Skip to content
Home » [NEW] 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 1) | คํา อ่าน ยาก ใน ภาษา ไทย – NATAVIGUIDES

[NEW] 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 1) | คํา อ่าน ยาก ใน ภาษา ไทย – NATAVIGUIDES

คํา อ่าน ยาก ใน ภาษา ไทย: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

          สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com…. สมัยพี่มิ้นท์เรียนในมหาวิทยาลัย มีวิชาที่เกี่ยวกับการเขียน อาจารย์จะเน้นเรื่องการสะกดคำบ่อยมากๆ บ่อยถึงขนาดที่ว่าให้ นศ.ไปอ่านข่าวหรือนิตยสารแล้วให้หาคำผิด ไม่ว่าจะสะกดผิด วรรณยุกต์ผิด มาส่งสัปดาห์ละ 1 งาน(ฝึกจับผิด+ฝึกการอ่านสุดๆ) หลังจากนั้นมาเหมือนคนบ้าเลย เห็นใครเขียนผิดหน่อยก็จะรู้สึกขัดตา โดยเฉพาะคำที่ใช้บ่อยและผิดบ่อยที่สุดอย่าง “นะคะ” ที่หลายคนเขียนกันว่า “นะค่ะ”

           นอกจากคำว่า “นะคะ” แล้ว ยังมีคำอีกเป็นร้อยๆ ที่คนไทยมักเขียนผิดโดยไม่รู้ตัว วันนี้พี่มิ้นท์เลยรวบรวมคำที่เขียนผิดบ่อยๆ มาให้น้องๆ ดูกันในช่วงปิดเทอมนี้แหละ เผื่อมีเวลาว่างจะได้นำไปทบทวนกันค่ะ ทั้งหมด 50 คำ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยยยย

      1) กะเทย VS กระเทย
         
คำที่ถูก >> กะเทย
          คำที่ผิด >> กระเทย
          คำคำนี้เจอได้บ่อยค่ะ แต่จะมีกี่คนที่เขียนถูก ท่องให้ขึ้นใจเลยนะคะ คำนี้ ไม่มี “ร” จ้า

      2) โควตา VS โควต้า
          คำที่ถูก >> โควตา
          คำที่ผิด >>โควต้า
          ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ค่ะ ดังนั้น Quota จึงเขียนได้ว่าโควตา ไม่ต้องเติมไม้โทให้คำว่า “ตา” นะ

      3) ต่างๆ นานา VS ต่างๆ นาๆ
          คำที่ถูก >> ต่างๆ นานา
          คำที่ผิด >> ต่างๆ นาๆ
         โดยปกติคำซ้ำจะเติมเครื่องหมายไม้ยมกไว้ด้านหลังคำที่ต้องการซ้ำ ยกเว้นคำว่า “นานา” “จะจะ” ที่ไม่ต้องซ้ำนะ เขียนแบบเดิมสองครั้งได้เลย

      4) ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ถูก >> ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ผิด >>  ผลัดวันประกันพรุ่ง
          ข้อนี้ออกข้อสอบบ่อยค่ะ พี่มิ้นท์คอนเฟิร์ม ผัดวันประกันพรุ่งไม่ต้องมี “ล” นะคะ “ผลัด” แบบนี้ใช้สำหรับ “ผลัดผ้า” ค่ะ

       5) ผาสุข VS ผาสุก
          คำที่ถูก >> ผาสุก
          คำที่ผิด >> ผาสุข    
          เชื่อว่าหลายคนไปโยงกับความหมายความสุข ก็เลยใช้ “ข” สะกด แต่จริงๆ แล้วใช้ “ก” สะกดค่ะ

       6) พะแนง VS พแนง
          คำที่ถูก >> พะแนง
          คำที่ผิด >> พแนง
          พะแนง อาหารโปรดของใครหลายคน คำๆ นี้ น้องๆ สะกดได้ตรงตัวเลย เขียนง่ายๆ ว่า “พะแนง”

        7) อย่าร้าง VS หย่าร้าง
          คำที่ถูก >> หย่าร้าง
          คำที่ผิด >> อย่าร้าง
          คำว่า “หย่า” กับ “อย่า” ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างๆ กันค่ะ “อย่า” เป็นคำช่วยกริยาที่บอกห้ามหรือไม่ให้ทำสิ่งใดๆ ส่วน “หย่า” หมายถึง การเลิกเป็นสามีภรรยากัน เขียนให้ถูกกันนะจะได้ไม่งงความหมาย

        8) มัคคุเทศน์ VS มัคคุเทศก์
            คำที่ถูก >> มัคคุเทศก์
            คำที่ผิด >> มัคคุเทศน์
            มัคคุเทศก์ ก็คือผู้นำเที่ยวหรือไกด์นั่นเอง ไม่ใช่พระที่จะต้องไปนั่งเทศน์ ดังนั้น “เทศ..”  ใช้ “ก์” นะคะ จำง่ายๆ แค่นี้^^

         9) กงเกวียนกำเกวียน VS กงกำกงเกวียน
            คำที่ถูก >> กงเกวียนกำเกวียน
            คำที่ผิด >> กงกำกงเกวียน
            คำนี้เป็นสำนวน หลายคนติดใช้ กงกำกงเกวียนหรือกงกรรมกงเกวียน แต่ที่ถูกต้องคือ “กงเกวียนกำเกวียน” นะคะ เพราะทั้ง กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน โดยคำนี้มีความหมายว่า กรรมตามสนองค่ะ

        10) กังวาล VS กังวาน
             คำที่ถูก >> กังวาน
             คำที่ผิด >> กังวาล
             กังวาน หมายถึง เสียงที่ก้องอยู่ได้นาน กังวาน เป็นอีกคำที่สะกดด้วย “น” ได้เลย ไม่ต้องไปสะกดแบบอื่นให้มันยากกว่าเดิม

        11) อนุญาติ VS อนุญาต
              คำที่ถูก >> อนุญาต
              คำที่ผิด >> อนุญาติ
              พี่เกียรติเคยอธิบายการจำวิธีเขียนคำนี้ไว้ในบทความ รวมเด็ด! วิธีจำคำไทย จากจำยากเป็นจำแม่น! ไว้ว่า ให้ท่องไว้ว่า อนุญาต ไม่ใช่ “ญาติ” ตัวเล็กๆ (อนุ แปลว่า น้อย,เล็ก) ดังนั้นแค่ท่องประโยคนี้ก็เตือนสติเวลาเขียนได้แล้วค่ะ

         12) ขี้เกียจ VS ขี้เกลียด
               คำที่ถูก >> ขี้เกียจ
               คำที่ผิด >> ขี้เกลียด
               น้องๆ คงไม่มีปัญหากับคำว่า เกลียด เพราะจำได้ไม่ยาก ซึ่งคำว่าเกลียดจะหมายถึง ไม่ชอบ, ชัง คำนี้ยังมีความหมายเหมือนกับ “รังเกียจ” อีกด้วย ดูจากวิธีเขียนของคำสองคำก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นเมื่อเจอ “ขี้เกียจ” อีกคำนึง น้องๆ อาจจะสับสน มองว่ามาจากคำว่า ขี้+เกลียด หรือเปล่า จึงจำผิดมาโดยตลอด ขอให้จำใหม่นะคะ ขี้เกียจ ไม่ต้องควบกล้ำและใช้ “จ” สะกดค่ะ

         13) ศรีษะ VS ศีรษะ
              คำที่ถูก >> ศีรษะ
              คำที่ผิด >> ศรีษะ
             การสะกดคำนี้มีปัญหาเพียงอย่างเดียวคือการเติมสระอี ที่มักวางผิดตำแหน่งไปวางตรง “ร” ขอให้น้องๆ จำให้ขึ้นใจว่าหัวเป็นของสูง และเราก็มักจะใส่หมวกที่หัว ดังนั้น “ศ” หัวของตัวอักษรอยู่สูงกว่า “ร” จึงต้องเอาสระอีไปวางไว้ที่ “ศ” ค่ะ

        14) ผัดไทย VS ผัดไท
             คำที่ถูก >> ผัดไทย
             คำที่ผิด >> ผัดไท
            คำนี้มีวิธีการจำง่ายๆ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานบอกไว้ก็คือ คำว่า “ไทย” ในผัดไทย เขียนเหมือนคนไทย นั่นเอง (ก็มันอาหารของคนไทยนี่)

        15) อานิสงส์ VS อานิสงฆ์
             คำที่ถูก >> อานิสงส์
             คำที่ผิด >> อานิสงฆ์
             คำสองคำนี้ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกัน คือ เป็นเรื่องของศาสนา น้องๆ จึงอาจโยงความหมายและการสะกดคำเข้าด้วยกัน ซึ่งความจริงแล้ว อานิสงส์ มีความหมายในตัว คือ ผลแห่งกุศลกรรม ซึ่งเป็นคำบาลี(อานิสํส) ไม่ใช่ พระสงฆ์ ดังนั้นจึงใช้ “ส์”

        16) ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา
             คำที่ถูก >> ใบกะเพรา
             คำที่ผิด >> ใบกระเพรา
            ร้านอาหารตามสั่งส่วนมากเขียนคำนี้ผิดค่ะ การเขียนที่ถูกต้องจริงๆ มี “ร” เพียงแค่ที่เดียว คือ “เพา” ส่วน “กะ” ไม่ต้องนะคะ
             ซึ่งคำนี้จะสลับกับคำว่า กระเพาะ(อาหาร) ที่มี “ร” ในคำว่า “กระ” ส่วน “เพาะ” ไม่มี

        17) ข้าวเหนียวมูน VS ข้าวเหนียวมูล
             คำที่ถูก >> ข้าวเหนียวมูน
             คำที่ผิด >> ข้าวเหนียวมูล
             พูดถึงคำนี้ ดูไม่น่าจะมีคนเขียนผิดนะ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนเขียนผิดเยอะมาก เพราะชินกับคำว่า “มูล” โดยหารู้ไม่ว่าคำว่ามูล หมายถึง ราก หรือเศษสิ่งของต่างๆ รวมไปถึงอุจจาระ ซึ่ง…เอามารวมกับสิ่งที่เป็นของกิน ถึงจะเป็นแค่ชื่อก็ไม่ไหวนะคะ ใครจะกล้ากินล่ะเนี่ย
              ส่วน “มูน” ในที่นี้หมายถึง การเอากะทิมาคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้เกิดความมันนั่นเอง

        18) คลินิก VS คลีนิก VS คลินิค
              คำที่ถูก >> คลินิก
              คำที่ผิด >> คลีนิก/ คลินิค
              คำนี้เขียนกันหลากหลายรูปแบบเลย ทั้ง คลินิก/ คลีนิก/ คลีนิค/ คลินิค แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เป็นเสียงสั้นใช้สระอิ และใช้ “ก” สะกดจ้า 

       

        19) อุบาทว์ VS อุบาท VS อุบาต
              คำที่ถูก >> อุบาทว์
              คำที่ผิด >> อุบาท
             คำที่ออกเสียงว่า “บาด” ในภาษาไทยมีหลายคำทีเดียวค่ะ เช่น บาท=เท้า, บาตร=บาตรใส่อาหารของพระ, บาด=ของมีคมบาดจนเป็นแผล, บาต=อุกกาบาต รวมถึงคำว่าอุบาทว์ ซึ่งก็เขียนต่างจาก “บาด” คำอื่นๆ โดยจะต้องมี “ว์” ตามหลัง “ท” เสมอค่ะ
             

        20) คัดสรร VS คัดสรรค์
             คำที่ถูก >> คัดสรร
             คำที่ผิด >> คัดสรรค์
             ตระกูลคำที่ออกเสียงว่า “สัน” ในภาษาไทยก็มีหลายคำเหมือนกัน วิธีเขียนก็มีทั้งที่เป็น ร หัน ( -รร) และเขียนโดยใช้ไม้หันอากาศ ในส่วนที่ใช้ ร หัน (-รร) ก็ยิ่งสับสนงงงวยไปอีก เมื่อบางคำก็มีตัวการันต์ บางคำก็ไม่มีตัวการันต์ จากตัวอย่างคำว่า “คัด-สัน” ที่ยกมานี้ก็เป็นอีกคำที่เขียนผิดบ่อยสุดๆ ท่องกันให้ขึ้นใจเลยนะคะ “คัดสรร” ไม่ต้องมีตัว “ค์” จ้า เพราะคำว่า “สรร” หมายถึง การเลือก, การคัด อยู่แล้ว และคำนี้ก็เป็นคำซ้อนที่เอาความหมายเหมือนกันมาซ้อนคำกันนั่นเอง

        21) สังสรรค์ VS สังสรร
             คำที่ถูก >> สังสรรค์
             คำที่ผิด >> สังสรร
             อีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับคำตระกูล “สัน” แต่สำหรับคำว่า สังสรรค์ จะต้องตามด้วย “ค์” เสมอ

        22) โคตร VS โครต
              คำที่ถูก >> โคตร
              คำที่ผิด >> โครต
              ทั้ง 2 คำอ่านว่า “โคด” เหมือนกัน แต่ถ้าสังเกตการออกเสียงดีๆ จะรู้ว่าคำนี้ไม่มีควบกล้ำ ดังนั้นวิธีเขียนที่ถูกต้องคือ เอา “ร” ไว้หลังสุด คือ โคตร (บางทีอ่านเล่นๆ กันว่า โค-ตะ-ระ นั่นเอง)

        23) จลาจล VS จราจล
              คำที่ถูก >> จลาจล
              คำที่ผิด >> จราจล
              สมัยเด็กๆ สับสนคำนี้กันหลายคน เพราะหน้าตามันละม้ายคล้ายกับคำว่า “จราจร” วิธีจำให้เขียนถูกง่ายนิดเดียว คำว่า “จราจร” ใช้ “ร” ทั้งสองตัว ส่วน “จลาจล” ก็ใช้ “ล” ทั้งสองตัวเช่นเดียวกันค่ะ

        24) น้ำมันก๊าซ VS น้ำมันก๊าด
              คำที่ถูก >> น้ำมันก๊าด
              คำที่ผิด >> น้ำมันก๊าซ
             น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ในสมัยก่อนใช้จุดให้แสงสว่างในตะเกียงและยังสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ได้ด้วย วิธีเขียนอาจไม่คุ้นชิน แต่ให้จำเอาไว้ว่าเขียนให้ง่ายๆ ตามแบบคนไทยใช้ “ด” สะกดไปเลยค่ะ
            ส่วนที่เราใช้ผิดบ่อยๆ ว่า “น้ำมันก๊าซ” นั้นน่าจะติดมาจากคำว่า “ก๊าซ” หรือ “แก๊ส” ที่มาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษว่า gas นั่นเอง

        25) เครื่องหมายดอกจัน VS เครื่องหมายดอกจันทร์ VS ดอกจันทน์
           คำที่ถูก >> เครื่องหมายดอกจัน
           คำที่ผิด >> เครื่องหมายดอกจันทร์/ เครื่องหมายดอกจันทน์
           เป็นอีกคำที่ใช้ผิดบ่อยจริงๆ ค่ะ แล้วก็โผล่อยู่ในข้อสอบเกือบทุกโรงเรียน ฮ่าๆ ตระกูลคำว่า “จัน” ทั้ง จันทร์, จันทน์, จัน ใช้สับสนกันไปหมด ซึ่งการเขียนที่ถูกต้องจริงๆ ของกลุ่มนี้คำนี้ มีดังนี้
              จัน = ใช้กับคำว่าเครื่องหมายดอกจัน
              จันทร์ = วันจันทร์
              จันทน์ = ดอกไม้จันทน์, ดอกจันทน์(ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ)
             ดังนั้น สรุปว่า เครื่องหมายดอกจัน ไม่ต้องมีตัวการันต์ทั้งสิ้นค่ะ

         กว่าจะครบ 25 คำเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ อาทิตย์หน้าพี่มิ้นท์ยังมีอีก 25 คำที่พวกเราเขียนผิดกันอยู่บ่อยๆ รับรองว่าเห็นแล้วมีตะลึงแน่นอน
         ส่วนสัปดาห์นี้ฝากน้องๆดูทั้ง 25 คำ แล้วจำให้แม่น จะได้ไม่ใช้แบบผิดๆ กันอีก 🙂 เราคนไทยต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนะคะ

                 มาแล้ว!! 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 2)  
          

เด็กดีดอทคอม :: ว้าว!! เครื่องตรวจจับรอยยิ้ม...แบบนี้ก็มีด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก
พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542

  บทความอื่นๆ ในหมวดเคล็ดลับการเรียน

[Update] พจนานุกรม ยาก คือ แปลภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความหมาย Dictionary แปลว่า คำแปล | คํา อ่าน ยาก ใน ภาษา ไทย – NATAVIGUIDES

The player will be placed here

  • ยาก

    [adj. vi.] hard, difficult (sum) = ยากเย็น

    คำตรงข้าม (Antonym) ง่าย

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ อ. สอ เสถบุตรพจนานุกรม ไทย-อังกฤษ อ. สอ เสถบุตร


Quang Hùng MasterD – Dễ Đến Dễ Đi (4D) / OFFICIAL MUSIC VIDEO


Quang Hùng MasterD Dễ Đến Dễ Đi (4D) / OFFICIAL MUSIC VIDEO
QuangHungMasterD DeDenDeDi OfficialMV

🎵NhacCuaTui: https://bit.ly/37n1gHa​
🎵Spotify: https://spoti.fi/3pw92Ew
(Thai ver: https://spoti.fi/3duudVv)
🎵Itunes: https://apple.co/2OOIPVi​
🎵Apple Music: https://apple.co/2LZDvx9​
🎵Zing MP3: https://zingmp3.vn/baihat/DeDenDe…​ (Lofi ver.)
Using audio on Tiktok:
1: https://vt.tiktok.com/ZSJ1N7bqJ/
2: https://vt.tiktok.com/ZSJJDdRdv/

Executive Producer: DO NGUYEN PHUC
Executive Supervisor: KIM NGAN
Composer: Quang Hung MasterD
Lyrics: Drum7
Music Producer: Quang Hung MasterD
Mix \u0026 Master: Quang HungMasterD
Beat: MasterD, Drum7
Artist: Quang Hung MasterD
Main Actress: Phi Linh
MV Production: JYK World
Producer: Do Thuc Nhan
Director: Ji Park
D.O.P: Toxu
CamOP: LaChiBu
Focus: Ta Toan Thang
Flycam: Nguyen Tuan Hoang
Talent Manager: Kim Ngan
Visual Manager: Huy Minh
Photographer: Nguyen Truong
Styling: Huy Minh, Kim Ngan
Makeup Hair Artist: Huy Phat
BTS: Niz
Assistant: Trung Hieu
Graphic Designer: Tran Toan Hau
Chân thành cảm ơn các đối tác âm nhạc: POPS WORLDWIDE, SKYMUSIC, TIKTOK cùng các đơn vị bảo trợ truyền thông đã đồng hanh: BH MEDIA, DAO Entertainment, ManTV, Nắng Music.
Lyrics:
Vài câu hứa em nói sẽ chẳng bao giờ xa anh
Từ đầu môi mềm thắm say đắm cho ai mơ màng
Cứ ngỡ bên nhau , nồng ấm bao lâu , dịu dàng em khẽ trao
Vậy tại sao em gieo vào tim này xót xa
Chỉ vì thứ tha bao lâu anh cứ như người thứ ba
Đừng nhìn anh đôi mắt cất giấu ở phía sau
Những lừa dối đã bấy lâu em ơi
Vội vàng em đến, đến rồi đi, để làm chi, để rồi gieo vấn vương trong lòng anh , bao sầu bi , khi biệt ly, hoen bờ mi đứng trông người đi
Nhìn em quay bước theo ai nơi hoàng hôn khuất bóng đêm phai
Phủ lâu nay vắng bóng hình ai, anh ngồi đây , ly rượu say đắng hơi men nào cay , mưa phùn bay..
Ai còn thương , ai còn vương vấn phương trời mây
Tình trao như gió heo may , câu thề xưa vỡ trong chiều mưa
Có lẽ giờ e đã quên rồi , bao nhung nhớ phôi phai trôi dần theo những ngày tháng mình anh ngồi
Ôm đau giữa mây trời
Tình đời a quá chịu nhiều gió sương
Một lòng thương nhớ còn đầy vấn vương
Trong tim a là đắng cay
Trên tay a là trắng tay
Thuyền mãi rời xa bờ chốn đây , lòng nào dám mơ , tình này có em lâu dài
Ừ là vì a đã dại khờ ngu ngơ
Để giờ người quay bước vội vàng thờ ơ

Welcome to Quang Hùng MasterD Channel
▶ CLICK TO SUBSCRIBE: http://popsww.com/quanghungmasterd
————————————
▶ More information \u0026 connect with MasterD:
Facebook: https://www.facebook.com/Phonephonnnnn
Fanpage: https://www.facebook.com/quanghungmasterd/
Instagram: https://instagram.com/quanghung.masterd
Instagram Management: https://instagram.com/masterd.mgm
VLive Channel: https://vlive.tv/channel/A74AFD
Tik Tok: https://vt.tiktok.com/ZSCTHBFT/
Twitter: https://twitter.com/qh_masterd

© Bản quyền thuộc về Quang Hùng MasterD
© Copyright by Quang Hùng MasterD ☞ Do not Reup

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

Quang Hùng MasterD - Dễ Đến Dễ Đi (4D) / OFFICIAL MUSIC VIDEO

ฝึกออกเสียงคำที่พูดยากในภาษาดัตช์ #1


นี้จะเป็นคำศัพท์ที่คนไทยมักออกเสียงไม่ถูกต้อง ในวิดีโอนี้จะไม่มีคำอ่านกำกับเพราะไม่อยากให้จำคำอ่านเป็นภาษาไทยมันจะทำให้จำผิดผิด
ขอให้สนุกกับการเรียนนะคะ
ภาษาดัตช์ขั้นพื้นฐาน คนไทยในต่างแดน LaongdowNetherlands

ฝึกออกเสียงคำที่พูดยากในภาษาดัตช์ #1

ฝึกอ่านคำยาก ๙


ฝึกอ่านคำยาก ๙

ฝึกอ่านคำยาก ๑


ฝึกอ่านคำยาก ๑

\”กล้วยอบเนยโรยเกลือ\” กับประโยคอื่นที่พูดยากพอกัน 18+ [แอลลองเอง]


วันวาเลนไทน์ คนไม่มีคู่ไม่รู้จะไปไหน ก็มาดูแอลเองกันนะ
คลิปนี้จะมาลองออกเสียงประโยคพูดยาก ที่ออกเสียงแล้ว ลิ้นพันกัน
ใครจะลองไปพูดออกเสียงดูก็ได้นะ
กล้วยอบเนยโรยเกลือ
ยายกินลำไยน้ำลายยายไหลย้อย
ยายมอยขายหมี ยายมีขายหอย หมียายมอยแหย่หอยยายมี หอยยายมีกัดหมียายมอย
เช้าฟาดผัดฟัก เย็นฟาดฟักผัก
หมึกหกเลอะมุ้ง มุ้งเลอะหมึกหมด
หูฉลามสยามรูจ
งูกินหนูจนงูงงงวย
อาเฮียหลีพาอาหลีเฮียไปดูผี
ยกหีบหนี ยกหนีหีบ
น้ำมันหอยตาหมี น้ำมันหมีตาหอย
หมอมีติดหอย หมอน้อยติดหมี จิ้มหมอสองสามที ติดทั้งหมี ติดทั้งหอย
แอลเอง ประโยคลิ้นพัน ประโยคพูดยาก

\

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ คํา อ่าน ยาก ใน ภาษา ไทย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *