Skip to content
Home » [NEW] แบบทดสอบก่อน-หลังเรียนเรื่องPresent Continuous Tense | study เติม ing – NATAVIGUIDES

[NEW] แบบทดสอบก่อน-หลังเรียนเรื่องPresent Continuous Tense | study เติม ing – NATAVIGUIDES

study เติม ing: คุณกำลังดูกระทู้

Table of Contents

แบบทดสอบก่อน-หลังเรียนเรื่องPresent Continuous Tense

แบบทดสอบก่อนเรียน

1. She……….reading a book now.
a.   be
b.   is
c.   am
d.   are

2.I……….riding a bicycle at this moment
a.   be
b.   is
c.   am
d.   are

3.We……….playing the guitar at this time.
a.   be
b.   is
c.   am
d.   are

4.They……….singing right now.
a.   be
b.   is
c.   am
d.   are

5.He……….driver a car now.
a.   be
b.   is
c.   am
d.   are

Present Continuous Tense (Progressive Tense)

  ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

                     โครงสร้าง  =  Subect+ is/am/are +Ving.

 –  ตัวอย่างประโยค   Look ! The boy is crying.                                                                            
                                    You are drinking some milk..
                                    We are reading cartoons now.
                    The students are studying English now
                                    They are watching their favorite television program.

  – ทำให้เป็นประโยคคำถาม  =   Is/Am/Are +ประธาน + Ving…? ดังนี้

Are you eating hamburger?    No, I’m not.  
 Is  Lala singing Chinese song?    Yes, she is.  

What  is Jack doing?       He is studying English.                                         
Where are you going?    I am going to Big C.                                                                                                 

  เมื่อต้องการทำเป็นประโยคปฎิเสธก็เติม not หลัง Verb to be ได้เลย  เช่น

                          Lulu is not dancing now.    Lara is not singing.                                                           
The students are not studying Thai.   You are not study English. 

  – หลักการเติม  ing ท้ายคำกริยา 

            1. กริยาลงท้าย e ตัด e แล้วเติม ing  เช่น

                             write    –   writing,          make  – making,          drive  – driving

             2. กริยาลงท้าย ee เติม ing ได้เลย  เช่น

                              see  –  seeing

            3. กริยาลงท้าย ie ให้เปลี่ยน ie  เป็น  y  แล้วเติม ing   เช่น

                         lie  – lying ,     die –> dying,         tie –> tying
                                                  

                           ข้อสังเกต ski –> skiing (เล่นสกี)

           4.กริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว และพยัญชนะสะกดตัวเดียวเติมตัวสะกดอีก 1 ตัว แล้วเติม ing เช่น
         dig –> digging, run –> running, zip –> zipping                                            

           5.  กริยามีสองพยางค์ พยางค์หลังมีสระตัวเดียว และพยัญชนะสะกดตัวเดียว  ให้เติม ตัวสะกดอีก 1 ตัว แล้วเติม ing เช่น
          begin –> beginning, occur –> occurring, refer–> referring

หมายเหตุ:           คำลงท้ายด้วย l จะเพิ่ม l อีกตัวหนึ่ง หรือไม่เพิ่มก็ได้ (แบบอเมริกันไม่เพิ่ม l)
                           อเมริกัน: travel –> traveling, quarrel –> quarreling
                           อังกฤษ : travel –> travelling, quarrel –> quarrelling

 

กริยาที่ไม่ใช้ใน Continuous Tenses
ได้แก่ กริยาที่แสดงการรับรู้ (verbs of perception) แสดงภาวะของจิตใจ (state of mind) ความรู้สึก (feeling) หรือสัมพันธภาพ (relationship) เช่น
 

hear ได้ยิน
love รัก
remember จำได้
see เห็น hate เกลียด
recognize รู้จัก
feel รู้สึก
know รู้
contain บรรจุ
smell ได้กลิ่น
understand เข้าใจ
old บรรจุ
 
belong เป็นของ
seem ดูคล้ายกับว่า
own มี, เป็นเจ้าของ
look ดูคล้ายกับว่า
possess มี, เป็นเจ้าของ
appear มีท่าทางว่า
suit เหมาะ
matter มีความสำคัญ
fit เหมาะ
taste
ได้รส, รู้รส
belive เชื่อว่า

 

เมื่อต้องการจะแสดงอาการเหล่านี้ คงใช้เพียง present simple เท่านั้น เช่น

  • I don’t see anything here. (ไม่ใช้ I’m not seeing…)
  • Do you hear the noise? (ไม่ใช้ Are you hearing…)
  • I smell something burning. (ไม่ใช้ I am smelling…)
  • The dog feels ill. (สุนัขตัวนั้นไม่สบาย)
  • The dog looks ill. (สุนัขตัวนั้นดูท่าไม่สบาย)
  • The dog appears ill. (สุนัขตัวนั้นท่าทางไม่สบาย)

 

Present Continuous Tense

1. รูปแบบประโยค

ประโยคบอกเล่า

ประธาน (Subject)
กริยา (be + กริยาเติม ing)

Warawan
is smiling.

ประโยคคำถาม

Be
ประธาน (Subject)
กริยาเติม ing

Is
Warawan
smiling?

ประโยคปฏิเสธ

ประธาน (Subject)
be
not
กริยาเติม ing

Warawan
is
not
smiling.

2. หลักการเติม ing ท้ายกริยา

กริยาโดยทั่วไป เติม ing ท้ายคำได้ทันที แต่ มีข้อยกเว้น ดังนี้

  1. คำพยางค์เดียวที่มีสระตัวเดียวและมีตัวสะกดตัวเดียว และถ้ามีเป็นคำที่มีมากกว่า 1 พยางค์ ต้องออกเสียงหนัก(stress)ที่พยางค์หลัง ต้องเพิ่มตัวสะกดอีก 1 ตัว แล้วจึงเติม ing เช่น

run -> running

stop -> stopping

begin -> beginning

แต่ open -> opening (เพราะออกเสียงหนักที่พยางค์หน้า)

  1. คำที่ลงท้ายด้วย e และไม่ออกเสียงตัว e ให้ตัด e ทิ้งก่อน แล้วจึงเติม ing เช่น

make -> making

use -> using ใช้

  1. คำที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วจึงเติม ing เช่น

tie -> tying

die -> dying

lie -> lying

3. การใช้ Present Continuous Tense

  1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังพูด มักจะมีคำว่า now เพื่อบอกว่ากำลังทำอยู่ หรือ กำลังเกิดขึ้น (กริยาบางตัวไม่สามารถใช้ Tense นี้ได้)

 

You are studying English now.

You are not running now.

Are you sleeping?

They are reading their books.

They are not watching television.

  1. ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังทำอยู่ในช่วงนี้ แต่อาจจะไม่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูดก็ได้ เช่น ประโยคต่อไปนี้ อาจจะพูดในขณะกำลังนั่งคุยกันเล่น เป็นการเล่าสู่กันฟังว่า ตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่ คำว่า now ในภาษาอังกฤษ อาจจะหมายถึง เดี๋ยวนี้ วันนี้ อาทิตย์นี้ เดือนนี้ ปีนี้ ก็ได้ (แต่ชีวิตนี้มันจะยาวไปนะ)

 

I am studying to become a doctor. (ผมกำลังเรียนหมอ)

I am not studying to become a dentist. (ฉันกำลังเรียนเป็นหมอฟัน)

I am reading the book Kathi’s Happiness by Ngampan. (ผมกำลังอ่านหนังสือเรื่องความสุขของกะทิ แต่งโดย งามพรรณ — ขณะพูดไม่ได้กำลังอ่าน แต่เล่าให้ฟัง การอ่าน อาจต้องใช้เวลา 2-3 วัน)

I am not reading any books right now. (ตอนนี้ไม่ได้อ่านหนังสืออะไรเลย)

Are you working on any special projects at work?

Aren’t you teaching at the university now?

  1. ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

 

  • I am meeting some friends after work. (หลังเลิกงานเดี๋ยวผมไปหาเพื่อนหน่อย)
  • I am not going to the party tonight. (คืนนี้ผมไม่ไปงาน)
  • Is Somsak visiting his parents next weekend? (เสาร์-อาทิตย์นี้ สมศักดิ์จะไปหาพ่อแม่เขาหรือเปล่า)
  • Isn’t he coming with us tonight? (เขาไม่ไปกับเราคืนนี้หรือ?)
  1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นเหตุการณ์ที่มักจะไม่ค่อยดี เช่น มาสายเสมอ เป็นต้น ข้อสังเกตุคือ จะมีคำว่า always หรือ constantlyอยู่ด้วย เพื่อเน้นว่า เกิดเป็นประจำ(น่าเบื่อหน่ายเหลือเกิน) ในความหมายนี้ จะคล้ายกับ Present Simple ในกรณีพูดสิ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เป็นนิสัย แต่ความหมายของ Present Continuous Tense นี้ เป็นไปในทางลบ

 

  • She is always coming to class late. (เจ้าหล่อนมาสายประจำ)
  • He is constantly talking. I wish he would shut up. (หมอนั่นคุยไม่หยุด อยากให้หุบปากบ้าง)
  • I don’t like them because they are always complaining. (ผมไม่ชอบพวกนั้นเลย ชอบบ่นเป็นประจำ)

4. คำกริยาที่ใช้ใน Present Continuous Tense ไม่ได้

กริยาบางตัวไม่สามารถนำมาใช้ใน Present Continuous Tense ได้ ต้องใช้ในรูปของ Present Simple Tense เท่านั้น กริยาพวกนี้ ส่วนใหญ่เป็นกริยาที่เป็นนามธรรม แสดงความเป็นเจ้าของ หรือ กริยาที่เกี่ยวกับความรู้สึก ดังนี้

คำกริยาที่เป็นนามธรรม (Abstract Verbs)

to be, to want, to cost, to seem, to need, to care, to contain, to owe, to exist…

I am needing some money.ไม่ถูก

I need some money. ถูกต้อง (ตอนนี้ผมต้องการเงิน — กำลังขาดเงิน)

คำกริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ (Possession Verbs)

to possess, to own, to belong…

I am owning a big car. ไม่ถูก

I own a big car. ถูกต้อง (ผมเป็นเจ้าของ(มี)รถคันใหญ่)

คำกริยาที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก (Emotion Verbs)

to like, to love, to hate, to dislike, to fear, to envy, to mind…

I am loving you. ไม่ถูก

I love you. ถูกต้อง

ระวัง กริยาบางตัวกำกวม สามารถเติม –ing ได้ และ ไม่ได้

กริยาพวกนี้ เช่น to appear, to feel, to have, to hear, to look, to see, to weigh…

to appear:

Donna appears confused. เป็นความรู้สึกดูสับสน เติม -ing ไม่ได้

My favorite singer is appearing at the jazz club tonight. ปรากฏ-กำลังแสดง เติม -ing ได้

to have:

I have a dollar now. มี เป็นเจ้าของ ความหมายเช่นเดียวกับ possess เติม -ing ไม่ได้

I am having fun now. กำลังสนุก เติม -ing ได้

to hear:

She hears the music. ได้ยินเสียงกับหู เติม -ing ไม่ได้

She is hearing voices. ได้ยินเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน เสียงจินตนาการไปเอง รู้สึกอยู่คนเดียว

She hears something others cannot hear. She is hearing voices in her mind.

to look:

Nancy looks tired. ดูราวกับว่า – เติม -ing ไม่ได้

She seems tired.

Farah is looking at the pictures. มองด้วยตา กริยาอย่างนี้ เติม -ing ได้

to miss:

John misses Sally. คิดถึง เป็นความรู้สึก เติม -ing ไม่ได้

Debbie is missing her bus to Phuket. พลาด ตกรถ หรือ ไปไม่ทัน อย่างนี้ เติม -ing ได้

to see:

I see her. เห็นด้วยตา เติม -ing ไม่ได้

I am seeing the doctor. ไปหาหมอ อย่างนี้ เติม -ing ได้

He is seeing ghosts at night. เห็นในสิ่งที่ชาวบ้านไม่เห็นกัน หรือเป็นการมองไปในอนาคาต ลักษณะนี้ เติม -ing ได้ เช่น

to smell:

The coffee smells good. มีกลิ่น เติม -ing ไม่ได้ เป็นความรู้สึก

I am smelling the flowers. ดม กำลังดมได้ อย่างนี้ เติม -ing ได้

to taste:

The coffee tastes good. รสชาด เติม -ing ไม่ได้ กาแฟนี่รสดี

I am tasting the noodles. ชิม เติม -ing ได้ กำลังชิมก๋วยเตี๋ยว ว่าอร่อยหรือไม่

to think:

He thinks the test is easy. คิดว่า มีความหมายคล้ายคำว่า consider เติม -ing ไม่ได้

She is thinking about the question. กำลังคิดเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เติม -ing ได้

to weigh:

The table weighs a lot. น้ำหนักของสิ่งของ โต๊ะนี่หนักมาก เติม -ing ไม่ได้

She is weighing herself. ชั่ง เธอกำลังชั่งน้ำหนัก อย่างนี้เติม ing ได้

แหล่งอ้างอิง: http://www.englishpage.com/

แบบทดสอบหลังเรียน

1. A : Are you watching TV now ?
B : ……………………………………
a.   No, we are not
b.   No, we are not watching TV now.
c.   Yes, we are reading books now.
d.   Yes, we are watching TV now.

2. A : Is he brushing his teeth right now ?
B : ………………………………………………..
a.   Yes, he is brushing his teeth right now.
b.   Yes, he is taking a bath right now.
c.   No, he is not brushing his teeth right now.
d.   No, he is not

3. A : Is he driving a car at this time ?
B : …………………………………………
a.   No, he is driving a car at this time.
b.   No, he is not driving a car at this time
c.   Yes, he is fixing a car at this time.
d.   Yes, he is

4. A : Are they running now ?
B : …………………………………
a.   Yes, they are.
b.   Yes, they are running now.
c.   No, they are not running now.
d.   No, they are running now.

5. A : ………………………………..
B : Yes, they are painting the wall right now.
a.   Are they painting the wall right now ?
b.   Are you painting the wall right now ?
c.   Is she painting the wall right  now ?
d.   Is he painting the wall right  now ?

6. A : ………………………………………..
B : Yes, she is feeding the dog now.
a.   Are you feeling the dog now ?
b.   Is it feeling the dog now ?
c.   Is he feeling the dog now ?
d.   Is she feeling the dog now ?

เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียนเรื่องpresent continuous tense
1.b
2.c
3.d
4.d
5.b

1.d
2.a
3.b
4.c
5.a
6.d

 

Share this:

Like this:

ถูกใจ

กำลังโหลด…

[Update] หลักการเติม -ing ท้ายคำกริยาในภาษาอังกฤษ เข้าใจง่ายมาก | study เติม ing – NATAVIGUIDES

หลักการเติม -ing ท้ายคำกริยาในภาษาอังกฤษ เป็นส่วนไวยากรณ์พื้นฐานที่ไม่ยากเลย แต่มีบางคนยังสับสนอยู่ว่าต้องทำการเติม -ing ยังไงให้ถูกต้อง และ กริยาเติม ing นั้นใช้กันยังไง วันนี้ Eng Breaking จะรวบรวมมาให้คุณทั้งหมดข้อสงสัยนี้ในบทความเดียวเลย

กริยาเติม ing (V-ing) คืออะไร

ก่อนอื่นเราจะต้องมาเรียนรู้กันว่ากริยาเติม ing คืออะไร เวลาอ่านภาษาอังกฤษ เราเจอกริยาเติม ing (V-ing) อยู่เต็มไปหมด แต่คุณรู้หรือไม่ว่า กริยาที่มีใช้หลักการเติม ing เหล่านั้น จะทำหน้าที่แตกต่างกันมาก บางทีจะแสดงความหมายว่า “กำลังทำ” บางทีสามารถทำหน้าที่เหมือนคำนาม และบางทีสามารถใช้ในการขยายนามตัวอื่นอีกด้วย แล้วเราจะแยกแยะอย่างไรว่า V-ing ตัวนี้คืออะไรและควรจะแปลอย่างไร วิธีการคือ เราต้องรู้ว่า V-ing ตัวนั้นทำหน้าที่อะไร หรืออยู่ตำแหน่งไหนในประโยค ที่เราจะแนะนำดังต่อไปนี้

สงสัยกันไหม V-ing คืออะไร มีการใช้งานยังไงบ้าง

1. กริยาเติม ing มีความหมายว่า “กำลังทำ” ใน Continuous Tense ต่าง ๆ

วิธีการสังเกตก็คือ V-ing ในกลุ่มนี้จะตามหลัง V. to be ค่ะ โดยที่ Verb to be นั้นจะไม่มีความหมายใดๆ เพราะเป็นแค่กริยาช่วยที่บอก tense เท่านั้น ไม่ว่า Verb to be นั้นจะอยู่ในรูปของอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม เพราะ Continuous Tense เป็นได้ทั้งใน Continuous  Present และ Continuous Past เช่น

  • Listen to me! I’m talking to you. แปลว่า ฟังฉันสิ! ฉันกำลังพูดกับเธออยู่นะ
  • He called me when I was watching TV. แปลว่า เขาโทรหาฉันตอนที่ฉันกำลังดูทีวีอยู่

2. กริยาเติม ing (V-ing) ที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม

กริยาที่เติมท้าย ing หรือเรียกกันว่า V-ing ที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม มีชื่อเรียกตัวมันเองอีกชื่อหนึ่งสุดเท่ คือ “Gerund”  ในเมื่อมันทำหน้าที่เหมือนคำนาม ดังนั้นไม่ว่าคำนามทำหน้าที่อะไร Gerund ก็ทำได้หมด มาดูหน้าที่คำนามกัน

2.1 – Gerund (V-ing) ทำหน้าที่เป็น   “ประธานของประโยค”

เวลาทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วนใหญ่ Gerund ก็จะขึ้นต้นประโยค เรามีตัวอย่างประโยคเช่น

  • Telling a lie ruins every relationship. 

หมายความว่า การโกหกจะทำลายทุกความสัมพันธ์

  • Washing dishes after dinner is my duty.

 หมายความว่า การล้างจานหลังมื้อเย็นเป็นหน้าที่ของฉัน

โดยปกติ “Tell a lie” หรือ “Wash dishes” เป็นคำกริยา แต่เมื่อเราใช้หลักการเติม ing มันสามารถกลายเป็นคำนามและทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคได้ ทีนี้มันจะมีความว่าเหมือนคำนามว่า การโกหก การล้างจาน

2.2 – Gerund (V-ing) ทำหน้าที่เป็น “ส่วนเติมเต็ม (complement)” ของประโยค และตามหลัง Verb to be

หลายคนอาจสงสัยว่าถ้าตามหลัง Verb to be  ก็เหมือน Continuous Tense น่ะสิ แล้วจะสังเกตยังไงล่ะ? วิธีการสังเกตคือ Verb to be ในลักษณะนี้จะเป็นกริยาแท้ และมีความหมายว่า “เป็น, อยู่, คือ”  เรามีตัวอย่างประโยคเช่น

  • One of my hobbies is collecting favorite comics. (หนึ่งในงานอดิเรกของฉันคือการสะสมการ์ตูนเรื่องโปรด)

โดยคำว่า “is” หรือ Verb to be ในที่นี้แปลว่า คือ

  • His duty is cleaning the house. (หน้าที่ของเขาก็คือทำความสะอาดบ้าน) โดยมันไม่ได้แปลว่ากำลังทำความสะอาดนะ

2.3 – Gerund (V-ing) ทำหน้าที่เป็น “กรรม” 

ซึ่งอาจจะเป็นกรรมของกริยา หรือกรรมของบุพบทก็ได้ ดังนั้นตำแหน่งของมันก็จะต้องตามหลัง verb หรือ preposition (บุพบท) เรามีตัวอย่างประโยคเช่น

  • She enjoys shopping with friends. (เธอสนุกกับการไปช้อปปิ้งกับเพื่อนๆ)
  • We can’t keep on sitting here anymore. (เรานั่งอยู่ที่นี่ต่อไปไม่ได้แล้ว)
  • He took my bag without telling me. (เขาเอากระเป๋าไปโดยไม่บอกฉัน)
  • I avoid talking about this. (ฉันเลี่ยงที่จะพูดเรื่องนี้)

3. V-ing ทำหน้าที่ขยายคำนาม (เปรียบเสมือน adjective)

เมื่อกริยาเติม ing ( V-ing) ที่ขยายคำนาม ซึ่งตำแหน่งของ V-ingก็อาจจะอยู่หน้าคำนาม หรือหลังคำนามที่มันขยายก็ได้  เรามีตัวอย่างประโยคเช่น

  • The girl is afraid of the barking dog. 

หมายความว่า เด็กผู้หญิงคนนั้นกลัวหมาที่กำลังเห่า

  • The lady standing behind me in the queue suddenly fainted. 

หมายความว่า ผู้หญิงที่ยืนอยู่ในแถวข้างหลังฉันอยู่ๆก็เป็นลม

ในประโยคเต็มนี้ เรามีประโยคย่อย standing behind me in the queue เป็น relative clause ที่ทำหน้าที่เพื่อขยายนาม lady ที่อยู่ข้างหน้า โดยมีการลดรูปหรือตัด relative pronoun ของคำนามออกไปแล้ว

หลักการเติม ing หลังกริยาที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษต้องรู้

เพื่อมาทบทวนกันเกี่ยวกับหลักการเติม -ing ท้ายคำกริยา เพื่อให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษสามารถนำไปใช้ในการสอบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ทาง Eng Breaking จึงรวบรวมหลักการเติม ing ท้ายคำกริยา และการเปลี่ยนรูป มีดังต่อไปนี้

หลักการเติม-ing ที่ 1: เติม -ing ท้ายคำกริยาทั่วไป

สำหรับคำกริยาทั่วไป เราสามารถทำการเติม ing ที่ท้ายคำกริยานั้นได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • Go → going (ไป)
  • Speak → speaking (พูด)

หลักการเติม-ing ที่ 2:  เติม -ing ท้ายคำกริยาที่ลงท้ายด้วยตัว e

คำกริยาที่ลงท้ายด้วยตัว e ให้ตัด e ออกก่อน แล้วทำการเติม ing เช่น

ตัวอย่างเช่น

  • Use => Using (ใช้)
  • come → coming (มา)
  • Improve => Improving (บำรุง)
  • Change => changing (เปลี่ยนแปลง)
  • Take => Taking (รับ)
  • Drive => Driving (ขับรถ)

อย่างไรก็ตามสำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วย ee, ye และ oe ให้เติม –ing ได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • See => Seeing (มองเห็น)
  • Agree => Agreeing (ตกลง)
  • Dye => Dyeing  (ย้อมสี)
  • Tiptoe => tiptoeing  (เดินย่อง, เดินด้วยปลายเท้า)

6 หลักการเติม -ing ท้ายคำกริยาในถาษาอังกฤษที่ต้องรู้

หลักการเติม-ing ที่ 3: 

เพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายไปอีกตัวเวลาเติม ING: คำกริยาพยางค์เดียวที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ และก่อนหน้าพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นสระ 1 ตัว ในรูปแบบ  “สระ + พยัญชนะ” (ยกเว้น พยัญชนะ h, w, x, y) ต้องทำการเพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายไปอีก 1 ตัว ก่อน แล้วทำการเติม ing 

ตัวอย่างเช่น

  • Stop → stopping
  • Shop → shopping

อย่างไรก็ตาม สำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ h, w, x, y ให้เติม –ing ได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • Fix → fixing (เพราะลงท้ายด้วยพยัญชนะ x )
  • Play → playing (เพราะลงท้ายด้วยพยัญชนะ y)

คำกริยาที่ลงท้ายด้วย “สระ 2 ตัว + พยัญชนะ”หรือ“พยัญชนะ + พยัญชนะ” ให้เติม –ing ได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • Greet → greeting (มีสระ 2 ตัว)
  • Work → working (ลงท้ายด้วยพยัญชนะ 2 ตัว)

หลักการเติม-ing ที่ 4: 

สำหรับคำกริยาที่มี 2 พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ ก่อนหน้าพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นสระ 1 ตัว และมีการเน้นเสียงหนักที่พยางค์ท้าย เราจะต้องทำการเพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายไปอีก 1 ตัวก่อน แล้วค่อยทำตามหลักการเติม ing  

ตัวอย่างเช่น

  • Begin => beginning (เริ่มต้น)
  • Permit => Permitting (อนุญาต)
  • Prefer => Preferring (ชอบ)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยตัวอักษร L และก่อนหน้าตัว L เป็นสระ 1 ตัว ระหว่างภาษาอังกฤษแบบบริติชและภาษาอังกฤษแบบอเมริกันจะมีความแตกต่างกันนิดหนึ่ง คนอเมริกันไม่เพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายอีกตัว ในขณะที่คนบริติชต้องทำการเพิ่มพยัญชนะตัวสุดท้ายไปอีก 1 ตัวก่อน แล้วทำการเติม ing 

ตัวอย่างเช่น

  • Travel → Travelling (ภาษาอังกฤษแบบบริติช)
  • Travel → Traveling (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน)

*** หมายเหตุ:

สำหรับคำกริยาที่มี 2 พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ ก่อนหน้าพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นสระ 1 ตัว และมีการเน้นเสียงหนักที่พยางค์ที่หนึ่ง ให้เติม -ing ได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • Listen => Listening (ฟัง)
  • Enter => Entering (เข้าสู่)
  • Happen => Happening (เกิดขึ้น)
  • Open => Opening (เปิด)

หลักการเติม -ing ที่ 5: เปลี่ยน “IE” เป็น “Y” แล้วเติม ING 

หลักการนี้จะใช้สำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y ก่อน แล้วทำการเติม ing หลังคำกริยาได้เลย

ตัวอย่างเช่น

  • Lie → lying
  • Tie → tying

คำกริยาที่ลงท้ายด้วย “Y” เราสามารถเติม ING เหมือนคำกริยาทั่วไปได้เลย 

ตัวอย่างเช่น: Hurry → Hurrying

หลักการเติม -ing ที่ 6:

สำหรับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ “c” แต่ พยัญชนะ “c” นี้ได้ออกเสียงเป็นเสียง /k/ อย่างเช่นคำกริยา  “Traffic”, “Mimic” và “Panic” เราจะต้องเติมพยัญชนะ “K” ท้ายคำกริยาแล้วค่อยทำการเติม -ing

  • Traffic → trafficking (ค้าขายสิ่งที่ผิดกฎหมาย)
  • Mimic → mimicking (ล้อเลียน)
  • Panic → panicking (ตื่นตระหนก)
  • Picnic => Picnicking (ไปปิกนิก)

ในภาษาอังกฤษหลักการเติม -ing คือง่ายที่สุดแล้วละ เราแค่ต้องเติม -ing ท้ายคำกริยาทั่วไป สำหรับคำกริยาที่มีหลักการเติม -ing พิเศษเราก็ได้รวบรวมมาครบถ้วนให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษของ Eng Breaking ในเนื้อหาข้างบนแล้วนะคะ ต้องบอกเลยว่าไม่มีอะไรที่ง่ายกว่านี้อีกแล้ว และเพื่อเป็นการทบทวนและช่วยให้เราจำหลักการเติม -ing ได้เลย เราจัดมาพร้อมแบบฝึกหัดให้เพื่อน ๆ ได้ทำกันนะคะ

แบบฝึกหัดเกี่ยวกับหลักการเติม -ing พร้อมข้อเฉลย

แบบฝึกหัดที่ 1: ใช้หลักการเติม -ing เพื่อเติมคำในช่องว่าง

  1. She avoided (tell) ………………. him about her plans for tonight.
  2. He enjoys (have) ………………. a bath in the evening after a long working day.
  3. She kept (talk) ……………….during the film at the theatre
  4. Do you mind (give) ……………….me a hand please?
  5. She helped me with (carry)………………. my suitcases.
  6. He decided to take up (study)………………. biology at Khon Kaen university
  7. I dislike (wait)……………….. for a long time
  8. She suggested (visit)………….. to the museum in the center of the city.
  9. (Go) …………… to Phuket this weekend is a great idea
  10. I’m keen on (write) …………… new contents for my blog

แบบฝึกหัดที่ 2: เติมคำในช่องว่างเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ 

  1. The children prefer (watch) ……………… TV to (read) ……………… books.
  2. The boys like (play) ……………… games but hate (do) ……………… lessons.
  3. Would you like (go) ……………… now or shall we wait till the end?
  4. I can’t find my favorite book. You (see) ……………… it?
  5. We used (dream) ………………. of a television set when we (be)  ……………… small.
  6. Would you mind (show) ………………  me how (send) ………………  an email?
  7. He always thinks about (go)……………… swimming.
  8. She dislikes (do) ………………  a lot of housework.
  9. My children enjoy (read)  ……………… books.
  10. She looked forward to (see)  ……………… you.

ข้อเฉลย:

แบบฝึกหัดที่ 1:

tellinghavingtalkinggivingcarryingstudying waitingvisitingGoingwriting

แบบฝึกหัดที่ 2:

watching – reading playing – doing to go have …seento dream – were showing – to send going doing reading seeing

ว่าอย่างไรบ้างกับบทความเกี่ยวกับหลักการเติม -ing ลงท้ายคำกริยาที่ Eng Breaking ได้แนะนำมาให้คุณในวันนี้ ง่ายมากเลยใช่ไหมล่ะ แถมยังมีแบบฝึกหัดเกี่ยวกับหลักการเติม -ing เพื่อทบทวนความรู้ท้ายบทเรียนด้วย ง่ายแล้วยิ่งง่ายอีก หากคุณเห็นบทความนี้มีประโยชน์สามารถเก็บไว้เพื่อเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตัวเองได้เลย เราขอให้ทุกคนจะพิชิตภาษาอังกฤษได้นะคะ สำหรับวันนี้ขอไปก่อนแล้วค่ะ

ไม่พลาดกับบทความนี้ :

ความคิดเห็น 635 รายการ

 


กฎการเติม ing เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE


กฎการเติม ing เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
ในคลิปวีดีโอนี้เราจะมาดูหลักการ ในการเติม ing สำหรับคำกริยากัน โดยทั่วไปในการฝึกภาษาอังกฤษโดยเฉพาะกับการเขียน เราจำเป็นต้องรู้วิธีการสะกดคำกริยาที่เติมing ให้อย่างถูกต้อง ในคลิปนี้ติวเตอร์ได้รวบรวมเทคนิคในการเติมing ไว้ที่กริยาว่ามีกฎอะไรบ้าง จะช่วยทำให้เราสามารถเข้าใจกฎและหลักการในการเติมingได้มากขึ้น รวมถึงวิธีการอ่านออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษแบบที่ถูกต้อง
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ครบทุกหลักการใช้งานในคลิปเดียวแบบเต็มสูบทั้งหมด
หากสนใจมาเรียนภาษาอังกฤษตัวต่อตัว กับทางESE สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทางช่องทางเหล่านี้นะครับ
อย่าลืมกดติดตามเราทางช่องทางอื่นๆด้วยนะครับ
Follow us on Facebook: https://www.facebook.com/easyandsimpleenglish/
Follow us on Instagram: https://www.instagram.com/ese_stagram_th/
Visit our website: http://easysimpleenglish.com/
Contact: Tel: 0863537300

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

กฎการเติม ing เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับESE

หลักการเติม ing


เป็นวิดีโอที่ใช้ในการบรรยาย หลักการ การเติม ing ซึ่งมีหลักการทั้งหมด 5 ข้อ
พร้อมแบบฝึกหัด ใช้ในการจัดการเรียนการสอนช่วงสถานการณ์โควิด 19

หลักการเติม ing

Adjectives ที่ลงท้ายด้วย \”-ing\” และ \”-ed\” มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร ?


มีกริยาอยู่กลุ่มหนึ่งที่จะเติม ing หรือเติม ed ก็ได้ โดยปกติแล้ว กริยากลุ่มนี้จะมีความหมายในตัวว่า ทำให้… ซึ่งเมื่อเติม –ing และ – ed เข้าไปแล้วจะทำให้คำกริยาคำนั้นกลายเป็นคำคุณศัพท์ และทำให้ความหมายของคำนั้นแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งยังมีผู้สับสนและใช้ผิดบ่อยครั้ง เรามาดูกันว่า ทั้งสองแบบนี้มีความหมายและการใช้แตกต่างกันอย่างไร
Adjectives ที่ลงท้ายด้วย \”ing\” และ \”ed\”

Adjectives ที่ลงท้ายด้วย \

At the Airport


Learn English words and phrases you can use at the airport when checking in, going through security and while traveling by plane.

At the Airport

ติว TOEIC : สรุปเทคนิคแกรมม่า Participle คืออะไร?


✿ ติวสอบ TOEIC® เริ่มจากพื้นฐาน เทคนิคแกรมม่า แนวข้อสอบ TOEIC® ล่าสุด! ✿
👉ทดลองติวฟรี! ➡️ https://bit.ly/2wR4Gmu

สอบ TOEIC ต้องรู้จัก Participle ว่ามันคืออะไร? ครูดิวจะมาติวเทคนิคเรื่องนี้กันค่า เจอในข้อสอบแยกได้ง่ายๆ เลยว่าต้องตอบ Present Participle (V.ing) หรือ Past Participle (V.ed/V.3)
ดูคลิปนี้จบ \”ติว TOEIC : สรุปเทคนิคแกรมม่า Participle คืออะไร?\” รับรองเก่งขึ้นชัวร์ เจอข้อสอบนี้เมื่อไหร่ ได้เต็มแน่นอน

✿ คอร์สครูดิว ติว TOEIC® มีอะไรให้บ้าง? ✿
✅ติวเทคนิคสอบ TOEIC® รวม Grammar ที่ใช้สอบ ครบถ้วน สอนจากพื้นฐาน เรียนได้ทุกคนแน่นอน
✅เก็งศัพท์สอบ TOEIC® ออกข้อสอบบ่อย ๆ ให้ครบ ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งรวบรวมเอง
✅ ติวข้อสอบ TOEIC® ล่าสุด ทั้ง Reading และ Listening
✅สามารถสอบถามข้อหรือจุดที่สงสัยได้ตลอด
✅การันตี 750+ (ถ้าสอบแล้วไม่ถึง สามารถทวนคอร์สได้ฟรี)
📣 ถ้าไม่อยากพลาดคลิปดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด ❤️ Subscribe ❤️กันนะคะ

ติว TOEIC : สรุปเทคนิคแกรมม่า Participle คืออะไร?

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่MAKE MONEY ONLINE

ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ study เติม ing

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *