Skip to content
Home » [NEW] 20 อัลบั้มเพลงไทยระดับคุณภาพที่ถูกคนหลงลืมมากที่สุด | เพลง ที่ ดี ที่สุด – NATAVIGUIDES

[NEW] 20 อัลบั้มเพลงไทยระดับคุณภาพที่ถูกคนหลงลืมมากที่สุด | เพลง ที่ ดี ที่สุด – NATAVIGUIDES

เพลง ที่ ดี ที่สุด: คุณกำลังดูกระทู้

    ในแวดวงเพลงไทยมีงานเพลงออกมามากมาย คุณอาจได้ฟังวงนี้ ไม่เคยฟังวงนั้น รู้จักเพลงนี้ ไม่รู้จักเพลงนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เพราะในปีหนึ่งๆ มีเพลงเกิดขึ้นมหาศาล การโปรโมตอาจมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เพลงเป็นที่รู้จัก ในอัลบั้มหนึ่งจะมีเพลงที่ได้รับการโปรโมตไม่กี่เพลง ทำให้เพลงดีๆ ที่ไม่ถูกโปรโมตอาจจะถูกหลงลืมไปได้ไม่ยาก

    บางทีมันก็ยากที่จะติดตามฟังเพลงดีๆ ได้หมด มันต้องมีหลงหูหลงตาไปบ้างแหละ บางอัลบั้มเราเคยเห็นมาตลอด แต่ไม่เคยฟังเพลงข้างในเลย กว่าจะมาพบว่าเพลงในอัลบั้มนี้ดีมากๆ ก็ผ่านเวลาไปแล้วหลายปี สมัยนี้ยังดีกว่าสมัยก่อนตรงที่ยังพอมีการลองฟังออนไลน์ได้ ถ้าเป็นสมัยก่อนน่ะเหรอ ไม่ยืมเพื่อนก็ต้องควักเงินซื้อเองเท่านั้น แต่การบากบั่นตามหาเพลงมาฟังก็ทำให้เราได้รู้จักกับเพลงไทยดีๆ จำนวนไม่น้อยที่ยังมีอีกหลายคนไม่รู้จัก เราจึงอยากลองแนะนำ 20 อัลบั้มคุณภาพที่คุณอาจมองข้ามมันไป มาลองดูกันว่ามีงานอะไรดีๆ ที่อาจหลงหูหลงตาคุณไปบ้าง บางอัลบั้มก็เป็นงานที่มาก่อนกาล คือลํ้าสมัยเกินไปจนคนฟังตามไม่ทัน ต้องรออีกหลายปี อัลบั้มเหล่านั้นจึงถูกพิสูจน์ว่าดีงามจริงๆ หรือบางอัลบั้มอินดี้จ๋าเลย โปรโมตน้อย อาจจะมี Cat Radio (หรือก่อนหน้านี้คือ Fat Radio) คลื่นเดียวที่เปิด แล้วคนที่ไม่ได้ฟังคลื่นเหล่านี้ล่ะ จะรู้จักเพลงเหล่านี้บ้างไหม? 

    20 อัลบั้มนี้ใช้รสนิยมส่วนตัวล้วนๆ ในการคัดเลือก เป็นการเก็บสะสมจากการฟังเพลงไทยมาตลอด 30 กว่าปี ทั้งหมดนี้เชื่อว่าเป็นอัลบั้มที่มีคุณภาพที่ท้ากาลเวลา คือไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน เราก็ยังรู้สึกถึงคุณค่าของมันได้ ไล่มาตั้งแต่สมัยที่ผมเริ่มฟังเพลงใหม่ๆ ลองอ่านดูนะครับ ว่ามีตรงกับในใจคุณบ้างไหม หรือมีอัลบั้มไหนที่คุณอาจไม่เคยรู้จักมาก่อนเลยบ้าง

1. อัลบั้ม ยุโรป : เพลงประกอบหนัง วัยระเริง (2527)

    นี่คืออัลบั้มที่หาฟังยากมากๆ ชุดหนึ่ง เป็นงานเพลงที่ออกมาในตอนที่หนัง วัยระเริง ออกฉาย ซึ่งนานมากแล้ว หนุ่ย-อำพล ลำพูน เล่นเป็นพระเอก โดยมีวงไมโครมาเล่นด้วย ในช่วงเวลานั้นไมโครยังไม่ได้ออกเทปชุดแรกเลย เนื่องจากพี่หนุ่ยในตอนนั้นยังร้องเพลงได้ไม่ดีเท่าที่ควร เลยต้องเอาพี่อ้อง-สุรสีห์ อิทธิกุล มาร้องให้ ส่วนฝ่ายหญิง ร้องโดยแหวน-ฐิติมา สุตสุนทร โดยมีพี่เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ เป็นผู้อำนวยการผลิต ดนตรีนั้นได้ทีมบัตเตอร์ฟลาย (Butterfly) ซึ่งเป็นทีมสุดยอดนักดนตรีของไทยในยุคนั้นมาทำให้ แต่ทีมแต่งเพลงนี่สิ มีแต่ตัวกลั่นทั้งนั้น ตั้งแต่พี่เต๋อเอง, พี่จิก ประภาส ชลศรานนท์ ที่แต่งเพลงเด่นอย่าง ยุโรป และ จากวันนั้นถึงวันนี้ ซึ่งใช้ถ้อยคำในเพลงได้สุดยอดมาก ส่วนเพลงที่เรารักที่สุดในอัลบั้มนี้คือ ดนตรีในดวงใจ ซึ่งมาเฉลยเมื่อไม่นานนี้เองว่าคนแต่งคือพี่ดี้-นิติพงษ์ ห่อนาค ซึ่งเป็นเพลงแรกๆ ในชีวิตการแต่งเพลงของนิติพงษ์เสียด้วย โดยที่เครดิตในปกเทปเกิดความผิดพลาดไปใส่ชื่อเพื่อนอีกคนที่ไม่ได้เป็นคนแต่งเพลงนี้

2. อิสซึ่น : อัลบั้ม บทเพลง (2527)

    เป็นอัลบั้มที่วงอิสซึ่นทำเพลงแบบสตริงมากขึ้น ไม่ได้เป็นโฟล์กจ๋าแบบอัลบั้มแรกๆ น่าจะเพราะดูแลโดยทีมงานบัตเตอร์ฟลาย โดยที่สมาชิกหลักคือ โต๊ะ-วสันต์ โชติกุล และ จุมพล ปัญญามงคล ส่วนพี่ป้อม อัสนี นั่งตำแหน่งโปรดิวเซอร์ อัลบั้มนี้หาฟังยากมาก เรามีเทปที่ซื้อไว้นานแล้วอยู่แค่ม้วนเดียว แผ่นเสียงไม่ต้องพูดถึง หายากถึงยากที่สุด ราคาก็ไปไกลมากแล้ว ถึงมีคนปล่อยขาย ก็จะโดนสอยไปอย่างรวดเร็ว เพลงในอัลบั้มนี้มีจังหวะจะโคนที่ทันสมัย มีการดีไซน์ไลน์กลอง เบส กีตาร์ไฟฟ้า และซินธ์ได้ไพเราะลงตัวมากๆ เพลงเด่นๆ ก็อย่าง บทเพลง และ ขอมอบบทเพลง แต่เพลงที่ผมรักที่สุดคือเพลง เจ้าโต ซึ่งเล่าเรื่องความรักของกระเป๋ารถเมล์หนุ่มสาว ที่พบรักกันในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยมีตอนจบแบบโศกนาฏกรรม เศร้ามากๆ เพลงที่เหลือเป็นเพลงร่วมสมัยที่ใช้คำที่ดูเป็นกวีสักหน่อย มีความสวยงามของการใช้ภาษา ลองนึกถึงเพลง หนึ่งมิตรชิดใกล้ ซึ่งเป็นเพลงดังของวงนี้ดูก็แล้วกัน มันประมาณนั้นเลยแหละ

3. ปรัชญ์ สุวรรณศร : อัลบั้ม คน (2528)

    ปรัชญ์ สุวรรณศร เป็นคนในแวดวงทำเพลงโฆษณาและมีส่วนในการแต่งเพลงให้ศิลปินแกรมมี่ยุคแรกๆ พอเขามีงานอัลบั้มเดี่ยวของตัวเองก็ทำเพลงออกมาเป็นป๊อปร็อกร่วมสมัยที่ออกจะลํ้าๆ หน่อย จุดเด่นของแกคือการใช้ถ้อยคำ ปรัชญ์เล่นคำแปลกๆ ได้อย่างชำนาญมาก เราจึงได้เห็นคำที่ไม่ค่อยได้ใช้อย่าง อัฐ, ตะบัน, นิจศีล หรืออาจิณ มาอยู่ในเพลง น้ำเสียงของปรัชญ์มีความเร้าอารมณ์ให้ฮึกเหิมก็ได้ หรือจะเป็นเสียงหล่อก็ได้ ในเพลง อัฐใคร-อัฐมัน จึงมีความสะใจในนํ้าเสียงเมื่อพูดถึงการใช้เงินของเราเองที่ไม่อยากให้คนอื่นมายุ่ง (นี่คือพูดอย่างสุภาพ) ส่วนในเพลงเท่ๆ ฟังเพลินๆ อย่างเพลง ความทรงจำ เสียงของปรัชญ์ก็หล่อขึ้นมาเลย ที่รักที่สุดคือในอัลบั้มนี้มีเพลงประกอบละครยุคแรกของค่ายกันตนาอย่าง ทิมมวยไทย ที่เราเคยฟังตอนเด็กๆ แล้วชอบมาก เป็นเพลงที่ฟังแล้วฮึกเหิมจริงๆ

4. กอหญ้า : อัลบั้ม ในลิ้นชัก (2529)

    เป็นงานที่โปรดิวซ์โดย อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ ดูแลเนื้อร้องโดย เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ ซึ่งทั้งสองคนเป็นนักดนตรีในวงสุดเจ๋งอย่างบัตเตอร์ฟลาย ส่วนวงกอหญ้าประกอบไปด้วยชายสองหญิงหนึ่ง ทำเพลงในสไตล์โฟล์ก เน้นกีตาร์โปร่ง และการร้องประสานเสียงที่เรียบง่ายมากๆ ออกแนว Simon and Garfunkel เพลงเด่นคือ ในลิ้นชัก เนื้อหาพูดถึงของเล็กๆ น้อยๆ ในลิ้นชักที่ทำให้นึกถึงหนุ่มคนรัก เนื้อร้องน่ารักมากๆ แถมยังให้อารมณ์ Nostalgia เล็กๆ ด้วย เพลงอื่นๆ ก็ฟังเพลิน ออกเชยๆ หน่อย แต่จริงใจดี เราชอบลีลาการใช้คำของคุณเขตต์อรัญมากๆ มีความสละสลวย เป็นภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูด เช่นเพลง หวีด หวิว หวิว ที่บรรยายถึงบรรยากาศธรรมชาติ เสียงลมผ่านใบไม้ เสียงจิ้งหรีด ได้อารมณ์มาก หรือเพลงนํ้าตา ที่ใช้การเปรียบเปรยกับคำสละสลวยที่คล้องจอง  ทีเด็ดอีกอย่างคือเพลง ฉันนึกถึงวันนั้น ที่ได้สุรสีห์ อิทธิกุล มาเรียบเรียงดนตรีให้ เราจึงได้ยินเสียงซินธ์ยุค 80 ที่เป็นลายเซ็นของสุรสีห์คลออยู่ทั้งเพลง งานชุดนี้ทีมงานบัตเตอร์ฟลายดูแลการผลิต ดังนั้นใครที่เป็นแฟนของบัตเตอร์ฟลายควรหามาสะสมนะ 

5. มิติ : อัลบั้ม เก่า เก่า (2529)

    เป็นอัลบั้มคุณภาพอีกชุดจากค่ายนิธิทัศน์ ซึ่งตัวเพลงนั้นไม่ใช่แนวทางหลักที่นิธิทัศน์ทำสักเท่าไหร่ เพลงในอัลบั้มนี้ในภาคดนตรีมีความลํ้าสมัยมากเลยทีเดียว มีการใช้ซินธิไซเซอร์ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ในขณะนั้นมาเป็นตัวยืนในทุกๆ เพลง การบันทึกเสียงดีมากๆ โดยที่เนื้อเพลงออกจะไปในทางเพื่อชีวิตหน่อยๆ หรือพูดถึงสัจธรรมในชีวิต คนจน คนไม่มีจะกิน แต่ก็มีเพลงรักอยู่บ้าง แต่ก็ออกจะเป็นรักแบบเพื่อชีวิต เมื่อดูที่เครดิตจึงได้รู้ว่า ประชา พงศ์สุพัฒน์ นักแต่งเพลงชื่อดังที่อยู่แกรมมี่ เป็นคนแต่งเพลงให้ถึง 5 เพลง และ นุภาพ สวันตรัจฉ์ ศิลปินเพลงชื่อดังเจ้าของเพลง แป๊ะเจี๊ยะ ก็แต่งให้อีก 4 เพลง ถือว่าเป็นอัลบั้มที่แหวกแนวมากๆ ในยุคนั้น นอกจากนั้นวงมิติยังไปเล่นเป็นวงแบ็กอัพให้กับนุภาพ สวันตรัจฉ์ และ อัสนี-วสันต์อีกด้วย มือกลองของวงนี้คือ เอกมันต์ โพธิพันธุ์ทอง ซึ่งโด่งดังมากตอนไปตีกลองให้อัสนี-วสันต์ ในภายหลัง แผ่นเสียงของอัลบั้มนี้ราคายังไม่ได้แพงมากนัก ลองหามาฟังกันได้

6. ดินสอดำ : อัลบั้ม กระดาษขาว (2530)

    หลังจากที่ กริช ทอมมัส ยุบวง บาราคูดัส แล้วก็ได้มาโปรดิวซ์อัลบั้ม ดอกไม้บาน…เจ้าเอย (2530) ของ XYZ ซึ่งเป็นอัลบั้มเปิดตัวที่น้องๆ เริ่มเล่นดนตรีเองจริงๆ ไม่ได้เล่นกีตาร์ไม้อีกต่อไป แล้วกลายเป็นงานที่ประสบความสำเร็จมากๆ กริชก็ได้หันมาตั้งวงใหม่ของตัวเองในชื่อ ดินสอดำ  และได้ออกอัลบั้มชื่อ กระดาษขาว ซึ่งเป็นเพียงอัลบั้มเดียวของวง เพลงส่วนใหญ่แต่งโดย กริช ทอมมัส และ อุษา สาวสวย โดยที่ตัวเพลงออกมาในแนวโฟล์กร็อก แต่มีการเรียบเรียงดนตรีให้มีความทันสมัย มีสำเนียงของเพลงฝรั่งชัดเจน เป็นเพลงฟังสบาย ให้แง่คิด ตั้งคำถาม และมองโลกในแง่บวก ฟังแล้วรู้สึกถึงวงในยุคนั้นอย่าง เฉลียง หรือวงยุคถัดมาอย่าง กัมปะนี ไปจนถึงอัลบั้มในตำนานอย่าง เต๋อ 1 เพลงที่ดังที่สุดของวงดนตรีอายุสั้นวงนี้คือเพลง เส้นทางนี้ ที่ เจี๊ยบ-วรรธนา วีรยวรรธน นำมาคัฟเวอร์ใหม่ในอีกหลายปีให้หลังจนดังกว่าต้นฉบับ (แต่ส่วนตัวแล้ว เรายังชอบต้นฉบับมากกว่า) เพลงอื่นๆ ก็ดีงามไม่แพ้กัน เราว่าเป็นงานที่ฟังเพลินทั้งอัลบั้มเลยแหละ ที่สำคัญ ชาตรี คงสุวรรณ แห่ง ดิ อินโนเซ้นท์ มาเล่นกีตาร์ให้อัลบั้มนี้หลายเพลงเลย แผ่นเสียงอัลบั้มนี้ยังหาได้ในราคาไม่แพง หามาฟังเถอะครับ คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปแน่นอน

7. TKO : อัลบั้ม Original Thai Rap (2536)

    TKO เป็นวงแร็ปวงแรกของไทยก็ว่าได้ อัลบั้มนี้ออกมาในค่าย KITA แต่โปรดักชั่นทั้งหมดแทบจะเป็นของทีมเบเกอรี่ มิวสิค โดยที่ตอนนั้นยังไม่เกิดค่ายขนมปังแห่งนี้เลยด้วยซ้ำ สุกี้ กมล สุโกศล แคลปป์ เป็นโปรดิวเซอร์ โดยทำนองและเรียบเรียงเกือบทุกเพลงเป็นฝีมือของสุกี้เอง ส่วนคำร้องนั้นได้ปฐมพร ปฐมพร หรือ พราย (ผู้แต่งเพลง ก่อน ของ โมเดิร์นด็อก อันลือลั่น) มารับหน้าที่แต่งคำร้องแทบทุกเพลง ยกเว้นเพลงที่คัฟเวอร์งานเก่าของ KITA และแทร็กที่ชื่อ เพลงช้าๆ ซึ่งแต่งคำร้องโดย บอย โกสิยพงษ์ เนื้อร้องและทำนองเจ๋งทุกเพลง มีความเป็นเพลงฝรั่งมาก แต่สุกี้ก็ยังใส่ซาวนด์ดนตรีไทยผสมลงไปช่วยเพิ่มความเป็นไทย เสียง Velma ที่ร้องภาษาอังกฤษทำให้มีความอินเตอร์ขึ้น แถมยังมี DJ Sense คอยสแครทช์แผ่น ได้ซาวนด์แปลกใหม่มากๆ ในยุคนั้น ทั้งหมดนี้ทำให้เพลงของ TKO โดดเด่นไม่ธรรมดา แต่ตอนที่ออกวางขาย คนฟังอาจยังรับอะไรลํ้าๆ แบบนี้ไม่ได้ ถ้าลองฟังงานชุดนี้ดีๆ จะพบว่านี่มันเป็นงานแบบร่างของ Joey Boy ชุดแรกชัดๆ ! เพลงเด่นๆ ในอัลบั้มก็คือเพลง ว่าว, ฝัน, เพลงช้าๆ, สี่แยกในดวงใจ ถือเป็นงานคุณภาพมากๆ อีกหนึ่งชุดที่มาก่อนกาล

8. นก พัฒน์ธนันทน์ : อัลบั้ม Seriously Nok (2538)

    หนึ่งในอัลบั้มดีงามที่คนไม่รู้จักและมองข้ามมากที่สุดอีกชุด Seriously Nok เป็นอัลบั้มที่ออกในค่าย สโตน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ แต่ทีมที่ทำเพลงให้ทั้งหมดคือทีมงานคุณภาพจาก เบเกอรี่ มิวสิค ไล่ไปตั้งแต่ บอย โกสิยพงษ์, สุกี้, สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ ไปจนถึง โต้ง-มณเทียร แก้วกำเนิด แห่ง P.O.P พวกเขาแต่งเพลงทั้งหมดในอัลบั้มนี้ เราจะได้ฟังเพลงป๊อปโซลดีๆ แบบเดียวกับเพลงของ รัดเกล้า อามระดิษ เสียงร้องของนกนั้นคุณภาพมากๆ เสียงสวยและมีพลัง แถมนักดนตรีที่อัดในอัลบั้มนี้ เป็นฝรั่งล้วนๆ มีพี่โต้งคนเดียวเลยที่เป็นคนไทย แต่ที่กลับกันกับคุณภาพของบทเพลง คือราคาของอัลบั้มนี้ที่ไม่แรงเอาซะเลย บางคนไม่รู้ด้วยซํ้าว่าแผ่นนี้เป็นโปรดักชั่นของทีมเบเกอรี่ ฉะนั้นนักฟังเพลงจึงยังหาซื้ออัลบั้มนี้ได้ในราคาย่อมเยา ถ้าใครไปเจอในร้านมือสองถูกๆ จึงไม่ควรพลาดที่จะหยิบติดมือมาฟังที่บ้าน

9. ธรัญญา สัตตบุศย์ : อัลบั้ม & & ANT (2539)

    ในยุคดนตรีอัลเทอร์เนทีฟรุ่งเรือง อยู่ๆ ก็มีอัลบั้มหนึ่งออกวางแผงอย่างเงียบๆ นั่นคืองานของนางแบบสาว ธรัญญา สัตตบุศย์ อัลบั้ม & & ANT ในสังกัด BOOP record โดยที่ทีมงานที่ทำอัลบั้มนี้คือสมาชิกวง Crub และ Kidnappers เพลงส่วนใหญ่แต่งโดย รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ และกีตาร์อัดโดยสมาชิกวงคิดแนปเปอร์ส และ ครับ เพลงในชุดนี้เป็นพั๊งก์ร็อกอย่างเต็มสตรีม กีตาร์แตกพร่าสะใจมาก เนื้อหาจะเป็นแนวผู้หญิงยุคใหม่ ออกไปทางเฟมินิสต์หน่อยๆ ประมาณว่า เป็นสาวมั่นไม่ง้อผู้ชาย เสียงร้องของแอ๊นท์นั้นช่างสุดยอดมากๆ คือไม่ใช่ร้องธรรมดา แต่มีการดีไซน์เสียงร้องเยอะมากๆ ทั้งความกราดเกรี้ยวแหกปากไม่ห่วงสวย หรือจะเสียงสวยๆ เพราะๆ ในเพลงช้า เธอก็ทำได้อเมซิ่งมากๆ แต่ก็อย่างว่า นี่ไม่ใช่อัลบั้มที่ประสบความสำเร็จในเรื่องยอดขาย บางคนอาจทนฟังเพลงโวยวายหนักๆ แบบนี้ไม่ได้ บางคนอาจไม่เคยรู้ด้วยซํ้าว่ามีอัลบั้มนี้ในวงการเพลงไทยด้วยเหรอ แต่เท่าที่จำได้คือแอ๊นท์เป็นศิลปินไทยคนเดียวที่ได้ขึ้นปกนิตยสารเพลงสุดลํ้าอย่าง GT ซึ่งเป็นปกที่เราเลิฟมากๆ

10. ธาริณี ทิวารี : อัลบั้ม อย่าสัญญา (2539)

    ตอนแรกที่อัลบั้มนี้ออก เราไม่ค่อยได้สนใจนัก เพราะเพลงโปรโมทเพลงแรกคือเพลงภาคภาษาไทยของเพลง And So the Story Goes (di da di) ของ Maria Montell ที่ตอนนั้นดังระเบิดในบ้านเรา ซึ่งเราไม่ค่อยโดนเท่าไหร่ (เรียกได้ว่าฮิตจนน่ารำคาญ) แต่พอบังเอิญได้ฟังเพลงอื่นในอัลบั้ม ก็ต้องรีบวิ่งไปหาซื้อซีดีทันที เพราะโดยรวมนี่เป็นอัลบั้มป๊อปแจ๊ซที่ไพเราะมากอีกอัลบั้มของวงการเพลงไทยเลย ทั้งเปียโน กีตาร์ เครื่องเป่า เบส และกลอง ทุกอย่างถูกเรียบเรียงอย่างตั้งใจ เมื่อไปดูที่เครดิต เราจึงไม่ต้องแปลกใจ เพราะโปรดิวเซอร์คือ สมหวัง พัชรพร (มือกีตาร์คู่บุญของพี่ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์) และ กอล์ฟ-นครินทร์ ธีระภินันท์ มือกีตาร์วง T-Bone นั่นเอง ทั้งสองท่านถือว่ามีความชำนาญในด้านดนตรีแจ๊ซมาก เพลง อย่าสัญญา แทร็กที่น่าจะเป็นที่รู้จักมากที่สุดของเธอ เป็นเพลงที่เพราะและลงตัวมากๆ เครื่องเป่า และเปียโนในเพลงนี้แพรวพราวมากๆ เนื้อหาพูดถึงคำสัญญาที่ไม่จำเป็น หากเรารักกันอยู่แล้ว เสียงของปูเป้ ธาริณี หวานแบบผู้ใหญ่ เข้ากันดีกับเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ความรัก ในแบบผู้ใหญ่ ความกลัว ความไม่มั่นใจในความสัมพันธ์อันเปราะบางของคนเมือง สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในงานเพลงของเธอ อยากให้ลองฟังทั้งอัลบั้มแล้วจะรู้ว่าเพลงของเธอไม่ได้มีดีแค่เพลงโปรโมตเท่านั้น

11. อัลบั้ม Visionary (the positive traveler) เพลงประกอบภาพยนตร์ ฝัน บ้า คาราโอเกะ (2540)

    ในปี 2540 เบเกอรี่ มิวสิค ได้ออกอัลบั้มที่เป็นงานแนวอิเล็กทรอนิกส์แบบจริงจังมาชุดหนึ่ง มารู้ตอนหลังว่าเป็นซาวนด์แทร็กประกอบภาพยนตร์ ฝัน บ้า คาราโอเกะ หนังเรื่องแรกของ เป็นเอก รัตนเรือง อัลบั้มนี้ประกอบไปด้วย 4 กลุ่มนักดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มจาก Koichi นักดนตรีชาวญี่ปุ่นที่ต่อมากลายเป็นเจ้าของค่าย so::on dry flower ผู้นิยม Noise Sound และเสียงสังเคราะห์ วงต่อมาคือ nolens.volens วงดนตรีแนวเทคโนที่ประกอบด้วย 2 หนุ่มคือ แต๋ง (กันตวิท กาญจนพิทักษ์) และใหม่ (รัฐฐา รุ่งแสง) วงนี้จริงจังกับแนวทางอิเล็กทรอนิกส์จนถึงปัจจุบัน แต่ปัจจุบันเหลือสมาชิกเพียงใหม่คนเดียว วงที่ 3 คือวง Stereotype เป็นวงเฉพาะกิจของ วรุฒม์ ปันยารชุน ผู้ออกแบบปกและงานกราฟิกเจ๋งๆ ทั้งหลายของเบเกอรี่ มิวสิค และรายสุดท้ายคือ สมเกียรติ อริยะชัยพานิชย์ หรือ Mr.Z ของเรานี่เอง ทั้งหมดนี้สร้างสรรค์เพลงอิเล็กทรอนิกส์จ๋าๆ ที่ไม่มีเนื้อร้อง มีแต่บีตเท่ๆ แซมปลิ้งเจ๋งๆ ในยุคที่เพลงอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่เฟื่องฟูในบ้านเรา โดยมี Dialogue จากหนังฝัน บ้า คาราโอเกะ คั่นอยู่ระหว่างเพลง เทปและซีดีชุดนี้ค่อนข้างหายาก แต่ก็ไม่ค่อยมีคนสนใจเมื่อได้พบเจอ แนะนำว่าหากไปเจอก็ไม่ควรพลาดที่จะหาเก็บไว้ครับ

12. วิสาห์ : อัลบั้ม Visa (2542)

    นี่เป็นงานเดี่ยวของชมพู่-วิสาห์ อัทธเสรี นักร้องนำคนแรกของละอองฟอง หลังจากที่เธอออกจากวงไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ เป็นงานคุณภาพอีกชุดจากค่าย Genie Records โดยได้ โอ๊ต อรรถพงศ์ บุญเสริมทรัพย์ แห่งวง Street Funk Rollers มาโปรดิวซ์ให้ ตัวดนตรีนั้นมีความหลากหลาย ตั้งแต่โมเดิร์นร็อก อะคูสติกป๊อป ดิสโก้ บอสซาโนวา ไปจนถึงอิเล็กทรอนิกส์เบาๆ เสียงของชมพู่นั้นมีเอกลักษณ์อยู่แล้ว แถมคราวนี้ยังร้องแบบเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นกว่าตอนร้องให้ละอองฟองอีกด้วย มี สุเมธ องอาจ มาร่วมร้องด้วย 2 เพลง ทุกเพลงไพเราะมากๆ เนื้อหาของเพลงรวมๆ จะเกี่ยวกับความรักในมุมต่างๆ ในแบบที่ผ่านชีวิตมาระดับหนึ่ง ไม่งอแงฟูมฟาย ถือเป็นงานคุณภาพที่คนไม่ค่อยรู้จักอีกหนึ่งชุด

13. ซับใน : อัลบั้ม Subnai (2542)

    หลังจาก จิ๊บ-ดุสิตา อนุชิตชาญชัย นักร้องนำในอัลบั้มแรกออกจากวงไป จูน-โสมสิริ แสงแก้ว มือเบสจึงต้องมารับหน้าที่ร้องนำพ่วงไปด้วย โดยไม่ได้รับสมาชิกเพิ่ม ทำให้ซับในกลายเป็นวง 3 ชิ้นที่ลงตัวพอดี และจะด้วยอะไรไม่รู้ แต่ละเพลงในอัลบั้มที่ 2 นี้เป็นผู้ใหญ่ขึ้น และดีงามกว่าอัลบั้มแรกมากๆ อาจเป็นเพราะจูนแต่งเพลงเกือบทั้งอัลบั้มคนเดียว คุณจึงได้ฟังวงอินดี้ร็อกที่มีกีตาร์มันๆ และไลน์เบสที่โดดเด่น เปิดมาด้วยเพลง รอ ที่ฟังเหมือนแบบร่างของ Beargarden (งานเดี่ยวในเวลาต่อมาของจูน) เสียงของจูนมีความคิขุ กุ๊กกิ๊ก ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเข้ากันได้ดีกับเพลงของซับใน เพลงส่วนใหญ่ยังเป็นแนวแอบรัก อกหัก เช่นเพลง เพราะ, เพียงพอกับใจ ที่ฟังเพลินมาก แต่ก็มีบางเพลงอย่าง Love Scene นั้นพูดถึงอิทธิพลของละครนํ้าเน่าในทีวีที่มีผลต่อความหื่นได้อย่างจิกกัด อัลบั้มนี้โปรดิวซ์โดย ไก่-ธนาวัฒน์ ส่งวัฒนา มือกีตาร์ของ 2 Days Ago Kids และยังได้ ป๊อก-วรรณฤต พงศ์ประยูร แห่ง Stylishnonsense มาช่วยเล่นคีย์บอร์ดในบางเพลงอีกด้วย

14. บัวหิมะ : อัลบั้ม ชิทแตก! (2545)

    อัลบั้มเพลงประกอบนวนิยายเรื่องยาวเรื่องแรกของ คุ่น-ปราบดา หยุ่น ที่ได้ เจ-เจตมนต์ มละโยธาแห่ง Penguin Villa มาดูแลเรื่องดนตรี ส่วนคุ่นดูแลคอนเสปต์ และเนื้อเพลงทั้งหมด โดยแต่ละเพลงจะให้แทนตัวละครตัวหนึ่ง หรืออาจเป็นช่วงเวลาหนึ่งในหนังสือ ดังนั้นเพลงจึงมีหลายสไตล์มากๆ แต่เจก็วางเมโลดี้ให้เกี่ยวเนื่องกันในแต่ละเพลง ทำให้เพลงทุกเพลงอยู่ด้วยกันได้โดยไม่ขัดเขิน เริ่มกันที่ ชิทแตก!ธีม ฟังรอบแรกๆ ยังแปร่งๆ กับเมโลดี้ แต่พอฟังไปเรื่อยๆ เราก็หลงรักหมดใจ ในเพลงต่อมา แซ็ค ซึ่งเป็นตัวละครตัวหนึ่ง ถ้าคนที่ได้อ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่าเรื่องมันเกิดขึ้นในอนาคต และด้วยอุปกรณ์ฟังเพลงที่คล้าย AI จะมีโหมดหนึ่งที่แซ็คชอบฟังก่อนนอน นั่นคือโหมดกล่อม ซึ่งเครื่องจะทำการแรนดอมเพลงจากทั่วโลกมาต่อกันอย่างละนิดอย่างละหน่อย เพื่อจะกล่อมให้เราหลับ ซึ่งเราจะได้ฟังจริงๆ ในเพลงนี้ ซึ่งทำออกมาได้ดีมาก นอกจากนั้นก็จะมีทั้งเพลงที่ออกแนวคลาสสิก ไปจนถึงเพลงลํ้าๆ ให้เราได้ประหลาดใจตลอดเวลา อย่างเพลง ซัคเซนเซ ที่ได้พี่ตู้-ดิเรก อมาตยกุล มาร้องให้ ก็ทำเป็นวงบิ๊กแบนด์เครื่องเป่ามาเต็ม หรือเพลง Airbook Sarcasm ก็เป็นอิเล็กโทรลํ้าๆ ดูเป็นยุคอนาคตมากๆ ส่วน From Now On ที่คุ่นร้องเองนั้น ก็เป็นป๊อปใสๆ เลย รวมๆ มันให้ความรู้สึกเป็นเพลงละครเวทีในระดับหนึ่ง แต่ด้วยฝีมือและรสนิยมของเจและคุ่นทำให้มันไปได้ไกลกว่านั้น

15. Doobadoo : อัลบั้ม Doobadoo (2548)

    หลังจากที่ลูกหว้า พิจิกา ร้องเพลง อยากอยู่กับเธอทั้งคืน ให้กับวงซีเปีย จนโด่งดังในแวดวงดนตรีอินดี้แล้ว 6 ปีหลังจากนั้น โอ๋-เจษฎา สุขทรามร แห่งวงซีเปีย ก็ได้ชวนเธอมาทำเพลงด้วยกันในนาม Doobadoo โดยเป็นแนวป๊อปแจ๊ซฟังเพลินมากๆ ไม่น่าเชื่อว่าคุณโอ๋ ที่ทำเพลงโหดๆ เพี้ยนๆ อย่างวงซีเปีย จะทำเพลงแจ๊ซได้เนียนละมุนเช่นนี้ เพลงเกือบทั้งหมดแต่งโดย โอ๋ ซีเปีย โดยที่ลูกหว้าช่วยแต่งในบางเพลง เพลงในอัลบั้มนี้เป็นเพลงแจ๊ซที่ใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้น บางเพลงเปียโนเด่น บางเพลงกีตาร์เด่น ฟังโปร่ง โล่งสบายมาก แต่ที่เด่นที่สุดคือเสียงของลูกหว้า ลีลาการใช้เสียงของเธอแพรวพราวมากๆ แถมเธอยังใช้สกิลล์การร้องเพลงจากการที่เธอไปเล่นละครเวทีช่วยให้เพลงมีไดนามิกน่าฟังมากยิ่งขึ้นอีกด้วย แค่เพลงแรกที่เธอชวนเก็บกระเป๋าไปพักร้อนด้วยกัน เราก็พร้อมจะไปกับเธอแล้ว ส่วนเพลงที่ทุกคนพอรู้จักอย่าง ไม่ใช่ผู้ชาย ก็มีสีสันของการเรียบเรียงที่ฉูดฉาดซาบซ่ามาก ทรัมเป็ตเป็นพระเอกเลย ทั้งดนตรีทั้งนักร้องไม่มีใครยอมใคร ส่วนเพลงอื่นๆ เอาจริงๆ ก็ดีงามทุกเพลง คอร์ดแบบแจ๊ซ เมโลดี้แบบแจ๊ซ การเดินเบสแบบแจ๊ซ มันทำให้ฟังแล้วเคลิ้มเลิศหรูมีระดับมากๆ เหมาะจะฟังกับสาวคนโปรดที่คุณชวนมาดินเนอร์จิบไวน์แดงที่แมนชั่นสุดหรูของคุณ…ว่าไปนั่น

16. Blissonic : อัลบั้ม Automatic (2548)

    เป็นอัลบั้มซินธ์ป๊อปที่ออกมาก่อนกาล พีท ตันสกุล และ บิ๋ม-มณีรัตน์ เรเชล ฮุนตระกูล ในนามวง Blissonic ออกอีพีกับค่าย Missing Link ในช่วงปี 2002 เรานี่กรี๊ดมากกับเพลง ครั้งแรก และเพลง เช้า โดยเฉพาะเพลง เช้า นี่รักมาก เนื้อหาเรียบง่ายพูดถึงการตื่นเช้าแล้วออกมามองฟ้าแต่เขาแต่งออกมาได้ละมุนจริงๆ เสียงของบิ๋มกับเสียงของซินธ์และจังหวะที่พีทใช้มันช่างมีเสน่ห์มากๆ ต่อมาพวกเขาย้ายเข้าค่าย Genie ของแกรมมี่แล้วออกอัลบั้มเต็ม Automatic ทุกเพลงยังเป็นซินธ์ป๊อปที่พวกเขาถนัด เมโลดี้สวยงามทุกเพลง ฟังเพลินมากๆ เนื้อหามีความเป็นผู้หญิงและเฟมินิสต์พอตัว ตั้งแต่เพลง วันที่ฉันมองคนเดียว และ เจ้าหญิงคนต่อไป ที่พูดถึงชีวิตที่ไม่ต้องพึ่งพิงผู้ชาย โดยเฉพาะเพลง เจ้าหญิงคนต่อไป นี่ใช้คำได้เก่งและเล่าเรื่องลงตัวมาก ส่วนเพลง ไม่ใช่ฉัน ก็พูดถึงอารมณ์แปรปรวนของผู้หญิงได้เท่และน่ารักมาก เพลงเกือบทั้งหมดแต่งเนื้อโดย โตน โซฟา หรือ จักรธร ขจรไชยกูล ซึ่งเนื้อเพลงดีทุกเพลงจริงๆ ตอนที่วงนี้ออกวางจำหน่าย ไม่ได้รับความนิยมในวงกว้างสักเท่าไหร่ แต่ถ้ามาออกในช่วงนี้ ในช่วงที่ซินธ์ป๊อปแทบจะกลายเป็นเพลงกระแสหลัก Blissonic ต้องไปได้ไกลกว่านี้แน่

17. ณภัทร สนิทวงศ์ ณ อยุทธยา : EP. Fruit (2549)

    หลังจากที่ได้ดูงานแสดงสดของพลัม ณภัทร ในงานเปิดตัวอัลบั้มรวมเพลง Ghosted Note ของค่าย so::on dry flower เราก็สมัครเป็นแฟนคลับของเขาตั้งแต่นั้น เพลงของเขามีความเป็น Nu Folk คือไม่ถึงกับเป็นโฟล์กจ๋าๆ แต่ก็มีกลิ่นอยู่บางๆ มีความเป็น Meditation Music หน่อยๆ ด้วย เขาใช้การเล่นกีตาร์โปร่งแบบเรียบง่าย ในบางเพลงออกจะมินิมอลด้วยซํ้า ส่วนใหญ่จะเน้นไปในทางเกากีตาร์ ให้ความรู้สึกสงบ ผสมเข้ากับเสียงสังเคราะห์เป็นบีตและบรรยากาศแถมด้วย Noise Sound ที่ถูกรังสรรค์โดย Koichi เจ้าของค่าย เสียงร้องของณภัทรฟังสบาย ผ่อนคลาย บอกเล่าเรื่องราวชีวิตเรียบง่าย อีพี Fruit ประกอบไปด้วยเพลง 7 เพลง ที่บอกเล่ามุมมองชีวิต สัจธรรม แง่คิด จนเกือบจะเลยไปถึงหลักทางศาสนาในบางเพลง ในสายตาของคนที่เข้าใจโลก ผ่านดนตรีอะคูสติกที่ฟังสบาย แต่บางเพลงอย่าง เพื่อน มีการใส่กีตาร์ไฟฟ้าแตกพร่าแบบโพสต์ร็อก หรือเพลง เหตุผล ก็ได้มีการใส่ Noise Sound ที่หลอกหลอนใช้ได้ สรุปคืออีพีนี้ไพเราะทุกเพลง ที่สำคัญงานออกแบบโดยทีม D I E นั้นสวยงามมากๆ ยิ่งเวอร์ชั่นที่เป็นแผ่นเสียงยิ่งดีงาม ควรค่าแก่การหามาครอบครอง

18. Atit Sornsongkram : อัลบั้ม Like How You Feel (2549)

    อธิษว์ ศรสงคราม หรือ อ้วน Armchair ออกงานเดี่ยวในปี 2549 เราได้ฟังงานของเขาครั้งแรกในอัลบั้มรวมเพลง Ghosted note ซึ่งได้ฟังปั๊บก็กรี๊ดเลย เพราะอ้วนทิ้งคราบนักดนตรีอารมณ์ดีเล่นเพลงสดใสป๊อปจ๋าอย่างตอนที่เล่นในวงอาร์มแชร์   เพลงในงานเดี่ยวของเขานั้น จริงจัง หม่นมัว และทบทวนชีวิตถึงความทรงจำที่ผ่านมา เสียงของอ้วนนั้นเรียบนิ่ง กึ่งๆ งึมงำ กึ่งๆ จะกระซิบอยู่ข้างหูเรา โอบล้อมด้วยดนตรีที่คล้ายกับเพลงกล่อมเด็ก กรุ๊งกริ๊งๆ แล้วโรยด้วยเสียงสังเคราะห์เบาๆ แบบที่วง Mum ชอบทำ แทบทั้งอัลบั้มเดินทางอย่างเนิบช้า บางคนอาจไม่สามารถอดทนกับความช้านี้ มีเพียงเพลง หา เพลงเดียวที่มีจังหวะและโหวกเหวกขึ้นมาหน่อย แต่โดยรวมนี่เป็นงานที่ต้องตั้งใจฟัง ใส่ใจในคำร้อง ถึงความหมายและการตีความ เพราะถ้าคุณฟังผ่านๆ คุณอาจจะงงว่าเพลงนี้พูดถึงอะไร ซึ่งถึงแม้คุณจะตั้งใจฟังแล้ว คุณก็อาจจะงงอยู่ดี อ้วนแต่งเพลงทั้งหมดในอัลบั้มนี้เอง ในส่วนของดนตรีเขาได้ผึ้ง-จตุตถพงศ์ รุมาคม มือกีตาร์วงอาร์มแชร์ และมือกีตาร์ทั้ง 3 คนของวง Goose มาช่วย และได้ koichi มาดูแลมิกซ์เสียงให้ นี่เป็นอัลบั้มที่มีความเป็นส่วนตัวสูงมาก และไม่ใช่อัลบั้มสำหรับทุกคน แต่ถ้าใครชอบแล้วก็จะรักมากไปเลย

19. Talkless : EP. dot dot dot (2550) / อัลบั้ม Talkless (2552)

    เป็นโปรเจกต์พิเศษของ นิ้ม-บัญชา เธียรกฤตย์ มือกีตาร์วง Goose ที่ชวนรุ่นน้องชื่อฝน-วทันยา จันทร์วิทัน มาทำเพลงด้วยกัน โดยนิ้มจัดการในภาคดนตรี ส่วนฝนรับหน้าที่ร้อง และเล่นคีย์บอร์ด เพลงของ Talkless จะเป็นเสียงซินธ์น่ารัก ประกอบกับเสียงจากสิ่งรอบตัวที่ไม่ได้มาจากเครื่องดนตรี เช่นเสียงเคาะไม้ เสียงเทนํ้า เสียงฉีกกระดาษ และที่ขาดไม่ได้คือเสียงกีตาร์แตกพร่าจากนิ้ม พวกเขาทำตั้งแต่เพลงเมโลดี้กรุ๊งกริ๊งเหมือนเพลงกล่อมเด็ก ไปจนถึงเพลงออกแนวดรีมป๊อป  และ Shoegazer คอนทราสต์กันดีกับเสียงของนักร้องนำที่ช่างอ่อนหวานน่ารัก เพลงที่รักมากๆ ก็อย่าง ทัศนาจร, My Scarlet Arms และ Miss Holiday ที่สำคัญแพ็คเกจของพวกเขาสวยงามน่ารักน่าเก็บมาก

20. Ploy Little Voice : อัลบั้ม 1,000,000 กิโลเมตร (2551)

    อัลบั้มที่โปรเจกต์ของค่ายสนามหลวง สมัยที่ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม ยังเป็นผู้บริหารในค่ายนี้ โดยให้ โหน่ง-วิชญ วัฒนศัพท์ แห่งวง Photo Sticker Machine หนึ่งในเจ้าของค่าย Hualampong Riddim มานั่งตำแหน่งโปรดิวเซอร์  ทุกเพลงเรียบเรียงโดยโหน่ง ดังนั้นเราจะได้ฟังภาคดนตรีที่เจ๋งและเนี้ยบมาก แถมยังมีความอินดี้ตามสไตล์ PSM ซึ่งมีหลากหลายแนวมากๆ ตั้งแต่ป๊อป, ดิสโก้, บัลลาร์ด, บอสซ่า ส่วนทางด้านเนื้อร้องก็ไปชวนนักแต่งเพลงเจ๋งๆ ในแวดวงดนตรีอินดี้และป๊อปมาแต่งให้คนละเพลง ไล่ไปตั้งแต่ โอ้-เสกสรร ปานประทีป, แทน ลิปตา (ธารณ ลิปตพัลลภ), หนึ่ง-ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์, บอย-ตรัย ภูมิรัตน, ตั้ม โมโนโทน (สถาปัตย์ ธีรนิตยภาพ), เอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ ไปจนถึง ปอย Portrait (ตวัน ชวลิตธำรง) เห็นรายชื่อเจ๋งๆ ขนาดนี้ ก็ไม่ควรปล่อยให้พลาดแล้ว เว้นแต่ว่าบางคนอาจจะไม่รู้ว่าทีมงานดีงามขนาดไหน เพราะเราเห็นอัลบั้มนี้ลดราคาแบบถูกมากในกระบะเซลล์ช่วงหนึ่งเลย น้องพลอยนั้นก็ร้องได้ดีงามสมบูรณ์แบบมากๆ ฟังแล้วสดใส ร่าเริง ได้พลังงานของวัยรุ่น ถ้าใครเจอแผ่นนี้ในราคาดีงาม อย่าได้รอรีเลยครับ

Table of Contents

[Update] 10 แผ่นเสียงที่บันทึกเสียงดีที่สุดตลอดกาลจาก Audiophile ตัวจริง | เพลง ที่ ดี ที่สุด – NATAVIGUIDES

Story Advised by Vudhigorn Suriyachantananont
Audiophile Connoisseur
Meet all the W. MINISTRY Aficionados here

Audiophile ทุกคนล้วนมีฐานมาจากการเป็น Music Lover

ขอแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับคุณวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ออดิโอไฟล์ตัวจริงผู้นี้อีกสักครั้ง เขาคือนักเล่นเครื่องเสียงผู้คร่ำหวอดและเป็นที่ยอมรับในวงการเครื่องเสียงของเมืองไทย ในโอกาสนี้คุณวุฒิกรจะหยิบแผ่นเสียงที่บันทึกเสียงดีที่เยี่ยมยอดที่สุดในใจของเขามาเล่าสู่กันฟัง

แต่ก่อนจะไปพบกับลิสต์อัลบั้มที่เตรียมมา จำเป็นอย่างมากที่เราจะต้องเข้าใจถึงคำว่า ‘Audiophile’ ในมุมเดียวกันก่อน มักมีคำกล่าวหนึ่งของ Alan Parsons นักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ที่มีผลงานระดับอมตะอย่าง The Dark Side of The Moon อัลบั้มสุดฮิตของ Pink Floyd และกับ The Beatles ในอัลบั้ม Abbey Road และ Let It Be ที่คุณวุฒิกรมักจะยกมาอธิบายตัวตนของเขาในโลกออดิโอไฟล์ “ออดิไฟล์เขาไม่สนใจหรอกว่าเพลงที่พวกคุณทำมันจะดีหรือดังแค่ไหนพวกเขาสนใจแค่ว่าเสียงที่ออกมาจากชุดเครื่องเสียงของเขามันดีพอรึยัง” 

คำกล่าวด้านบนเป็นจริงไม่น้อย และเป็นถ้อยคำที่ช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนเลยทีเดียวสำหรับใครที่ยังสับสนว่าจริง ๆ แล้วชาวออดิโอไฟล์นั้นมีนิสัยการฟังเพลงอย่างไร ใช่ครับ พวกเขาใช้แผ่นเสียงที่บันทึกดีเยี่ยมตามคำบอกจากหลายสถาบัน มาตกแต่งและตรวจสอบชุดเครื่องเสียงของพวกเขา ไล่ฟังมิติตั้งแต่ล่างขึ้นบน จัดเวที หาช่องไฟของชิ้นดนตรี

อีกเรื่องที่คุณวุฒิกรอยากจะถ่ายทอดให้เราฟังก่อนที่จะเริ่มวางแผ่นเสียงที่เขาคัดมาบนเทิร์นเทเบิล คือเรื่องของชาวออดิโอไฟล์บางกลุ่มที่คอยจะตัดขาดตนจากกลุ่มคนชอบฟังเพลงหรือที่เรียกอีกอย่างว่ามิวสิค เลิฟเวอร์ ด้วยนานาเหตุผลแต่ข้อหลักก็คือความแตกต่างของคุณภาพเสียงที่ชาวออดิโอไฟล์เลือกฟัง ที่ทำให้พวกนักเล่นเครื่องเสียงทั้งหลายชอบแผ่นเสียงที่บันทึกดีเยี่ยม ที่บางครั้งแผ่นพวกนั้นก็ไม่ใช่เพลงที่เพราะ ซึ่งนับวัน ๆ ชาวหูทิพย์เหล่านี้ก็ค่อย ๆ ตีตัวออกห่างราวกับตนไม่เคยผ่านจุดนั้นมาก่อน จุดที่ทำให้พวกเขาหลงรักในเสียงเพลง คำถามต่อมาแล้วเราจะสามารถหาสมดุลของเรื่องราวตรงนี้อย่างไรดี เพราะคนที่จะก้าวเข้ามาเป็นออดิโอไฟล์ได้นั้น ทุกคนก็ต้องมีพื้นฐานเริ่มจากการชอบฟังเพลง “คุณเป็นออดิโอไฟล์คุณต้องยอมรับว่าคุณต้องชอบฟังเพลงไม่งั้นคุณคงไม่เล่นเครื่องเสียง”

แผ่นเสียงที่บันทึกเสียงดีคืออะไร

“เมื่อเราฟังออกมาแล้วมันให้ความรู้สึกเหมือนเสียงจริงมากที่สุด (Hi-Fidelity) ฟังแล้วสามารถแยกเครื่องดนตรีแต่ละชนิดออกจากกันมีรายละเอียดชัดเจนสมมติอย่างเสียงเปียโนเราต้องได้ยินถึงขนาดเสียงที่กระแทกเกิดเป็นแรงสั่นที่มาจากค้อนกระทบสายสตริงหรือถ้าเป็นเครื่องเป่าก็ต้องได้ยินเสียงลมไล่ผ่านตามท่อของเครื่องเป่าชิ้นนั้นถ้าเป็นนักร้องต้องได้ยินเสียงลมผ่านริมฝีปากเสียงกระดกลิ้น”  ถึงจะหลับตาหรือไม่หลับตาเสียงที่เราได้ยินทั้งหมดนั้นต้องเหมือนราวกับว่ามีวงดนตรีมาเล่นให้ฟังอยู่ข้างหน้า คุณวุฒิกรตบท้าย

ฉะนั้นลิสต์แผ่นเสียงทั้งหมด 10 แผ่นที่เรานำเสนอในบทความนี้จะมีทั้งแผ่นหายากที่มีเก็บไว้เพื่อทดสอบสมรรถนะของชุดเครื่องเสียงโดยเฉพาะ จนไปถึงแผ่นสามัญประจำบ้านที่หากไม่มีคงเรียกตัวเองว่าออดิโอไฟล์ได้ไม่เต็มปาก และแผ่นอัลบั้มสุดฮิตคุณภาพคับแก้วน่าฟังน่าสะสม ทั้งหมดเกิดจากการผสมและตกตะกอนทั้งประสบการณ์และความคิดจากการท่องโลกของคุณวุฒิกรในฐานะนักเล่นแผ่นเสียงหรือนักเล่นเครื่องเสียงก็ดี ที่สุดท้ายเขาอยากจะชวนชาวออดิไฟล์ ลองถามตัวเองสักครั้งหนึ่งว่า “ทุกวันนี้เราซื้อเครื่องเสียงมาทำไม”

Belafonte At Carnegie Hall – Harry Belafonte

แม้จะเป็นอัลบั้มที่ถือว่าไม่ได้หายากจนเกินไป แต่เป็นอัลบั้มที่ถือว่าเก๋าที่สุดในบรรดาการบันทึกการเล่นสดทั้งหมดทั้งมวลและเป็นแผ่นสามัญประจำบ้านที่ต้องมีติดไว้ “เหมือนการดูดนตรีสดมากกว่าการฟังเพลง” คุณวุฒิกรโฆษณาให้เราฟังก่อนจะยกโทนอาร์มไปวางที่แผ่น 

เสียงร้องและท่วงทำนองที่เกิดขึ้นภายในอัลบั้มนี้ปลุกเร้าจิตวิญญาณของเราให้ตื่นเต้นตลอด ระหว่างที่เขาร่ายมนต์ด้วยน้ำเสียงไปนั้น เขาเดินไปเดินมา จากฝั่งซ้ายของเวทีไปฝั่งขวา หยอกล้อกับคนฟัง เต็มเปี่ยมไปด้วยอรรถรสที่เป็นธรรมชาติ

Harry Belafonte เขาคือแกรนด์มาสเตอร์ในการสะกดคนดูได้อย่างอยู่หมัด ทั้งลีลา ท่าทางและฝีปากของเขาทำให้อัลบั้มบันทึกสดนี้กลายเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ดนตรีที่สำคัญ คุณวุฒิกรเสริมว่าจุดนี้คือสิ่งที่เหล่าออดิโอไฟล์เลือกนำอัลบั้มนี้นำมาทดสอบมิติเสียง “เราจะเห็นการเคลื่อนไหวของเขาหน้าเวทีมันเหมือนเรานั่งอยู่ท่ามกลางผู้คนมันจะมีเสียงคนที่อยู่ในคาร์เนกีฮอลล์ในเวลานั้นโดยเฉพาะกับบรรยากาศของเพลง Matilda”

Recommended Track – Matilda

ด้วยความยาวกว่า 12 นาที แล้วก็มีการร้องสลับกับการพูดคุยกับคนดูและนักดนตรีบนเวทีแล้วก็หยุดเป็นช่วง ๆ แล้วก็ร้องต่อ บรรยากาศมันธรรมชาติมากและพลังเสียงที่ Belafonte ใส่เข้ามาในเพลงยากที่จะหาใครต้านทาน และเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็กลายเป็นการสร้างมาตรฐานของการดึงคนดูให้มีอารมณ์ร่วมระหว่างขณะแสดงคอนเสิร์ตจนถึงทุกวันนี้

Jazz at the Pawnshop

“นี่คือแผ่นเพลงแจ๊สที่ผมชอบที่สุด” ไม่ง่ายเลยที่บรรดานักเล่นเครื่องเสียงจะอินและซึมซึบกับลีลาสำเนียงแจ๊สที่แตกต่างจากไปสมูทแจ๊ส ซึ่งสำหรับผลงานชุด Jazz at the Pawnshop จะจัดหนักในแบบสวิงและบีบ็อพ อัลบั้มนี้ออกมาในปี 1977 เล่นและบันทึกเสียงกันที่แจ๊สคลับ ชื่อ Stampen ตามที่ปรากฏอยู่บนปก และในอดีตที่ตรงนั้นเคยเป็นโรงรับจำนำ จึงเป็นที่มาของชื่ออัลบั้ม Jazz at the Pawnshop อัลบั้มนี้เป็นที่ยอมรับกันว่านี่คือหนึ่งในอัลบั้มแจ๊สที่บันทึกเสียงได้ดีที่สุดในศตวรรษที่ 20 

โดยทางพูดถึงคุโณปการทางดนตรีแจ๊สแล้วนั้น อัลบั้มนี้เสมือนเป็นการประกาศให้โลกได้รู้ซึ้งถึงฝีมือลายมือและขนบทางดนตรีแจ๊สในยุโรป ภายใต้การนำทัพของ Arne Domnérus และ Lars Erstrand สองนักดนตรีแจ๊สชาวสวีเดนผู้โด่งดัง

มีคนได้บรรยายไว้ว่าหากแผ่นเสียงอัลบั้มนี้ถูกเปิดผ่านชุดเครื่องเสียงอันทรงพลัง เราจะไม่ได้ยินแค่เสียงดนตรี แต่เราจะได้ยินตั้งแต่เสียงคนที่กำลังกินอาหาร หรือกำลังยกแก้วเบียร์ขึ้นซด และแม้กระทั่งสามารถจินตนาการได้เลยว่าชายคนนั้นกำลังเคี้ยวไส้กรอกอยู่อย่างเอร็ดอร่อย 

แผ่นเสียงปั๊มแรกผลิตขึ้นในประเทศสวีเดน ซึ่งออกมาเป็น 2 LP ยิ่งกว่านั้นในแต่ละหน้าอัดแค่เพียง 3 เพลงและในเวลาต่อมาถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง อัลบั้มนี้จัดได้ว่าอยู่ในแผ่นสามัญประจำบ้านที่ต้องมีติดไว้เช่นกัน

Recommended Track – High Life 

High Life เป็นแทร็คที่สนุกและใส่ความเป็นอัฟริกันได้เข้ามาอย่างลึกซึ้ง ช่วงต้นเพลงจะปูด้วยเสียงอัลโตแซกโซโฟนของ Arne Domnérus เพื่อเปิดแสงสว่างให้แก่ค่ำคืนสุดวิเศษ ตามด้วยการบรรเลงเปียโนด้วยทำนองมากเสน่ห์ให้กลิ่นอายความอัฟริกันเหมือนมาริมบ้า โดยเฉพาะการรัวโซโล่กลองในตอนท้ายด้วย

Hell Freezes over – Eagles

แผ่นสามัญประจำบ้านลำดับที่ 3 ของลิสต์นี้เป็นอัลบั้มการแสดงสดของเหล่า 4 พญาอินทรี ในวาระการกลับมารวมตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี

เมื่อไหร่จะกลับมาเล่นด้วยกันอีก.. เมื่อปี 1980 Don Henley หัวหน้าวง ตอบคำรบเร้าของนักข่าวไปด้วยทีเล่นทีจริงว่า “ไม่มีทางเกิดขึ้นอย่างแน่นอนหรือถ้ามีโอกาสก็คงรอจนกว่านรกทั้งขุมจะเย็นกลายเป็นธารน้ำแข็ง” ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของชื่ออัลบั้ม Hell Freezes Over หลังจากที่พวกเขากลับมาผงาดอีกครั้งในการแสดงสดที่ MTV ปี 1994 ซึ่งอัลบั้มนี้จะเป็นการรวมเพลงที่ถูกบันทึกขณะแสดงสด 11 เพลง และเพลงใหม่ที่บันทึกเสียงในสตูดิโอ 4 เพลง เช่น Get Over it และ Love Will Keep Us Alive เป็นต้น

“แน่นอนว่ามันเป็นการเล่นกันเต็มวงครั้งแรกในรอบ 14 ปีและเขาบันทึกเสียงดีมากทุกอย่างทั้งไดนามิกเองมันออกมาแบบเต็มอิ่ม” คุณวุฒิกรบรรยายความสุดยอดของดิ อีเกิลส์บวกกับการบันทึกเสียงที่สมบูรณ์ส่งให้อัลบั้มนี้ขึ้นชั้นไปเป็นแผ่นทดสอบเครื่องเสียง ซึ่งปั๊มแรกถูกผลิตที่ประเทศเนเธอร์แลนด์

Recommended Track – Hotel California 

Hotel California ฉบับอะคูสติก เพลงที่ต้องถูกเปิดทุกครั้งเมื่อมีงานโชว์เครื่องเสียง เพราะแค่เสียงกลองตอนเริ่มก็กินขาด ทั้งเสียงกีตาร์และเสียงร้องพอมาผ่านความอะคูสติก มันได้ความเป็นธรรมชาติของเสียงที่ดีมาก “จริงๆแผ่นนี้สะท้อนคำพูดของ Alan Parsons ได้ชัดเจนมากๆที่บอกซื้อแผ่นไว้ลองเครื่อง” คุณวุฒิกรย้ำถึงประโยคช่วงต้นบทสนทนา

แม้จะมีเพลงกลิ่นบัลลาดอย่าง Love Will Keep Us Alive ที่ถามใครใครก็รัก หรือเพลงสไตล์คันทรี่อย่าง Learn to Be Still หรือไม่ว่าจะเป็นเสียงเปียโนที่จับใจ Desperado คุณวุฒิกรก็ต้องยอมหลีกทางให้ Hotel California เป็นแทร็คตัวแทนเพื่อนของอัลบั้มนี้จริง ๆ

MTV Unplugged in New York- Nirvana

วงกรันจ์ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดบนโลกใบนี้ ขณะเดียวกันพวกเขาก็เป็นผู้ค้นพบและสร้างแนวดนตรีในสไตล์ใหม่ ยิ่งกว่านั้น Kurt Cobain ฟร้อนท์แมนของวงที่กลายเป็นสไตล์ไอคอนให้กับวัยรุ่นในยุคสมัยนี้ด้วย 

มีนักวิจารณ์ดนตรีผู้หนึ่งกล่าวไว้ทำนองว่า ถ้าอัลบั้ม In Utero เป็นเหมือนจดหมายลาตาย อัลบั้ม MTV Unplugged in New York ก็เป็นข้อความสุดท้ายที่เขาอยากจะให้คนตระหนักหลังจากเขาจากไปแล้ว การแสดงสดในครั้งนี้เป็นเหมือนถ้อยคำที่รวบรัดสรุปถึงความสามารถและความทุกข์ทนในจิตใจของ Kurt Cobain ได้ออกมาอย่างน่าสะพรึง เรื่องแปลกอีกอย่างหนึ่งแม้ดนตรีและการบันทึกเสียงของอัลบั้มนี้จะดีเยี่ยมแค่ไหน แต่เราสาบานเลยว่าคุณไม่สามารถฟังมันวนไปวนมาได้ทั้งวันแน่ ๆ 

อัลบั้มนี้ถือเป็นม้านอกสายตาของรอบนี้กันเลยทีเดียว เพราะคุณวุฒิกรบอกกับเราตรง ๆ ว่าคงไม่มีออดิโอไฟล์คนไหนที่ฟัง “ผมชอบลักษณะทางดนตรีของเขาที่เป็นอันเดอร์กราวด์เป็นกรันจ์ร็อคและที่สำคัญชอบความเป็นอันปลั๊กได้เสียงสดๆรายละเอียดเสียงบันทึกดีจากค่ายเกรฟเฟนเรคคอร์ดคือในออดิโอไฟล์ไม่มีใครเล่นแต่ผมเป็นคนที่เปิดรับได้”

อัลบั้มนี้เป็นการบันทึกการแสดงสดที่ Sony Studios ในมหานครนิวยอร์ก ปี 1993 และเปิดตัวครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ปี 1994 สิ่งที่ทำให้อัลบั้มนี้พิเศษด้วยตัวของมันเองที่ต่างจากสตูดิโออัลบั้มก็คือ เพลงที่วง Nirvana เล่นในเหตุการณ์ครั้งนั้นส่วนมากเป็นเพลงโคฟเวอร์จากศิลปินอื่น เช่น David Bowie, The Vaselines และ Lead Belly

Recommended Track – The Man Who Sold the World 

เพราะไม่มีใครเล่นโคฟเวอร์ The Man Who Sold the World ของ David Bowie ได้สบายอารมณ์และต่อกรกับต้นฉบับได้ไปมากกว่าพวกเขาอีกแล้ว ความสามารถของเขาในการเล่นเพลงนี้ทำให้ใครหลายคนรู้ซึ้งถึงพรสวรรค์ของ Kurt Cobain ว่าผู้ที่ไม่ค่อยมีอารมณ์ขัน ชายซึ่งมักปรากฏตัวพร้อมคาร์ดิแกนและลีวายส์ 501 ผู้นี้คือหนึ่งใน 50 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล 

The Freewheelin’ Bob Dylan – Bob Dylan

The Freewheelin’ Bob Dylan อาจจะไม่ใช่ผลงานที่เป็นที่สุดของศิลปินระดับตำนานผู้นี้ แต่เป็นอัลบั้มที่เป็นมิตรต่อผู้ที่กำลังจะยื่นมือเข้ามาทักทายสำเนียงทางดนตรีของเขา และเป็นอัลบั้มที่ก้าวข้ามเส้นแบ่งและอยู่เหนือกาลเวลาทั้งปวง ที่มีอิทธิพลต่องานดนตรีในยุคสมัยหลังขณะเดียวก็เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเปลี่ยนโฉมหน้าและนิยามใหม่ของลักษณะทางดนตรี

Bob Dylan คือศิลปินที่เราพูดอะไรไปก็ดูเหมือนอวยเขา แต่ข้อเท็จจริงคือเขาเป็นมนุษย์ผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสามารถจริง ๆ เขาคือที่สุดในเรื่องของชั้นเชิงการแต่งเพลง ดินแดนแห่งจินตนาการที่น้อยคนจะเข้าไปสัมผัสถึงได้เหมือนอย่างที่เขาได้ทำให้เราเห็น 

หาก Louis Armstrong และ Elvis Presley คือตัวแทนของจินตนาการทางดนตรีของจิตวิญญาณความเป็นอเมริกัน สิ่งที่ Bob Dylan ได้ทำออกมานั้นถือว่าเทียบเท่าได้เลยด้วยกีตาร์และฮาร์โมนิก้าและเสียงที่แหบพร่าของเขา 

การบันทึกเสียงอัลบั้มนี้ถ้าในแง่ของดนตรีอาจจะยังไม่โดดเด่นมากหากเทียบกับแผ่นอื่นที่เรายกขึ้นมาแนะนำ แต่พอไปฟังเสียงร้อง จะรับรู้ได้ถึงเนื้อเสียงที่สัมผัสได้ มีความโปร่งและมีรายละเอียด ราวกับ Bob Dylan ร้องอัดใส่ไมค์อยู่ในห้องเดียวกับคุณเลย 

Recommended Track – Blowin’ in the Wind 

Blowin’ in the Wind เป็นเพลงที่เหมือนลมนำทางของขบวนการเคลื่อนไหวในสมัยที่เพลงโฟลค์ได้เข้าไปอยู่ในหัวใจของจิตวิญญาณเสรีชนและชาวโบฮีเมียนเข้าสู่การประท้วงต่อความปั่นป่วนและบิดเบี้ยวของสังคมอเมริกาในขณะนั้น  

The Dark Side of The Moon – Pink Floyd

แทบไม่ต้องบรรยายสรรพคุณของอัลบั้มนี้ สำหรับตำราพิชัยยุทธทางดนตรีร็อคแห่งช่วงทศวรรษ ’70s นอกจากฝีมือของ Alan Parsons โปรดิวเซอร์ที่ควบคุมคุณภาพการผลิตให้เกิดมิติเสียงที่โดดเด่น อีกสาเหตุที่คุณวุฒิกรเลือกจะหยิบยกขึ้นมาพูดถึง The Dark Side of The Moon เพราะความยิ่งใหญ่ทางดนตรีที่อัลบั้มนี้ได้สร้างเอาไว้ให้กับโลกใบนี้มันเกินที่จะบรรยายได้ และเป็นอัลบั้มที่เขารักมากเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาผลงานของ Pink Floyd อีกด้วย เพราะไม่มีอัลบั้มไหนที่จะเทียบเคียงคุณภาพการบันทึกเสียงได้เท่าอัลบั้มนี้ ซึ่งผลิตโดย Harvest Records บันทึกเสียงกันที่ Abbey Road Studio ในกรุงลอนดอน อัลบั้มนี้นับเป็นจุดสูงสุดบนยอดภูเขาของความสำเร็จของพวกเขา ทั้งแง่การตลาดและทางดนตรี โดยแผ่นเสียงอัลบั้มนี้ถูกปล่อยมาครั้งแรกในเดือนมีนาคม ปี 1973 

“สิ่งที่เรียกว่าอีกฟากฝั่งความมืดของดวงจันทร์ก็แค่คำพูดที่สร้างขึ้นมาเพราะความจริงที่นั่นไม่เคยมีแสงสว่างเลย” Roger Waters สมาชิกวง Pink Floyd เคยพูดไว้ คุณวุฒิกรเสริมต่อว่าโปรเจ็กต์อัลบั้มนี้ไม่ได้ต้องการจะเล่าถึงเรื่องดาราศาสตร์อะไรทั้งนั้น แต่เป็นเรื่องของสังคม สังคมที่เติบโตได้ด้วยมนุษย์ และก็สามารถเปลี่ยนแปลงมนุษย์ได้เช่นกัน ซึ่งแสงสีขาวที่ทะลุพีระมิดและกระจายออกมาเป็นสเปกตรัมนั้นเปรียบได้คือมนุษย์  “เขาบอกว่าพีระมิดคือสังคมคนคือแสงสีขาวเมื่อเข้าไปอยู่สังคมแล้วจะเกิดการแบ่งแยกกันนี่คือความหมายที่เขาออกแบบมามันก็เป็นเรื่องราวของชีวิตที่เกิดแก่เจ็บตาย” 

Pink Floyd ทำได้ดีมาก ๆ ในการจัดสรรวางพื้นที่ให้กับเสียงหลากหลายแบบและเรียบเรียงออกมาได้ลื่นไหลไปกับอารมณ์ พลังที่แท้จริงที่ขับเคลื่อนอัลบั้มนี้ก็คือเนื้อหนังมังสาทางดนตรีที่มาจากโครงสร้างของบูลส์ร็อคกับโปรเกรสซีฟร็อค ไปจนถึงฟิวชั่นแจ๊ส ทั้งหมดทั้งมวลกลายเป็นความมืดอันนิรันดร์เคลื่อนที่ด้วยจังหวะไม่รีบเร่งแต่ยิ่งใหญ่

Recommended Track – Speak to me 

เสียงหัวใจที่ดังขึ้นต่อเนื่องไปเวลาหนึ่งนาทีตอนเริ่มแทร็คท่ามกลางเสียงแอมเบียนต์รอบข้าง โดยชาวออดิโอไฟล์มักนำมาใช้ทดสอบเสียง เพลง Speak to me ถือว่าเป็นทั้งแก่นและบทสรุปของทั้งอัลบั้ม ก่อนที่จะเริ่มไล่เรื่องราวต่อไปที่เพลง Breathe (In The Air)

Hope – Hugh Masekela

Hugh Masekela นักดนตรีแจ๊สผู้เป็นเพื่อนรักของ Belafonte เขาผู้นี้มีพลังเสียงระดับพระกาฬฉบับที่ว่าเนื้อร้องที่เขาขับออกมานั้นราวกับเป็นเวทมนตร์สะกดคนฟังตกอยู่ในภวังค์ นอกจาก Belafonte และ Masekela จะขึ้นชื่อเรื่องเนื้อเสียงที่ยิ่งใหญ่เหมือนกัน เรื่องการใช้ดนตรีเพื่อสื่อสารถึงเรื่องการเมืองและสังคมก็เป็นของถนัดของพวกเขาทั้งคู่เช่นกัน

Hope เป็นการบันทึกแสดงสดที่คลับ Blues Alley ในเมืองวอชิงตัน ดีซี ปี 1993 อัลบั้มนี้เปรียบเหมือนความฝันของเขาที่ต้องการจะเห็นรากเหง้าของดนตรีอัฟริกันได้ถูกนำมาทำให้ร่วมสมัย เพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มนี้มาจากเหตุการณ์ในช่วงชีวิตที่สำคัญของตัวเอง

อัลบั้มนี้รวบรวมทั้งอารมณ์แห่งความหนักแน่นจริงจังและช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลาย สองสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่เข้ากันแต่ Masekela ทำออกมาได้อย่างดีเยี่ยม “ดนตรีสนุกมากสไตล์อัฟริกันแจ๊สพวกเพอร์คัชชั่นก็โดดเด่นและเป็นแผ่นที่บันทึกเสียงได้ดีมากๆ” คุณวุฒิกรพูดไปขณะที่กำลังจะวางเข็มลงบนร่องแทร็คสุดท้ายที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไป 

Recommended Track – Stimela (The Coal Train) 

แทร็คสุดท้ายของอัลบั้มนี้เป็นเหมือนบาดแผลในชีวิตของเขา เพลงนี้เขาจะร้องสลับกับพูด ตามด้วยเสียงหวีดร้องที่เขย่าโสตประสาททุกช่วงจังหวะ ไดนามิกที่หลากหลายและทรงพลังจะเร่งอารมณ์ผู้ฟังขึ้นไปเรื่อย ๆ รวมถึงการบันทึกที่ยอดเยี่ยมและการจัดเต็มของวงดนตรีที่เล่นเหมือนราวกับจะไม่มีวันพรุ่งนี้ ที่สำคัญเพลงนี้ Masekela ได้โชว์โซโล่ฟลูเกิลฮอร์นเต็ม ๆ

The Hunter – Jennifer Warnes   

ในวงการออดิโอไฟล์บ้านเราไม่มีใครไม่รู้จักเธอคนนี้เจ้าของรางวัลแกรมมี่สาขาเพลงป็อปดูโอสองสมัยเจ้าของพลังเสียงทรงพลังที่เคยร่วมงานกับศิลปินระดับไอคอนมามากมายรวมถึง Leonard Cohen ด้วยการเคยเป็นนักร้องแบคอัพให้ศิลปินแนวคันทรี่ผู้ยิ่งใหญ่ในช่วงทศวรรษ ’70s และเธอได้มีผลงานอัลบั้ม Famous Blue Raincoat ที่เป็นการนำเพลงของ Leonard Cohen มาขับร้องใหม่และที่ถือว่าเป็นหนึ่งในชุดผลงานประสบความสำเร็จของเธออย่างยิ่งใหญ่ 

โดย 5 ปีต่อมาก็ได้ออกผลงานชุด The Hunter ที่ถือเป็นอีกหนึ่งอัลบั้มน่าสะสมของชาวออดิโอไฟล์ เพื่อการทดสอบคุณภาพเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพลังเสียงต่ำจากแทร็ค Way Down Deep โดยคุณวุฒิกรกำชับว่า “ปั๊มแรกปกสีขาวจาก Private Music ที่ผลิตในประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นให้เสียงได้ดีที่สุด” โดยปั๊มหลังในอเมริกาจะเป็นปกสี ซึ่ง The Hunter เป็นอัลบั้มยอดนิยมอันดับหนึ่งของศิลปินหญิงชาวอเมริกันผู้นี้ด้วย ที่สำคัญผลงานชุดนี้เพลงจำนวนครึ่งอัลบั้มเธอเป็นคนแต่งเอง

Recommended Track – The Hunter 

The Hunter เป็นแทร็คที่สง่างามและเต็มไปด้วยตัวตนของ Jennifer Warnes จริง ๆ มีไดนามิกครบถ้วน รายละเอียดสวยงามและที่สำคัญบันทึกเสียงได้ยอดเยี่ยม 

 

Unplugged – Eric Clapton

อัลบั้มบันทึกการแสดงสดที่ยอดเยี่ยมที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุดของ Eric Clapton หนึ่งในมือกีตาร์แนวบลูส์ร็อคไร้เทียมทาน จากอัลบั้มที่ถูกขนามนามว่าล้ำค่าดุจดั่งเพชรด้วยการประเดิมยอดขาย 10 ล้านก้อปปี้ในสหรัฐอเมริกา แต่เมื่ออัลบั้มนี้ออกเดินทางไปทั่วโลกได้กลายเป็นสิ่งล้ำค่ายิ่งกว่าเพชรเสียอีกการันตีด้วยยอดขาย 26 ล้านก้อปปี้

ส่วนตัวคุณวุฒิกรโหวตให้กับปั๊มแรกที่ออกมาภายใต้สังกัด Duke Records ในปี 1992 มากกว่าโดยให้เหตุผลว่ามองเห็นชิ้นดนตรีได้ชัดเจนและแยกแยะตำแหน่งของชิ้นดนตรีได้ดีกว่า “ผมชอบเสียงกีตาร์อะคูสติกในสไตล์การเล่นของเขาปั๊มแรกมีสเปซของดนตรีมากกว่าและเสียงโปร่งกว่าปั๊มที่สองมีไดนามิกที่ดีกว่าเหมือนตัวคนฟังได้เข้าไปอยู่ในบรรยากาศวันนั้น” 

ดังที่เราทราบกันดีว่าในปี 1991 Eric Clapton ต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมเศร้าสลดกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับลูกชายเขา ที่หลังจากนั้นเขาจึงได้แต่งเพลง Tears in Heaven เพื่ออุทิศให้กับคอเนอร์ลูกชายคนเดียวของเขา ซึ่งเพลงดังกล่าวภายหลังกลายเป็น 1 ใน 6 รางวัลที่เขาได้รับในปีนั้น 

การที่เขาได้มาเล่นในรายการ MTV ปี 1992 นั้นเหมือนกับเป็นการฟื้นฟูจิตวิญญาณและกลับคืนสู่เส้นทางดนตรีอีกครั้ง ที่ต่อมากลายเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เพลง Tears in Heaven ถูกเปิดตัวอย่างทางการต่อหน้าแฟนเพลง หากย้อนกลับไปดูเจตนารมณ์ของ MTV Unplugged จะทราบว่านี่คือพื้นที่ของการให้ศิลปินมาแสดงตัวตนในลักษณะที่แตกต่างจากที่เคยเป็นและได้กำหนดนิยามให้ตัวเองใหม่ ซึ่งเจ้าของฉายา Slowhand ผู้นี้ทำได้ในระดับที่สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่มีคนเคยทำไว้

Recommended Track – Tears in Heaven

Tears in Heaven บทสนทนาระหว่างเขากับลูกชายบนสรวงสวรรค์ คือเพลงที่โด่งดังที่สุดของเขาและเป็นการขับกล่อมทางดนตรีที่สมบูรณ์ที่สุดที่โลกเคยมีมา

 Felipe De La Rosa – Flamenco Fever

น้อยคนที่จะรู้จักอัลบั้มนี้ แต่ในวงการออดิโอไฟล์ถือว่าคือสมบัติล้ำค่าที่ต้องตามหามาเก็บเป็นเจ้าของให้ได้ ขึ้นชื่อว่าเป็นแผ่นเสียงที่บันทึกแบบ Direct to Disc (จากเสียงตรงสู่แผ่น ไม่ผ่านการดัดแปลงใด ๆ) แน่นอนดีกรีย่อมไม่ธรรมดา ซึ่ง Felipe De La Rosa เป็นอัลบั้ม Direct to Disc ที่เยี่ยมยอดที่สุดจากทรรศนะของคุณวุฒิกร ผลิตโดย M&K Realtime Records ออกวางตลาดในปี 1978 ซึ่งในหน้าปกโชว์ให้เห็นเครื่องบันทึกเสียงวางอยู่ให้รู้ถึงความจริงจัง

โดยแผ่นนี้จะเข้าข่ายแผ่นเสียงที่บันทึกได้ดีเยี่ยมแต่เพลงไม่ติดหูหรือฟังยากตามที่เกริ่นไปตอนต้น โดยคุณวุฒิกรเสริมดีกรีของแผ่นนี้ต่อว่า “เป็นแผ่นหายากเอาไว้โชว์พลังเครื่องเสียงเท่านั้นปีๆนึงคงหยิบมาฟังแค่รอบเดียว” คล้าย ๆ กับว่าของมันต้องมี 

สาเหตุที่ชาวออดิโอไฟล์ต้องตามล่ามาเก็บไว้นอกจากประเด็นเรื่องคุณภาพเสียงที่บันทึกได้สมจริงสมจังแล้วนั้น ลักษณะการแสดงบนเวทีก็คือประเด็นหลักที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะอัลบั้มนี้ดนตรีจะหนักไปทางแนว ละติน โฟลค์ และฟลาเมงโกที่ผสมผสานกับการเต้น ฉะนั้นเพลงจะเน้นจังหวะไปที่เสียงกระทืบเท้าของนักเต้น เวลาที่ได้ฟังนั้นให้ความรู้สึกเหมือนเรานั่งอยู่ที่เก้าอี้ตัวหน้าสุดของแถวติดขอบเวที ถ้าตามภาษาออดิโอไฟล์แบบคุณวุฒิกรจะบอกว่า “แทบจะไม่มีความรู้สึกของการอัดมา” รวมถึงไดนามิกที่ฉับไวและเบสที่หนักแน่นและสเปซของดนตรีที่กว้างทำให้แผ่นนี้ควรค่าแก่การตามล่าหามาครอบครอง

อัลบั้มนี้ไม่มีแทร็คที่แนะนำเป็นพิเศษ แต่มีเรื่องข้อควรระวังในการปรับระดับเสียง เพราะอัลบั้มนี้ผ่านการบันทึกแบบไม่ได้มีซาวด์เอนจิเนียร์มาปรับแต่งไดนามิก จึงทำให้ค่าเสียงเกินในระดับปกติที่บันทึกกันอาจทำให้ลำโพงเสียงแตกได้


เพลงใหม่ที่ดีที่สุด 2020 【เมาทุกขวดเจ็บปวดทุกเพลง●หลอก NICECNX●ActArt นอกจากชื่อฉัน●WIP WUP(วิบวับ)】


เพลงใหม่ที่ดีที่สุด 2020 【เมาทุกขวดเจ็บปวดทุกเพลง●หลอก NICECNX●ActArt นอกจากชื่อฉัน●WIP WUP(วิบวับ)】
___________________________________________________________________
https://youtu.be/8COZba9apsA
______
01. เมาทุกขวดเจ็บปวดทุกเพลง
02. หลอก NICECNX
03. ActArt นอกจากชื่อฉัน
04. แก้มน้องนางนั้นเเดงกว่าใคร
05. WIP WUP (วิบวับ)
06. สะใจเธอแล้วใช่ไหม
07. กฎของคนแพ้
08. CATHERINE
09. ทางผ่าน PURE
10. ชอบแบบนี้
11. อีหล่าเอ๋ย
12. ถ้าฉันเป็นเขา
13. มะล่องก่องแก่ง
14. ไปเลิกกับเขาดิ๊
15. ฝากดาว

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

เพลงใหม่ที่ดีที่สุด 2020 【เมาทุกขวดเจ็บปวดทุกเพลง●หลอก NICECNX●ActArt นอกจากชื่อฉัน●WIP WUP(วิบวับ)】

ช่วงที่ดีที่สุด – BOYdPOD | Kanyanut Q cover [เนื้อเพลง]


IG : kann_1483
_____
\”เนื้อเพลง\”
ช่วงที่ดีที่สุด BOYdPOD (ภาพวันและคืนเหล่านั้นจะยังงดงามไม่เคยเปลี่ยนไป) | Kanyanut Q cover

เดินจับมือกัน
ทุกข์สุขด้วยกัน
หัวเราะร้องไห้ด้วยกันมานานเท่าไหร่
ฉันไม่เคยลืมจากใจ
วันที่เรายิ้ม
วันที่ทะเลาะ
ภาพวันและคืนเหล่านั้นจะยังงดงามไม่เคยเปลี่ยนไป
ยังคงเป็นดั่งเหมือนกับเมื่อวาน
อยู่ในส่วนลึกความทรงจำ
แต่ต่างกันแค่เพียงในตอนนี้
ฉันนั้นไม่ได้มีเธออยู่ข้างข้าง
เหมือนวันที่เราเคยเดินข้ามผ่าน
ทุกทุกสิ่ง
ทุกทุกอย่างมาด้วยกัน
นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุด
แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้นสั้น
ที่เคยเกิดขึ้นกับฉัน
เพราะเธอ
เพลงและของขวัญ
ตั๋วจากโรงหนัง
จดหมายที่ส่งให้กันในวันที่ห่าง
ฉันนั้นยังคงเก็บไว้
วันที่เหนื่อยล้า
ถ้อยคำที่ปลอบใจ
ภาพวันและคืนเหล่านั้นจะยังงดงามไม่เคยเปลี่ยนไป
ยังคงเป็นดั่งเหมือนกับเมื่อวาน
อยู่ในส่วนลึกความทรงจำ
แต่ต่างกันแค่เพียงในตอนนี้ (ในตอนนี้)
ฉันนั้นไม่ได้มีเธออยู่ข้างข้าง
เหมือนวันที่เราเคยเดินข้ามผ่าน
ทุกทุกสิ่ง
ทุกทุกอย่างมาด้วยกัน
นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุด
แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้นสั้น
แต่ก็เคยเกิดขึ้นกับฉัน
เพราะเธอ
ไม่รู้ว่าเธอ
ไม่รู้ว่าจะได้ยินเพลงนี้รึยัง
อยากจะให้เธอ (ฮื้อ ฮือ)
ช่วยมารับฟัง
ว่าฉันนั้นคิดถึง ฮ้า
นานานาน้า ฮาฮาฮ้า ฮาฮาฮา อาอา
ฉันนั้นไม่ได้มีเธออยู่ข้างข้าง
เหมือนวันที่เราเคยเดินข้ามผ่าน
ทุกทุกสิ่ง
ทุกทุกอย่างมาด้วยกัน
นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุด
แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้นสั้น
ที่เคยเกิดขึ้นกับฉัน
ฉันนั้นไม่ได้มีเธออยู่ข้างข้าง
เหมือนวันที่เราเคยเดินข้ามผ่าน
ทุกทุกสิ่ง ทุกทุกสิ่ง ทุกทุกอย่างมาด้วยกัน
นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุด
แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้นสั้น
แต่ก็เคยเกิดขึ้นกับฉันเพราะเธอ
เอ้อเฮอ เพราะเธอ
ทุกทุกสิ่ง
ทุกทุกอย่าง
ก็ผ่านมาด้วยกัน (นาฮ้า)
นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุด (เพราะเธอ)
แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้นสั้น (เพราะเธอ เออ)
แต่ก็เคยเกิดขึ้นกับฉันเพราะเธอ (เพราะเธอ เออ)
นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุด
แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้นสั้น (เพราะเธอ)

ช่วงที่ดีที่สุด - BOYdPOD | Kanyanut Q cover [เนื้อเพลง]

ทางที่ดีที่สุด -​ มาริโอ้ โจ๊ก ft. คะแนน นัจนันท์ X ตุ๊กตา นริศรา【4K OFFICIAL MV】


เพลง : ทางที่ดีที่สุด
ศิลปิน : มาริโอ้ โจ๊ก ft. คะแนน X ตุ๊กตา
คำร้อง/ทำนอง : เนม สุรพงศ์
เรียบเรียง : จินนี่ ภูไท
ถ่ายทำ : สามกีบโปรดักชั่น
กำกับ / บทMV : มาริโอ้ โจ๊ก
กีต้าร์ : ป๊อป นิติพงษ์
เบส : คาวานี่ ภูไท
กลอง : บอย ภูไท
ซอ/ขลุ่ย : ชานน ชินราช
อีดิต : แซ็ก ภูไท
คุมร้อง : หยาด ฮำฮอน/จินนี่
มิกซ์/มาสเตอริ่ง/บันทึกเสียง : ภูไทเร็คคอร์ด
…………………..
ติดต่องาน id Line ► mario_Jok
ติดตามเพิ่มเติม
Facebook ► มาริโอ้ โจ๊ก
https://www.facebook.com/mariojok555
Instagram ► mario_jok
Tiktok ► mario_jok
………………….
เนื้อเพลง
(มาริโอ้) : หรือเพราะวันเวลากัดเซาะหัวใจ จึงเป็นเหตุให้ความฮักบ่มั่นคง
ฮักที่เริ่มจากร้อย มื้อนี้มันถอยลง จนบ่เหลืออะไร
ดูเหมือนเราเหินห่าง การกระทำต่างๆ มันเหมือนดั่งฝืนหัวใจ
จนบางครั้งสับสน ระหว่างเราสองคน ยังเรียกความรักอยู่ไหม
(ตุ๊กตา) : เฮ็ด…อิหยัง บ่เคยถืกใจจั๊กอย่าง ความ…ฮู้สึก มันเริ่มสวนทาง
(ตุ๊กตา) : หรือต้องเก็บความฮัก หรือต้องเก็บความฝัน เก็บเอาทุกๆอย่าง แล้วคืนหัวใจให้กัน
(มาริโอ้) : หรือต้องเก็บความฮัก เก็บความสัมพันธ์ เก็บเอาทุกเรื่องราว ที่เราเคยผ่านด้วยกัน
(มาริโอ้) : ให้มันจบแค่นี้ สิ่งที่เคยฝัน ให้เหลือเพียงหยดน้ำตา และคำร่ำลาจากกัน
(มาริโอ้+ตุ๊กตา) : หยุดเส้นทางความฮัก ต่างคนต่างหยุดพัก คงจะเป็นหนทาง…..
(มาริโอ้ : ทางที่ดีที่สุด
(คะแนน) : เออเอ่อเออ…….
ไม่จีรังยั่งยืน นั้นแหละคือความรัก เมื่อเดินมาถึงทางตัน ก็คงต้องหยุดพัก
เออ…. หากเหนื่อยนัก จงหยุดพักจากความรักไปซักพัก
(คะแนน) : หยุดร้องขอความรัก จากคนไม่ได้รัก แล้วกลับมารักตัวเรา เพื่อคนที่เรารัก
เออ…. สู้ต่อไป อย่าไปสน เพราะหนทางยังอีกไกล นัก….
Solo: B,H,
(มาริโอ้) : เฮ็ด…อิหยัง บ่เคยถืกใจจั๊กอย่าง ความ…ฮู้สึก มันเริ่มสวนทาง
(มาริโอ้) : หรือต้องเก็บความฮัก หรือต้องเก็บความฝัน เก็บเอาทุกๆอย่าง แล้วคืนหัวใจให้กัน
(ตุ๊กตา) :หรือต้องเก็บความฮัก เก็บความสัมพันธ์ เก็บเอาทุกเรื่องราว ที่เราเคยผ่านด้วยกัน
(ตุ๊กตา) : ให้มันจบแค่นี้ สิ่งที่เคยฝัน ให้เหลือเพียงหยดน้ำตา และคำร่ำลาจากกัน
(มาริโอ้+ตุ๊กตา+คะแนน) : หยุดเส้นทางความฮัก ต่างคนต่างหยุดพัก คงจะเป็นหนทาง หยุดเส้นทางความฮัก ต่างคนต่างหยุดพัก คงจะเป็นหนทาง ทางที่ดีที่สุด
(คะแนน) : เออเอ่อเออ…….
…………………
เพลงใหม่ หยุดร้องขอความรัก

ทางที่ดีที่สุด -​ มาริโอ้ โจ๊ก ft. คะแนน นัจนันท์ X ตุ๊กตา นริศรา【4K OFFICIAL MV】

รวมเพลงสตริงยุค90เพราะๆ ผู้หญิงร้อง NO 5


รวมเพลงสตริงยุค90เพราะๆ ผู้หญิงร้อง NO 5
รวมเพลงสตริงยุค90เพราะๆ ผู้หญิงร้อง NO 5
รวมเพลงสตริงยุค90เพราะๆ ผู้หญิงร้อง NO 5

รวมเพลงสตริงยุค90เพราะๆ ผู้หญิงร้อง NO 5

รวมเพลงฮิต ดีที่สุด!! ต้อม เรนโบว์ \”ความในใจ\” I เพิ่ม Techno คุณภาพเสียงชัดแจ๋ว!!


Join this channel to get access to perks:
https://www.youtube.com/channel/UCRJu…
ร่วมกันชื่นชม และเชิดชูคนดีของสังคม!!
รวมเพลงฮิต ดีที่สุด!! ต้อม เรนโบว์ \”ความในใจ\” I เพิ่ม Techno คุณภาพเสียงชัดแจ๋ว!!
สำหรับคลิปนี้จัดทำเพื่อเป็นรางวัลให้กับแฟนคลับของทางช่องรักษ์ บุญมี อะคาเดมี่ เพื่อความเพลิดเพลินบันเทิงอารมณ์เท่านั่น!!
ต้อมเรนโบว์ฮิตตลอดกาล
ดีที่สุดต้อมเรนโบว์
ต้อมเรนโบว์และอ๊อดคีรีบูน

รวมเพลงฮิต ดีที่สุด!! ต้อม เรนโบว์  \

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่LEARN FOREIGN LANGUAGE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ เพลง ที่ ดี ที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *