Skip to content
Home » [NEW] โปรโมชันใหม่ เอาใจ SMEs จ้างนักศึกษาทำบัญชี หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า | การหักค่าใช้จ่าย 2560 – NATAVIGUIDES

[NEW] โปรโมชันใหม่ เอาใจ SMEs จ้างนักศึกษาทำบัญชี หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า | การหักค่าใช้จ่าย 2560 – NATAVIGUIDES

การหักค่าใช้จ่าย 2560: คุณกำลังดูกระทู้

          ในยุคปัจจุบัน ธุรกิจ SMEs กำลังก้าวมามีบทบาทและเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ตลอดจนสามารถต่อยอดสร้างศักยภาพทางการแข่งขันต่อไปได้ในระดับสากล ที่ผ่านมาภาครัฐจึงให้การส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจ SMEs มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs การปรับเงื่อนไขการค้ำประกันสินเชื่อ มาตรการสนับสนุน SMEs ผ่านการร่วมลงทุน มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ และมาตรการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น

          ล่าสุด jobsDB ก็มีข่าวดีมาเล่าสู่กันฟังถึงผู้ประกอบการ SMEs กันอีกครั้ง เมื่อกรมสรรพากรได้ออกมาตรการเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนและยกระดับมาตรฐานธุรกิจ SMEs เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีชุดเดียวอย่างเป็นระบบและครบวงจร โดยได้พัฒนาการจัดทำโปรแกรมบัญชีอย่างง่าย เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่มีพื้นฐานด้านบัญชี สามารถลงบัญชีได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องตามมาตรฐานบัญชีและกฎหมายภาษีสรรพากร ช่วยให้ผู้ประกอบการทราบถึงรายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไรหรือขาดทุนจากการประกอบกิจการ สามารถวางแผนการลงทุนที่เหมาะสมให้กับธุรกิจได้

ทำไม SMEs ต้องจัดทำบัญชีชุดเดียว

          การทำบัญชีชุดเดียวนั้นสำคัญอย่างมากกับธุรกิจ SMEs เพราะการมีบัญชีชุดเดียวทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องคอยปกปิดรายการใด ๆ ให้เป็นที่เคลือบแคลง สามารถตรวจสอบตัวเองได้ทันที ทำให้ทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริง และเข้าใจง่ายได้ ที่สำคัญเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมการเงินให้กับกิจการด้วย อีกทั้งเมื่อภาครัฐมองเห็นภาพรวมเศรษฐกิจที่แท้จริงและชัดเจน ก็จะสามารถให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการได้ตรงจุดและตรงต่อความต้องการของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ตัวผู้ประกอบการเองเมื่อได้เห็นภาพแท้จริงของกิจการนำข้อมูลส่วนนี้มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินธุรกิจ  หาจุดแข็งเพื่อต่อยอด และหาจุดอ่อนเพื่อพัฒนาแก้ไข ทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

          สำหรับประโยชน์เต็ม ๆ ที่ SMEs จะได้รับจากมาตรการจัดทำบัญชีชุดเดียวก็คือ การยกเว้นการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลังทันที เพราะกรมสรรพากรมีนโยบายที่จะเดินหน้าไปพร้อมกับผู้ประกอบการ SMEs มาตรการนี้จะเข้ามาช่วยทำความสะอาดบัญชีให้ถูกต้องและโปร่งใส เท่ากับว่าเป็นการล้างบัญชีเก่า แล้วเริ่มต้นใหม่พร้อม ๆ กันในรอบบัญชี ปี 2559  ประโยชน์ต่อมาคือการได้รับการยกเว้นภาษีในรอบบัญชี ปี 2559 รวมถึงได้รับการยกเว้นและลดหย่อนการเสียภาษีในปี 2560 ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด  ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จึงสามารถนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาเพิ่มศักยภาพและขยายกิจการได้อีกด้วย

          และสุดท้ายคือ นโยบายของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะสั่งการให้สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ใช้บัญชีและงบการเงินที่ผู้ประกอบการแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นเสียภาษีเงินได้  มาเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน โดยตั้งแต่วันที่  1 มกราคม 2562  เป็นต้นไป 

ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างสรรค์ SMEs ไทย

          หน่วยงานที่เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมด้วยช่วยกันสนับสนุนและถ่ายทอดความรู้ตลอดจนวิธีการจัดทำบัญชีอย่างง่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการ SMEs คือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย และกรมสรรพากร ในการเผยแพร่โปรแกรมการจัดทำบัญชีให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 เป็นต้นมา ให้ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมดังกล่าวผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

          ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ให้การสนับสนุนด้านการเรียนการสอน และการฝึกหัดอาชีพให้นักศึกษาอาชีวะมีความรู้ในการจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมจัดทำบัญชีที่กรมสรรพากรเป็นผู้เผยแพร่ รวมทั้งจัดส่งนักศึกษาฝึกงานไปช่วยลงบัญชีให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ด้วยโปรแกรมดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วย

จ้างนักศึกษาทำบัญชี หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า

          รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs มีการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 607 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจ้างนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในแผนกหรือสาขาบัญชีให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับบัญชี โดยให้สิทธิผู้ประกอบการสามารถนำค่าจ้างที่จ่ายให้นักเรียนหรือนักศึกษาดังกล่าวนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้อีก 1 เท่า โดยปกติแล้ว เมื่อผู้ประกอบการได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาแล้ว ค่าตอบแทนดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการ ผู้ประกอบการมีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อผู้ประกอบการปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในการจ้างนักศึกษาจัดทำบัญชี กิจการนั้นยังได้รับสิทธิในการนำค่าตอบแทนนักศึกษาที่จ่ายไปนั้นมาคิดรวมเพิ่มเติมเป็นรายจ่ายได้อีกเท่าหนึ่ง สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ทั้งนี้มีหลักเกณฑ์คือ

          – SMEs ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน

          – จ้างนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาในแผนกหรือสาขาวิชาการบัญชี ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อปฏิบัติงานด้านบัญชีของ SMEs

          โปรโมชั่นดี ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐอย่างกรมสรรพากรออกมากระตุ้นอัดฉีดให้ธุรกิจ SMEs นี้ ย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อแวดวงธุรกิจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนให้ SMEs จัดทำบัญชีชุดเดียวด้วยตัวเอง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นการลดภาระด้านค่าใช้จ่ายให้กับ SMEs ได้มาก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการจ้างงานนักเรียนนักศึกษา เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ฝึกทักษะ เสริมประสบการณ์การทำงานที่นำไปใช้ได้จริง และเมื่อนักเรียนหรือนักศึกษาเหล่านี้จบการศึกษาแล้ว ย่อมเป็นผลิตผลที่มีคุณภาพในด้านวิชาชีพบัญชี และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานต่อไป

แหล่งข้อมูล : rd.go.th

                     dlo.co.th

                     amtaudit.com

Increase your chances of getting hired. Create a jobsDB profile

Increase your chances of getting hired. Update your jobsDB profile

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สวัสดิการนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด

สิทธิวันลาป่วยของพนักงาน

Table of Contents

[NEW] เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคำศัพท์ที่คล้ายกัน – ชีวิต – 2021 | การหักค่าใช้จ่าย 2560 – NATAVIGUIDES

ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเป็นคำศัพท์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการบัญชีซึ่งใช้แทนกันได้ อย่างไรก็ตามมีความหมายที่แตกต่างกันและควรตีความให้ถูกต้อง ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างต้นทุนและค่าใช้จ่ายคือ ต้นทุนคือมูลค่

ความแตกต่างที่สำคัญ – ต้นทุนเทียบกับค่าใช้จ่าย
 

ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเป็นคำศัพท์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการบัญชีซึ่งใช้แทนกันได้ อย่างไรก็ตามมีความหมายที่แตกต่างกันและควรตีความให้ถูกต้อง ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างต้นทุนและค่าใช้จ่ายคือ ต้นทุนคือมูลค่าทางการเงินที่ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งบางสิ่งบางอย่างในขณะที่ค่าใช้จ่ายเป็นรายการที่เรียกเก็บจากการสร้างรายได้ควรวิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเทียบกับรายได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี

เนื้อหา
1. ภาพรวมและความแตกต่างที่สำคัญ
2. ต้นทุนคืออะไร
3. ค่าใช้จ่ายคืออะไร
4. การเปรียบเทียบแบบเคียงข้างกัน – ต้นทุนเทียบกับค่าใช้จ่าย
5. สรุป

ต้นทุนคืออะไร?

ต้นทุนคือจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบางสิ่ง ในแง่การบัญชีต้นทุนจะถูกจำแนกตามระดับต่างๆ

ต้นทุนของสินทรัพย์

ตาม IAS 16– “ทรัพย์สินอาคารและอุปกรณ์” ต้นทุนของสินทรัพย์รวมถึงเงินที่จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมสถานที่การขนส่งการจัดการและการติดตั้ง ต้นทุนของสินทรัพย์จะแสดงในงบดุล สินทรัพย์ยังใช้ไม่หมดจึงควรบันทึกเป็นต้นทุน

เช่น 1 บริษัท ADR ซื้ออาคารซึ่งมีราคา 100,500 ดอลลาร์ซึ่งมีอายุการใช้งานเชิงเศรษฐกิจ 40 ปี

ต้นทุนขาย

ต้นทุนขายคือการเพิ่มของค่าใช้จ่ายทางตรงทั้งหมดเช่นวัสดุแรงงานและค่าโสหุ้ยที่ใช้ในการสร้างรายได้

E. ก. 2 บริษัท ADR ผลิตสินค้า 5,000,000 ชิ้นต่อราคา 25 เหรียญต่อชิ้นจึงมีต้นทุนรวม 125,000 เหรียญ

ค่าใช้จ่ายคืออะไร

ค่าใช้จ่ายคือรายการที่สามารถเรียกเก็บจากรายได้สำหรับช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ค่าใช้จ่ายจะถูกหักออกจากรายได้เพื่อให้ได้กำไรสำหรับปีบัญชี เนื่องจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับรายได้จากธุรกิจจึงแสดงอยู่ในงบกำไรขาดทุน กล่าวอีกนัยหนึ่งค่าใช้จ่ายคือต้นทุนที่มีการใช้ยูทิลิตี้หมดแล้ว มันถูกบริโภคไปแล้ว ต่อจากตัวอย่างเดียวกัน

เช่น 1. อาคารดังกล่าวข้างต้นจะถูกหักค่าใช้จ่ายผ่านค่าเสื่อมราคาต่อปีและจะอยู่ที่ 2,512.5 ดอลลาร์ (100,000 ดอลลาร์ / 40 ดอลลาร์) เนื่องจากต้นทุนของสินทรัพย์อยู่ภายใต้การคิดค่าเสื่อมราคาทางบัญชีประจำปีเนื่องจากการลดอายุการใช้งานเชิงเศรษฐกิจ คิดค่าเสื่อมราคาต่อปีและจำนวนเงินที่เรียกเก็บจนถึงปัจจุบันเรียกว่า “ค่าเสื่อมราคาสะสม” รายการบัญชี ได้แก่

ค่าเสื่อมราคา A / C DR $ 2,512.5

ค่าเสื่อมราคาสะสม A / C CR $ 2,512.5

เช่น 2. ผลิตภัณฑ์มูลค่า 125,000 ดอลลาร์จะถูกขายเพื่อรับรายได้ รายการบัญชีจะเป็น

ต้นทุนขาย A / C DR $ 125,000

สินค้าคงคลัง A / C CR $ 125,000

ค่าใช้จ่ายสามารถสะสมหรือจ่ายล่วงหน้าและทั้งสองประเภทนี้ควรได้รับการพิจารณา

ค่าใช้จ่ายค้าง

ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในบัญชีก่อนจ่ายและบันทึกเป็นหนี้สินหมุนเวียน

เช่น. ดอกเบี้ยค้างรับภาษีคงค้าง

ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า

เป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนดจึงบันทึกเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน

เช่น. ค่าเช่าแบบเติมเงินประกันแบบเติมเงิน

อะไรคือความแตกต่างระหว่างต้นทุนและค่าใช้จ่าย?

ต้นทุนเทียบกับค่าใช้จ่าย

ต้นทุนคือมูลค่าทางการเงินที่ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งบางสิ่งค่าใช้จ่ายคือรายการที่เรียกเก็บจากการสร้างรายได้ประเภทต้นทุนสินทรัพย์และต้นทุนขายเป็นต้นทุนประเภทหลักค่าใช้จ่ายสามารถเกิดขึ้นจ่ายล่วงหน้าหรือรายการที่บันทึกไว้เพื่อชดเชยการใช้สินทรัพย์ภาษีต้นทุนไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาษี อย่างไรก็ตามค่าเสื่อมราคาสำหรับต้นทุนของสินทรัพย์สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ค่าใช้จ่ายสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ จึงช่วยลดค่าภาษี

สรุป – ต้นทุนเทียบกับค่าใช้จ่าย

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนและค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆช่วยให้ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจะรับรู้เมื่อเทียบกับรายได้ แต่มูลค่าของต้นทุนจะถูกแบ่งส่วนและตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบ่งบอกถึงมูลค่าที่ลดลง นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายยังเป็นประโยชน์มากกว่าจากมุมมองการประหยัดภาษีเมื่อเทียบกับต้นทุน

อ้างอิง:
1. เมอร์เรย์ฌอง “ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างกันอย่างไร” สมดุล. เอ็นพี, n.d. เว็บ. 09 มี.ค. 2560.
2. ” IAS 16- ที่ดินอาคารและอุปกรณ์” มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ. เอ็นพี, n.d. เว็บ. 9 มี.ค. 2560.
3. ” ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างกันอย่างไร? – คำถามและคำตอบ.” เครื่องมือการบัญชี. เอ็นพี, n.d. เว็บ. 09 มี.ค. 2560.
4. “ยอดคงค้างและการชำระล่วงหน้า” การบัญชีคงค้าง – การบัญชีชำระล่วงหน้าอธิบายพร้อมตัวอย่าง เอ็นพี, n.d. เว็บ. 09 มี.ค. 2560.

เอื้อเฟื้อภาพ:
1. “แผนภูมิค่าใช้จ่ายเชิงพาณิชย์ขององค์กรและค่าใช้จ่ายในการผลิต 1909” โดย James Bray Griffith – องค์กรการบริหารและอุตสาหกรรม 1909 (โดเมนสาธารณะ) ผ่าน Commons Wikimedia


บิลที่ถูกต้องที่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายภาษีได้


ภาษีผู้ขายของออนไลน์ ขายของลาซาด้า ของของLazada
บุคคลธรรดา ที่ต้องการเลือกเสียภาษีแบบหักจริง หรือ นิติบุคคลที่เพิ่งจดใหม่ ควรรู้ลักษณะบิลที่มีองค์ประกอบแบบไหนที่เราสามารถนำมาหักค่าใข้จ่ายทางภาษีได้

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

บิลที่ถูกต้องที่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายภาษีได้

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 ฉบับเข้าใจง่าย


วิดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาพลเมืองวิวัฒน์ มศว261 จัดทำขึ้นโดยนิสิตชั้นปีที่2 คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาบริหารธุรกิจ เอกธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2561
จัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ฉบับเข้าใจง่าย ให้ทุกคนได้ตระหนักและมีความระมัดระวังในการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 ฉบับเข้าใจง่าย

กลางปี(ภงด94)หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ปลายปี(ภงด90)จะหักค่าใช้จ่ายแบบจริงได้หรือไม่?


รายการอาจารย์มานพพบปัญหา EP.1000

▲ กดติดตามเพื่อชมคลิปใหม่ๆ : https://www.youtube.com/channel/UC934CijhZBa3p6pNaDBvwg?view_as=subscriber
▲LINE ID (มี@นำหน้า) : @Yellowtraining

▲เบอร์โทร อบรม : 0970091656 , 0622622916
▲เบอร์โทร บัญชี : 0853111669

▲ FANPAGE : https://www.facebook.com/Yellowaccounting/
▲ FANPAGE : https://www.facebook.com/Bmanopyellow
▲ FANPAGE : https://www.facebook.com/IViewTravel/
▲ FANPAGE : https://www.facebook.com/GreatInstructor/
▲ IG : https://www.instagram.com/manopyellow/?hl=th
▲ เว็บไซค์ : http://www.yellowaccounting.com

อีเมล์สำหรับติดต่องาน
[email protected]
แชแนล manopyellow คือ แชแนล ให้ความรู้เกี่ยวกับบัญชีและภาษี ที่ประกอบด้วยพิธีกรหลัก 2 คน คือ
\”อาจารย์มานพ สีเหลือง\” เป็นอาจารย์สอนบัญชีมามากว่า 25 ปี
เป็นยังเป็น ผู้บริหารYellowการบัญชี , youtuber และวิทยากรด้านบัญชีภาษี
\”อาจารย์กนกไรน์วิน บุรินนันท์\” เป็น ที่ปรึกษาปัญหาด้านบัญชีและภาษี , วิทยากรด้านบัญชีภาษี , เจ้าของสำนักงานบัญชี และ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร(TA).

กลางปี(ภงด94)หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา  ปลายปี(ภงด90)จะหักค่าใช้จ่ายแบบจริงได้หรือไม่?

กฎหมายใหม่ปี 2560 หักเหมาค่าใช้จ่าย 60%ในการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


รายการอาจารย์มานพพบปัญหา 484 Yellowการบัญชี www.yellowaccounting.com โดย อ.มานพ สีเหลือง และ อ.เจี๊ยบ

กฎหมายใหม่ปี 2560  หักเหมาค่าใช้จ่าย 60%ในการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้พึงประเมินและการหักค่าใช้จ่าย


เงินได้พึงประเมินและการหักค่าใช้จ่าย

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆLEARN TO MAKE A WEBSITE

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การหักค่าใช้จ่าย 2560

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *