Skip to content
Home » [NEW] | avoiding แปลว่า – NATAVIGUIDES

[NEW] | avoiding แปลว่า – NATAVIGUIDES

avoiding แปลว่า: คุณกำลังดูกระทู้

รวบรวมจากเพจ Sarinee Achavanuntakul บนเฟซบุ๊กค่ะ:

ดาวน์โหลด PDF ได้จาก Scribd

เกริ่นนำ

“ตรรกะวิบัติ” หรือ “เหตุผลวิบัติ” (fallacy) หมายถึงการถกเถียงที่ ใช้เหตุผลผิดพลาด โดยที่ตัวข้อถกเถียงนั้นเองอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. พูดว่า “โลกร้อนขึ้นเพราะน้ำมือมนุษย์” นาย ข. เถียงว่า “แต่พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกนะ”  แบบนี้ นาย ข. กำลังใช้ตรรกะวิบัติ เพราะพระอาทิตย์จะขึ้นทางทิศไหน ก็ไม่เชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลแต่อย่างใดกับประเด็นที่ นาย ก. ตั้ง ถึงแม้ว่าสิ่งที่ นาย ข. พูดจะถูกต้อง คือ พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกจริงๆ  ก็ตาม

เราทุกคนสุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของตรรกะวิบัตินานาชนิดด้วยกันทั้งนั้น ผู้เขียนซีรีส์นี้ก็ไม่เว้น ด้วยความที่เป็นปุถุชนธรรมดา บ่อยครั้งเราถกเถียงโดยไม่ตระหนักว่ากำลังใช้ตรรกะวิบัติอยู่ หรือตกเป็นเหยื่อของอารมณ์รัก/ชอบ/เกลียด/แค้นตัวบุคคล จนถกเถียงด้วยอารมณ์ไม่ใช่เหตุผล แต่ผู้เขียนเชื่อว่า ยิ่งเราศึกษาตรรกะวิบัติประเภทต่างๆ อย่างเป็นระบบ เราก็มีโอกาสที่จะมองเห็นและหลีกเลี่ยงการใช้ตรรกะวิบัติได้มากขึ้น

ตัวอย่างต่างๆ ในซีรีส์นี้ มาจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองในโลกออนไลน์ ภายหลังจากที่ขึ้นป้าย “ไม่เอารัฐประหาร” บนหน้าเพจ ในคืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ตรรกะวิบัติส่วนใหญ่จะมาจากฝ่ายกองเชียร์รัฐประหาร ซึ่งเป็นคนที่ผู้เขียนถกเถียงด้วยมากที่สุด อย่างไรก็ดี พึงระลึกว่าตรรกะวิบัติเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกฝ่าย ผู้เขียนขออภัยความไม่หลากหลายของตัวอย่างมา ณ ที่นี้

อนึ่ง ผู้สนใจสามารถหาซื้อหนังสือ “ทางสายเกรียน” รวบรวมตรรกะวิบัติแบบไทยๆ (อย่างเป็นวิชาการน้อยกว่าซีรีส์นี้มาก) ได้ตามร้านหนังสือทั่วไป หรือสั่งซื้อจากสำนักพิมพ์แซลมอน: http://minimore.com/b/trollway

ขอพลังแห่งเหตุผลจงสถิตอยู่กับทุกท่าน.

สฤณี อาชวานันทกุล

สิงหาคม 2558

– 1 –

เผด็จการ = การใช้อำนาจบริหารเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว มีอำนาจไม่จำกัด

category mistake (สับสนประเภท) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่จัดหมวดหมู่ผิดว่าของบางอย่างอยู่อีกประเภท ทั้งที่มันอยู่ประเภทเดียวกัน

ตัวอย่าง: “ถ้าเป็นเผด็จการจริง ป่านนี้คงโดนปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานยิงเป้าแล้ว” และ “ถ้าเป็นเผด็จการจริง ป่านนี้ไม่ได้มาด่าในเฟซบุ๊กหรอก” เป็นตรรกะวิบัติแบบ category mistake เพราะผู้พูดเข้าใจผิดว่า เผด็จการ = ยิงเป้าคนด้วยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และ เผด็จการ = ไม่ให้ด่าในเฟซบุ๊ก ทั้งที่นิยาม “เผด็จการ” หมายถึงการมีอำนาจเด็ดขาด มีแล้วจะใช้อำนาจนั้นอย่างไร จับใคร ลงโทษใคร เป็นเรื่องพฤติกรรมของเผด็จการแต่ละคณะ ไม่ใช่นิยาม

ตัวอย่างเทียบเคียง: “นกทุกตัวบินได้ ฉะนั้นนกกระจอกเทศจึงไม่ใช่นก” เกิดจากความเข้าใจผิดว่า “นกทุกตัวบินได้” จึงจัดประเภทของนกกระจอกเทศผิด

– 2 –

ประชาธิปไตย (ประชา+อธิปไตย) = ระบอบการปกครองที่ประชาชนปกครองตนเอง ปกติผ่านการเลือกตั้งผู้แทน

nirvana fallacy / perfect solution fallacy (เห็นแต่นิพพาน) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่บิดข้อถกเถียงไปเป็นเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบ/ในอุดมคติที่ไม่มีวันเป็นไปได้จริง เพื่อมาปฏิเสธข้อถกเถียงนั้นว่ามันไม่จริง

ตัวอย่าง: “ประชาธิปไตยในไทยไม่เคยมีเลยตลอด 80 ปีที่ผ่านมา เพราะไม่เคยมีพรรคการเมืองที่ตอบสนองประชาชน ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีแต่พวกที่เข้ามาโกงกินเพื่อตัวเองทั้งนั้น” เป็นตรรกะวิบัติแบบ nirvana fallacy เพราะบิดความหมายของ “ประชาธิปไตย” จากนิยามพื้นๆ (ระบอบที่ประชาชนปกครองตนเอง) ให้เป็นเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ (“ประชาธิปไตย=ระบอบที่ไม่มีนักการเมืองโกง”) แล้วเอาเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบเป็นไปไม่ได้นั้นมาเป็นฐานในการปฏิเสธความจริง (ประชาธิปไตยไม่เคยมีจริง)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “เข็มขัดนิรภัยในรถไม่เห็นจำเป็นเลย มีแล้วคนก็ยังเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุบนถนนอยู่ดี” เกิดจากการบิดเป้าหมายของเข็มขัดนิรภัยไปเป็นเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบและไม่มีทางเป็นไปได้ นั่นคือ “ทำให้ทุกคนไม่เจ็บไม่ตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนน” ทั้งที่เป้าหมายจริงๆ ของเข็มขัดนิรภัยคือ ช่วย ลด อัตราการบาดเจ็บและตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนต่างหาก

 

– 3 –

ประชาชน = คนที่อยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง บางทีก็ใช้ในความหมายว่า ใครก็ตามที่ไม่ใช่ข้าราชการและผู้กุมอำนาจรัฐ

ad hominem (โจมตีตัวบุคคล) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่มุ่งโจมตีตัวบุคคล แทนที่จะพิจารณาเนื้อหาข้อถกเถียงของเขา

ตัวอย่าง: โจมตี 14 นักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ว่า “เป็นนักศึกษา ทำไมไม่ไปเรียนหนังสือ” “เป็นนักศึกษาจริงเหรอเนี่ย หน้าแก่จัง” “ตอนนิรโทษกรรมไปอยู่ไหน ทำไม่ไม่ออกมา” “ตัวเองยังรับผิดชอบตัวเองไม่ได้เลย จะมารับผิดชอบอนาคตของชาติได้ยังไง” ฯลฯ โดยที่ทั้งหมดนี้ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับข้อถกเถียงหลักของกลุ่มนักศึกษา นั่นคือ เผด็จการกำลังลิดรอนสิทธิประชาชน

ad hominem ชนิดที่เลวร้ายที่สุด คือ ชนิดที่แปะป้ายแล้วด่ากราดอย่างสาดเสียเทเสีย โดยไม่สนใจจะศึกษาหาข้อเท็จจริงว่าคนผู้นั้นเป็นอย่างที่ด่าหรือไม่ กลับชักจูงให้คนอื่นเข้าใจผิดและมาผสมโรงด่าด้วย

พึงสังเกตว่า การโจมตีตัวบุคคลนั้นอาจไม่ใช่ตรรกะวิบัติ ad hominem ก็ได้ ในกรณีการโจมตีตัวบุคคลส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อถกเถียงที่ผู้ถูกโจมตียกขึ้นมาอ้าง ยกตัวอย่างเช่น คำกล่าวหาว่านักศึกษา “รับจ้างมาป่วน มีกลุ่มการเมืองหนุนหลัง” นั้น ถ้าหากรับเงินจริง ก็อาจทำให้ข้อถกเถียงหลักของกลุ่มฟังไม่ขึ้น เพราะแสดงเจตนาแอบแฝง (แต่ในความเห็นส่วนตัว “เผด็จการกำลังลิดรอนสิทธิประชาชน” เป็นข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ชัดแจ้ง ลบล้างมิได้ ต่อให้ผู้พูดบางส่วนรับเงินมาพูดก็ตาม ดังนั้นจึงน่าจะเป็น ad hominem อยู่ดี)

ตัวอย่างเทียบเคียง: พบได้ในพื้นที่แสดงความเห็นทุกแห่งและแทบทุกกระทู้ในโลกออนไลน์ไทย นับกันไม่หวาดไม่ไหวเลยทีเดียว

– 4 –

คอร์รัปชั่น = การทุจริตหรือคดโกงในตำแหน่ง ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมอย่างเช่นการออกนโยบายหรือกฎหมายเอื้อตนเอง (“คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย”) อีกความหมายหนึ่งของคำคำนี้ในภาษาอังกฤษ (corruption) คือ การบั่นทอนหรือบิดเบือนสาระของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปในทางที่เสื่อมทรามลง

non sequitur (ข้อสรุปไม่โยง, แปลว่า “it does not follow” ในภาษาละติน) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่สรุปข้อถกเถียงอะไรสักอย่างจากข้อตั้ง (premise) แต่ข้อสรุปไม่เชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผลกับข้อตั้ง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้เหตุผลผิดๆ ใช้ตรรกะวิบัติข้ออื่น หรือไม่ใช้เหตุผลเลย

ตัวอย่าง: “แกไม่เอารัฐประหาร แปลว่าแกอยากให้พวกนักการเมืองโกงชาติกลับมา” เป็นตรรกะวิบัติแบบ non sequitur เพราะข้อสรุป (อยากให้นักการเมืองโกงกลับมา) ไม่อาจสรุปจากข้อตั้ง (ไม่เอารัฐประหาร) ได้ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน (ที่จริง non sequitur ในกรณีนี้อาจเกิดจากการใช้ตรรกะวิบัติอีกข้อ คือ false dilemma – ความเข้าใจผิดว่ามีเพียงสองทางเลือกเท่านั้น ดูตรรกะวิบัติข้อ 6. ประกอบ)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “คนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลินฮุ่ยเลี้ยงลูกด้วยนม ฉะนั้นหลินฮุ่ยเป็นคน”

– 5 –

อารยะขัดขืน = การทำในสิ่งที่ตนรู้อยู่แล้วว่าขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งของผู้มีอำนาจ แต่กระทำอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ และประกาศล่วงหน้า เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะต่อต้านผู้มีอำนาจอย่างสันติวิธี

straw man (หุ่นฟาง) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่บิดเบือนข้อถกเถียงคนอื่นเพื่อนำมาโจมตีง่ายๆ ทำให้ดูประหนึ่งว่าตนเองมีเหตุมีผลมากกว่า ปัดตกข้อถกเถียงได้ราบคาบ ทั้งที่สิ่งที่ตนโจมตีไม่ใช่ข้อถกเถียงของคนอื่นแม้แต่น้อย เป็นเพียง ‘หุ่นฟาง’ ที่ตนตั้งขึ้นมายิงเองเท่านั้น

ตัวอย่าง: “หากประชาธิปไตยคือความเท่าเทียม นักศึกษาเมื่อทำแล้ว จะผิดจะถูกก็ต้องว่ากันไป ปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข มันเท่าเทียมกับคนอื่นตรงไหน? หรือกิจกรรมทางการเมืองได้รับการยกย่องเหนือการกระทำในกรณีอื่น?” เป็นตรรกะวิบัติแบบหุ่นฟาง เพราะคนพูดพูดเสมือนหนึ่งว่าผู้ที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาอย่างไม่มีเงื่อนไขกำลังเรียกร้องอภิสิทธิ์บางอย่าง กำลังไม่เคารพกติกา ทั้งที่ข้อถกเถียงจริงๆ ของผู้เรียกร้องคือ นักศึกษาไม่ได้ทำอะไรผิด คสช. จับกุมด้วยคำสั่งเผด็จการที่ไม่ชอบธรรม ถ้าเป็นกติกามันก็เป็นกติกาที่เผด็จการเขียนเอง ไม่ควรมีใครยอมรับตั้งแต่แรก

ตัวอย่างเทียบเคียง: “นักศึกษาไม่ได้ถูกจับเพราะเห็นต่าง ถูกจับเพราะขัดคำสั่งรัฐบาล อย่าหลงประเด็น” เป็นการตั้งหุ่นฟางเช่นกัน เพราะ “ประเด็น” ของผู้ที่คัดค้านการจับนักศึกษาคือ คำสั่งรัฐบาลนั้นไม่ชอบธรรม ไม่ใช่ว่าผู้คัดค้านไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่านักศึกษาขัดคำสั่งของรัฐ

– 6 –

การประท้วง = การแสดงออกด้วยการกระทำอะไรสักอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่าคัดค้านหรือไม่เห็นด้วย มีหลากหลายวิธี เช่น การอดข้าวประท้วง การชุมนุมประท้วง ส่วนใหญ่เป็นการแสดงออกทางสังคมและการเมือง การประท้วงที่ใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดความวุ่นวายจะกลายเป็นการจลาจล

false dilemma (มองโลกขาว-ดำ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่บิดเบือนลดรูปทางเลือกต่างๆ ให้ดูราวกับว่าสถานการณ์นั้นๆ มีเพียงสองทางเลือกเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงมีทางเลือกอื่นๆ อีกอย่างน้อยหนึ่งทาง หรือมี ‘เฉดสีเทา’ มากมายนอกเหนือจากทางเลือกแบบ “ไม่ขาวก็ดำ” ที่ผู้ใช้ตรรกะวิบัติอ้าง

ตัวอย่าง: “จะเอาเผด็จการดีๆ หรือจะเอาประชาธิปไตยเลวๆ” เป็นตรรกะวิบัติแบบ false dilemma เพราะมองว่าทางเลือกมีแต่ “เผด็จการดี” กับ “ประชาธิปไตยเลว” เท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริง ‘คุณภาพ’ ของระบอบการปกครองแตกต่างกันได้มากมาย ทำให้ไม่ได้มีเพียงสองตัวเลือก แต่มีตั้งแต่ ประชาธิปไตยกึ่งดีกึ่งเลว เผด็จการคุ้มดีคุ้มร้าย ประชาธิปไตยซ่อนรูปเผด็จการ เผด็จการเลวสุดขีด ฯลฯ

พึงสังเกตว่า บ่อยครั้งผู้ใช้ตรรกะวิบัติชนิดนี้นอกจากจะ “ตีกรอบ” ทางเลือกให้ดูว่าเหลือเพียงสองทางแล้ว ยังจะตีกรอบในทางที่ทางเลือกหนึ่งอยู่ในรูปที่ดูแย่ที่สุด (เช่น “ประชาธิปไตยเลว”) อีกทางเลือกอยู่ในรูปที่ดูดีที่สุด (“เผด็จการดี”) เพื่อโน้มน้าวให้คนเลือกทางที่ตัวเองอยากเลือก

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ถ้าไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก็ต้องทนไม่มีไฟฟ้าใช้” เป็น false dilemma เพราะทางเลือกของการจัดการพลังงานมีมากมายนอกเหนือจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

– 7 –

กฎอัยการศึก = กฎหมายสำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น  กรณีเกิดสงคราม หรือเหตุจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการระงับปราบปรามและการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างแทนศาลพลเรือน

post hoc ergo propter hoc (เห็นลำดับเป็นสาเหตุ มักย่อสั้นๆ ว่า “post hoc”) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อาศัยเพียง ลำดับ การเกิดเหตุเท่านั้นในการสรุปความเป็น สาเหตุ (causality) กล่าวคือ บอกว่า ในเมื่อเหตุการณ์ ข. เกิดหลังเหตุการณ์ ก. แปลว่า เหตุการณ์ ข. จะต้อง เกิดจาก เหตุการณ์ ก. แน่ๆ ทั้งที่ในความเป็นจริง สองเหตุการณ์มิได้สัมพันธ์กันเช่นนั้น

ตัวอย่าง: “ม๊อบสองฝ่ายจะฆ่ากัน จะเกิดสงครามกลางเมือง จึงเกิดรัฐประหาร” และ “เกิดรัฐประหารเพราะมีนักการเมืองโกง” เป็นตรรกะวิบัติแบบ post hoc เพราะผู้พูดสรุปราวกับว่าการทำรัฐประหารเป็นผลลัพธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการชุมนุมที่เกิดความรุนแรง หรือการที่มีนักการเมืองโกง ทั้งที่ลำพังการประกาศกฎอัยการศึก (ซึ่งคณะทหารก็ประกาศก่อนรัฐประหารไม่กี่วัน) ก็เพียงพอแล้วที่จะจับกุมผู้ใช้อาวุธในที่ชุมนุมทุกฝ่าย ส่วนกรณีนักการเมืองโกงนั้นก็จัดการในระบบได้ด้วยการเรียกร้องให้หน่วยงานปราบปรามคอร์รัปชั่นทำงานอย่างแข็งขันและเป็นธรรมมากขึ้น ประชาชนเข้าชื่อกันเสนอแก้กฎหมายปราบปรามคอร์รัปชั่น เสนอกฎหมายเพิ่มความโปร่งใสของรัฐ ฯลฯ

ปกติแล้ว การพูดถึง การกระทำ ของคนบางคนราวกับว่ามันเป็น “ปรากฎการณ์ธรรมชาติ” ซึ่งจำเป็นจะต้องเกิด เป็นเบาะแสอย่างหนึ่งให้เรามองเห็น post hoc

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ไก่ขันก่อนพระอาทิตย์ขึ้นแป๊บเดียว แสดงว่าไก่ทำให้พระอาทิตย์ขึ้น”

 

– 8 –

กปปส. = “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง มีเป้าหมายขจัด “ระบอบทักษิณ” และจัดตั้งสภาประชาชนที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง แกนนำประกาศยุติการเคลื่อนไหวทันที หลัง คสช. ยึดอำนาจในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

argument to moderation / false compromise (กลางปลอม) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อาจมองว่าเป็นมุมกลับของ false dilemma กล่าวคือ ผู้ใช้ตรรกะวิบัติเชื่อว่า “ความจริง” หรือ “สิ่งที่ถูกต้อง” คือจุดที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้วตรงข้าม และเมื่อเป็นจุดกึ่งกลางแล้วย่อมถูกต้องเสมอ ทั้งที่จุดกึ่งกลางไม่ใช่สิ่งที่ถูก หรือไม่มีอยู่จริงในกรณีนั้นๆ

ตัวอย่าง: “คนส่วนหนึ่งเชียร์ กปปส. อีกส่วนเชียร์เสื้อแดง ดังนั้นเราต้องเป็นกลางคืออยู่เฉยๆ ไม่พูดอะไร” และ “นักวิทยาศาสตร์ 97% บอกหลักฐานชัดว่าโลกร้อนขึ้นเพราะน้ำมือมนุษย์ อีก 3% บอกว่าไม่ใช่ ฉะนั้นเราต้องทำข่าวอย่างเป็นกลาง ด้วยการสัมภาษณ์สองคนจากกลุ่มแรก สองคนจากกลุ่มหลัง เท่าๆ กัน” เป็นตรรกะวิบัติแบบ false compromise เพราะกรณีแรกการ “ไม่พูดอะไร” ไม่ได้แปลว่า “เป็นกลาง” เพราะผู้พูดถ้าไตร่ตรองรายประเด็นแล้ว อาจเห็นด้วยกับ กปปส. เรื่องหนึ่ง เห็นด้วยกับเสื้อแดงเรื่องอื่นก็ย่อมได้ ส่วนกรณีหลังเป็นการพยายามเป็นกลางอย่างผิดๆ ด้วยการให้น้ำหนักเท่ากันระหว่าง “ข้อมูลที่มีแนวโน้มสูงมากว่าถูก” กับ “ข้อมูลที่มีแนวโน้มสูงมากว่าผิด”

พึงสังเกตว่าสื่อไทยและคนไทยจำนวนไม่น้อยมักตกเป็นเหยื่อของตรรกะวิบัติข้อนี้ เวลาพยายามอ้างว่าตน “เป็นกลาง”

ตัวอย่างเทียบเคียง: “เธออยากซื้อลูกหมามาเลี้ยง ฉันไม่อยากซื้อ ฉะนั้นเราไปซื้อลูกหมาครึ่งตัวก็แล้วกัน”

– 9 –

คณะราษฎร = กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy ชื่อในสมัยนั้น ปัจจุบันเราเรียกระบอบแบบนี้ว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”) อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไทย

fallacy of the single cause / causal oversimplification / reduction fallacy (เห็นสาเหตุเดียว) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อ้างว่าเหตุการณ์หรือปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนเกิดจาก “สาเหตุ” หนึ่งข้อเท่านั้น ทั้งที่มันอาจไม่ใช่สาเหตุ หรือเป็นเหตุปัจจัยเพียงข้อเดียวในบรรดาเหตุปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อเหตุการณ์หรือสภาพปัญหานั้นๆ

ตัวอย่าง: “คณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม วันนี้ประชาธิปไตยไทยถึงได้แย่” และ “คณะราษฎรสั่งปิดโรงเรียน ม.ปลาย ทั่วประเทศเป็นสิบปี การศึกษาไทยจึงพังยาวตั้งแต่นั้น” เป็นตรรกะวิบัติชนิด fallacy of the single cause เนื่องจากกล่าวอ้างราวกับว่า การกระทำของคณะราษฎร เมื่อ 80 ปีที่แล้ว เป็นสาเหตุหนึ่งเดียวที่ทำให้ “ประชาธิปไตยไทยแย่” และ “การศึกษาไทยพัง” ในปัจจุบัน ทั้งที่มีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่น่าจะมีส่วนสร้างและตอกตรึงปัญหามากกว่า เช่น รัฐประหารซ้ำซ้อน และวัฒนธรรมอำนาจนิยม

(ข้อตั้งหรือ premise ที่ยกมาอ้างว่าเป็นสาเหตุนั้นอาจไม่ใช่ข้อเท็จจริงก็ได้ เช่น การอ้างว่าคณะราษฎร ‘ชิงสุกก่อนห่าม’ ในตัวอย่างข้างต้น แต่การพิสูจน์มูลความจริง (truth content) ของข้อตั้งเป็นเรื่องที่จะต้องหาข้อพิสูจน์กันต่างหาก ไม่ใช่เรื่องของตรรกะวิบัติ)

ตรรกะวิบัติข้อนี้มักถูกใช้เพื่อดิสเครดิตคนหรือกลุ่มคน ว่าเป็นต้นตอของปัญหาทั้งมวล

ตัวอย่างเทียบเคียง: “พ่อเคยตีเขาแรงๆ ครั้งหนึ่งตอนอายุ 5 ขวบ สี่สิบปีต่อมาเขาเลยกลายเป็นผู้ร้ายฆ่าคน”

– 10 –

รัฐประหาร = การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล พิจารณาว่าสำเร็จแล้วเมื่อคณะผู้ก่อการสามารถยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จ แตกต่างจาก “ปฏิวัติ” (Revolution) ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองทั้งหมด ที่ผ่านมาไทยมีการปฏิวัติเพียงครั้งเดียว คือ การอภิวัฒน์สยาม พ.ศ. 2475

Two wrongs make a right (ผิดซ้ำเท่ากับถูก / ไอ้นั่นก็ทำ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ยกการกระทำแย่ๆ ของคนอื่นขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำแย่ๆ ของตัวเอง ราวกับว่าความแย่ของคนอื่นจะสามารถเล่นแร่แปรธาตุ เปลี่ยนความแย่ของตัวเองให้กลับกลายเป็นดีขึ้นมาได้ อาจจัดเป็นชนิดย่อยของ non sequitur (ข้อสรุปไม่โยง, ดูข้อ 4.) เนื่องจากข้อสรุปไม่เชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผลกับข้อตั้ง (premise)

ตัวอย่าง: “โครงการจำนำข้าวของรัฐบาลประชาธิปไตยเสียหายหลายแสนล้าน รัฐบาลจากรัฐประหารซื้อเรือดำน้ำไม่กี่หมื่นล้าน ดีกว่ากันเยอะ” และ “คนผิวดำในอเมริกาเพิ่งได้สิทธิเลือกตั้งไม่ถึงหกสิบปีนี้เอง จะอยากเลือกตั้งอะไรกันนักหนา” เป็นตรรกะวิบัติแบบ two wrongs make a right เพราะเป็นการยกตัวอย่างที่เห็นชัดว่า “แย่” จากอดีต มาสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของเผด็จการทหาร (อนุมัติซื้อเรือดำน้ำ / ยังไม่กำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน) แทนที่จะอธิบายเหตุผลว่า การซื้อเรือดำน้ำหรือการที่ยังไม่คืนสิทธิเลือกตั้งในปัจจุบันนั้น “ดี” หรือ “ถูกต้อง” อย่างไรในตัวของมันเอง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ตำรวจมาจับผมทำไม ทำไมไม่ไปจับคันแดงข้างหน้าโน่น มันก็ฝ่าไฟแดงเหมือนกัน”

– 11 –

การรับจำนำข้าว = วิธีการแทรกแซงกลไกตลาดวิธีหนึ่ง กลไกปกติคือ ถ้าข้าวในตลาดมีมากเกินไป รัฐก็จะเปิดรับจำนำข้าวจากชาวนาในราคาและในปริมาณที่กำหนด ชาวนาจะได้รับเงินจากรัฐไปจำนวนหนึ่งเพื่อใช้หมุนเวียน เมื่อรัฐรับจำนำข้าว ปริมาณข้าวที่อยู่ในตลาดมีน้อยลง ราคาข้าวจะสูงขึ้นตามกลไกตลาด เมื่อราคาเพิ่มถึงระดับที่น่าพอใจ เกษตรกรก็จะมาไถ่ถอนข้าวนั้นไปขาย แต่ลักษณะโครงการรับจำนำข้าวสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นการรับจำนำข้าวทุกเม็ด และกำหนดราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดถึงร้อยละ 50 ส่งผลให้เกษตรกรนำข้าวมาจำนำกับรัฐทั้งหมด และไม่มาไถ่ถอน กลายเป็นโครงการ “รับซื้อข้าวทุกเม็ด” และรัฐกลายเป็น “ผู้ขายแต่เพียงผู้เดียว”

slippery slope (วาดภาพนรก) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่วาดภาพเหตุการณ์แย่ๆ ในอนาคตติดกันเป็นชุด ราวกับเป็นข้อพิสูจน์ว่าข้อเสนอหรือข้อตั้งเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ โดยไม่ได้อธิบายเชื่อมโยงให้เห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผลว่า เหตุการณ์เหล่านั้นมีแนวโน้มจะเกิดจากข้อเสนอหรือข้อตั้งเพียงใด และอย่างไร

ตัวอย่าง: “ถ้าทหารไม่ออกมายึดอำนาจ ป่านนี้เราต้องขาดทุนจำนำข้าวเป็นล้านล้าน การคลังเจ๊งสนิท นักการเมืองชั่วเอาสมบัติชาติไปขาย คนไทยต้องเช่าแผ่นดินอยู่แล้ว” เป็น slippery slope เพราะผู้พูดมิได้อธิบายว่า เหตุใดเหตุการณ์ทั้งหมดนับจาก “ขาดทุนจำนำข้าวเป็นล้านล้าน” จนถึง “คนไทยต้องเช่าแผ่นดินอยู่” จึงน่าจะเกิดขึ้น “ถ้าทหารไม่ออกมายึดอำนาจ”

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ถ้าเราออกกฎหมายให้กัญชาถูกกฎหมาย ไม่นานกัญชาก็จะเกลื่อนเมือง คนจะติดกัญชาจนไม่ทำมาหากิน ประเทศไทยล่มจมเพราะกฎหมายบ้าๆ ฉบับเดียว”

– 12 –

ประชามติ = กระบวนการให้ประชาชนลงคะแนนออกเสียงเพื่อตัดสินใจว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในเรื่องที่มีความสำคัญระดับชาติหรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ก่อนที่จะนำมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบไปตรากฎหมายหรือนำไปปฏิบัติเพื่อบังคับใช้เป็นการทั่วไป แตกต่างจาก “ประชาพิจารณ์” ซึ่งเป็นเพียงกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของรัฐ

false analogy / false comparison (ผิดฝาผิดตัว) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ยกกรณีอื่น (ข.) มาเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อถกเถียงของตัวเอง (ก.) แต่เลือกมาอย่างไม่ถูกต้องเพราะตั้งสมมุติฐานผิดๆ ว่า ก. เหมือนกับ ข. ทุกประการ ลักษณะใดๆ ของ ข. ย่อมเป็นลักษณะของ ก. ด้วย ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่ใช่เช่นนั้น

ตัวอย่าง: “ในศตวรรษที่ 5 ชนเผ่าโกล (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศฝรั่งเศส) เหลืออดกับประชาธิปไตย เรียกร้องให้นำระบอบกษัตริย์กลับมา วันนี้คนไทยหลายคนก็เหลืออดเหมือนกัน” และ “เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เราอยากไปหาหมอที่เก่งที่สุดใช่ไหม แล้วทำไมเราถึงโอเคกับการให้ใครก็ได้ที่มีบัตรประชาชนและอายุ 18 ปี ไม่รู้ว่ารู้เรื่องหรือเปล่า สามารถเลือกคนที่จะเข้าไปบริหารประเทศ” เป็น false analogy ทั้งคู่ กรณีแรกยกความคิดของคนฝรั่งเศสเมื่อ 1,500 ปีที่แล้ว มาเทียบกับความคิดของคนไทยบางคนในวันนี้ แทนที่จะเทียบปัจจุบันกับปัจจุบัน นั่นคือ ยกความคิดของคนฝรั่งเศสส่วนใหญ่ในวันนี้ว่าคิดอย่างไร ส่วนกรณีหลังเอาเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน (สิทธิในการเลือกผู้แทน) มาเทียบกับประสิทธิผลของการรักษาพยาบาล (เทียบ “โอกาส” กับ “ผลลัพธ์” ทั้งที่เป็นคนละเรื่อง นำมาเทียบกันไม่ได้)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “รัฐบาลก็เหมือนกับธุรกิจ ธุรกิจต้องทำกำไรสูงสุด รัฐบาลก็ต้องทำกำไรสูงสุดเหมือนกัน” (ที่จริงรัฐบาลกับธุรกิจมีเป้าหมายคนละอย่าง)

– 13 –

นักการเมือง = ชื่อเรียกคนที่ ‘เล่นการเมือง’ เป็นอาชีพ โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งจากการเลือกตั้ง นักการเมืองในประเทศที่ระบอบประชาธิปไตยลุ่มๆ ดอนๆ อย่างไทยมักถูกมองว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งมวล หากแต่ในความเป็นจริง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจากการแต่งตั้ง และผู้ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ อีกจำนวนมากก็ ‘เล่นการเมือง’ เช่นกัน เพราะต้องอาศัยคะแนนนิยมสำหรับการทำงาน สร้างฐานเสียงสำหรับการผลักดันวาระของตน

denying the antecedent / inverse error (“ตรงข้ามแปลว่าจริง)” ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อนุมานเองว่าประโยคบอกเล่าเป็นความจริง ฉะนั้นประโยคที่อยู่ตรงกันข้ามจะต้องเป็นความจริงเช่นกัน ทั้งที่ความเป็น “ขั้วตรงข้าม” ในกรณีนี้ไม่ใช่เหตุผลที่เพียงพอต่อการสรุปว่าประโยคตรงข้ามเป็นความจริง

ตัวอย่าง: “นักการเมืองหลายคนขี้โกง คสช. ไม่ใช่นักการเมือง ดังนั้นเขาจึงไม่โกง” และ “คนไม่รวยหลายคนขี้โกง นักการเมืองคนนี้รวยแล้ว ดังนั้นเขาจึงไม่โกง” เป็นตรรกะวิบัติแบบ denying the antecedent เพราะลำพังการอ้างว่า “นักการเมืองหลายคนขี้โกง” และ “คนไม่รวยหลายคนขี้โกง” ไม่ใช่เหตุผลที่ดีพอสำหรับการเสนอว่า “คนคนนี้” (ไม่ว่าจะเป็น คสช. หรือคนรวยที่เข้ามาเล่นการเมือง) ไม่โกง เพราะก็เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางมานานว่า การโกงเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและกับทุกคน ไม่เกี่ยงว่าใครจะรวยหรือไม่รวย เล่นการเมืองเป็นอาชีพหรือไม่เล่น การใช้ตรรกะวิบัติแบบนี้ทำให้เรานิ่งนอนใจและไว้ใจคนโดยใช่เหตุ แทนที่จะยังไม่ฟันธงลงไป ตามติดตรวจสอบเพื่อดูว่าเขาโกงหรือไม่โกง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ถ้ามันเห่า มันต้องเป็นหมา ตัวนี้ไม่เห่า แปลว่ามันไม่ใช่หมา” (ทั้งที่ตัวนี้อาจเป็นหมา แต่มีเหตุผลที่มันไม่เห่า เช่น ไม่สบาย หรือเป็นใบ้)

– 14 –

นิติรัฐ = การปกครองโดยกฎหมาย มิใช่การปกครองโดยอำเภอใจของผู้ปกครอง ประเทศที่เป็นนิติรัฐต้องมีหลักการพื้นฐานที่มุ่งจำกัดอำนาจของผู้ปกครอง กฎหมายต่างๆ ต้องบัญญัติในทางที่รับรองสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ต่อมาขยายความหมายไปถึงหลักที่ว่า กฎหมายต้องออกอย่างเป็นธรรม เคารพหลักความเสมอภาค ห้ามมีผลย้อนหลังเอาโทษกับบุคคล เคารพหลักการแบ่งแยกอำนาจ ความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ฯลฯ พึงสังเกตว่าบางประเทศอาจมีกฎหมายแต่ไร้ซึ่งนิติรัฐก็ได้ เพราะกฎหมายออกโดยอำนาจเผด็จการที่ไม่รับรองสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน

begging the question / circular reasoning (วนเป็นวงกลม) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ให้เหตุผลอธิบายว่าข้อสรุปเป็นจริง โดยที่ตัวเหตุผลนั้นเองตั้ง “ธง” อยู่ก่อนแล้วว่าข้อสรุปเป็นจริง จึงเท่ากับว่ามันไม่ได้อธิบายอะไรเลย

ตัวอย่าง: “ถ้าผู้ประท้วงไม่ทำอะไรผิดกฎหมาย กฎหมายก็ไม่ห้ามทำหรอก” และ “เขาเป็นคนดี มั่นใจอย่างไรเหรอ? ก็เพราะเขาเป็นคนดีไง” เป็นการให้เหตุผลเป็นวงกลมหรือ begging the question เพราะในกรณีแรกผู้พูดเพียงแต่ยกนิยามของกฎหมายมาเป็นเหตุผลว่าผู้ประท้วงทำผิด (แน่นอนว่าการทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม โดยนิยามคือการกระทำที่ผิดกฎหมาย) ทั้งที่กฎหมายนั้นอาจไม่ชอบธรรมก็เป็นได้ ส่วนกรณีหลังเป็นการยืนยันข้อสรุป “เขาเป็นคนดี” ด้วยการยก “เขาเป็นคนดี” ขึ้นมาเป็นหลักฐานยืนยันตัวมันเอง ทั้งที่จริงต้องยกข้อถกเถียงอื่นขึ้นมาเป็นเหตุผล

ตัวอย่างเทียบเคียง: “พระเจ้ามีจริง เพราะคัมภีร์ไบเบิลบอกว่ามีจริง และเราก็ควรเชื่อคัมภีร์ไบเบิล เพราะพระเจ้าเป็นผู้เขียน”

– 15 –

ซื้อเสียง = การแจกเงินหรือผลประโยชน์โดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ไปกาบัตรเลือกตั้งให้กับตน การกระทำดังกล่าวถูกมองว่าเป็นปัญหา เนื่องจากบิดเบือนแรงจูงใจของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้มองเพียงผลตอบแทนเฉพาะหน้าแทนที่จะพิจารณาจากคุณสมบัติหรือนโยบายของผู้สมัคร และผู้สมัครที่ซื้อเสียงอาจจะอยาก ‘ถอนทุน’ ด้วยการคอร์รัปชั่น ด้วยเหตุนี้การซื้อเสียงจึงผิดกฎหมายเลือกตั้งทุกประเทศ

anecdotal fallacy / mistaken vividness (ตู่จากความจำ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ตีความผิดๆ ว่า ประสบการณ์เฉพาะตัว (ของตัวเองหรือคนอื่น) คือข้อเท็จจริงในภาพใหญ่ด้วย

ตัวอย่าง “หัวคะแนนแถวบ้านฉันเดินแจกเงินตอนเลือกตั้ง พรรคนี้มันชนะได้เป็นรัฐบาลก็เพราะซื้อเสียงมา ถ้าไม่แก้ปัญหานี้อย่าคิดเลยว่าจะมีประชาธิปไตยที่ดี” เป็นตรรกะวิบัติชนิด anecdotal fallacy เพราะผู้พูดตีความประสบการณ์ส่วนตัว (เห็นหัวคะแนนแจกเงิน) ราวกับว่าเป็นข้อเท็จจริง (ซื้อเสียงทั้งประเทศ) ที่สนับสนุนบทสรุป (พรรคชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลก็เพราะซื้อเสียง) ทั้งที่งานวิจัยหลายชิ้นได้ข้อสรุปตรงกันว่า “การซื้อสิทธิขายเสียงไม่ได้เป็นตัวชี้ขาดในการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่ใช้จ่ายเงินมากที่สุดไม่ได้เป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งอีกต่อไป สอดคล้องกับทัศนคติของประชากรกลุ่มตัวอย่าง … เกินกว่าร้อยละ 80 ต่างไม่ให้ความสำคัญกับการซื้อสิทธิขายเสียงในการตัดสินใจเลือกตั้ง [โดย]มีความเห็นว่า “ไม่จำเป็นต้องเลือก” ผู้ให้ผลประโยชน์” (ข้อความอ้างอิงจากรายงานวิจัยเรื่อง “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554” โดย รศ. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลดได้จาก http://www.tdw.polsci.chula.ac.th/?q=Elected_members_of_parliament)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ฉันยังขายของได้นี่นา แปลว่าเศรษฐกิจยังโตอยู่แน่ๆ”

 

– 16 –

อำนาจนิยม (authoritarianism) = รูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ มักตรงข้ามกับเสรีนิยม อำนาจทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็กที่ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของตนและพวกพ้อง โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์ ควบคุมหรือแทรกแซงสื่อมวลชน และจำกัดการตรวจสอบ อำนาจนิยมที่ได้รับการกล่าวถึงในยุคปัจจุบันมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianism) ซึ่งมีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง อาศัยกระบวนการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือ ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยอ้างว่าได้เสียงสนับสนุนข้างมาก ลักษณะนี้ทำให้เกิดข้อเสนอว่า การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่ไม่ “เพียงพอ” ต่อการส่งเสริมระบอบเสรีประชาธิปไตย (liberal democracy)

appeal to majority / appeal to popularity (ข้างมากคือถูกต้อง) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อ้าง “เสียงข้างมาก” มาเป็นหลักฐานว่าสิ่งที่พูดเป็นความจริง ในกรณีที่เสียงข้างมากบอกไม่ได้ว่าจริงหรือไม่ บอกได้แต่เพียงว่ามีคนนิยมหรือเชื่อจำนวนมาก

ตัวอย่าง: “นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เธอจะโกง” และ “โพลบอกว่าประชาชนส่วนใหญ่ชอบนโยบายนี้ ดังนั้นมันจึงเป็นนโยบายที่ดี” เป็นตรรกะวิบัติแบบ appeal to majority เพราะผู้พูดอ้างเสียงข้างมาก (ชนะเลือกตั้ง / คนส่วนใหญ่ชอบ) มาเป็นเหตุผลที่นายกฯ จะไม่โกง และนโยบายเป็นนโยบายที่ดี ทั้งที่การโกงไม่เกี่ยวอะไรกับผลการเลือกตั้ง และการประเมินนโยบายสาธารณะว่า “ดี” หรือไม่ดีนั้นก็ต้องดูหลายมิตินอกเหนือจากความนิยม เช่น ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ โอกาสในการเกิดการรั่วไหลหรือคอร์รัปชั่น ความคุ้มค่าโดยเปรียบเทียบ (cost-benefits) เมื่อเทียบกับทางเลือกอื่นๆ

ตัวอย่างเปรียบเทียบ: “โพลบอกคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าโลกร้อน ดังนั้นโลกร้อนจึงเป็นเรื่องโกหกพกลมทั้งเพ”

– 17 –

ค่าแรงขั้นต่ำ = ค่าตอบแทนระดับต่ำสุดที่นายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นรายชั่วโมง รายวันหรือรายเดือน ตามที่กฎหมายกำหนด

quoting out of context / quote mining (ไม่ดูบริบท) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ตัดตอนคำพูดของคนอื่นมาอ้างโดยไม่รักษาสาระสำคัญเอาไว้ ส่งผลให้คนฟังเข้าใจผู้พูดดั้งเดิมผิดเพี้ยนไป (ปกติในทางลบ) เพราะมองไม่เห็นบริบทของคำพูด

ตัวอย่าง: ปาฐกถาของ นพ. ประเวศ วะสี ในงานประชุมประจำปี พ.ศ. 2554 ของสภาพัฒน์ฯ ถูกคนนำไปอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่า นพ. ประเวศ พูดว่า “ค่าแรงวันละ 150 บาทก็อยู่ได้” ซึ่งอาจมองได้ว่าไม่เข้าใจหัวอกของผู้ใช้แรงงาน การตัดตอนแบบนี้เป็นตรรกะวิบัติแบบ quote mining เพราะบริบทเต็มๆ ของข้อความนี้คือ “ถ้าค่าแรงอยู่ที่วันละ 150 บาท แต่มีแนวทางเชื่อมโยงให้ผู้ใช้แรงงานมีที่อยู่อาศัย มีอาหารการกิน เป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จะสามารถอยู่ได้” (จากข่าว นสพ. ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/content/eco/184725) ต่อมาอธิบายเพิ่มเติมว่า “ต้องเชื่อมโยงธุรกิจมหภาคเข้ากับเศรษฐกิจชุมชนให้เกื้อกูลกัน ถ้าผู้ใช้แรงงานสามารถอยู่ในชุมชน มีที่อยู่ มีอาหาร ทำการเกษตรไปด้วย และทำโรงงานไปด้วย จัดสวัสดิการ มีรถรับส่งก็จะไม่เป็นอุปสรรค ธุรกิจก็ได้ คนงานก็ได้ เชื่อมโยงชุมชนกับเศรษฐกิจมหภาคเข้าด้วยกัน ถ้าทำได้ ค่าแรง 150-200 บาทก็เป็นเงินเหลือ” (จากข่าว นสพ. มติชน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310546913)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “เหยียบให้มิดเลยพี่ ไฟแดงช่างมัน” ฟังเท่านี้จะคิดว่าผู้พูดเป็นคนไม่เคารพกฎจราจร ชอบซิ่งหรือชอบความเร็ว แต่ถ้าฟังประโยคเต็มๆ คือ “เมียฉันเจ็บท้องใกล้คลอดเต็มทีแล้ว เหยียบให้มิดเลยพี่ ไฟแดงช่างมัน ถ้าไปไม่ถึงโรงพยาบาลภายในสิบห้านาทีต้องแย่แน่ๆ เดือนก่อนก็เลือดออกทีนึงแล้ว” ก็จะเข้าใจว่าผู้พูดต้องการจะสื่ออะไร (เข้าใจแล้วจะเห็นด้วยหรือไม่ก็อีกเรื่อง)

– 18 –

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.; ชื่อเดิม นปก.) = กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 เพื่อต่อต้านรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ยุติการชุมนุมเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้กลับมารวมตัวกันอีกเพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนเกิดเหตุการณ์ปะทะกัน โดยมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ในปี พ.ศ. 2553 นปช.จัดชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม จนกระทั่งถูกสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม หลังจากนั้นยังคงมีการชุมนุมอยู่เป็นระยะจนเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2557

guilt by association (ไม่ชอบจึงไม่ใช้เหตุผล) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ปฏิเสธข้อถกเถียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงเพราะคนที่เราไม่ชอบสนับสนุนข้อถกเถียงนั้นๆ แทนที่จะวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลของข้อถกเถียงก่อนตัดสินใจ

ตัวอย่าง: “ฉันไม่มีวันเห็นดีเห็นงามกับการปฏิรูประบบยุติธรรม เพราะแกนนำ นปช. หลายคนชอบพูดเรื่องนี้ เกลียดพวกมันมาก” และ “เห็น กปปส. ออกมาค้านเขื่อนแม่วงก์ ถ้างั้นฉันจะไปสนับสนุนให้รัฐบาลสร้างเขื่อนเร็วๆ เลย หมั่นไส้พวกนกหวีด” เป็นตรรกะวิบัติแบบ guilt by association ทั้งคู่ เพราะปฏิเสธข้อถกเถียง (“ควรปฏิรูประบบยุติธรรม” และ “ไม่ควรสร้างเขื่อนแม่วงก์”) เพียงเพราะผู้พูดไม่ชอบ นปช. ในกรณีแรก และ กปปส. ในกรณีหลัง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “พรุ่งนี้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ แล้ว ฉันไม่มีทางกาเบอร์ 1 เด็ดขาด เพราะเพื่อนบ้านที่ฉันไม่ชอบจะไปเลือกมัน ฉันรู้ว่าเพื่อนบ้านนิสัยไม่ดี คนที่มันเลือกก็ต้องนิสัยไม่ดีเหมือนมันแน่ๆ”

– 19 –

กูรู = ผู้เชี่ยวชาญช่ำชองในสาขาใดสาขาหนึ่งจนเป็นที่ยอมรับในวงการนั้นๆ แต่ปัจจุบันคนจำนวนไม่น้อยโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัวเองว่าเป็น “กูรู”

appeal to authority (อ้างกูรูโดยไม่คิด) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อ้างว่า ในเมื่อผู้เชี่ยวชาญเป็นคนพูด สิ่งที่เขาพูดย่อมเป็นความจริง โดยไม่ไตร่ตรองในเนื้อหาของผู้พูด และไม่พิจารณาว่าเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ จริงหรือไม่

ตัวอย่าง: “อาจารย์ของฉันเองบอกว่าโลกร้อนไม่มีจริง ฉันต้องเชื่ออาจารย์สิ” และ “หมอโรคหัวใจเมื่อวานบอกว่ารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรมันโกงไปเป็นหมื่นล้าน ฉันว่าหมอพูดจริงแน่ๆ เพราะเป็นถึงด็อกเตอร์” เป็นตรรกะวิบัติแบบ appeal to authority เพราะเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ได้ยินมาคือข้อเท็จจริง เพียงเพราะผู้พูดฟังดูน่าเชื่อถือ (เป็นอาจารย์ / จบปริญญาเอก) โดยที่ไม่ได้ถามหรือศึกษาเหตุผลของผู้พูด ไม่ได้ลองศึกษาหาข้อมูลเองประกอบ

พึงระวังว่า การอ้างคำพูดของผู้เชี่ยวชาญอาจไม่ใช่ตรรกะวิบัติในตัวมันเอง การอ้างคำพูดของผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นเหตุผลที่ดีก็ได้ ในกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญรายนั้นมีความเชี่ยวชาญจริงๆ ในเรื่องนั้นๆ  และไม่เคยแสดงตัวว่ามีอคติหรือทิฐิในระดับที่จะบิดเบือนวิจารณญาณ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปพบแพทย์และแพทย์บอกว่าเราป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ เราก็มีเหตุมีผลที่จะยอมรับในข้อสรุปของแพทย์ หรือสมมุติว่าคอมพิวเตอร์เรามีปัญหา เพื่อนที่ทำงานในร้านซ่อมคอมพิวเตอร์มาตรวจดูแล้วบอกว่าเราต้องเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ เราก็มีเหตุมีผลที่จะเชื่อเพื่อน

ตัวอย่างเทียบเคียง: “นาซ่าไม่เคยส่งคนไปลงดวงจันทร์นะ โกหกทั้งเพ หนังสือที่บ้านบอก คนเขียนเป็นนักเขียนชื่อดังเชียว”

– 20 –

โรดแม็ป หรือ โรดแม็พ = ทับศัพท์คำว่า “roadmap” ในภาษาอังกฤษ แปลว่า “แผนที่การเดินทาง” ปัจจุบันใช้ในความหมายว่า วิธีการและขั้นตอนในการแก้ไขใดปัญหาหนึ่ง หรือขั้นตอนไปสู่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง โดยนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายนั้นอย่างเป็นลำดับขั้น เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน

noble effort / notable effort / “E” for effort (ขยันคือถูกต้อง) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ตีความผิดๆ ว่า อะไรสักอย่างย่อมถูกต้อง ดีงาม จริงแท้ หรือมีคุณค่า เพียงเพราะใครสักคนทุ่มเทแรงกายแรงใจ หรือแม้แต่เสียสละเวลา ทรัพย์สิน หรือความสุขสบาย มาพากเพียรทำสิ่งนั้นๆ ด้วยเจตนาที่ดี

ตัวอย่าง: “แกวิพากษ์วิจารณ์นโยบาย คสช. ทำไม เขาตั้งใจเข้ามาทำงานช่วยชาติ อยู่เฉยๆ หุบปากไป ให้เวลาเขาทำงานก่อนสิ” และ “ฉันว่ารัฐบาลทำงานคืบหน้าตามโรดแม็ปนี่ เพราะมีแต่คนดีๆ ร่วมแรงร่วมใจมาทำงานเพื่อชาติ” ต่างเป็นตรรกะวิบัติชนิด noble effort เพราะการที่ใครจะเข้ามาทำงานช่วยชาติหรือเพื่อชาติ ไม่ใช่เหตุผลที่คนอื่นไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ หรือยกมาอ้างเป็นเหตุผลว่าโรดแม็ปกำลังเดินหน้า เพราะการจะดูว่านโยบายดีหรือไม่ ใครทำงานดีเพียงใด ก็ต้องไปวิเคราะห์ที่ตัวนโยบายและการทำงานจริง มิใช่มัวแต่เคลิบเคลิ้มไปกับความพยายามของคนทำ

(และแท้จริงแล้ว ไม่มีกรณีใดเลยที่คน “ไม่ควร” จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของบุคคลหรือกลุ่มคนสาธารณะ โดยเฉพาะผู้มีอำนาจทางการเมือง)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ดูสิ เพื่อนฉันอุตส่าห์ใช้เวลาตั้งสามปี เขียนหนังสือหนาเตอะออกมาอธิบายว่าทำไมเขาถึงคิดว่าเรื่องนี้จริง ดังนั้นมันต้องจริงแน่ๆ”

– 21 –

ศาลทหาร = ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาของทหาร นักเรียนทหาร ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่กระทำผิดอาญาในบริเวณที่ตั้งหน่วยทหาร บุคคลที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น พยานที่ถูกศาลทหารออกหมายจับมาเพื่อเบิกความ และบุคคลที่เป็นเชลยศึกในช่วงเวลาที่มีศึกสงคราม อย่างไรก็ดี ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา ถือว่าเป็น “ภาวะไม่ปกติ” คดีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศว่าต้องขึ้นศาลทหาร ได้แก่ (1) ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 107 – 112 (2) ความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 – 118 และ (3) ความผิดตามประกาศหรือคำสั่ง คสช. โดยในรอบ 1 ปีของการรัฐประหาร สิ้นสุด 22 พฤษภาคม 2558 มีพลเรือนถูกนำตัวขึ้นศาลทหารเพราะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะอย่างน้อย 131 คน (สถิติจากเว็บไซต์ iLaw)

avoiding the issue / avoiding the question (เบี่ยงประเด็น) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ไพล่ไปพูดเรื่องอื่น แทนที่จะถกประเด็นที่กำลังคุยกันอยู่

ตัวอย่าง: ผู้พูดเสนอว่า “พลเรือนไม่ควรขึ้นศาลทหาร” ผู้อภิปรายตอบว่า “ยอมรับคำตัดสินของศาลพลเรือนก่อนสิ” เป็นตรรกะวิบัติแบบ avoiding the issue เพราะการจะยอมรับหรือไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลพลเรือนในคดีใดก็ตาม ก็ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับข้อเสนอของผู้พูด พึงสังเกตว่า วิธีเบี่ยงประเด็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมออนไลน์ไทย คือการ “ย้อนถาม” ผู้พูด เช่น “ตอนรัฐบาลที่แล้วโกง พูดอะไรบ้าง” ซึ่งนอกจากจะเป็นการเบี่ยงประเด็น ยังมักจะเป็นการแสดงอาการดูถูกคนอื่น ยกตนข่มท่านอีกด้วย

ตัวอย่างเทียบเคียง: ต่อคำถาม “โครงการสร้างแลนด์มาร์คริมเจ้าพระยาไม่เห็นมีดีตรงไหน” ตอบว่า “แล้วโครงการจัดการน้ำสามแสนล้านของรัฐบาลที่แล้วล่ะ”

– 22 –

ยุคทอง = ช่วงเวลาในอดีตที่คนมองย้อนกลับไปว่า เป็นยุคที่สังคมรุ่งเรืองกว่าปัจจุบัน

good old days / golden age (โหยหายุคทอง) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ผู้พูด “เลือกจำ” เฉพาะเหตุการณ์ดีๆ จากช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีต เพื่อบอกว่ามันเป็นช่วงเวลาที่สังคมรุ่งโรจน์ โชติช่วงชัชวาล ผู้คนมีศีลธรรม มีความสุข ฯลฯ โดยไม่แยแสหรือลืมนึกไปว่า ช่วงเวลานั้นก็มีเรื่องแย่ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่นกัน

ตัวอย่าง: “คิดถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ยุคทองแท้ๆ ดูสิเศรษฐกิจไทยเติบโตตั้งเท่าไหร่ เผด็จการดีๆ ก็มีเห็นไหม” และ “ยุคทักษิณนี่เป็นยุคทองของประชาธิปไตยเลยนะ รากหญ้าได้ลืมตาอ้าปาก ประชาธิปไตยกินได้จริงๆ” อาจนับเป็นตรรกะวิบัติแบบ golden age เพราะกรณีแรกผู้พูดไม่ประเมินการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในการปราบปรามผู้เห็นต่าง ลิดรอนสิทธิเสรีภาพอย่างรุนแรง และการคอร์รัปชั่นขนานใหญ่ของจอมพลและพวกพ้อง ส่วนกรณีหลังผู้พูดก็ไม่ประเมินกรณีฆ่าตัดตอนยาเสพติด การสังหารหมู่ที่กรือเซะ ตากใบ คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย หรือการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่ง ซึ่งล้วนแต่เป็น “จุดด่าง” ที่ทำให้เกิดข้อกังขาว่า ควรมองว่าเป็น “ยุคทอง” จริงๆ หรือไม่

พึงสังเกตว่าข้อนี้ไม่ใช่ตรรกะวิบัติเท่ากับเป็น “สันดาน” ของมนุษย์ เราจึงมักจะไม่รู้ตัวเวลาใช้มัน นักจิตวิทยาอธิบายว่าเป็น selective memory (การเลือกจำ) ที่เกิดจาก affect heuristic (ฮิวริสติก หมายถึง “ทางลัดทางความคิด” ที่สมองเราใช้ในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว กรณีนี้หมายถึง affect หรืออารมณ์ความรู้สึก) – ในเมื่อการจำประสบการณ์แย่ๆ ทำให้เรารู้สึกแย่ สมองของเราจึงมักจะหวนนึกถึงแต่ประสบการณ์ดีๆ ในอดีตเท่านั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติ รสนิยม และความคิดความเชื่อส่วนบุคคลของเรานั่นเอง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “คนสมัยนี้ศีลธรรมเสื่อมโทรม สมัยสุโขทัยคนมีศีลมีธรรมกว่านี้เยอะ”

– 23 –

นักโทษทางความคิด (prisoner of conscience) = บุคคลที่ถูกคุมขังหรือถูกจำกัดเสรีภาพทางร่างกายเพียงเพราะการแสดงความคิด และ/หรือมีความเชื่อทางการเมือง ศาสนา ของตนที่แตกต่าง หรือเพียงเพราะมีชาติพันธุ์ เพศ   สีผิว ภาษา ความเป็นมาด้านเชื้อชาติหรือสังคม สถานะทางเศรษฐกิจ ชาติกำเนิด อัตลักษณ์ทางเพศ หรือสถานะอื่น ๆ ที่แตกต่าง โดยไม่ได้ใช้ความรุนแรงหรือสนับสนุนความรุนแรงหรือความเกลียดชัง  พวกเขาถูกควบคุมตัวเพียงเพราะความเชื่อของตนเองหรือเพียงเพราะอัตลักษณ์ของตนเอง โดยมิใช่เป็นเพราะอาชญากรรมที่ก่อขึ้น (นิยามจาก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย)

argument from ignorance (ไม่รู้จึงจริง/ไม่รู้จึงไม่จริง) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ใช้เหตุผลผิดๆ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งจริงเพียงเพราะมันไม่เคยถูกพิสูจน์ว่าไม่จริง หรือไม่จริงเพียงเพราะมันไม่เคยถูกพิสูจน์ว่าจริง ตรรกะวิบัติข้อนี้มักเกิดจากความทะนงตนหรือทิฐิ ถูกอวิชชาบังตา สำคัญตนผิดว่า “ฉันรู้ทุกเรื่อง”

ตัวอย่าง: “เขาไม่เคยโกงสักหน่อย เห็นเหรอว่าโกง” และ “นักโทษทางความคิดถูกกลั่นแกล้งในคุกเนี่ยนะ ไม่จริง ไม่เคยเห็นข่าวทีวีเลย” เป็นตรรกะวิบัติแบบ argument from ignorance เพราะเป็นการตีความว่า การที่เรา “ไม่เคยเห็น” (กับตา หรือข่าวในทีวี) แปลว่าคนคนนี้ไม่ได้โกง หรือนักโทษทางความคิดไม่ได้ถูกกลั่นแกล้ง ทั้งที่เราเพียงแต่ “ไม่รู้” เท่านั้น (และหลายเรื่องก็รู้ยาก เช่น คนที่โกงเก่งๆ มักจะหลบรอดสายตาผู้คนได้หลายปี และข่าวทีวีก็ไม่ได้ไปทำข่าวทุกเรื่องที่ควรจะเป็นข่าว)

ตรรกะวิบัติข้อนี้สอนให้เรา “เผื่อใจ” อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ว่าหลายเรื่องอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ เราเพียงแต่ยัง “ไม่รู้” เท่านั้น

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่ามนุษย์ต่างดาวไม่เคยมาเยือนโลก แปลว่ามนุษย์ต่างดาวมีอยู่จริงในจักรวาล”

– 24 –

สื่อมวลชน = สื่อชนิดที่สามารถกระจายข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วไปยัง ‘มวลชน’ จำนวนมากโดยเฉพาะคนทั้งประเทศ อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เมื่อครั้งที่อินเทอร์เน็ตยังไม่ได้รับความนิยมแพร่หลาย สื่อมวลชนสามช่องทางเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “สื่อกระแสหลัก” ขณะที่สื่อออนไลน์ถูกเรียกว่า “สื่อกระแสรอง” แต่ปัจจุบันเส้นแบ่งนี้เลือนรางลงเรื่อยๆ ในยุคที่การเสพสื่อออนไลน์กลายเป็นพฤติกรรมกระแสหลัก และสื่อมวลชนทุกค่ายต่างเข้ามาใช้โลกออนไลน์เป็นพื้นที่ทำงานและช่องทางการเผยแพร่ข่าวของตน

appeal to emotion (โน้มน้าวอารมณ์) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่พยายามโน้มน้าวอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังให้คล้อยตามผู้พูด แทนที่จะอาศัยข้อมูลหลักฐานและความมีเหตุมีผลมาเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อถกเถียง

ตัวอย่าง: “ขอร้องสื่อมวลชนว่า อย่าจัดรายการที่วิจารณ์การทำงานของ คสช. และรัฐบาล เพราะส่วนตัวรับไม่ได้ ขอความเห็นใจ” และ “ฉันเลี้ยงลูกตัวคนเดียว อัตคัดคัดสนมาก หย่ากับสามีหลายสิบปีแล้ว พูดก็ไม่เก่ง ขอร้องให้โหวตเลือกลูกชายฉันเป็น ส.ส. เถอะนะ” เป็นตรรกะวิบัติแบบ appeal to emotion เพราะ “ความเห็นใจ” ไม่เกี่ยวอะไรกับการทำหน้าที่ของสื่อ และความทุกข์ทรมานของคนเป็นแม่ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณสมบัติของลูกชายในการเป็นผู้สมัคร ส.ส.

ตรรกะวิบัติข้อนี้ใช้กันแพร่หลายในสังคมไทย เนื่องด้วยวัฒนธรรม “ขี้สงสาร” โดยเฉพาะถ้าเห็นน้ำตาแล้วก็มักจะใจอ่อน อย่างไรก็ดี ตรรกะวิบัติข้อนี้ไม่ได้แปลว่าเราไม่ควรเห็นใจใครเลย เพียงแต่เตือนสติเราว่า ความรู้สึกต่างๆ ไม่ว่า “เห็นใจ” “โดนใจ” “สะใจ” หรืออื่นๆ ไม่ควรถูกนำมาใช้แทน “เหตุผล” ในการประเมินข้อถกเถียง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ฉันควรจะได้รับรางวัลนี้ เพราะฉันต้องหัวใจสลายแน่ๆ ถ้าไม่ได้”

 

– 25 –

ความสุข = “ความสบายกายสบายใจ” (นิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542) มีหลายระดับตั้งแต่ความสบายใจเล็กๆ น้อยๆ หรือความพอใจ ความเพลิดเพลิน ไปจนถึงความอิ่มใจหรือความเบิกบานใจ แนวคิดทางปรัชญาและศาสนามักกำหนดนิยามของความสุขในความหมายของชีวิตที่ดี มิใช่เพียงอารมณ์ประเภทหนึ่งเท่านั้น ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ความสุขและนักจิตวิทยาก็แยกแยะระหว่าง “ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต” (life satisfaction) กับ “ความอยู่ดีมีสุข” (well-being) ซึ่งเป็นความสุขระยะยาวกว่า

cherry picking (หยิบข้อมูลตามใจ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่เลือกหยิบเอาเฉพาะข้อมูลส่วนน้อยที่สนับสนุนความคิดของตนเองมาใช้ โดยละเลยหลักฐานจำนวนมากที่บ่งชี้ในทางตรงกันข้าม บ่อยครั้งจัดเป็นตรรกะวิบัติประเภท anecdotal fallacy (ตู่จากความจำ) ด้วย และมักจะเกิดขึ้นโดยที่ผู้ใช้ไม่ตั้งใจ เพราะคนเรามีแนวโน้มที่จะเลือกจำและตีความเฉพาะข้อมูลที่ตรงกับความคิดความเชื่อของเราอยู่แล้ว เป็นอคติที่เรียกว่า confirmation bias ฉะนั้นการหลีกเลี่ยงตรรกะวิบัติข้อนี้จึงต้องอาศัยการฝึก “เผื่อใจ” ว่าเราอาจจะคิดผิดก็ได้

ตัวอย่าง : “เศรษฐกิจไม่ดีตรงไหน ก๊วนหุ้นของฉันยังเล่นหุ้นได้กำไร” และ “คนไทยส่วนใหญ่มีความสุขกว่าเดิมตั้งแต่มี คสช. เพื่อนฉันทุกคนบอกเป็นเสียงเดียว” เป็นตรรกะวิบัติแบบ cherry picking เพราะเอาประสบการณ์ของคนกลุ่มเดียวมาใช้เป็นหลักฐานว่า “เศรษฐกิจยังดี” และ “คนไทยส่วนใหญ่มีความสุขกว่าเดิม” ทั้งที่หลักฐานอีกมากมายบ่งชี้ในทางตรงกันข้าม

ตัวอย่างเทียบเคียง : “เชอร์รี่นี้หวานทั้งพวงเลย แสดงว่ามันต้องหวานทั้งต้นแน่ๆ” (ในความเป็นจริง เชอร์รี่หวานทั้งต้นมีอยู่หยิบมือเดียว ที่เหลือคาต้นล้วนแต่เปรี้ยว คนเลยไม่เก็บมาให้กิน)

– 26 –

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 = “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี” จัดเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ คนไทยหรือคนต่างด้าวไม่ว่ากระทำในหรือนอกราชอาณาจักรก็ต้องรับโทษ  ในปี 2556 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำว่า “พระมหากษัตริย์” หมายความรวมถึงพระมหากษัตริย์ในอดีตด้วย  ส่วน ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เคยตีความว่า กฎหมายครอบคลุมถึงการห้ามวิจารณ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปัจจุบันมาตรา 112 เป็นกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นประมาทราชวงศ์ซึ่งระวางโทษรุนแรงที่สุดในโลก

argumentum ad baculum / appeal to force (ขู่แทนเหตุผล) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ใช้วิธีข่มขู่แทนเหตุผลในการถกเถียง หรือยกความเสียหายบางอย่างที่จะเกิดขึ้นในกรณีที่ข้อถกเถียงจริงหรือไม่จริง มาเป็นเหตุผลว่ามันจริงหรือไม่จริง

ตัวอย่าง: “ถ้าแกวิจารณ์เรื่องนี้ว่าไม่จริง แกต้องโดน 112 แน่ๆ ดังนั้นแกต้องเชื่อว่าเรื่องนี้จริง” เป็นตรรกะวิบัติแบบ appeal to force เพราะการจะถูกหรือไม่ถูกฟ้อง ถูกหรือไม่ถูกลงโทษ ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับระดับความจริง (truth value) ของข้อถกเถียง (แต่ตรรกะวิบัติข้อนี้ก็มักจะหยุดการถกเถียงได้ชะงัด เนื่องจากกฎหมายนี้รุนแรงจริง)

พึงระวังว่า การยกความเสียหายในอนาคต โทษ หรือคำขู่ ไม่ใช่ตรรกะวิบัติในกรณีที่สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลกับข้อถกเถียง เช่น การพูดว่า “ถ้าแกเมาแล้วขับ แกจะถูกตำรวจจับ ดังนั้นอย่าเมาแล้วขับจะดีกว่า” ไม่ใช่ตรรกะวิบัติ เพราะผู้พูดไม่ได้กำลังนำเสนอว่าพฤติกรรมเมาแล้วขับดีหรือไม่ดีต่อสังคม แต่พูดถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวคนขับ ดังนั้นการชี้ว่า “จะถูกตำรวจจับ” จึงเป็นเหตุเป็นผลแล้ว

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ถ้าแกไม่เชื่อว่าเวรกรรมมีจริง แกต้องตกนรกแน่ๆ”

 

– 27 –

การก่อการร้าย = พฤติการณ์รุนแรงซึ่งมีเจตนาก่อให้เกิดความกลัว กระทำการเพื่อจุดประสงค์ทางศาสนา การเมืองหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จงใจหรือไม่ใส่ใจต่อความปลอดภัยของพลเรือน ถึงแม้จะมีความชัดเจนระดับหนึ่ง แนวคิดและนิยาม “การก่อการร้าย” อาจเป็นหัวข้อโต้เถียงในตัวของมันเองก็ได้ เนื่องจากบางครั้งถูกใช้โดยหน่วยงานของรัฐเพื่อลดความชอบธรรมของศัตรูการเมืองหรือฝ่ายอื่น และมีศักยภาพที่จะเพิ่มความชอบธรรมให้แก่รัฐในการใช้กำลังกับผู้ต่อต้าน

loaded question (คำถามชี้นำ) = คำเรียกตรรกะวิบัติประเภทคำถาม (ซึ่งบ่อยครั้งก็ไม่ได้ตั้งใจจะถาม) ที่ตั้งหรือซ่อนสมมุติฐานบางอย่างในคำถามนั้นๆ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่ไม่มีหลักฐานรองรับหรือยังเป็นที่โต้เถียงไร้ข้อสรุป คำถามแบบนี้มักใช้ในการ “หลอก” ให้ผู้ตอบสื่อนัยบางอย่างที่เขาไม่ได้เจตนา เพียงเพราะนัยนั้นแฝงอยู่ในคำถาม

ตัวอย่าง: “คุณรับได้หรือไม่กับคอร์รัปชั่นที่ทำให้ประเทศเจริญ” และ “ตำรวจจับได้แล้วเหรอไอ้ดาราออสเตรเลียที่ก่อการร้ายวันก่อน” เป็น loaded question เพราะคำถามข้อแรกแฝงสมมุติฐานว่า “คอร์รัปชั่นบางอย่างทำให้ประเทศเจริญได้” ซึ่งยังไม่มีข้อพิสูจน์และผู้ตอบอาจไม่เห็นด้วย ส่วนคำถามหลังก็แฝงสมมุติฐานว่าดาราออสเตรเลียคือผู้ก่อการร้าย ทั้งที่ยังไม่มีข้อสรุป

พึงระวังคำถามของบริษัททำโพลหลายแห่งที่ชอบตั้งคำถามแบบ loaded question

ตัวอย่างเทียบเคียง: “แกรู้ตัวไหมว่ากำลังสร้างความแตกแยก” (ไม่ว่าผู้ตอบจะตอบว่า “รู้” หรือ “ไม่รู้” ก็เท่ากับยอมรับสมมุติฐานว่า “สร้างความแตกแยก” ทั้งที่มันไม่จริง)

– 28 –

เล่นลิ้น = การพูดยอกย้อนวกวน ไม่ตรงไปตรงมา บ่อยครั้งสื่อนัยเชิงลบว่า ผู้พูดใช้สำบัดสำนวนหรือวาทศิลป์กลบเกลื่อนความไม่มีเหตุผลหรือความผิดของตนเอง

equivocation fallacy (บิดความหมายคำ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่บิดความหมายของคำในข้อถกเถียงไปเป็นความหมายอื่นที่ไม่สอดคล้องกับข้อถกเถียง ความหมายแคบของตรรกะวิบัติข้อนี้ คือ การใช้คำคำเดียวกันในข้อตั้ง (premise) และข้อสรุป (conclusion) แต่ใช้คนละความหมายกัน ความหมายกว้างรวมถึงการ ‘เล่นลิ้น’ กับคำที่มีหลายความหมายเพื่อชักจูงให้คนฟังเข้าใจผิด

ตัวอย่าง: อดีตเอเจนซีที่ผันตัวมาเป็น ‘นักสร้างแรงบันดาลใจ’ และที่ปรึกษาธุรกิจถูกจับได้ว่าลอกบทความคนอื่นมาทั้งดุ้นหลายครั้งโดยไม่ให้เครดิต เพียงแต่นำมาแปลไทยคำต่อคำ จึงทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นงานเขียนและความคิดของตัวเอง และอาศัยความคิดเหล่านั้นสร้างจุดขายของคอร์สอบรมราคาแพง สุดท้ายเมื่อออกมาอธิบายก็พูดว่า “คนทำผิด คือคนที่ทำ ส่วนคนที่ไม่ได้ทำผิดคือคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย” เป็นตรรกะวิบัติแบบ equivocation เพราะใช้คำว่า “ผิด” ในความหมายเดียวกับ “ผิดพลาด” คือพลาดโดยไม่ตั้งใจ (ซึ่งแบบนั้นทุกคนที่ทำก็มีสิทธิพลาดจริงๆ) ทั้งที่ในความเป็นจริง ตัวเองเจตนา “กระทำผิด” อย่างโจ่งแจ้งและต่อเนื่อง มิใช่ผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจแต่อย่างใด

ตัวอย่างเทียบเคียง: “เธอบอกว่าศรัทธาในตัวคนคนนั้นมาก ศรัทธาแปลว่าเชื่อโดยไม่ใช้เหตุผล เธอจึงเป็นคนไม่มีเหตุผล” (เอาความหมาย “ความเชื่อมั่น” มาปนกับ “ความเชื่อ”) 

 

– 29 –

ตรรกศาสตร์ = การศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล เป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) (นิยามจากวิกิพีเดียไทย)

affirming the consequent / converse error (เห็นปัจจัยเดียว) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่สรุปอย่างผิดพลาดจากข้อตั้ง เพราะเข้าใจผิดว่ามีเพียงข้อตั้งเท่านั้นที่อธิบายหรือนำไปสู่ข้อสรุปได้

ตัวอย่าง: “กปปส. บอกว่าต้องปฏิรูปประเทศ แกเคยพูดเรื่องเดียวกัน แสดงว่าแกเป็น กปปส.” และ “เสื้อแดงเรียกร้องประชาธิปไตย แกเรียกร้องประชาธิปไตย แสดงว่าแกเป็นเสื้อแดง” เป็นตรรกะวิบัติแบบ affirming the consequent เพราะคนที่พูดเรื่องปฏิรูปไม่จำเป็นจะต้องเป็น กปปส. และคนที่เรียกร้องประชาธิปไตยก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเสื้อแดง
ตรรกะวิบัติข้อนี้มักเกิดกับผู้ที่มองโลกแบบขาว-ดำ ใช้ตรรกะวิบัติแบบ false dilemma (ความเข้าใจผิดว่ามีเพียงสองทางเลือกที่เป็นขั้วตรงข้ามกัน – ดูตรรกะวิบัติข้อ 6. ประกอบ) มองไม่เห็นปัจจัยต่างๆ ที่สามารถนำไปสู่ข้อสรุปได้เช่นกัน มิได้มีเพียงปัจจัยเดียวที่ตนปักใจเชื่อ (“ต้องเป็น กปปส. / เสื้อแดง”)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ถ้าแกเป็นเจ้าของทีมฟุตบอลได้ แกต้องรวยจริง วันนี้แกรวยจริง แสดงว่าแกเป็นเจ้าของทีมฟุตบอล” (มีพฤติกรรมอีกจำนวนมากที่บ่งชี้ความร่ำรวย ไม่จำเป็นจะต้องมีทีมฟุตบอล)

– 30 –

ตรรกะวิบัติ = การถกเถียงที่ ใช้เหตุผลผิดพลาด ในการสรุป โดยตัวข้อสรุปนั้นเองอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ พูดอีกอย่างคือ ความเป็นเหตุเป็นผลในการอธิบายข้อสรุป เป็นคนละเรื่องกันกับระดับความจริงหรือเท็จในข้อสรุป แต่คนมักเข้าใจข้อนี้ผิด

fallacy fallacy / fallacist’s fallacy (วิบัติจากตรรกะวิบัติ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่สรุปผิดๆ ว่า ข้อสรุปเรื่องใดเรื่องหนึ่งผิดหรือไม่จริง เพียงเพราะพบตรรกะวิบัติในการอธิบายข้อสรุปนั้นๆ

ตัวอย่าง: “ประโยค“คนไม่รวยหลายคนขี้โกง นักการเมืองคนนี้รวยแล้ว ดังนั้นเขาจึงไม่โกง” เป็นตรรกะวิบัติแบบ denying the antecedent (ข้อ 13) ดังนั้นแปลว่านักการเมืองคนนี้โกงแน่ๆ” เป็นตรรกะวิบัติชนิด fallacy fallacy เพราะข้อถกเถียงที่ยกมานั้นเป็นตรรกะวิบัติก็จริง แต่การเป็นตรรกะวิบัติในตัวมันเองไม่อาจเป็นข้อพิสูจน์ว่าข้อสรุป (“นักการเมืองคนนี้ไม่โกง”) ผิด ในตัวอย่างนี้จะต้องพิจารณาจากข้อมูลหลักฐานต่างๆ ต่อไปว่านักการเมืองคนนี้โกงหรือไม่โกง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ที่แกบอกฉันว่า “ถ้าแกวิจารณ์เรื่องนี้ว่าไม่จริง แกต้องโดน 112 แน่ๆ ดังนั้นแกต้องเชื่อว่าเรื่องนี้จริง” เป็นตรรกะวิบัติ ฉะนั้นเรื่องนี้ต้องไม่จริงแน่ๆ” (ประโยคที่ยกมานั้นเป็นตรรกะวิบัติแบบ argumentum ad baculum (ดูข้อ 26) แต่ “เรื่องนี้” ที่พูดถึงอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ ไม่เกี่ยวกับตรรกะวิบัติ)

[NEW] | avoiding แปลว่า – NATAVIGUIDES

รวบรวมจากเพจ Sarinee Achavanuntakul บนเฟซบุ๊กค่ะ:

ดาวน์โหลด PDF ได้จาก Scribd

เกริ่นนำ

“ตรรกะวิบัติ” หรือ “เหตุผลวิบัติ” (fallacy) หมายถึงการถกเถียงที่ ใช้เหตุผลผิดพลาด โดยที่ตัวข้อถกเถียงนั้นเองอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. พูดว่า “โลกร้อนขึ้นเพราะน้ำมือมนุษย์” นาย ข. เถียงว่า “แต่พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกนะ”  แบบนี้ นาย ข. กำลังใช้ตรรกะวิบัติ เพราะพระอาทิตย์จะขึ้นทางทิศไหน ก็ไม่เชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลแต่อย่างใดกับประเด็นที่ นาย ก. ตั้ง ถึงแม้ว่าสิ่งที่ นาย ข. พูดจะถูกต้อง คือ พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกจริงๆ  ก็ตาม

เราทุกคนสุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของตรรกะวิบัตินานาชนิดด้วยกันทั้งนั้น ผู้เขียนซีรีส์นี้ก็ไม่เว้น ด้วยความที่เป็นปุถุชนธรรมดา บ่อยครั้งเราถกเถียงโดยไม่ตระหนักว่ากำลังใช้ตรรกะวิบัติอยู่ หรือตกเป็นเหยื่อของอารมณ์รัก/ชอบ/เกลียด/แค้นตัวบุคคล จนถกเถียงด้วยอารมณ์ไม่ใช่เหตุผล แต่ผู้เขียนเชื่อว่า ยิ่งเราศึกษาตรรกะวิบัติประเภทต่างๆ อย่างเป็นระบบ เราก็มีโอกาสที่จะมองเห็นและหลีกเลี่ยงการใช้ตรรกะวิบัติได้มากขึ้น

ตัวอย่างต่างๆ ในซีรีส์นี้ มาจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองในโลกออนไลน์ ภายหลังจากที่ขึ้นป้าย “ไม่เอารัฐประหาร” บนหน้าเพจ ในคืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ตรรกะวิบัติส่วนใหญ่จะมาจากฝ่ายกองเชียร์รัฐประหาร ซึ่งเป็นคนที่ผู้เขียนถกเถียงด้วยมากที่สุด อย่างไรก็ดี พึงระลึกว่าตรรกะวิบัติเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกฝ่าย ผู้เขียนขออภัยความไม่หลากหลายของตัวอย่างมา ณ ที่นี้

อนึ่ง ผู้สนใจสามารถหาซื้อหนังสือ “ทางสายเกรียน” รวบรวมตรรกะวิบัติแบบไทยๆ (อย่างเป็นวิชาการน้อยกว่าซีรีส์นี้มาก) ได้ตามร้านหนังสือทั่วไป หรือสั่งซื้อจากสำนักพิมพ์แซลมอน: http://minimore.com/b/trollway

ขอพลังแห่งเหตุผลจงสถิตอยู่กับทุกท่าน.

สฤณี อาชวานันทกุล

สิงหาคม 2558

– 1 –

เผด็จการ = การใช้อำนาจบริหารเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว มีอำนาจไม่จำกัด

category mistake (สับสนประเภท) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่จัดหมวดหมู่ผิดว่าของบางอย่างอยู่อีกประเภท ทั้งที่มันอยู่ประเภทเดียวกัน

ตัวอย่าง: “ถ้าเป็นเผด็จการจริง ป่านนี้คงโดนปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานยิงเป้าแล้ว” และ “ถ้าเป็นเผด็จการจริง ป่านนี้ไม่ได้มาด่าในเฟซบุ๊กหรอก” เป็นตรรกะวิบัติแบบ category mistake เพราะผู้พูดเข้าใจผิดว่า เผด็จการ = ยิงเป้าคนด้วยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และ เผด็จการ = ไม่ให้ด่าในเฟซบุ๊ก ทั้งที่นิยาม “เผด็จการ” หมายถึงการมีอำนาจเด็ดขาด มีแล้วจะใช้อำนาจนั้นอย่างไร จับใคร ลงโทษใคร เป็นเรื่องพฤติกรรมของเผด็จการแต่ละคณะ ไม่ใช่นิยาม

ตัวอย่างเทียบเคียง: “นกทุกตัวบินได้ ฉะนั้นนกกระจอกเทศจึงไม่ใช่นก” เกิดจากความเข้าใจผิดว่า “นกทุกตัวบินได้” จึงจัดประเภทของนกกระจอกเทศผิด

– 2 –

ประชาธิปไตย (ประชา+อธิปไตย) = ระบอบการปกครองที่ประชาชนปกครองตนเอง ปกติผ่านการเลือกตั้งผู้แทน

nirvana fallacy / perfect solution fallacy (เห็นแต่นิพพาน) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่บิดข้อถกเถียงไปเป็นเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบ/ในอุดมคติที่ไม่มีวันเป็นไปได้จริง เพื่อมาปฏิเสธข้อถกเถียงนั้นว่ามันไม่จริง

ตัวอย่าง: “ประชาธิปไตยในไทยไม่เคยมีเลยตลอด 80 ปีที่ผ่านมา เพราะไม่เคยมีพรรคการเมืองที่ตอบสนองประชาชน ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีแต่พวกที่เข้ามาโกงกินเพื่อตัวเองทั้งนั้น” เป็นตรรกะวิบัติแบบ nirvana fallacy เพราะบิดความหมายของ “ประชาธิปไตย” จากนิยามพื้นๆ (ระบอบที่ประชาชนปกครองตนเอง) ให้เป็นเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ (“ประชาธิปไตย=ระบอบที่ไม่มีนักการเมืองโกง”) แล้วเอาเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบเป็นไปไม่ได้นั้นมาเป็นฐานในการปฏิเสธความจริง (ประชาธิปไตยไม่เคยมีจริง)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “เข็มขัดนิรภัยในรถไม่เห็นจำเป็นเลย มีแล้วคนก็ยังเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุบนถนนอยู่ดี” เกิดจากการบิดเป้าหมายของเข็มขัดนิรภัยไปเป็นเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบและไม่มีทางเป็นไปได้ นั่นคือ “ทำให้ทุกคนไม่เจ็บไม่ตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนน” ทั้งที่เป้าหมายจริงๆ ของเข็มขัดนิรภัยคือ ช่วย ลด อัตราการบาดเจ็บและตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนต่างหาก

 

– 3 –

ประชาชน = คนที่อยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง บางทีก็ใช้ในความหมายว่า ใครก็ตามที่ไม่ใช่ข้าราชการและผู้กุมอำนาจรัฐ

ad hominem (โจมตีตัวบุคคล) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่มุ่งโจมตีตัวบุคคล แทนที่จะพิจารณาเนื้อหาข้อถกเถียงของเขา

ตัวอย่าง: โจมตี 14 นักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ว่า “เป็นนักศึกษา ทำไมไม่ไปเรียนหนังสือ” “เป็นนักศึกษาจริงเหรอเนี่ย หน้าแก่จัง” “ตอนนิรโทษกรรมไปอยู่ไหน ทำไม่ไม่ออกมา” “ตัวเองยังรับผิดชอบตัวเองไม่ได้เลย จะมารับผิดชอบอนาคตของชาติได้ยังไง” ฯลฯ โดยที่ทั้งหมดนี้ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับข้อถกเถียงหลักของกลุ่มนักศึกษา นั่นคือ เผด็จการกำลังลิดรอนสิทธิประชาชน

ad hominem ชนิดที่เลวร้ายที่สุด คือ ชนิดที่แปะป้ายแล้วด่ากราดอย่างสาดเสียเทเสีย โดยไม่สนใจจะศึกษาหาข้อเท็จจริงว่าคนผู้นั้นเป็นอย่างที่ด่าหรือไม่ กลับชักจูงให้คนอื่นเข้าใจผิดและมาผสมโรงด่าด้วย

พึงสังเกตว่า การโจมตีตัวบุคคลนั้นอาจไม่ใช่ตรรกะวิบัติ ad hominem ก็ได้ ในกรณีการโจมตีตัวบุคคลส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อถกเถียงที่ผู้ถูกโจมตียกขึ้นมาอ้าง ยกตัวอย่างเช่น คำกล่าวหาว่านักศึกษา “รับจ้างมาป่วน มีกลุ่มการเมืองหนุนหลัง” นั้น ถ้าหากรับเงินจริง ก็อาจทำให้ข้อถกเถียงหลักของกลุ่มฟังไม่ขึ้น เพราะแสดงเจตนาแอบแฝง (แต่ในความเห็นส่วนตัว “เผด็จการกำลังลิดรอนสิทธิประชาชน” เป็นข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ชัดแจ้ง ลบล้างมิได้ ต่อให้ผู้พูดบางส่วนรับเงินมาพูดก็ตาม ดังนั้นจึงน่าจะเป็น ad hominem อยู่ดี)

ตัวอย่างเทียบเคียง: พบได้ในพื้นที่แสดงความเห็นทุกแห่งและแทบทุกกระทู้ในโลกออนไลน์ไทย นับกันไม่หวาดไม่ไหวเลยทีเดียว

– 4 –

คอร์รัปชั่น = การทุจริตหรือคดโกงในตำแหน่ง ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมอย่างเช่นการออกนโยบายหรือกฎหมายเอื้อตนเอง (“คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย”) อีกความหมายหนึ่งของคำคำนี้ในภาษาอังกฤษ (corruption) คือ การบั่นทอนหรือบิดเบือนสาระของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปในทางที่เสื่อมทรามลง

non sequitur (ข้อสรุปไม่โยง, แปลว่า “it does not follow” ในภาษาละติน) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่สรุปข้อถกเถียงอะไรสักอย่างจากข้อตั้ง (premise) แต่ข้อสรุปไม่เชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผลกับข้อตั้ง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้เหตุผลผิดๆ ใช้ตรรกะวิบัติข้ออื่น หรือไม่ใช้เหตุผลเลย

ตัวอย่าง: “แกไม่เอารัฐประหาร แปลว่าแกอยากให้พวกนักการเมืองโกงชาติกลับมา” เป็นตรรกะวิบัติแบบ non sequitur เพราะข้อสรุป (อยากให้นักการเมืองโกงกลับมา) ไม่อาจสรุปจากข้อตั้ง (ไม่เอารัฐประหาร) ได้ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน (ที่จริง non sequitur ในกรณีนี้อาจเกิดจากการใช้ตรรกะวิบัติอีกข้อ คือ false dilemma – ความเข้าใจผิดว่ามีเพียงสองทางเลือกเท่านั้น ดูตรรกะวิบัติข้อ 6. ประกอบ)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “คนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลินฮุ่ยเลี้ยงลูกด้วยนม ฉะนั้นหลินฮุ่ยเป็นคน”

– 5 –

อารยะขัดขืน = การทำในสิ่งที่ตนรู้อยู่แล้วว่าขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งของผู้มีอำนาจ แต่กระทำอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ และประกาศล่วงหน้า เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะต่อต้านผู้มีอำนาจอย่างสันติวิธี

straw man (หุ่นฟาง) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่บิดเบือนข้อถกเถียงคนอื่นเพื่อนำมาโจมตีง่ายๆ ทำให้ดูประหนึ่งว่าตนเองมีเหตุมีผลมากกว่า ปัดตกข้อถกเถียงได้ราบคาบ ทั้งที่สิ่งที่ตนโจมตีไม่ใช่ข้อถกเถียงของคนอื่นแม้แต่น้อย เป็นเพียง ‘หุ่นฟาง’ ที่ตนตั้งขึ้นมายิงเองเท่านั้น

ตัวอย่าง: “หากประชาธิปไตยคือความเท่าเทียม นักศึกษาเมื่อทำแล้ว จะผิดจะถูกก็ต้องว่ากันไป ปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข มันเท่าเทียมกับคนอื่นตรงไหน? หรือกิจกรรมทางการเมืองได้รับการยกย่องเหนือการกระทำในกรณีอื่น?” เป็นตรรกะวิบัติแบบหุ่นฟาง เพราะคนพูดพูดเสมือนหนึ่งว่าผู้ที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาอย่างไม่มีเงื่อนไขกำลังเรียกร้องอภิสิทธิ์บางอย่าง กำลังไม่เคารพกติกา ทั้งที่ข้อถกเถียงจริงๆ ของผู้เรียกร้องคือ นักศึกษาไม่ได้ทำอะไรผิด คสช. จับกุมด้วยคำสั่งเผด็จการที่ไม่ชอบธรรม ถ้าเป็นกติกามันก็เป็นกติกาที่เผด็จการเขียนเอง ไม่ควรมีใครยอมรับตั้งแต่แรก

ตัวอย่างเทียบเคียง: “นักศึกษาไม่ได้ถูกจับเพราะเห็นต่าง ถูกจับเพราะขัดคำสั่งรัฐบาล อย่าหลงประเด็น” เป็นการตั้งหุ่นฟางเช่นกัน เพราะ “ประเด็น” ของผู้ที่คัดค้านการจับนักศึกษาคือ คำสั่งรัฐบาลนั้นไม่ชอบธรรม ไม่ใช่ว่าผู้คัดค้านไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่านักศึกษาขัดคำสั่งของรัฐ

– 6 –

การประท้วง = การแสดงออกด้วยการกระทำอะไรสักอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่าคัดค้านหรือไม่เห็นด้วย มีหลากหลายวิธี เช่น การอดข้าวประท้วง การชุมนุมประท้วง ส่วนใหญ่เป็นการแสดงออกทางสังคมและการเมือง การประท้วงที่ใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดความวุ่นวายจะกลายเป็นการจลาจล

false dilemma (มองโลกขาว-ดำ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่บิดเบือนลดรูปทางเลือกต่างๆ ให้ดูราวกับว่าสถานการณ์นั้นๆ มีเพียงสองทางเลือกเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงมีทางเลือกอื่นๆ อีกอย่างน้อยหนึ่งทาง หรือมี ‘เฉดสีเทา’ มากมายนอกเหนือจากทางเลือกแบบ “ไม่ขาวก็ดำ” ที่ผู้ใช้ตรรกะวิบัติอ้าง

ตัวอย่าง: “จะเอาเผด็จการดีๆ หรือจะเอาประชาธิปไตยเลวๆ” เป็นตรรกะวิบัติแบบ false dilemma เพราะมองว่าทางเลือกมีแต่ “เผด็จการดี” กับ “ประชาธิปไตยเลว” เท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริง ‘คุณภาพ’ ของระบอบการปกครองแตกต่างกันได้มากมาย ทำให้ไม่ได้มีเพียงสองตัวเลือก แต่มีตั้งแต่ ประชาธิปไตยกึ่งดีกึ่งเลว เผด็จการคุ้มดีคุ้มร้าย ประชาธิปไตยซ่อนรูปเผด็จการ เผด็จการเลวสุดขีด ฯลฯ

พึงสังเกตว่า บ่อยครั้งผู้ใช้ตรรกะวิบัติชนิดนี้นอกจากจะ “ตีกรอบ” ทางเลือกให้ดูว่าเหลือเพียงสองทางแล้ว ยังจะตีกรอบในทางที่ทางเลือกหนึ่งอยู่ในรูปที่ดูแย่ที่สุด (เช่น “ประชาธิปไตยเลว”) อีกทางเลือกอยู่ในรูปที่ดูดีที่สุด (“เผด็จการดี”) เพื่อโน้มน้าวให้คนเลือกทางที่ตัวเองอยากเลือก

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ถ้าไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก็ต้องทนไม่มีไฟฟ้าใช้” เป็น false dilemma เพราะทางเลือกของการจัดการพลังงานมีมากมายนอกเหนือจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

– 7 –

กฎอัยการศึก = กฎหมายสำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น  กรณีเกิดสงคราม หรือเหตุจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการระงับปราบปรามและการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างแทนศาลพลเรือน

post hoc ergo propter hoc (เห็นลำดับเป็นสาเหตุ มักย่อสั้นๆ ว่า “post hoc”) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อาศัยเพียง ลำดับ การเกิดเหตุเท่านั้นในการสรุปความเป็น สาเหตุ (causality) กล่าวคือ บอกว่า ในเมื่อเหตุการณ์ ข. เกิดหลังเหตุการณ์ ก. แปลว่า เหตุการณ์ ข. จะต้อง เกิดจาก เหตุการณ์ ก. แน่ๆ ทั้งที่ในความเป็นจริง สองเหตุการณ์มิได้สัมพันธ์กันเช่นนั้น

ตัวอย่าง: “ม๊อบสองฝ่ายจะฆ่ากัน จะเกิดสงครามกลางเมือง จึงเกิดรัฐประหาร” และ “เกิดรัฐประหารเพราะมีนักการเมืองโกง” เป็นตรรกะวิบัติแบบ post hoc เพราะผู้พูดสรุปราวกับว่าการทำรัฐประหารเป็นผลลัพธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการชุมนุมที่เกิดความรุนแรง หรือการที่มีนักการเมืองโกง ทั้งที่ลำพังการประกาศกฎอัยการศึก (ซึ่งคณะทหารก็ประกาศก่อนรัฐประหารไม่กี่วัน) ก็เพียงพอแล้วที่จะจับกุมผู้ใช้อาวุธในที่ชุมนุมทุกฝ่าย ส่วนกรณีนักการเมืองโกงนั้นก็จัดการในระบบได้ด้วยการเรียกร้องให้หน่วยงานปราบปรามคอร์รัปชั่นทำงานอย่างแข็งขันและเป็นธรรมมากขึ้น ประชาชนเข้าชื่อกันเสนอแก้กฎหมายปราบปรามคอร์รัปชั่น เสนอกฎหมายเพิ่มความโปร่งใสของรัฐ ฯลฯ

ปกติแล้ว การพูดถึง การกระทำ ของคนบางคนราวกับว่ามันเป็น “ปรากฎการณ์ธรรมชาติ” ซึ่งจำเป็นจะต้องเกิด เป็นเบาะแสอย่างหนึ่งให้เรามองเห็น post hoc

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ไก่ขันก่อนพระอาทิตย์ขึ้นแป๊บเดียว แสดงว่าไก่ทำให้พระอาทิตย์ขึ้น”

 

– 8 –

กปปส. = “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง มีเป้าหมายขจัด “ระบอบทักษิณ” และจัดตั้งสภาประชาชนที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง แกนนำประกาศยุติการเคลื่อนไหวทันที หลัง คสช. ยึดอำนาจในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

argument to moderation / false compromise (กลางปลอม) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อาจมองว่าเป็นมุมกลับของ false dilemma กล่าวคือ ผู้ใช้ตรรกะวิบัติเชื่อว่า “ความจริง” หรือ “สิ่งที่ถูกต้อง” คือจุดที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้วตรงข้าม และเมื่อเป็นจุดกึ่งกลางแล้วย่อมถูกต้องเสมอ ทั้งที่จุดกึ่งกลางไม่ใช่สิ่งที่ถูก หรือไม่มีอยู่จริงในกรณีนั้นๆ

ตัวอย่าง: “คนส่วนหนึ่งเชียร์ กปปส. อีกส่วนเชียร์เสื้อแดง ดังนั้นเราต้องเป็นกลางคืออยู่เฉยๆ ไม่พูดอะไร” และ “นักวิทยาศาสตร์ 97% บอกหลักฐานชัดว่าโลกร้อนขึ้นเพราะน้ำมือมนุษย์ อีก 3% บอกว่าไม่ใช่ ฉะนั้นเราต้องทำข่าวอย่างเป็นกลาง ด้วยการสัมภาษณ์สองคนจากกลุ่มแรก สองคนจากกลุ่มหลัง เท่าๆ กัน” เป็นตรรกะวิบัติแบบ false compromise เพราะกรณีแรกการ “ไม่พูดอะไร” ไม่ได้แปลว่า “เป็นกลาง” เพราะผู้พูดถ้าไตร่ตรองรายประเด็นแล้ว อาจเห็นด้วยกับ กปปส. เรื่องหนึ่ง เห็นด้วยกับเสื้อแดงเรื่องอื่นก็ย่อมได้ ส่วนกรณีหลังเป็นการพยายามเป็นกลางอย่างผิดๆ ด้วยการให้น้ำหนักเท่ากันระหว่าง “ข้อมูลที่มีแนวโน้มสูงมากว่าถูก” กับ “ข้อมูลที่มีแนวโน้มสูงมากว่าผิด”

พึงสังเกตว่าสื่อไทยและคนไทยจำนวนไม่น้อยมักตกเป็นเหยื่อของตรรกะวิบัติข้อนี้ เวลาพยายามอ้างว่าตน “เป็นกลาง”

ตัวอย่างเทียบเคียง: “เธออยากซื้อลูกหมามาเลี้ยง ฉันไม่อยากซื้อ ฉะนั้นเราไปซื้อลูกหมาครึ่งตัวก็แล้วกัน”

– 9 –

คณะราษฎร = กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy ชื่อในสมัยนั้น ปัจจุบันเราเรียกระบอบแบบนี้ว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”) อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไทย

fallacy of the single cause / causal oversimplification / reduction fallacy (เห็นสาเหตุเดียว) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อ้างว่าเหตุการณ์หรือปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนเกิดจาก “สาเหตุ” หนึ่งข้อเท่านั้น ทั้งที่มันอาจไม่ใช่สาเหตุ หรือเป็นเหตุปัจจัยเพียงข้อเดียวในบรรดาเหตุปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อเหตุการณ์หรือสภาพปัญหานั้นๆ

ตัวอย่าง: “คณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม วันนี้ประชาธิปไตยไทยถึงได้แย่” และ “คณะราษฎรสั่งปิดโรงเรียน ม.ปลาย ทั่วประเทศเป็นสิบปี การศึกษาไทยจึงพังยาวตั้งแต่นั้น” เป็นตรรกะวิบัติชนิด fallacy of the single cause เนื่องจากกล่าวอ้างราวกับว่า การกระทำของคณะราษฎร เมื่อ 80 ปีที่แล้ว เป็นสาเหตุหนึ่งเดียวที่ทำให้ “ประชาธิปไตยไทยแย่” และ “การศึกษาไทยพัง” ในปัจจุบัน ทั้งที่มีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่น่าจะมีส่วนสร้างและตอกตรึงปัญหามากกว่า เช่น รัฐประหารซ้ำซ้อน และวัฒนธรรมอำนาจนิยม

(ข้อตั้งหรือ premise ที่ยกมาอ้างว่าเป็นสาเหตุนั้นอาจไม่ใช่ข้อเท็จจริงก็ได้ เช่น การอ้างว่าคณะราษฎร ‘ชิงสุกก่อนห่าม’ ในตัวอย่างข้างต้น แต่การพิสูจน์มูลความจริง (truth content) ของข้อตั้งเป็นเรื่องที่จะต้องหาข้อพิสูจน์กันต่างหาก ไม่ใช่เรื่องของตรรกะวิบัติ)

ตรรกะวิบัติข้อนี้มักถูกใช้เพื่อดิสเครดิตคนหรือกลุ่มคน ว่าเป็นต้นตอของปัญหาทั้งมวล

ตัวอย่างเทียบเคียง: “พ่อเคยตีเขาแรงๆ ครั้งหนึ่งตอนอายุ 5 ขวบ สี่สิบปีต่อมาเขาเลยกลายเป็นผู้ร้ายฆ่าคน”

– 10 –

รัฐประหาร = การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล พิจารณาว่าสำเร็จแล้วเมื่อคณะผู้ก่อการสามารถยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จ แตกต่างจาก “ปฏิวัติ” (Revolution) ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองทั้งหมด ที่ผ่านมาไทยมีการปฏิวัติเพียงครั้งเดียว คือ การอภิวัฒน์สยาม พ.ศ. 2475

Two wrongs make a right (ผิดซ้ำเท่ากับถูก / ไอ้นั่นก็ทำ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ยกการกระทำแย่ๆ ของคนอื่นขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำแย่ๆ ของตัวเอง ราวกับว่าความแย่ของคนอื่นจะสามารถเล่นแร่แปรธาตุ เปลี่ยนความแย่ของตัวเองให้กลับกลายเป็นดีขึ้นมาได้ อาจจัดเป็นชนิดย่อยของ non sequitur (ข้อสรุปไม่โยง, ดูข้อ 4.) เนื่องจากข้อสรุปไม่เชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผลกับข้อตั้ง (premise)

ตัวอย่าง: “โครงการจำนำข้าวของรัฐบาลประชาธิปไตยเสียหายหลายแสนล้าน รัฐบาลจากรัฐประหารซื้อเรือดำน้ำไม่กี่หมื่นล้าน ดีกว่ากันเยอะ” และ “คนผิวดำในอเมริกาเพิ่งได้สิทธิเลือกตั้งไม่ถึงหกสิบปีนี้เอง จะอยากเลือกตั้งอะไรกันนักหนา” เป็นตรรกะวิบัติแบบ two wrongs make a right เพราะเป็นการยกตัวอย่างที่เห็นชัดว่า “แย่” จากอดีต มาสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของเผด็จการทหาร (อนุมัติซื้อเรือดำน้ำ / ยังไม่กำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน) แทนที่จะอธิบายเหตุผลว่า การซื้อเรือดำน้ำหรือการที่ยังไม่คืนสิทธิเลือกตั้งในปัจจุบันนั้น “ดี” หรือ “ถูกต้อง” อย่างไรในตัวของมันเอง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ตำรวจมาจับผมทำไม ทำไมไม่ไปจับคันแดงข้างหน้าโน่น มันก็ฝ่าไฟแดงเหมือนกัน”

– 11 –

การรับจำนำข้าว = วิธีการแทรกแซงกลไกตลาดวิธีหนึ่ง กลไกปกติคือ ถ้าข้าวในตลาดมีมากเกินไป รัฐก็จะเปิดรับจำนำข้าวจากชาวนาในราคาและในปริมาณที่กำหนด ชาวนาจะได้รับเงินจากรัฐไปจำนวนหนึ่งเพื่อใช้หมุนเวียน เมื่อรัฐรับจำนำข้าว ปริมาณข้าวที่อยู่ในตลาดมีน้อยลง ราคาข้าวจะสูงขึ้นตามกลไกตลาด เมื่อราคาเพิ่มถึงระดับที่น่าพอใจ เกษตรกรก็จะมาไถ่ถอนข้าวนั้นไปขาย แต่ลักษณะโครงการรับจำนำข้าวสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นการรับจำนำข้าวทุกเม็ด และกำหนดราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดถึงร้อยละ 50 ส่งผลให้เกษตรกรนำข้าวมาจำนำกับรัฐทั้งหมด และไม่มาไถ่ถอน กลายเป็นโครงการ “รับซื้อข้าวทุกเม็ด” และรัฐกลายเป็น “ผู้ขายแต่เพียงผู้เดียว”

slippery slope (วาดภาพนรก) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่วาดภาพเหตุการณ์แย่ๆ ในอนาคตติดกันเป็นชุด ราวกับเป็นข้อพิสูจน์ว่าข้อเสนอหรือข้อตั้งเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ โดยไม่ได้อธิบายเชื่อมโยงให้เห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผลว่า เหตุการณ์เหล่านั้นมีแนวโน้มจะเกิดจากข้อเสนอหรือข้อตั้งเพียงใด และอย่างไร

ตัวอย่าง: “ถ้าทหารไม่ออกมายึดอำนาจ ป่านนี้เราต้องขาดทุนจำนำข้าวเป็นล้านล้าน การคลังเจ๊งสนิท นักการเมืองชั่วเอาสมบัติชาติไปขาย คนไทยต้องเช่าแผ่นดินอยู่แล้ว” เป็น slippery slope เพราะผู้พูดมิได้อธิบายว่า เหตุใดเหตุการณ์ทั้งหมดนับจาก “ขาดทุนจำนำข้าวเป็นล้านล้าน” จนถึง “คนไทยต้องเช่าแผ่นดินอยู่” จึงน่าจะเกิดขึ้น “ถ้าทหารไม่ออกมายึดอำนาจ”

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ถ้าเราออกกฎหมายให้กัญชาถูกกฎหมาย ไม่นานกัญชาก็จะเกลื่อนเมือง คนจะติดกัญชาจนไม่ทำมาหากิน ประเทศไทยล่มจมเพราะกฎหมายบ้าๆ ฉบับเดียว”

– 12 –

ประชามติ = กระบวนการให้ประชาชนลงคะแนนออกเสียงเพื่อตัดสินใจว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในเรื่องที่มีความสำคัญระดับชาติหรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ก่อนที่จะนำมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบไปตรากฎหมายหรือนำไปปฏิบัติเพื่อบังคับใช้เป็นการทั่วไป แตกต่างจาก “ประชาพิจารณ์” ซึ่งเป็นเพียงกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของรัฐ

false analogy / false comparison (ผิดฝาผิดตัว) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ยกกรณีอื่น (ข.) มาเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อถกเถียงของตัวเอง (ก.) แต่เลือกมาอย่างไม่ถูกต้องเพราะตั้งสมมุติฐานผิดๆ ว่า ก. เหมือนกับ ข. ทุกประการ ลักษณะใดๆ ของ ข. ย่อมเป็นลักษณะของ ก. ด้วย ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่ใช่เช่นนั้น

ตัวอย่าง: “ในศตวรรษที่ 5 ชนเผ่าโกล (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศฝรั่งเศส) เหลืออดกับประชาธิปไตย เรียกร้องให้นำระบอบกษัตริย์กลับมา วันนี้คนไทยหลายคนก็เหลืออดเหมือนกัน” และ “เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เราอยากไปหาหมอที่เก่งที่สุดใช่ไหม แล้วทำไมเราถึงโอเคกับการให้ใครก็ได้ที่มีบัตรประชาชนและอายุ 18 ปี ไม่รู้ว่ารู้เรื่องหรือเปล่า สามารถเลือกคนที่จะเข้าไปบริหารประเทศ” เป็น false analogy ทั้งคู่ กรณีแรกยกความคิดของคนฝรั่งเศสเมื่อ 1,500 ปีที่แล้ว มาเทียบกับความคิดของคนไทยบางคนในวันนี้ แทนที่จะเทียบปัจจุบันกับปัจจุบัน นั่นคือ ยกความคิดของคนฝรั่งเศสส่วนใหญ่ในวันนี้ว่าคิดอย่างไร ส่วนกรณีหลังเอาเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน (สิทธิในการเลือกผู้แทน) มาเทียบกับประสิทธิผลของการรักษาพยาบาล (เทียบ “โอกาส” กับ “ผลลัพธ์” ทั้งที่เป็นคนละเรื่อง นำมาเทียบกันไม่ได้)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “รัฐบาลก็เหมือนกับธุรกิจ ธุรกิจต้องทำกำไรสูงสุด รัฐบาลก็ต้องทำกำไรสูงสุดเหมือนกัน” (ที่จริงรัฐบาลกับธุรกิจมีเป้าหมายคนละอย่าง)

– 13 –

นักการเมือง = ชื่อเรียกคนที่ ‘เล่นการเมือง’ เป็นอาชีพ โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งจากการเลือกตั้ง นักการเมืองในประเทศที่ระบอบประชาธิปไตยลุ่มๆ ดอนๆ อย่างไทยมักถูกมองว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งมวล หากแต่ในความเป็นจริง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจากการแต่งตั้ง และผู้ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ อีกจำนวนมากก็ ‘เล่นการเมือง’ เช่นกัน เพราะต้องอาศัยคะแนนนิยมสำหรับการทำงาน สร้างฐานเสียงสำหรับการผลักดันวาระของตน

denying the antecedent / inverse error (“ตรงข้ามแปลว่าจริง)” ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อนุมานเองว่าประโยคบอกเล่าเป็นความจริง ฉะนั้นประโยคที่อยู่ตรงกันข้ามจะต้องเป็นความจริงเช่นกัน ทั้งที่ความเป็น “ขั้วตรงข้าม” ในกรณีนี้ไม่ใช่เหตุผลที่เพียงพอต่อการสรุปว่าประโยคตรงข้ามเป็นความจริง

ตัวอย่าง: “นักการเมืองหลายคนขี้โกง คสช. ไม่ใช่นักการเมือง ดังนั้นเขาจึงไม่โกง” และ “คนไม่รวยหลายคนขี้โกง นักการเมืองคนนี้รวยแล้ว ดังนั้นเขาจึงไม่โกง” เป็นตรรกะวิบัติแบบ denying the antecedent เพราะลำพังการอ้างว่า “นักการเมืองหลายคนขี้โกง” และ “คนไม่รวยหลายคนขี้โกง” ไม่ใช่เหตุผลที่ดีพอสำหรับการเสนอว่า “คนคนนี้” (ไม่ว่าจะเป็น คสช. หรือคนรวยที่เข้ามาเล่นการเมือง) ไม่โกง เพราะก็เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางมานานว่า การโกงเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและกับทุกคน ไม่เกี่ยงว่าใครจะรวยหรือไม่รวย เล่นการเมืองเป็นอาชีพหรือไม่เล่น การใช้ตรรกะวิบัติแบบนี้ทำให้เรานิ่งนอนใจและไว้ใจคนโดยใช่เหตุ แทนที่จะยังไม่ฟันธงลงไป ตามติดตรวจสอบเพื่อดูว่าเขาโกงหรือไม่โกง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ถ้ามันเห่า มันต้องเป็นหมา ตัวนี้ไม่เห่า แปลว่ามันไม่ใช่หมา” (ทั้งที่ตัวนี้อาจเป็นหมา แต่มีเหตุผลที่มันไม่เห่า เช่น ไม่สบาย หรือเป็นใบ้)

– 14 –

นิติรัฐ = การปกครองโดยกฎหมาย มิใช่การปกครองโดยอำเภอใจของผู้ปกครอง ประเทศที่เป็นนิติรัฐต้องมีหลักการพื้นฐานที่มุ่งจำกัดอำนาจของผู้ปกครอง กฎหมายต่างๆ ต้องบัญญัติในทางที่รับรองสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ต่อมาขยายความหมายไปถึงหลักที่ว่า กฎหมายต้องออกอย่างเป็นธรรม เคารพหลักความเสมอภาค ห้ามมีผลย้อนหลังเอาโทษกับบุคคล เคารพหลักการแบ่งแยกอำนาจ ความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ฯลฯ พึงสังเกตว่าบางประเทศอาจมีกฎหมายแต่ไร้ซึ่งนิติรัฐก็ได้ เพราะกฎหมายออกโดยอำนาจเผด็จการที่ไม่รับรองสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน

begging the question / circular reasoning (วนเป็นวงกลม) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ให้เหตุผลอธิบายว่าข้อสรุปเป็นจริง โดยที่ตัวเหตุผลนั้นเองตั้ง “ธง” อยู่ก่อนแล้วว่าข้อสรุปเป็นจริง จึงเท่ากับว่ามันไม่ได้อธิบายอะไรเลย

ตัวอย่าง: “ถ้าผู้ประท้วงไม่ทำอะไรผิดกฎหมาย กฎหมายก็ไม่ห้ามทำหรอก” และ “เขาเป็นคนดี มั่นใจอย่างไรเหรอ? ก็เพราะเขาเป็นคนดีไง” เป็นการให้เหตุผลเป็นวงกลมหรือ begging the question เพราะในกรณีแรกผู้พูดเพียงแต่ยกนิยามของกฎหมายมาเป็นเหตุผลว่าผู้ประท้วงทำผิด (แน่นอนว่าการทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม โดยนิยามคือการกระทำที่ผิดกฎหมาย) ทั้งที่กฎหมายนั้นอาจไม่ชอบธรรมก็เป็นได้ ส่วนกรณีหลังเป็นการยืนยันข้อสรุป “เขาเป็นคนดี” ด้วยการยก “เขาเป็นคนดี” ขึ้นมาเป็นหลักฐานยืนยันตัวมันเอง ทั้งที่จริงต้องยกข้อถกเถียงอื่นขึ้นมาเป็นเหตุผล

ตัวอย่างเทียบเคียง: “พระเจ้ามีจริง เพราะคัมภีร์ไบเบิลบอกว่ามีจริง และเราก็ควรเชื่อคัมภีร์ไบเบิล เพราะพระเจ้าเป็นผู้เขียน”

– 15 –

ซื้อเสียง = การแจกเงินหรือผลประโยชน์โดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ไปกาบัตรเลือกตั้งให้กับตน การกระทำดังกล่าวถูกมองว่าเป็นปัญหา เนื่องจากบิดเบือนแรงจูงใจของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้มองเพียงผลตอบแทนเฉพาะหน้าแทนที่จะพิจารณาจากคุณสมบัติหรือนโยบายของผู้สมัคร และผู้สมัครที่ซื้อเสียงอาจจะอยาก ‘ถอนทุน’ ด้วยการคอร์รัปชั่น ด้วยเหตุนี้การซื้อเสียงจึงผิดกฎหมายเลือกตั้งทุกประเทศ

anecdotal fallacy / mistaken vividness (ตู่จากความจำ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ตีความผิดๆ ว่า ประสบการณ์เฉพาะตัว (ของตัวเองหรือคนอื่น) คือข้อเท็จจริงในภาพใหญ่ด้วย

ตัวอย่าง “หัวคะแนนแถวบ้านฉันเดินแจกเงินตอนเลือกตั้ง พรรคนี้มันชนะได้เป็นรัฐบาลก็เพราะซื้อเสียงมา ถ้าไม่แก้ปัญหานี้อย่าคิดเลยว่าจะมีประชาธิปไตยที่ดี” เป็นตรรกะวิบัติชนิด anecdotal fallacy เพราะผู้พูดตีความประสบการณ์ส่วนตัว (เห็นหัวคะแนนแจกเงิน) ราวกับว่าเป็นข้อเท็จจริง (ซื้อเสียงทั้งประเทศ) ที่สนับสนุนบทสรุป (พรรคชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลก็เพราะซื้อเสียง) ทั้งที่งานวิจัยหลายชิ้นได้ข้อสรุปตรงกันว่า “การซื้อสิทธิขายเสียงไม่ได้เป็นตัวชี้ขาดในการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่ใช้จ่ายเงินมากที่สุดไม่ได้เป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งอีกต่อไป สอดคล้องกับทัศนคติของประชากรกลุ่มตัวอย่าง … เกินกว่าร้อยละ 80 ต่างไม่ให้ความสำคัญกับการซื้อสิทธิขายเสียงในการตัดสินใจเลือกตั้ง [โดย]มีความเห็นว่า “ไม่จำเป็นต้องเลือก” ผู้ให้ผลประโยชน์” (ข้อความอ้างอิงจากรายงานวิจัยเรื่อง “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554” โดย รศ. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลดได้จาก http://www.tdw.polsci.chula.ac.th/?q=Elected_members_of_parliament)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ฉันยังขายของได้นี่นา แปลว่าเศรษฐกิจยังโตอยู่แน่ๆ”

 

– 16 –

อำนาจนิยม (authoritarianism) = รูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ มักตรงข้ามกับเสรีนิยม อำนาจทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็กที่ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของตนและพวกพ้อง โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์ ควบคุมหรือแทรกแซงสื่อมวลชน และจำกัดการตรวจสอบ อำนาจนิยมที่ได้รับการกล่าวถึงในยุคปัจจุบันมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianism) ซึ่งมีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง อาศัยกระบวนการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือ ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยอ้างว่าได้เสียงสนับสนุนข้างมาก ลักษณะนี้ทำให้เกิดข้อเสนอว่า การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่ไม่ “เพียงพอ” ต่อการส่งเสริมระบอบเสรีประชาธิปไตย (liberal democracy)

appeal to majority / appeal to popularity (ข้างมากคือถูกต้อง) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อ้าง “เสียงข้างมาก” มาเป็นหลักฐานว่าสิ่งที่พูดเป็นความจริง ในกรณีที่เสียงข้างมากบอกไม่ได้ว่าจริงหรือไม่ บอกได้แต่เพียงว่ามีคนนิยมหรือเชื่อจำนวนมาก

ตัวอย่าง: “นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เธอจะโกง” และ “โพลบอกว่าประชาชนส่วนใหญ่ชอบนโยบายนี้ ดังนั้นมันจึงเป็นนโยบายที่ดี” เป็นตรรกะวิบัติแบบ appeal to majority เพราะผู้พูดอ้างเสียงข้างมาก (ชนะเลือกตั้ง / คนส่วนใหญ่ชอบ) มาเป็นเหตุผลที่นายกฯ จะไม่โกง และนโยบายเป็นนโยบายที่ดี ทั้งที่การโกงไม่เกี่ยวอะไรกับผลการเลือกตั้ง และการประเมินนโยบายสาธารณะว่า “ดี” หรือไม่ดีนั้นก็ต้องดูหลายมิตินอกเหนือจากความนิยม เช่น ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ โอกาสในการเกิดการรั่วไหลหรือคอร์รัปชั่น ความคุ้มค่าโดยเปรียบเทียบ (cost-benefits) เมื่อเทียบกับทางเลือกอื่นๆ

ตัวอย่างเปรียบเทียบ: “โพลบอกคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าโลกร้อน ดังนั้นโลกร้อนจึงเป็นเรื่องโกหกพกลมทั้งเพ”

– 17 –

ค่าแรงขั้นต่ำ = ค่าตอบแทนระดับต่ำสุดที่นายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นรายชั่วโมง รายวันหรือรายเดือน ตามที่กฎหมายกำหนด

quoting out of context / quote mining (ไม่ดูบริบท) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ตัดตอนคำพูดของคนอื่นมาอ้างโดยไม่รักษาสาระสำคัญเอาไว้ ส่งผลให้คนฟังเข้าใจผู้พูดดั้งเดิมผิดเพี้ยนไป (ปกติในทางลบ) เพราะมองไม่เห็นบริบทของคำพูด

ตัวอย่าง: ปาฐกถาของ นพ. ประเวศ วะสี ในงานประชุมประจำปี พ.ศ. 2554 ของสภาพัฒน์ฯ ถูกคนนำไปอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่า นพ. ประเวศ พูดว่า “ค่าแรงวันละ 150 บาทก็อยู่ได้” ซึ่งอาจมองได้ว่าไม่เข้าใจหัวอกของผู้ใช้แรงงาน การตัดตอนแบบนี้เป็นตรรกะวิบัติแบบ quote mining เพราะบริบทเต็มๆ ของข้อความนี้คือ “ถ้าค่าแรงอยู่ที่วันละ 150 บาท แต่มีแนวทางเชื่อมโยงให้ผู้ใช้แรงงานมีที่อยู่อาศัย มีอาหารการกิน เป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จะสามารถอยู่ได้” (จากข่าว นสพ. ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/content/eco/184725) ต่อมาอธิบายเพิ่มเติมว่า “ต้องเชื่อมโยงธุรกิจมหภาคเข้ากับเศรษฐกิจชุมชนให้เกื้อกูลกัน ถ้าผู้ใช้แรงงานสามารถอยู่ในชุมชน มีที่อยู่ มีอาหาร ทำการเกษตรไปด้วย และทำโรงงานไปด้วย จัดสวัสดิการ มีรถรับส่งก็จะไม่เป็นอุปสรรค ธุรกิจก็ได้ คนงานก็ได้ เชื่อมโยงชุมชนกับเศรษฐกิจมหภาคเข้าด้วยกัน ถ้าทำได้ ค่าแรง 150-200 บาทก็เป็นเงินเหลือ” (จากข่าว นสพ. มติชน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310546913)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “เหยียบให้มิดเลยพี่ ไฟแดงช่างมัน” ฟังเท่านี้จะคิดว่าผู้พูดเป็นคนไม่เคารพกฎจราจร ชอบซิ่งหรือชอบความเร็ว แต่ถ้าฟังประโยคเต็มๆ คือ “เมียฉันเจ็บท้องใกล้คลอดเต็มทีแล้ว เหยียบให้มิดเลยพี่ ไฟแดงช่างมัน ถ้าไปไม่ถึงโรงพยาบาลภายในสิบห้านาทีต้องแย่แน่ๆ เดือนก่อนก็เลือดออกทีนึงแล้ว” ก็จะเข้าใจว่าผู้พูดต้องการจะสื่ออะไร (เข้าใจแล้วจะเห็นด้วยหรือไม่ก็อีกเรื่อง)

– 18 –

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.; ชื่อเดิม นปก.) = กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 เพื่อต่อต้านรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ยุติการชุมนุมเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้กลับมารวมตัวกันอีกเพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนเกิดเหตุการณ์ปะทะกัน โดยมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ในปี พ.ศ. 2553 นปช.จัดชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม จนกระทั่งถูกสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม หลังจากนั้นยังคงมีการชุมนุมอยู่เป็นระยะจนเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2557

guilt by association (ไม่ชอบจึงไม่ใช้เหตุผล) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ปฏิเสธข้อถกเถียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงเพราะคนที่เราไม่ชอบสนับสนุนข้อถกเถียงนั้นๆ แทนที่จะวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลของข้อถกเถียงก่อนตัดสินใจ

ตัวอย่าง: “ฉันไม่มีวันเห็นดีเห็นงามกับการปฏิรูประบบยุติธรรม เพราะแกนนำ นปช. หลายคนชอบพูดเรื่องนี้ เกลียดพวกมันมาก” และ “เห็น กปปส. ออกมาค้านเขื่อนแม่วงก์ ถ้างั้นฉันจะไปสนับสนุนให้รัฐบาลสร้างเขื่อนเร็วๆ เลย หมั่นไส้พวกนกหวีด” เป็นตรรกะวิบัติแบบ guilt by association ทั้งคู่ เพราะปฏิเสธข้อถกเถียง (“ควรปฏิรูประบบยุติธรรม” และ “ไม่ควรสร้างเขื่อนแม่วงก์”) เพียงเพราะผู้พูดไม่ชอบ นปช. ในกรณีแรก และ กปปส. ในกรณีหลัง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “พรุ่งนี้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ แล้ว ฉันไม่มีทางกาเบอร์ 1 เด็ดขาด เพราะเพื่อนบ้านที่ฉันไม่ชอบจะไปเลือกมัน ฉันรู้ว่าเพื่อนบ้านนิสัยไม่ดี คนที่มันเลือกก็ต้องนิสัยไม่ดีเหมือนมันแน่ๆ”

– 19 –

กูรู = ผู้เชี่ยวชาญช่ำชองในสาขาใดสาขาหนึ่งจนเป็นที่ยอมรับในวงการนั้นๆ แต่ปัจจุบันคนจำนวนไม่น้อยโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัวเองว่าเป็น “กูรู”

appeal to authority (อ้างกูรูโดยไม่คิด) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่อ้างว่า ในเมื่อผู้เชี่ยวชาญเป็นคนพูด สิ่งที่เขาพูดย่อมเป็นความจริง โดยไม่ไตร่ตรองในเนื้อหาของผู้พูด และไม่พิจารณาว่าเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ จริงหรือไม่

ตัวอย่าง: “อาจารย์ของฉันเองบอกว่าโลกร้อนไม่มีจริง ฉันต้องเชื่ออาจารย์สิ” และ “หมอโรคหัวใจเมื่อวานบอกว่ารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรมันโกงไปเป็นหมื่นล้าน ฉันว่าหมอพูดจริงแน่ๆ เพราะเป็นถึงด็อกเตอร์” เป็นตรรกะวิบัติแบบ appeal to authority เพราะเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ได้ยินมาคือข้อเท็จจริง เพียงเพราะผู้พูดฟังดูน่าเชื่อถือ (เป็นอาจารย์ / จบปริญญาเอก) โดยที่ไม่ได้ถามหรือศึกษาเหตุผลของผู้พูด ไม่ได้ลองศึกษาหาข้อมูลเองประกอบ

พึงระวังว่า การอ้างคำพูดของผู้เชี่ยวชาญอาจไม่ใช่ตรรกะวิบัติในตัวมันเอง การอ้างคำพูดของผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นเหตุผลที่ดีก็ได้ ในกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญรายนั้นมีความเชี่ยวชาญจริงๆ ในเรื่องนั้นๆ  และไม่เคยแสดงตัวว่ามีอคติหรือทิฐิในระดับที่จะบิดเบือนวิจารณญาณ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปพบแพทย์และแพทย์บอกว่าเราป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ เราก็มีเหตุมีผลที่จะยอมรับในข้อสรุปของแพทย์ หรือสมมุติว่าคอมพิวเตอร์เรามีปัญหา เพื่อนที่ทำงานในร้านซ่อมคอมพิวเตอร์มาตรวจดูแล้วบอกว่าเราต้องเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ เราก็มีเหตุมีผลที่จะเชื่อเพื่อน

ตัวอย่างเทียบเคียง: “นาซ่าไม่เคยส่งคนไปลงดวงจันทร์นะ โกหกทั้งเพ หนังสือที่บ้านบอก คนเขียนเป็นนักเขียนชื่อดังเชียว”

– 20 –

โรดแม็ป หรือ โรดแม็พ = ทับศัพท์คำว่า “roadmap” ในภาษาอังกฤษ แปลว่า “แผนที่การเดินทาง” ปัจจุบันใช้ในความหมายว่า วิธีการและขั้นตอนในการแก้ไขใดปัญหาหนึ่ง หรือขั้นตอนไปสู่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง โดยนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายนั้นอย่างเป็นลำดับขั้น เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน

noble effort / notable effort / “E” for effort (ขยันคือถูกต้อง) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ตีความผิดๆ ว่า อะไรสักอย่างย่อมถูกต้อง ดีงาม จริงแท้ หรือมีคุณค่า เพียงเพราะใครสักคนทุ่มเทแรงกายแรงใจ หรือแม้แต่เสียสละเวลา ทรัพย์สิน หรือความสุขสบาย มาพากเพียรทำสิ่งนั้นๆ ด้วยเจตนาที่ดี

ตัวอย่าง: “แกวิพากษ์วิจารณ์นโยบาย คสช. ทำไม เขาตั้งใจเข้ามาทำงานช่วยชาติ อยู่เฉยๆ หุบปากไป ให้เวลาเขาทำงานก่อนสิ” และ “ฉันว่ารัฐบาลทำงานคืบหน้าตามโรดแม็ปนี่ เพราะมีแต่คนดีๆ ร่วมแรงร่วมใจมาทำงานเพื่อชาติ” ต่างเป็นตรรกะวิบัติชนิด noble effort เพราะการที่ใครจะเข้ามาทำงานช่วยชาติหรือเพื่อชาติ ไม่ใช่เหตุผลที่คนอื่นไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ หรือยกมาอ้างเป็นเหตุผลว่าโรดแม็ปกำลังเดินหน้า เพราะการจะดูว่านโยบายดีหรือไม่ ใครทำงานดีเพียงใด ก็ต้องไปวิเคราะห์ที่ตัวนโยบายและการทำงานจริง มิใช่มัวแต่เคลิบเคลิ้มไปกับความพยายามของคนทำ

(และแท้จริงแล้ว ไม่มีกรณีใดเลยที่คน “ไม่ควร” จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของบุคคลหรือกลุ่มคนสาธารณะ โดยเฉพาะผู้มีอำนาจทางการเมือง)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ดูสิ เพื่อนฉันอุตส่าห์ใช้เวลาตั้งสามปี เขียนหนังสือหนาเตอะออกมาอธิบายว่าทำไมเขาถึงคิดว่าเรื่องนี้จริง ดังนั้นมันต้องจริงแน่ๆ”

– 21 –

ศาลทหาร = ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาของทหาร นักเรียนทหาร ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่กระทำผิดอาญาในบริเวณที่ตั้งหน่วยทหาร บุคคลที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น พยานที่ถูกศาลทหารออกหมายจับมาเพื่อเบิกความ และบุคคลที่เป็นเชลยศึกในช่วงเวลาที่มีศึกสงคราม อย่างไรก็ดี ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา ถือว่าเป็น “ภาวะไม่ปกติ” คดีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศว่าต้องขึ้นศาลทหาร ได้แก่ (1) ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 107 – 112 (2) ความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 – 118 และ (3) ความผิดตามประกาศหรือคำสั่ง คสช. โดยในรอบ 1 ปีของการรัฐประหาร สิ้นสุด 22 พฤษภาคม 2558 มีพลเรือนถูกนำตัวขึ้นศาลทหารเพราะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะอย่างน้อย 131 คน (สถิติจากเว็บไซต์ iLaw)

avoiding the issue / avoiding the question (เบี่ยงประเด็น) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ไพล่ไปพูดเรื่องอื่น แทนที่จะถกประเด็นที่กำลังคุยกันอยู่

ตัวอย่าง: ผู้พูดเสนอว่า “พลเรือนไม่ควรขึ้นศาลทหาร” ผู้อภิปรายตอบว่า “ยอมรับคำตัดสินของศาลพลเรือนก่อนสิ” เป็นตรรกะวิบัติแบบ avoiding the issue เพราะการจะยอมรับหรือไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลพลเรือนในคดีใดก็ตาม ก็ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับข้อเสนอของผู้พูด พึงสังเกตว่า วิธีเบี่ยงประเด็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมออนไลน์ไทย คือการ “ย้อนถาม” ผู้พูด เช่น “ตอนรัฐบาลที่แล้วโกง พูดอะไรบ้าง” ซึ่งนอกจากจะเป็นการเบี่ยงประเด็น ยังมักจะเป็นการแสดงอาการดูถูกคนอื่น ยกตนข่มท่านอีกด้วย

ตัวอย่างเทียบเคียง: ต่อคำถาม “โครงการสร้างแลนด์มาร์คริมเจ้าพระยาไม่เห็นมีดีตรงไหน” ตอบว่า “แล้วโครงการจัดการน้ำสามแสนล้านของรัฐบาลที่แล้วล่ะ”

– 22 –

ยุคทอง = ช่วงเวลาในอดีตที่คนมองย้อนกลับไปว่า เป็นยุคที่สังคมรุ่งเรืองกว่าปัจจุบัน

good old days / golden age (โหยหายุคทอง) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ผู้พูด “เลือกจำ” เฉพาะเหตุการณ์ดีๆ จากช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีต เพื่อบอกว่ามันเป็นช่วงเวลาที่สังคมรุ่งโรจน์ โชติช่วงชัชวาล ผู้คนมีศีลธรรม มีความสุข ฯลฯ โดยไม่แยแสหรือลืมนึกไปว่า ช่วงเวลานั้นก็มีเรื่องแย่ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่นกัน

ตัวอย่าง: “คิดถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ยุคทองแท้ๆ ดูสิเศรษฐกิจไทยเติบโตตั้งเท่าไหร่ เผด็จการดีๆ ก็มีเห็นไหม” และ “ยุคทักษิณนี่เป็นยุคทองของประชาธิปไตยเลยนะ รากหญ้าได้ลืมตาอ้าปาก ประชาธิปไตยกินได้จริงๆ” อาจนับเป็นตรรกะวิบัติแบบ golden age เพราะกรณีแรกผู้พูดไม่ประเมินการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในการปราบปรามผู้เห็นต่าง ลิดรอนสิทธิเสรีภาพอย่างรุนแรง และการคอร์รัปชั่นขนานใหญ่ของจอมพลและพวกพ้อง ส่วนกรณีหลังผู้พูดก็ไม่ประเมินกรณีฆ่าตัดตอนยาเสพติด การสังหารหมู่ที่กรือเซะ ตากใบ คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย หรือการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่ง ซึ่งล้วนแต่เป็น “จุดด่าง” ที่ทำให้เกิดข้อกังขาว่า ควรมองว่าเป็น “ยุคทอง” จริงๆ หรือไม่

พึงสังเกตว่าข้อนี้ไม่ใช่ตรรกะวิบัติเท่ากับเป็น “สันดาน” ของมนุษย์ เราจึงมักจะไม่รู้ตัวเวลาใช้มัน นักจิตวิทยาอธิบายว่าเป็น selective memory (การเลือกจำ) ที่เกิดจาก affect heuristic (ฮิวริสติก หมายถึง “ทางลัดทางความคิด” ที่สมองเราใช้ในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว กรณีนี้หมายถึง affect หรืออารมณ์ความรู้สึก) – ในเมื่อการจำประสบการณ์แย่ๆ ทำให้เรารู้สึกแย่ สมองของเราจึงมักจะหวนนึกถึงแต่ประสบการณ์ดีๆ ในอดีตเท่านั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติ รสนิยม และความคิดความเชื่อส่วนบุคคลของเรานั่นเอง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “คนสมัยนี้ศีลธรรมเสื่อมโทรม สมัยสุโขทัยคนมีศีลมีธรรมกว่านี้เยอะ”

– 23 –

นักโทษทางความคิด (prisoner of conscience) = บุคคลที่ถูกคุมขังหรือถูกจำกัดเสรีภาพทางร่างกายเพียงเพราะการแสดงความคิด และ/หรือมีความเชื่อทางการเมือง ศาสนา ของตนที่แตกต่าง หรือเพียงเพราะมีชาติพันธุ์ เพศ   สีผิว ภาษา ความเป็นมาด้านเชื้อชาติหรือสังคม สถานะทางเศรษฐกิจ ชาติกำเนิด อัตลักษณ์ทางเพศ หรือสถานะอื่น ๆ ที่แตกต่าง โดยไม่ได้ใช้ความรุนแรงหรือสนับสนุนความรุนแรงหรือความเกลียดชัง  พวกเขาถูกควบคุมตัวเพียงเพราะความเชื่อของตนเองหรือเพียงเพราะอัตลักษณ์ของตนเอง โดยมิใช่เป็นเพราะอาชญากรรมที่ก่อขึ้น (นิยามจาก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย)

argument from ignorance (ไม่รู้จึงจริง/ไม่รู้จึงไม่จริง) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ใช้เหตุผลผิดๆ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งจริงเพียงเพราะมันไม่เคยถูกพิสูจน์ว่าไม่จริง หรือไม่จริงเพียงเพราะมันไม่เคยถูกพิสูจน์ว่าจริง ตรรกะวิบัติข้อนี้มักเกิดจากความทะนงตนหรือทิฐิ ถูกอวิชชาบังตา สำคัญตนผิดว่า “ฉันรู้ทุกเรื่อง”

ตัวอย่าง: “เขาไม่เคยโกงสักหน่อย เห็นเหรอว่าโกง” และ “นักโทษทางความคิดถูกกลั่นแกล้งในคุกเนี่ยนะ ไม่จริง ไม่เคยเห็นข่าวทีวีเลย” เป็นตรรกะวิบัติแบบ argument from ignorance เพราะเป็นการตีความว่า การที่เรา “ไม่เคยเห็น” (กับตา หรือข่าวในทีวี) แปลว่าคนคนนี้ไม่ได้โกง หรือนักโทษทางความคิดไม่ได้ถูกกลั่นแกล้ง ทั้งที่เราเพียงแต่ “ไม่รู้” เท่านั้น (และหลายเรื่องก็รู้ยาก เช่น คนที่โกงเก่งๆ มักจะหลบรอดสายตาผู้คนได้หลายปี และข่าวทีวีก็ไม่ได้ไปทำข่าวทุกเรื่องที่ควรจะเป็นข่าว)

ตรรกะวิบัติข้อนี้สอนให้เรา “เผื่อใจ” อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ว่าหลายเรื่องอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ เราเพียงแต่ยัง “ไม่รู้” เท่านั้น

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่ามนุษย์ต่างดาวไม่เคยมาเยือนโลก แปลว่ามนุษย์ต่างดาวมีอยู่จริงในจักรวาล”

– 24 –

สื่อมวลชน = สื่อชนิดที่สามารถกระจายข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วไปยัง ‘มวลชน’ จำนวนมากโดยเฉพาะคนทั้งประเทศ อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เมื่อครั้งที่อินเทอร์เน็ตยังไม่ได้รับความนิยมแพร่หลาย สื่อมวลชนสามช่องทางเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “สื่อกระแสหลัก” ขณะที่สื่อออนไลน์ถูกเรียกว่า “สื่อกระแสรอง” แต่ปัจจุบันเส้นแบ่งนี้เลือนรางลงเรื่อยๆ ในยุคที่การเสพสื่อออนไลน์กลายเป็นพฤติกรรมกระแสหลัก และสื่อมวลชนทุกค่ายต่างเข้ามาใช้โลกออนไลน์เป็นพื้นที่ทำงานและช่องทางการเผยแพร่ข่าวของตน

appeal to emotion (โน้มน้าวอารมณ์) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่พยายามโน้มน้าวอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังให้คล้อยตามผู้พูด แทนที่จะอาศัยข้อมูลหลักฐานและความมีเหตุมีผลมาเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อถกเถียง

ตัวอย่าง: “ขอร้องสื่อมวลชนว่า อย่าจัดรายการที่วิจารณ์การทำงานของ คสช. และรัฐบาล เพราะส่วนตัวรับไม่ได้ ขอความเห็นใจ” และ “ฉันเลี้ยงลูกตัวคนเดียว อัตคัดคัดสนมาก หย่ากับสามีหลายสิบปีแล้ว พูดก็ไม่เก่ง ขอร้องให้โหวตเลือกลูกชายฉันเป็น ส.ส. เถอะนะ” เป็นตรรกะวิบัติแบบ appeal to emotion เพราะ “ความเห็นใจ” ไม่เกี่ยวอะไรกับการทำหน้าที่ของสื่อ และความทุกข์ทรมานของคนเป็นแม่ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณสมบัติของลูกชายในการเป็นผู้สมัคร ส.ส.

ตรรกะวิบัติข้อนี้ใช้กันแพร่หลายในสังคมไทย เนื่องด้วยวัฒนธรรม “ขี้สงสาร” โดยเฉพาะถ้าเห็นน้ำตาแล้วก็มักจะใจอ่อน อย่างไรก็ดี ตรรกะวิบัติข้อนี้ไม่ได้แปลว่าเราไม่ควรเห็นใจใครเลย เพียงแต่เตือนสติเราว่า ความรู้สึกต่างๆ ไม่ว่า “เห็นใจ” “โดนใจ” “สะใจ” หรืออื่นๆ ไม่ควรถูกนำมาใช้แทน “เหตุผล” ในการประเมินข้อถกเถียง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ฉันควรจะได้รับรางวัลนี้ เพราะฉันต้องหัวใจสลายแน่ๆ ถ้าไม่ได้”

 

– 25 –

ความสุข = “ความสบายกายสบายใจ” (นิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542) มีหลายระดับตั้งแต่ความสบายใจเล็กๆ น้อยๆ หรือความพอใจ ความเพลิดเพลิน ไปจนถึงความอิ่มใจหรือความเบิกบานใจ แนวคิดทางปรัชญาและศาสนามักกำหนดนิยามของความสุขในความหมายของชีวิตที่ดี มิใช่เพียงอารมณ์ประเภทหนึ่งเท่านั้น ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ความสุขและนักจิตวิทยาก็แยกแยะระหว่าง “ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต” (life satisfaction) กับ “ความอยู่ดีมีสุข” (well-being) ซึ่งเป็นความสุขระยะยาวกว่า

cherry picking (หยิบข้อมูลตามใจ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่เลือกหยิบเอาเฉพาะข้อมูลส่วนน้อยที่สนับสนุนความคิดของตนเองมาใช้ โดยละเลยหลักฐานจำนวนมากที่บ่งชี้ในทางตรงกันข้าม บ่อยครั้งจัดเป็นตรรกะวิบัติประเภท anecdotal fallacy (ตู่จากความจำ) ด้วย และมักจะเกิดขึ้นโดยที่ผู้ใช้ไม่ตั้งใจ เพราะคนเรามีแนวโน้มที่จะเลือกจำและตีความเฉพาะข้อมูลที่ตรงกับความคิดความเชื่อของเราอยู่แล้ว เป็นอคติที่เรียกว่า confirmation bias ฉะนั้นการหลีกเลี่ยงตรรกะวิบัติข้อนี้จึงต้องอาศัยการฝึก “เผื่อใจ” ว่าเราอาจจะคิดผิดก็ได้

ตัวอย่าง : “เศรษฐกิจไม่ดีตรงไหน ก๊วนหุ้นของฉันยังเล่นหุ้นได้กำไร” และ “คนไทยส่วนใหญ่มีความสุขกว่าเดิมตั้งแต่มี คสช. เพื่อนฉันทุกคนบอกเป็นเสียงเดียว” เป็นตรรกะวิบัติแบบ cherry picking เพราะเอาประสบการณ์ของคนกลุ่มเดียวมาใช้เป็นหลักฐานว่า “เศรษฐกิจยังดี” และ “คนไทยส่วนใหญ่มีความสุขกว่าเดิม” ทั้งที่หลักฐานอีกมากมายบ่งชี้ในทางตรงกันข้าม

ตัวอย่างเทียบเคียง : “เชอร์รี่นี้หวานทั้งพวงเลย แสดงว่ามันต้องหวานทั้งต้นแน่ๆ” (ในความเป็นจริง เชอร์รี่หวานทั้งต้นมีอยู่หยิบมือเดียว ที่เหลือคาต้นล้วนแต่เปรี้ยว คนเลยไม่เก็บมาให้กิน)

– 26 –

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 = “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี” จัดเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ คนไทยหรือคนต่างด้าวไม่ว่ากระทำในหรือนอกราชอาณาจักรก็ต้องรับโทษ  ในปี 2556 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำว่า “พระมหากษัตริย์” หมายความรวมถึงพระมหากษัตริย์ในอดีตด้วย  ส่วน ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เคยตีความว่า กฎหมายครอบคลุมถึงการห้ามวิจารณ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปัจจุบันมาตรา 112 เป็นกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นประมาทราชวงศ์ซึ่งระวางโทษรุนแรงที่สุดในโลก

argumentum ad baculum / appeal to force (ขู่แทนเหตุผล) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่ใช้วิธีข่มขู่แทนเหตุผลในการถกเถียง หรือยกความเสียหายบางอย่างที่จะเกิดขึ้นในกรณีที่ข้อถกเถียงจริงหรือไม่จริง มาเป็นเหตุผลว่ามันจริงหรือไม่จริง

ตัวอย่าง: “ถ้าแกวิจารณ์เรื่องนี้ว่าไม่จริง แกต้องโดน 112 แน่ๆ ดังนั้นแกต้องเชื่อว่าเรื่องนี้จริง” เป็นตรรกะวิบัติแบบ appeal to force เพราะการจะถูกหรือไม่ถูกฟ้อง ถูกหรือไม่ถูกลงโทษ ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับระดับความจริง (truth value) ของข้อถกเถียง (แต่ตรรกะวิบัติข้อนี้ก็มักจะหยุดการถกเถียงได้ชะงัด เนื่องจากกฎหมายนี้รุนแรงจริง)

พึงระวังว่า การยกความเสียหายในอนาคต โทษ หรือคำขู่ ไม่ใช่ตรรกะวิบัติในกรณีที่สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลกับข้อถกเถียง เช่น การพูดว่า “ถ้าแกเมาแล้วขับ แกจะถูกตำรวจจับ ดังนั้นอย่าเมาแล้วขับจะดีกว่า” ไม่ใช่ตรรกะวิบัติ เพราะผู้พูดไม่ได้กำลังนำเสนอว่าพฤติกรรมเมาแล้วขับดีหรือไม่ดีต่อสังคม แต่พูดถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวคนขับ ดังนั้นการชี้ว่า “จะถูกตำรวจจับ” จึงเป็นเหตุเป็นผลแล้ว

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ถ้าแกไม่เชื่อว่าเวรกรรมมีจริง แกต้องตกนรกแน่ๆ”

 

– 27 –

การก่อการร้าย = พฤติการณ์รุนแรงซึ่งมีเจตนาก่อให้เกิดความกลัว กระทำการเพื่อจุดประสงค์ทางศาสนา การเมืองหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จงใจหรือไม่ใส่ใจต่อความปลอดภัยของพลเรือน ถึงแม้จะมีความชัดเจนระดับหนึ่ง แนวคิดและนิยาม “การก่อการร้าย” อาจเป็นหัวข้อโต้เถียงในตัวของมันเองก็ได้ เนื่องจากบางครั้งถูกใช้โดยหน่วยงานของรัฐเพื่อลดความชอบธรรมของศัตรูการเมืองหรือฝ่ายอื่น และมีศักยภาพที่จะเพิ่มความชอบธรรมให้แก่รัฐในการใช้กำลังกับผู้ต่อต้าน

loaded question (คำถามชี้นำ) = คำเรียกตรรกะวิบัติประเภทคำถาม (ซึ่งบ่อยครั้งก็ไม่ได้ตั้งใจจะถาม) ที่ตั้งหรือซ่อนสมมุติฐานบางอย่างในคำถามนั้นๆ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่ไม่มีหลักฐานรองรับหรือยังเป็นที่โต้เถียงไร้ข้อสรุป คำถามแบบนี้มักใช้ในการ “หลอก” ให้ผู้ตอบสื่อนัยบางอย่างที่เขาไม่ได้เจตนา เพียงเพราะนัยนั้นแฝงอยู่ในคำถาม

ตัวอย่าง: “คุณรับได้หรือไม่กับคอร์รัปชั่นที่ทำให้ประเทศเจริญ” และ “ตำรวจจับได้แล้วเหรอไอ้ดาราออสเตรเลียที่ก่อการร้ายวันก่อน” เป็น loaded question เพราะคำถามข้อแรกแฝงสมมุติฐานว่า “คอร์รัปชั่นบางอย่างทำให้ประเทศเจริญได้” ซึ่งยังไม่มีข้อพิสูจน์และผู้ตอบอาจไม่เห็นด้วย ส่วนคำถามหลังก็แฝงสมมุติฐานว่าดาราออสเตรเลียคือผู้ก่อการร้าย ทั้งที่ยังไม่มีข้อสรุป

พึงระวังคำถามของบริษัททำโพลหลายแห่งที่ชอบตั้งคำถามแบบ loaded question

ตัวอย่างเทียบเคียง: “แกรู้ตัวไหมว่ากำลังสร้างความแตกแยก” (ไม่ว่าผู้ตอบจะตอบว่า “รู้” หรือ “ไม่รู้” ก็เท่ากับยอมรับสมมุติฐานว่า “สร้างความแตกแยก” ทั้งที่มันไม่จริง)

– 28 –

เล่นลิ้น = การพูดยอกย้อนวกวน ไม่ตรงไปตรงมา บ่อยครั้งสื่อนัยเชิงลบว่า ผู้พูดใช้สำบัดสำนวนหรือวาทศิลป์กลบเกลื่อนความไม่มีเหตุผลหรือความผิดของตนเอง

equivocation fallacy (บิดความหมายคำ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่บิดความหมายของคำในข้อถกเถียงไปเป็นความหมายอื่นที่ไม่สอดคล้องกับข้อถกเถียง ความหมายแคบของตรรกะวิบัติข้อนี้ คือ การใช้คำคำเดียวกันในข้อตั้ง (premise) และข้อสรุป (conclusion) แต่ใช้คนละความหมายกัน ความหมายกว้างรวมถึงการ ‘เล่นลิ้น’ กับคำที่มีหลายความหมายเพื่อชักจูงให้คนฟังเข้าใจผิด

ตัวอย่าง: อดีตเอเจนซีที่ผันตัวมาเป็น ‘นักสร้างแรงบันดาลใจ’ และที่ปรึกษาธุรกิจถูกจับได้ว่าลอกบทความคนอื่นมาทั้งดุ้นหลายครั้งโดยไม่ให้เครดิต เพียงแต่นำมาแปลไทยคำต่อคำ จึงทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นงานเขียนและความคิดของตัวเอง และอาศัยความคิดเหล่านั้นสร้างจุดขายของคอร์สอบรมราคาแพง สุดท้ายเมื่อออกมาอธิบายก็พูดว่า “คนทำผิด คือคนที่ทำ ส่วนคนที่ไม่ได้ทำผิดคือคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย” เป็นตรรกะวิบัติแบบ equivocation เพราะใช้คำว่า “ผิด” ในความหมายเดียวกับ “ผิดพลาด” คือพลาดโดยไม่ตั้งใจ (ซึ่งแบบนั้นทุกคนที่ทำก็มีสิทธิพลาดจริงๆ) ทั้งที่ในความเป็นจริง ตัวเองเจตนา “กระทำผิด” อย่างโจ่งแจ้งและต่อเนื่อง มิใช่ผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจแต่อย่างใด

ตัวอย่างเทียบเคียง: “เธอบอกว่าศรัทธาในตัวคนคนนั้นมาก ศรัทธาแปลว่าเชื่อโดยไม่ใช้เหตุผล เธอจึงเป็นคนไม่มีเหตุผล” (เอาความหมาย “ความเชื่อมั่น” มาปนกับ “ความเชื่อ”) 

 

– 29 –

ตรรกศาสตร์ = การศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล เป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) (นิยามจากวิกิพีเดียไทย)

affirming the consequent / converse error (เห็นปัจจัยเดียว) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่สรุปอย่างผิดพลาดจากข้อตั้ง เพราะเข้าใจผิดว่ามีเพียงข้อตั้งเท่านั้นที่อธิบายหรือนำไปสู่ข้อสรุปได้

ตัวอย่าง: “กปปส. บอกว่าต้องปฏิรูปประเทศ แกเคยพูดเรื่องเดียวกัน แสดงว่าแกเป็น กปปส.” และ “เสื้อแดงเรียกร้องประชาธิปไตย แกเรียกร้องประชาธิปไตย แสดงว่าแกเป็นเสื้อแดง” เป็นตรรกะวิบัติแบบ affirming the consequent เพราะคนที่พูดเรื่องปฏิรูปไม่จำเป็นจะต้องเป็น กปปส. และคนที่เรียกร้องประชาธิปไตยก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเสื้อแดง
ตรรกะวิบัติข้อนี้มักเกิดกับผู้ที่มองโลกแบบขาว-ดำ ใช้ตรรกะวิบัติแบบ false dilemma (ความเข้าใจผิดว่ามีเพียงสองทางเลือกที่เป็นขั้วตรงข้ามกัน – ดูตรรกะวิบัติข้อ 6. ประกอบ) มองไม่เห็นปัจจัยต่างๆ ที่สามารถนำไปสู่ข้อสรุปได้เช่นกัน มิได้มีเพียงปัจจัยเดียวที่ตนปักใจเชื่อ (“ต้องเป็น กปปส. / เสื้อแดง”)

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ถ้าแกเป็นเจ้าของทีมฟุตบอลได้ แกต้องรวยจริง วันนี้แกรวยจริง แสดงว่าแกเป็นเจ้าของทีมฟุตบอล” (มีพฤติกรรมอีกจำนวนมากที่บ่งชี้ความร่ำรวย ไม่จำเป็นจะต้องมีทีมฟุตบอล)

– 30 –

ตรรกะวิบัติ = การถกเถียงที่ ใช้เหตุผลผิดพลาด ในการสรุป โดยตัวข้อสรุปนั้นเองอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ พูดอีกอย่างคือ ความเป็นเหตุเป็นผลในการอธิบายข้อสรุป เป็นคนละเรื่องกันกับระดับความจริงหรือเท็จในข้อสรุป แต่คนมักเข้าใจข้อนี้ผิด

fallacy fallacy / fallacist’s fallacy (วิบัติจากตรรกะวิบัติ) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่สรุปผิดๆ ว่า ข้อสรุปเรื่องใดเรื่องหนึ่งผิดหรือไม่จริง เพียงเพราะพบตรรกะวิบัติในการอธิบายข้อสรุปนั้นๆ

ตัวอย่าง: “ประโยค“คนไม่รวยหลายคนขี้โกง นักการเมืองคนนี้รวยแล้ว ดังนั้นเขาจึงไม่โกง” เป็นตรรกะวิบัติแบบ denying the antecedent (ข้อ 13) ดังนั้นแปลว่านักการเมืองคนนี้โกงแน่ๆ” เป็นตรรกะวิบัติชนิด fallacy fallacy เพราะข้อถกเถียงที่ยกมานั้นเป็นตรรกะวิบัติก็จริง แต่การเป็นตรรกะวิบัติในตัวมันเองไม่อาจเป็นข้อพิสูจน์ว่าข้อสรุป (“นักการเมืองคนนี้ไม่โกง”) ผิด ในตัวอย่างนี้จะต้องพิจารณาจากข้อมูลหลักฐานต่างๆ ต่อไปว่านักการเมืองคนนี้โกงหรือไม่โกง

ตัวอย่างเทียบเคียง: “ที่แกบอกฉันว่า “ถ้าแกวิจารณ์เรื่องนี้ว่าไม่จริง แกต้องโดน 112 แน่ๆ ดังนั้นแกต้องเชื่อว่าเรื่องนี้จริง” เป็นตรรกะวิบัติ ฉะนั้นเรื่องนี้ต้องไม่จริงแน่ๆ” (ประโยคที่ยกมานั้นเป็นตรรกะวิบัติแบบ argumentum ad baculum (ดูข้อ 26) แต่ “เรื่องนี้” ที่พูดถึงอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ ไม่เกี่ยวกับตรรกะวิบัติ)


[HOT CLIPS] [RUNNINGMAN] \”Are you ready to laugh?\” Welcome to kkang-kkang LAND! (ENG SUB)


The killing point 👉 6:56
\”Do you even know who I am?\” I can see how upset KWANGSOO is.. 😂
Ep. 551
SBS​ RUNNINGMAN​ 런닝맨​ LEEKWANGSOO​ KIMJONGKOOK​ KJK​ YOOJAESUK​ HAHA​ YANGSECHAN​ JEONSOMIN​ SONGJIHYO​ JISEOKJIN Seorina SEORINA LEECHOHEE JEONGHEIN

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

[HOT CLIPS] [RUNNINGMAN] \

Who (or What) is Iblees? What is Jinn? ādam’s Zawj in Al-Baqarah 2:35? What is Iblees’s strategy?


This segment is is Part 2.8 of the series:
“Why No Stories = No Quran?”
How to extract Abrahamic Locution from Zikr (QurꜤānic Stories \u0026 Parables)?

This segment is one of the most important segments on this channel! Get ready to hear something you have not heard before!

If you are involved, in any way, in educating others, or if you are a parent, or if you ever hope to be a parent, you cannot afford to miss any part of this segment.
Because this segment discloses some of the Quranic truth about Iblees, إبليس Ibliss will be fighting you every second of this segment!

In This Segment:
• Continuing the story of ādam in Sūrah AlBaqarah
• Quran Surah AlBaqarah 2:34 and 2:35
• ādam and his Zawj in 2:35
• Nature of Iblees, his disposition, and his strategy
• Jinn and their nature
• The type of relationship between Iblees and Allahh
• Answering 16 questions about ādam and Iblees
• A very important practical conclusion that I hope you do not miss.

In this segment, we will deal with following questions:
1. Is Iblees an angel or a Jinn? Is there ambiguity in the QurꜤān with this regard?
2. Why did Iblees refuse to do “sujood”?
3. Was Iblees created from fire?
4. What is Iblees’s current strategy against humans?
5. What does it mean to say that “Iblees” is “رَجِيم” Rajeem?
6. Why was Iblees told by Allahh: Upon you shall be my curse?
7. Who is ādam’s Zawj? Who is Eve in the Quran?
8. If Iblees was a Jinn, What is a Jinn?
9. Isn’t the belief in Jinn a part of our 3aqīdah?
10. Why did Iblees not die?
11. How many Iblees is there?
12. Does Iblees have a “ذُرِّيَة”, progeny or descendants?
13. Why did Allahh create Iblees?
14. How come Iblees conversed with Allahh?
15. Why was Iblees personified?
16. Is Iblees an evil opponent to Allahh?
In future segments, we will deal with many more questions, including Shayṭān, Jahannam, and ways to overcome Iblees and Shayṭān

ādam is a general description for all of us who accept the \”Takleef\” (the assignment) to carry out the mission of Islam, unlike the rejecters among those who received prior scriptures. As we shall see (in future videos), Allahh provides us extra help when we elect to carry out this assignment in accordance with its proper standard.
Khalifah represents the assignment itself: The fact that Allahh provided you the opportunity of stewardship in the scripture, after others have passed on.
ādam is a descriptor for those of us who accept the assignment and carry it out.
Rassool is an ādam, but is further assigned the responsibility of delivering a specific scripture/message. After Muhammad SAWS, there will not be any new Rassool.
Nabiy is also an ādam who is assigned the responsibility of achieving a specific implementation of a message within a community (Qawm), in exchange for special support from Allahh to complete his/her mission. Nabiy applies an existing scripture. Because earlier scriptures were no longer available at the time of our beloved SAWS, our beloved SAWS was given a scripture first, i.e., he was a Rassool first, and then later was assigned the extra responsibility of a Nabiy: He was assigned the extra responsibility of interpreting and applying the message in accordance with his circumstances and conditions. After Muhammad SAWS, there will not be any new Nabiy.

On this channel, we do NOT teach the (corrupted) Bible! We only teach the QurꜤān, using the Quranic methodology to extract knowledge from the Quran, exclusively!

We rely on the organic Quranic methodology, on the Abrahamic locution, and on the nested interpretation techniques to uncover the meanings and indications of the Quran verses.
The conclusion: When the Quran Tafseer scholars decided to bring their stories form corrupted versions of the earlier scriptures, they misled the Muslims from engaging the Quran in the way that Allahh had instructed us to do.
To view the video titled \”Why No Stories = No Quran? (Part 1): What does the story of Noah (Nuh) Son teach us about the Quran?\” watch
https://youtu.be/TCKaoJ2T_AI
To view the video titled \”How Traditional Arabic caused confusion in understanding Quran? Why No Stories = No Quran? Part 2.1\” watch https://youtu.be/R0oOe67ktHY
To view the video “How to Circumcise a shecow? Story of the cow Quran 2:6771. Why No Stories = No Quran? Part 2.2” watch https://youtu.be/bwPSlOxhrzA

To view the videos on Abrahamic Locution start the playlist starting with this video https://youtu.be/yxqZPv8jmcw
To view the videos on the definition of Ardh = Scripture, please watch the playlist starting with this video https://youtu.be/lVm1g6PZVu4
To learn more, Please follow us on
Instagram @Marvelous.Quran
Facebook Marvelous Quran
You may contact us via email [email protected]
Quran Translation and Commentary by Dr. Hany Atchan

Who (or What) is Iblees? What is Jinn? ādam’s Zawj in Al-Baqarah 2:35? What is Iblees's strategy?

5 Subconscious Things You Do That Make Others Ignore You


Do you constantly feel like whatever you say falls on deaf ears? Are you puzzled why people ignore you all the time? But what if it is due to something you may be doing? It’s a truth universally acknowledged that having good and healthy relationships can make you a relatively happier person when compared to others. An environment where you are constantly getting ignored can have a negative impact on how you think of yourself and others. This is especially true if you are not aware of why they do so. Do you think there might be some habits you might have that cause people to ignore what you say?
Are you worried that your behaviors might make others dislike you? Watch this video: https://youtu.be/fsc28I2Qnas
References can be found in our original article: https://psych2go.net/6reasonswhypeopleareignoringyou/
Credit:
Writer: Xinyi
Script Editor: Rida Batool
Script Manager: Kelly Soong
VO: Amanda Silvera
Animator: Sun Biscuit (New Animator)
YouTube Manager: Cindy Cheong
Join this channel to get access to perks:
https://www.youtube.com/channel/UCkJEpR7JmS36tajD34Gp4VA/join
Would you like to animate for the team? Check out this: https://psych2go.net/interestedinanimatingforpych2gofaq/
Keating, J., 2020. When People Ignore You: 10 Reasons You May Turn People Off. [online] Love Panky. Available at: www.lovepanky.com/mylife/betterlife/whenpeopleignoreyou [Accessed 2 December 2020].
Kiki, I., 2020. 11 Reasons Why People Ignore You. [online] Life Hacks. Available at: www.lifehacks.io/whypeopleignoreyou/ [Accessed 2 December 2020].
Mahalli, A., 2020. Why Do People Ignore Me? (9 Potential Reasons According To Experts). [online] Up Journey. www.upjourney.com/whydopeopleignoreme [Accessed 2 December 2020].
TopThink, 2020. 10 Reasons Why People Are Ignoring You.
Available at: www.youtube.com/watch?v=i5mUrQ5fHbs\u0026ab_channel=TopThink [Accessed 2 December 2020].
Young, K., 2016. Toxic People Affect Kids Too: Know The Signs And How To Explore A Little Deeper. [online] Hey Sigmund. www.heysigmund.com/toxicpeopleaffectkidstooknowthesignsthenexplorealittledeeper [Accessed 2 December 2020].

5 Subconscious Things You Do That Make Others Ignore You

Pain in the Neck ไม่ได้แปลว่า เจ็บคอ!! แต่ในเชิงสำนวนมันแปลว่าอะไร ?


สอบถามเรื่องคอร์สได้ที่ไลน์ https://lin.ee/uVp0whL (@ajarnadam) หรือโทร 02 612 9300
รายละเอียดคอร์ส https://www.ajarnadam.tv/
FB: http://www.facebook.com/AjarnAdamBradshaw
IG: https://www.instagram.com/ajarnadam
Twitter: http://twitter.com/AjarnAdam
ภาษาอังกฤษ อาจารย์อดัม AjarnAdam

Pain in the Neck ไม่ได้แปลว่า เจ็บคอ!! แต่ในเชิงสำนวนมันแปลว่าอะไร ?

Supposed to แปลว่าอะไร ใช้อย่างไร ???


สอบถามเรื่องคอร์สได้ที่ไลน์ @ajarnadam หรือโทร 02 612 9300
รายละเอียดคอร์ส http://www.ajarnadam.tv/
FB: http://www.facebook.com/AjarnAdamBradshaw
IG: https://www.instagram.com/ajarnadam
Twitter: http://twitter.com/AjarnAdam

Supposed to แปลว่าอะไร ใช้อย่างไร ???

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ avoiding แปลว่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *