องการได้

มันขึ้นอยูกับการประเมินสถานการณ์ของคุณว่าคุณมองตลาดแบบไหน ถ้าการแข่งขันยังเป็นแบบเดิม คุณก็ยังใช้แนวทาง Bootstrapping ต่อไปได้

แต่ถ้าตลาดเปลี่ยนไป มันก็อาจจะถึงเวลาที่จะต้องร่วมมือกับ VC เพื่อรักษาตำแหน่งและฉีกหนีคู่แข่ง

หรือ

คุณก็ยังไม่สนใจ VC เหมือนเดิมแล้วมองหาตลาดใหม่ที่มีความเฉพาะทางที่ยังไม่มีใครสนใจต่อไป

———-

ข้อมูลอ้างอิง

https://fourweekmba.com/bootstrapping-business/

https://www.jotform.com/bootstrapping/

Table of Contents

[NEW] 4 กรณีศึกษา ที่สร้างความสำเร็จให้แก่ “อะลีบาบา กรุ๊ป” (Alibaba Group) | หลักการ ทํา งาน ให้ ประสบ ความ สํา เร็ จ – NATAVIGUIDES

“แดเนียล จาง” เผยแนวคิด และ 4 กรณี ศึกษาที่สร้างความสำเร็จให้แก่ “อะลีบาบา กรุ๊ป” (Alibaba Group) ในงานประชุม “The Innovation and Entrepreneurship Education in the New Era: Challenges and Opportunities conference” ที่มหาวิทยาลัยชิงเต่า…

highlight

  • “แดเนียล จาง” เผย

    แนวคิดที่สร้างให้ “

    อะลีบาบา กรุ๊ป

    ” เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากธุรกิจอยากเติบโตต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการ 

    มองโอกาสให้ทะลุ

    มองให้เห็นโอกาสของพรุ่งนี้ แม้คนจะไม่เชื่อวันนี้ แต่นั่นเป็นเรื่องธรรมดาของผู้บุกเบิกในตลาด (First-Mover) และธุรกิจต้อง

    คาดหวังอนาคต

    ” ได้อย่าพยามหาโซลูชั่นที่เพอร์เฟ็ค เพราะโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแต่ให้เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต แทนที่จะวิ่งไล่ตามคู่แข่ง ให้เปลี่ยนเป้าหมายเป็น 

    ผู้สร้างอนาคต

    และมอบโอกาสแก่คนรุ่นใหม่ในการสร้างความผิดพลาด เพื่อเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องแล้วก้าวไปสู่จุดหมายที่ต้องการ และต้องใส่ใจต้องการเปลี่ยนแปลงทางด้าน

    นวัตกรรม

    เพราะนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องเฉพาะภาพรวม แต่เป็นเรื่องรายละเอียด นวัตกรรมคือเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่ลูกค้าต้องเผชิญ และถ้าคุณต้องการเป็น

    ผู้ประกอบการ

    ที่แท้จริง คุณต้องสามารถแก้ปัญหาให้กับสังคมได้ มองไปรอบ ๆ โลกนี้ จะพบว่าปัญหาสังคม ที่คุณสามารถแก้ไขได้นั้นยิ่งเป็นปัญหาใหญ่แค่ไหน ธุรกิจที่คุณสร้างก็ยิ่งใหญ่มากขึ้นเท่านั้นต้องให้ความสำคัญต่อ

    คุณค่า ไม่ใช่ มูลค่า

    โดยมองว่าสิ่งที่คิดสร้างคุณค่าบ้าง หรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ ลูกค้าจะอยู่กับคุณ แต่ถ้าไม่ใช่ เขาก็จะจากไป แต่อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าธุรกิจทำมาทุกอย่างที่กล่าวไปแล้วจะประสบความสำเร็จ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในหน้าที่ และความรับผิดชอบคือคน ดังนั้น

    คนต้องมาก่อน

    เพราะแม้ว่าเรามีธุรกิจ และแพลตฟอร์มที่ดีเยี่ยม ถ้าคุณมีคนที่ใช่ คุณก็จะได้นวัตกรรมที่ใช่ มันไม่ใช่แค่มีไอเดีย แต่มันคือการมีคนที่มีวิสัยทัศน์ และมีความสามารถในการที่จะทำวิสัยทัศน์ให้เกิดขึ้นจริง

4 กรณี ศึกษาที่สร้างความสำเร็จให้แก่ 

อะลีบาบา กรุ๊ป 

เมื่อไม่นานมานี้ในงานประชุม “The Innovation and Entrepreneurship Education in the New Era: Challenges and Opportunities conference” ที่จัดโดย มหาวิทยาลัยชิงเต่า ร่วมกับ CEM ได้เชิญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อะลีบาบา “แดเนียล จาง”

ที่ได้นำแนวคิดในการผนึกเทคโนโลยีกับอีคอมเมิร์ส สร้างสรรค์ให้เกิด “New Retail” โมเดลขึ้นในจีน และสามารถขับเคลื่อนความสำเร็จของ อะลีบาบา อย่าง เทศกาลช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 ซึ่งสร้างยอดมูลค่าสินค้ารวม (GMV) ถึง 30,800 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 ที่ผ่านมา 

ภายในงานดังกล่าว “แดเนียล จาง” ได้นำเสนอเรื่องราวความสำเร็จของอาลีบาบา 4 เรื่องมาเป็นกรณีศึกษา พร้อมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการเลือกโอกาสที่เหมาะสม ความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงของอะลีบาบาจากการเป็นนักสร้างฝันมาสู่นักสร้างอนาคต ได้แก่ 

ธุรกิจปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งจำเป้นต้อง “มองโอกาสให้ทะลุ“ เพราะในทุกวัน เราเห็นโอกาสมากมาย ใหญ่บ้างเล็กบ้าง แต่เมื่อเราพิจารณาอย่างละเอียด โอกาสที่ผ่านเข้ามามากอาจไม่ใช่โอกาสที่แท้จริง สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรเราจะเลือกโอกาสที่ดีที่สุด และเรียงลำดับโอกาสได้

โอกาสต้องไม่ใช่โอกาสของวันนี้ ถ้าคุณเห็น คู่แข่งคุณก็เห็นเหมือนกัน ผู้ประกอบการแท้จริงต้องสามารถเห็นโอกาสของพรุ่งนี้ แม้คนจะไม่เชื่อคุณ แต่นั่นเป็นเรื่องธรรมดาของผู้บุกเบิกในตลาด (First-Mover) ขอเพียงแต่ลองสิ่งใหม่ คุณอาจจะแก้ไขประเด็นปัญหาของวันพรุ่งนี้

เรื่องที่

 1

 

การค้นพบโอกาสของจีนในด้านออนไลน์

เหมือนกับเมื่อครั้งแจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งอะลีบาบาได้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในปี  2538 ที่อพาร์ตเม้นท์ของเพื่อนใน ซีแอตเทิล เมื่อเขาพิมพ์ค้นหาคำว่า “เบียร์” แล้วพบว่ามีผลลัพธ์มากมาย แต่เมื่อพิมพ์เบียร์ และจีน กลับไม่พบอะไรเลย และนั่นคือจุด

ที่ทำให้ “แจ็ค หม่า” เห็นถึงโอกาส เขาตระหนักถึงอำนาจของอินเทอร์เน็ตที่จะช่วยสร้างการค้าระดับโลกและโอกาสในการส่งออกของธุรกิจจีน และธุรกิจต้อง “คาดหวังอนาคต“ วันนี้ต้องอย่าพยามหาโซลูชั่นที่เพอร์เฟ็ค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า “อย่าตกรถไฟ” ขอแค่อย่าเป็นคนสุดท้ายที่ขึ้น แต่ในกรณีนี้ เราต้องเตรียมพร้อมสำหรับรถไฟขบวนต่อไปและเป็นคนแรกที่ขึ้นรถขบวนนั้น เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต แทนที่จะวิ่งไล่ตามคู่แข่งร่วมถึง เป็นผู้สร้างอนาคต” โดยบริษัทต้องมีความฝัน และวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่สำหรับวันพรุ่งนี้ 

แต่อะลีบาบาต้องการมากกว่านักสร้างฝัน เราต้องฝ่าฝันเพื่อให้เป็น “นักสร้างอนาคต” (Future Shaper) เราต้องการสร้างรถด่วนขบวนถัดไป ไม่ใช่วิ่งตาม ในการสร้างธุรกิจ เราต้องมีแผนธุรกิจ ทำวิจัยตลาด และเข้าใจลูกค้า แต่ถ้าเราเริ่มธุรกิจโดยการลงถือทำ จะเป็นการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด เราจะทำผิดพลาดมากมาย

สิ่งสำคัญคือ จะแก้ไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน ดังนั้น จงมอบโอกาสแก่คนรุ่นใหม่ในการสร้างความผิดพลาด เขาจะเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องแล้วก้าวไปสู่จุดหมายที่ต้องการ

เรื่องที่

 2

 

การย้ายไปอยู่บนโทรศัพท์มือถือของเถาเป่า

แน่นอนว่าทุกอย่างมีต้นทุนความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ต้นทุนที่ใหญ่ที่สุดของนวัตกรรมคือ โอกาส ถ้าไม่ลอง เราจะไม่มีวันรู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี อะไรจะก่อให้เกิดผลสำเร็จ อะไรที่จะทำให้ล้มเหลว สิ่งที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จจะทำให้คุณก้าวไปไกลกว่าคู่แข่ง เหมือนที่ เถาเป่าเลือกที่จะย้ายไปอยู่บนโทรศัพท์มือถือ ในช่วงปี 2555-2556

แม้เป็นช่วงเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตบนมือถือ แต่ทีมวิศวกรของอะลีบาบาได้รับมอบหมายให้ดูแลการเปลี่ยนถ่ายของเถาเป่าไปสู่โทรศัพท์มือถือ ผลลัพธ์กลับไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากวิศวกรเป็นกลุ่มคนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 

เราจึงได้จ้างคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีภาพเดิม ๆ ของเถาเป่าสมัยเป็นเว็บไซต์ช้อปปิ้งบนพีซี  ซึ่ง 6 ปีต่อมา “เจียง ฟาน” หนึ่งในทีมวิศวกร ได้กลายมาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของเถาเป่าด้วยวัยเพียง 35 ปี และทำให้ตลาดออนไลน์ของอะลีบาบา มีผู้ใช้ที่เข้าถึงผ่านโทรศัพท์มือถือเกือบ 700 ล้านราย ต่อเดือน

และต้องใส่ใจต้องการเปลี่ยนแปลงทางด้าน นวัตกรรม” เพราะนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องเฉพาะภาพรวม แต่เป็นเรื่องรายละเอียด นวัตกรรมคือเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่ลูกค้าต้องเผชิญ เราจึงมักพูดกันเสมอว่าเมื่อไหร่ที่เรารู้ว่าอะไรคือปัญหา เมื่อนั้นเราจะค้นพบโอกาส

Alibaba Group

เรื่องที่ 

3

 

เติมเต็มความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง

อย่างที่ในปี 2546 อีเบย์เป็นเจ้าตลาดอีคอมเมิร์สในจีน ด้วยส่วนแบ่งตลาดประมาณ 90% แต่ทีมอะลีบาบาเล็งเห็นว่าอีเบย์เป็นเพียงแพลตฟอร์มประมูลราคาที่ผู้ซื้อ และผู้ขายไม่มีโอกาสที่จะติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กัน และกัน ทั้งที่ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจโดยไม่เห็นหน้าคาดตากันต้องการ

ทีมงานจึงได้สร้างฟีเจอร์ “live chat” สำหรับ ตลาดออนไลน์ของอาลีบาบา เพื่อให้ร้านค้า และลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เป็นครั้งแรก ต่อมา live chat ได้เป็นมากกว่าเครื่องมือสื่อสาร แต่เป็นการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย

คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับโอกาสทางธุรกิจ แต่ถ้าคุณต้องการเป็น “ผู้ประกอบการ“ ที่แท้จริง คุณต้องสามารถแก้ปัญหาให้กับสังคมได้ มองไปรอบ ๆ โลกนี้ จะพบว่าปัญหาสังคม ที่คุณสามารถแก้ไขได้นั้นยิ่งเป็นปัญหาใหญ่แค่ไหน ธุรกิจที่คุณสร้างก็ยิ่งใหญ่มากขึ้นเท่านั้น

ซึ่งพันธกิจของอะลีบาบา คือ การทำให้ทุกคนสามารถทำธุรกิจได้อย่างสะดวกสบายจากทุกหนแห่งทั่วโลก“ เป็นเหตุผลที่ทำให้อาลีบาบาเติบโตขึ้นมาได้อย่างที่เป็นในวันนี้ เราไม่เพียงแต่ทำธุรกิจเพื่อตัวเอง แต่เพื่อสังคมโดยรวม

เรื่องที่

 4

 

จากกล่องข้าวอาหารกลางวัน สู่ยักษ์ใหญ่ด้านส่งอาหาร

“เอ้อเลอมา” (Ele.me) เป็นผู้ให้บริการเดลิเวอรี่ระดับท้องถิ่นของอาลีบาบา ก่อตั้งในปี 2551 เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียวทง ที่บ่นว่าไม่มีตัวเลือกเรื่องอาหารเวลาเรียน ผู้ก่อตั้งเอ้อเลอมาเล็งเห็นโอกาส

จึงนำเสนอบริการจัดส่งอาหารเที่ยงภายในมหาวิทยาลัย ก่อนจะขยายตัวอย่างรวดเร็วสู่การให้บริการตามบ้าน และสำนักงาน สิบปีให้หลัง เอ้อเลอมา กลายเป็นผู้ให้บริการเดลิเวอรี่อาหารตามสั่งที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของจีน และกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาลีบาบา กรุ๊ปในปี 2561 ที่ผ่านมา

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการดำเนินธุรกิจนั้นต้องให้ความสำคัญต่อ “คุณค่า ไม่ใช่ มูลค่า” หากถามว่าวันนี้ สตาร์ทอัพ (Startup) ควรให้ความสำคัญในเรื่องอะไร ก็คงต้องแนะนำว่าควรมองเรื่องของการสร้างสรรค์ที่จะสามารถสร้างคุณค่า ไม่ใช่มูลค่า

สตาร์ทอัพจำนวนมากมีแนวคิดยอดเยี่ยม ได้สร้างพาวเวอร์พ้อยต์ พรีเซ็นเตชั่นที่ยอดเยี่ยม แล้วใช้แผนงานนั้นมาระดมทุนรอบแรก เขาใช้เงินไปกับการสร้างธุรกิจให้ใหญ่ระดับหนึ่งเพื่อระดมทุนอีกรอบ แต่สิ่งนั้นได้สร้างคุณค่าบ้าง หรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ ลูกค้าจะอยู่กับคุณ แต่ถ้าไม่ใช่ เขาก็จะจากไป

แต่อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าธุรกิจทำมาทุกอย่างที่กล่าวไปแล้วจะประสบความสำเร็จ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในหน้าที่และความรับผิดชอบคือคน ดังนั้น “คนต้องมาก่อน“ เพราะแม้ว่าเรามีธุรกิจ และแพลตฟอร์มที่ดีเยี่ยม แต่สิ่งเหล่านั้นมีจุดสำคัญคือคน

ถ้าคุณมีคนที่ใช่ คุณก็จะได้นวัตกรรมที่ใช่ มันไม่ใช่แค่มีไอเดีย แต่มันคือการมีคนที่มีวิสัยทัศน์ และมีความสามารถในการที่จะทำวิสัยทัศน์ให้เกิดขึ้นจริง คนรุ่นใหม่บางคนมีความคิดสร้างสรรค์และมีแพชชั่น แต่เขาไม่มีผู้นำที่ดี เราจึงต้องสอนเขาให้นำทีม และนั่นคือวิธีที่อะลีบาบาทำ เพื่อให้มั่นใจว่าความสำเร็จจะยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในอนาคต

“เมื่อผมคุยกับทีม ผมเริ่มต้นด้วยการฟังเสมอ บางครั้งผมต้องคอยเตือนตัวเองว่าอย่าคอมเมนท์ในทันที เพราะในฐานะซีอีโอ ถ้าผมบอกแนวคิดก็เปรียบเสมือนผมตัดสินใจ ควรจะให้เวลาให้เขาได้ลองทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเขาเองดู ผลลัพธ์อาจสร้างความประหลาดใจให้คุณ”

*พันธกิจของอาลีบาบา กรุ๊ป คือการทำให้ทุกคนสามารถทำธุรกิจได้อย่างสะดวกสบายจากทุกหนแห่งทั่วโลก โดยมีเป้าหมายที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนไปถึง 102 ปี สำหรับผลประกอบการประจำปีที่ผ่านมา สิ้นสุดงวดวันที่ 31 มีนาคม 2561 บริษัทฯ รายงานรายได้ที่ 39,900 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ

** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)

*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่

Comments

comments


5 วิธีทำงานยังไงให้ก้าวหน้าเร็ว


อยากก้าวหน้าเร็วในการทำงาน ทำอย่างไรดี คลิปนี้จะมาให้เทคนิคการทำงานที่ก้าวหน้าเร็วในองค์กร โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจ ซึ่งเน้นวิธีการที่คลีน ๆ (clean) ใส ๆ ไม่เน้นการเล่นการเมืองในองค์กร หรือใช้วิธีอื่นที่ไม่ยั่งยืน
ความก้าวหน้าเร็วกว่าคนอื่นทั่วไปนั้น คุณจำเป็นต้องคิดและทำให้แตกต่างจากคนอื่น มี mindset แบบก้าวหน้า พัฒนาตัวเองให้เร็วกว่าคนอื่น ไม่อย่างนั้นคุณก็จะไม่โดดเด่น ดังนั้น แวนจึงขอให้เทคนิคแบบกว้าง ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์และปรับให้เข้ากับหน้างานของตัวเองต่อไปค่ะ

อ่านบทความพัฒนาตัวเองได้ที่ https://www.bypichawee.co/blog

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

5 วิธีทำงานยังไงให้ก้าวหน้าเร็ว

เพลงสำหรับเปิดคลอตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้อ่านได้มากขึ้น และจำได้ดีขึ้น


เพลงสำหรับเปิดคลอตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้อ่านได้มากขึ้น และจำได้ดีขึ้น ผ่อนคลาย โล่งสมอง

เพลงสำหรับเปิดคลอตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้อ่านได้มากขึ้น และจำได้ดีขึ้น

ปัจจัยที่ช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบความสำเร็จ ป 6


ปัจจัยที่ช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบความสำเร็จ ป 6

จิตใต้สำนึก…พลังมหัศจรรย์ในตัวเราที่ดึงดูดทุกสิ่งให้เกิดขึ้นในชีวิต (by JR The Best in You!)


จิตใต้สำนึก…พลังมหัศจรรย์ในตัวเราที่ดึงดูดทุกสิ่งให้เกิดขึ้นในชีวิต (ฉบับสมบูรณ์ เรียบเรียงโดย JR The Best in You!)
สำหรับท่านใดที่สนใจ ebook สามารถหาอ่านได้ตามลิงค์นี้ค่ะ
https://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=5d048d5bb1494a06bdc52acc15bb3991\u0026affiliateCode=7198cc2fd03c4b298cc9ac8c48b6947c
เมื่อพูดกันถึงเรื่องจิตแล้ว จิตของคนเรานี้ โดยส่วนใหญ่มักจะแบ่งกันออกไปเป็น 2 ลักษณะก็คือ จิตสำนึก กับ จิตใต้สำนึก ก่อนที่จะไปลงลึกในเรื่องของจิตใต้สำนึก ขอพูดถึงเรื่อง จิตและพลังดึงดูดกันก่อน ในเรื่องความเชื่อที่ว่าจักรวาลนี้มีพลังที่จะก่อกำเนิดสรรพสิ่งทั้งหลาย พลังเหล่านี้บางครั้งอาจถูกเรียกว่า พลังแห่งจักรวาล พลังแห่งชีวิต พลังของพระเจ้า พลังแห่งคุณงามความดี หรือบางครั้งก็เรียกว่าพลังควันตั้ม ซึ่งมีให้เรียกมากมายหลายชื่อกันเลยทีเดียว ต่ที่ได้ยินบ่อยๆ ก็คือพลังจักรวาลนี่ล่ะค่ะ ที่มักพูดถึงกันมากในเรื่องกฏแห่งแรงดึงดูด หรือ Law of attention
แล้วกฏแห่งแรงดึงดูดนี้มันทำงานอย่างไร มันก็จะทำงานภายใต้จิตของมนุษย์เรานี้เอง ซึ่งดูจะมีความมหัศจรรย์เอามากๆ จิตนี้สามารถดูดซับ กักเก็บและสามารถจัดการกับข้อมูลข่าวสารที่พวกเราบริโภคเข้าไปทุกอย่าง ไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือสิ่งร้าย
คนเราส่วนใหญ่มักจะคุ้วเคยกับการทำงานของจิตสำนึกกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการรับรู้ การควบคุม การจดจำต่างๆ แต่สำหรับจิตใต้สำนึกนั้นจะมีการทำงานที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งจิตใต้สำนึกนี้และที่มีส่วนสำคัญต่อชีวิตคนเราเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของความสำเร็จ การมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ความมั่งคั่งสมบูรณ์ เรามาลองนึกดูว่า ไม่ว่าจะเป็นการเต้นของหัวใจ การสูบฉีดโลหิต การสร้างภูมิคุ้มกัน การย่อยอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมโดยจิตใต้สำนึกทั้งสิ้น ลองคิดดูว่าในเวลาที่เรากำลังหลับอยู่นั้นจิตใต้สำนึกมิได้หลับไปด้วย ยังคงทำงานอยู่ ไม่เช่นนั้นหัวใจเราคงหยุดเต้นไปแล้วพร้อมกับการหลับของเรา จิตใต้สำนึกทำงานและหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ซื้อสัตย์ และเป็นอัตโนมัติที่สุด เป็นพลังบริสุทธิ์ที่สามารถเชื่อต่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพลังที่ก่อให้เกิดสรรพสิ่ง แล้วจิตใต้สำนึกนี้ทำงานอย่างไร วิธีการทำงานของมันก็คือ หากเรามีความคิดอยากได้อะไรมากๆ คิดซ้ำๆ คิดถึงบ่อยๆ คิดอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือ คิดด้วยอารมณ์ที่เข้มข้นลึกซึ้ง ใช่แล้วค่ะ คิดด้วยอารมณ์…ก็เหมือนอย่างที่เรามักเคยได้ยินเสมอๆ ว่า ถ้าเอาเหตุผลกับอารมณ์มาต่อสู้กัน อารมณ์มักจะชนะเสมอนั่นแหละค่ะ อย่างเช่นเวลาที่คนอยากลดความอ้วน แต่มีความสุขกับการกินมากๆ ต่อให้เอาเหตุผลอะไรมาขัดแย้ง เช่น ลดความอ้วนแล้วจะทำให้สวย สุขภาพดี ไม่อึดอัด คล่องแคล้ว เรารู้กันดีและเรามีเหตุผลมากมายมาสนับสนุน แต่ทำไมหลายคนถึงทำไม่ได้ นั่นเพราะอารมณ์สุขในขณะกินนั้นชนะเหตุผลเหล่านี้นั่นเองค่ะ กินแล้วสุขจังเลขขอกินอีกหน่อยแล้วกันแล้วพรุ่งนี้ค่อยออกกำลังกายเอา สุดท้ายแล้วมันก็จะวนเวียนแบบนี้อยู่เรื่อยๆ นั่นเพราะอารมณ์สุขในการกินชนะเหตุผลในการที่ควรลดความอ้วน ซึ่งนี้เป็นแค่ตัวอย่างง่ายๆนะคะเพื่อให้เห็นว่า การสร้างอารมณ์ที่เข้มข้นนั้นจะช่วยให้จิตใต้สำนึกทำงานได้เร็วขึ้นนั่นเองค่ะ ตัวอย่างต่อมาก็คือ หากเราสร้างอารมณ์อันเข้มข้นที่อยากจะลดความอ้วน เช่นว่าการเอาอารมณ์ที่อยากสวย อยากหุ่นดี คิดถึงความสุขที่ได้จากการมีสุขภาพดี คิดถึงว่าถ้าเราผอมแล้วจะมีคนชื่นชมมากมาย จนทำให้กลายเป็นอารมณ์อันเข้มข้นที่อยากจะผอมขึ้นมา คิดซ้ำๆด้วยอารมณ์สุข จิตใต้สำนึกก็จะสร้างพลังสั่นสะเทือนออกไป ดึงดูดข้อมูล ดึงดูดโอกาส ดึงดูดช่องทาง และเหตุการณ์ต่างๆ ส่งผลไปถึงการกระทำ และก่อให้เกิดผลอย่างที่เราต้องการนั่นเองค่ะ
สำหรับท่านที่สนใจคอร์สออนไลน์
หลักสูตร Microsoft Excel for Beginner การใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel สำหรับผู้เริ่มต้น
ติดตามได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ https://imponline.com/course/11

หลักสูตร การใช้งานโปรแกรม Camtasia Studio สำหรับผู้เริ่มต้น
ติดตามได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ https://imponline.com/course/15

จิตใต้สำนึก...พลังมหัศจรรย์ในตัวเราที่ดึงดูดทุกสิ่งให้เกิดขึ้นในชีวิต (by JR The Best in You!)

การันตี!! ถ้าคุณทำ 10 ข้อนี้ได้ คุณ “รวย” แน่ๆ แต่จะ “เริ่ม” ช้าหรือเร็ว อยู่ที่คุณ!!


การันตี!! ถ้าคุณทำ 10 ข้อนี้ได้ คุณ “รวย” แน่ๆ แต่จะ “เริ่ม” ช้าหรือเร็ว อยู่ที่คุณ!!

การันตี!! ถ้าคุณทำ 10 ข้อนี้ได้ คุณ “รวย” แน่ๆ แต่จะ “เริ่ม” ช้าหรือเร็ว อยู่ที่คุณ!!

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ หลักการ ทํา งาน ให้ ประสบ ความ สํา เร็ จ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *