Skip to content
Home » [NEW] Adverb ฉบับสมบูรณ์และเข้าใจง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารอื่น ๆ | relatively แปลว่า – NATAVIGUIDES

[NEW] Adverb ฉบับสมบูรณ์และเข้าใจง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารอื่น ๆ | relatively แปลว่า – NATAVIGUIDES

relatively แปลว่า: คุณกำลังดูกระทู้

บทความนี้จะตอบคำถามของคุณเกี่ยวกับ Adverb หรือ กริยาวิเศษณ์ คืออะไร พร้อมอธิบายหลักการใช้ Adverb ละเอียดแจ่มแจ้งสุดๆ ที่ต้องไม่พลาด

Table of Contents

Adverb คืออะไร?

Adverb หรือ กริยาวิเศษณ์คือคำที่ขยายคำกริยา และคำคุณศัพท์ ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับคำวิเศษณ์ในภาษาไทย แต่ในภาษาอังกฤษนั้น คำวิเศษณ์จะเป็น กริยาวิเศษณ์ เท่านั้นไม่มีการแยกย่อยได้เยอะแยะเหมือนภาษาไทยบ้านเราเลยรับรองว่าเรียนได้ง่ายๆ จำได้นาน ไม่ยากนะคะ

โดยปกติแล้วคำกริยาวิเศษณ์ แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. Simple Adverbs = คำกริยาวิเศษณ์ทั่วไป
2. Interrogative Adverbs = คำกริยาวิเศษณ์คำถาม
3. Relative(Conjunction) Adverbs = คำกริยาวิเศษณ์เชื่อมประโยค Simple Adverb คือ กริยาวิเศษณ์ที่ใช้ขยายกริยา ขยาย รายละเอียดจะมีดังต่อไปนี้

เรียนรู้ Adverb หรือ กริยาวิเศษณ์ ในภาษาอังกฤษ

Adverb ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่สำคุญต้องไม่พลาด

ตำแหน่งของ Adverb ที่มักเจอในข้อสอบ TOEIC

1. หน้า V. = [S + Adv + V] 
ยกตัวอย่างเช่น
Jim suddenly realized that he forgot to bring the financial report.

2. ระหว่าง V. = [S + V + Adv + V]
ยกตัวอย่างเช่น 
– will surely finish (Future Simple)
– had greatly improved (Past Perfect)

3. หลัง V. = [S + V + Adv]
ยกตัวอย่างเช่น
Employment levels are unlikely to rise significantly before the end of next year.

4. หลัง O. = [S + V + O + Adv]
ยกตัวอย่างเช่น
 She reads quickly.
 She reads (the contract) quickly.

5. หน้า Adj. = [Adv + Adj + N]
ยกตัวอย่างเช่น
Ben is an extremely responsible employee.

6. ระหว่าง BE กับ Adj. = [BE + Adv + Adj]
ยกตัวอย่างเช่น
Online sales are relatively easy to track.

7. หน้า Adv. = [V + Adv + Adv]
ยกตัวอย่างเช่น
Helen screamed extremely loudly when she fell down the stairs.

8. ใน Passive = [S + V + V.3 + Adv]
ยกตัวอย่างเช่น
The product should be checked thoroughly before being sent.

9. ใน To-Infinitive = [To + Adv + V.infinitive]
ยกตัวอย่างเช่น
Rita planned to quickly finish the task by tomorrow.

หน้าที่ของกริยาวิเศษณ์คืออะไร?

1. ขยายคำกริยา

บอกให้รู้ว่า ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ ทำอย่างไร ทำบ่อยแค่ไหน  เช่น

  • He came here yesterday. เขา มา ที่นี่ เมื่อวานนี้
    here เป็น adverb บอกให้รู้ว่า มา ที่ไหน
    yesterday เป็น adverb บอกให้รู้ว่า มา เมื่อไหร่
  • He walks slowly. เขา เดิน อย่างช้าๆ
    slowly เป็น  adverb บอกให้รู้ว่า เดิน อย่างไร
  • He always walk to school. เขา เดิน ไปโรงเรียน เสมอ
    always เป็น  adverb บอกให้รู้ว่า เดิน บ่อยแค่ไหน

2. ขยายคำคุณศัพท์ และขยายกริยาวิเศษณ์เอง

บอกให้รู้ว่าอยู่ใน ระดับไหน หรือเน้นย้ำว่าแค่ไหน เช่น

  • The fire is very hot. ไฟ ร้อน มาก
    hot เแปลว่า ร้อน เป็นคำคุณศัพท์ขยาย fire
    ส่วน very เป็น Adverb ขยายคำว่า hot บอกให้รู้ว่า ร้อนแค่ไหน
  • I like it very much. ผม ชอบ มัน มาก มาก
    much เแปลว่า มาก เป็นคำกริยาวิเศษณ์   
    ส่วน very ก็เป็น Adverb ขยายคำว่า much บอกให้รู้ว่า มากแค่ไหน

เรียนรู้ กริยาวิเศษณ์ ในภาษาอังกฤษ

หน้าที่ของ Adverb ในภาษาอังกฤษ

ประเภทของคำกริยาวิเศษณ์ (Kinds of Adverb)

Simple adverb แบ่งเป็นหมวดเล็ก ๆ ได้ 6 หมวด คือ

1. Adverb of Time

คือ กริยาวิเศษณ์บอกเวลาใช้บอกการกระทำว่า “เกิดขึ้นเมื่อไหร หรือ เกิดขึ้นหรือยัง” คำกริยาวิเศษณ์ที่มักจะเจอบ่อยได้แก่

กริยาวิเศษณ์บอกเวลา (Adverb of Time)ความหมายNow /nau/ตอนนี้So far /səu faː/จนบัดนี้Yesterday /ˈjestədi/เมื่อวานToday /təˈdei/วันนี้Tomorrow /təˈmorəu/พรุ่งนี้Already /oːlˈredi/แล้วLately  /ˈleɪt.li/ไม่นานมานี้During /ˈdjuəriŋ/ในช่วงFinally  /ˈfaɪ.nəl.i/ท้ายทีสุดEarly /ˈəːli/แต่เช้าJust /dʒast/เพิ่งจะRecently  /ˈriː.sənt.li/ไม่นานมานี้Still /stil/ยังคงAfter /ˈaːftə/หลัง

ยกตัวอย่างเช่น:
I saw him yesterday. แปลว่า ฉันเห็นเขาเมื่อวาน เราจะเห็นว่าในคำถามมีคำภามเกี่ยวกับเรื่องเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และได้คำตอบคือ เมื่อวาน
I will go shopping tomorrow. แปลว่า  ฉัน จะ ไป ชอปปิ้ง พรุ่งนี้ ก็เช่นกับตัวอย่างที่หนึ่งนะคะ ในคำถามมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และได้คำตอบคือ พรุ่งนี้
I’ve already done my home work. แปลว่า  ฉันทำการบ้านของฉันแล้ว เราจะเห็นได้ว่า เรื่องเกิดขึ้นหรือยัง ตอบ เกิดแล้ว
I haven’t done my homework yet.  แปลว่า  ฉันยังไม่ได้ทำการบ้าน ของฉันแล้ว เราจะเห็นได้ว่า เรื่องเกิดขึ้นหรือยัง ตอบ ยัง

ว่ายังไงบ้างคะ ง่ายๆ เลยใช่ไหมคะกับวิธีการใช้ กริยาวิเศษณ์บอกเวลา Adverb of Time ต่อไปนี้จะเป็นวิธีการใช้งานและตัวอย่างประโยคเกี่ยวกับ Adverb of Place นะคะ

2. Adverb of Place

กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่  ใช้บอกการกระทำว่า “เกิดขึ้นที่ไหน”  คำกริยาวิเศษณ์ที่มักจะเจอบ่อยได้แก่

กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ (Adverb of Place)ความหมายHere /hiə/ที่นี่There /ðeə, ðə/ที่นั่นBehind /biˈhaind/ข้างหลังNear /niə/ใกล้Far /faː/ไกลAway /əˈwei/ห่างBack /bӕk/กลับNowhere /ˈnəuweə/ไม่มีที่ใดEverywhere /ˈev.ri.weər/ทุกที่Above /əˈbav/เหนือBelow /bəˈləu/ใต้Into /ˈintu/ไปในInside /inˈsaid/ข้างในOutside /ˈautsaid/ข้างนอกOut /aut/นอกIn /in/ใน

ยกตัวอย่างเช่น:
Please come here. แปลว่า กรุณามาที่นี่ ในนั้นคำถามคือที่ไหน ได้คำตอบคือ ที่นี่
Go there please. แปลว่ากรุณาไปที่นั่น คำถามคือ ที่ไหน ได้คำตอบ ที่นี่
Please come inside. แปลว่ากรุณา มา ข้างใน คำถามคือ ที่ไหนได้คำตอบ ข้างไน

3. Adverb of Frequency

คือกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ห่าง ใช้บอกการกระทำว่า “เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน” คำกริยาวิเศษณ์ที่มักจะเจอบ่อยได้แก่

กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ห่าง  (Adverb of Frequency)ความหมายAlways /ˈoːlweiz/เสมอUsually  /ˈjuː.ʒu.ə.li/โดยปกติOften /ˈofn/บ่อยๆNormally  /ˈnɔː.mə.li/ เป็นปกติOccasionally  /əˈkeɪ.ʒən.əl.i/เป็นบางโอกาสSometimes  /ˈsʌm.taɪmz/บางครั้งRarely  /ˈreə.li/มักจะไม่Never /ˈnevə/ไม่เคยDaily /ˈdeili/ทุกวันWeekly  /ˈwiː.kli/ทุกเดือนMonthly  /ˈmʌn.θli/ทุกเดือนYearly  /ˈjɪə.li/ทุกปี

ยกตัวอย่างเช่น:
He always runs in the morning. แปลว่า เขาวิ่งตอนเช้าเสมอ ในนั้นคำถามคือ บ่อยแค่ไหน ได้คำตอบคือ เสมอ
The bill is paid monthly. แปลว่า บิลถูกจ่ายทุกเดือน ในนั้นคำถามคือ
บ่อยแค่ไหน ได้คำตอบคือ ทุกเดือน
I sometimes read grammar books. แปลว่า บางครั้งผมอ่านหนังสือไวยากรณ์
ในนั้นคำถามคือ บ่อยแค่ไหน ได้คำตอบคือ บางครั้ง

กริยาวิเศษณ์ความถี่จะบอกเราว่าเกิดอะไรขึ้นบ่อยเพียงใด

วิธีใช้ “adverbs of frequency”

4. Adverb of Manner

คือกริยาวิเศษณ์บอกอาการ  ใช้บอกการกระทำว่า “เกิดขึ้นอย่างไร” คำกริยาวิเศษณ์ที่มักจะเจอบ่อยได้แก่

กริยาวิเศษณ์บอกอาการ (Adverb of Manner)ความหมายFast /faːst/อย่างเร็วQuickly /ˈkwɪk.li/อย่างเร็วBeautifully  /ˈbjuː.tɪ.fəl.i/อย่างสวยงาม, อย่างไพเราะCarefully  /ˈkeə.fəl.i/อย่างระมัดระวังWell /wel/อย่างดีNeatly  /ˈniːt.li/อย่างประณีตSlowly  /ˈsləʊ.li/อย่างช้Calmly  /ˈkɑːm.li/ อย่างสุขุมPolitely /pəˈlaɪt.li/อย่างสุภาพKindly /ˈkaɪnd.li/อย่างมีเมตตาBadly  /ˈbæd.li/อย่างแย่Quietly  /ˈkwaɪət.li/ อย่างเงียบๆ

ยกตัวอย่างเช่น:
He runs very  fast. แปลว่า เขาวิ่งอย่างเร็วมาก ในนั้นคำถามคือ อย่างไร ตอบ อย่างเร็ว
She sings beautifully.  แปลว่า หล่อน ร้องเพลง อย่างไพเราะ ในนั้นคำถามคืออย่างไร ตอบ อย่างไพเราะ
We speak louldly. แปลว่า พวกเรา พูด อย่างดัง ในนั้นคำถามคืออย่างไร ตอบ อย่างดัง
They cry quietly. แปลว่า พวกเขา ร้องให้  อย่างเงียบๆ ในนั้นคำถามคือ อย่างไร ตอบ อย่างเงียบ

5. Adverb of Quantity

คือ กริยาวิเศษณ์บอกปริมาณมากน้อย คำกริยาวิเศษณ์ที่มักจะเจอบ่อยได้แก่

กริยาวิเศษณ์บอกปริมาณมากน้อย (Adverb of Quantity)ความหมายMany /ˈmeni/มากมายVery /ˈveri/มากToo /tuː/เกินไปQuite /kwait/ค่อนข้างRather /ˈraːθə/ค่อนข้างNearly /ˈnɪə.li/เกือบAlmost /ˈoːlməust/เกือบEnough /iˈnaf/พอExtremely  /ɪkˈstriːm.li/อย่างยิ่งCompletely  /kəmˈpliːt.li/ อย่างสมบูรณ์

ยกตัวอย่างเช่น:
He has too much money to give me. แปลว่า เขามีเงินมากเหลือเกินที่จะให้ผม ในนั้น too เป็น Adverb ไปขยาย much จึงวางไว้หน้า much
I had almost finished my meal when he came in. แปลว่า ผมเกือบจะทานอาหารเสร็จแล้ว เมื่อเอาเข้ามาข้างใน ในนั้น almost เป็น Adverb ไปขยายกริยา finished
He walked very quickly to school yesterday. แปลว่า เขาเดินเร็วมากไปโรงเรียนเมื่อวานนี้ ในนั้น Very เป็น Adverb ไปขยายคำกิริยาวิเศษณ์ คือ Quickly

6. Adverb of Affirmation or Negation

คือ กริยาวิเศษณ์บอกการรับหรือปฏิเสธ คำกริยาวิเศษณ์ที่มักจะเจอบ่อยได้แก่

กริยาวิเศษณ์บอกการรับหรือปฏิเสธ (Adverb of Affirmation or Negation)ความหมายYes /jes/ใช่No /nəu/ไม่Not /not/ไม่not at allไม่ใช่เลยSurely   /ˈʃɔː.li/แน่นอนCertainly /ˈsɜː.tən.li/ แน่นอนPerhaps /pəˈhaps/บางทีProbably  /ˈprɒb.ə.bli/ อาจIndeed /inˈdiːd/แน่นอนDefinitely  /ˈdef.ɪ.nət.li/อย่างแน่นอนObviously /ˈɒb.vi.əs.li/เห็นได้ชัด

ยกตัวอย่างเช่น:
He did not come here. แปลว่า เขายังไม่มาที่นี่เลย
Surely you are mistaken. แปลว่า แน่นอนคุณเป็นฝ่ายผิด
Perhaps she will tell you the truth. แปลว่า บางทีหล่อนจะบอกความจริงให้คุณทราบ
It is, indeed, a hard case.แปลว่า มันเป็นเรื่องที่ยากจริงๆ

Interrogative Adverb  กริยาวิเศษณ์คำถาม

Interrogative Adverb  แบ่งเป็นหมวดเล็ก ๆ ได้ 6 หมวด คือ

1. บอกเวลา (Time) แปลว่า “กริยาวิเศษณ์ถามเวลา” หมายถึง คำกริยาวิเศษณ์ที่นำมาขยายกริยา เพื่อถามถึงเวลาว่า “นานเท่าไร” หรือ “เมื่อไร”

Interrogative Adverb กริยาวิเศษณ์ บอกเวลาความหมายWhenเมื่อไรHow longนานเท่าไรHow soonนานไหม

ยกตัวอย่างเช่น:
When will he come here again? Next Year . แปลว่า เมื่อไหร่เขาจะมาที่นี่อีก? ปีหน้า
How long have you been here? For five years . แปลว่า คุณได้มาอยู่ที่นี่นานเท่าไรแล้ว? เป็นเวลา 5 ปีแล้ว

2.  บอกสถานที่ (Place) กริยาวิเศษณ์ถามสถานที่ หมายถึง คำกริยาวิเศษณ์ที่นำมาใช้ขยายกริยา เพื่อถามสถานที่ เท่าที่ปรากฏเห็นและใช้กันบ่อยก็ได้แก่ where ที่ไหนและจะวางไว้ต้นประโยคเสมอ
ยกตัวอย่างเช่น:
Where does he live? แปลว่า เ ขาอยู่ที่ไหน?
He lives in Bangkok. แปลว่า  เขาอยู่ในกรุงเทพฯ

3. บอกจำนวน (Frequency ) กริยาวิเศษณ์ถามถึงความถี่หรือจำนวนครั้ง หมายถึงคำหรือกลุ่มคำที่ไปขยายกริยาถามถึงระยะเวลาหรือจำนวนครั้ง และตำแหน่งวางจะอยู่ต้นประโยคเสมอ ได้แก่ คำต่อไปนี้ คือ How often
ยกตัวอย่างเช่น:
How often does she come here? แปลว่า หล่อนมาที่นี่บ่อยไหม? (หมายถึงกี่ครั้ง)
How many books has he? Ten. แปลว่า เขามีหนังสือมากเท่าไร? 10 เล่ม

4. บอกกริยาอาการ (Manner) กริยาวิเศษณ์ถามถึงกริยาอาการ หมายถึงคำที่ไปขยายกริยา เพื่อถามถึงอาการของการกระทำหรือพฤติกรรมนั้น ๆ ว่า เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ได้แก่คำว่า How อย่างไร และตำแหน่งอาจจะอยู่ต้นประโยคเสมอ
ยกตัวอย่างเช่น:
How do you do this? แปลว่า คุณทำสิ่งนี้ได้อย่างไร
How does she come here? แปลว่า หล่อนมาที่นี่ได้อย่างไร

5. บอกปริมาณ (Adverb of Quantity) กริยาวิเศษณ์ถามถึงปริมาณหรือความมากน้อย หมายถึงคำหรือกลุ่มคำที่ไปขยายกิริยาในประโยค เพื่อถามถึงจำนวนหรือปริมาณของสิ่งนั้น ได้แก่คำว่า How much มากเท่าไร How far ไกลเท่าไร และก็เช่นกันตำแหน่งก็อยู่ต้นประโยคเสมอ 
ยกตัวอย่างเช่น:
How much do you pay? แปลว่า คุณจ่ายมากเท่าไร
How much is it? แปลว่า ราคาเท่าไร?

6. บอกเหตุผล (Reason)
กริยาวิเศษณ์ถามถึงเหตุผล หมายถึง คำที่ไปขยายกริยาเพื่อถามถึงเหตุผลของการกระทำอันนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ได้แก่ Why ทำไม และวิธีใช้วางไว้ต้นประโยคอีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่น:
Why do they go to Hong Kong every day? แปลว่า ทำไมพวกเขาจึงไปฮ่องกงทุก ๆ วัน?
Why doesn’t she love you? แปลว่า ทำไมหล่อนจึงไม่รักคุณ?

Conjunctive Adverb  กริยาวิเศษณ์ที่ใช้เป็นคำเชื่อม 

Conjunctive Adverb แบ่งออกเป็นชนิดย่อย ๆ ได้ 6 ชนิด คือ

1. Conjunctive Adverb of Time เป็นสันธานวิเศษณ์ บอกเวลา หมายถึงคำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยคและขยายกริยาเพื่อบอกเวลา ได้แก่ when เมื่อไร
ยกตัวอย่างเช่น: 
Can you tell me when he will arrive here? แปลว่า คุณบอกผมได้ไหมว่าเมื่อไรเขาจะมาถึงที่นี่

2. Conjunctive Adverb of Place  สันธานวิเศษณ์ บอกสถานที่ หมายถึง คำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยค และขยายกริยาเพื่อบอกสถานที่ ได้แก่คำว่า where ที่ไหน ที่ ที่
ยกตัวอย่างเช่น:
This is where is stayed last year. แปลว่า นี้คือสถานที่ที่ผมมาพักอยู่เมื่อปีกลายนี้

3. Conjunctive Adverb of Frequency สันธานวิเศษณ์ บอกความถี่ หมายถึง คำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยค และขยายกริยาเพื่อบอกความถี่หรือจำนวนครั้ง ได้แก่คำว่า How often บ่อยไหม กี่ครั้ง 
ยกตัวอย่างเช่น:
I asked him how often he had gone there. แปลว่า ผมถามเขาว่า เขาไปที่นั้นบ่อยไหม

4. Conjunctive Adverb of Manner สันธานวิเศษณ์ บอกกิริยาอาการ หมายถึงคำที่ไปทำหน้าที่ทั้งเชื่อมประโยคและขยายกริยาเพื่อบอกอาการของพฤติกรรม หรือการกระทำอันนั้น ๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ได้แก่ How อย่างไร 
ยกตัวอย่างเช่น:
My father knows how I shot the tiger แปลว่า คุณพ่อของผมรู้ดีว่า ผมยิงเสือตัวนี้ได้อย่างไร

5. Conjunctive Adverb of Reason สันธานวิเศษณ์ บอกปริมาณ หมายถึงคำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยค และขยายกริยาเพื่อบอกปริมาณมากน้อยได้แก่ คำว่า How long นานเท่าไร How far ไกลเท่าไร 
ยกตัวอย่างเช่น:
No one knows how long she will live with him. แปลว่า ไม่มีใครทราบหรอกว่า หล่อนจะอยู่กับเขานานเท่าไร

6. Conjunctive Adverb of Time สันธานวิเศษณ์ บอกเหตุผล หมายถึงคำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยคหน้าหลังให้กลมกลืนกัน และขยายกริยาในประโยค
ยกตัวอย่างเช่น:
Panya did not know why she cried. แปลว่า ปัญญาไม่ทราบเลยว่า ทำไมหล่อนจึงร้องไห้

ความผิดพลาดที่มักจะเจอบ่อยเมื่อใช้ Adverb

สับสนในการใช้ Adjective กับ Adverb วิธีการจดจำก็คือ

Adj. = Adjective  คำคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์ ใช้สำหรับขยายคำนาม
Adv. = Adverb  คำกริยาวิเศษณ์ ใช้สำหรับขยายคำกริยา หรือคำคุณศัพท์
คำ adjective ส่วนมากทำให้กลายเป็น adverb โดยการเติม –ly ต่อท้าย แต่ก็ไม่เสมอไป

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ดังนี้
[slow] (adj.) / [slowly] (adv.) ช้า / อย่างช้า

  • He is a slow walker. เขาเป็นคนเดินที่ช้า
    [slow] เป็น adj. เพราะขยาย walker (n.)
  • He’s a person who walks slowly. เขาเป็นคนเดินช้า
    [slowly] เป็น adv. เพราะขยาย walks (v.)

กลุ่มกริยาวิเศษณ์ที่มีความหมายเหมือนกัน

  1. โดยสิ้นเชิง: totally, entirely.
  2. อีกต่อไป: anymore.
  3. ค่อนข้าง: quite, rather, pretty.
  4. ดังนี้: thus
  5. เลย: at all.
  6. แทบจะไม่: seldom, hardly, rarely, barely, scarcely.
  7. ระมัดระวัง: carefully, cautiously, thoroughly, meticulously, elaborately
  8. รวดเร็วทันใจ: immediately, promptly, urgently, quickly, swiftly, rapidly.
  9. อย่างเพียงพอ: adequately, sufficiently
  10. ค่อนข้างมาก: relatively, quite
  11. มาก/ที่สุด: highly, extremely, very, really
  12. สมบูรณ์: fully (+verb), absolutely (+adj), completely (+adj), extensively (+ verb/adj)
  13. ทันใดนั้นไม่คาดคิด: dramatically, suddenly, unexpectedly
  14. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง: Especially, specifically
  15. เร็ว หรือทันที: shortly, soon, right after/before, briefly
  16. ปัจจุบัน: currently, recently, lately, already, still
  17. บ้าฃที่: occasionally, sometimes
  18. ขั้นตอนแรก: firstly, initially, primarily, originally
  19. โดยปกติ/สม่ำเสมอ: frequently, regularly, usually, often, consistently
  20. อย่างแน่นอน: surely, definitely, absolutely, by all means.

ตัวอย่างประโยค

  • Surely I will come back.แปลว่า ฉันจะกลับมาแน่นอน
  • You will win definitely. แปลว่า คุณจะต้องชนะแน่นอน
  • It’s absolutely possible. แปลว่า มันเป็นไปได้แน่นอน
  • If you want to use the telephone,by all means do. แปลว่า ถ้าคุณอยากใช้โทรศัพท์แน่นอนคุณใช้ได้

สรูปว่าอย่างไรคะคุณ ฉบับ Adverb หรือ กริยาวิเศษณ์ สมบูรณ์นี้หวังว่าจะมีประโยคต่อคุณ การจดจำ Adverb นี้ไม่ยากเลยค่ะ เราสามารถเขียนมาเป็นประโยคเพื่อจำได้ง่ายขึ้น อย่าลืมติดตามเราเพื่อแชร์กันประสบการณ์เรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

[Update] จดไปใช้! 15 คำและวลีเริ่ดๆ ช่วยพลิกโฉม Essay ธรรมดาให้ Perfect กว่าที่เคย | relatively แปลว่า – NATAVIGUIDES

            

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว

Dek-D

หลายคนคงทราบกันดีกว่าการจะเก่งภาษาอังกฤษนั้นมันไม่ง่ายเลย เพราะไม่ว่าจะฟัง พูด อ่าน หรือเขียนก็ล้วนเป็นทักษะที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ทั้งนั้น และหนึ่งทักษะสำคัญที่ได้ใช้อยู่ตลอด และเจอได้ทั้งในวัยเรียนและวัยทำงานก็คือ

“ทักษะการเขียนเรียงความ (essay)  ”

 นั่นเอง ซึ่งนอกจากหัวข้อและประเด็นใน Essay จะต้องน่าสนใจชวนให้อ่านแล้ว การใช้คำและวลีที่เหมาะสมยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความประทับใจและทำให้ผู้อ่านอ่านงานเขียนของเราไปจนจบด้วย
 

            

วันนี้

พี่ปุณ

และ

English Issues

ก็เลยมีทริคเกี่ยวกับหลักการใช้ภาษาที่จะทำให้งานเขียนธรรมดากลายเป็นงานเขียนสุดปังในพริบตาเดียว ว่าแล้วก็อย่ารอช้า มือซ้ายคว้ากระดาษ มือขวาจับปากกา แล้วมาเริ่มอัปสกิลการเขียน Essay ไปพร้อมกันค่ะ!
 

General explaining 

อธิบายให้กระจ่าง

 

            

มาเริ่มกันที่หมวดหมู่วลีที่ใช้ในการอธิบายหรือขยายความสิ่งที่พูดไว้ก่อนหน้ากันค่ะ
 

In order to

            

In order to แปลเป็นไทยได้ว่า ‘เพื่อที่จะ’ วลีนี้เราจะใช้เมื่อต้องการบอกจุดประสงค์หรือบอกว่าเราจะทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร แต่ก่อนจะใช้น้องๆ ต้องอย่าลืมว่าหลัง In order to ต้องตามด้วย Verb infinitive (=คำกริยาที่ไม่เติม s, es, ed, ing) เท่านั้นนะคะ
 

 ตัวอย่างประโยค:

In order to understand the lesson, you need to read more books from the library. 

คุณต้องอ่านหนังสือที่อยู่ในห้องสมุดมากกว่านี้เพื่อที่จะได้เข้าใจบทเรียน
 

In other words

            

In other words สามารถแปลเป็นไทยได้ว่า ‘อีกนัยหนึ่ง’ หรือ ‘พูดอีกอย่าง’ ซึ่งวลีนี้จะถูกใช้เมื่อน้องๆ ต้องการขยายความหรืออธิบายความหมายของสิ่งต่างๆ ให้เห็นภาพและให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
 

 ตัวอย่างประโยค:

Frogs are amphibians. In other words, they live on the land and in the water.

กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อีกนัยหนึ่งก็คือพวกมันอาศัยอยู่ทั้งในน้ำและบนบก
 

To put it another way

            

วลีนี้มีความหมายคล้ายกับ In other words แต่จะแตกต่างกันตรงที่ To put it another way มักจะใช้อธิบายอะไรที่มีความซับซ้อนหรือเข้าใจได้ยากกว่า และเราก็มักจะใช้มันเมื่อเห็นว่าประโยคที่ตามหลังวลีนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของประโยคก่อนหน้ามากขึ้นค่ะ
 

 ตัวอย่างประโยค:

Plants rely on photosynthesis. To put it another way, they will die without the sun.

พืชต้องการการสังเคราะห์แสง พูดอีกอย่างได้ว่าพวกมันจะตายถ้าไร้ซึ่งพระอาทิตย์
 

Adding additional information to support a point 

ซัปพอร์ตข้อมูล เสริมความหมาย

            

รู้หรือไม่? นอกจากคำว่า “And” ก็ยังมีคำเชื่อมและวลีอีกมากมายที่สามารถใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้อ่านได้เหมือนกันนะ
 

Moreover

            

Moreover เป็น adverb ที่แปลว่า ‘ยิ่งไปกว่านั้น’ เวลาใช้เราก็มักจะวางไว้หน้าประโยคเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม เสริม หรือสนับสนุนสิ่งที่กล่าวมาก่อนหน้า แค่คำสั้นๆ ก็ทำให้ essay ของเราน่าสนใจขึ้นมาได้แล้ววว
 

 ตัวอย่างประโยค:

Cycling is good exercise. Moreover, it doesn’t pollute the air. 

การปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายที่ดี ยิ่งไปกว่านั้นมันยังไม่ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศอีกด้วย
 

Furthermore

            

อีกหนึ่ง adverb ที่เราจะใช้เมื่อต้องการให้ข้อมูลเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้สิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วก็คือ Furthermore ที่แปลเป็นไทยได้ว่า ‘ยิ่งไปกว่านั้น’ หรือ ‘นอกจากนี้’ (มีความหมายคล้าย moreover เลยค่ะ)
 

 ตัวอย่างประโยค:

No worries, he is in prison. Furthermore, there is evidence to suggest that he is the one who committed the crime.

ไม่ต้องกังวล ตอนนี้เขาอยู่ในคุกแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นเรายังมีหลักฐานว่าเขาเป็นคนก่ออาชญากรรมอีกด้วย
 

Likewise

            

Likewise แปลเป็นไทยได้ว่า ‘ในทำนองเดียวกัน’ โดยคำนี้มักจะใช้ขึ้นต้นประโยคหรือวางไว้ตรงกลางเพื่อ support หรือเพิ่มความคิดเห็นที่เป็นไปในแนวทางเดียวกับสิ่งที่เพิ่งพูดไป แต่นอกจาก Likewise แล้ว ‘Similarly’ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีที่เราสามารถดึงมาใช้แทนกันได้ค่ะ
 

 ตัวอย่างประโยค:

Just water these plants twice a week, and likewise the ones in the bedroom.

ต้นไม้พวกนี้รดน้ำแค่สัปดาห์ละสองครั้งพอ ต้นที่อยู่ในห้องนอนก็เหมือนกัน
 

Another key thing to remember

            

Another key thing to remember หรือ Another key fact to remember มีความหมายว่า ‘อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้’ วลีนี้มักถูกใช้เพื่อเพิ่มข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ใจความของประโยคก่อนหน้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ คล้ายกับคำว่า also ที่แปลว่า ‘เช่นกัน/ด้วย’ เลยค่ะ เรียกว่าเป็นวลีที่หรูหราเหมาะกับการเอาไปใส่ในงานเขียนมาก!
 

 ตัวอย่างประโยค:

As a Romantic, Blake was a proponent of a closer relationship between humans and nature. Another key point to remember is that Blake was writing during the Industrial Revolution.

ในยุคโรแมนติกเบลกเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราควรรู้เกี่ยวกับเขานั่นก็คือ ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม เบลกได้ประกอบอาชีพเป็นนักเขียน
 

Words and phrases for demonstrating contrast 

แย้งให้เห็นประเด็นที่แตกต่าง

            

นอกจากประเด็นสนับสนุนแล้ว บทความที่ดีก็ต้องมีประเด็นขัดแย้งด้วยเช่นกันนะคะ แต่ถ้าจะให้มาใช้แค่ Yet และ But มันก็จะดูธรรมดาไปหน่อย ว่าแล้วไปดูดีกว่าว่าเราจะสามารถสรรหาคำหรือวลีไหนมาใช้ได้อีกกก
 

However

            

However เป็นคำเชื่อมแสดงข้อคิดเห็นหรือข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งหรือตรงข้ามกัน คำนี้สามารถวางไว้ได้ทั้งต้น กลาง และท้ายประโยค และไม่ว่าจะวางไว้ตรงไหนความหมายที่ได้จะเป็นความหมายเดียวกันแต่จะต่างกันก็ตรงที่จังหวะการพูดและการเน้นคำเท่านั้นเอง นอกจากนี้ However ที่เรารู้จักกันยังสามารถใช้ได้ 2 ความหมาย
 

  1.  หากมี comma ( , ) คั่นไว้ข้างหน้าหรือข้างหลัง However นั้นจะมีความหายว่า ‘อย่างไรก็ตาม’
  2. หากไม่มี comma ( , ) คั่น However นั้นจะแปลว่า ‘ไม่ว่า…ยังไง’ หรือ ‘ไม่ว่า…ขนาดไหน’
     

 ตัวอย่างประโยค:

I want to be a singer. However, my parents want me to be a doctor.

ฉันอย่างเป็นนักร้อง อย่างไรก็ตามพ่อแม่อยากให้ฉันเป็นหมอ
 

However full I am, I still want to eat more cakes.

ไม่ว่าฉันจะอิ่มขนาดไหน ฉันก็ยังอยากกินเค้กเพิ่มอีก
 

By contrast/in comparison

            

เราจะใช้ By contrast เมื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งและใช้ In comparison เมื่อต้องการเปรียบเทียบระหว่างสองข้อความ โดยทั้งสองคำนี้จะต้องมี comma ( , ) มาคั่นเมื่อใช้ขึ้นต้นประโยค แต่หากจะวางไว้กลางประโยคน้องๆ ก็ต้องอย่าลืมหา preposition หรือคำบุพบทมาช่วยแล้วตามด้วยคำนาม ซึ่ง By contrast จะเปลี่ยนเป็น In contrast แล้วใช้กับ to ส่วน In comparison จะใช้ได้กับทั้ง to และ with เลยค่ะ
 

 ตัวอย่างประโยค:

Jane’s opinion is based on insufficient evidence. By contrast, Ann’s seems more plausible.

ข้อวินิจฉัยของเจนไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ ขณะที่ข้อวินิจฉัยของแอนดูเป็นไปได้มากกว่า
 

France is relatively rich, in comparison to other European countries.

ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ค่อนข้างรวยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป
 

Despite/In spite of

            

Despite และ In spite of เป็น preposition หรือคำบุพบทที่มีความหมายว่า “ทั้งๆ ที่” โดยมักใช้เชื่อมข้อความใดๆ ก็ตามที่ขัดแย้งกัน แต่กฎเหล็กข้อสำคัญคือสองคำนี้ต้องตามด้วยคำนามหรือนามวลีเท่านั้นนะคะ
 

 ตัวอย่างประโยค:

Despite knowing Bangkok very well, Tim gets lost every time he travels alone.

ทิมหลงทางทุกครั้งที่ไปเที่ยวคนเดียว ทั้งๆ ที่เขาก็รู้จักกรุงเทพฯ เป็นอย่างดี
 

Giving examples 

ตัวอย่างต้องมี essay ที่ดีต้องเคลียร์!

            

Essay ที่ดีจะต้องมีการยกตัวอย่างมาสนับสนุนประเด็นต่างๆ ที่ได้ยกขึ้นมาเสมอ แต่ถ้าจะให้ใช้แค่คำว่า ‘for example’ มันก็ดูจะซ้ำและจำเจไป ลองเปลี่ยนมาใช้คำเหล่านี้กันดีกว่า
 

For instance

            

For instance มีความหมายและวิธีใช้เหมือนกับคำว่า for example เป๊ะ! จะต่างกันก็ตรงที่ในงานเขียนวิชาการ for example มักจะไปปรากฏให้เห็นได้บ่อยกว่าเท่านั้นเอง และอีกหนึ่งความพิเศษที่หลายคนอาจยังไม่รู้ก็คือทั้งสองคำนี้สามารถวางไว้ได้ทั้งต้น กลาง และท้ายประโยค เลือกใช้ได้ตามใจชอบเลยค่ะ
 

 ตัวอย่างประโยค:

It was obvious that her memory was failing. For instance, she would often forget where she put her car keys.

เห็นได้ชัดว่าระบบความจำของเธอกำลังมีปัญหา ดูได้จากที่เธอมักจะลืมว่าเธอเก็บกุญแจรถไว้ที่ไหน
 

To give an illustration

            

To give an illustration สามารถแปลตรงตัวเป็นภาษาไทยได้ว่า ‘เพื่อที่จะทำให้เห็นภาพ’ ซึ่งการทำให้เห็นภาพก็คือการยกตัวอย่างมาประกอบข้อความนั่นเอง
 

 ตัวอย่างประโยค:

To give an illustration of what I mean, let’s look at the case of the conflicts in the First World War.

เพื่อที่จะให้เห็นภาพว่าฉันกำลังพูดถึงอะไร เราไปดูกรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกัน
 

Signifying importance

เน้นประเด็นให้เห็นความสำคัญ

            

การจะเน้นหรือแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าข้อความส่วนไหนใน essay ของเรานั้นสำคัญอาจไม่ต้องบอกตรงๆ ว่า This is important. แต่ใช้ adverb ที่มีความหมายว่า ‘สำคัญ/จำเป็น’ ช่วยบอกก็ได้นะ ทั้งฟังดูลื่นไหลและไม่โจ่งแจ้งเกินไปด้วย
 

Significantly

            

Significantly แปลว่า ‘อย่างสำคัญ/จำเป็น’ มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า Notably, Importantly และ Necessarily ทั้งหมดเป็น adverb ที่ใช้เพื่อนำเสนอว่าข้อความต่อไปนี้มีประเด็นสำคัญที่ผู้อ่านอาจไม่รับรู้มาก่อนซ่อนอยู่! 
 

 ตัวอย่างประโยค:

She moved herself to the opposite bench and let her gaze drop significantly to the cup in his hand.

เธอย้ายตัวเองไปอยู่ที่ม้านั่งฝั่งตรงข้ามและจ้องมองแก้วในมือของชายหนุ่มอย่างมีนัยยะสำคัญ
 

Summarising 

สรุปครบจบบทความ

            

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด! ก่อนจะจบ essay ก็ต้องทิ้งท้ายด้วยการสรุปเนื้อหาข้างต้นเพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสนกันสักหน่อย เนื้อหาว่าสำคัญแล้ว คำหรือสำนวนที่ทำให้รู้ว่านี่คือตอนจบก็สำคัญเช่นกันค่ะ
 

In conclusion

            

ถ้าเจอคำนี้เมื่อไหร่ให้รู้ไว้เลยว่าบทความนั้นใกล้จะจบแล้ววว เพราะ In conclusion แปลว่า ‘โดยสรุปแล้ว’ ซึ่งส่วนใหญ่คำนี้จะถูกนำมาใช้ในย่อหน้าสรุปหรือย่อหน้าสุดท้ายเพื่อสรุปประเด็นสำคัญและภาพรวมทั้งหมดของบทความ แต่นอกจาก In conclusion แล้วก็ยังวลีอีกมากมากมายที่คนนิยมนำมาใช้ในการสรุป เช่น To conclude, To sum up, To summarize, To wrap it all up, etc. จะคำไหนก็มีความหมายคล้ายและสามารถใช้แทนกันได้หมดเลยค่ะ
 

 ตัวอย่างประโยค:

In conclusion, three things that you can’t recover in life are the word after it’s said, the moment after it’s missed, and the time after it’s gone.

โดยสรุปแล้ว 3 สิ่งในชีวิตที่เราไม่สามารถเอากลับมาได้คือคำพูดที่ได้พูดไปแล้ว โอกาสที่ได้เสียไปแล้ว และเวลาที่ได้ผ่านไปแล้ว
 

Above all

            

Above all เป็น idiom มีความหมายว่า ‘เหนือสิ่งอื่นใด’ หรือ ‘สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ’ การใช้สำนวนนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพว่าข้อความหรือส่วนไหนในบทความคือส่วนที่สำคัญและน่าจับตามองมากที่สุด
 

 ตัวอย่างประโยค:

Above all, you should know that leadership has its costs.

เหนือสิ่งอื่นใดคุณต้องรู้ว่าการเป็นผู้นำต้องกล้าได้กล้าเสีย 
 

        

            

และนี่ก็คือ 15 คำ สำนวน และวลีที่จะช่วยอัปเกรดงานเขียนของน้องๆ ให้ดูดี น่าสนใจ และไม่น่าเบื่ออีกต่อไป น้องคนไหนอยากพัฒนาสกิลการเขียนก็อย่าลืมจดจำและนำคำเหล่านี้ไปใช้กันนะคะ^^
 

 Sources:


Pronouns : ep 8 Relative pronouns สรรพนามเชื่อมประโยค


จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
ติดตาม Facebook และ Instagram : The Happy Time with Q
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

Pronouns : ep 8 Relative pronouns สรรพนามเชื่อมประโยค

วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ม.6 เรื่อง Relative Clause


สำหรับนักเรียนชั้น ป.5 ม.6 ทุกคนที่ต้องการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์
นักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบได้จาก เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของเรา
Web: https://nockacademy.com/learn/
iOS: https://apple.co/2SKdksn
Android: http://bit.ly/2REzb7w
●สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่สนใจ●
http://nockacademy.com
●สำหรับโรงเรียนใดที่สนใจ●
https://nockacademy.com/forschool/

วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ม.6 เรื่อง Relative Clause

Phrases คือ วลี มี 5 ประเภท คืออะไรบ้าง


Phrase คือ วลี กลุ่มคำที่ประกอบด้วยคำต่างๆมาเรียงกัน เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มขึ้นในประโยคนั้นๆ
Phrase มี 5 ประเภท คือ
1. Noun Phrase : กลุ่มคำที่มีคำนาม หรือ คำสรรพนาม เป็นหลัก
2. Verb Phrase : กลุ่มคำที่มีคำกริยาเป็นหลัก อาจจะมีการใช้ กริยาช่วย หรือพวก Tense ต่างๆ
3. Adjective Phrase : กลุ่มคำที่คำคุณศัพท์เป็นหลัก โดยอาจจะมีคำขยายอื่นๆ มาช่วยเสริม
4. Prepositional Phrase : กลุ่มคำที่คำบุพบทเป็นหลัก โดยมาก จะเป็น Prep + Noun Phrase
5. Adverb Phrase : กลุ่มคำที่คำกริยาวิเศษณ์เป็นหลัก โดยอาจจะมีคำขยายอื่นๆ มาช่วยเสริม
จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
ติดตาม Facebook และ Instagram : The Happy Time with Q
หากผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัยมานะที่นี้ด้วยค่ะ 😀

Phrases คือ วลี มี 5 ประเภท คืออะไรบ้าง

Thailand in Crisis – 5 – Warr, Leigh \u0026 Walker: Economics แปลเป็นภาษาไทย


Professor Peter Warr discusses how economics has impacted Thailand and on perceptions of the Thai government while Professor Andrew Leigh talks about development economics in the fifth Thailand in Crisis vodcast. Host Nicholas Farrelly is also joined by regular Dr Andrew Walker to talk about financial lending to Thailand’s agricultural sector.\r
\r
Thailand in Crisis is a series of six vod and podcasts from The Australian National University’s College of Asia and the Pacific. All the previous episodes are available at ANUchannel on YouTube or at the College website as podcasts. The next, and final in the series, will be available on Friday 2 July.\r
\r
The Thailand in Crisis team welcome your comments and questions at ANUchannel on YouTube or you can join in the ongoing conversation at the University’s New Mandala website: http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala

Thailand in Crisis - 5 - Warr, Leigh \u0026 Walker: Economics แปลเป็นภาษาไทย

Relative Clause เรื่องสำคัญใน #ภาษาอังกฤษ


ตามไปเรียนภาษาอังกฤษกับครูหวานต่อที่
Facebook: https://www.facebook.com/kruwhanenglishonair
Instagram: https://www.instagram.com/english_kruwhan

Relative Clause เรื่องสำคัญใน #ภาษาอังกฤษ

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ relatively แปลว่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *